ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทิดไท (พ.ศ. 2535)"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิป... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 11: | บรรทัดที่ 11: | ||
“พรรคเทิดไท” แต่เดิมมีชื่อว่า | “พรรคเทิดไท” แต่เดิมมีชื่อว่า “พรรค[[สามัคคีธรรม]]” แต่ในภายหลังจากที่[[ณรงค์ วงศ์วรรณ|นายณรงค์ วงศ์วรรณ]] [[หัวหน้าพรรค]]สามัคคีธรรม และคณะกรรมการบริหารพรรคส่วนใหญ่ได้ลาออกจากตำแหน่ง[[คณะกรรมการบริหารพรรค]]และลาออกจากการเป็น[[สมาชิกพรรค]] อันเนื่องมาจากเรื่องอื้อฉาวที่โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศว่า นายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นบุคคลต้องห้ามในการเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีรายชื่อเกี่ยวพันกับนักค้ายาเสพติด ดังนั้น พรรคสามัคคีธรรมจึงได้มีการยื่นคำร้องต่อ[[นายทะเบียนพรรคการเมือง]]เพื่อขอเปลี่ยนชื่อ[[พรรคการเมือง]] และเปลี่ยนแปลง[[คณะกรรมการบริหารพรรค]] เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2535 โดยได้มีการเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น “พรรคเทิดไท” มีนายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ ดำรงตำแหน่ง[[หัวหน้าพรรค]] ส่วนคณะกรรมการบริหารพรรคในตำแหน่งสำคัญนั้น มีดังต่อไปนี้ | ||
ตำแหน่ง[[รองหัวหน้าพรรค]] ประกอบด้วย นายสะอาด ปียวรรณ, นายพินิจ จันทรสุรินทร์, นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์, นายประชุม รัตนเพียร, นายเจริญ เชาวน์ประยูร และนายชัชวาล ชมพูแดง | |||
ตำแหน่ง[[เลขาธิการพรรค]]มี นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นผู้ดำรงตำแหน่ง | |||
ตำแหน่ง[[รองเลขาธิการพรรค]] ประกอบด้วย นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ และนายสันติ ชัยวิรัตนะ | |||
ในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เกิดขึ้น ได้มีการเปลี่ยนเฉพาะ ชื่อพรรค สัญลักษณ์ของพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคเท่านั้น | ในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เกิดขึ้น ได้มีการเปลี่ยนเฉพาะ ชื่อพรรค สัญลักษณ์ของพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคเท่านั้น ในขณะที่นโยบายต่างๆ ของพรรคยังคงไว้เช่นเมื่อครั้งใช้ชื่อพรรคสามัคคีธรรม โดยนโยบายและแนวทางการดำเนินการของพรรคในด้านต่างๆนั้น มีดังนี้ | ||
นโยบายด้านการเมือง | นโยบายด้านการเมือง พรรคเทิดไทจะมุ่งเสริมสร้างสังคมไทยให้เป็น[[ประชาธิปไตย]]ที่สมบูรณ์ โดยสนับสนุนให้ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นรากฐานของการเมืองในระดับชาติ รัฐจะต้องเคารพและคุ้มครอง[[สิทธิเสรีภาพ]]ของประชาชนให้มีความเสมอภาคทาง[[กฎหมาย]]และโอกาสทางสังคมอย่างเท่าเทียมกัน ตลอดจนรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและผดุงไว้ซึ่งความเป็นอิสระของ[[กระบวนการยุติธรรม]] ส่งเสริมและสนับสนุนการปกครองท้องถิ่นทุกระดับ โดยกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีอิสระทางการเงินการคลังและการกำหนดนโยบายของตนเองมากขึ้น ตลอดจนปรับปรุงระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคให้เข้มแข็งและมีเอกภาพ สามารถกระจายอำนาจการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างแท้จริง มีอำนาจตัดสินใจแก้ปัญหาและพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ | ||
นโยบายด้านการบริหารนั้น พรรคเทิดไทจะปฏิรูประบบราชการและองค์กรของรัฐให้มีประสิทธิภาพที่จะสนองประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง เปลี่ยนบทบาทของราชการจากผู้ปฏิบัติมาเป็นผู้กำกับดูแลให้การสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันจะปรับโครงสร้างระบบราชการให้มีขนาดเล็กลง ปรับปรุงการบริหารราชการและวิธีการปฏิบัติงานให้รวดเร็วขึ้นและกระจายอำนาจการบริหารงานในด้านต่างๆจากส่วนกลางสู่หน่วยปฏิบัติและส่วนภูมิภาคให้มากขึ้น จัดตั้งองค์กรเพื่อแก้ไขกรณีพิพาททางการบริหาร (เช่น ศาลปกครอง เป็นต้น) เพื่อให้การปฏิบัติราชการถูกต้องและเป็นธรรม และขจัดการทุจริตและการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างจริงจัง | นโยบายด้านการบริหารนั้น พรรคเทิดไทจะปฏิรูประบบราชการและองค์กรของรัฐให้มีประสิทธิภาพที่จะสนองประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง เปลี่ยนบทบาทของราชการจากผู้ปฏิบัติมาเป็นผู้กำกับดูแลให้การสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันจะปรับโครงสร้างระบบราชการให้มีขนาดเล็กลง ปรับปรุงการบริหารราชการและวิธีการปฏิบัติงานให้รวดเร็วขึ้นและกระจายอำนาจการบริหารงานในด้านต่างๆจากส่วนกลางสู่หน่วยปฏิบัติและส่วนภูมิภาคให้มากขึ้น จัดตั้งองค์กรเพื่อแก้ไขกรณีพิพาททางการบริหาร (เช่น ศาลปกครอง เป็นต้น) เพื่อให้การปฏิบัติราชการถูกต้องและเป็นธรรม และขจัดการทุจริตและการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างจริงจัง | ||
บรรทัดที่ 31: | บรรทัดที่ 31: | ||
ในเวลาต่อมา คณะกรรมการบริหารพรรคเทิดไทปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้ไม่นาน ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งคณะกรรมการบริหารพรรคและลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคทั้งคณะ 30 คน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2535 แต่พรรคเทิดไทก็ยังคงดำเนินงานของพรรคต่อไป | ในเวลาต่อมา คณะกรรมการบริหารพรรคเทิดไทปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้ไม่นาน ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งคณะกรรมการบริหารพรรคและลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคทั้งคณะ 30 คน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2535 แต่พรรคเทิดไทก็ยังคงดำเนินงานของพรรคต่อไป | ||
แต่เมื่อครั้นถึง[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2535 พรรคเทิดไทก็มิได้ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่อย่างใด จึงเป็นเหตุให้ถูกศาลฎีกาประกาศยุบพรรคในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536 ในที่สุด | |||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:15, 8 กันยายน 2553
ผู้เรียบเรียง นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคเทิดไท
“พรรคเทิดไท” แต่เดิมมีชื่อว่า “พรรคสามัคคีธรรม” แต่ในภายหลังจากที่นายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม และคณะกรรมการบริหารพรรคส่วนใหญ่ได้ลาออกจากตำแหน่งคณะกรรมการบริหารพรรคและลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค อันเนื่องมาจากเรื่องอื้อฉาวที่โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศว่า นายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นบุคคลต้องห้ามในการเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีรายชื่อเกี่ยวพันกับนักค้ายาเสพติด ดังนั้น พรรคสามัคคีธรรมจึงได้มีการยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองเพื่อขอเปลี่ยนชื่อพรรคการเมือง และเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2535 โดยได้มีการเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น “พรรคเทิดไท” มีนายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ส่วนคณะกรรมการบริหารพรรคในตำแหน่งสำคัญนั้น มีดังต่อไปนี้
ตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ประกอบด้วย นายสะอาด ปียวรรณ, นายพินิจ จันทรสุรินทร์, นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์, นายประชุม รัตนเพียร, นายเจริญ เชาวน์ประยูร และนายชัชวาล ชมพูแดง
ตำแหน่งเลขาธิการพรรคมี นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็นผู้ดำรงตำแหน่ง
ตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค ประกอบด้วย นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ และนายสันติ ชัยวิรัตนะ
ในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เกิดขึ้น ได้มีการเปลี่ยนเฉพาะ ชื่อพรรค สัญลักษณ์ของพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคเท่านั้น ในขณะที่นโยบายต่างๆ ของพรรคยังคงไว้เช่นเมื่อครั้งใช้ชื่อพรรคสามัคคีธรรม โดยนโยบายและแนวทางการดำเนินการของพรรคในด้านต่างๆนั้น มีดังนี้
