ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบพรรคการเมืองเดียว"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' ฐิติกร สังข์แก้ว '''ผู้ทรงคุณวุฒิปร..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 22: บรรทัดที่ 22:
          รัฐบาลที่ปกครองโดยระบบพรรคเดียวมักอาศัยความเป็นเอกภาพภายในสังคมเป็นเหตุผลรองรับความชอบธรรมของพรรครัฐบาล จึงไม่อาจอนุญาตให้มีพรรคการเมืองอื่นภายในระบบการเมืองหรือหากอนุญาตให้มีพรรคการเมืองอื่นดำรงอยู่ ก็ต้องพร้อมยอมรับบทบาทนำของพรรคหลักอยู่เสมอโดยปราศจากฝ่ายค้านในสภานิติบัญญัติระดับชาติ ทั้งนี้อาจจำแนกระบบพรรคเดียวด้วยรากฐานทางการเมืองที่แตกต่างกันเป็น 3 ประเภท ได้แก่
          รัฐบาลที่ปกครองโดยระบบพรรคเดียวมักอาศัยความเป็นเอกภาพภายในสังคมเป็นเหตุผลรองรับความชอบธรรมของพรรครัฐบาล จึงไม่อาจอนุญาตให้มีพรรคการเมืองอื่นภายในระบบการเมืองหรือหากอนุญาตให้มีพรรคการเมืองอื่นดำรงอยู่ ก็ต้องพร้อมยอมรับบทบาทนำของพรรคหลักอยู่เสมอโดยปราศจากฝ่ายค้านในสภานิติบัญญัติระดับชาติ ทั้งนี้อาจจำแนกระบบพรรคเดียวด้วยรากฐานทางการเมืองที่แตกต่างกันเป็น 3 ประเภท ได้แก่


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>กลุ่มแรก</u> ระบบพรรคเดียวที่มีอุดมการณ์ขวาจัด ปรากฏให้เห็นในช่วงทศวรรษ 1930 ต่อเนื่องมาถึง[[สงครามโลกครั้งที่_2]] (ค.ศ. 1939-1945) เช่น พรรคนาซีเยอรมัน (National Socialist German Workers’ Party) และพรรคฟาสซิสต์อิตาลี (National Fascist Party) โดยพรรคนาซี เริ่มเข้าสู่อำนาจด้วยแรงเสริมจากการสูญเสียเกียรติยศใน[[สงครามโลกครั้งที่_1]] ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (the Great Depression) และภาวะคนว่างานนับล้าน จนสามารถได้รับชัยชนะในเลือกตั้ง ปี ค.ศ. 1928 พรรคนาซีกลายเป็นพรรคเดียวที่ได้รับการรับรองทางกฎหมายในปี ค.ศ. 1933 ก่อนที่ Adolf Hitler จะสถาปนาตนเองเป็นผู้นำสูงสุด (Führer)&nbsp;กุมอำนาจรัฐและอำนาจกองทัพเยอรมัน[[#_ftn11|[11]]] ในกรณีของพรรคฟาสซิสต์อิตาลี นำโดย Benito Mussolini ที่ขึ้นสู่อำนาจด้วยกระแสต่อต้านการปฏิวัติสังคมนิยม กระทั่งปี ค.ศ. 1927 Mussolini สถาปนาตนเองเป็นผู้นำ (Il Duce) พร้อม ๆ กับการยกเลิกรัฐธรรมนูญรวมถึงยกเลิกการเลือกตั้ง ไม่อนุญาตให้มีการแสดงออกทางการเมืองและการรวมตัวกันอย่างเสรี ยกเลิกสหภาพแรงงานและพรรคการเมืองฝ่ายค้านทั้งหมด[[#_ftn12|[12]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>กลุ่มแรก</u> ระบบพรรคเดียวที่มีอุดมการณ์ขวาจัด ปรากฏให้เห็นในช่วงทศวรรษ 1930 ต่อเนื่องมาถึง[[สงครามโลกครั้งที่_2|สงครามโลกครั้งที่_2]] (ค.ศ. 1939-1945) เช่น พรรคนาซีเยอรมัน (National Socialist German Workers’ Party) และพรรคฟาสซิสต์อิตาลี (National Fascist Party) โดยพรรคนาซี เริ่มเข้าสู่อำนาจด้วยแรงเสริมจากการสูญเสียเกียรติยศใน[[สงครามโลกครั้งที่_1|สงครามโลกครั้งที่_1]] ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (the Great Depression) และภาวะคนว่างานนับล้าน จนสามารถได้รับชัยชนะในเลือกตั้ง ปี ค.ศ. 1928 พรรคนาซีกลายเป็นพรรคเดียวที่ได้รับการรับรองทางกฎหมายในปี ค.ศ. 1933 ก่อนที่ Adolf Hitler จะสถาปนาตนเองเป็นผู้นำสูงสุด (Führer)&nbsp;กุมอำนาจรัฐและอำนาจกองทัพเยอรมัน[[#_ftn11|[11]]] ในกรณีของพรรคฟาสซิสต์อิตาลี นำโดย Benito Mussolini ที่ขึ้นสู่อำนาจด้วยกระแสต่อต้านการปฏิวัติสังคมนิยม กระทั่งปี ค.ศ. 1927 Mussolini สถาปนาตนเองเป็นผู้นำ (Il Duce) พร้อม ๆ กับการยกเลิกรัฐธรรมนูญรวมถึงยกเลิกการเลือกตั้ง ไม่อนุญาตให้มีการแสดงออกทางการเมืองและการรวมตัวกันอย่างเสรี ยกเลิกสหภาพแรงงานและพรรคการเมืองฝ่ายค้านทั้งหมด[[#_ftn12|[12]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>กลุ่มที่สอง</u> ระบบพรรคเดียวที่มีอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ อันถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20&nbsp;และยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ปรากฏในสหภาพโซเวียตและรัฐคอมมิวนิสต์แถบยุโรปตะวันออก จีน เกาหลีเหนือ คิวบา เวียดนาม และลาว เป็นต้น พรรคการเมืองในประเทศเหล่านี้พยายามผลักดันสังคมให้เป็นไปตามพัฒนาการทางประวัติศาสตร์แบบมาร์กซิสต์ กล่าวคือพรรคคอมมิวนิสต์มีบทบาททางอุดมการณ์ในขั้นตอนเปลี่ยนผ่านจากสังคมทุนนิยมไปสู่สังคมนิยมที่มีความเสมอภาคและเสรีภาพสมบูรณ์ โดยพรรคได้ก่อตั้งขึ้นในนาม '''“เผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ”''' '''(dictatorship of the proletariat)''' คอยกำกับทิศทางของประเทศ&nbsp;ปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมืองและวัฒนธรรมแก่พลเมือง[[#_ftn13|[13]]] พรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศเหล่านี้มักขยายขอบเขตสมาชิกพรรคไปทั่วประเทศและอาศัยแนวทาง '''“ประชาธิปไตยสังคมนิยม”&nbsp;(socialist democracy)''' มากกว่าตัวแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยตะวันตก (Western liberal democracy) อำนาจส่วนใหญ่มักรวมศูนย์อยู่ที่ชนชั้นนำระดับสูงของพรรค โดยเฉพาะตำแหน่งเลขาธิการพรรคที่มีบทบาทสูงสุด ดังปรากฏในกรณี Xi Jinping ที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนติดต่อกันถึง 3 สมัย อันถือเป็นการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมปฏิบัติที่ยึดถือกันมาอย่างยาวนาน จึงกล่าวกันว่า Xi Jinping กลายเป็นผู้นำที่ทรงอิทธิพลสูงสุดในประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่[[#_ftn14|[14]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>กลุ่มที่สอง</u> ระบบพรรคเดียวที่มีอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ อันถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20&nbsp;และยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ปรากฏในสหภาพโซเวียตและรัฐคอมมิวนิสต์แถบยุโรปตะวันออก จีน เกาหลีเหนือ คิวบา เวียดนาม และลาว เป็นต้น พรรคการเมืองในประเทศเหล่านี้พยายามผลักดันสังคมให้เป็นไปตามพัฒนาการทางประวัติศาสตร์แบบมาร์กซิสต์ กล่าวคือพรรคคอมมิวนิสต์มีบทบาททางอุดมการณ์ในขั้นตอนเปลี่ยนผ่านจากสังคมทุนนิยมไปสู่สังคมนิยมที่มีความเสมอภาคและเสรีภาพสมบูรณ์ โดยพรรคได้ก่อตั้งขึ้นในนาม '''“เผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ”''' '''(dictatorship of the proletariat)''' คอยกำกับทิศทางของประเทศ&nbsp;ปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมืองและวัฒนธรรมแก่พลเมือง[[#_ftn13|[13]]] พรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศเหล่านี้มักขยายขอบเขตสมาชิกพรรคไปทั่วประเทศและอาศัยแนวทาง '''“ประชาธิปไตยสังคมนิยม”&nbsp;(socialist democracy)''' มากกว่าตัวแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยตะวันตก (Western liberal democracy) อำนาจส่วนใหญ่มักรวมศูนย์อยู่ที่ชนชั้นนำระดับสูงของพรรค โดยเฉพาะตำแหน่งเลขาธิการพรรคที่มีบทบาทสูงสุด ดังปรากฏในกรณี Xi Jinping ที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนติดต่อกันถึง 3 สมัย อันถือเป็นการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมปฏิบัติที่ยึดถือกันมาอย่างยาวนาน จึงกล่าวกันว่า Xi Jinping กลายเป็นผู้นำที่ทรงอิทธิพลสูงสุดในประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่[[#_ftn14|[14]]]


