ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยามโนปกรณ์นิติธาดา"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' นารีลักษณ์ ศิริวรรณ '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจ... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 5: | บรรทัดที่ 5: | ||
---- | ---- | ||
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา | พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็น[[นายกรัฐมนตรี]]คนแรกของประเทศไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 มีนามเดิมว่า “ก้อน หุตะสิงห์” เกิดวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายฮวด กับนางแก้ว หุตะสิงห์ สมรสกับคุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา (นิตย์ สามเสน) | ||
==การศึกษา== | ==การศึกษา== | ||
บรรทัดที่ 23: | บรรทัดที่ 23: | ||
'''การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย (สมัยที่ 1)''' | '''การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย (สมัยที่ 1)''' | ||
หลังจากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 | หลังจากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ของ[[คณะราษฎร]]ประสบความสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุมัติให้ใช้ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475” ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 บัญญัติไว้ดังนี้ | ||
มาตรา 33 ให้สภาเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน 1 ขั้นเป็น “ประธานกรรมการ” และให้ผู้เป็นประธานนั้นเลือกสมาชิกในสภาอีก 14 นาย เพื่อเป็นกรรมการการเลือกนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบของสภาแล้ว ให้ถือว่าผู้ได้รับเลือกนั้น ๆ เป็นกรรมการของสภา ในการนี้ ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งให้ “มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา” (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร” ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในการบริหาร เทียบเท่ากับตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” ในปัจจุบัน นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในการปกครองระบอบประชาธิปไตย | มาตรา 33 ให้สภาเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน 1 ขั้นเป็น “ประธานกรรมการ” และให้ผู้เป็นประธานนั้นเลือกสมาชิกในสภาอีก 14 นาย เพื่อเป็นกรรมการการเลือกนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบของสภาแล้ว ให้ถือว่าผู้ได้รับเลือกนั้น ๆ เป็นกรรมการของสภา ในการนี้ ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งให้ “มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา” (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร” ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในการบริหาร เทียบเท่ากับตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” ในปัจจุบัน นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในการปกครองระบอบประชาธิปไตย | ||
ประธานคณะกรรมการราษฎรได้เสนอชื่อ “คณะกรรมการราษฎร” (ในเวลาต่อมาเรียกว่า คณะรัฐมนตรี) และสภาได้อนุมัติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ดังมีรายชื่อต่อไปนี้ | ประธานคณะกรรมการราษฎรได้เสนอชื่อ “คณะกรรมการราษฎร” (ในเวลาต่อมาเรียกว่า [[คณะรัฐมนตรี]]) และสภาได้อนุมัติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ดังมีรายชื่อต่อไปนี้ | ||
รายชื่อคณะกรรมการราษฎร (คณะรัฐมนตรี คณะที่ 1)<ref>ธนากิต (นามแฝง), '''“ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย”,''' กรุงเทพฯ : ปิระมิด, 2545, หน้า 29 – 31.</ref> | รายชื่อคณะกรรมการราษฎร (คณะรัฐมนตรี คณะที่ 1)<ref>ธนากิต (นามแฝง), '''“ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย”,''' กรุงเทพฯ : ปิระมิด, 2545, หน้า 29 – 31.</ref> | ||
บรรทัดที่ 35: | บรรทัดที่ 35: | ||
2. มหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) | 2. มหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) | ||
3. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) | 3. [[พระยาพหลพลพยุหเสนา|นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา]] (พจน์ พหลโยธิน) | ||
4. นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) | 4. นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) | ||
บรรทัดที่ 45: | บรรทัดที่ 45: | ||
7. นายพันโท พระประศาสน์พิยายุทธ์ (วัน ชูถิ่น) | 7. นายพันโท พระประศาสน์พิยายุทธ์ (วัน ชูถิ่น) | ||
8. นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม) | 8. [[แปลก พิบูลสงคราม|นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม]] (แปลก พิบูลสงคราม) | ||
9. นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ กมลนาวิน) | 9. นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ กมลนาวิน) | ||
10. อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) | 10. [[ปรีดี พนมยงค์|อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม]] ([[ปรีดี พนมยงค์]]) | ||
11. รองอำมาตย์เอก หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) | 11. รองอำมาตย์เอก หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์) |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:09, 9 ธันวาคม 2552
ผู้เรียบเรียง นารีลักษณ์ ศิริวรรณ
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 มีนามเดิมว่า “ก้อน หุตะสิงห์” เกิดวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายฮวด กับนางแก้ว หุตะสิงห์ สมรสกับคุณหญิงมโนปกรณ์นิติธาดา (นิตย์ สามเสน)
การศึกษา
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญวิทยาลัย และโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ตามลำดับ จนสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตสยาม และต่อมาได้ทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาด้านกฎหมายจนสำเร็จเนติบัณฑิตจากสถาบัน The Middle Temple ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2448
การรับราชการ
