ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นำไทย (พ.ศ. 2545)"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐ... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
'''ประวัติความเป็นมา''' | '''ประวัติความเป็นมา''' | ||
พรรคนำไทยจดทะเบียนตั้งพรรคเป็นครั้งที่ 2 ขึ้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2545 โดยมีว่าที่ร้อยโทปัญญา | พรรคนำไทยจดทะเบียนตั้งพรรคเป็นครั้งที่ 2 ขึ้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2545 โดยมีว่าที่ร้อยโทปัญญา ชัยรัตนพาณิชย์ดำรงตำแหน่ง[[หัวหน้าพรรค]] มีนายอดิเทพ พอกแก้ว และนายสงกรานต์ อรุโณทัยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ส่วน[[เลขาธิการพรรค]]นั้นก็คือนายทวีลาภ ชมะนันทน์ | ||
'''แนวนโยบาย''' | '''แนวนโยบาย''' | ||
นโยบายด้านการเมืองการปกครอง: นโยบายด้านนี้ของพรรคนำไทยมิได้มีความแตกต่างจากพรรคอื่นๆ กล่าวคือ | นโยบายด้านการเมืองการปกครอง: นโยบายด้านนี้ของพรรคนำไทยมิได้มีความแตกต่างจากพรรคอื่นๆ กล่าวคือ ถูกเขียนขึ้นมาอย่างกว้างๆว่าจะทำให้ประชาชนเป็นเจ้าของ[[อำนาจอธิปไตย]]อย่างแท้จริง รักษา[[สิทธิเสรีภาพ]]ของประชาชน แก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรคกับการพัฒนา[[ประชาธิปไตย]] [[การกระจายอำนาจ]]สู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ปราบปราม[[การทุจริต]]ในวงราชการ ส่งเสริมการจัดตั้งองค์กร[[ประชาธิปไตย]]ของประชาชน | ||
นโยบายด้านเศรษฐกิจ: จะทบทวนแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงและขีดความสามารถของประเทศ กำหนดมาตรการป้องกันการผูกขาดวิสาหกิจขนาดใหญ่ของประเทศ | นโยบายด้านเศรษฐกิจ: จะทบทวนแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงและขีดความสามารถของประเทศ กำหนดมาตรการป้องกันการผูกขาดวิสาหกิจขนาดใหญ่ของประเทศ [[ปฏิรูปที่ดิน]]เพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน ปรับปรุงแก้ไขระบบสหกรณ์ให้มีประสิทธิภาพ กระจายความเจริญสู่ชนบท ป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืด รักษาดุลการค้าและดุลชำระเงินระหว่างประเทศให้เหมาะสม | ||
นโยบายด้านสังคมวัฒนธรรม: จะสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชน ส่งเสริมการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาติและป้องกันการแพร่หลายของวัฒนธรรมที่ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทยจากต่างชาติ ปรับปรุงการสาธารณสุขทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ปลูกฝังวิธีคิดชาตินิยมและการเสียสละเพื่อส่วนรวมในประชาชนทุกหมู่เหล่า | นโยบายด้านสังคมวัฒนธรรม: จะสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชน ส่งเสริมการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาติและป้องกันการแพร่หลายของวัฒนธรรมที่ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทยจากต่างชาติ ปรับปรุงการสาธารณสุขทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ปลูกฝังวิธีคิดชาตินิยมและการเสียสละเพื่อส่วนรวมในประชาชนทุกหมู่เหล่า | ||
บรรทัดที่ 24: | บรรทัดที่ 24: | ||
นโยบายด้านการป้องกันประเทศ: จะพัฒนาขีดความสามารถของกองกำลังพลหลักโดยเน้นเรื่องคุณภาพเหนือปริมาณ สร้างและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นใช้เองบนพื้นฐานของการพึ่งตนเองและประหยัด ปรับปรุงและเพิ่มสวัสดิการแก่หมู่ทหาร และส่งเสริมการศึกษาการฝึกอบรมแก่หมู่ทหาร | นโยบายด้านการป้องกันประเทศ: จะพัฒนาขีดความสามารถของกองกำลังพลหลักโดยเน้นเรื่องคุณภาพเหนือปริมาณ สร้างและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นใช้เองบนพื้นฐานของการพึ่งตนเองและประหยัด ปรับปรุงและเพิ่มสวัสดิการแก่หมู่ทหาร และส่งเสริมการศึกษาการฝึกอบรมแก่หมู่ทหาร | ||
นโยบายด้านการศึกษา: | นโยบายด้านการศึกษา: จะเปิดโอกาสให้[[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]]มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพจริงของแต่ละท้องที่ ส่งเสริมการศึกษานอกโรงเรียนให้ทันสมัยและขยายการศึกษาให้เข้าถึงชนบทที่ห่างไกลและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ขยายการศึกษาภาคบังคับให้สูงยิ่งขึ้น ส่งเสริมการผลิตบุคลากรในวิชาชีพที่ขาดแคลน เพิ่มสวัสดิการ ขวัญกำลังใจ และสิทธิประโยชน์แก่ครู อาจารย์และบุคลากรด้านการศึกษาทุกระดับ และปรับปรุงการบริหารและการดำเนินงานของสถาบันการศึกษาต่างๆให้ก้าวหน้า มีอิสระในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ | ||