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>กลุ่มที่สาม</u> ระบบพรรคเดียวที่เกิดขึ้นหลังการได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคม โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา ระหว่างทศวรรษ 1960-1980 ดังปรากฏในกรณี เคนยา กานา แซมเบีย มาลี เซเนกัล และแทนซาเนีย พรรคที่ปกครองประเทศเหล่านี้มีกำเนิดมาจากการต่อสู้กับเจ้าอาณานิคม ผู้นำขบวนการชาตินิยมในการต่อสู้จึงกลายมาเป็นผู้นำพรรคที่มีบารมีสูงภายหลังได้รับเอกราช อาศัยความชอบธรรมในเรื่องความเป็นเอกภาพและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างเผ่าหรือกลุ่มชาติพันธุ์[[#_ftn15|[15]]] อย่างไรก็ตามด้วยแรงกดดันทางสังคมและการเรียกร้องเสรีประชาธิปไตยที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ประเทศที่เคยเป็นระบบพรรคเดียวในทวีปแอฟริกาจึงค่อย ๆ เปิดให้มีการแข่งขันเลือกตั้งแบบหลายพรรคมากขึ้น จนพรรคการเมืองฝ่ายค้านได้รับเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภา ทว่าพรรครัฐบาลยังคงมีบทบาทนำและผูกขาดชัยชนะในการเลือกตั้งต่อมาอีกระยะหนึ่ง ระบบพรรค<br/> ในประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนจากระบบพรรคเดียวมาสู่ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวในที่สุด[[#_ftn16|[16]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>กลุ่มที่สาม</u> ระบบพรรคเดียวที่เกิดขึ้นหลังการได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคม โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา ระหว่างทศวรรษ 1960-1980 ดังปรากฏในกรณี เคนยา กานา แซมเบีย มาลี เซเนกัล และแทนซาเนีย พรรคที่ปกครองประเทศเหล่านี้มีกำเนิดมาจากการต่อสู้กับเจ้าอาณานิคม ผู้นำขบวนการชาตินิยมในการต่อสู้จึงกลายมาเป็นผู้นำพรรคที่มีบารมีสูงภายหลังได้รับเอกราช อาศัยความชอบธรรมในเรื่องความเป็นเอกภาพและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างเผ่าหรือกลุ่มชาติพันธุ์[[#_ftn15|[15]]] อย่างไรก็ตามด้วยแรงกดดันทางสังคมและการเรียกร้องเสรีประชาธิปไตยที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ประเทศที่เคยเป็นระบบพรรคเดียวในทวีปแอฟริกาจึงค่อย ๆ เปิดให้มีการแข่งขันเลือกตั้งแบบหลายพรรคมากขึ้น จนพรรคการเมืองฝ่ายค้านได้รับเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภา ทว่าพรรครัฐบาลยังคงมีบทบาทนำและผูกขาดชัยชนะในการเลือกตั้งต่อมาอีกระยะหนึ่ง ระบบพรรคในประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนจากระบบพรรคเดียวมาสู่ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวในที่สุด[[#_ftn16|[16]]]


= <span style="font-size:x-large;">'''บทส่งท้าย: ความท้าทายต่อระบบพรรคการเมืองเดียว'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''บทส่งท้าย: ความท้าทายต่อระบบพรรคการเมืองเดียว'''</span> =
บรรทัดที่ 32: บรรทัดที่ 32:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ระบบการเมืองแบบพรรคเดียวมุ่งธำรงรักษาความเป็นเอกภาพทางสังคม ดังนั้นจึงมักมีการปลูกฝังอุดมการณ์ให้พลเมืองเกิดความรู้รักสามัคคีและต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาติ และด้วยเหตุที่พรรคการเมืองที่มีอำนาจในระบบประเภทนี้มักเป็นพรรคที่มีการจัดองค์กรขนาดใหญ่ มีสาขาพรรค และสมาชิกพรรคครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ขณะเดียวกันผู้นำระดับสูงของพรรคก็มีบทบาทสำคัญในการบริหารพรรคและบริหารประเทศเมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่มาจากภายในและภายนอกประเทศ ดังเห็นได้ว่าเมื่อเสรีประชาธิปไตยได้กลายเป็นวาระระดับโลกภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในต้นทศวรรษ 1990&nbsp;รัฐที่เคยปกครองโดยพรรคเดียวจึงค่อย ๆ เลือนหายไปจากภูมิทัศน์ทางการเมืองของโลก หลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่ง อาทิ จีน คิวบา เกาหลีเหนือ เวียดนาม และลาว
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ระบบการเมืองแบบพรรคเดียวมุ่งธำรงรักษาความเป็นเอกภาพทางสังคม ดังนั้นจึงมักมีการปลูกฝังอุดมการณ์ให้พลเมืองเกิดความรู้รักสามัคคีและต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาติ และด้วยเหตุที่พรรคการเมืองที่มีอำนาจในระบบประเภทนี้มักเป็นพรรคที่มีการจัดองค์กรขนาดใหญ่ มีสาขาพรรค และสมาชิกพรรคครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ขณะเดียวกันผู้นำระดับสูงของพรรคก็มีบทบาทสำคัญในการบริหารพรรคและบริหารประเทศเมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่มาจากภายในและภายนอกประเทศ ดังเห็นได้ว่าเมื่อเสรีประชาธิปไตยได้กลายเป็นวาระระดับโลกภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในต้นทศวรรษ 1990&nbsp;รัฐที่เคยปกครองโดยพรรคเดียวจึงค่อย ๆ เลือนหายไปจากภูมิทัศน์ทางการเมืองของโลก หลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่ง อาทิ จีน คิวบา เกาหลีเหนือ เวียดนาม และลาว


