ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มีชัย ฤชุพันธุ์"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 5: บรรทัดที่ 5:
----
----


นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภา ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นับเป็นผู้มีประสบการณ์และความรู้ในสาขากฎหมายอย่างกว้างขวางจึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ทางการเมืองมากมาย ท่านไม่เพียงแต่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเท่านั้น แต่ยังมีความคิดและมุมมองทางการเมือง การบริหาร เศรษฐกิจ สังคม จนรัฐบาลหลายสมัยเชิญท่านไปร่วมงานในการบริหารราชการแผ่นดินอยู่เสมอ และได้รับการยกย่องว่าเป็นนักกฎหมายที่เก่ง ดี และมีประสบการณ์<ref>“มีชัย ปธ.ตามโผ ป๋ายกคนดี-เก่ง จรัล-พจนีย์ รอง”. '''คม ชัด ลึก.''' วันพุธ ที่ 25 ตุลาคม 2549, หน้า 1.</ref>
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีต[[ประธานวุฒิสภา]] [[ประธานรัฐสภา]] และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นับเป็นผู้มีประสบการณ์และความรู้ในสาขากฎหมายอย่างกว้างขวางจึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ทางการเมืองมากมาย ท่านไม่เพียงแต่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเท่านั้น แต่ยังมีความคิดและมุมมองทางการเมือง การบริหาร เศรษฐกิจ สังคม จนรัฐบาลหลายสมัยเชิญท่านไปร่วมงานในการบริหารราชการแผ่นดินอยู่เสมอ และได้รับการยกย่องว่าเป็นนักกฎหมายที่เก่ง ดี และมีประสบการณ์<ref>“มีชัย ปธ.ตามโผ ป๋ายกคนดี-เก่ง จรัล-พจนีย์ รอง”. '''คม ชัด ลึก.''' วันพุธ ที่ 25 ตุลาคม 2549, หน้า 1.</ref>


==ประวัติ==
==ประวัติ==


นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เกิดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ที่กรุงเทพมหานคร สมรสกับคุณหญิงอัมพร (เสนีวงศ์ ณ อยุธยา) ฤชุพันธุ์ (ถึงแก่อนิจกรรม) มีบุตร 2 คน คือ นางมยุระ ช่วงโชติ และนางมธุรส โลจายะ จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2504 และจบปริญญาโทด้านกฎหมายเปรียบเทียบจาก Southern Methodist University สหรัฐอเมริกา โดยทุนรัฐบาลไทย เมื่อปี พ.ศ. 2509 ต่อมาในปีเดียวกันไปฝึกงานโครงการ Legislative Internship Program ของรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา จนจบหลักสูตรเมื่อปี พ.ศ. 2510
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เกิดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ที่กรุงเทพมหานคร สมรสกับคุณหญิงอัมพร (เสนีวงศ์ ณ อยุธยา) ฤชุพันธุ์ (ถึงแก่อนิจกรรม) มีบุตร 2 คน คือ นางมยุระ ช่วงโชติ และนางมธุรส โลจายะ จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2504 และจบปริญญาโทด้านกฎหมายเปรียบเทียบจาก Southern Methodist University สหรัฐอเมริกา โดยทุนรัฐบาลไทย เมื่อปี พ.ศ. 2509 ต่อมาในปีเดียวกันไปฝึกงานโครงการ Legislative Internship Program ของรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา จนจบหลักสูตรเมื่อปี พ.ศ. 2510


ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ ด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัย อดัมสัน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ. 2539 ได้รับปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีต่อมาได้รับปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2545<ref>มีชัย ฤชุพันธุ์. '''หยดน้ำ.''' กรุงเทพฯ : วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2544, หน้า 179.</ref>
ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ ด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัย อดัมสัน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ. 2539 ได้รับปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีต่อมาได้รับปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2545<ref>มีชัย ฤชุพันธุ์. '''หยดน้ำ.''' กรุงเทพฯ : วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2544, หน้า 179.</ref>


นอกจากนี้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ยังได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ สังข์เงิน ของสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2533 สาขาส่งเสริมความยุติธรรม<ref>สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย. '''รายนามผู้ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ สังข์เงิน ของสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 (พ.ศ.2533).''' [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.prthailand.com/images/activities_images/sungprize15.pdf (10 กันยายน 2552)</ref> และเป็นนักเรียนเก่าดีเด่นของ Southern Methodist University นักเรียนเก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น
นอกจากนี้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ยังได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ สังข์เงิน ของสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2533 สาขาส่งเสริมความยุติธรรม<ref>สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย. '''รายนามผู้ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ สังข์เงิน ของสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 (พ.ศ.2533).''' [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.prthailand.com/images/activities_images/sungprize15.pdf (10 กันยายน 2552)</ref> และเป็นนักเรียนเก่าดีเด่นของ Southern Methodist University นักเรียนเก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น


หลังจากจบการศึกษา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เริ่มรับราชการที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และมาใช้ทุนรัฐบาลที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และได้เป็นผู้อำนวยการกองยกร่างกฎหมายคนแรก และก้าวหน้าในราชการเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์,หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช,หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช, นายธานินทร์ กรัยวิเชียร และเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ตามลำดับ  
หลังจากจบการศึกษา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เริ่มรับราชการที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และมาใช้ทุนรัฐบาลที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และได้เป็นผู้อำนวยการกองยกร่างกฎหมายคนแรก และก้าวหน้าในราชการเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์, หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, [[เสนีย์ ปราโมช|หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]], นายธานินทร์ กรัยวิเชียร และเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ในรัฐบาล[[เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์|พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์]] ตามลำดับ  


