ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กิจสังคม (พ.ศ. 2517)"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิป... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
== พรรคกิจสังคม (2517) == | == พรรคกิจสังคม (2517) == | ||
พรรคกิจสังคมเป็น[[พรรคการเมือง]]ที่[[จดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง]] ตาม[[พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517]] โดยมี[[หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช]] เป็น[[หัวหน้าพรรค]] นายบุญชู โรจนเสถียร เป็น[[เลขาธิการพรร]]ค คำขวัญของพรรคกิจสังคม คือ “เราทำได้” | |||
== นโยบายของพรรคกิจสังคม == | == นโยบายของพรรคกิจสังคม == | ||
พรรคกิจสังคมมีนโยบายหลักที่จะทำให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุข และรักษาความสงบเรียบร้อยโดยมีหลักการ 4 ประการ คือ | พรรคกิจสังคมมีนโยบายหลักที่จะทำให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุข และรักษาความสงบเรียบร้อยโดยมีหลักการ 4 ประการ คือ [[เสรีภาพ]]ส่วนตัวของบุคคล [[ความเสมอภาค]]ใน[[กฎหมาย]] ความเสมอภาคในโอกาส และการกระจายแจกจ่ายโภคทรัพย์อย่าง[[เป็นธรรม]]ในสังคม | ||
'''นโยบายด้านการปกครอง''' พรรคกิจสังคมจะทำให้บ้านเมืองมีขื่อมีแปอย่างแท้จริง รัฐจะต้องเป็นที่พึ่งและคุ้มกันประชาชนผู้สุจริตให้มีชีวิตอย่างสงบสุขโดยทั่วถึง | '''นโยบายด้านการปกครอง''' พรรคกิจสังคมจะทำให้บ้านเมืองมีขื่อมีแปอย่างแท้จริง รัฐจะต้องเป็นที่พึ่งและคุ้มกันประชาชนผู้สุจริตให้มีชีวิตอย่างสงบสุขโดยทั่วถึง [[รัฐบาล]]ของพรรคกิจสังคมจะมุ่งปราบปรามโจรผู้ร้ายและผู้ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้การใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดจะต้องให้ความเป็นธรรมกับคนทุกฝ่าย โดยตำรวจและ[[ศาลยุติธรรม]]ต้องเป็นกลไกสำคัญในการปราบปรามและลงโทษผู้กระทำความผิด และต้องจำกัด[[ถ่วงดุลการใช้อำนาจ]]ของแต่ละฝ่ายให้อยู่ในขอบเขต ตำรวจมีหน้าที่ปราบโจรต้องไม่ใช้อำนาจหน้าที่นั้นไปในการกระทำที่เป็นโจรเสียเอง | ||
พรรคกิจสังคมจะผลักดันให้มีการแยกข้าราชการประจำออกจากข้าราชการการเมืองโดยเด็ดขาด เพื่อให้ข้าราชการประจำมีความสบายใจ และเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติราชการด้วยความรับผิดชอบ พร้อมกันนี้ก็จะเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการ ให้เห็นว่าตนเป็นผู้รับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง | พรรคกิจสังคมจะผลักดันให้มีการแยกข้าราชการประจำออกจากข้าราชการการเมืองโดยเด็ดขาด เพื่อให้ข้าราชการประจำมีความสบายใจ และเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติราชการด้วยความรับผิดชอบ พร้อมกันนี้ก็จะเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการ ให้เห็นว่าตนเป็นผู้รับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง โดยที่คณะ[[รัฐบาล]]และข้าราชการการเมืองของพรรคกิจสังคมจะปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่างก่อน โดยเฉพาะตำแหน่ง[[รัฐมนตรี]]นั้น ต้องจำกัดบทบาทของตนในฐานะผู้บริหารกระทรวง