ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ"
ล คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น [[คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เขียน รศ.ชุลีพร เกษโกวิท''' | '''ผู้เขียน รศ.ชุลีพร เกษโกวิท''' | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:49, 17 สิงหาคม 2552
ผู้เขียน รศ.ชุลีพร เกษโกวิท
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นตามความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ซึ่งเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เช่นเดียวกับ กสช. มีหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม
กทช.ประกอบด้วย
- ประธานกรรมการ 1 คน
- กรรมการอื่นอีก 6 คน
ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมต้องมีคุณสมบัติโดยสังเขปคือ
- ต้องเป็นผู้ที่มีผลงาน
- เคยปฏิบัติงานที่แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจ
- มีความเชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในกิจการโทรคมนาคมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ความมั่นคง กฎหมายมหาชน หรือกิจการท้องถิ่น อันจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการโทรคมนาคม
- มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ฯลฯ
กทช. มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี นับตั้งแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
ทั้งนี้ ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบกำหนด 3 ปีให้ กทช. ออกจากตำแหน่ง 3 คนโดยวิธีจับสลากและให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2544 และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมชุดแรกได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547