ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาติประชาชน (พ.ศ. 2544)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Teeraphan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:
'''พรรคชาติประชาชน  (2544)'''
'''พรรคชาติประชาชน  (2544)'''


หลังจากที่พรรคชาติประชาชน (2534) ได้ถูกคำสั่งของศาลฎีกาให้ยุบเลิกพรรคไปในปี พ.ศ. 2535 ได้มีผู้มายื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองในชื่อ “พรรคชาติประชาชน” อีกครั้ง ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ในทะเบียนพรรคการเมืองเลขที่ 2/2544 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544  <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 19 ง, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544, หน้า 20.</ref> โดยพรรคชาติประชาชนที่จัดตั้งใหม่ครั้งนี้มีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคอยู่ที่ เลขที่ 136 ซอยเทวรัตน์ ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800 <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 19 ง, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544, หน้า 30.</ref> ซึ่งเป็นคนละที่ตั้งกับพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2534 นอกจากนี้คณะกรรมการบริหารพรรคนโยบายและเครื่องหมายของพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2544 ก็แตกต่างไปจากพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2534 อย่างสิ้นเชิง จึงอาจกล่าวได้ว่า พรรคชาติประชาชนที่ก่อตั้งขึ้นใหม่นี้ เป็นคนละพรรคกับพรรคที่ก่อตั้งในปี 2534 เพียงแต่มีการใช้ชื่อพรรคเดียวกันเท่านั้น
หลังจากที่พรรคชาติประชาชน (2534) ได้ถูกคำสั่งของ[[ศาลฎีกา]]ให้ยุบเลิกพรรคไปในปี พ.ศ. 2535 ได้มีผู้มายื่นขอ[[จดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง]]ในชื่อ “พรรคชาติประชาชน” อีกครั้ง ตามมาตรา 14 แห่ง[[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541]] ในทะเบียนพรรคการเมืองเลขที่ 2/2544 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544  <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 19 ง, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544, หน้า 20.</ref> โดยพรรคชาติประชาชนที่จัดตั้งใหม่ครั้งนี้มีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคอยู่ที่ เลขที่ 136 ซอยเทวรัตน์ ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800 <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 19 ง, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544, หน้า 30.</ref> ซึ่งเป็นคนละที่ตั้งกับพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2534 นอกจากนี้[[คณะกรรมการบริหารพรรค]]นโยบายและเครื่องหมายของพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2544 ก็แตกต่างไปจากพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2534 อย่างสิ้นเชิง จึงอาจกล่าวได้ว่า พรรคชาติประชาชนที่ก่อตั้งขึ้นใหม่นี้ เป็นคนละพรรคกับพรรคที่ก่อตั้งในปี 2534 เพียงแต่มีการใช้ชื่อพรรคเดียวกันเท่านั้น


โดยพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2544 ใช้เครื่องหมายพรรคเป็นภาพรูปพานรัฐธรรมนูญอยู่กึ่งกลางแผนที่ประเทศไทยประทับบนแผ่นโล่ห์ ด้านบนแผ่นโล่ห์มีแถบสีน้ำเงินและใต้แถบสีน้ำเงินด้านบนเครื่องหมายเป็นชื่อพรรคในภาษาไทย ด้านล่างเครื่องหมายเป็นชื่อพรรคในภาษาอังกฤษ และมีคำอธิบายลักษณะต่าง ๆ ที่ปรากฏในเครื่องหมายพรรคดังนี้ <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 19 ง, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544, หน้า 29-30.</ref>
โดยพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2544 ใช้เครื่องหมายพรรคเป็นภาพรูปพาน[[รัฐธรรมนูญ]]อยู่กึ่งกลางแผนที่ประเทศไทยประทับบนแผ่นโล่ห์ ด้านบนแผ่นโล่ห์มีแถบสีน้ำเงินและใต้แถบสีน้ำเงินด้านบนเครื่องหมายเป็นชื่อพรรคในภาษาไทย ด้านล่างเครื่องหมายเป็นชื่อพรรคในภาษาอังกฤษ และมีคำอธิบายลักษณะต่าง ๆ ที่ปรากฏในเครื่องหมายพรรคดังนี้ <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 19 ง, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544, หน้า 29-30.</ref>