เมื่อสำเร็จเนติบัณฑิตสยามแล้ว ท่านได้เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ กระทรวงยุติธรรม ด้วยความเที่ยงธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ตุลาการ ตลอดการรับราชการได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ “หลวงประดิษฐ์พิจารณ์การ” จนกระทั่งได้เป็น “สมุหพระนิติศาสตร์” และ “พระยามโนปกรณ์นิติธาดา” ในที่สุด
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ สังกัดกระทรวงยุติธรรม และนอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายด้วย ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามาก ในเวลาต่อมาท่านได้เป็นอธิบดีศาลฎีกา และได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์สมบัติ พ.ศ. 2468 – 2477) ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีที่ปรึกษาราชการในพระองค์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461
ในปี พ.ศ. 2475 ขณะเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น พระยามโนปกรณ์นิติธาดา กำลังดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการคลัง
บทบาททางการเมือง
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย (สมัยที่ 1)
หลังจากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ของคณะราษฎรประสบความสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุมัติให้ใช้ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475” ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 บัญญัติไว้ดังนี้
มาตรา 33 ให้สภาเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน 1 ขั้นเป็น “ประธานกรรมการ” และให้ผู้เป็นประธานนั้นเลือกสมาชิกในสภาอีก 14 นาย เพื่อเป็นกรรมการการเลือกนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบของสภาแล้ว ให้ถือว่าผู้ได้รับเลือกนั้น ๆ เป็นกรรมการของสภา ในการนี้ ที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งให้ “มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา” (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร” ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในการบริหาร เทียบเท่ากับตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” ในปัจจุบัน นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ประธานคณะกรรมการราษฎรได้เสนอชื่อ “คณะกรรมการราษฎร” (ในเวลาต่อมาเรียกว่า คณะรัฐมนตรี) และสภาได้อนุมัติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
รายชื่อคณะกรรมการราษฎร (คณะรัฐมนตรี คณะที่ 1)[1]
1. นายพันเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ (วัน จารุภา)
2. มหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล)
3. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
4. นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)
5. นายพันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)
6. อำมาตย์เอก พระยาประมวญวิชาพูล (วงศ์ บุญหลง)
7. นายพันโท พระประศาสน์พิยายุทธ์ (วัน ชูถิ่น)
8. นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม)
9. นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ กมลนาวิน)
10. อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
11. รองอำมาตย์เอก หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์)
12. รองอำมาตย์เอก ตั้ว ลพานุกรม
13. รองอำมาตย์เอก ประยูร ภมรมนตรี
14. นายแนบ พหลโยธิน
เมื่อเข้ารับตำแหน่งแล้ว หน้าที่หลักอันถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งของรัฐบาล คณะแรกโดยการนำของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ก็คือ พัฒนาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยการ “ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร” เพื่อใช้ปกครองบ้านเมืองแทนรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวของคณะปฏิวัติ เมื่อดำเนินการสำเร็จตามวัตถุประสงค์แล้ว จึงนำขึ้นทูลเกล้าถวายแต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อพิจารณาและทรงลงพระปรมาภิไธย เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายสูงสุด ในการปกครองประเทศต่อไป
การลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 (ฉบับถาวร ฉบับแรก) ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “รัฐธรรมนูญฉบับถาวร” คือ มีการประกาศและบังคับใช้ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475” มี 68 มาตรา นับเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นโดยสภาผู้แทนราษฎร โดยตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาคณะหนึ่ง มีผู้ร่างคนสำคัญคือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา พระยาเทพวิทุร หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ฯลฯ ยังคงรูปแบบ “สภาเดียว” คือ “สภาผู้แทนราษฎร” ที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ และในเวลาต่อมารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการยกเลิกอย่างสันติ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 13 ปี 5 เดือน
โดยมารยาททางการเมืองของรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตย เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายหลักในการปกครองบ้านเมือง รัฐบาลเก่าจำต้องถอนตัวหรือลาออกพ้นจากตำแหน่งไป เพื่อเปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ตามรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ คณะรัฐมนตรี (คณะกรรมการราษฎร) คณะแรก สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เพราะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระยามโนปกรณ์นิติธาดาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการราษฎร หรือนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จนถึงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475 จึงได้ลาออกจากตำแหน่งก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทะศักราช 2475 (สิ้นสุดสมัยที่ 1)
การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 (คณะรัฐมนตรี คณะที่ 2)
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย และเจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น บุนนาค) ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 จำนวน 20 ท่าน ดังนี้[2]
1. พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
2. นายพลเรือโท พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
3. พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
4. พระยาวงษานุประพัทธ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรพาณิชยการ
5. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
6. พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
7. พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และมีรัฐมนตรีอีก 13 ท่าน คือ
8. นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ (วัน จารุภา)
9. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)
10. นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)
11. นายพันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)
12. พระยาประมวณวิชาพูล (วงศ์ บุญหลง)
13. นายพันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ์ (วัน ชูถิ่น)
14. หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
15. นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ กรมนาวิน)
16. นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก พิบูลสงคราม)
17. หลวงเดชสหกรณ์ (หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์)
18. นายประยูร ภมรมนตรี
19. นายแนบ พหลโยธิน
20. นายตั้ว ลพานุกรม
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะรัฐบาลได้บริหารบ้านเมืองต่อมาได้เพียงประมาณ 4 เดือนเศษ ก็เกิดความแตกแยกทางความคิดเห็นขึ้น เกี่ยวกับเรื่อง “เค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ” ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เป็นผู้ร่าง ทั้งนี้ฝ่ายที่ต่อต้านได้แก่ กลุ่มของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซึ่งเห็นว่า เค้าโครงการเศรษฐกิจนี้มีแนวทางแบบสังคมนิยม หากนำมาใช้ก็จะก่อให้เกิดความยุ่งยากเพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ ควรดำเนินการแบบเสรีนิยม และฝ่ายต่อต้านยังกล่าวหาฝ่ายที่สนับสนุนแนวความคิดของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ความคิดเห็นของทั้งสองฝ่ายทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และมีเหตุการณ์วุ่นวายเกิดขึ้น จนถึงกับมีการค้นอาวุธจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก่อนเข้าประชุม รัฐบาลได้ออก “พระราชกฤาฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร” และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 สิ้นสุดลง โดยพระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภา และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
การดำรงตำแหน่งสมัยที่ 3 (คณะรัฐมนตรี คณะที่ 3)[3]
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี ตามความในข้อ 2 แห่งพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ พ.ศ. 2476 ซึ่งในประกาศนั้น บัญญัติให้รัฐมนตรีผู้ซึ่งว่าการกระทรวงต่าง ๆ อยู่ในเวลายุบสภาฯ เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีโดยตำแหน่ง ส่วนรัฐมนตรีอื่น ๆ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นโดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในประกาศตั้งคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2476 ได้เกิดมีการชุมนุมเดินขบวนทางการเมืองขึ้นเป็นครั้งแรกในระบอบประชาธิปไตย โดยมีพวกคนงานรถรางเป็นผู้นำขบวนเป็นการประท้วงและไว้อาลัยต่อ 4 ทหารเสือ ซึ่งในสมัยนั้นเป็นขวัญใจของประชาชน
การลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3[4]
ต่อมาในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทำงานภายใต้การนำของนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา มีนายพันโท หลวงพิบูลสงคราม และนายนาวาโท หลวงศุภชลาศัย ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองอีกครั้งหนึ่ง และนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 แทนพระยามโนปกรณ์นิติธาดา และได้เชิญหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) กลับมาเมืองไทย โดยมีการตั้งกรรมาธิการสอบสวนซักฟอก เมื่อได้รับการตัดสินว่าพ้นความผิด หลวงประดิษฐ์มนูธรรมจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลด้วย แต่พระยาพหลฯ ก็มิได้นำเค้าโครงการเศรษฐกิจฉบับดังกล่าวที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงตั้งแต่ปีแรกของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาใช้แต่อย่างใด
สาเหตุการรัฐประหารในครั้งนี้ เกิดจากการที่คณะรัฐมนตรีปิดสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา กับมีความพยายามของบุคคลบางกลุ่มที่คิดจะกำตัดสมาชิกคณะราษฎรซึ่งร่วมกันเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าวมีความประสงค์จะให้กลับไปใช้ระบอบการปกครองแบบเก่าคือ สมบูรณาญาสิทธิราชย์
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 สิ้นสุดลง เพราะมีประกาศให้เปิดสภาผู้แทนราษฎร โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นคำร้องขอให้เรียกประชุมวิสามัญ (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย เจ้าพระยาพิชัยญาติรับสนองพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2476)
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (สมัยที่ 3 อันเป็นสมัยสุดท้าย) เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 และลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเหตุการณ์ยึดอำนาจ (รัฐประหาร) เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 รวมระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 3 สมัย 1 เดือน 23 วัน
อ้างอิง
หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ
ธนากิต (นามแฝง), “ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย”, กรุงเทพฯ : ปิระมิด, 2545.
11 คนสำคัญของไทย, กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2508.
วีรชาติ ชุ่มสนิท, “24 นายกรัฐมนตรีไทย.” กรุงเทพฯ : ออลบุ๊คส์พับลิชชิ่ง, 2549.
บรรณานุกรม
ธนากิต (นามแฝง) (2545), “ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย”, กรุงเทพฯ : ปิระมิด.
วีรชาติ ชุ่มสนิท, (2549) “24 นายกรัฐมนตรีไทย.” กรุงเทพฯ : ออลบุ๊คส์พับลิชชิ่ง.