ต่อมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523 – 2531 และรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ระหว่าง พ.ศ. 2531-2533 และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายอานันท์  ปันยารชุน และรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร ระหว่าง พ.ศ.2534-2535 และในช่วงวิกฤตการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อพลเอก สุจินดา คราประยูร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้รักษาการตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนรัฐบาลนายอานันท์     ปันยารชุน ได้เข้ามารับตำแหน่ง<ref>มีชัย ฤชุพันธุ์. เรื่องเดียวกัน,หน้า 180-181.</ref>
ต่อมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523 – 2531 และรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ระหว่าง พ.ศ. 2531-2533 และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล[[อานันท์ ปันยารชุน|นายอานันท์ ปันยารชุน]] และรัฐบาล[[สุจินดา คราประยูร|พลเอก สุจินดา คราประยูร]] ระหว่าง พ.ศ.2534-2535 และในช่วงวิกฤตการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อพลเอก สุจินดา คราประยูร ลาออกจากตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]] นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้รักษาการตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ได้เข้ามารับตำแหน่ง<ref>มีชัย ฤชุพันธุ์. เรื่องเดียวกัน,หน้า 180-181.</ref>


นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 3 สมัย คือ ระหว่าง พ.ศ. 2520-2522, พ.ศ. 2532-2534 และ พ.ศ. 2549-2551 และดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา 3 สมัย ระหว่าง พ.ศ. 2526-2532, พ.ศ. 2535-2539 และ พ.ศ. 2539-2543  
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 3 สมัย คือ ระหว่าง พ.ศ. 2520-2522, พ.ศ. 2532-2534 และ พ.ศ. 2549-2551 และดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา 3 สมัย ระหว่าง พ.ศ. 2526-2532, พ.ศ. 2535-2539 และ พ.ศ. 2539-2543  


==การดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา==
==การดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา==


ครั้งที่ 1 (28 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2539)
'''ครั้งที่ 1 (28 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2539)'''


นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535<ref>ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา. '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 109 ตอนที่ 26 , 22 มีนาคม 2535, หน้า 6.</ref> และได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานวุฒิสภา และประธานรัฐสภาโดยตำแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 86 ที่กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นรองประธานรัฐสภา<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534. '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 108 ตอนที่ 216 ฉบับพิเศษ, 9 ธันวาคม 2534.</ref> เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2535 แทนนายอุกฤษ มงคลนาวิน ที่ลาออกไป<ref>รายงานการประชุมวุฒิสภา (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง) ครั้งที่ 3/2535 1 พฤษภาคม 2535. หน้า 64 .</ref> แต่หลังจากนั้น ก็มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2535 ที่กำหนดให้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2535. '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 109 ตอนที่ 72 , 30 มิถุนายน 2535.</ref> จึงทำให้นาย มีชัย ฤชุพันธุ์ สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2535 แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นรองประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา จนหมดวาระการดำรงตำแหน่งตามสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2539
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535<ref>ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา. '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 109 ตอนที่ 26 , 22 มีนาคม 2535, หน้า 6.</ref> และได้รับการแต่งตั้งเป็น[[ประธานวุฒิสภา]] และ[[ประธานรัฐสภา]]โดยตำแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 86 ที่กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา [[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]เป็นรองประธานรัฐสภา<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534. '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 108 ตอนที่ 216 ฉบับพิเศษ, 9 ธันวาคม 2534.</ref> เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2535 แทนนายอุกฤษ มงคลนาวิน ที่ลาออกไป<ref>รายงานการประชุมวุฒิสภา (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง) ครั้งที่ 3/2535 1 พฤษภาคม 2535. หน้า 64 .</ref> แต่หลังจากนั้น ก็มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2535 ที่กำหนดให้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2535. '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 109 ตอนที่ 72 , 30 มิถุนายน 2535.</ref> จึงทำให้นาย มีชัย ฤชุพันธุ์ สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2535 แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นรองประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา จนหมดวาระการดำรงตำแหน่งตามสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2539


ครั้งที่ 2 (6 เมษายน พ.ศ. 2539 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2543)
'''ครั้งที่ 2 (6 เมษายน พ.ศ. 2539 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2543)'''


นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2539<ref>ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา. '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 113 ตอนพิเศษ 7ง , 22 มีนาคม 2539, หน้า 8.</ref> และในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2539 ในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 1 สมัยสามัญ ครั้งที่สอง นายวิษณุ เครืองาม สมาชิกวุฒิสภา ได้เสนอชื่อ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานวุฒิสภา โดยไม่มีสมาชิกวุฒิสภาเสนอชื่อผู้อื่นอีก นายมีชัย ฤชุพันธุ์จึงได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภา ตามข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภา พุทธศักราช 2538 ข้อ 6 วรรคสอง<ref>ข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภา พุทธศักราช 2538. '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 112 ตอนพิเศษ 37 ง , 20 กันยายน 2538, หน้า 17.</ref> และมีนายอาษา เมฆสวรรค์ เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง และพลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง โดยได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2539 และในที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 2 สมัยสามัญ ครั้งที่สอง วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2539 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้กล่าวถึงแนวทางการทำงาน ความว่า  
นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2539<ref>ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา. '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 113 ตอนพิเศษ 7ง , 22 มีนาคม 2539, หน้า 8.</ref> และในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2539 ในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 1 สมัยสามัญ ครั้งที่สอง นายวิษณุ เครืองาม สมาชิกวุฒิสภา ได้เสนอชื่อ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานวุฒิสภา โดยไม่มีสมาชิกวุฒิสภาเสนอชื่อผู้อื่นอีก นายมีชัย ฤชุพันธุ์จึงได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภา ตามข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภา พุทธศักราช 2538 ข้อ 6 วรรคสอง<ref>ข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภา พุทธศักราช 2538. '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 112 ตอนพิเศษ 37 ง , 20 กันยายน 2538, หน้า 17.</ref> และมีนายอาษา เมฆสวรรค์ เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง และพลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง โดยได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2539 และในที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 2 สมัยสามัญ ครั้งที่สอง วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2539 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้กล่าวถึงแนวทางการทำงาน ความว่า  


