ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มอาชีวะช่วยชาติ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 14: บรรทัดที่ 14:
 
 
<p style="text-align: center;">'''ภาพ '''การจัดกิจกรรมของกลุ่มอาชีวะช่วยชาติ</p>  
<p style="text-align: center;">'''ภาพ '''การจัดกิจกรรมของกลุ่มอาชีวะช่วยชาติ</p>  
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="height: 100px; width: 400px;"
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="height: 200px; width: 500px;"
|-
|-
| [[File:Vocational education 1.png|center|400x400px|Vocational education 1.png]]
| [[File:Vocational education 1.png|center|400x400px|Vocational education 1.png]]
| [[File:Vocational education 2.png|center|400x400px|Vocational education 2.png]]
| [[File:Vocational education 2.png|center|400x800px|Vocational education 2.png]]
|}
|}



รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:42, 16 มีนาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ

 

กลุ่มอาชีวะช่วยชาติ

          กลุ่มอาชีวะช่วยชาติ เป็นการรวมตัวของนักเรียน นักศึกษา และศิษย์เก่าจากสถาบันอาชีวศึกษาจาก 14 สถาบันในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นการรวมตัวกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยเริ่มกิจกรรมทางการเมืองครั้งแรกในการชุมนุมที่สวนลุมพินี และเป็นหนึ่งในแนวร่วมของการชุมนุมภายใต้การนำของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ที่ต่อต้านรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

          กล่าวได้ว่า กลุ่มอาชีวะช่วยชาติมีเป้าหมายในการเคลื่อนไหวและทำกิจกรรมเพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ ซึ่งมีแนวทางแตกต่างจากแนวร่วมอาชีวะที่นำโดย กลุ่มฟันเฟืองประชาธิปไตยอาชีวะปกป้องประชาธิปไตยแห่งประเทศไทยที่แสดงจุดยืนในการขับไล่เผด็จการ ทั้งนี้ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 กลุ่มอาชีวะช่วยชาติเป็นหนึ่งแนวร่วมที่เข้าให้กำลังใจ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยเห็นว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ทำให้ประเทศสงบและมีความมั่นคงขึ้น ทั้งยังสนับสนุนให้มีการปฏิรูปประเทศก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ทั้งนี้เมื่อมีการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562 สมาชิกของกลุ่มต่างแยกย้ายลงไปทำงานการเมืองตามพรรคต่าง ๆ อาทิ นายดนัย ทิพย์ยาน อดีตโฆษกกลุ่มอาชีวะช่วยชาติได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 4 จ.นครศรีธรรมราช สังกัดพรรครวมพลังประชาชาติไทยที่มี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. เป็นผู้นำพรรค เป็นต้น

 

ภาพ การจัดกิจกรรมของกลุ่มอาชีวะช่วยชาติ

Vocational education 1.png
Vocational education 1.png
Vocational education 2.png
Vocational education 2.png

ที่มา “มารู้จัก "กลุ่มอาชีวะช่วยชาติ" รวมพลังปกป้องสถาบัน ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ โฆษก กปปส.เก่า”. สืบค้นจาก  https://thaienews.blogspot.com/2020/07/blog-post_681.html (2 กันยายน 2563).

         

          บทบาทของกลุ่มอาชีวะช่วยชาติเกิดขึ้นอย่างชัดเจนอีกครั้ง ภายหลังการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2563 โดยกลุ่มอาชีวะช่วยชาติมีความเห็นว่าการจัดกิจกรรมทางการเมืองที่นำโดยกลุ่มเยาวชนปลดแอกและสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ สนท. นั้น แม้จะยื่นข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกและยุบสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย แต่ปรากฏว่ามีการแสดงออกเพื่อต้องการท้าทาย ต่อต้านหรือล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งยังมีการนำข้อมูลอันเป็นเท็จ เพื่อปลุกระดมให้เกิดความเข้าใจผิดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงนำมาสู่การรวมตัวกันและออกแถลงการณ์ของกลุ่มอาชีวะช่วยชาติ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่

          ประกาศฉบับที่ 1 เพื่อประกาศจุดยืน “เพื่อประชาธิปไตยด้วยใจจงรักภักดี” ในออกมาร่วมปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ในวันที่ 30 กรกฏาคม พ.ศ. 2563 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน เวลา 14.00 น.