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในกรณีของจีน ซึ่งถือเป็นประเทศใหญ่ที่สุดที่ยังคงเป็นระบบพรรคเดียวนั้น สำนักงานสารนิเทศของสภาแห่งรัฐจีน (the State Council Information Office of the People's Republic of China)&nbsp;ได้เผยแพร่รายงาน '''“'''[[สมุดปกขาว]]'''”''' เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 เรื่อง '''“ระบบพรรคการเมืองของจีน :&nbsp;ความร่วมมือและการปรึกษาหารือ”''' '''(China's Political Party System: Cooperation and Consultation)''' โดยระบุว่าระบบพรรคการเมืองภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์และอีก 8 พรรค มีจุดเด่นและจุดแข็งตรงที่
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในกรณีของจีน ซึ่งถือเป็นประเทศใหญ่ที่สุดที่ยังคงเป็นระบบพรรคเดียวนั้น สำนักงานสารนิเทศของสภาแห่งรัฐจีน (the State Council Information Office of the People's Republic of China)&nbsp;ได้เผยแพร่รายงาน '''“'''[[สมุดปกขาว|สมุดปกขาว]]'''”''' เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 เรื่อง '''“ระบบพรรคการเมืองของจีน&nbsp;:&nbsp;ความร่วมมือและการปรึกษาหารือ”''' '''(China's Political Party System: Cooperation and Consultation)''' โดยระบุว่าระบบพรรคการเมืองภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์และอีก 8 พรรค มีจุดเด่นและจุดแข็งตรงที่


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 48: บรรทัดที่ 48:
Bogaards, Matthijs (2024). “Counting Parties and Identifying Dominant Party Systems in Africa.” ''European Journal of Political Research'', 43(2): 173-197.
Bogaards, Matthijs (2024). “Counting Parties and Identifying Dominant Party Systems in Africa.” ''European Journal of Political Research'', 43(2): 173-197.


Cai Xia (2021). “Cai Xia on why China’s one-party system holds back the country.” The Economist (8 December). Available <https://www.economist.com/by-invitation/2021/12/08/cai-xia-on-why-chinas-one-party-system-holds-back-the-country>. Accessed 3 July 2023.
Cai Xia (2021). “Cai Xia on why China’s one-party system holds back the country.” The Economist (8 December). Available <[https://www.economist.com/by-invitation/2021/12/08/cai-xia-on-why-chinas-one-party-system-holds-back-the-country https://www.economist.com/by-invitation/2021/12/08/cai-xia-on-why-chinas-one-party-system-holds-back-the-country]>. Accessed 3 July 2023.


Clark, Martin, Christopher Hibbert, and John Foot (2003). “Fascist Party.” ''Encyclopedia Britannica'' (24 April). Available <https://www.britannica.com/topic/Fascist-Party>. Accessed 26 May 2023.
Clark, Martin, Christopher Hibbert, and John Foot (2003). “Fascist Party.” ''Encyclopedia Britannica'' (24 April). Available <[https://www.britannica.com/topic/Fascist-Party https://www.britannica.com/topic/Fascist-Party]>. Accessed 26 May 2023.


Clark, William Roberts, Matt Golder, and Sona N. Golder (2012). ''Principles of Comparative Politics'', 2nd ed. Washington, D.C: CQ Press.
Clark, William Roberts, Matt Golder, and Sona N. Golder (2012). ''Principles of Comparative Politics'', 2nd ed. Washington, D.C: CQ Press.
บรรทัดที่ 56: บรรทัดที่ 56:
Croissant, Aurel and Philip Lorenz (2018). “Malaysia: Competitive Authoritarianism in a Plural Society.” in ''Comparative Politics of Southeast Asia: An Introduction to Governments and Political Regimes''. Cham: Springer International Publishing, pp. 149–188.
Croissant, Aurel and Philip Lorenz (2018). “Malaysia: Competitive Authoritarianism in a Plural Society.” in ''Comparative Politics of Southeast Asia: An Introduction to Governments and Political Regimes''. Cham: Springer International Publishing, pp. 149–188.


Frommer, Fred (2023). “one-party state.” ''Encyclopedia Britannica'' (24 February). Available <https://www.britannica.com/topic/one-party-state>. Accessed 26 May 2023.
Frommer, Fred (2023). “one-party state.” ''Encyclopedia Britannica'' (24 February). Available <[https://www.britannica.com/topic/one-party-state https://www.britannica.com/topic/one-party-state]>. Accessed 26 May 2023.


Gandhi, Jennifer and Ellen Lust-Okar (2009). “Elections Under Authoritarianism.” ''Annual Review of Political Science''. 12, 2009: 403-422.
Gandhi, Jennifer and Ellen Lust-Okar (2009). “Elections Under Authoritarianism.” ''Annual Review of Political Science''. 12, 2009: 403-422.


Isachenkov, Vladimir and Kim Tong-hyung (2023). “Xi awarded 3rd term as China’s president, extending rule.” ''AP'' (10 March). Available <https://apnews.com/article/xi-jinping-china-president-vote-5e6230d8c881dc17b11a781e832accd1>. Accessed 26 May 2023.
Isachenkov, Vladimir and Kim Tong-hyung (2023). “Xi awarded 3rd term as China’s president, extending rule.” ''AP'' (10 March). Available <[https://apnews.com/article/xi-jinping-china-president-vote-5e6230d8c881dc17b11a781e832accd1 https://apnews.com/article/xi-jinping-china-president-vote-5e6230d8c881dc17b11a781e832accd1]>. Accessed 26 May 2023.


Monyani, Margaret (2018). “One Party State: Is It Good or Bad for Governance?.” ''E-International Relations ''(25 May). Available <https://www.e-ir.info/2018/05/25/one-party-state-is-it-good-or-bad-for-governance/>. Accessed 26 May 2023.
Monyani, Margaret (2018). “One Party State: Is It Good or Bad for Governance?.” ''E-International Relations ''(25 May). Available <[https://www.e-ir.info/2018/05/25/one-party-state-is-it-good-or-bad-for-governance/ https://www.e-ir.info/2018/05/25/one-party-state-is-it-good-or-bad-for-governance/]>. Accessed 26 May 2023.


Sangkaew, Thitikorn (2021). “Political Party Finance Reform and the Rise of Dominant Party in Emerging Democracies.” Master's Theses, Political Science Department, Central European University.
Sangkaew, Thitikorn (2021). “Political Party Finance Reform and the Rise of Dominant Party in Emerging Democracies.” Master's Theses, Political Science Department, Central European University.
บรรทัดที่ 70: บรรทัดที่ 70:
Scarrow, Susan E. (2006). “The Nineteenth-Century Origins of Modern Political Parties: The Unwanted Emergence of Party-Based Politics.” In Richard S. Katz and William Crotty (Eds.). ''Handbook of Party Politics''. London: Sage, pp. 16-24.
Scarrow, Susan E. (2006). “The Nineteenth-Century Origins of Modern Political Parties: The Unwanted Emergence of Party-Based Politics.” In Richard S. Katz and William Crotty (Eds.). ''Handbook of Party Politics''. London: Sage, pp. 16-24.


