ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้ง"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัดที่ 151: บรรทัดที่ 151:
==การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา==
==การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา==


ตั้งแต่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของชาติ เมื่อพุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา รูปแบบของรัฐสภาไทยมีทั้งแบบสภาเดี่ยวและสภาคู่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น สมาชิกวุฒิสภามีหน้าที่สำคัญในการกลั่นกรองกฎหมาย จึงเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ความชำนาญในวิชาการหรืออาชีพต่างๆ ซึ่งแต่เดิมใช้วิธีแต่งตั้งทั้งหมดโดย[[พระมหากษัตริย์]]<ref>'''ประวัติวุฒิสภา.''' http://www.intarat.net/senate_1.php สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2552.</ref> แต่ตาม[[รัฐธรรมนูญ]]ฉบับปัจจุบัน สมาชิกวุฒิสภาจะมาจากการเลือกตั้งและการสรรหา สมาชิกวุฒิสมาชิกมีหน้าที่ทางด้านนิติบัญญัติโดยสรุป คือ กลั่นกรองร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจาก[[สภาผู้แทนราษฎร]]แล้ว รวมถึงพิจารณาอนุมัติ[[พระราชกําหนด]]ต่างๆ และทำหน้าที่ในการตรวจสอบ[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]ของ[[คณะรัฐมนตรี]]ในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามมาตรา 161 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ตั้งแต่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของชาติ เมื่อพุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา รูปแบบของรัฐสภาไทยมีทั้งแบบสภาเดี่ยวและสภาคู่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น สมาชิกวุฒิสภามีหน้าที่สำคัญในการกลั่นกรองกฎหมาย จึงเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ความชำนาญในวิชาการหรืออาชีพต่างๆ ซึ่งแต่เดิมใช้วิธีแต่งตั้งทั้งหมดโดย[[พระมหากษัตริย์]]<ref>'''ประวัติวุฒิสภา.''' http://www.intarat.net/senate_1.php สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2552.</ref> แต่ตาม[[รัฐธรรมนูญ]]ฉบับปัจจุบัน สมาชิกวุฒิสภาจะมาจากการเลือกตั้งและการสรรหา สมาชิกวุฒิสมาชิกมีหน้าที่ทางด้านนิติบัญญัติโดยสรุป คือ กลั่นกรองร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจาก[[สภาผู้แทนราษฎร]]แล้ว รวมถึงพิจารณาอนุมัติ[[พระราชกำหนด]]ต่างๆ และทำหน้าที่ในการตรวจสอบ[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]ของ[[คณะรัฐมนตรี]]ในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามมาตรา 161 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550


[[วุฒิสภา]]ประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และมาจากการสรรหา ดังนั้น สรุปได้ว่าวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกที่มีที่มาจาก 2 ทาง คือ สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน มีสมาชิกวุฒิสภาทั้งสิ้น 76 คน และสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา จํานวน 74 คน  
[[วุฒิสภา]]ประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และมาจากการสรรหา ดังนั้น สรุปได้ว่าวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกที่มีที่มาจาก 2 ทาง คือ สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน มีสมาชิกวุฒิสภาทั้งสิ้น 76 คน และสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา จํานวน 74 คน  

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:51, 27 พฤศจิกายน 2552

ผู้เรียบเรียง มาลินี คงรื่น

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


การปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่เหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน เพราะเป็นระบอบการปกครองที่ยอมรับสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างทั่วถึง และมีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการผูกขาดอำนาจทางการเมืองของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ ประชาชนมีอำนาจในการปกครองตนเอง แต่ในทางปฏิบัติประชาชนทุกคนไม่สามารถเข้าไปร่วมปกครองประเทศได้ทั้งหมด จึงต้องใช้วิธีเลือกตัวแทนเข้าไปดำเนินการแทน สำหรับประเทศไทยการเลือกตั้งผู้แทนประชาชนในระดับชาติ ได้แก่ การเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการเลือกสมาชิกวุฒิสภาเพื่อทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัตินั้นคือการออกกฎหมายต่าง ๆ ในการปกครองประเทศ และเลือกสรรบุคคลจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นผู้นำคณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดิน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจึงเป็นวิธีการที่ทำให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศอย่างเสมอภาค

