ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งตามปกติ"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิป... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 32: | บรรทัดที่ 32: | ||
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 | พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 | ||
[[หมวดหมู่:รูปแบบการเลือกตั้ง]] | |||
[[หมวดหมู่: |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:35, 18 สิงหาคม 2553
ผู้เรียบเรียง นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
การเลือกตั้งทั่วไป
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป คณะกรรมการการเลือกตั้งจะจัดให้มีการเลือกตั้ง 2 รูปแบบ คือ
(1) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งเท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น
(2) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ซึ่งเป็นการลงคะแนนเลือกพรรคการเมืองที่จัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยเลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคการเมืองเดียว
การจัดการเลือกตั้งดำเนินการโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง เริ่มต้นจากเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนรับทราบเกี่ยวกับกำหนดการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ได้แก่ กำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งต้องกำหนดให้มีการเริ่มรับสมัครไม่เกิน 20 วันนับจากวันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใช้บังคับ และต้องกำหนดวันรับสมัครไม่น้อยกว่า 5 วัน กำหนดวันที่พรรคการเมืองจะยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ซึ่งต้องกำหนดให้เป็นวันก่อนวันรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และกำหนดวันรับสมัครไม่น้อยกว่า 5 วัน กำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับอำเภอหรือเขตพื้นที่ที่อยู่ในเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และกำหนดเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งแบบสัดส่วน ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับจังหวัดที่อยู่ภายในเขตเลือกตั้งแต่ละกลุ่มจังหวัด
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละครั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งสามารถดำเนินการแต่งตั้งบุคคลเป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งในตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ เพื่อดูแลรับผิดชอบการจัดการเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้งได้ ประกอบด้วย “ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง” จำนวน 1 คน มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับสมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และดำเนินกิจการที่จำเป็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง
“คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง” มีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน มีหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดหน่วยเลือกตั้ง ที่เลือกตั้ง การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง การเพิ่มชื่อ และการถอนชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง รวมทั้งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลการลงคะแนนเลือกตั้ง การนับคะแนนเลือกตั้ง และการประกาศผลการนับคะแนนเลือกตั้ง นอกจากนี้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งยังมีอำนาจแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งหรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะบุคคล หรือบุคคลใด เป็นผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานในการเลือกตั้งได้ตามสมควรอีกด้วย
หลังจากนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง จะมีการแต่งตั้งบุคคลเป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ประกอบด้วย “ผู้อำนวยการประจำหน่วยเลือกตั้ง” 1 คน มีหน้าที่อำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ และให้คำแนะนำในการตรวจสอบเอกสารและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งรวมทั้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตามคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง “คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง” มีจำนวนไม่น้อยกว่า 9 คน มีหน้าที่เกี่ยวกับการลงคะแนนเลือกตั้งในที่เลือกตั้งและนับคะแนนเลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้งแต่ละแห่ง นอกจากนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยังต้องดำเนินการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยและสนับสนุนในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อำนวยการประจำหน่วยเลือกตั้งและคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งอีกด้วย
การเลือกตั้งตามปกตินั้น ในวันเลือกตั้งจะเปิดการลงคะแนนเลือกตั้งตั้งแต่เวลา 08.00 นาฬิกา ถึงเวลา 15.00 นาฬิกา โดยพร้อมเพรียงกันทุกเขตเลือกตั้ง โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้งใดก็จะต้องลงคะแนนเลือกตั้ง ณ หน่วยเลือกตั้งนั้น และมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งได้เพียงแห่งเดียว ยกเว้นผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะมีการยื่นเรื่องแสดงความจำนงขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขต การเลือกตั้งล่วงหน้า หรือการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ตามที่เงื่อนไขข้อกำหนดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ที่มา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550