ต้องคอยกวดขันปลัดกระทรวงให้บังคับบัญชาให้ข้าราชการประจำดำเนินงานตามนโยบายของ[[รัฐบาล]] รัฐมนตรีไม่ใช่ผู้ที่จะลงมาไล่กวดขันหรือสั่งการให้ไล่เสมียนออกจากตำแหน่งได้ตามใจ การพิจารณาสั่งโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งข้าราชการประจำต้องมาจากการตัดสินใจของปลัด[[กระทรวง]] ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับการบริหารงานในกระทรวง มิใช่การสั่งการของ[[รัฐมนตรี]] พรรคกิจสังคมถือว่ารัฐมนตรีคือผู้รับใช้ราษฎร เป็นผู้บริหารให้ราชการรับใช้ราษฎรด้วย มิใช่เจ้านายของราษฎรและข้าราชการ | ||
'''นโยบายด้านการกระจายอำนาจ''' พรรคกิจสังคมมองว่าปัญหาการบริหารราชการในปัจจุบันอยู่ที่การรวมศูนย์ของส่วนกลางในการกำหนดทิศทางการบริหารทุกอย่าง เมื่อระบบการบริหารไม่ดี ผนวกกับบุคคลที่อยู่ในระบบไม่ดีด้วย ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาในระบบราชการ ทั้งในเรื่องความล่าช้า และความไม่สุจริตของข้าราชการ พรรคกิจสังคมจะแก้ไขปัญหาโดยปฏิรูปทั้งในเชิงโครงสร้างและตัวข้าราชการไปพร้อมกัน แต่ทั้งนี้การปฏิรูประบบราชการต้องดำเนินการในระยะยาว ต้องอาศัยการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาและวางแนวทางการปฏิรูประบบราชการต่อไป | '''นโยบายด้านการกระจายอำนาจ''' พรรคกิจสังคมมองว่าปัญหาการบริหารราชการในปัจจุบันอยู่ที่การรวมศูนย์ของส่วนกลางในการกำหนดทิศทางการบริหารทุกอย่าง เมื่อระบบการบริหารไม่ดี ผนวกกับบุคคลที่อยู่ในระบบไม่ดีด้วย ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาในระบบราชการ ทั้งในเรื่องความล่าช้า และความไม่สุจริตของข้าราชการ พรรคกิจสังคมจะแก้ไขปัญหาโดยปฏิรูปทั้งในเชิงโครงสร้างและตัวข้าราชการไปพร้อมกัน แต่ทั้งนี้การปฏิรูประบบราชการต้องดำเนินการในระยะยาว ต้องอาศัยการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาและวางแนวทางการปฏิรูประบบราชการต่อไป | ||
พรรคกิจสังคมจะผลักดันการกระจายอำนาจการปกครองตนเอง และการเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนรักษาผลประโยชน์ของตนเอง รวมทั้งการสร้างเสริมประโยชน์แก่ตนเองของคนในท้องถิ่นโดยเร็วที่สุด | พรรคกิจสังคมจะผลักดันการกระจายอำนาจการปกครองตนเอง และการเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนรักษาผลประโยชน์ของตนเอง รวมทั้งการสร้างเสริมประโยชน์แก่ตนเองของคนในท้องถิ่นโดยเร็วที่สุด รัฐบาลจะต้องส่งเสริมบทบาทของ[[สภาตำบล]] [[สภาเทศบาล]] [[สภาจังหวัด]] ให้มีอำนาจควบคุมการบริหารงานของ[[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]]ให้มากยิ่งขึ้น ต้องให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีงบประมาณในการบริหารที่ได้สัดส่วนกับรายได้ รัฐบาลต้องกำหนดสัดส่วนให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีรายได้สำหรับบริหารท้องถิ่นเพียงพอสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในจังหวัดนั้น เช่น จังหวัดภูเก็ตมีรายได้จำนวนมาก ก็ควรจะจัดสรรงบประมาณให้จำนวนมาก ไม่ใช่ให้งบประมาณเท่ากับจังหวัดชายแดน เป็นต้น | ||