ด้วยเหตุนี้เมื่อรัฐสภาผ่านกฎหมายใด ๆ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ประชาชนจะปฏิเสธว่าตนไม่เห็นชอบด้วยไม่ได้ เพราะผู้ออกกฎหมาย ก็คือตัวแทนของประชาชนนั่นเอง นอกจากนี้การเลือกตั้งยังทำให้คณะผู้บริหารหรือคณะรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศด้วยความชอบธรรมเพราะเป็นตัวแทนของประชาชนที่ประชาชนเลือกเข้ามาทำหน้าที่ในรัฐสภา การเลือกตั้งจึงเป็นกระบวนการทางประชาธิปไตยที่มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นการแสดงเจตนารมณ์ ของประชาชนเจ้าของประเทศที่มอบความไว้วางใจให้ตัวแทนของประชาชนไปทำหน้าที่ปกครองประเทศ รวมทั้งแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชน

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในอดีต

การเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศไทย ประเทศไทยจัดให้มีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 โดยมีการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2476 วิธีการเลือกตั้งเป็นแบบทางอ้อม ซึ่งได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 78 คน เป็นสมาชิกประเภทที่ 1 สมาชิกประเภทที่ 1 หมายถึงผู้ที่ราษฎรเลือกตั้ง โดยราษฎรเลือกผู้แทนตำบลก่อน จากนั้นผู้แทนตำบลจึงไปเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเป็นลำดับต่อไป สำหรับสถิติการเลือกตั้งที่น่าสนใจของการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศไทยคือ มีประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 4,278,231 คน และประชาชนมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 1,773,532 คน จังหวัดที่มีผู้ใช้สิทธิ์มากที่สุดคือจังหวัดเพชรบุรี หลังจากนั้นประเทศไทยได้มีการเลือกตั้งจนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 22 ครั้ง

สถิติการเลือกตั้งทั่วไปของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[1]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 480 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 400 คน และจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน (กลุ่มจังหวัด) จำนวน 80 คน[2] ดังนี้

1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

ครั้งที่ วัน/เดือน/ปี
ครั้งที่ 1 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2476
ครั้งที่ 2 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2480
ครั้งที่ 3 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2481
ครั้งที่ 4 วันที่ 6 มกราคม 2489
ครั้งที่ 5 วันที่ 29 มกราคม 2491
ครั้งที่ 6 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2495
ครั้งที่ 7 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500
ครั้งที่ 8 วันที่ 15 ธันวาคม 2500
ครั้งที่ 9 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512
ครั้งที่ 10 วันที่ 26 มกราคม 2518
ครั้งที่ 11 วันที่ 4 เมษายน 2519
ครั้งที่ 12 วันที่ 22 เมษายน 2522
ครั้งที่ 13 วันที่ 18 เมษายน 2526
ครั้งที่ 14 วันที่ 27 กรกฎาคม 2529
ครั้งที่ 15 วันที่ 24 กรกฎาคม 2531
ครั้งที่ 16 วันที่ 22 มีนาคม 2535
ครั้งที่ 17 วันที่ 13 กันยายน 2535
ครั้งที่ 18 วันที่ 2 กรกฎาคม 2538
ครั้งที่ 19 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2539
ครั้งที่ 20 วันที่ 6 มกราคม 2544
ครั้งที่ 21 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548
ครั้งที่ 22 วันที่ 23 ธันวาคม 2550

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิลงคะแนนเลือกผู้สมัครได้เท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ในแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยการแบ่งเขตเลือกตั้งนั้น มีวิธีการคือนำจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 400 คน ไปหารจำนวนประชากรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งเพื่อให้ได้ค่าเฉลี่ยประชากรต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน แล้วนำไปคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี โดยจังหวัดที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งและจังหวัดที่มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มากกว่า 3 คน ให้แบ่งเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งโดยแต่ละเขตจะมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน ในกรณีที่แบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัดหนึ่งให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบ 3 คนทุกเขตไม่ได้ ให้แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็นเขตเลือกตั้งที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตละ 3 คนเสียก่อน และเขตเลือกตั้งที่เหลือต้องมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า 2 คน

2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครที่พรรคการเมืองจัดทำได้เพียงหนึ่งบัญชีรายชื่อเท่านั้น และการกำหนดเขตเลือกตั้งแบบสัดส่วน จะแบ่งพื้นที่ประเทศไทยเป็น 8 กลุ่มจังหวัด โดยในแต่ละกลุ่มจังหวัดถือเป็นหนึ่งเขตเลือกตั้งโดยจะมี ส.ส. แบบสัดส่วนได้กลุ่มจังหวัดละ 10 คน โดย ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

(1) มีสัญชาติไทย กรณีบุคคลแปลงสัญชาติจะต้องได้สัญชาติไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง และ