“...ประการที่ 1 เราจะกำหนดการประชุมวุฒิสภาเวลาเท่าไร ซึ่งเดี๋ยวเราจะได้พิจารณากัน แต่เมื่อได้กำหนดเวลาเท่าไรแล้ว โดยปกติวุฒิสภาจะประชุมค่อนข้างจะตรงเวลา จะช้ากว่ากำหนดก็ไม่เกิน 10 นาที เพราะฉะนั้นขอความร่วมมือท่านสมาชิกฯ การจราจรค่อนข้างจะติดขัด เพราะฉะนั้นขอความกรุณาได้โปรดมาร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ข้อสำคัญก็คือว่า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 103 (10) นั้น ได้กำหนดไว้ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง เมื่อขาดประชุมตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานวุฒิสภา เพราะฉะนั้นถ้าท่านใดที่มีภารกิจอื่นซึ่งไม่สามารถมาประชุมได้ตลอดสมัยประชุม ต้องขอความกรุณาส่งหนังสือลาล่วงหน้าเพื่อที่จะได้อนุญาตไว้ให้เป็นหลักฐาน เพราะมิฉะนั้นถ้ามีใครยกขึ้นมาภายหลังก็จะเป็นปัญหาต่อสมาชิกภาพของท่านได้
“...ประการที่ 1 เราจะกำหนดการประชุมวุฒิสภาเวลาเท่าไร ซึ่งเดี๋ยวเราจะได้พิจารณากัน แต่เมื่อได้กำหนดเวลาเท่าไรแล้ว โดยปกติ[[วุฒิสภา]]จะประชุมค่อนข้างจะตรงเวลา จะช้ากว่ากำหนดก็ไม่เกิน 10 นาที เพราะฉะนั้นขอความร่วมมือท่านสมาชิกฯ การจราจรค่อนข้างจะติดขัด เพราะฉะนั้นขอความกรุณาได้โปรดมาร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ข้อสำคัญก็คือว่า ตาม[[รัฐธรรมนูญ]] มาตรา 103 (10) นั้น ได้กำหนดไว้ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง เมื่อขาดประชุมตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานวุฒิสภา เพราะฉะนั้นถ้าท่านใดที่มีภารกิจอื่นซึ่งไม่สามารถมาประชุมได้ตลอดสมัยประชุม ต้องขอความกรุณาส่งหนังสือลาล่วงหน้าเพื่อที่จะได้อนุญาตไว้ให้เป็นหลักฐาน เพราะมิฉะนั้นถ้ามีใครยกขึ้นมาภายหลังก็จะเป็นปัญหาต่อสมาชิกภาพของท่านได้


ประการที่ 2 การพิจารณาเรื่องราวญัตติต่างๆ นั้น ผมและท่านรองประธานฯ จะเปิดโอกาสให้ท่านสมาชิกฯ ได้แสดงความคิดเห็นและอภิปรายได้อย่างเต็มที่จะขอความร่วมมือว่าโดยที่สภาเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุดปัจจุบัน มีท่านผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งถนัดในการแสดงความคิดเห็นค่อนข้างจะมาก เพราะฉะนั้นก็ต้องขอความร่วมมือว่าในการอภิปรายขอความกรุณาเอาเฉพาะสาระสำคัญ ขออารัมภบทแต่เพียงน้อยหน่อยเพื่อว่าทุกคนจะได้อภิปรายได้โดยทั่วหน้ากัน  
ประการที่ 2 การพิจารณาเรื่องราวญัตติต่างๆ นั้น ผมและท่านรองประธานฯ จะเปิดโอกาสให้ท่านสมาชิกฯ ได้แสดงความคิดเห็นและอภิปรายได้อย่างเต็มที่จะขอความร่วมมือว่าโดยที่สภาเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุดปัจจุบัน มีท่านผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งถนัดในการแสดงความคิดเห็นค่อนข้างจะมาก เพราะฉะนั้นก็ต้องขอความร่วมมือว่าในการอภิปรายขอความกรุณาเอาเฉพาะสาระสำคัญ ขออารัมภบทแต่เพียงน้อยหน่อยเพื่อว่าทุกคนจะได้อภิปรายได้โดยทั่วหน้ากัน  
บรรทัดที่ 39: บรรทัดที่ 39:
นี่ก็เป็นเรื่องที่ขอความกรุณาเรียนรบกวนท่านสมาชิกฯ เพื่อที่จะได้ทราบถึงแนวทางการทำงานของเราทั้ง 3 คน แล้วก็ขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า เราจะทำหน้าที่ของเราอย่างตรงไปตรงมาและเป็นกลางอย่างแท้จริง... ”<ref>รายงานการประชุมวุฒิสภา (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) ครั้งที่ 2/2539 11 เมษายน 2539. หน้า 27-29.</ref>
นี่ก็เป็นเรื่องที่ขอความกรุณาเรียนรบกวนท่านสมาชิกฯ เพื่อที่จะได้ทราบถึงแนวทางการทำงานของเราทั้ง 3 คน แล้วก็ขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า เราจะทำหน้าที่ของเราอย่างตรงไปตรงมาและเป็นกลางอย่างแท้จริง... ”<ref>รายงานการประชุมวุฒิสภา (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) ครั้งที่ 2/2539 11 เมษายน 2539. หน้า 27-29.</ref>


การดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ นั้น ท่านได้นำความรู้ ประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ในแง่มุมต่างๆ มาใช้ในการกลั่นกรองกฎหมายต่างๆ ก่อนที่จะได้มีการนำออกประกาศใช้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นานาประเทศที่มีต่อกฎหมายไทย ในระหว่างนั้นท่านได้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2534 เพื่อจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2540 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่ในระยะเริ่มแรกของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ให้คงไว้ซึ่งสมาชิกวุฒิสภาชุดเดิมที่มาจากการแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามบทเฉพาะกาล ตามมาตรา 315 และให้ประธานวุฒิสภาคงดำรงตำแหน่งอยู่เช่นเดิม ตามบทเฉพาะกาลใน มาตรา 316 วรรคสอง ความว่า “ให้ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ คงเป็นประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้จนกว่าอายุของวุฒิสภา ตามมาตรา 315 จะสิ้นสุดลง...”<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก, 11 ตุลาคม 2540. หน้า 86 - 88.</ref>
การดำรงตำแหน่ง[[ประธานวุฒิสภา]]ของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ นั้น ท่านได้นำความรู้ ประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ในแง่มุมต่างๆ มาใช้ในการกลั่นกรองกฎหมายต่างๆ ก่อนที่จะได้มีการนำออกประกาศใช้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นานาประเทศที่มีต่อกฎหมายไทย ในระหว่างนั้นท่านได้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2534 เพื่อจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2540 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่ในระยะเริ่มแรกของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ให้คงไว้ซึ่งสมาชิกวุฒิสภาชุดเดิมที่มาจากการแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามบทเฉพาะกาล ตามมาตรา 315 และให้ประธานวุฒิสภาคงดำรงตำแหน่งอยู่เช่นเดิม ตามบทเฉพาะกาลใน มาตรา 316 วรรคสอง ความว่า “ให้ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญ]]นี้ คงเป็นประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้จนกว่าอายุของวุฒิสภา ตามมาตรา 315 จะสิ้นสุดลง...”<ref>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก, 11 ตุลาคม 2540. หน้า 86 - 88.</ref>