(1) รูปพานรัฐธรรมนูญบนแผนที่ประเทศไทย หมายถึง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งประชาชนทุกหมู่เหล่าเป็นเจ้าของและเทิดทูนไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
(1) รูปพานรัฐธรรมนูญบนแผนที่ประเทศไทย หมายถึง การปกครอง[[ระบอบประชาธิปไตย]]อันมี[[พระมหากษัตริย์]]ทรงเป็นประมุข ซึ่งประชาชนทุกหมู่เหล่าเป็นเจ้าของและเทิดทูนไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์


(2) ด้านบนภาพเครื่องหมายเป็นอักษรภาษาไทยสีน้ำเงิน มีข้อความว่า “พรรคชาติประชาชน” และด้านล่างเครื่องหมายเป็นอักษรภาษาอังกฤษสีขาวบนพื้นสีแดง มีข้อความว่า “NATIONAL PEOPLE PARTY”
(2) ด้านบนภาพเครื่องหมายเป็นอักษรภาษาไทยสีน้ำเงิน มีข้อความว่า “พรรคชาติประชาชน” และด้านล่างเครื่องหมายเป็นอักษรภาษาอังกฤษสีขาวบนพื้นสีแดง มีข้อความว่า “NATIONAL PEOPLE PARTY”
บรรทัดที่ 22: บรรทัดที่ 22:
พรรคชาติประชาชนเน้นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านการเมืองและการปกครองเป็นอันดับแรก ดังนี้
พรรคชาติประชาชนเน้นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านการเมืองและการปกครองเป็นอันดับแรก ดังนี้


(1) ส่งเสริมอำนาจอธิปไตย ซึ่งได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการให้เป็นของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง โดยยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสูงสุด
(1) ส่งเสริม[[อำนาจอธิปไตย]] ซึ่งได้แก่ [[อำนาจนิติบัญญัติ]] [[อำนาจบริหาร]] และ[[อำนาจตุลาการ]]ให้เป็นของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง โดยยึดถือ[[ระบอบประชาธิปไตย]]อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสูงสุด


(2) ส่งเสริมให้ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกันและมีจิตสำนึกในความเป็นคนไทยที่มีหน้าที่อันพึงปฏิบัติต่อตนเอง ต่อบุคคลอื่น และต่อประเทศชาติ
(2) ส่งเสริมให้ประชาชนทุกหมู่เหล่ามี[[สิทธิ]]และ[[เสรีภาพ]]เท่าเทียมกันและมี[[จิตสำนึก]]ในความเป็นคนไทยที่มีหน้าที่อันพึงปฏิบัติต่อตนเอง ต่อบุคคลอื่น และต่อประเทศชาติ


(3) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันบางฉบับที่ไม่เป็นธรรมและไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ของบ้านเมืองในปัจจุบันให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายเป็นธรรมแก่สังคมและสอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
(3) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันบางฉบับที่ไม่เป็นธรรมและไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ของบ้านเมืองในปัจจุบันให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายเป็นธรรมแก่สังคมและสอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย


(4) ปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพและถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย โดยแยกระบบข้าราชการการเมืองกับข้าราชการประจำออกต่างหากจากกัน โดยเพียงแต่กำกับดูแลข้าราชการประจำเท่านั้น ไม่ก้าวก่ายอำนาจ รวมทั้งกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็วและแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพภูมิภาค และท้องถิ่นนั้น ๆ ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงระเบียบและวิธีการแต่งตั้งข้าราชการประจำให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นทุกระดับตามความรู้ความสามารถอย่างถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
(4) ปรับปรุงระบบ[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]ให้มีประสิทธิภาพและถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย โดยแยกระบบข้าราชการการเมืองกับข้าราชการประจำออกต่างหากจากกัน โดยเพียงแต่กำกับดูแลข้าราชการประจำเท่านั้น ไม่ก้าวก่ายอำนาจ รวมทั้ง[[กระจายอำนาจ]]จากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็วและแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพภูมิภาค และท้องถิ่นนั้น ๆ ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงระเบียบและวิธีการแต่งตั้งข้าราชการประจำให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นทุกระดับตามความรู้ความสามารถอย่างถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น