สำหรับ[[การบริหารราชการส่วนภูมิภาค]]นั้น รัฐบาลจะต้องมีกลไกตัวแทนของรัฐบาลอยู่ในทุกจังหวัด เป็นโครงสร้างการบริหารราชการอีกชั้นหนึ่งแยกจากการบริหารท้องถิ่น โดย[[ผู้ว่าราชการจังหวัด]] และ[[นายอำเภอ]] อาจไม่จำเป็นต้องมาจา[[กการเลือกตั้ง]] แต่เป็นข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลให้ทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในการปกครองท้องถิ่น | |||
'''นโยบายด้านการต่างประเทศ''' พรรคกิจสังคมจะมุ่งผลักดันนโยบายการต่างประเทศที่สอดคล้องกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจของประเทศชาติและของประชาชน โดยจะให้หน่วยงานของกระทรวงการต่างประเทศได้ประสานกับฝ่ายวางแผนเศรษฐกิจของชาติอย่างใกล้ชิด ในด้านความสัมพันธ์กับนานาประเทศนั้น พรรคกิจสังคมจะผลักดันให้รัฐบาลหาทางเปิดสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ที่ยังไม่มีสัมพันธไมตรี | '''นโยบายด้านการต่างประเทศ''' พรรคกิจสังคมจะมุ่งผลักดันนโยบายการต่างประเทศที่สอดคล้องกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจของประเทศชาติและของประชาชน โดยจะให้หน่วยงานของกระทรวงการต่างประเทศได้ประสานกับฝ่ายวางแผนเศรษฐกิจของชาติอย่างใกล้ชิด ในด้านความสัมพันธ์กับนานาประเทศนั้น พรรคกิจสังคมจะผลักดันให้รัฐบาลหาทางเปิดสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ที่ยังไม่มีสัมพันธไมตรี โดยจะยึดเอา[[หลักเสมอภาค]]และประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของชาติเป็นสำคัญ | ||
'''นโยบายด้านเศรษฐกิจ''' พรรคกิจสังคมจะประกันราคาข้าวเปลือก ข้าวโพด อ้อย ถั่วเหลือง และพืชหลักที่ทำรายได้อื่น ๆ เพื่อให้ชาวไร่ชาวนาได้รับผลจากการผลิตของตนอย่างแน่นอนขึ้น รัฐบาลจะต้องขจัดอุปสรรคขัดขวางมิให้ราคาพืชผลของเกษตรกรสูงขึ้นตามราคาของตลาดโลกให้หมดสิ้น เช่น พรีเมี่ยมข้าว การผูกขาด และอภิสิทธิต่าง ๆ ในทางการค้า พรรคกิจสังคมจะจัดให้ชาวนาชาวไร่ได้เอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ยังไม่ได้รับเอกสารสิทธิ์โดยรีบด่วน โดยพรรคกิจสังคมยืนยันรับรองว่าหากได้เป็นรัฐบาลจะดำเนินการให้เสร็จภายในเวลา 4 ปี ทั้งนี้เพื่อให้ชาวนาชาวไร่ได้ใช้เอกสารสิทธิ์เหล่านั้นเป็นหลักประกันสินเชื่อทางการเกษตรได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินทุนมาใช้จ่ายและขยายการทำไร่ทำนาให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยรัฐบาลจะเข้าประสานงานกับสถาบันการเงินของเอกชนอย่างใกล้ชิด จะคุ้มครองดูแลมิให้ผู้ใดเอารัดเอาเปรียบชาวนาชาวไร่ในเรื่องการกู้ยืมเงินลงทุนหรือสินเชื่อเพื่อการเกษตรนี้โดยเด็ดขาด โดยเฉพาะรัฐบาลจะกำหนดให้เกษตรกรได้รับสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำ | '''นโยบายด้านเศรษฐกิจ''' พรรคกิจสังคมจะประกันราคาข้าวเปลือก ข้าวโพด อ้อย ถั่วเหลือง และพืชหลักที่ทำรายได้อื่น ๆ เพื่อให้ชาวไร่ชาวนาได้รับผลจากการผลิตของตนอย่างแน่นอนขึ้น รัฐบาลจะต้องขจัดอุปสรรคขัดขวางมิให้ราคาพืชผลของเกษตรกรสูงขึ้นตามราคาของตลาดโลกให้หมดสิ้น เช่น พรีเมี่ยมข้าว การผูกขาด และอภิสิทธิต่าง ๆ ในทางการค้า พรรคกิจสังคมจะจัดให้ชาวนาชาวไร่ได้เอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ยังไม่ได้รับเอกสารสิทธิ์โดยรีบด่วน โดยพรรคกิจสังคมยืนยันรับรองว่าหากได้เป็นรัฐบาลจะดำเนินการให้เสร็จภายในเวลา 4 ปี