จากบทบัญญัติดังกล่าวทำให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2543 ซึ่งจะมีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่โดยตรงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
จากบทบัญญัติดังกล่าวทำให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2543 ซึ่งจะมีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่โดยตรงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543
บรรทัดที่ 45: บรรทัดที่ 45:
==บทบาทที่สำคัญ==
==บทบาทที่สำคัญ==


นายมีชัย ฤชุพันธุ์เป็นผู้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 เพื่อจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. เพื่อดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540  
นายมีชัย ฤชุพันธุ์เป็นผู้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 เพื่อจัดให้มี[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]] หรือ สสร. เพื่อดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540  


ในเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 นายมีชัยเป็นที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฝ่ายกฎหมาย มีบทบาทในการร่างแถลงการณ์ประกาศและคำสั่ง คปค. หลายฉบับ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ร่วมกับนายวิษณุ เครืองาม และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ  
ในเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 นายมีชัยเป็นที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฝ่ายกฎหมาย มีบทบาทในการร่างแถลงการณ์ประกาศและคำสั่ง คปค. หลายฉบับ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ร่วมกับนายวิษณุ เครืองาม และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ  


นอกจากนี้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ยังได้ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ       (25 ตุลาคม 2549 – 21 มกราคม 2551) และเป็นกรรมการสำคัญๆ อีกหลายตำแหน่ง เช่น ประธานกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 1 (กฎหมายการเมืองการปกครอง) ประธานคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ... ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการสาขากฎหมายล้มละลาย ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณาการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณาการปรับปรุงค่าตอบแทนสำหรับคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณายกเลิกกฎหมาย ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ กรรมการจัดทำพจนานุกรมทางกฎหมายราชบัณฑิตยสภา กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ<ref>ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย. มีชัย ฤชุพันธุ์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://politicalbase.in.th/มีชัย ฤชุพันธุ์ (10 กันยายน 2552)</ref>
นอกจากนี้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ยังได้ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (25 ตุลาคม 2549 – 21 มกราคม 2551) และเป็นกรรมการสำคัญๆ อีกหลายตำแหน่ง เช่น ประธานกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 1 (กฎหมายการเมืองการปกครอง) ประธานคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ... ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการสาขากฎหมายล้มละลาย ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณาการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณาการปรับปรุงค่าตอบแทนสำหรับคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณายกเลิกกฎหมาย ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ กรรมการจัดทำพจนานุกรมทางกฎหมายราชบัณฑิตยสภา กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ<ref>ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย. มีชัย ฤชุพันธุ์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://politicalbase.in.th/มีชัย ฤชุพันธุ์ (10 กันยายน 2552)</ref>


เมื่อปี พ.ศ. 2550 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาตั้งฉายานายมีชัย ฤชุพันธุ์ ว่า ซีอีโอ สนช. เนื่องจากสามารถนำกฎหมายที่รัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ต้องการเข้าสู่ที่ประชุมได้อย่างไม่บกพร่อง และใช้ความเด็ดขาดในการควบคุมการประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติกลุ่มต่างๆได้อย่างดี ทำให้สมาชิกมีความยำเกรงในตัวนายมีชัย ราวกับพนักงานบริษัทที่เกรงอกเกรงใจซีอีโอของบริษัท<ref>รายงานพิเศษ : ฉายารัฐสภาปี 2550” '''ข่าวสด''' 30 ธันวาคม 2550 หน้า 6. </ref>
เมื่อปี พ.ศ. 2550 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาตั้งฉายานายมีชัย ฤชุพันธุ์ ว่า ซีอีโอ สนช. เนื่องจากสามารถนำกฎหมายที่รัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ต้องการเข้าสู่ที่ประชุมได้อย่างไม่บกพร่อง และใช้ความเด็ดขาดในการควบคุมการประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติกลุ่มต่างๆได้อย่างดี ทำให้สมาชิกมีความยำเกรงในตัวนายมีชัย ราวกับพนักงานบริษัทที่เกรงอกเกรงใจซีอีโอของบริษัท<ref>รายงานพิเศษ : ฉายารัฐสภาปี 2550” '''ข่าวสด''' 30 ธันวาคม 2550 หน้า 6.</ref>


