ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิทักษ์ไทย (พ.ศ. 2519)"
สร้างหน้าใหม่: '''พรรคพิทักษ์ไทย(2519)''' พรรคพิทักษ์ไทยจดทะเบียนพรรคเมื่อว... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''พรรคพิทักษ์ไทย(2519)''' | '''พรรคพิทักษ์ไทย(2519)''' | ||
พรรคพิทักษ์ไทยจดทะเบียนพรรคเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 | พรรคพิทักษ์ไทยจดทะเบียนพรรคเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ภายหลังจากการประกาศ[[ยุบสภา]]ของรัฐบาลหม่อมราชวงศ์.คึกฤทธิ์ ปราโมชเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519 โดยมีนายอนันต์ สุขสันต์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ร้อยเอก สมบูรณ์ ไพรินทร์ ดำรงตำแหน่ง[[เลขาธิการพรรค]] | ||
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2519 พรรคได้ส่งสมาชิกเข้ารับการเลือกตั้งจำนวน 71 คนแต่ได้รับเลือกตั้งจำนวน 1 คนคือนายอนันต์ สุขสันต์ ในจังหวัดชัยนาท | ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2519 พรรคได้ส่งสมาชิกเข้ารับการเลือกตั้งจำนวน 71 คนแต่ได้รับเลือกตั้งจำนวน 1 คนคือนายอนันต์ สุขสันต์ ในจังหวัดชัยนาท ซึ่งต่อมาพรรคพิทักษ์ไทยได้เข้าร่วมการเมืองโดยเป็น[[พรรคฝ่ายค้าน]]ในสมัยของ[[นายกรัฐมนตรี]]หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช พรรคพิทักษ์ไทยได้ยกเลิกการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองไปช่วงหนึ่งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เนื่องจากการที่พลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ ปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และประกาศห้าม[[ชุมนุมทางการเมือง]] | ||
บรรทัดที่ 15: | บรรทัดที่ 14: | ||
'''ด้านสังคม''' | '''ด้านสังคม''' | ||
มุ่งขจัด[[ความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น]]ในสังคม ให้โอกาสในการศึกษาแก่เยาวชนของชาติอย่างเท่าเทียมโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ฐานะทางเศรษฐกิจ ปฏิรูปการศึกษาเพื่อรับใช้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้การรักษาพยาบาลแก่ประชาชนโดยทั่วถึงและเท่าเทียม ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาวัฒนธรรมที่รับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง | |||
'''ด้านการเมือง''' | '''ด้านการเมือง''' | ||
มีการดำเนินการภายใต้[[รัฐธรรมนูญ]]แห่งประเทศไทย ธำรงไว้ซึ่ง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การดำเนินงานต่างๆจะเป็นเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ ให้โอกาสแก่ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินปัญหาของชาติโดยเท่าเทียมกัน จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิในการศึกษาของประชาชน การแสดงออกทางการเมืองและคัดค้านการลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน | |||
'''ด้านการบริหาร''' | '''ด้านการบริหาร''' | ||
บรรทัดที่ 27: | บรรทัดที่ 26: | ||
'''ด้านการต่างประเทศ''' | '''ด้านการต่างประเทศ''' | ||
พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเอกราชอธิปไตยของชาติไทย | พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเอกราชอธิปไตยของชาติไทย มุ่งเป็นมิตรกับทุกประเทศที่เคารพเอกราช[[อธิปไตย]]ของไทยโดยไม่ฝักใฝ่กับชาติหนึ่งชาติใดโดยเฉพาะ ทบทวนแก้ไข[[สนธิสัญญา]]และข้อตกลงต่างๆซึ่งเอารัดเอาเปรียบประเทศไทย | ||
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 21:42, 10 กรกฎาคม 2553
พรรคพิทักษ์ไทย(2519)
พรรคพิทักษ์ไทยจดทะเบียนพรรคเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ภายหลังจากการประกาศยุบสภาของรัฐบาลหม่อมราชวงศ์.คึกฤทธิ์ ปราโมชเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519 โดยมีนายอนันต์ สุขสันต์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ร้อยเอก สมบูรณ์ ไพรินทร์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2519 พรรคได้ส่งสมาชิกเข้ารับการเลือกตั้งจำนวน 71 คนแต่ได้รับเลือกตั้งจำนวน 1 คนคือนายอนันต์ สุขสันต์ ในจังหวัดชัยนาท ซึ่งต่อมาพรรคพิทักษ์ไทยได้เข้าร่วมการเมืองโดยเป็นพรรคฝ่ายค้านในสมัยของนายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช พรรคพิทักษ์ไทยได้ยกเลิกการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองไปช่วงหนึ่งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เนื่องจากการที่พลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ ปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 และประกาศห้ามชุมนุมทางการเมือง
รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ
ด้านเศรษฐกิจ
พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งเป็นผู้ยากไร้ เพราะระบบเศรษฐกิจปัจจุบันเกิดจากการเอารัดเอาเปรียบของคนส่วนน้อย ให้โอกาสประชาชนในการผลิตอย่างเท่าเทียมกันโดยจะขจัดการผูกขาดต่างๆ ส่งเสริมการค้าอย่างยุติธรรม การค้าที่สำคัญรัฐจะเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการแทน
ด้านสังคม
มุ่งขจัดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นในสังคม ให้โอกาสในการศึกษาแก่เยาวชนของชาติอย่างเท่าเทียมโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ฐานะทางเศรษฐกิจ ปฏิรูปการศึกษาเพื่อรับใช้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้การรักษาพยาบาลแก่ประชาชนโดยทั่วถึงและเท่าเทียม ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาวัฒนธรรมที่รับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง
ด้านการเมือง
มีการดำเนินการภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย ธำรงไว้ซึ่ง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การดำเนินงานต่างๆจะเป็นเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ ให้โอกาสแก่ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินปัญหาของชาติโดยเท่าเทียมกัน จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิในการศึกษาของประชาชน การแสดงออกทางการเมืองและคัดค้านการลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
ด้านการบริหาร
มุ่งให้ข้าราชการรับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง ขจัดระบบเจ้าขุนมูลนายและการกดขี่ขูดรีดประชาชนทุกรูปแบบ ป้องกันและปราบปรามการฉ้อราชย์บังหลวงทุกกรณี ปรับปรุงรายได้ สวัสดิการของราชการชั้นผู้น้อยให้มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น ให้ความสำคัญและความเป็นอิสระแก่การบริหารในท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
ด้านการต่างประเทศ
พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเอกราชอธิปไตยของชาติไทย มุ่งเป็นมิตรกับทุกประเทศที่เคารพเอกราชอธิปไตยของไทยโดยไม่ฝักใฝ่กับชาติหนึ่งชาติใดโดยเฉพาะ ทบทวนแก้ไขสนธิสัญญาและข้อตกลงต่างๆซึ่งเอารัดเอาเปรียบประเทศไทย
ที่มา
จำลอง สาลีสังข์ และคณะ,พรรคการเมืองไทย และผลการเลือกตั้ง 2519 พร้อมด้วยรายชื่อ ส.ส. ทุกภาค ทุกพรรค ทุกจังหวัด,กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์, 2519