(5) ส่งเสริมให้ข้าราชการทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยวางตัวเป็นกลางอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มจิตสำนึกในการรับใช้ชาติและประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
(5) ส่งเสริมให้ข้าราชการทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยวางตัวเป็นกลางอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มจิตสำนึกในการรับใช้ชาติและประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ


(6) ส่งเสริมให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพได้มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างกว้างขวางโดยเผยแพร่ความรู้ทางการเมือง และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง รวมตลอดถึงการให้สิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนที่ควรจะได้รับรู้ข่าวสารของทางราชการ
(6) ส่งเสริมให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพได้มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างกว้างขวางโดยเผยแพร่ความรู้ทางการเมือง และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง รวมตลอดถึงการให้[[สิทธิ]]และ[[เสรีภาพ]]แก่ประชาชนที่ควรจะได้รับรู้ข่าวสารของทางราชการ


(7) สนับสนุนการจัดตั้งองค์กรประชาธิปไตยทั้งหลายของประชาชน โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ และผลประโยชน์ที่ควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมายขององค์กรนั้น ๆ อันพึงจะมี ตลอดจนส่งเสริมการทำประชาพิจารณ์ที่กว้างขวางถูกต้อง สมบูรณ์และเป็นประชาธิปไตย
(7) สนับสนุนการจัดตั้งองค์กรประชาธิปไตยทั้งหลายของประชาชน โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ และผลประโยชน์ที่ควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมายขององค์กรนั้น ๆ อันพึงจะมี ตลอดจนส่งเสริมการทำ[[ประชาพิจารณ์]]ที่กว้างขวางถูกต้อง สมบูรณ์และเป็นประชาธิปไตย


(8) เสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองซึ่งเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตย
(8) เสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองซึ่งเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตย


(9) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการทุกประเภทอย่างเด็ดขาด ผู้ใดปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดให้ดำเนินการทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัยโดยฉับพลัน
(9) ป้องกันและปราบปราม[[การทุจริต]]และประพฤติมิชอบในวงราชการทุกประเภทอย่างเด็ดขาด ผู้ใดปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดให้ดำเนินการทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัยโดยฉับพลัน




'''นโยบายด้านเศรษฐกิจ'''
'''นโยบายด้านเศรษฐกิจ'''


(1) กำหนดมาตรการและวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการผูกขาดของรัฐวิสาหกิจต่าง โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมใหญ่ การค้าต่างประเทศ การธนาคาร และการขนส่งทั้งภายในและภายนอกประเทศ
(1) กำหนดมาตรการและวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกัน[[การผูกขาด]]ของรัฐวิสาหกิจต่าง โดยเฉพาะ[[รัฐวิสาหกิจ]]ขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมใหญ่ การค้าต่างประเทศ การธนาคาร และการขนส่งทั้งภายในและภายนอกประเทศ


(2) ปฏิรูปที่ดินเพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง โดยกำหนดพื้นที่ทางการเกษตรอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัยให้แน่นอนทั่วประเทศ
(2) [[ปฏิรูปที่ดิน]]เพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง โดยกำหนดพื้นที่ทางการเกษตรอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัยให้แน่นอนทั่วประเทศ


(3) พัฒนาระบบบริหารรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าธุรกิจของภาคเอกชน ทั้งนี้เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นหลักในการตรึงราคาสินค้าและรักษาเสถียรภาพของการตลาด
(3) พัฒนาระบบบริหารรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าธุรกิจของภาคเอกชน ทั้งนี้เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นหลักในการตรึงราคาสินค้าและรักษาเสถียรภาพของการตลาด

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:38, 22 มิถุนายน 2553

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต



พรรคชาติประชาชน (2544)