'''ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง''' | '''ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง''' | ||
นับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคขึ้นมานั้น | นับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคขึ้นมานั้น พรรคนำไทยมิได้มีการเคลื่อนไหวหรือ[[กิจกรรมทางการเมือง]]ที่สำคัญอะไรเลย อีกทั้งไม่มีความพยายามจะขยายฐานสมาชิกพรรคและสาขาพรรค ซึ่งก็เป็นเหตุนำไปสู่การสิ้นสุดของพรรคนำไทยเองในที่สุด | ||
'''การล่มสลายของพรรค''' | '''การล่มสลายของพรรค''' | ||
เนื่องจากนับแต่ก่อตั้งพรรคขึ้นมาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2545 พรรคนำไทยมีแต่การนิ่งเฉยไม่มีกิจกรรมทางการเมือง ไม่ขยายจำนวนสมาชิกและสาขาพรรคแต่อย่างใด | เนื่องจากนับแต่ก่อตั้งพรรคขึ้นมาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2545 พรรคนำไทยมีแต่การนิ่งเฉยไม่มีกิจกรรมทางการเมือง ไม่ขยายจำนวนสมาชิกและสาขาพรรคแต่อย่างใด ซึ่งก็เป็นการขัดต่อ[[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541]] มาตรา 29 คือ ต้องดำเนินการให้มีสมาชิกตั้งแต่ห้าพันคนขึ้นไป และอย่างน้อยต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมีที่อยู่ในแต่ละภาคตามบัญชีรายชื่อภาคและจังหวัดที่[[นายทะเบียน]]ประกาศกำหนด และมีสาขาพรรคการเมืองอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการตั้ง[[พรรคการเมือง]] แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2545 พรรคนำไทยได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองเรื่องการจัดตั้งสาขาของพรรคนำไทยจำนวน 3 สาขา ได้แก่สาขาที่จังหวัดชัยภูมิ กรุงเทพฯ และเพชรบูรณ์ ซึ่งแต่ละสาขามีคณะกรรมการสาขาพรรค 9 คน แต่เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ตรวจสอบข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองจากฐานข้อมูลพรรคการเมืองที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดเก็บไว้ ปรากฏว่า กรรมการสาขาพรรคนำไทยจำนวน 8 คน คือ นายสุดใจ ประเสริฐโส นางสาวจันทร์จิรา จานมาตร (จีนทอง) นายประทวน สวงโท นายฉลอง หาทอง นายพร จีนทอง นายแสวง เลพล นายทิม อาจมา และนายมูล เพชรบูรนินได้มีสถานะเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยอยู่ด้วย ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงเสนอนายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณาใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 มาตรา 7 ให้ดำเนินการดังนี้ | ||
1)ให้หัวหน้าพรรคนำไทยตรวจสอบว่าบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติเป็นสมาชิกพรรคนำไทยครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับพรรคนำไทยหรือไม่ อย่างไร พร้อมทั้งจัดส่งเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณา แต่พรรคนำไทยก็ยังไม่แจ้งให้นายทะเบียนทราบ | 1)ให้หัวหน้าพรรคนำไทยตรวจสอบว่าบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติเป็นสมาชิกพรรคนำไทยครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับพรรคนำไทยหรือไม่ อย่างไร พร้อมทั้งจัดส่งเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณา แต่พรรคนำไทยก็ยังไม่แจ้งให้นายทะเบียนทราบ | ||
2) | 2)มอบหมายให้สำนักงาน[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]]ประจำกรุงเทพมหานคร ประจำจังหวัดชัยภูมิ และประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมจัดตั้งสาขาพรรคมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงว่า ในการจัดตั้งสาขาพรรคนำไทยมีการประชุมใหญ่สาขาพรรคเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสาขาพรรค โดยมีสมาชิกพรรคเข้าประชุมครบองค์ประชุมตามข้อบังคับพรรคและลงรายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้ร่วมประชุมด้วยตนเองจริงหรือไม่ อย่างไร | ||