ทั้งนี้เพื่อให้ชาวนาชาวไร่ได้ใช้เอกสารสิทธิ์เหล่านั้นเป็นหลักประกันสินเชื่อทางการเกษตรได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินทุนมาใช้จ่ายและขยายการทำไร่ทำนาให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยรัฐบาลจะเข้าประสานงานกับสถาบันการเงินของเอกชนอย่างใกล้ชิด จะคุ้มครองดูแลมิให้ผู้ใดเอารัดเอาเปรียบชาวนาชาวไร่ในเรื่องการกู้ยืมเงินลงทุนหรือสินเชื่อเพื่อการเกษตรนี้โดยเด็ดขาด โดยเฉพาะรัฐบาลจะกำหนดให้เกษตรกรได้รับสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำ | ||
สำหรับการประกันราคาพืชผลการเกษตรนั้น | สำหรับการประกันราคาพืชผลการเกษตรนั้น พรรค[[กิจสังคม]]จะให้รัฐบาลประกันราคารับซื้อผลผลิตการเกษตร โดยมิให้ชาวนาและเกษตรกรต้องขายผลิตผลแล้วขาดทุน ตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันราคาข้าวเปลือกอยู่ที่ 2,700 บาทต่อหนึ่งเกวียน ซึ่งเป็นราคารับซื้อที่ทำให้เกษตรกรขาดทุน รัฐบาลจะค้ำประกับราคาข้าวเปลือกให้มากขึ้นอยู่ที่ 3,000-3,500 บาทต่อเกวียน นอกจากข้าวเปลือกแล้ว รัฐบาลจะประกันราคารับซื้อผลผลิตพืชหลักทั้งหมดด้วย และจะไม่เก็บค่าพรีเมี่ยม ซึ่งเท่ากับเป็นการนำเงินพรีเมี่ยมคืนกลับไปให้เกษตรทั้งหมด | ||
'''นโยบายด้านสังคม''' พรรคกิจสังคมจะมุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ของประชาชนและผู้ใช้แรงงาน ให้สูงขึ้นตามระดับราคาผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยรัฐต้องอุ้มชูผู้ใช้แรงงานของชาติให้มีรายได้เพียงพอ ต้องมีการสงเคราะห์ในเรื่องที่อยู่อาศัย เรื่องสวัสดิการการศึกษาของบุตร ค่าพาหนะเดินทาง และค่ารักษาพยาบาลแก่บุคคลผู้ใช้แรงงานอย่างถ้วนหน้า โดยพรรคกิจสังคมกำหนดไว้ว่า จะสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อยปีละไม่ต่ำกว่า 20,000 หน่วย จะปรับปรุงอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเพื่อให้เกิดวามเป็นธรรมต่อผู้ใช้แรงงานและสอดคล้องกับระดับค่าครองชีพ แต่จะมิให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อการขยายการลงทุนภายในประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลจะจ่ายบัตรปันส่วนสำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 2,000 บาทสำหรับซื้อข้าวสารในราคาถูกกว่าท้องตลาด โดยข้าวสารในส่วนนี้จะเป็นข้าวในส่วนที่รัฐบาลกำหนดเงื่อนไขให้พ่อค้าส่งออกข้าวต้องสงวนไว้สำหรับการจำหน่ายแก่ประชาชนในประเทศ | '''นโยบายด้านสังคม''' พรรคกิจสังคมจะมุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ของประชาชนและผู้ใช้แรงงาน ให้สูงขึ้นตามระดับราคาผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยรัฐต้องอุ้มชูผู้ใช้แรงงานของชาติให้มีรายได้เพียงพอ ต้องมีการสงเคราะห์ในเรื่องที่อยู่อาศัย เรื่องสวัสดิการการศึกษาของบุตร ค่าพาหนะเดินทาง และค่ารักษาพยาบาลแก่บุคคลผู้ใช้แรงงานอย่างถ้วนหน้า โดยพรรคกิจสังคมกำหนดไว้ว่า จะสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อยปีละไม่ต่ำกว่า 20,000 หน่วย จะปรับปรุงอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเพื่อให้เกิดวามเป็นธรรมต่อผู้ใช้แรงงานและสอดคล้องกับระดับค่าครองชีพ แต่จะมิให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อการขยายการลงทุนภายในประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลจะจ่ายบัตรปันส่วนสำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 2,000 บาทสำหรับซื้อข้าวสารในราคาถูกกว่าท้องตลาด โดยข้าวสารในส่วนนี้จะเป็นข้าวในส่วนที่รัฐบาลกำหนดเงื่อนไขให้พ่อค้าส่งออกข้าวต้องสงวนไว้สำหรับการจำหน่ายแก่ประชาชนในประเทศ | ||