หลังจากที่พรรคชาติประชาชน (2534) ได้ถูกคำสั่งของศาลฎีกาให้ยุบเลิกพรรคไปในปี พ.ศ. 2535 ได้มีผู้มายื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองในชื่อ “พรรคชาติประชาชน” อีกครั้ง ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ในทะเบียนพรรคการเมืองเลขที่ 2/2544 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 [1] โดยพรรคชาติประชาชนที่จัดตั้งใหม่ครั้งนี้มีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคอยู่ที่ เลขที่ 136 ซอยเทวรัตน์ ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800 [2] ซึ่งเป็นคนละที่ตั้งกับพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2534 นอกจากนี้คณะกรรมการบริหารพรรคนโยบายและเครื่องหมายของพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2544 ก็แตกต่างไปจากพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2534 อย่างสิ้นเชิง จึงอาจกล่าวได้ว่า พรรคชาติประชาชนที่ก่อตั้งขึ้นใหม่นี้ เป็นคนละพรรคกับพรรคที่ก่อตั้งในปี 2534 เพียงแต่มีการใช้ชื่อพรรคเดียวกันเท่านั้น

โดยพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2544 ใช้เครื่องหมายพรรคเป็นภาพรูปพานรัฐธรรมนูญอยู่กึ่งกลางแผนที่ประเทศไทยประทับบนแผ่นโล่ห์ ด้านบนแผ่นโล่ห์มีแถบสีน้ำเงินและใต้แถบสีน้ำเงินด้านบนเครื่องหมายเป็นชื่อพรรคในภาษาไทย ด้านล่างเครื่องหมายเป็นชื่อพรรคในภาษาอังกฤษ และมีคำอธิบายลักษณะต่าง ๆ ที่ปรากฏในเครื่องหมายพรรคดังนี้ [3]

(1) รูปพานรัฐธรรมนูญบนแผนที่ประเทศไทย หมายถึง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งประชาชนทุกหมู่เหล่าเป็นเจ้าของและเทิดทูนไว้ซึ่งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

(2) ด้านบนภาพเครื่องหมายเป็นอักษรภาษาไทยสีน้ำเงิน มีข้อความว่า “พรรคชาติประชาชน” และด้านล่างเครื่องหมายเป็นอักษรภาษาอังกฤษสีขาวบนพื้นสีแดง มีข้อความว่า “NATIONAL PEOPLE PARTY”


นโยบายพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2544 [4]


นโยบายด้นการเมืองและการปกครอง

พรรคชาติประชาชนเน้นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านการเมืองและการปกครองเป็นอันดับแรก ดังนี้

(1) ส่งเสริมอำนาจอธิปไตย ซึ่งได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการให้เป็นของประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง โดยยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสูงสุด

(2) ส่งเสริมให้ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกันและมีจิตสำนึกในความเป็นคนไทยที่มีหน้าที่อันพึงปฏิบัติต่อตนเอง ต่อบุคคลอื่น และต่อประเทศชาติ

(3) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันบางฉบับที่ไม่เป็นธรรมและไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ของบ้านเมืองในปัจจุบันให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายเป็นธรรมแก่สังคมและสอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

(4) ปรับปรุงระบบการบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพและถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย โดยแยกระบบข้าราชการการเมืองกับข้าราชการประจำออกต่างหากจากกัน โดยเพียงแต่กำกับดูแลข้าราชการประจำเท่านั้น ไม่ก้าวก่ายอำนาจ รวมทั้งกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกรวดเร็วและแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพภูมิภาค และท้องถิ่นนั้น ๆ ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงระเบียบและวิธีการแต่งตั้งข้าราชการประจำให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นทุกระดับตามความรู้ความสามารถอย่างถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

(5) ส่งเสริมให้ข้าราชการทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยวางตัวเป็นกลางอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มจิตสำนึกในการรับใช้ชาติและประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

(6) ส่งเสริมให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพได้มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างกว้างขวางโดยเผยแพร่ความรู้ทางการเมือง และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้อง รวมตลอดถึงการให้สิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนที่ควรจะได้รับรู้ข่าวสารของทางราชการ