3)ขอให้พรรคไทยรักไทยตรวจสอบว่า บุคคลดังกล่าวยังคงเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยอยู่หรือไม่ อย่างไร ซึ่งผลการตรวจสอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งพบว่า สมาชิกทั้ง 8 คนที่เป็นกรรมการสาขาพรรคนำไทยนั้นยังคงเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยอยู่ อีกทั้งเมื่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจสอบทะเบียนรับ-ส่งหนังสือ ก็ไม่ปรากฏเอกสารของพรรคนำไทยเกี่ยวกับรายงานจำนวนสมาชิกพรรคตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 มาตรา 29 และการขอจัดตั้งสาขาพรรคเพิ่มเติมแต่อย่างใด ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็เท่ากับครบกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนพรรคการเมืองรับจดแจ้งการจัดตั้ง คือ ภายในวันที่ 8 กันยายน 2545 พรรคนำไทยก็ยังไม่ดำเนินการให้มีสมาชิกตั้งแต่ห้าพันคนขึ้นไป ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมีที่อยู่ในแต่ละภาคตามบัญชีรายชื่อภาคและจังหวัดที่นายทะเบียนประกาศกำหนดและมีสาขาพรรคการเมืองอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา จึงมีเหตุยุบพรรคนำไทยได้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 มาตรา 65 วรรค 1 (5) นายทะเบียนพรรคการเมืองจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้มีคำสั่งยุบพรรคนำไทย ตามารตรา 65 วรรคสอง เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วก็เห็นว่า มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยเรื่องนี้ได้ จึงไม่จำเป็นต้องรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติมอีก ซึ่งทางศาลลรัฐธรรมนูญได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการดำเนินการของพรรคนำไทยนั้นไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 มาตรา 29 ศาลรัฐธรรมนูญจึงอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 มาตรา 65 วรรคสอง | 3)ขอให้พรรคไทยรักไทยตรวจสอบว่า บุคคลดังกล่าวยังคงเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยอยู่หรือไม่ อย่างไร ซึ่งผลการตรวจสอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งพบว่า สมาชิกทั้ง 8 คนที่เป็นกรรมการสาขาพรรคนำไทยนั้นยังคงเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยอยู่ อีกทั้งเมื่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจสอบทะเบียนรับ-ส่งหนังสือ ก็ไม่ปรากฏเอกสารของพรรคนำไทยเกี่ยวกับรายงานจำนวนสมาชิกพรรคตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 มาตรา 29 และการขอจัดตั้งสาขาพรรคเพิ่มเติมแต่อย่างใด ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็เท่ากับครบกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนพรรคการเมืองรับจดแจ้งการจัดตั้ง คือ ภายในวันที่ 8 กันยายน 2545 พรรคนำไทยก็ยังไม่ดำเนินการให้มีสมาชิกตั้งแต่ห้าพันคนขึ้นไป ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมีที่อยู่ในแต่ละภาคตามบัญชีรายชื่อภาคและจังหวัดที่นายทะเบียนประกาศกำหนดและมีสาขาพรรคการเมืองอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา จึงมีเหตุยุบพรรคนำไทยได้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 มาตรา 65 วรรค 1 (5) นายทะเบียนพรรคการเมืองจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้มีคำสั่งยุบพรรคนำไทย ตามารตรา 65 วรรคสอง เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วก็เห็นว่า มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยเรื่องนี้ได้ จึงไม่จำเป็นต้องรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติมอีก ซึ่งทางศาลลรัฐธรรมนูญได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการดำเนินการของพรรคนำไทยนั้นไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 มาตรา 29 ศาลรัฐธรรมนูญจึงอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 มาตรา 65 วรรคสอง สั่งให้[[ยุบพรรค]]นำไทยไปเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 ซึ่งก็ถือเป็นการสิ้นสุดการดำรงอยู่ของพรรคนำไทยไปในที่สุด | ||
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 07:48, 26 มิถุนายน 2553
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคนำไทย (2545)
ประวัติความเป็นมา