บรรทัดที่ 38: | บรรทัดที่ 38: | ||
'''นโยบายด้านการศึกษา''' พรรคกิจสังคมจะปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาและเนื้อหาวิชาในทุกระดับ โดยมุ่งจูงใจเยาวชนให้เติบโตไปในสายวิชาชีพมากขึ้น รัฐบาลต้องเน้นการเพิ่มคุณภาพการเรียนการสอนในโรงเรียนต่างจังหวัด โดยต้องมีการตรวจการสอน ส่งเสริมอุปกรณ์การเรียนการสอน หนังสือเรียนให้เพียงพอและทั่วถึง ต้องเพิ่มจำนวนครูให้เพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษารัฐบาลต้องเน้นการเรียนรู้ทักษะวิชาชีพเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับปัญหาการจบมาแล้วไม่มีตำแหน่งงานรองรับ ทั้งนี้นักศึกษาที่มีทักษะวิชาชีพจะได้สามารถประกอบอาชีพของตนเองได้ อันเป็นการช่วยลดอัตราคนว่างงาน | '''นโยบายด้านการศึกษา''' พรรคกิจสังคมจะปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาและเนื้อหาวิชาในทุกระดับ โดยมุ่งจูงใจเยาวชนให้เติบโตไปในสายวิชาชีพมากขึ้น รัฐบาลต้องเน้นการเพิ่มคุณภาพการเรียนการสอนในโรงเรียนต่างจังหวัด โดยต้องมีการตรวจการสอน ส่งเสริมอุปกรณ์การเรียนการสอน หนังสือเรียนให้เพียงพอและทั่วถึง ต้องเพิ่มจำนวนครูให้เพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษารัฐบาลต้องเน้นการเรียนรู้ทักษะวิชาชีพเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับปัญหาการจบมาแล้วไม่มีตำแหน่งงานรองรับ ทั้งนี้นักศึกษาที่มีทักษะวิชาชีพจะได้สามารถประกอบอาชีพของตนเองได้ อันเป็นการช่วยลดอัตราคนว่างงาน | ||
ใน[[การเลือกตั้ง]]เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคกิจสังคมส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งในเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 230 คน โดยผู้สมัครของพรรคกิจสังคมได้รับเลือกตั้งทั้งสิ้น 18 คน | |||
== ที่มา == | == ที่มา == |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:03, 25 สิงหาคม 2553
ผู้เรียบเรียง นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคกิจสังคม (2517)
พรรคกิจสังคมเป็นพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 โดยมีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรค นายบุญชู โรจนเสถียร เป็นเลขาธิการพรรค คำขวัญของพรรคกิจสังคม คือ “เราทำได้”
นโยบายของพรรคกิจสังคม
พรรคกิจสังคมมีนโยบายหลักที่จะทำให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุข และรักษาความสงบเรียบร้อยโดยมีหลักการ 4 ประการ คือ เสรีภาพส่วนตัวของบุคคล ความเสมอภาคในกฎหมาย ความเสมอภาคในโอกาส และการกระจายแจกจ่ายโภคทรัพย์อย่างเป็นธรรมในสังคม