The Editors of Encyclopedia Britannica (2003). “Nazi Party.” ''Encyclopedia Britannica'' (15 May). Available <https://www.britannica.com/topic/Nazi-Party>. Accessed 26 May 2023.
The Editors of Encyclopedia Britannica (2003). “Nazi Party.” ''Encyclopedia Britannica'' (15 May). Available <[https://www.britannica.com/topic/Nazi-Party https://www.britannica.com/topic/Nazi-Party]>. Accessed 26 May 2023.


The State Council Information Office of the People's Republic of China (2021).&nbsp; “China's Political Parties.” in China's Political Party System: Cooperation and Consultation (25 June). Available <http://english.scio.gov.cn/whitepapers/2021-06/25/content_77587473_3.htm>. Accessed 7 July 2023.
The State Council Information Office of the People's Republic of China (2021).&nbsp; “China's Political Parties.” in China's Political Party System: Cooperation and Consultation (25 June). Available <[http://english.scio.gov.cn/whitepapers/2021-06/25/content_77587473_3.htm http://english.scio.gov.cn/whitepapers/2021-06/25/content_77587473_3.htm]>. Accessed 7 July 2023.


The State Council Information Office of the People's Republic of China (2021). “China's Political Party System Has Distinctive Characteristics and Strengths.” in China's Political Party System: Cooperation and Consultation (25 June). Available <http://english.scio.gov.cn/whitepapers/2021-06/25/content_77587473_3.htm>. Accessed 7 July 2023.
The State Council Information Office of the People's Republic of China (2021). “China's Political Party System Has Distinctive Characteristics and Strengths.” in China's Political Party System: Cooperation and Consultation (25 June). Available <[http://english.scio.gov.cn/whitepapers/2021-06/25/content_77587473_3.htm http://english.scio.gov.cn/whitepapers/2021-06/25/content_77587473_3.htm]>. Accessed 7 July 2023.


= '''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>''' =
= '''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>''' =
บรรทัดที่ 84: บรรทัดที่ 84:
[[#_ftnref3|[3]]] Vanessa A. Boese et al., ''Democracy Report 2022: Autocratization Changing Nature?'' (Gothenburg: Varieties of Democracy Institute (V-Dem), 2022), p. 45.
[[#_ftnref3|[3]]] Vanessa A. Boese et al., ''Democracy Report 2022: Autocratization Changing Nature?'' (Gothenburg: Varieties of Democracy Institute (V-Dem), 2022), p. 45.
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[4]]] The State Council Information Office of the People's Republic of China, “China's Political Parties,” in ''China's Political Party System: Cooperation and Consultation'' (25 June 2021). Available <http://english.scio.gov.cn/whitepapers/2021-06/25/content_77587473_3.htm>. Accessed 7 July 2023.
[[#_ftnref4|[4]]] The State Council Information Office of the People's Republic of China, “China's Political Parties,” in ''China's Political Party System: Cooperation and Consultation'' (25 June 2021). Available <[http://english.scio.gov.cn/whitepapers/2021-06/25/content_77587473_3.htm http://english.scio.gov.cn/whitepapers/2021-06/25/content_77587473_3.htm]>. Accessed 7 July 2023.
</div> <div id="ftn5">
</div> <div id="ftn5">
[[#_ftnref5|[5]]] Aurel Croissant and Philip Lorenz.&nbsp; “Malaysia: Competitive Authoritarianism in a Plural Society,” in ''Comparative Politics of Southeast Asia: An Introduction to Governments and Political Regimes'' (Cham: Springer International Publishing, 2018), p. 154.
[[#_ftnref5|[5]]] Aurel Croissant and Philip Lorenz.&nbsp; “Malaysia: Competitive Authoritarianism in a Plural Society,” in ''Comparative Politics of Southeast Asia: An Introduction to Governments and Political Regimes'' (Cham: Springer International Publishing, 2018), p. 154.
บรรทัดที่ 98: บรรทัดที่ 98:
[[#_ftnref10|[10]]] Ibid., p. 47.
[[#_ftnref10|[10]]] Ibid., p. 47.
</div> <div id="ftn11">
</div> <div id="ftn11">
[[#_ftnref11|[11]]] The Editors of Encyclopedia Britannica, “Nazi Party,” ''Encyclopedia Britannica'' (15 May 2023). Available <https://www.britannica.com/topic/Nazi-Party>. Accessed 26 May 2023.
[[#_ftnref11|[11]]] The Editors of Encyclopedia Britannica, “Nazi Party,” ''Encyclopedia Britannica'' (15 May 2023). Available <[https://www.britannica.com/topic/Nazi-Party https://www.britannica.com/topic/Nazi-Party]>. Accessed 26 May 2023.
</div> <div id="ftn12">
</div> <div id="ftn12">
[[#_ftnref12|[12]]] Martin Clark, Christopher Hibbert, and John Foot. “Fascist Party,” ''Encyclopedia Britannica'' (24 April 2023). Available <https://www.britannica.com/topic/Fascist-Party>. Accessed 26 May 2023.
[[#_ftnref12|[12]]] Martin Clark, Christopher Hibbert, and John Foot. “Fascist Party,” ''Encyclopedia Britannica'' (24 April 2023). Available <[https://www.britannica.com/topic/Fascist-Party https://www.britannica.com/topic/Fascist-Party]>. Accessed 26 May 2023.
</div> <div id="ftn13">
</div> <div id="ftn13">
[[#_ftnref13|[13]]] Fred Frommer, “one-party state,” ''Encyclopedia Britannica'' (24 February 2023). Available <https://www.britannica.com/topic/one-party-state>. Accessed 26 May 2023.
[[#_ftnref13|[13]]] Fred Frommer, “one-party state,” ''Encyclopedia Britannica'' (24 February 2023). Available <[https://www.britannica.com/topic/one-party-state https://www.britannica.com/topic/one-party-state]>. Accessed 26 May 2023.
</div> <div id="ftn14">
</div> <div id="ftn14">
[[#_ftnref14|[14]]] Vladimir Isachenkov and Kim Tong-hyung, “Xi awarded 3rd term as China’s president, extending rule,” ''AP'' (10 March 2023). Available <https://apnews.com/article/xi-jinping-china-president-vote-5e6230d8c881dc17b11a781e832accd1>. Accessed 26 May 2023.
[[#_ftnref14|[14]]] Vladimir Isachenkov and Kim Tong-hyung, “Xi awarded 3rd term as China’s president, extending rule,” ''AP'' (10 March 2023). Available <[https://apnews.com/article/xi-jinping-china-president-vote-5e6230d8c881dc17b11a781e832accd1 https://apnews.com/article/xi-jinping-china-president-vote-5e6230d8c881dc17b11a781e832accd1]>. Accessed 26 May 2023.
</div> <div id="ftn15">
</div> <div id="ftn15">
[[#_ftnref15|[15]]] Margaret Monyani, “One Party State: Is It Good or Bad for Governance?,” ''E-International Relations ''(25 May 2018). Available <https://www.e-ir.info/2018/05/25/one-party-state-is-it-good-or-bad-for-governance/>. Accessed 26 May 2023.
[[#_ftnref15|[15]]] Margaret Monyani, “One Party State: Is It Good or Bad for Governance?,” ''E-International Relations ''(25 May 2018). Available <[https://www.e-ir.info/2018/05/25/one-party-state-is-it-good-or-bad-for-governance/ https://www.e-ir.info/2018/05/25/one-party-state-is-it-good-or-bad-for-governance/]>. Accessed 26 May 2023.
</div> <div id="ftn16">
</div> <div id="ftn16">
[[#_ftnref16|[16]]] Matthijs Bogaards, “Counting Parties and Identifying Dominant Party Systems in Africa,” ''European Journal of Political Research'', 43(2), 2004: 173-197.
[[#_ftnref16|[16]]] Matthijs Bogaards, “Counting Parties and Identifying Dominant Party Systems in Africa,” ''European Journal of Political Research'', 43(2), 2004: 173-197.
</div> <div id="ftn17">
</div> <div id="ftn17">
[[#_ftnref17|[17]]] The State Council Information Office of the People's Republic of China, “China's Political Party System Has Distinctive Characteristics and Strengths,” in China's Political Party System: Cooperation and Consultation (25 June 2021). Available <http://english.scio.gov.cn/whitepapers/2021-06/25/content_77587473_3.htm>. Accessed 7 July 2023.
[[#_ftnref17|[17]]] The State Council Information Office of the People's Republic of China, “China's Political Party System Has Distinctive Characteristics and Strengths,” in China's Political Party System: Cooperation and Consultation (25 June 2021). Available <[http://english.scio.gov.cn/whitepapers/2021-06/25/content_77587473_3.htm http://english.scio.gov.cn/whitepapers/2021-06/25/content_77587473_3.htm]>. Accessed 7 July 2023.
</div> <div id="ftn18">
</div> <div id="ftn18">
[[#_ftnref18|[18]]] Cai Xia, “Cai Xia on why China’s one-party system holds back the country,” ''The Economist&nbsp;''(8 December 2021). Available <https://www.economist.com/by-invitation/2021/12/08/cai-xia-on-why-chinas-one-party-system-holds-back-the-country>. Accessed 3 July 2023.
[[#_ftnref18|[18]]] Cai Xia, “Cai Xia on why China’s one-party system holds back the country,” ''The Economist&nbsp;''(8 December 2021). Available <[https://www.economist.com/by-invitation/2021/12/08/cai-xia-on-why-chinas-one-party-system-holds-back-the-country https://www.economist.com/by-invitation/2021/12/08/cai-xia-on-why-chinas-one-party-system-holds-back-the-country]>. Accessed 3 July 2023.
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:พรรคการเมือง]][[Category:ว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]
[[Category:พรรคการเมือง]] [[Category:ว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:39, 7 กรกฎาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : ฐิติกร สังข์แก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