พรรคนำไทยจดทะเบียนตั้งพรรคเป็นครั้งที่ 2 ขึ้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2545 โดยมีว่าที่ร้อยโทปัญญา ชัยรัตนพาณิชย์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค มีนายอดิเทพ พอกแก้ว และนายสงกรานต์ อรุโณทัยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ส่วนเลขาธิการพรรคนั้นก็คือนายทวีลาภ ชมะนันทน์
แนวนโยบาย
นโยบายด้านการเมืองการปกครอง: นโยบายด้านนี้ของพรรคนำไทยมิได้มีความแตกต่างจากพรรคอื่นๆ กล่าวคือ ถูกเขียนขึ้นมาอย่างกว้างๆว่าจะทำให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง รักษาสิทธิเสรีภาพของประชาชน แก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรคกับการพัฒนาประชาธิปไตย การกระจายอำนาจสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ปราบปรามการทุจริตในวงราชการ ส่งเสริมการจัดตั้งองค์กรประชาธิปไตยของประชาชน
นโยบายด้านเศรษฐกิจ: จะทบทวนแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงและขีดความสามารถของประเทศ กำหนดมาตรการป้องกันการผูกขาดวิสาหกิจขนาดใหญ่ของประเทศ ปฏิรูปที่ดินเพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน ปรับปรุงแก้ไขระบบสหกรณ์ให้มีประสิทธิภาพ กระจายความเจริญสู่ชนบท ป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืด รักษาดุลการค้าและดุลชำระเงินระหว่างประเทศให้เหมาะสม
นโยบายด้านสังคมวัฒนธรรม: จะสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชน ส่งเสริมการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาติและป้องกันการแพร่หลายของวัฒนธรรมที่ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทยจากต่างชาติ ปรับปรุงการสาธารณสุขทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ปลูกฝังวิธีคิดชาตินิยมและการเสียสละเพื่อส่วนรวมในประชาชนทุกหมู่เหล่า
นโยบายด้านต่างประเทศ: จะผลักดันให้การดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยมีอิสระและมุ่งรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ กระชับความสัมพันธ์กับนานาประเทศโดยไม่แบ่งแยกระบบการปกครอง รับความช่วยเหลือจากต่างชาติเฉพาะที่ไม่มีเงื่อนไขผูกพันที่ขัดกับผลประโยชน์ของประเทศ
นโยบายด้านการป้องกันประเทศ: จะพัฒนาขีดความสามารถของกองกำลังพลหลักโดยเน้นเรื่องคุณภาพเหนือปริมาณ สร้างและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นใช้เองบนพื้นฐานของการพึ่งตนเองและประหยัด ปรับปรุงและเพิ่มสวัสดิการแก่หมู่ทหาร และส่งเสริมการศึกษาการฝึกอบรมแก่หมู่ทหาร
นโยบายด้านการศึกษา: จะเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพจริงของแต่ละท้องที่ ส่งเสริมการศึกษานอกโรงเรียนให้ทันสมัยและขยายการศึกษาให้เข้าถึงชนบทที่ห่างไกลและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ขยายการศึกษาภาคบังคับให้สูงยิ่งขึ้น ส่งเสริมการผลิตบุคลากรในวิชาชีพที่ขาดแคลน เพิ่มสวัสดิการ ขวัญกำลังใจ และสิทธิประโยชน์แก่ครู อาจารย์และบุคลากรด้านการศึกษาทุกระดับ และปรับปรุงการบริหารและการดำเนินงานของสถาบันการศึกษาต่างๆให้ก้าวหน้า มีอิสระในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง
นับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคขึ้นมานั้น พรรคนำไทยมิได้มีการเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมทางการเมืองที่สำคัญอะไรเลย อีกทั้งไม่มีความพยายามจะขยายฐานสมาชิกพรรคและสาขาพรรค ซึ่งก็เป็นเหตุนำไปสู่การสิ้นสุดของพรรคนำไทยเองในที่สุด
การล่มสลายของพรรค
เนื่องจากนับแต่ก่อตั้งพรรคขึ้นมาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2545 พรรคนำไทยมีแต่การนิ่งเฉยไม่มีกิจกรรมทางการเมือง ไม่ขยายจำนวนสมาชิกและสาขาพรรคแต่อย่างใด ซึ่งก็เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 29 คือ ต้องดำเนินการให้มีสมาชิกตั้งแต่ห้าพันคนขึ้นไป และอย่างน้อยต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมีที่อยู่ในแต่ละภาคตามบัญชีรายชื่อภาคและจังหวัดที่นายทะเบียนประกาศกำหนด และมีสาขาพรรคการเมืองอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการตั้งพรรคการเมือง แต่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2545 