ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ญัตติ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 17: บรรทัดที่ 17:
==ประเภทของญัตติ==
==ประเภทของญัตติ==


ญัตติมีหลายประเภทสามารถพิจารณาได้จากวัตถุประสงค์ของการเสนอญัตตินั้นๆ ว่ามีความต้องการให้รัฐสภาดำเนินการอย่างไร เช่น ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ[[นายกรัฐมนตรี]] หรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากการพิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 และข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 อาจแบ่งประเภทของญัตติได้ 2 ประเภท คือ
ญัตติมีหลายประเภทสามารถพิจารณาได้จากวัตถุประสงค์ของการเสนอญัตตินั้นๆ ว่ามีความต้องการให้รัฐสภาดำเนินการอย่างไร เช่น ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ[[นายกรัฐมนตรี]] หรือ[[รัฐมนตรี]]เป็นรายบุคคล เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากการพิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 และข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 อาจแบ่งประเภทของญัตติได้ 2 ประเภท คือ


1. ญัตติที่ต้องเสนอเป็นหนังสือ
1. ญัตติที่ต้องเสนอเป็นหนังสือ
บรรทัดที่ 31: บรรทัดที่ 31:
2. ญัตติที่เป็นร่างพระราชบัญญัติ
2. ญัตติที่เป็นร่างพระราชบัญญัติ


3. ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
3. ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ[[นายกรัฐมนตรี]]หรือ[[รัฐมนตรี]]เป็นรายบุคคล


4. ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
4. ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ


5. ญัตติที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
5. ญัตติที่[[คณะรัฐมนตรี]]เป็นผู้เสนอ


6. ญัตติขอให้สภามีมติให้รัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมสภา
6. ญัตติขอให้สภามีมติให้[[รัฐมนตรี]]เข้าร่วมประชุมสภา


7. ญัตติขอให้สภามีมติในกรณีมีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาลตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป
7. ญัตติขอให้สภามีมติในกรณีมีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาลตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:42, 27 ตุลาคม 2552

ผู้เรียบเรียง อรพรรณ สินธ์ศิริมานะ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในระบบรัฐสภา มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศซึ่งบัญญัติให้อำนาจอธิปไตย (นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ) เป็นของปวงชนชาวไทยพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐสภาเป็นองค์กรทางด้านนิติบัญญัติและทำหน้าที่ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้งการพิจารณาให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา และการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เป็นการประชุมเพื่อทำหน้าที่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยมี “ญัตติ” เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการประชุมสภา เพราะญัตติเป็นข้อเสนอเพื่อให้ที่ประชุมสภาได้พิจารณาดำเนินการเรื่องต่างๆ ตามจุดประสงค์ของญัตตินั้นๆ ญัตติจึงเป็นกลไกสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ[1]

ความหมายของญัตติ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของ “ญัตติ” ว่า “ญัตติ น. ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่”[2] นอกจากนี้ มีการให้ความหมายอื่น ๆ ดังนี้

ญัตติ หมายถึง เรื่อง ปัญหา หรือประเด็น ที่สมาชิกรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา เพื่อให้มีการลงมติในเรื่องปัญหา หรือประเด็นดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีความหมายว่า ข้อเสนอใด ๆ ที่มีความมุ่งหมายจะให้รัฐสภาลงมติหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะให้ปฏิบัติหรือดำเนินการอย่างไรต่อไป[3]

ประเภทของญัตติ

ญัตติมีหลายประเภทสามารถพิจารณาได้จากวัตถุประสงค์ของการเสนอญัตตินั้นๆ ว่ามีความต้องการให้รัฐสภาดำเนินการอย่างไร เช่น ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากการพิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 และข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 อาจแบ่งประเภทของญัตติได้ 2 ประเภท คือ

1. ญัตติที่ต้องเสนอเป็นหนังสือ

2. ญัตติที่ไม่ต้องเสนอเป็นหนังสือ

1. ญัตติที่ต้องเสนอเป็นหนังสือ

ญัตติที่ต้องเสนอเป็นหนังสือ คือ ญัตติที่ต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อยื่นเสนอต่อประธานสภาและต้องเสนอล่วงหน้า ญัตติประเภทนี้มักเป็นญัตติสำคัญที่เสนอให้รัฐสภาพิจารณาดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ได้กำหนดญัตติที่ต้องเสนอเป็นหนังสือ (ข้อ 37-42)[4] มีดังนี้

1. ญัตติที่เป็นร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

2. ญัตติที่เป็นร่างพระราชบัญญัติ

3. ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล

4. ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

5. ญัตติที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ

6. ญัตติขอให้สภามีมติให้รัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมสภา

7. ญัตติขอให้สภามีมติในกรณีมีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาลตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป

8. ญัตติขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการหรือขอให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา

9. ญัตติด่วน เพื่อเสนอให้สภาพิจารณาเป็นการด่วน เป็นกรณีที่เกี่ยวกับประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน หรือมีความจำเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือความมั่นคงของประเทศไม่ว่าในทางเศรษฐกิจหรือในทางใดๆ ก็ตาม หรือในอันที่จะขจัดเหตุใดๆ ที่กระทบกระเทือนต่อเสรีภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ญัตติด่วน ต้องไม่มีลักษณะทำนองเดียวกับกระทู้ถามและต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สภาดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง

10. ญัตติขอให้ประชุมลับ โดยปกติแล้วการประชุมสภาผู้แทนราษฎร การประชุมวุฒิสภา การประชุมร่วมกันของรัฐสภา จะประชุมโดยเปิดเผยให้ประชาชนรับทราบ แต่บางกรณีเป็นเรื่องที่ยังไม่ควรเปิดเผยเพราะอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือความมั่นคงของประเทศชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาตามจำนวนที่กำหนดร้องขอให้ประชุมลับ ก็ให้ประชุมลับ

11. ญัตติทั่วไปที่เสนอตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551

ส่วนในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 ได้กำหนดญัตติที่ต้องเสนอเป็นหนังสือ (ข้อ 35-39)[5] มีดังนี้

1. ญัตติขอให้ประชุมลับ

2. ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ

3. ญัตติเพื่อให้วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาออกจากตำแหน่งได้

4. ญัตติที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ

5. ญัตติขอให้วุฒิสภามีมติให้รัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมวุฒิสภา

6. ญัตติขอให้คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาหรือญัตติขอให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ หรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา

7. ญัตติขอให้วุฒิสภามีมติในกรณีมีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างวุฒิสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาลตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป

8. ญัตติทั่วไปที่เสนอตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551


2. ญัตติที่ไม่ต้องเสนอเป็นหนังสือ

ญัตติที่ไม่ต้องเสนอเป็นหนังสือ คือ ญัตติที่ไม่ต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยผู้เสนอสามารถเสนอต่อที่ประชุมสภาด้วยวาจา ญัตติประเภทนี้จะเป็นญัตติที่เกี่ยวกับวิธีการประชุม เพื่อให้การประชุมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย[6] ซึ่งในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ได้กำหนดญัตติที่ไม่ต้องเสนอเป็นหนังสือ (ข้อ 46)[7] มีดังนี้

1. ญัตติขอให้พิจารณาเป็นเรื่องด่วน

2. ญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม

3. ญัตติขอให้ลงมติให้จดรายงานการประชุมลับครั้งใด ทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน

4. ญัตติขอให้ลงมติห้ามโฆษณาข้อความอันเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน ที่ได้กล่าวหรือปรากฏในการประชุม

5. ญัตติขอแปรญัตติเฉพาะในเรื่องที่ไม่ใช่ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพระราชบัญญัติ

6. ญัตติขอให้รวมระเบียบวาระการประชุมที่เป็นเรื่องเดียวกัน ทำนองเดียวกัน หรือเกี่ยวเนื่องกันเพื่อพิจารณาพร้อมกัน

7. ญัตติขอให้ส่งปัญหาไปยังคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณา

8. ญัตติขอให้บุคคลใดส่งเอกสารมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น

9. ญัตติขอให้รวมหรือแยกประเด็นพิจารณา หรือลงมติ

10. ญัตติขอให้เลื่อนการปรึกษาหรือพิจารณา

11. ญัตติขอให้ปิดอภิปราย แต่จะเสนอในคราวเดียวกับการอภิปรายของตนไม่ได้

12. ญัตติขอให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษาหรือพิจารณา แต่จะเสนอในคราวเดียวกับการอภิปรายของตนไม่ได้ เพราะอาจมีผลทำให้ญัตติเดิมตกไป และห้ามเสนอในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ

13. ญัตติเสนอวิธีลงคะแนนเสียงในการออกเสียงลงคะแนนโดยเปิดเผยหรือลับ

14. ญัตติขอให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ โดยคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งหรือคณะกรรมาธิการเต็มสภา

15. ญัตติขอให้งดใช้ข้อบังคับการประชุมข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้งหมด หรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวเฉพาะกรณี

16. ญัตติที่ประธานอนุญาตตามที่เห็นสมควร

ส่วนในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 ได้กำหนดญัตติที่ไม่ต้องเสนอเป็นหนังสือ อยู่ในข้อ 40[8] ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับข้อกำหนดในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551

อย่างไรก็ตาม ญัตตินั้นอาจตกไปหากที่ประชุมลงมติให้ยกเรื่องอื่นขึ้นปรึกษาหรือพิจารณาทำให้ญัตติเดิมตกไป หรือกรณีผู้เสนอญัตติ ผู้รับรองญัตติไม่ชี้แจงในที่ประชุม ไม่อยู่ในที่ประชุมโดยไม่มีผู้รับมอบหมาย ก็ทำให้ญัตติตกเช่นเดียวกัน

การเสนอญัตติและการรับรองญัตติ

การเสนอญัตติและการรับรองญัตติ จะต้องกระทำตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 และข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะ

ผู้มีสิทธิเสนอญัตติ

ได้แก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี

จำนวนผู้เสนอญัตติ

การเสนอญัตติใดๆ สามารถเสนอได้โดยผู้เสนอญัตติ 1 คนขึ้นไป แต่บางญัตติมีการกำหนดจำนวนผู้เสนอญัตติไว้ว่าจะต้องมีจำนวนเท่าไรเป็นอย่างน้อย เช่น ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี กำหนดให้มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร จึงมีสิทธิเสนอญัตตินี้ได้[9] หรือญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ กำหนดให้มีจำนวนสมาชิกวุฒิสภาไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา จึงมีสิทธิเสนอญัตติดังกล่าวได้[10] เป็นต้น

ผู้รับรองญัตติ

โดยทั่วไปนั้น การเสนอญัตติเพื่อให้ที่ประชุมสภาพิจารณาจะต้องมีผู้รับรองญัตติ การรับรองญัตติเป็นการแสดงว่ามีผู้สนใจและต้องการให้มีการพิจารณาญัตตินั้น สมาชิกสภาทุกคนเป็นผู้มีสิทธิรับรองญัตติซึ่งตนไม่ได้เป็นผู้เสนอได้[11] การเสนอญัตติต่อที่ประชุมสภาโดยทั่วไปจะกำหนดให้มีผู้รับรองญัตติไม่น้อยกว่า 5 คน เว้นแต่ถ้ามีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือข้อบังคับการประชุมสภากำหนดไว้เป็นอย่างอื่นก็จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัตินั้น เช่น ญัตติขอให้สภามีมติให้รัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมสภา ในข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 กำหนดให้มีผู้รับรองไม่น้อยกว่า 20 คน[12] หรือญัตติขอให้วุฒิสภามีมติให้รัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมวุฒิสภา ในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 กำหนดให้มีผู้รับรองไม่น้อยกว่า 10 คน[13]

นอกจากนี้ ข้อบังคับการประชุมสภาได้กำหนดประเภทของญัตติที่ไม่ต้องมีผู้รับรองญัตติ เช่น ญัตติที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ หรือญัตติที่ต้องใช้สมาชิกจำนวนมากร่วม ลงชื่อเสนอ เช่น ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ญัตติที่เป็นร่างพระราชบัญญัติ เป็นต้น

ญัตติที่เสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ผู้เสนอและผู้รับรองต้องลงลายมือชื่อในญัตตินั้น ส่วนญัตติที่ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ให้ผู้รับรองญัตติแสดงการรับรองโดยวิธียกมือขึ้นพ้นศีรษะ[14]

ญัตติเป็นกลไกที่สำคัญต่อการดำเนินงานของรัฐสภาทั้งในด้านกระบวนการทางนิติบัญญัติ การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน และการดำเนินการประชุมสภา ทำให้รัฐสภาในฐานะองค์กรทางด้านนิติบัญญัติสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ตัวอย่างแบบฟอร์มการเสนอญัตติในส่วนของผู้เสนอญัตติ

ตัวอย่างแบบฟอร์มการเสนอญัตติในส่วนของผู้รับรองญัตติ

อ้างอิง

  1. จเร พันธุ์เปรื่อง. “ญัตติ” รัฐสภาสาร. ปีที่ 41 ฉบับที่ 6 (มิ.ย. 2536). หน้า 3.
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546. หน้า 390.
  3. คณิน บุญสุวรรณ. ปทานุกรม ศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548. หน้า 319.
  4. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551. หน้า 15-16.
  5. เรื่องเดียวกัน, หน้า 88-89.
  6. จเร พันธุ์เปรื่อง. “ญัตติ” รัฐสภาสาร. ปีที่ 41 ฉบับที่ 6 (มิ.ย. 2536). หน้า 17.
  7. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551. หน้า 17-18.
  8. เรื่องเดียวกัน, หน้า 89-90.
  9. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551. หน้า 130.
  10. เรื่องเดียวกัน, หน้า 133.
  11. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ระบบงานรัฐสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2540 หน้า 51.
  12. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551. หน้า 17-18.
  13. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551. หน้า 88.
  14. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551. หน้า 19.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

คณิน บุญสุวรรณ. ปทานุกรม ศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551.

บรรณานุกรม

คณิน บุญสุวรรณ. ปทานุกรม ศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2548.

จเร พันธุ์เปรื่อง. “ญัตติ” รัฐสภาสาร. ปีที่ 41 ฉบับที่ 6 (มิ.ย. 2536).

ชัยอนันต์ สมุทวณิช และเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์. กลไกรัฐสภา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเนศ, 2518.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546.

วรรณี เกตุนุติ. “ญัตติ” รัฐสภาสาร. ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 (มี.ค. 2529).

สานิตย์ โลหะชาละ. “ญัตติ” รัฐสภาสาร. ปีที่ 32 ฉบับที่ 10 (ต.ค. 2527).

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551 ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ระบบงานรัฐสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2540.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551.

ดูเพิ่มเติม