ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิป... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
== คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น == | == คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น == | ||
เมื่อมี[[การเลือกตั้ง]][[สมาชิกสภาท้องถิ่น]]หรือ[[ผู้บริหารท้องถิ่น]]ของ[[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]]ใด [[คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด]]นั้น จะดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีจำนวน 5 คน องค์ประกอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่นแห่งนั้น 1 คน และกรรมการที่มาจากสรรหาตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งอีกจำนวน 4 คน | |||
การสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการโดยคณะกรรมการสรรหา ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนส่วนราชการในจังหวัด ผู้แทนองค์กรภาคเอกชน รวมถึงองค์กรสื่อมวลชนในจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการสรรหา | การสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการโดยคณะกรรมการสรรหา ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนส่วนราชการในจังหวัด ผู้แทนองค์กรภาคเอกชน รวมถึงองค์กรสื่อมวลชนในจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการสรรหา คณะกรรมการสรรหา[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]ประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะดำเนินการพิจารณาสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีความซื่อสัตย์สุจริต และความเหมาะสมอันเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเลือกตั้ง โดยคำนึงถึงความเป็นกลางและความหลากหลายของอาชีพ เพื่อเสนอชื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | ||
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดได้รับการเสนอชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากคณะกรรมการสรรหาแล้ว | เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดได้รับการเสนอชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากคณะกรรมการสรรหาแล้ว ก็จะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและ[[ลักษณะต้องห้าม]]ของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อนั้น และประชุมพิจารณาคัดเลือกให้เหลือจำนวนสี่คน โดยวิธีลงคะแนนลับ หลังจากดำเนินการคัดเลือกผู้ที่สมควรเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดเสร็จแล้ว ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกดังกล่าวจะร่วมกับหัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งนั้น ดำเนินการจัดประชุมเพื่อให้ที่สมาชิกในที่ประชุมคัดเลือกันเองเป็นประธานกรรมการ 1 คน ส่วนที่เหลืออีก 4 คน เป็นกรรมการ จากนั้นคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจะได้ดำเนินการแต่งตั้งบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งประธานและกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประกาศรายชื่อดังกล่าวต่อสาธารณชนต่อไป | ||
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีชื่อเฉพาะแตกต่างกันไปตามประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น กล่าวคือ | คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีชื่อเฉพาะแตกต่างกันไปตามประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น กล่าวคือ ในกรณีของ[[กรุงเทพมหานคร]] จะใช้ชื่อว่า “[[คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร]]” ส่วน[[เมืองพัทยา]] ใช้ชื่อว่า “[[คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเมืองพัทยา]]” องค์การบริหารส่วนจังหวัด ใช้ชื่อว่า “คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ระบุชื่อจังหวัด)” และองค์การบริหารส่วนตำบล ใช้ชื่อว่า “คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนตำบล (ระบุชื่อตำบล)” | ||
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ | อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ การเสนอแนะและให้ความเห็นชอบในการกำหนด[[หน่วยเลือกตั้ง]] ที่เลือกตั้ง และการแต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งของ[[ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]] การตรวจสอบและให้ความเห็นชอบในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และ[[การเพิ่มชื่อ]]หรือถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง [[การกำกับดูแล]] และอำนวยการเลือกตั้ง [[การลงคะแนนเสียงเลือก]][[การนับคะแนนเลือกตั้ง]]และ[[การประกาศผลการนับคะแนน]]เลือกตั้ง การกำหนดสถานที่รวบรวมผลคะแนน และรวบรวมผลคะแนนของทุกหน่วยเลือกตั้ง และรายงานผลการเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด | ||
ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะบุคคลใดเป็นผู้ช่วยเหลือในการปฏิบัติงานในการเลือกตั้งได้ตามสมควร ทั้งนี้การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดังกล่าวต้องเป็นการดำเนินการโดยได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด | ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะบุคคลใดเป็นผู้ช่วยเหลือในการปฏิบัติงานในการเลือกตั้งได้ตามสมควร ทั้งนี้การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดังกล่าวต้องเป็นการดำเนินการโดยได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด การดำรงตำแหน่งของกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสิ้นสุดลงเมื่อมีการประกาศผลการเลือกตั้ง[[สมาชิกสภาท้องถิ่น]]หรือผู้บริหารท้องถิ่นนั้นแล้ว | ||
== ที่มา == | == ที่มา == |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:05, 28 สิงหาคม 2553
ผู้เรียบเรียง นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนั้น จะดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีจำนวน 5 คน องค์ประกอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่นแห่งนั้น 1 คน และกรรมการที่มาจากสรรหาตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งอีกจำนวน 4 คน
การสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการโดยคณะกรรมการสรรหา ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนส่วนราชการในจังหวัด ผู้แทนองค์กรภาคเอกชน รวมถึงองค์กรสื่อมวลชนในจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการสรรหา คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะดำเนินการพิจารณาสรรหาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีความซื่อสัตย์สุจริต และความเหมาะสมอันเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเลือกตั้ง โดยคำนึงถึงความเป็นกลางและความหลากหลายของอาชีพ เพื่อเสนอชื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดได้รับการเสนอชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากคณะกรรมการสรรหาแล้ว ก็จะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อนั้น และประชุมพิจารณาคัดเลือกให้เหลือจำนวนสี่คน โดยวิธีลงคะแนนลับ หลังจากดำเนินการคัดเลือกผู้ที่สมควรเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดเสร็จแล้ว ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกดังกล่าวจะร่วมกับหัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งนั้น ดำเนินการจัดประชุมเพื่อให้ที่สมาชิกในที่ประชุมคัดเลือกันเองเป็นประธานกรรมการ 1 คน ส่วนที่เหลืออีก 4 คน เป็นกรรมการ จากนั้นคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจะได้ดำเนินการแต่งตั้งบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งประธานและกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประกาศรายชื่อดังกล่าวต่อสาธารณชนต่อไป
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีชื่อเฉพาะแตกต่างกันไปตามประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น กล่าวคือ ในกรณีของกรุงเทพมหานคร จะใช้ชื่อว่า “คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร” ส่วนเมืองพัทยา ใช้ชื่อว่า “คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเมืองพัทยา” องค์การบริหารส่วนจังหวัด ใช้ชื่อว่า “คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ระบุชื่อจังหวัด)” และองค์การบริหารส่วนตำบล ใช้ชื่อว่า “คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนตำบล (ระบุชื่อตำบล)”
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ การเสนอแนะและให้ความเห็นชอบในการกำหนดหน่วยเลือกตั้ง ที่เลือกตั้ง และการแต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งของผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การตรวจสอบและให้ความเห็นชอบในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และการเพิ่มชื่อหรือถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การกำกับดูแล และอำนวยการเลือกตั้ง การลงคะแนนเสียงเลือกการนับคะแนนเลือกตั้งและการประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้ง การกำหนดสถานที่รวบรวมผลคะแนน และรวบรวมผลคะแนนของทุกหน่วยเลือกตั้ง และรายงานผลการเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะบุคคลใดเป็นผู้ช่วยเหลือในการปฏิบัติงานในการเลือกตั้งได้ตามสมควร ทั้งนี้การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดังกล่าวต้องเป็นการดำเนินการโดยได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด การดำรงตำแหน่งของกรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสิ้นสุดลงเมื่อมีการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นนั้นแล้ว
ที่มา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550
ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งและคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545