==ปัจจุบัน==
==ปัจจุบัน==


ปัจจุบันนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นข้าราชการบำนาญ และเป็นนักกฎหมายโดยเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทสำนักงานกฎหมายมีชัย ฤชุพันธุ์ จำกัด<ref>รายชื่อบริษัทในประเทศไทย. '''บริษัท สำนักงานกฎหมายมีชัย ฤชุพันธ์ จำกัด.''' [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.companyinthailand.com/company_detail.php?company_id=423540 (10 กันยายน 2552)</ref> และเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายให้แก่องค์กร หน่วยงาน ตลอดจนประชาชนทั่วไป จากการที่ท่านเป็นนักกฎหมายที่มีความคิดทันสมัยและติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ท่านได้จัดทำเว็บไซต์ www.meechaithailand.com เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ ข่าวสารทางกฎหมาย และสาขาวิชาอื่นๆ ท่านยังอุทิศเวลาเปิดรายการถาม ตอบปัญหาทางกฎหมายจากทางเว็บไซต์นี้ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและเป็นเวทีที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแก่ประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ท่านยังใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อความสะดวกในการใช้กฎหมายและร่างกฎหมาย<ref>สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. '''“ห้องมีชัย ฤชุพันธุ์”.''' [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.library.msu.ac.th/meechaihome/index.php?sect=m_indexmore3.php (10 กันยายน 2552) </ref> นับเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับนักกฎหมายและนักการศึกษารุ่นใหม่ต่อไป
ปัจจุบันนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นข้าราชการบำนาญ และเป็นนักกฎหมายโดยเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทสำนักงานกฎหมายมีชัย ฤชุพันธุ์ จำกัด<ref>รายชื่อบริษัทในประเทศไทย. '''บริษัท สำนักงานกฎหมายมีชัย ฤชุพันธ์ จำกัด.''' [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.companyinthailand.com/company_detail.php?company_id=423540 (10 กันยายน 2552)</ref> และเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายให้แก่องค์กร หน่วยงาน ตลอดจนประชาชนทั่วไป จากการที่ท่านเป็นนักกฎหมายที่มีความคิดทันสมัยและติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ท่านได้จัดทำเว็บไซต์ [http://www.meechaithailand.com www.meechaithailand.com] เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ ข่าวสารทางกฎหมาย และสาขาวิชาอื่นๆ ท่านยังอุทิศเวลาเปิดรายการถาม ตอบปัญหาทางกฎหมายจากทางเว็บไซต์นี้ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและเป็นเวทีที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแก่ประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ท่านยังใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อความสะดวกในการใช้กฎหมายและร่างกฎหมาย<ref>สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. '''“ห้องมีชัย ฤชุพันธุ์”.''' [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.library.msu.ac.th/meechaihome/index.php?sect=m_indexmore3.php (10 กันยายน 2552) </ref> นับเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับนักกฎหมายและนักการศึกษารุ่นใหม่ต่อไป


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==
บรรทัดที่ 65: บรรทัดที่ 65:
นคร พจนวรพงษ์ และอุกฤษ พจนวรพงษ์. '''ข้อมูลประวัติศาสตร์การเมืองไทย.''' กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2542.
นคร พจนวรพงษ์ และอุกฤษ พจนวรพงษ์. '''ข้อมูลประวัติศาสตร์การเมืองไทย.''' กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2542.


มีชัย ฤชุพันธุ์. '''ความคิดเสรีของมีชัย.''' กรุงเทพฯ : เอ.อาร์.บิซิเนส เพรส , 2544.  
มีชัย ฤชุพันธุ์. '''ความคิดเสรีของมีชัย.''' กรุงเทพฯ : เอ.อาร์.บิซิเนส เพรส , 2544.  


==บรรณานุกรม==
==บรรณานุกรม==
บรรทัดที่ 77: บรรทัดที่ 77:
“มีชัย ปธ.ตามโผ ป๋ายกคนดี-เก่ง จรัล-พจนีย์ รอง”. '''คม ชัด ลึก.''' วันพุธ ที่ 25 ตุลาคม 2549.
“มีชัย ปธ.ตามโผ ป๋ายกคนดี-เก่ง จรัล-พจนีย์ รอง”. '''คม ชัด ลึก.''' วันพุธ ที่ 25 ตุลาคม 2549.


มีชัย ฤชุพันธุ์. '''หยดน้ำ.''' กรุงเทพฯ : วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2544.
มีชัย ฤชุพันธุ์. '''หยดน้ำ.''' กรุงเทพฯ : วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2544.


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2535. '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 109 ตอนที่ 72 , 30 มิถุนายน 2535.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2535. '''ราชกิจจานุเบกษา,''' เล่ม 109 ตอนที่ 72 , 30 มิถุนายน 2535.
บรรทัดที่ 87: บรรทัดที่ 87:
รายชื่อบริษัทในประเทศไทย. '''บริษัท สำนักงานกฎหมายมีชัย ฤชุพันธ์ จำกัด.''' [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.companyinthailand.com/company_detail.php?company_id=423540 (10 กันยายน 2552)
รายชื่อบริษัทในประเทศไทย. '''บริษัท สำนักงานกฎหมายมีชัย ฤชุพันธ์ จำกัด.''' [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.companyinthailand.com/company_detail.php?company_id=423540 (10 กันยายน 2552)


รายงานการประชุมวุฒิสภา (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง) ครั้งที่ 3/2535 1 พฤษภาคม 2535.  
รายงานการประชุมวุฒิสภา (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง) ครั้งที่ 3/2535 1 พฤษภาคม 2535.  


รายงานการประชุมวุฒิสภา (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) ครั้งที่ 2/2539 11 เมษายน 2539.
รายงานการประชุมวุฒิสภา (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) ครั้งที่ 2/2539 11 เมษายน 2539.


“รายงานพิเศษ : ฉายารัฐสภาปี 2550” '''ข่าวสด,''' 30 ธันวาคม 2550.
“รายงานพิเศษ : ฉายารัฐสภาปี 2550” '''ข่าวสด,''' 30 ธันวาคม 2550.


ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย. '''มีชัย ฤชุพันธุ์.''' [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://politicalbase.in.th/มีชัย ฤชุพันธุ์ (10 กันยายน 2552)
ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย. '''มีชัย ฤชุพันธุ์.''' [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://politicalbase.in.th/มีชัย ฤชุพันธุ์ (10 กันยายน 2552)


สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย. '''รายนามผู้ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ สังข์เงิน ของสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 (พ.ศ.2533).''' [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.prthailand.com/images/activities_images/sungprize15.pdf (10 กันยายน 2552)
สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย. '''รายนามผู้ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ สังข์เงิน ของสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 (พ.ศ.2533).''' [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.prthailand.com/images/activities_images/sungprize15.pdf (10 กันยายน 2552)


สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. '''“ห้องมีชัย ฤชุพันธุ์”.''' [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. '''“ห้องมีชัย ฤชุพันธุ์”.''' [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :  
http://www.library.msu.ac.th/meechaihome/index.php?sect=m_indexmore3.php (10 กันยายน 2552)
http://www.library.msu.ac.th/meechaihome/index.php?sect=m_indexmore3.php (10 กันยายน 2552)