พรรคนำไทยได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองเรื่องการจัดตั้งสาขาของพรรคนำไทยจำนวน 3 สาขา ได้แก่สาขาที่จังหวัดชัยภูมิ กรุงเทพฯ และเพชรบูรณ์ ซึ่งแต่ละสาขามีคณะกรรมการสาขาพรรค 9 คน แต่เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ตรวจสอบข้อมูลสมาชิกพรรคการเมืองจากฐานข้อมูลพรรคการเมืองที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจัดเก็บไว้ ปรากฏว่า กรรมการสาขาพรรคนำไทยจำนวน 8 คน คือ นายสุดใจ ประเสริฐโส นางสาวจันทร์จิรา จานมาตร (จีนทอง) นายประทวน สวงโท นายฉลอง หาทอง นายพร จีนทอง นายแสวง เลพล นายทิม อาจมา และนายมูล เพชรบูรนินได้มีสถานะเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยอยู่ด้วย ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งจึงเสนอนายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณาใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 มาตรา 7 ให้ดำเนินการดังนี้
1)ให้หัวหน้าพรรคนำไทยตรวจสอบว่าบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติเป็นสมาชิกพรรคนำไทยครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับพรรคนำไทยหรือไม่ อย่างไร พร้อมทั้งจัดส่งเอกสารมาเพื่อประกอบการพิจารณา แต่พรรคนำไทยก็ยังไม่แจ้งให้นายทะเบียนทราบ
2)มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร ประจำจังหวัดชัยภูมิ และประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมจัดตั้งสาขาพรรคมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงว่า ในการจัดตั้งสาขาพรรคนำไทยมีการประชุมใหญ่สาขาพรรคเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสาขาพรรค โดยมีสมาชิกพรรคเข้าประชุมครบองค์ประชุมตามข้อบังคับพรรคและลงรายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้ร่วมประชุมด้วยตนเองจริงหรือไม่ อย่างไร
3)ขอให้พรรคไทยรักไทยตรวจสอบว่า บุคคลดังกล่าวยังคงเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยอยู่หรือไม่ อย่างไร ซึ่งผลการตรวจสอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งพบว่า สมาชิกทั้ง 8 คนที่เป็นกรรมการสาขาพรรคนำไทยนั้นยังคงเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยอยู่ อีกทั้งเมื่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจสอบทะเบียนรับ-ส่งหนังสือ ก็ไม่ปรากฏเอกสารของพรรคนำไทยเกี่ยวกับรายงานจำนวนสมาชิกพรรคตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 มาตรา 29 และการขอจัดตั้งสาขาพรรคเพิ่มเติมแต่อย่างใด ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็เท่ากับครบกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ หนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนพรรคการเมืองรับจดแจ้งการจัดตั้ง คือ ภายในวันที่ 8 กันยายน 2545 พรรคนำไทยก็ยังไม่ดำเนินการให้มีสมาชิกตั้งแต่ห้าพันคนขึ้นไป ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมีที่อยู่ในแต่ละภาคตามบัญชีรายชื่อภาคและจังหวัดที่นายทะเบียนประกาศกำหนดและมีสาขาพรรคการเมืองอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา จึงมีเหตุยุบพรรคนำไทยได้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 มาตรา 65 วรรค 1 (5) นายทะเบียนพรรคการเมืองจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอให้มีคำสั่งยุบพรรคนำไทย ตามารตรา 65 วรรคสอง เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วก็เห็นว่า มีข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยเรื่องนี้ได้ จึงไม่จำเป็นต้องรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติมอีก ซึ่งทางศาลลรัฐธรรมนูญได้มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการดำเนินการของพรรคนำไทยนั้นไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 มาตรา 29 ศาลรัฐธรรมนูญจึงอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 มาตรา 65 วรรคสอง สั่งให้ยุบพรรคนำไทยไปเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 ซึ่งก็ถือเป็นการสิ้นสุดการดำรงอยู่ของพรรคนำไทยไปในที่สุด
ที่มา
ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 119 ตอนที่ 27 ง, 22 มีนาคม 2545.
ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 120 ตอนที่ 79 ก, 22 สิงหาคม 2546.