 

บทนำ

          ระบบการเมืองแบบพรรคเดียว (one-party system) เป็นระบบพรรคที่มุ่งอาศัยความชอบธรรม โดยอ้างอิงไปถึงความเป็นเอกภาพของชาติ (national unity) และโดยความเชื่อที่ว่าสมาชิกพรรคคือพลเมืองแถวหน้า ซึ่งมีความตื่นตัวทางการเมืองสูง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นระบบที่มีเป้าหมายเพื่อการรวมชาติภายหลังจากความขัดแย้งของกลุ่มทางสังคมภายในชาติอย่างรุนแรงหรือมุ่งมั่นที่จะดำเนินการทางการเมืองบางประการ อาทิ การสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับชาติ หรือการปฏิวัติทางสังคม เป็นต้น ในแง่นี้ระบบพรรคเดียวจึงแตกต่างจากระบบสองพรรค (two-party system) หรือระบบหลายพรรค (multi-party system) ในตัวแบบเสรีประชาธิปไตยตะวันตก ซึ่งมุ่งเน้นการแข่งขันทางการเมืองและพหุนิยมทางการเมือง (political pluralism) โดยทั่วไปแล้วภายใต้ระบบพรรคเดียวนั้น กฎหมายจะไม่ยินยอมให้พรรคการเมืองอื่นนอกเหนือจากพรรครัฐบาลเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลหรือกล่าวได้ว่ากฎหมายได้ให้การรับรองการผูกขาดอำนาจไว้กับพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ถึงแม้ว่าจะอนุญาตให้พรรคอื่น ๆ ดำเนินการทางการเมืองได้ก็ตาม แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การนำของพรรคหลักเท่านั้น ในอดีตประเทศที่เคยปกครองด้วยระบบพรรคเดียว ได้แก่ แอลจีเรีย (ค.ศ. 1962-1989) เยอรมนี (ค.ศ. 1933-1945) และสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1918-1990) ขณะที่ ระบบพรรคเดียวในปัจจุบันเหลืออยู่ไม่มากนัก อาทิ จีน คิวบา เกาหลีเหนือ เวียดนาม และลาว

แนวคิดและความหมายของ “ระบบพรรคการเมืองเดียว”

          ระบพรรคการเมืองเดียว (one-party system) คือ ระบบการเมืองที่ “มีเพียงพรรคการเมืองเดียวที่ได้รับการอนุญาตตามกฎหมายให้ถือครองอำนาจ...ถึงแม้ว่าระบบพรรคเหล่านี้จะถูกเรียกว่าระบบพรรคเดียว แต่บางครั้งพรรคเล็กพรรคน้อยก็ได้รับอนุญาตให้ดำรงอยู่ อย่างไรก็ตาม พรรคเล็กพรรคน้อยมักถูกกำหนดให้ต้องยอมรับความเป็นผู้นำของพรรคหลักอยู่เสมอ”[1] หรืออาจเรียกระบบการเมืองประเภทนี้อีกอย่างหนึ่งว่า “รัฐที่ปกครองโดยระบบพรรคเดียว” (one-party state) ซึ่งพรรคหลักผูกขาดอำนาจทางการเมือง แต่อาจจัดให้มีการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น (เช่น กรณีจีน)[2] กล่าวได้ว่า ระบบพรรคเดียวจะปรากฏเฉพาะในระบอบการเมืองที่จัดให้อยู่ในประเภทอำนาจนิยม (authoritarian regime) อย่างไรก็ตามนี่ไม่ได้หมายความว่าระบอบอำนาจนิยมทุกรูปแบบจะต้องเป็นระบบพรรคการเมืองเดียวเสมอไป ดังเห็นได้ว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักไม่อนุญาตให้พรรคการเมืองดำเนินกิจการทางการเมือง พรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นพรรคหลักที่ปกครองประเทศถูกจัดให้เป็นระบอบอำนาจนิยมแบบปิด (closed autocracy/authoritarianism) ขณะที่ มาเลเซียที่ปกครองโดยรัฐบาลพรรค UMNO ระหว่างปี ค.ศ. 1957-2018 จัดเป็นระบอบอำนาจนิยมที่มีการเลือกตั้งหรือระบอบอำนาจนิยมแบบแข่งขัน (electoral autocracy/competitive authoritarianism) [3] ความแตกต่างในการจำแนกระบบพรรคเดียวออกจากระบบอื่น ๆ ภายในระบอบอำนาจนิยมอยู่ที่ระบบพรรคเดียวของจีน แม้จะมีพรรคการเมืองอื่นนอกเหนือจากพรรคคอมมิวนิสต์อีก 8 พรรค แต่มีเพียงพรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้นที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ผูกขาดการเป็นผู้นำในการปกครองประเทศ[4] ขณะที่ระบบพรรคการเมืองของมาเลเซียมีการแข่งขันเลือกตั้งแบบหลายพรรคกันอย่างจริงจังถึงขั้นชี้ขาดความอยู่รอดของรัฐบาลพร้อม ๆ กับมีวิถีปฏิบัติหรือกฎกติกาบางอย่างที่ไม่เป็นไปตามหลักเสรีประชาธิปไตย[5]

