ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การตีหม้อ เคาะภาชนะ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 13: บรรทัดที่ 13:


 
 
 
<p style="text-align: center;">'''ภาพ&nbsp;:'''&nbsp;การ '''“ตีหม้อ เคาะภาชนะ”''' ในเหตุการณ์การประท้วงของประชาชนชนในเมียนมาในปี ค.ศ.2021 &nbsp;[[#_ftn5|[5]]]</p>
'''ภาพ :'''&nbsp;การ '''“ตีหม้อ เคาะภาชนะ”''' ในเหตุการณ์การประท้วงของประชาชนชนในเมียนมาในปี ค.ศ.2021 &nbsp;[[#_ftn5|[5]]]
 
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="height: 100px; width: 500px;"
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="height: 100px; width: 500px;"
|-
|-
บรรทัดที่ 28: บรรทัดที่ 26:


&nbsp;
&nbsp;
 
<p style="text-align: center;">'''ภาพ&nbsp;:''' การทำกิจกรรม '''“รวมพลคนไม่มีจะกิน ตีหม้อไล่เผด็จการ”''' เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 [[#_ftn8|[8]]]</p>
'''ภาพ :''' การทำกิจกรรม '''“รวมพลคนไม่มีจะกิน ตีหม้อไล่เผด็จการ”''' เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 [[#_ftn8|[8]]]
 
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="height: 100px; width: 500px;"
{| align="center" border="1" cellpadding="1" cellspacing="1" style="height: 100px; width: 500px;"
|-
|-
บรรทัดที่ 63: บรรทัดที่ 59:
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
[[#_ftnref9|[9]]] "ตีหม้อเคาะกระทะ" วัฒนธรรมประท้วง จากลาตินอเมริกาสู่เมียนมาและไทย”, สืบค้นจาก [https://voicetv.co.th/read/jdZqzF7NK https://voicetv.co.th/read/jdZqzF7NK] (27 กรกฎาคม 2564).
[[#_ftnref9|[9]]] "ตีหม้อเคาะกระทะ" วัฒนธรรมประท้วง จากลาตินอเมริกาสู่เมียนมาและไทย”, สืบค้นจาก [https://voicetv.co.th/read/jdZqzF7NK https://voicetv.co.th/read/jdZqzF7NK] (27 กรกฎาคม 2564).
</div> </div>
&nbsp;


&nbsp;
[[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]
</div> </div>
[[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:17, 15 มีนาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศุทธิกานต์ มีจั่น

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ

 

          การ “ตีหม้อ เคาะภาชนะ” เป็นการนำอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนที่มีกันอยู่ในแทบทุกบ้าน เช่น หม้อ กระทะ หรือภาชนะหลากรูปแบบนำมาเคาะตีเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงและแสดงความไม่พอใจต่อรัฐบาล ในขณะที่ในบางบริบทการเคาะภาชนะถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของการขอบคุณและให้กำลังใจ