==ดูเพิ่มเติม==
==ดูเพิ่มเติม==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:16, 8 ตุลาคม 2552

ผู้เรียบเรียง วิจิตรา ประยูรวงษ์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภา ประธานรัฐสภา และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นับเป็นผู้มีประสบการณ์และความรู้ในสาขากฎหมายอย่างกว้างขวางจึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ทางการเมืองมากมาย ท่านไม่เพียงแต่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเท่านั้น แต่ยังมีความคิดและมุมมองทางการเมือง การบริหาร เศรษฐกิจ สังคม จนรัฐบาลหลายสมัยเชิญท่านไปร่วมงานในการบริหารราชการแผ่นดินอยู่เสมอ และได้รับการยกย่องว่าเป็นนักกฎหมายที่เก่ง ดี และมีประสบการณ์[1]

ประวัติ

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เกิดวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ที่กรุงเทพมหานคร สมรสกับคุณหญิงอัมพร (เสนีวงศ์ ณ อยุธยา) ฤชุพันธุ์ (ถึงแก่อนิจกรรม) มีบุตร 2 คน คือ นางมยุระ ช่วงโชติ และนางมธุรส โลจายะ จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2504 และจบปริญญาโทด้านกฎหมายเปรียบเทียบจาก Southern Methodist University สหรัฐอเมริกา โดยทุนรัฐบาลไทย เมื่อปี พ.ศ. 2509 ต่อมาในปีเดียวกันไปฝึกงานโครงการ Legislative Internship Program ของรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา จนจบหลักสูตรเมื่อปี พ.ศ. 2510

ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ ด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัย อดัมสัน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ. 2539 ได้รับปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีต่อมาได้รับปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2545[2]

นอกจากนี้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ยังได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ สังข์เงิน ของสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2533 สาขาส่งเสริมความยุติธรรม[3] และเป็นนักเรียนเก่าดีเด่นของ Southern Methodist University นักเรียนเก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น

หลังจากจบการศึกษา นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เริ่มรับราชการที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และมาใช้ทุนรัฐบาลที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และได้เป็นผู้อำนวยการกองยกร่างกฎหมายคนแรก และก้าวหน้าในราชการเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมายในรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์, หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช, นายธานินทร์ กรัยวิเชียร และเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ในรัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ตามลำดับ

ต่อมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. 2523 – 2531 และรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ระหว่าง พ.ศ. 2531-2533 และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน และรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร ระหว่าง พ.ศ.2534-2535 และในช่วงวิกฤตการณ์พฤษภาทมิฬ เมื่อพลเอก สุจินดา คราประยูร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้รักษาการตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ได้เข้ามารับตำแหน่ง[4]

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 3 สมัย คือ ระหว่าง พ.ศ. 2520-2522, พ.ศ. 2532-2534 และ พ.ศ. 2549-2551 และดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา 3 สมัย ระหว่าง พ.ศ. 2526-2532, พ.ศ. 2535-2539 และ พ.ศ. 2539-2543

การดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา

ครั้งที่ 1 (28 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2539)

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535[5] และได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานวุฒิสภา และประธานรัฐสภาโดยตำแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 มาตรา 86 ที่กำหนดให้ประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นรองประธานรัฐสภา[6] เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2535 แทนนายอุกฤษ มงคลนาวิน ที่ลาออกไป[7] แต่หลังจากนั้น ก็มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2535 ที่กำหนดให้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา[8] จึงทำให้นาย มีชัย ฤชุพันธุ์ สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2535 แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นรองประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา จนหมดวาระการดำรงตำแหน่งตามสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2539

ครั้งที่ 2 (6 เมษายน พ.ศ. 2539 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2543)

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2539[9] และในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2539 ในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 1 สมัยสามัญ ครั้งที่สอง นายวิษณุ เครืองาม สมาชิกวุฒิสภา ได้เสนอชื่อ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานวุฒิสภา โดยไม่มีสมาชิกวุฒิสภาเสนอชื่อผู้อื่นอีก นายมีชัย ฤชุพันธุ์จึงได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภา ตามข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภา พุทธศักราช 2538 ข้อ 6 วรรคสอง[10] และมีนายอาษา เมฆสวรรค์ เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง และพลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ เป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง โดยได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2539 และในที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 2 สมัยสามัญ ครั้งที่สอง วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2539 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้กล่าวถึงแนวทางการทำงาน ความว่า

“...ประการที่ 1 เราจะกำหนดการประชุมวุฒิสภาเวลาเท่าไร ซึ่งเดี๋ยวเราจะได้พิจารณากัน แต่เมื่อได้กำหนดเวลาเท่าไรแล้ว โดยปกติวุฒิสภาจะประชุมค่อนข้างจะตรงเวลา จะช้ากว่ากำหนดก็ไม่เกิน 10 นาที เพราะฉะนั้นขอความร่วมมือท่านสมาชิกฯ การจราจรค่อนข้างจะติดขัด เพราะฉะนั้นขอความกรุณาได้โปรดมาร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ข้อสำคัญก็คือว่า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 103 (10) นั้น ได้กำหนดไว้ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง เมื่อขาดประชุมตลอดสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานวุฒิสภา เพราะฉะนั้นถ้าท่านใดที่มีภารกิจอื่นซึ่งไม่สามารถมาประชุมได้ตลอดสมัยประชุม ต้องขอความกรุณาส่งหนังสือลาล่วงหน้าเพื่อที่จะได้อนุญาตไว้ให้เป็นหลักฐาน เพราะมิฉะนั้นถ้ามีใครยกขึ้นมาภายหลังก็จะเป็นปัญหาต่อสมาชิกภาพของท่านได้

