ผลต่างระหว่างรุ่นของ "RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 5: | บรรทัดที่ 5: | ||
| | ||
<p style="text-align: center;"><span style="font-size:x-large;">'''RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership)'''</span></p> | |||
<span style="font-size:x-large;">'''RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership)'''</span> | |||
'''RCEP''' หรือ '''ความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค''' มีความเป็นมาจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 19 เมื่อ วันที่ 15-18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนได้รับรองเอกสารกรอบอาเซียนสำหรับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดย RCEP เป็นความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ที่มีข้อตกลงการค้าเสรีกับอาเซียนแล้ว ได้แก่ จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ครอบคลุมทุกมิติของการค้า (สินค้าบริการ การลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและทางเทคนิค) และประเด็นที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เช่น นโยบายการแข่งขัน ทรัพย์สินทางปัญญา การระงับข้อพิพาท เพื่อให้การรวมตัวกันทางภูมิภาคมีประสิทธิภาพและมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น | '''RCEP''' หรือ '''ความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค''' มีความเป็นมาจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 19 เมื่อ วันที่ 15-18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนได้รับรองเอกสารกรอบอาเซียนสำหรับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดย RCEP เป็นความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ที่มีข้อตกลงการค้าเสรีกับอาเซียนแล้ว ได้แก่ จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ครอบคลุมทุกมิติของการค้า (สินค้าบริการ การลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและทางเทคนิค) และประเด็นที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เช่น นโยบายการแข่งขัน ทรัพย์สินทางปัญญา การระงับข้อพิพาท เพื่อให้การรวมตัวกันทางภูมิภาคมีประสิทธิภาพและมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น | ||
บรรทัดที่ 98: | บรรทัดที่ 96: | ||
| | ||
[[Category:ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ]] [[Category:ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ]] | [[Category:ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ]][[Category:ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:46, 15 มีนาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู
RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership)
RCEP หรือ ความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค มีความเป็นมาจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 19 เมื่อ วันที่ 15-18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนได้รับรองเอกสารกรอบอาเซียนสำหรับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดย RCEP เป็นความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ที่มีข้อตกลงการค้าเสรีกับอาเซียนแล้ว ได้แก่ จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ครอบคลุมทุกมิติของการค้า (สินค้าบริการ การลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและทางเทคนิค) และประเด็นที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เช่น นโยบายการแข่งขัน ทรัพย์สินทางปัญญา การระงับข้อพิพาท เพื่อให้การรวมตัวกันทางภูมิภาคมีประสิทธิภาพและมีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น
การเจรจา RCEP เริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ. 2556 และหลังจากใช้เวลาเจรจากันประมาณ 6 ปี ผู้นำประเทศสมาชิกทั้ง 16 ประเทศ ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ประกาศความสำเร็จในการเจรจา RCEP เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ที่กรุงเทพฯ ว่า สมาชิก RCEP 15 ประเทศ สามารถเปิดการเจรจาจัดทำความตกลง RCEP ทั้ง 20 บท และการเจรจาเปิดตลาดในส่วนที่สำคัญทุกประเด็นได้แล้ว และมอบให้คณะเจรจาไปเริ่มขัดเกลาถ้อยคำทางกฎหมาย เพื่อลงนามความตกลง RCEP ในปี 2563 โดยในส่วนของอินเดียยังมีประเด็นคงค้างที่จะต้องเจรจาต่อ ซึ่ง สมาชิก RCEP จะทำงานร่วมกันเพื่อหาข้อยุติในประเด็นคงค้างของอินเดียต่อไป[1]