(7) สนับสนุนการจัดตั้งองค์กรประชาธิปไตยทั้งหลายของประชาชน โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ และผลประโยชน์ที่ควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมายขององค์กรนั้น ๆ อันพึงจะมี ตลอดจนส่งเสริมการทำประชาพิจารณ์ที่กว้างขวางถูกต้อง สมบูรณ์และเป็นประชาธิปไตย

(8) เสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองซึ่งเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตย

(9) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการทุกประเภทอย่างเด็ดขาด ผู้ใดปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดให้ดำเนินการทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัยโดยฉับพลัน


นโยบายด้านเศรษฐกิจ

(1) กำหนดมาตรการและวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการผูกขาดของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมใหญ่ การค้าต่างประเทศ การธนาคาร และการขนส่งทั้งภายในและภายนอกประเทศ

(2) ปฏิรูปที่ดินเพื่อให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง โดยกำหนดพื้นที่ทางการเกษตรอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัยให้แน่นอนทั่วประเทศ

(3) พัฒนาระบบบริหารรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพเหนือกว่าธุรกิจของภาคเอกชน ทั้งนี้เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นหลักในการตรึงราคาสินค้าและรักษาเสถียรภาพของการตลาด

(4) การกระจายทุนและระดมทุนเพื่อพัฒนาด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริหารเพื่อให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าและทันสมัย แหล่งทุนหลัก คือ ทุนภายในประเทศ สำหรับทุนต่างประเทศต้องเป็นแหล่งทุนที่ไม่มีเงื่อนไขทางการเมือง

(5) พัฒนาและประยุกต์ด้านเทคโนโลยี โดยการส่งเสริมนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรนักประดิษฐ์ และนักวิจัยค้นคว้าให้พอเพียงกับการขยายทางเศรษฐกิจของชาติ

(6) ส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไขระบบสหกรณ์ทุกรูปแบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นประโยชน์แก่สมาชิกและประเทศชาติอย่างแท้จริง

(7) ปรับปรุงมาตรการและวิธีการเกี่ยวกับการลงทุนจากต่างประเทศให้เสียดุลการค้าน้อยที่สุด และถูกต้องเป็นธรรม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติเป็นสำคัญ


นโยบายด้านสังคม-วัฒนธรรม

(1) ป้องกันและแก้ไขเหตุแห่งความเป็นธรรมในสังคมไทยทุกระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศชาติ สร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทุกหมู่เหล่าให้ปรากฏเป็นจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะไม่อนุญาตให้บุคคลมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยเด็ดขาด ยกเว้นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติการตามหน้าที่เท่านั้น

(2) ปลูกฝังจิตสำนึก และอุดมการณ์ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติแก่ประชาชนและข้าราชการอย่างต่อเนื่อง

(3) ส่งเสริมและสนับสนุนขนบธรรมเนียมประเพณี เอกลักษณ์ และวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ ไม่สนับสนุนวัฒนธรรมต่างชาติที่ไม่สอดคล้องและไม่เหมาะสมกับสภาพของสังคมไทย

(4) ปฏิรูปการศึกษาของชาติทุกระดับให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาพสังคมของชาติ และของโลกในอนาคตและให้คนไทยมีความเสมอภาพในโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในภาคบังคับสำหรับผู้ด้อยโอกาสให้บุคคลเหล่านั้นได้มีโอกาสเข้าศึกษาฟรีทุกระดับ รวมตลอดถึงให้คำนึงถึงความเป็นอยู่ในครอบครัวของบุคคลเหล่านั้นด้วย

(5) ส่งเสริมทำนุบำรุงศาสนาทุกศาสนาที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาด้วยความบริสุทธิ์ และให้สถาบันศาสนาทั้งหลายได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศได้อย่างถูกต้อง

(6) ปรับปรุงระบบการแพทย์ อนามัย และสาธารณสุข ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ โดยเน้นการสร้างบุคลากร สถานีอนามัย และโรงพยาบาลที่ทันสมัยในชนบทให้เพียงพอ

(7) กำหนดมาตรการและวิธีปลูกฝังชาตินิยมให้แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า สร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง โดยให้ทุกคนตระหนักว่างานการเมืองเป็นเรื่องคุณธรรม และการเสียสละ โดยการจัดทำโครงการที่เหมาะสมในการเสริมสร้างความรู้ เน้นการปลูกฝังแก่เยาวชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