ประการที่ 2 การพิจารณาเรื่องราวญัตติต่างๆ นั้น ผมและท่านรองประธานฯ จะเปิดโอกาสให้ท่านสมาชิกฯ ได้แสดงความคิดเห็นและอภิปรายได้อย่างเต็มที่จะขอความร่วมมือว่าโดยที่สภาเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุดปัจจุบัน มีท่านผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งถนัดในการแสดงความคิดเห็นค่อนข้างจะมาก เพราะฉะนั้นก็ต้องขอความร่วมมือว่าในการอภิปรายขอความกรุณาเอาเฉพาะสาระสำคัญ ขออารัมภบทแต่เพียงน้อยหน่อยเพื่อว่าทุกคนจะได้อภิปรายได้โดยทั่วหน้ากัน

ในประการที่ 3 ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประธานฯ กับสมาชิกฯ ก็คือในยุคที่ข่าวสารบ้านเมือง สื่อมวลชนเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้ข่าวไปถึงมือประชาชนได้ และการทำงานของสื่อมวลชนค่อนข้างจะรวดเร็วแข่งขันกันอย่างมาก แล้วก็มีวิธีที่ค่อนข้างจะสมัยใหม่หรือทันสมัยอยู่มาก การถูกตั้งคำถาม จึงจำเป็นจะต้องเรียนให้ท่านทราบไว้ว่า ท่านที่ยังไม่ถนัดหรือยังไม่คุ้นเคยต่อวิธีการนั้นต้องทำใจให้หนักแน่นต่อข่าวที่ผู้สื่อข่าวมาถาม ถ้าไม่แน่ใจกรุณาเช็คตรวจสอบข้อเท็จจริงเสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพาดหัวของสื่อมวลชนนั้นเป็นการพาดหัว เพื่อเร่งเร้าความสนใจและแข่งกับเวลา เพราะฉะนั้นถ้อยคำที่ใช้ในการพาดหัวข้อให้มั่นใจได้ 90 เปอร์เซ็นต์ ว่าจะไม่ใช่เป็นคำพูดของคนที่พูดออกมา ไม่ใช่แหล่งข่าวเป็นคนพูดถ้อยคำเหล่านั้น จะเป็นถ้อยคำที่แปลงความหมายมาจากคำพูดอีกทีหนึ่ง ซึ่งจะทำให้น้ำหนักมันแรงกว่าที่เจ้าตัวได้พูดจริงๆ เพราะฉะนั้นเมื่อเห็นพาดหัวข่าวถ้ากระทบถึงใครกรุณาอย่าเพิ่งโกรธ ตรวจสอบดูให้ดีก่อน เพราะการโกรธจะเป็นเป้าหมายสำคัญ ที่เขาต้องการเพราะว่าจะทำให้อะไรต่ออะไรหลุดออกมาได้อีกมาก และจะเป็นการต่อความยาวสาวความยืดได้มาก สำหรับตัวผมและท่านรองประธานฯ คงหลีกเลี่ยงการให้ข่าวเป็นบางครั้งบางคราวไม่ได้ แต่เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาด ทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาจะมีเจ้าหน้าที่บันทึกเทปไว้ทุกครั้งและก็จะพิมพ์ออกมาติดไว้ที่ตึกรัฐสภา 2 ซึ่งจะพยายามให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้เพื่อว่าถ้ามีข้อสงสัยว่าผมหรือท่านรองประธานฯ ได้พูดไว้ว่าอย่างไร ก็จะตรวจสอบตรงนั้นได้ทันทีจะได้รู้ว่าจริงๆแล้วได้พูดว่าอย่างไรนะครับ

นี่ก็เป็นเรื่องที่ขอความกรุณาเรียนรบกวนท่านสมาชิกฯ เพื่อที่จะได้ทราบถึงแนวทางการทำงานของเราทั้ง 3 คน แล้วก็ขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า เราจะทำหน้าที่ของเราอย่างตรงไปตรงมาและเป็นกลางอย่างแท้จริง... ”[11]

การดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ นั้น ท่านได้นำความรู้ ประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ในแง่มุมต่างๆ มาใช้ในการกลั่นกรองกฎหมายต่างๆ ก่อนที่จะได้มีการนำออกประกาศใช้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นานาประเทศที่มีต่อกฎหมายไทย ในระหว่างนั้นท่านได้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2534 เพื่อจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2540 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรง แต่ในระยะเริ่มแรกของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ให้คงไว้ซึ่งสมาชิกวุฒิสภาชุดเดิมที่มาจากการแต่งตั้ง ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามบทเฉพาะกาล ตามมาตรา 315 และให้ประธานวุฒิสภาคงดำรงตำแหน่งอยู่เช่นเดิม ตามบทเฉพาะกาลใน มาตรา 316 วรรคสอง ความว่า “ให้ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ คงเป็นประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้จนกว่าอายุของวุฒิสภา ตามมาตรา 315 จะสิ้นสุดลง...”[12]

จากบทบัญญัติดังกล่าวทำให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2543 ซึ่งจะมีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่โดยตรงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2543

บทบาทที่สำคัญ

นายมีชัย ฤชุพันธุ์เป็นผู้ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 เพื่อจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. เพื่อดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

ในเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 นายมีชัยเป็นที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฝ่ายกฎหมาย มีบทบาทในการร่างแถลงการณ์ประกาศและคำสั่ง คปค. หลายฉบับ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ร่วมกับนายวิษณุ เครืองาม และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ

นอกจากนี้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ยังได้ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (25 ตุลาคม 2549 – 21 มกราคม 2551) และเป็นกรรมการสำคัญๆ อีกหลายตำแหน่ง เช่น ประธานกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 1 (กฎหมายการเมืองการปกครอง) ประธานคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ... ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการสาขากฎหมายล้มละลาย ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณาการปรับปรุงอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณาการปรับปรุงค่าตอบแทนสำหรับคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ ประธานอนุกรรมการพิจารณายกเลิกกฎหมาย ในคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ กรรมการจัดทำพจนานุกรมทางกฎหมายราชบัณฑิตยสภา กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ[13]