(3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาน้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้งหรือมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักรย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา

ส่วนบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 บัญญัติเกี่ยวกับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของบุคคลไว้ด้วยว่า บุคคลดังต่อไปนี้ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

(1) ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

(2) อยู่ในระหว่างเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

(4) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

ประเทศไทยได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ผลปรากฎว่ามีผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีจำนวนทั้งสิ้น 44,002,593 คน มีผู้มาใช้สิทธิ 32,759,009 คน คิดเป็น 74.45 % ถือเป็นการใช้สิทธิมากสุดเป็นประวัติการณ์ สถิติที่น่าสนใจของการเลือกตั้งครั้งปัจจุบันพบว่าจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดลำพูน คิดเป็น 88.90 % ส่วนจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ จังหวัดสกลนคร คิดเป็น 66.73 %

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[3]

ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีคุณสมบัติสรุปได้ดังนี้

1. มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด

2. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบรูณ์ในวันเลือกตั้ง

3. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง

4. ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

(ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง

(ข) เป็นบุคคลที่เกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง

(ค ) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา

(ง ) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียบบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี

หน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่สรุปได้ดังนี้

1. ออกกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน

2. เป็นผู้เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี

3. ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น การตั้งกระทู้ถาม

4. จัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อพัฒนาประเทศ

5. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยนำเสนอปัญหาต่อรัฐบาลเพื่อหาทางแก้ไข เช่น การเสนอญัตติตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหาต่างๆ

การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

ตั้งแต่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของชาติ เมื่อพุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา รูปแบบของรัฐสภาไทยมีทั้งแบบสภาเดี่ยวและสภาคู่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น สมาชิกวุฒิสภามีหน้าที่สำคัญในการกลั่นกรองกฎหมาย จึงเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ความชำนาญในวิชาการหรืออาชีพต่างๆ ซึ่งแต่เดิมใช้วิธีแต่งตั้งทั้งหมดโดยพระมหากษัตริย์[4] แต่ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน สมาชิกวุฒิสภาจะมาจากการเลือกตั้งและการสรรหา สมาชิกวุฒิสมาชิกมีหน้าที่ทางด้านนิติบัญญัติโดยสรุป คือ กลั่นกรองร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว รวมถึงพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนดต่างๆ และทำหน้าที่ในการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามมาตรา 161 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และมาจากการสรรหา ดังนั้น สรุปได้ว่าวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกที่มีที่มาจาก 2 ทาง คือ สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน มีสมาชิกวุฒิสภาทั้งสิ้น 76 คน และสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา จํานวน 74 คน

1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในแต่ละจังหวัด

เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกําหนดเขตเลือกตั้งและดําเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้ กฎหมายและระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนดให้นําบทบัญญัติในส่วนของ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาบังคับใช้โดยอนุโลม ตั้งแต่บททั่วไป เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง เจ้าพนักงานผู้ดําเนินการเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การสมัครรับเลือกตั้ง ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งและวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง การลงคะแนนเลือกตั้ง การนับคะแนนและการประกาศผลการเลือกตั้ง การลงคะแนนเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง การดําเนินการกรณีการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม รวมทั้งการคัดค้านการเลือกตั้ง

2. การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ รวมทั้งระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการลงทะเบียนขององค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 กําหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาไว้ โดยสรุปดังนี้

(1) เมื่อมีเหตุต้องสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศใน ราชกิจจานุเบกษากําหนดวันสรรหาภายใน 3 วันนับแต่วันที่มีเหตุให้ต้องมีการสรรหา และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษากําหนดให้องค์กรภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นมาลงทะเบียนพร้อมทั้งเสนอชื่อผู้ที่สมควรได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันสรรหา ทั้งนี้ แต่ละองค์กรเสนอชื่อได้ 1 คน

องค์กรต่างๆ ที่มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมาย หรือเป็นนิติบุคคลที่ได้รับการรับรอง โดยกฎหมายให้จัดตั้งขึ้นในราชอาณาจักรมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และต้องมิใช่องค์กรที่แสวงหาผลกําไรหรือดําเนินกิจกรรมทางการเมือง

บุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรภาคต่าง ๆ ต้องเป็นบุคคลที่เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกขององค์กร หรือปฏิบัติหน้าที่หรือเคยปฏิบัติหน้าที่ในองค์กร ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญกําหนด โดยให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อชําระค่าธรรมเนียมคนละ 5,000 บาท โดยให้ค่าธรรมเนียมตกเป็นรายได้ของรัฐ และบุคคลดังกล่าวจะขอถอนชื่อออกจากการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหามิได้