นโยบายด้านการปกครอง พรรคกิจสังคมจะทำให้บ้านเมืองมีขื่อมีแปอย่างแท้จริง รัฐจะต้องเป็นที่พึ่งและคุ้มกันประชาชนผู้สุจริตให้มีชีวิตอย่างสงบสุขโดยทั่วถึง รัฐบาลของพรรคกิจสังคมจะมุ่งปราบปรามโจรผู้ร้ายและผู้ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้การใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดจะต้องให้ความเป็นธรรมกับคนทุกฝ่าย โดยตำรวจและศาลยุติธรรมต้องเป็นกลไกสำคัญในการปราบปรามและลงโทษผู้กระทำความผิด และต้องจำกัดถ่วงดุลการใช้อำนาจของแต่ละฝ่ายให้อยู่ในขอบเขต ตำรวจมีหน้าที่ปราบโจรต้องไม่ใช้อำนาจหน้าที่นั้นไปในการกระทำที่เป็นโจรเสียเอง
พรรคกิจสังคมจะผลักดันให้มีการแยกข้าราชการประจำออกจากข้าราชการการเมืองโดยเด็ดขาด เพื่อให้ข้าราชการประจำมีความสบายใจ และเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติราชการด้วยความรับผิดชอบ พร้อมกันนี้ก็จะเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการ ให้เห็นว่าตนเป็นผู้รับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง โดยที่คณะรัฐบาลและข้าราชการการเมืองของพรรคกิจสังคมจะปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่างก่อน โดยเฉพาะตำแหน่งรัฐมนตรีนั้น ต้องจำกัดบทบาทของตนในฐานะผู้บริหารกระทรวง ต้องคอยกวดขันปลัดกระทรวงให้บังคับบัญชาให้ข้าราชการประจำดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล รัฐมนตรีไม่ใช่ผู้ที่จะลงมาไล่กวดขันหรือสั่งการให้ไล่เสมียนออกจากตำแหน่งได้ตามใจ การพิจารณาสั่งโยกย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งข้าราชการประจำต้องมาจากการตัดสินใจของปลัดกระทรวง ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับการบริหารงานในกระทรวง มิใช่การสั่งการของรัฐมนตรี พรรคกิจสังคมถือว่ารัฐมนตรีคือผู้รับใช้ราษฎร เป็นผู้บริหารให้ราชการรับใช้ราษฎรด้วย มิใช่เจ้านายของราษฎรและข้าราชการ
นโยบายด้านการกระจายอำนาจ พรรคกิจสังคมมองว่าปัญหาการบริหารราชการในปัจจุบันอยู่ที่การรวมศูนย์ของส่วนกลางในการกำหนดทิศทางการบริหารทุกอย่าง เมื่อระบบการบริหารไม่ดี ผนวกกับบุคคลที่อยู่ในระบบไม่ดีด้วย ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาในระบบราชการ ทั้งในเรื่องความล่าช้า และความไม่สุจริตของข้าราชการ พรรคกิจสังคมจะแก้ไขปัญหาโดยปฏิรูปทั้งในเชิงโครงสร้างและตัวข้าราชการไปพร้อมกัน แต่ทั้งนี้การปฏิรูประบบราชการต้องดำเนินการในระยะยาว ต้องอาศัยการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาและวางแนวทางการปฏิรูประบบราชการต่อไป
พรรคกิจสังคมจะผลักดันการกระจายอำนาจการปกครองตนเอง และการเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนรักษาผลประโยชน์ของตนเอง รวมทั้งการสร้างเสริมประโยชน์แก่ตนเองของคนในท้องถิ่นโดยเร็วที่สุด รัฐบาลจะต้องส่งเสริมบทบาทของสภาตำบล สภาเทศบาล สภาจังหวัด ให้มีอำนาจควบคุมการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น ต้องให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีงบประมาณในการบริหารที่ได้สัดส่วนกับรายได้ รัฐบาลต้องกำหนดสัดส่วนให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีรายได้สำหรับบริหารท้องถิ่นเพียงพอสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในจังหวัดนั้น เช่น จังหวัดภูเก็ตมีรายได้จำนวนมาก ก็ควรจะจัดสรรงบประมาณให้จำนวนมาก ไม่ใช่ให้งบประมาณเท่ากับจังหวัดชายแดน เป็นต้น