          ควรกล่าวด้วยว่าระบบพรรคเดียวไม่ได้มีความหมายเดียวกับระบบพรรคเด่นพรรคเดียว (dominant-party system) ซึ่งระบบหลังมักปรากฏในประเทศที่กำลังเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย (transitional democracies) ความแตกต่างที่สำคัญจึงอยู่ตรงที่ว่าระบบพรรคเดียวอาจมีการเลือกตั้ง แต่วางอยู่บนหลักความเป็นเอกภาพของชาติมากกว่าการแข่งขันกันอย่างเสรีตามหลักพหุนิยมทางการเมือง (political pluralism) ในทางกลับกันระบบพรรคเด่นพรรคเดียวเกิดขึ้นท่ามกลางการแข่งขันเลือกตั้งแบบหลายพรรค (multi-party election) ซึ่งพรรคการเมืองหนึ่งและเป็นพรรคเดียวในบรรดาหลายพรรค ชนะการเลือกตั้งท่วมท้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นรัฐบาลปกครองประเทศต่อเนื่องหลายสมัย[6] ตัวอย่างเช่น พรรค LDP ในญี่ปุ่น (ค.ศ. 1955-1993) พรรค Congress ในอินเดีย (ค.ศ. 1947-1977 และ ค.ศ. 1980-1989) พรรค PRI ในเม็กซิโก (ค.ศ. 1929-2000) และที่สำคัญก็คือ พรรคไทยรักไทย และพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นแทนที่อย่าง พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย ที่ชนะการเลือกตั้งโดยทิ้งห่างคู่แข่งอันดับสองอย่าง พรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2544-2554 ในระบบเช่นนี้พรรคการเมืองขนาดใหญ่มีความเข้มแข็งจนครองเสียงข้างมากในรัฐสภาและสามารถที่จะเป็นรัฐบาลพรรคเดียวได้โดยไม่มีความจำเป็นต้องมีรัฐบาลผสม

          อย่างไรก็ตาม นักรัฐศาสตร์คนสำคัญอย่าง Giovanni Sartori ได้ยกข้อโต้แย้งต่อการดำรงอยู่ของระบบพรรคเดียวว่าในเมื่อ “พรรค” สื่อความหมายถึงการแบ่งส่วนระบบพรรคเดียวที่ไม่อนุญาตให้แบ่งออกมามากกว่าหนึ่งพรรค ย่อมไม่อาจเรียกได้ว่า “ระบบพรรคเดียว” ได้กล่าวคือ รากศัพท์ของคำว่า “พรรค” หรือ “party” มาจากคำว่า “partir” ในภาษาละติน ซึ่งหมายถึง “แบ่ง” (to divide) ที่มักถูกใช้ในความหมายของการแบ่งนิกายทางศาสนาภายในศาสนจักรคาธอลิค คำว่า “party” หรือ “พรรค” จึงให้มิติของการขัดกันในแง่อุดมการณ์ความคิดและผลประโยชน์ที่อาจคุกคามต่อความเป็นเอกภาพของรัฐบาล[7] ด้วยนิยามดังกล่าวนี้ การดำรงอยู่ของพรรคการเมืองตามความหมายสมัยใหม่ย่อมเกิดขึ้นในสังคมแบบพหุนิยม (plural society) อันจะกำหนดรูปแบบของรัฐที่เป็นเสรีประชาธิปไตย ซึ่งแตกต่างตรงกันข้ามกับรัฐที่ปกครองโดยระบบพรรคเดียวที่มักปฏิเสธการแบ่งพรรคแบ่งพวกเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มเฉพาะ (partisanship) และการแสดงออกที่คัดค้านไม่เห็นด้วยระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม รัฐประเภทนี้จึงมุ่งเน้นความเป็นเอกภาพภายในสังคม[8] Sartori จึงลงความเห็นว่า “พรรคต่าง ๆ ประกอบกันเป็น “ระบบ” ก็ต่อเมื่อพรรคเหล่านั้นเป็นการแบ่งส่วน (ในแบบพหูพจน์) และเมื่อกล่าวอย่างเถรตรงแล้ว ระบบพรรคคือระบบของการปฏิสัมพันธ์อันเป็นผลมาจากการแข่งขันกันระหว่างพรรค”[9] ซึ่งกำหนดจำนวนมากน้อยของพรรคภายในระบบและระดับการแข่งขันระหว่างกัน ในแง่นี้ “ระบบพรรคเดียวจึงไม่มีอยู่และไม่ควรเรียกเช่นนั้น”[10]

รากฐานทางการเมืองของระบบพรรคเดียว

          รัฐบาลที่ปกครองโดยระบบพรรคเดียวมักอาศัยความเป็นเอกภาพภายในสังคมเป็นเหตุผลรองรับความชอบธรรมของพรรครัฐบาล จึงไม่อาจอนุญาตให้มีพรรคการเมืองอื่นภายในระบบการเมืองหรือหากอนุญาตให้มีพรรคการเมืองอื่นดำรงอยู่ ก็ต้องพร้อมยอมรับบทบาทนำของพรรคหลักอยู่เสมอโดยปราศจากฝ่ายค้านในสภานิติบัญญัติระดับชาติ ทั้งนี้อาจจำแนกระบบพรรคเดียวด้วยรากฐานทางการเมืองที่แตกต่างกันเป็น 3 ประเภท ได้แก่

          กลุ่มแรก ระบบพรรคเดียวที่มีอุดมการณ์ขวาจัด ปรากฏให้เห็นในช่วงทศวรรษ 1930 ต่อเนื่องมาถึงสงครามโลกครั้งที่_2 (ค.ศ. 1939-1945) เช่น พรรคนาซีเยอรมัน (National Socialist German Workers’ Party) และพรรคฟาสซิสต์อิตาลี (National Fascist Party) โดยพรรคนาซี เริ่มเข้าสู่อำนาจด้วยแรงเสริมจากการสูญเสียเกียรติยศในสงครามโลกครั้งที่_1 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก (the Great Depression) และภาวะคนว่างานนับล้าน จนสามารถได้รับชัยชนะในเลือกตั้ง ปี ค.ศ. 1928 พรรคนาซีกลายเป็นพรรคเดียวที่ได้รับการรับรองทางกฎหมายในปี ค.ศ. 1933 ก่อนที่ Adolf Hitler จะสถาปนาตนเองเป็นผู้นำสูงสุด (Führer) กุมอำนาจรัฐและอำนาจกองทัพเยอรมัน[11] ในกรณีของพรรคฟาสซิสต์อิตาลี นำโดย Benito Mussolini ที่ขึ้นสู่อำนาจด้วยกระแสต่อต้านการปฏิวัติสังคมนิยม กระทั่งปี ค.ศ. 1927 Mussolini สถาปนาตนเองเป็นผู้นำ (Il Duce) พร้อม ๆ กับการยกเลิกรัฐธรรมนูญรวมถึงยกเลิกการเลือกตั้ง ไม่อนุญาตให้มีการแสดงออกทางการเมืองและการรวมตัวกันอย่างเสรี ยกเลิกสหภาพแรงงานและพรรคการเมืองฝ่ายค้านทั้งหมด[12]