(8) ป้องกันและปราบปรามการผลิต การจำหน่าย และการเสพยาเสพติดให้โทษทุกประเภทอย่างเด็ดขาด


นโยบายด้านการต่างประเทศ

(1) ดำเนินนโยบายเสรีซึ่งสอดคล้องกับเอกลักษณ์ของชาติและลักษณะพิเศษของคนไทย โดยยึดหลักผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติเป็นสำคัญ

(2) กระชับความสัมพันธ์อันดีกับนานาอารยะประเทศในโลกโดยไม่เลือกระบบสังคมที่แตกต่าง

(3) ผสานงานการค้าเข้ากับงานการทูตอย่างมีประสิทธิภาพโดยกำหนดเป็นภาระสำคัญของเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐรับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้เพื่อช่วยขยายตลาดส่งออกของประเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

(4) การรับความสนับสนุนจากต่างประเทศจะต้องปราศจากเงื่อนไขที่จะทำลายผลประโยชน์และความมั่นคง ตลอดจนการแทรกแซงกิจการภายในทั้งปวงของชาติ

(5) ปรับปรุง แก้ไขบรรดาสนธิสัญญาและข้อตกลงต่าง ๆ ที่ทำไว้กับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบและไม่สอดคล้องกับกาลสมัยให้ถูกต้องและเป็นธรรมยิ่งขึ้น

(6) ร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและยึดมั่นในกฎบัตรสหประชาชาติ


นโยบายด้านการป้องกันประเทศ

(1) พัฒนากองทัพให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพสูงทุกด้านพร้อมที่จะเผชิญภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอกประเทศทุกรูปแบบ โดยให้สมดุลกับกำลังทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติ

(2) ให้กองทัพมีบทบาทในการพัฒนาและร่วมมือเสริมสร้างความมั่นคงของชาติทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม

(3) พัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลโดยเฉพาะอย่างยิ่งกำลังพลหลักหรือประจำการ จะต้องยึดหลักคุณภาพเหนือปริมาณ ส่วนกำลังพลสำรองจะต้องฟื้นฟูอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการป้องกันและพัฒนาประเทศ

(4) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อใช้ในกิจการทหาร

(5) ปรับปรุงและเพิ่มเติมด้านสวัสดิการของทหารให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นทั้งด้านที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล การกีฬาและอื่น ๆ ตลอดจนแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารผ่านศึก ทหารผ่านศึกทุพพลภาพและทหารที่ออกประจำการไปแล้ว

(6) สนับสนุนและส่งเสริมให้ทหารได้รับการศึกษาฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างกว้างขวาง ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกอย่างสูงในการรับผิดชอบต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์


นโยบายด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

(1) กำหนดแผนการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีคุณค่าของชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างแน่นอนสอดคล้องกับความเป็นจริงของชาติและของโลก

(2) ให้การศึกษาและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญและคุณค่าของระบบนิเวศวิทยา รวมทั้งทรัพยากรของชาติแก่ประชาชนอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

(3) เร่งรัดการแก้ไขปัญหาการจราจร ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษทั้งในปัจจุบันและอนาคต

(4) ฟื้นฟูสภาพความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศวิทยา และทรัพยากรธรรมชาติให้คืนสู่สภาพเดิม และอนุรักษ์ปรับปรุงสภาพแวดล้อมธรรมชาติให้คงไว้

(5) พัฒนาการใช้ทรัพยากรและพลังงานจากธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อภาวะสิ่งแวดล้อม เพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้าต่าง ๆ และมุ่งพึ่งตนเองในด้านพลังงานหลักของชาติเป็นสำคัญ


นโยบายด้านเกษตรและแรงงาน

(1) แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ประกาศ และคำสั่งที่ไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับแรงงาน และอาชีพสาขาต่าง ๆ ให้ถูกต้องเป็นธรรมยิ่งขึ้น