นโยบายด้านการเมือง พรรคเทิดไทจะมุ่งเสริมสร้างสังคมไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ โดยสนับสนุนให้ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นรากฐานของการเมืองในระดับชาติ รัฐจะต้องเคารพและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มีความเสมอภาคทางกฎหมายและโอกาสทางสังคมอย่างเท่าเทียมกัน ตลอดจนรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและผดุงไว้ซึ่งความเป็นอิสระของกระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมและสนับสนุนการปกครองท้องถิ่นทุกระดับ โดยกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีอิสระทางการเงินการคลังและการกำหนดนโยบายของตนเองมากขึ้น ตลอดจนปรับปรุงระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาคให้เข้มแข็งและมีเอกภาพ สามารถกระจายอำนาจการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างแท้จริง มีอำนาจตัดสินใจแก้ปัญหาและพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นโยบายด้านการบริหารนั้น พรรคเทิดไทจะปฏิรูประบบราชการและองค์กรของรัฐให้มีประสิทธิภาพที่จะสนองประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง เปลี่ยนบทบาทของราชการจากผู้ปฏิบัติมาเป็นผู้กำกับดูแลให้การสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันจะปรับโครงสร้างระบบราชการให้มีขนาดเล็กลง ปรับปรุงการบริหารราชการและวิธีการปฏิบัติงานให้รวดเร็วขึ้นและกระจายอำนาจการบริหารงานในด้านต่างๆจากส่วนกลางสู่หน่วยปฏิบัติและส่วนภูมิภาคให้มากขึ้น จัดตั้งองค์กรเพื่อแก้ไขกรณีพิพาททางการบริหาร (เช่น ศาลปกครอง เป็นต้น) เพื่อให้การปฏิบัติราชการถูกต้องและเป็นธรรม และขจัดการทุจริตและการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างจริงจัง
สำหรับนโยบายด้านเศรษฐกิจ จะมุ่งที่การรักษาอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ต่อเนื่องไปอย่างมีเสถียรภาพ กระจายรายได้และการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมสู่ภูมิภาคต่างๆให้ทั่วถึงอย่างเป็นระบบ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ระบบสังคมนานาชาติและให้บรรลุความเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน ตลอดจนให้ความสำคัญแก่การพัฒนาภาคเกษตรกรรมให้เป็นฐานรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การปรับระบบการผลิต คุณภาพผลผลิต ให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร และให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อให้การพัฒนาชนบทเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรซึ่งเป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศให้ดีขึ้น
นอกจากนโยบายหลักในด้านการเมือง การบริหาร และเศรษฐกิจของประเทศแล้วนั้น พรรคเทิดไทได้กำหนดนโยบายด้านอื่นๆ เช่น นโยบายด้านสังคม นโยบายด้านการป้องกันประเทศ นโยบายด้านการต่างประเทศ และนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และพลังงาน อย่างรอบด้านเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามเป้าหมายที่พรรคได้วางไว้
ในเวลาต่อมา คณะกรรมการบริหารพรรคเทิดไทปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้ไม่นาน ก็ได้ลาออกจากตำแหน่งคณะกรรมการบริหารพรรคและลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคทั้งคณะ 30 คน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2535 แต่พรรคเทิดไทก็ยังคงดำเนินงานของพรรคต่อไป
แต่เมื่อครั้นถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2535 พรรคเทิดไทก็มิได้ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่อย่างใด จึงเป็นเหตุให้ถูกศาลฎีกาประกาศยุบพรรคในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536 ในที่สุด
ที่มา
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอนที่ 80 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2535, หน้า 2-5
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอนที่ 91 ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2535, หน้า 38-39
สิงห์ทอง บัวชุม, การเกิดขึ้นและการล่มสลายของพรรคการเมืองไทย พ.ศ.2475-2547, ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ปีการศึกษา 2550, หน้า 675