          ประกาศฉบับที่ 2 ระบุว่ากิจกรรมในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ไม่ใช่การชุมนุมแต่เป็นการแถลงจุดยืนเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ หลังจากแถลงการณ์เสร็จทางกลุ่มอาชีวะช่วยชาติ จะร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี

          ประกาศฉบับที่ 3 เป็นการแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์ของกลุ่มอาชีวะช่วยชาติที่จะมาร่วมแถลงการณ์ใน วันที่ 30 กรกฏาคม พ.ศ. 2563 เวลา 14.00 น.

          นอกจากการรวมตัวกันเพื่อแสดงจุดยืนผ่านการอ่านแถลงการณ์แล้ว กลุ่มอาชีวะช่วยชาติยังได้ใช้สัญลักษณ์การชู 3 นิ้ว ได้แก่ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง ซึ่งหมายถึง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ยังแสดงจุดยืนของกลุ่มในการติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มเยาวชนปลดแอกและนักเรียนนักศึกษาอย่างใกล้ชิดและขอให้หน่วยงานของรัฐบาลที่ติดตามสอดส่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีลักษณะจาบจ้วงสถาบันกษัตริย์ ทั้งนี้หากมีการกระทำผิดหรือมีการพาดพิงต่อสถาบันกษัตริย์ จะมีมวลชนทำการเก็บหลักฐานทั้งภาพและเสียงแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการ โดยเข้ายื่นหนังสือต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติต่อไป

          อย่างไรก็ดี กลุ่มอาชีวะช่วยชาติยังได้ดำเนินการร่วมกับกลุ่มเคลื่อนไหวอื่น ๆ ที่เน้นแสดงออกถึงความจงรักภักดี ได้แก่ "เยาวชนช่วยชาติปกป้องสถาบันฯ" และ "ศูนย์กลางประสานนักศึกษาอาชีวะ ประชาชนปกป้องสถาบัน" หรือ ศอปส. “กลุ่มภาคีประชาชนเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์” “คณะรักษ์นิยม” “พันธมิตรนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตย” เป็นต้น โดยกลุ่มอาชีวะช่วยชาติ มีแนวทางในการร่วมเดินทางกับทุกกลุ่มที่ออกมาปกป้องสถาบันกษัตริย์ เพื่อให้ความรู้และข้อมูลที่เท็จจริงทั่วประเทศ

 

อ้างอิง

“กลุ่มนร.อาชีวะ-ช่างกล"ออกมาชุมนุมต้าน​ ตร.หวั่นปะทะ”. สืบค้นจาก https://siamrath.co.th/n/173308 (2 กันยายน 2563).

“กลุ่ม'อาชีวะช่วยชาติ'ร่อนแถลงการณ์รวด 2 ฉบับ นัดแถลงจุดยืนปกป้องสถาบันพรุ่งนี้”. สืบค้นจาก https://www.naewna.com/politic/508275 (2 กันยายน 2563).

“อาชีวะช่วยชาติ ชี้ทนายอานนท์หมิ่นเบื้องสูง-เด็กช่างหนุนนศ.ชุมนุมใหญ่ 10 ส.ค.”. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1905012 (2 กันยายน 2563).

“‘อาชีวะช่วยชาติ’ฮือปกป้องสถาบัน”. สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/72970 (2 กันยายน 2563).

“อาชีวะช่วยชาติ: นศ. อาชีวะ 2 กลุ่มประกาศปกป้องสถาบัน กับ พิทักษ์ประชาชน”. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-53591824 (2 กันยายน 2563).