สำหรับการบริหารราชการส่วนภูมิภาคนั้น รัฐบาลจะต้องมีกลไกตัวแทนของรัฐบาลอยู่ในทุกจังหวัด เป็นโครงสร้างการบริหารราชการอีกชั้นหนึ่งแยกจากการบริหารท้องถิ่น โดยผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ อาจไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่เป็นข้าราชการที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลให้ทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในการปกครองท้องถิ่น
นโยบายด้านการต่างประเทศ พรรคกิจสังคมจะมุ่งผลักดันนโยบายการต่างประเทศที่สอดคล้องกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจของประเทศชาติและของประชาชน โดยจะให้หน่วยงานของกระทรวงการต่างประเทศได้ประสานกับฝ่ายวางแผนเศรษฐกิจของชาติอย่างใกล้ชิด ในด้านความสัมพันธ์กับนานาประเทศนั้น พรรคกิจสังคมจะผลักดันให้รัฐบาลหาทางเปิดสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ที่ยังไม่มีสัมพันธไมตรี โดยจะยึดเอาหลักเสมอภาคและประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของชาติเป็นสำคัญ
นโยบายด้านเศรษฐกิจ พรรคกิจสังคมจะประกันราคาข้าวเปลือก ข้าวโพด อ้อย ถั่วเหลือง และพืชหลักที่ทำรายได้อื่น ๆ เพื่อให้ชาวไร่ชาวนาได้รับผลจากการผลิตของตนอย่างแน่นอนขึ้น รัฐบาลจะต้องขจัดอุปสรรคขัดขวางมิให้ราคาพืชผลของเกษตรกรสูงขึ้นตามราคาของตลาดโลกให้หมดสิ้น เช่น พรีเมี่ยมข้าว การผูกขาด และอภิสิทธิต่าง ๆ ในทางการค้า พรรคกิจสังคมจะจัดให้ชาวนาชาวไร่ได้เอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ยังไม่ได้รับเอกสารสิทธิ์โดยรีบด่วน โดยพรรคกิจสังคมยืนยันรับรองว่าหากได้เป็นรัฐบาลจะดำเนินการให้เสร็จภายในเวลา 4 ปี ทั้งนี้เพื่อให้ชาวนาชาวไร่ได้ใช้เอกสารสิทธิ์เหล่านั้นเป็นหลักประกันสินเชื่อทางการเกษตรได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินทุนมาใช้จ่ายและขยายการทำไร่ทำนาให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยรัฐบาลจะเข้าประสานงานกับสถาบันการเงินของเอกชนอย่างใกล้ชิด จะคุ้มครองดูแลมิให้ผู้ใดเอารัดเอาเปรียบชาวนาชาวไร่ในเรื่องการกู้ยืมเงินลงทุนหรือสินเชื่อเพื่อการเกษตรนี้โดยเด็ดขาด โดยเฉพาะรัฐบาลจะกำหนดให้เกษตรกรได้รับสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
สำหรับการประกันราคาพืชผลการเกษตรนั้น พรรคกิจสังคมจะให้รัฐบาลประกันราคารับซื้อผลผลิตการเกษตร โดยมิให้ชาวนาและเกษตรกรต้องขายผลิตผลแล้วขาดทุน ตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันราคาข้าวเปลือกอยู่ที่ 2,700 บาทต่อหนึ่งเกวียน ซึ่งเป็นราคารับซื้อที่ทำให้เกษตรกรขาดทุน รัฐบาลจะค้ำประกับราคาข้าวเปลือกให้มากขึ้นอยู่ที่ 3,000-3,500 บาทต่อเกวียน นอกจากข้าวเปลือกแล้ว รัฐบาลจะประกันราคารับซื้อผลผลิตพืชหลักทั้งหมดด้วย และจะไม่เก็บค่าพรีเมี่ยม ซึ่งเท่ากับเป็นการนำเงินพรีเมี่ยมคืนกลับไปให้เกษตรทั้งหมด