สาเหตุที่ประเทศอินเดียยังไม่พร้อมที่จะลงนามในข้อตกลง RCEP มีที่มาเกรงกลัวว่าหากอินเดียเข้าเป็นคู่สัญญาแล้ว ไม่มีกำแพงภาษีต้านทานสินค้าต่างประเทศ อุตสาหกรรมในประเทศของอินเดียจะล้มละลาย สินค้าจีนจะท่วมตลาดอินเดีย[2]
เขตการค้าที่ใหญ่ที่สุด
ความสำคัญประการแรก คือ RCEP เป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก พิจารณาในแง่ขนาดของเศรษฐกิจ RCEP รวมกันจะมีขนาดเท่ากับ ร้อยละ 27.7 ของจีดีพีโลกใน ปี 2562 ในขณะที่เขตการค้าเสรี The Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific (CPTPP) ที่มีสมาชิก 11 ประเทศ มีขนาดรวมกันเท่ากับ ร้อยละ 15.0 ของจีดีพีโลกเท่านั้น สหภาพยุโรปมีขนาดเท่ากับ ร้อยละ 24.7 ของจีดีพีโลก และเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือ NAFTA มีขนาดเท่ากับ ร้อยละ 25.5 ของจีดีพีโลก[3]
พิจารณาในแง่ของจำนวนประชากร RCEP มีประชากรมากกว่าเขตเศรษฐกิจ CPTPP 4.5 เท่า ใหญ่กว่าสหภาพยุโรป 5 เท่า
พิจารณาในแง่การเป็นผู้นำการฟื้นตัวของการลงทุนในเศรษฐกิจโลก จากข้อมูลการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ UNCTAD ชี้ให้เห็นว่า RCEP เป็นเป้าหมายของการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศ (FDI) อยู่แล้วในปัจจุบัน โดยร้อยละ 19.0 ของการลงทุนสุทธิอยู่ในภูมิภาคนี้ แม้ว่าในช่วงของการระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2020 จะทำให้การลงทุนต่ำลง ร้อยละ 15 แต่การลงทุนทั่วโลกตกลงถึง ร้อยละ 30-40
RCEP เป็นความตกลงที่ทันสมัย สูงด้วยคุณภาพ และประเทศสมาชิกได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจากการเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน ซึ่งความร่วมมือในด้านต่าง ๆ นี้ จะเข้มข้นกว่าข้อตกลงเขตการค้าเสรีของอาเซียนกับคู่เจรจาที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทรัพย์สินทางปัญญา การแข่งขันทางการค้า และเรื่องใหม่ ๆ อาทิ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ซึ่งจะสร้างโอกาสครั้งยิ่งใหญ่ให้กับธุรกิจในภูมิภาคได้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ[4]
ความตกลง RCEP มีทั้งหมด 20 บท ดังนี้
1. บทบัญญัติพื้นฐานและคำนิยามทั่วไป
2. การค้าสินค้า
3. กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า
4. พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า
5. สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
6. มาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และกระบวนการตรวจสอบและรับรอง
7. การเยียวยาทางการค้า
8. การค้าบริการ ภาคผนวกบริการการเงิน ภาคผนวกบริการโทรคมนาคม ภาคผนวกบริการวิชาชีพ
9. การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา
10. การลงทุน
11. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ
12. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
13. ทรัพย์สินทางปัญญา
14. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
15. การแข่งขัน
16. การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ
17. บทบัญญัติเกี่ยวกับสถาบัน
18. บทบัญญัติทั่วไปและข้อยกเว้น
19. การระงับข้อพิพาท
20. บทบัญญัติสุดท้าย
เชื่อกันว่าประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการลงนามความตกลง RCEP คือ สามารถเปิดตลาดการค้าการลงทุนในอีก 14 ประเทศ โดยสินค้าที่ไทยจะได้ประโยชน์ มีดังนี้
1. หมวดสินค้าเกษตร เช่น แป้งมันสำปะหลัง สับปะรด สินค้าประมง
2. หมวดอาหาร ผักผลไม้แปรรูป น้ำส้ม น้ำมะพร้าว รวมทั้งอาหารแปรรูปอื่น ๆ
3. หมวดสินค้าอุตสาหกรรม อุปกรณ์ไฟฟ้า พลาสติก กระดาษ เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องแต่งกาย รวมทั้งจักรยานยนต์
4. หมวดบริการ หมวดการก่อสร้าง ธุรกิจด้านสุขภาพ ธุรกิจด้านภาพยนตร์บันเทิง อนิเมชั่น และ
5. การค้าปลีก[5]
อ้างอิง
[1]สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ คำศัพท์-คำย่อทางการทูตและการต่างประเทศ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4) (กรุงเทพฯ กระทรวงต่างประเทศ 2563) หน้า 219-220
[2] https://Indianexpress.com>explained
[3] MoneyBuffalo “RCEP” คืออะไร?
[4] dpxfulfillment.com
[5] ฐานเศรษฐกิจ สรุป “RCEP” คือ? ไทยได้ประโยชน์อย่างไรกับข้อตกลงการค้าเสรีใหญ่สุดของโลก (15 พฤศจิกายน 2020) thansettakij.com