(2) คณะกรรมการการเลือกตั้งรวบรวมรายชื่อบุคคลซึ่งได้รับการเสนอชื่อเสนอต่อคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ภายใน 5 วันนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอชื่อ

ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาประกอบด้วยกรรมการ ได้แก่ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา มอบหมายจํานวน 1 คน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมอบหมายจํานวน 1 คน

(3) คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาพิจารณาสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสมที่จะดํารงตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภาจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการการเลือกตั้งรวบรวมมาจากการเสนอชื่อขององค์กรต่างๆ จํานวนทั้งสิ้น 74 คน และแจ้งผลการพิจารณาต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อ ทั้งนี้ ให้ผลการพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาเป็นที่สุด

ในการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาของคณะกรรมการสรรหานั้น ให้คํานึงถึง ความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของวุฒิสภาเป็นสําคัญ และให้คํานึงถึงองค์ประกอบจากบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในด้านต่างๆที่แตกต่างกัน โอกาสและความเท่าเทียมกันทางเพศ สัดส่วนของบุคคลในแต่ละภาค รวมทั้งการให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาสทางสังคมด้วย

(4) คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการสรรหาและแจ้งผลการสรรหาไปยังประธานรัฐสภาเพื่อทราบ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

คุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภา[5]

คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิกวุฒิสภา สรุปได้ดังนี้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิกวุฒิสภาต้องมีอายุไม่ต่ำากว่า 40 ปีบริบูรณ์ และต้องจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเป็นสมาชิกวุฒิสภา ต้องไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดํารงตําแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ต้องไม่เป็นสมาชิกหรือผู้ดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมืองหรือเคยเป็นสมาชิก หรือเคยดํารงตําแหน่งและพ้นจากการเป็นสมาชิกหรือการดํารงตําแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองมาแล้วยังไม่เกิน 5 ปี ต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากตําแหน่งมาแล้วไม่เกิน 5 ปี ต้องไม่เป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือเคยเป็นแต่พ้นจาก ตําแหน่งดังกล่าวมาแล้วยังไม่เกิน 5 ปี และสมาชิกวุฒิสภาจะเป็นรัฐมนตรีผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองอื่น หรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมิได้ อีกทั้ง บุคคลผู้เคยดํารงตําแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกิน 2 ปี จะเป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองมิได้

หน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา[6]

อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สรุปได้ดังนี้

1. กลั่นกรองกฎหมาย

2. ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

3. ให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญต่าง ๆ

4. พิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่ง

5. ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง

การไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่สำคัญของปวงชนชาวไทยทุกคน พี่น้องประชาชนควรร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกันออกมาแสดงตนเพื่อใช้สิทธิเพราะนอกจากจะได้สมาชิกรัฐสภาที่มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนดีตามความตั้งใจแล้วยังเป็นการป้องกันการทุจริตในการซื้อสิทธิ ขายเสียง ได้อีกทางหนึ่งด้วย

อ้างอิง

  1. ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยุคปฏิรูปการเมืองใหม่ 6 มกราคม 2544. กรุงเทพฯ : หอสมุดรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2544.
  2. ความรู้เกี่ยวความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2550. http://www.tddf.or.th/tddf/constitution/readart.php?id=00468 สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2550.
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550.
  4. ประวัติวุฒิสภา. http://www.intarat.net/senate_1.php สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2552.
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550.
  6. วุฒิสภา. http://www.senate.go.th/main/senate/unit.php สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2550.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. 10 ปี กกต. ก้าวต่อไปเพื่อประชาธิปไตยที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2551.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 75 ปี รัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550.

บรรณานุกรม

ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2550. http://www.tddf.or.th/tddf/constitution/readart.php?id=00468 สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2552.

ปัทมา สูบกําปัง. วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. ในสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.sumc.in.th สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2552.

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยุคปฏิรูปการเมืองใหม่ 6 มกราคม 2544. กรุงเทพฯ : หอสมุดรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2544.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550.

สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ม.ป.ป.

อำนาจหน้าที่รัฐสภา ใน หนังสือที่ระลึกในการที่สภาผู้แทนราษฎรได้รับพระราชทานผ้าพระกฐินไปถวายพระภิกษุที่จำพรรษา ณ วัดวัดศรีสุดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551.

ดูเพิ่มเติม

  • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550
  • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550
  • ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550