นโยบายด้านสังคม พรรคกิจสังคมจะมุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ของประชาชนและผู้ใช้แรงงาน ให้สูงขึ้นตามระดับราคาผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยรัฐต้องอุ้มชูผู้ใช้แรงงานของชาติให้มีรายได้เพียงพอ ต้องมีการสงเคราะห์ในเรื่องที่อยู่อาศัย เรื่องสวัสดิการการศึกษาของบุตร ค่าพาหนะเดินทาง และค่ารักษาพยาบาลแก่บุคคลผู้ใช้แรงงานอย่างถ้วนหน้า โดยพรรคกิจสังคมกำหนดไว้ว่า จะสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อยปีละไม่ต่ำกว่า 20,000 หน่วย จะปรับปรุงอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเพื่อให้เกิดวามเป็นธรรมต่อผู้ใช้แรงงานและสอดคล้องกับระดับค่าครองชีพ แต่จะมิให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อการขยายการลงทุนภายในประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลจะจ่ายบัตรปันส่วนสำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 2,000 บาทสำหรับซื้อข้าวสารในราคาถูกกว่าท้องตลาด โดยข้าวสารในส่วนนี้จะเป็นข้าวในส่วนที่รัฐบาลกำหนดเงื่อนไขให้พ่อค้าส่งออกข้าวต้องสงวนไว้สำหรับการจำหน่ายแก่ประชาชนในประเทศ
พรรคกิจสังคมจะผลักดันการแก้ไขกฎหมายด้านแรงงานให้มีความทันสมัยกว่าที่เป็นอยู่ โดยให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนวิถีความเป็นอยู่ของแรงงานไทย เพราะแต่ละประเทศมีสภาพสังคมและความนึกคิดของคนแตกต่างกัน การออกฎหมายแรงงานจึงต้องเหมาะสมกับจิตใจของคนไทยให้มากกว่านี้ หากได้เข้าเป็นรัฐบาล พรรคกิจสังคมจะเร่งรัดการจัดตั้งสหพันธ์แรงงานในทันที พรรคกิจสังคมจะมุ่งช่วยเหลือข้าราชการ ทหาร พลเรือน และตำรวจ ตลอดจนลูกจ้างของทางราชการทุกระดับ โดยจะปรับอัตราเงินเดือนให้อยู่ในระดับที่ไม่ด้อยกว่าผู้ที่ทำงานในภาคเอกชน รัฐบาลจะต้องเข้าอุปการะด้านที่อยู่อาศัย ค่าการศึกษาเล่าเรียนบุตร ค่าพาหนะเดินทาง และค่ารักษาพยาบาล แก่ข้าราชการชั้นผู้น้อยและลูกจ้าง เช่นเดียวกับผู้ใช้แรงงาน
นโยบายด้านการศึกษา พรรคกิจสังคมจะปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาและเนื้อหาวิชาในทุกระดับ โดยมุ่งจูงใจเยาวชนให้เติบโตไปในสายวิชาชีพมากขึ้น รัฐบาลต้องเน้นการเพิ่มคุณภาพการเรียนการสอนในโรงเรียนต่างจังหวัด โดยต้องมีการตรวจการสอน ส่งเสริมอุปกรณ์การเรียนการสอน หนังสือเรียนให้เพียงพอและทั่วถึง ต้องเพิ่มจำนวนครูให้เพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษารัฐบาลต้องเน้นการเรียนรู้ทักษะวิชาชีพเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับปัญหาการจบมาแล้วไม่มีตำแหน่งงานรองรับ ทั้งนี้นักศึกษาที่มีทักษะวิชาชีพจะได้สามารถประกอบอาชีพของตนเองได้ อันเป็นการช่วยลดอัตราคนว่างงาน
ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคกิจสังคมส่งผู้สมัครลงแข่งขันรับเลือกตั้งในเขตต่าง ๆ ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 230 คน โดยผู้สมัครของพรรคกิจสังคมได้รับเลือกตั้งทั้งสิ้น 18 คน
ที่มา
สุจิต บุญบงการ, การพัฒนาการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช, การสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมืองในประเทศไทย, วิทยานิพนธ์หลักสูตรชั้นปริญญาโท ภาค 2 ทางรัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2519
วสันต์ หงสกุล, 37 พรรคการเมือง ปัจจัยพิจารณาเปรียบเทียบ, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ตะวันนา, 2518
ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ, พรรคการเมืองและปัญหาพรรคการเมืองไทย, กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2524