(2) ขยายการจ้างงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้มากขึ้น ป้องกันการขูดรีดแรงงานให้หมดสิ้นไป ปรับอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำให้เหมาะสมกับมาตรฐานการครองชีพ และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ

(3) ประกันความมั่นคงในการทำงาน และหลักประกันในการทำงานแก่ผู้ใช้แรงงานทั้งที่ทำงานในประเทศและต่างประเทศ

(4) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งสหภาพแรงงานกลุ่ม สมาคม และชมรมที่เป็นประชาธิปไตยเป็นประโยชน์ต่อสังคมและความมั่นคงของชาติ

(5) สนับสนุนการเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมและผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของเกษตรกร กลุ่มอาชีพ และผู้ใช้แรงงานทั่วไป

(6) ส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอาชีพแก่ประชาชน เกษตรกร ตลอดจนปกป้องสิทธิและผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของประชาชนทุกสาขาอาชีพ

(7) ให้การรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น

(8) ประกันการผลิตและราคาผลผลิตของเกษตร ชาวนา ชาวไร่ อย่างเป็นระบบและเป็นธรรม

(9) ปลดเปลื้องภาระหนี้สินของเกษตรกร ชาวนา ชาวไร่ ให้ทุเลาเบาบางจนหมดสิ้นไป ด้วยวิธีการและขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ


ส่วนคณะกรรมการบริหารพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2544 นั้นมีจำนวน 19 คน โดยตำแหน่งสำคัญ ๆ มีรายชื่อดังต่อไปนี้ [5]

1. นายพรประทาน ไชยรัชต์ หัวหน้าพรรค

2. นายนิพนธ์ สุขขวัญ รองหัวหน้าพรรค

3. นายบรรจบ แตงเจริญ รองหัวหน้าพรรค

4. ร้อยเอก สมชาย สุนสุข เลขาธิการพรรค

5. นายมงคล เสถียรกิตติ รองเลขาธิการพรรค

6. นายจรัญ ฤาชัย รองเลขาธิการพรรค

7. นายมานัส อุลล่าห์ รองเลขาธิการพรรค

8. นายสว่าง ประเคนทอง รองเลขาธิการพรรค

9. นางสาวธัชนันท์ เกิดผล เหรัญญิกพรรค

10. นายธาราวรรธนะ ไชยรัชต์ โฆษกพรรค

หลังจากพรรคชาติประชาชนจดทะเบียนจัดตั้งได้เพียง 1 ปี 10 เดือน ก็ถูกคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 16/2545 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 ให้ยุบพรรคชาติประชาชน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 65 วรรคสอง เนื่องจากไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 กล่าวคือภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดตั้งพรรคการเมือง พรรคชาติประชาชนไม่สามารถดำเนินการให้มีสมาชิกตั้งแต่ห้าพันคนขึ้นไป ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมีที่อยู่ในแต่ละภาคตามบัญชีรายชื่อภาคและจังหวัดที่นายทะเบียนประกาศกำหนด และมีสาขาพรรคการเมืองอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขาได้

ทั้งนี้ พรรคชาติประชาชนได้แจ้งจำนวนสมาชิกพรรค 6,976 คน และการจัดตั้งสาขาพรรค 6 สาขา ต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2545 หลังจากครบกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันไปแล้วหนึ่งวัน และจากการตรวจสอบของนายทะเบียนพรรคการเมืองพบว่า การรับสมัครสมาชิกพรรคชาติประชาชนไม่เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2543 และการจัดตั้งสาขาพรรคทั้ง 6 สาขา ก็ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อบังคับพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2543 เช่นกัน นายทะเบียนพรรคการเมืองจึงไม่รับรองการจัดตั้งสาขาพรรคทั้ง 6 สาขา จึงเป็นเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคชาติประชาชนดังกล่าว [6]

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 19 ง, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544, หน้า 20.
  2. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 19 ง, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544, หน้า 30.
  3. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 19 ง, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544, หน้า 29-30.
  4. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 19 ง, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544, หน้า 21-28
  5. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 19 ง, วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544, หน้า 68-69.
  6. ราชกิจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 79 ก, วันที่ 22 สิงหาคม 2546, หน้า 108-112.