เมื่อปี พ.ศ. 2550 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาตั้งฉายานายมีชัย ฤชุพันธุ์ ว่า ซีอีโอ สนช. เนื่องจากสามารถนำกฎหมายที่รัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ต้องการเข้าสู่ที่ประชุมได้อย่างไม่บกพร่อง และใช้ความเด็ดขาดในการควบคุมการประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติกลุ่มต่างๆได้อย่างดี ทำให้สมาชิกมีความยำเกรงในตัวนายมีชัย ราวกับพนักงานบริษัทที่เกรงอกเกรงใจซีอีโอของบริษัท[14]

ปัจจุบัน

ปัจจุบันนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นข้าราชการบำนาญ และเป็นนักกฎหมายโดยเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทสำนักงานกฎหมายมีชัย ฤชุพันธุ์ จำกัด[15] และเป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายให้แก่องค์กร หน่วยงาน ตลอดจนประชาชนทั่วไป จากการที่ท่านเป็นนักกฎหมายที่มีความคิดทันสมัยและติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ท่านได้จัดทำเว็บไซต์ www.meechaithailand.com เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ ข่าวสารทางกฎหมาย และสาขาวิชาอื่นๆ ท่านยังอุทิศเวลาเปิดรายการถาม ตอบปัญหาทางกฎหมายจากทางเว็บไซต์นี้ ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและเป็นเวทีที่ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแก่ประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ท่านยังใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อความสะดวกในการใช้กฎหมายและร่างกฎหมาย[16] นับเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับนักกฎหมายและนักการศึกษารุ่นใหม่ต่อไป

อ้างอิง

  1. “มีชัย ปธ.ตามโผ ป๋ายกคนดี-เก่ง จรัล-พจนีย์ รอง”. คม ชัด ลึก. วันพุธ ที่ 25 ตุลาคม 2549, หน้า 1.
  2. มีชัย ฤชุพันธุ์. หยดน้ำ. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2544, หน้า 179.
  3. สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย. รายนามผู้ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ สังข์เงิน ของสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 (พ.ศ.2533). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.prthailand.com/images/activities_images/sungprize15.pdf (10 กันยายน 2552)
  4. มีชัย ฤชุพันธุ์. เรื่องเดียวกัน,หน้า 180-181.
  5. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 109 ตอนที่ 26 , 22 มีนาคม 2535, หน้า 6.
  6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 108 ตอนที่ 216 ฉบับพิเศษ, 9 ธันวาคม 2534.
  7. รายงานการประชุมวุฒิสภา (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง) ครั้งที่ 3/2535 1 พฤษภาคม 2535. หน้า 64 .
  8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2535. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 109 ตอนที่ 72 , 30 มิถุนายน 2535.
  9. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 113 ตอนพิเศษ 7ง , 22 มีนาคม 2539, หน้า 8.
  10. ข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภา พุทธศักราช 2538. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 112 ตอนพิเศษ 37 ง , 20 กันยายน 2538, หน้า 17.
  11. รายงานการประชุมวุฒิสภา (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) ครั้งที่ 2/2539 11 เมษายน 2539. หน้า 27-29.
  12. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก, 11 ตุลาคม 2540. หน้า 86 - 88.
  13. ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย. มีชัย ฤชุพันธุ์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://politicalbase.in.th/มีชัย ฤชุพันธุ์ (10 กันยายน 2552)
  14. รายงานพิเศษ : ฉายารัฐสภาปี 2550” ข่าวสด 30 ธันวาคม 2550 หน้า 6.
  15. รายชื่อบริษัทในประเทศไทย. บริษัท สำนักงานกฎหมายมีชัย ฤชุพันธ์ จำกัด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.companyinthailand.com/company_detail.php?company_id=423540 (10 กันยายน 2552)
  16. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. “ห้องมีชัย ฤชุพันธุ์”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.library.msu.ac.th/meechaihome/index.php?sect=m_indexmore3.php (10 กันยายน 2552)

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

นคร พจนวรพงษ์ และอุกฤษ พจนวรพงษ์. ข้อมูลประวัติศาสตร์การเมืองไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2542.

มีชัย ฤชุพันธุ์. ความคิดเสรีของมีชัย. กรุงเทพฯ : เอ.อาร์.บิซิเนส เพรส , 2544.

บรรณานุกรม

ข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภา พุทธศักราช 2538. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 112 ตอนพิเศษ 37 ง, 20 กันยายน 2538.

ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 109 ตอนที่ 26 , 22 มีนาคม 2535.

ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 113 ตอนพิเศษ 7ง , 22 มีนาคม 2539.

“มีชัย ปธ.ตามโผ ป๋ายกคนดี-เก่ง จรัล-พจนีย์ รอง”. คม ชัด ลึก. วันพุธ ที่ 25 ตุลาคม 2549.

มีชัย ฤชุพันธุ์. หยดน้ำ. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2544.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2535. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 109 ตอนที่ 72 , 30 มิถุนายน 2535.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 108 ตอนที่ 216 ฉบับพิเศษ, 9 ธันวาคม 2534.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก, 11 ตุลาคม 2540.

รายชื่อบริษัทในประเทศไทย. บริษัท สำนักงานกฎหมายมีชัย ฤชุพันธ์ จำกัด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.companyinthailand.com/company_detail.php?company_id=423540 (10 กันยายน 2552)

รายงานการประชุมวุฒิสภา (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง) ครั้งที่ 3/2535 1 พฤษภาคม 2535.

รายงานการประชุมวุฒิสภา (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) ครั้งที่ 2/2539 11 เมษายน 2539.

“รายงานพิเศษ : ฉายารัฐสภาปี 2550” ข่าวสด, 30 ธันวาคม 2550.

ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย. มีชัย ฤชุพันธุ์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://politicalbase.in.th/มีชัย ฤชุพันธุ์ (10 กันยายน 2552)

สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย. รายนามผู้ได้รับรางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ สังข์เงิน ของสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 (พ.ศ.2533). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.prthailand.com/images/activities_images/sungprize15.pdf (10 กันยายน 2552)

สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. “ห้องมีชัย ฤชุพันธุ์”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.library.msu.ac.th/meechaihome/index.php?sect=m_indexmore3.php (10 กันยายน 2552)

ดูเพิ่มเติม

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 77 ปี รัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2552.