          กลุ่มที่สอง ระบบพรรคเดียวที่มีอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ อันถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 และยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ปรากฏในสหภาพโซเวียตและรัฐคอมมิวนิสต์แถบยุโรปตะวันออก จีน เกาหลีเหนือ คิวบา เวียดนาม และลาว เป็นต้น พรรคการเมืองในประเทศเหล่านี้พยายามผลักดันสังคมให้เป็นไปตามพัฒนาการทางประวัติศาสตร์แบบมาร์กซิสต์ กล่าวคือพรรคคอมมิวนิสต์มีบทบาททางอุดมการณ์ในขั้นตอนเปลี่ยนผ่านจากสังคมทุนนิยมไปสู่สังคมนิยมที่มีความเสมอภาคและเสรีภาพสมบูรณ์ โดยพรรคได้ก่อตั้งขึ้นในนาม “เผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ” (dictatorship of the proletariat) คอยกำกับทิศทางของประเทศ ปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมืองและวัฒนธรรมแก่พลเมือง[13] พรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศเหล่านี้มักขยายขอบเขตสมาชิกพรรคไปทั่วประเทศและอาศัยแนวทาง “ประชาธิปไตยสังคมนิยม” (socialist democracy) มากกว่าตัวแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยตะวันตก (Western liberal democracy) อำนาจส่วนใหญ่มักรวมศูนย์อยู่ที่ชนชั้นนำระดับสูงของพรรค โดยเฉพาะตำแหน่งเลขาธิการพรรคที่มีบทบาทสูงสุด ดังปรากฏในกรณี Xi Jinping ที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนติดต่อกันถึง 3 สมัย อันถือเป็นการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมปฏิบัติที่ยึดถือกันมาอย่างยาวนาน จึงกล่าวกันว่า Xi Jinping กลายเป็นผู้นำที่ทรงอิทธิพลสูงสุดในประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่[14]

          กลุ่มที่สาม ระบบพรรคเดียวที่เกิดขึ้นหลังการได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคม โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา ระหว่างทศวรรษ 1960-1980 ดังปรากฏในกรณี เคนยา กานา แซมเบีย มาลี เซเนกัล และแทนซาเนีย พรรคที่ปกครองประเทศเหล่านี้มีกำเนิดมาจากการต่อสู้กับเจ้าอาณานิคม ผู้นำขบวนการชาตินิยมในการต่อสู้จึงกลายมาเป็นผู้นำพรรคที่มีบารมีสูงภายหลังได้รับเอกราช อาศัยความชอบธรรมในเรื่องความเป็นเอกภาพและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างเผ่าหรือกลุ่มชาติพันธุ์[15] อย่างไรก็ตามด้วยแรงกดดันทางสังคมและการเรียกร้องเสรีประชาธิปไตยที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ประเทศที่เคยเป็นระบบพรรคเดียวในทวีปแอฟริกาจึงค่อย ๆ เปิดให้มีการแข่งขันเลือกตั้งแบบหลายพรรคมากขึ้น จนพรรคการเมืองฝ่ายค้านได้รับเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภา ทว่าพรรครัฐบาลยังคงมีบทบาทนำและผูกขาดชัยชนะในการเลือกตั้งต่อมาอีกระยะหนึ่ง ระบบพรรคในประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนจากระบบพรรคเดียวมาสู่ระบบพรรคเด่นพรรคเดียวในที่สุด[16]

บทส่งท้าย: ความท้าทายต่อระบบพรรคการเมืองเดียว

          ระบบการเมืองแบบพรรคเดียวมุ่งธำรงรักษาความเป็นเอกภาพทางสังคม ดังนั้นจึงมักมีการปลูกฝังอุดมการณ์ให้พลเมืองเกิดความรู้รักสามัคคีและต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาติ และด้วยเหตุที่พรรคการเมืองที่มีอำนาจในระบบประเภทนี้มักเป็นพรรคที่มีการจัดองค์กรขนาดใหญ่ มีสาขาพรรค และสมาชิกพรรคครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ขณะเดียวกันผู้นำระดับสูงของพรรคก็มีบทบาทสำคัญในการบริหารพรรคและบริหารประเทศเมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่มาจากภายในและภายนอกประเทศ ดังเห็นได้ว่าเมื่อเสรีประชาธิปไตยได้กลายเป็นวาระระดับโลกภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในต้นทศวรรษ 1990 รัฐที่เคยปกครองโดยพรรคเดียวจึงค่อย ๆ เลือนหายไปจากภูมิทัศน์ทางการเมืองของโลก หลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่ง อาทิ จีน คิวบา เกาหลีเหนือ เวียดนาม และลาว

          ในกรณีของจีน ซึ่งถือเป็นประเทศใหญ่ที่สุดที่ยังคงเป็นระบบพรรคเดียวนั้น สำนักงานสารนิเทศของสภาแห่งรัฐจีน (the State Council Information Office of the People's Republic of China) ได้เผยแพร่รายงาน สมุดปกขาว เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2021 เรื่อง “ระบบพรรคการเมืองของจีน : ความร่วมมือและการปรึกษาหารือ” (China's Political Party System: Cooperation and Consultation) โดยระบุว่าระบบพรรคการเมืองภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์และอีก 8 พรรค มีจุดเด่นและจุดแข็งตรงที่

 

          ...บนความร่วมมือ การมีส่วนร่วม และการปรึกษาหารือ ตามหลักความเป็นเอกภาพ ประชาธิปไตย และความกลมกลืน ระบบพรรคการเมืองของจีนมีบทบาทสำคัญในการปลุกเร้าให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมือง ส่งเสียงแสดงความเห็น และบรรลุบูรณภาพทางสังคม ตลอดจนเฝ้าสอดส่องประชาธิปไตยและจรรโลงเสถียรภาพ ระบบที่สะท้อนความเป็นเอกภาพของการบริหารปกครองและการมีส่วนร่วมทางการเมือง เอกภาพของภาวะผู้นำและความร่วมมือ เอกภาพของการปรึกษาหารือและการสอดส่องติดตาม[17]

 

          อย่างไรก็ตาม แม้รัฐบาลจีนจะเข้มแข็งเป็นปึกแผ่นและสามารถพัฒนาเศรษฐกิจจนกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตมากที่สุดในโลก แต่ข้อเรียกร้องให้เปิดรับเสรีประชาธิปไตยก็มิได้หมดไปแต่อย่างใด ศาสตราจารย์ Cai Xi ผู้เคยสังกัดสถาบันการศึกษาศูนย์กลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ถึงขั้นตั้งข้อสังเกตไว้ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2021 ว่าการที่สังคมจีนปกครองด้วยระบบพรรคการเมืองเดียวนั้น ทำให้สังคมจีนเปราะบางเสียจนกระทั้งในระยะยาวแล้วจะนำหายนะมาสู่การพัฒนาและสังคมจีนเอง สำหรับ Cai Xi แล้ว ทางออกเดียวก็คือ การรับเอาวิถีปฏิบัติแบบเสรีประชาธิปไตยซึ่งจะสามารถนำเสนอทัศนะทางเลือกอื่น ๆ อันจะทำให้สังคมจีนเข้มแข็งมากขึ้น[18] พิจารณาในแง่นี้ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนจึงกำลังถูกเรียกร้อง (อย่างน้อยก็จากบรรดาผู้ที่มีแนวโน้มมองเห็นจุดแข็งของตัวแบบเสรีประชาธิปไตย) ให้พิสูจน์ถึงความเหนือกว่าของรูปแบบการปกครองและรวมถึงระบบพรรคเดียว ในอันที่จะเกิดสัมฤทธิผลไม่เพียงแต่ในมิติทางการเมืองและเศรษฐกิจ หากยังรวมถึงมิติทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้คนด้วย อย่างไรก็ตามการดำรงอยู่อย่างเข้มแข็งของพรรคคอมมิวนิสต์จีนสะท้อนถึงการดำรงอยู่โดยอาศัยความชอบธรรมเรื่อง “ความเป็นเอกภาพทางสังคม” อันแตกต่างตรงกันข้ามกับระบบพรรคการเมืองในตัวแบบเสรีประชาธิปไตยตะวันตกที่อ้างอิงความชอบธรรมเรื่อง “พหุนิยมทางการเมือง” แม้ทั้งสองโลกจะใช้คำศัพท์ทางการเมืองเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน แต่ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นโลกคู่ขนานที่ไม่มีวันจรบรรจบกัน

บรรณานุกรม

Boese, Vanessa A., Nazifa Alizada, Martin Lundstedt, Kelly Morrison, Natalia Natsika, Yuko Sato, Hugo Tai, and Staffan I. Lindberg (2022). Democracy Report 2022: Autocratization Changing Nature? Gothenburg: Varieties of Democracy Institute (V-Dem).

Bogaards, Matthijs (2024). “Counting Parties and Identifying Dominant Party Systems in Africa.” European Journal of Political Research, 43(2): 173-197.

Cai Xia (2021). “Cai Xia on why China’s one-party system holds back the country.” The Economist (8 December). Available <https://www.economist.com/by-invitation/2021/12/08/cai-xia-on-why-chinas-one-party-system-holds-back-the-country>. Accessed 3 July 2023.

Clark, Martin, Christopher Hibbert, and John Foot (2003). “Fascist Party.” Encyclopedia Britannica (24 April). Available <https://www.britannica.com/topic/Fascist-Party>. Accessed 26 May 2023.

Clark, William Roberts, Matt Golder, and Sona N. Golder (2012). Principles of Comparative Politics, 2nd ed. Washington, D.C: CQ Press.

Croissant, Aurel and Philip Lorenz (2018). “Malaysia: Competitive Authoritarianism in a Plural Society.” in Comparative Politics of Southeast Asia: An Introduction to Governments and Political Regimes. Cham: Springer International Publishing, pp. 149–188.

Frommer, Fred (2023). “one-party state.” Encyclopedia Britannica (24 February). Available <https://www.britannica.com/topic/one-party-state>. Accessed 26 May 2023.

Gandhi, Jennifer and Ellen Lust-Okar (2009). “Elections Under Authoritarianism.” Annual Review of Political Science. 12, 2009: 403-422.

Isachenkov, Vladimir and Kim Tong-hyung (2023). “Xi awarded 3rd term as China’s president, extending rule.” AP (10 March). Available <https://apnews.com/article/xi-jinping-china-president-vote-5e6230d8c881dc17b11a781e832accd1>. Accessed 26 May 2023.

Monyani, Margaret (2018). “One Party State: Is It Good or Bad for Governance?.” E-International Relations (25 May). Available <https://www.e-ir.info/2018/05/25/one-party-state-is-it-good-or-bad-for-governance/>. Accessed 26 May 2023.

Sangkaew, Thitikorn (2021). “Political Party Finance Reform and the Rise of Dominant Party in Emerging Democracies.” Master's Theses, Political Science Department, Central European University.

Sartori, Giovanni (2005). Parties and Party Systems: A Framework for Analysis. Colchester: ECPR Press.

Scarrow, Susan E. (2006). “The Nineteenth-Century Origins of Modern Political Parties: The Unwanted Emergence of Party-Based Politics.” In Richard S. Katz and William Crotty (Eds.). Handbook of Party Politics. London: Sage, pp. 16-24.

The Editors of Encyclopedia Britannica (2003). “Nazi Party.” Encyclopedia Britannica (15 May). Available <https://www.britannica.com/topic/Nazi-Party>. Accessed 26 May 2023.

The State Council Information Office of the People's Republic of China (2021).  “China's Political Parties.” in China's Political Party System: Cooperation and Consultation (25 June). Available <http://english.scio.gov.cn/whitepapers/2021-06/25/content_77587473_3.htm>. Accessed 7 July 2023.

The State Council Information Office of the People's Republic of China (2021). “China's Political Party System Has Distinctive Characteristics and Strengths.” in China's Political Party System: Cooperation and Consultation (25 June). Available <http://english.scio.gov.cn/whitepapers/2021-06/25/content_77587473_3.htm>. Accessed 7 July 2023.

อ้างอิง

[1] William Roberts Clark, Matt Golder, and Sona N. Golder, Principles of Comparative Politics, 2nd ed. (Washington, D.C: CQ Press, 2012), p. 611.

[2] Jennifer Gandhi and Ellen Lust-Okar, “Elections Under Authoritarianism,” Annual Review of Political Science, 12, 2009: 405.

[3] Vanessa A. Boese et al., Democracy Report 2022: Autocratization Changing Nature? (Gothenburg: Varieties of Democracy Institute (V-Dem), 2022), p. 45.

[4] The State Council Information Office of the People's Republic of China, “China's Political Parties,” in China's Political Party System: Cooperation and Consultation (25 June 2021). Available <http://english.scio.gov.cn/whitepapers/2021-06/25/content_77587473_3.htm>. Accessed 7 July 2023.

[5] Aurel Croissant and Philip Lorenz.  “Malaysia: Competitive Authoritarianism in a Plural Society,” in Comparative Politics of Southeast Asia: An Introduction to Governments and Political Regimes (Cham: Springer International Publishing, 2018), p. 154.

[6] Thitikorn Sangkaew, “Political Party Finance Reform and the Rise of Dominant Party in Emerging Democracies,” (Master's Theses, Political Science Department, Central European University, 2021), pp. 8-9.

[7] Susan E. Scarrow, “The Nineteenth-Century Origins of Modern Political Parties: The Unwanted Emergence of Party-Based Politics,” In by Richard S. Katz and William Crotty (Eds.), Handbook of Party Politics (London: Sage, 2006), p. 17.

[8] Giovanni Sartori, Parties and Party Systems: A Framework for Analysis (Colchester: ECPR Press, 2005), p. 47.

[9] Ibid., p. 44.

[10] Ibid., p. 47.

[11] The Editors of Encyclopedia Britannica, “Nazi Party,” Encyclopedia Britannica (15 May 2023). Available <https://www.britannica.com/topic/Nazi-Party>. Accessed 26 May 2023.

[12] Martin Clark, Christopher Hibbert, and John Foot. “Fascist Party,” Encyclopedia Britannica (24 April 2023). Available <https://www.britannica.com/topic/Fascist-Party>. Accessed 26 May 2023.

[13] Fred Frommer, “one-party state,” Encyclopedia Britannica (24 February 2023). Available <https://www.britannica.com/topic/one-party-state>. Accessed 26 May 2023.

[14] Vladimir Isachenkov and Kim Tong-hyung, “Xi awarded 3rd term as China’s president, extending rule,” AP (10 March 2023). Available <https://apnews.com/article/xi-jinping-china-president-vote-5e6230d8c881dc17b11a781e832accd1>. Accessed 26 May 2023.

[15] Margaret Monyani, “One Party State: Is It Good or Bad for Governance?,” E-International Relations (25 May 2018). Available <https://www.e-ir.info/2018/05/25/one-party-state-is-it-good-or-bad-for-governance/>. Accessed 26 May 2023.

[16] Matthijs Bogaards, “Counting Parties and Identifying Dominant Party Systems in Africa,” European Journal of Political Research, 43(2), 2004: 173-197.

[17] The State Council Information Office of the People's Republic of China, “China's Political Party System Has Distinctive Characteristics and Strengths,” in China's Political Party System: Cooperation and Consultation (25 June 2021). Available <http://english.scio.gov.cn/whitepapers/2021-06/25/content_77587473_3.htm>. Accessed 7 July 2023.

[18] Cai Xia, “Cai Xia on why China’s one-party system holds back the country,” The Economist (8 December 2021). Available <https://www.economist.com/by-invitation/2021/12/08/cai-xia-on-why-chinas-one-party-system-holds-back-the-country>. Accessed 3 July 2023.