          โดยทั่วไปแล้ว การ “ตีหม้อ เคาะภาชนะ” เป็นหนึ่งในรูปแบบการประท้วงที่หลายชาติใช้และแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน เป็นรูปแบบการประท้วงที่แพร่จากลาตินอเมริกาในชื่อภาษาสเปนว่า Cacerolazo หรือที่แปลว่า “หม้อสตูว์” วัฒนธรรมประท้วงนี้กลายเป็นรูปแบบการประท้วงรัฐบาลที่แพร่หลายในกลุ่มประเทศละตินอเมริกา เริ่มจากการที่ชาวชิลีออกมาประท้วงรัฐบาลประธานาธิบดี ซัลบาดอร์ อาเยนเด (Salvador Allende) เพื่อต้องการทำให้เสียงเรียกร้องจากประชาชนซึ่งประสบภาวการณ์ขาดแคลนอาหารให้เป็นที่รับรู้ถึงบรรดาชนชั้นปกครองในสังคม ที่นำมาสู่การเดินประท้วงในชื่อ “การเดินขบวนของหม้อไหที่ว่างเปล่า (March of the Empty Pots)” ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1971 ที่เมืองซานเตียโก[1] การตีหม้อประท้วงรัฐบาลครั้งใหญ่ในชิลีเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อปี ค.ศ. 2019 จากการที่กลุ่มผู้ประท้วงชาวชีลีออกมาเคลื่อนไหวแสดงความไม่พอใจรัฐบาล เซบาสเตียน ปิเญรา (Sebastian Pinera) ที่ขึ้นราคาค่าครองชีพ โดยเฉพาะราคาตั๋วโดยสารรถไฟฟ้า ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกันอย่างประเทศอาร์เจนตินา เกิดการประท้วงด้วยการเคาะหม้อครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นเมื่อคราวที่ประเทศเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ ปี ค.ศ. 2001 ที่บรรดาชนชั้นกลางออกมารวมตัวเพื่อต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดทางการเงิน รัฐบาลจึงออกมาตรการทางการคลังที่ส่งผลให้พวกเขาไม่สามารถถอนเงินจากบัญชีธนาคารได้ บริบทเสียงเคาะหม้อภาชนะในอาร์เจนตินาจึงคล้ายกับของชีลีที่ประชาชนออกมาเรียกร้องรัฐบาลในปัญหาปากท้อง[2] นอกจากนี้ยังมีการนำวิธีนี้ไปใช้ในประเทศอื่น ๆ ในอีกหลายภูมิภาค เช่น เหตุการณ์ “ปฏิวัติหม้อและกระทะ” (Pots and Pans revolution) ที่ประเทศไอซ์แลนด์ จากความไม่พอใจของผู้ประท้วงทั่วประเทศจากการจัดการกับวิกฤตการณ์ทางการเงินของรัฐบาล จึงได้นำหม้อและกระทะออกไปเคาะตามท้องถนนและเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก โดยมีประชาชนประมาณ 2,000 คน มารวมตัวกันเพื่อส่งเสียงไปยังการประชุมรัฐสภาที่มีขึ้น เมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2008[3]

          ด้านการใช้วิธีการประท้วงแบบ “ตีหม้อ เคาะภาชนะ” ในเอเชียนั้น ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อประท้วงของรัฐบาลของประธานาธิบดี เฟอร์ดินาน มาร์กอส (Ferdinand Marcos) เนื่องจากประชาชนไม่เห็นด้วยต่อการควบคุมสื่ออย่างเข้มงวดโดยเฉพาะช่วงเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนแทบไม่มีสิทธิมีเสียงหรือรับรู้ข้อมูลอย่างแท้จริง พวกเขาจึงต้องการส่งเสียงถึงรัฐบาล ด้วยการแสดงออกผ่านเคาะตีภาชนะ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมในช่วงที่ประเทศใช้กฎอัยการศึกเพื่อควบคุมความสงบเรียบร้อย โดยเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1978 คืนก่อนการลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไปในประเทศฟิลิปปินส์ ชาวกรุงมะนิลาต่างออกมาตีหม้อเคาะกระทะจนได้รับการกล่าวถึงว่าเสียงเคาะในคืนนั้นเป็นหนึ่งในการประท้วงที่ดังที่สุดของยุค[4]

 

ภาพ : การ “ตีหม้อ เคาะภาชนะ” ในเหตุการณ์การประท้วงของประชาชนชนในเมียนมาในปี ค.ศ.2021  [5]

Hit the pot, tap the container (1).jpg
Hit the pot, tap the container (1).jpg
Hit the pot, tap the container (2).jpg
Hit the pot, tap the container (2).jpg
Hit the pot, tap the container (3).jpg
Hit the pot, tap the container (3).jpg

 

          ทั้งนี้ภาพของ “ตีหม้อ เคาะภาชนะ” ได้รับความสนใจในฐานะการประท้วงที่ทรงอิทธิพลอย่างกว้างขวางจากเหตุการณ์ประท้วงของประชาชนชนในเมียนมาใน ปี ค.ศ. 2021 ที่ประชาชนนัดหมายกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสียงตีหม้อและเคาะสิ่งของต่าง ๆ ตลอดจนบีบแตรรถไปทั่วนครย่างกุ้งยาวนานนับชั่วโมง เพื่อแสดงอารยะขัดขืนไม่ยอมรับการรัฐประหารโดยกองทัพที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน[6] ในส่วนของการประท้วงด้วยวิธีการ ตีหม้อ เคาะภาชนะ นั้นถูกนำมาใช้ในการจัดกิจกรรม “รวมพลคนไม่มีจะกิน ตีหม้อไล่เผด็จการ” นำโดย กลุ่มราษฎร เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 บริเวณสกายวอล์ค สี่แยกปทุมวัน เพื่อส่งเสียงไปถึงรัฐบาลและเรียกร้องให้ปล่อยตัว 4 แกนนำ ของผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎร ที่ถูกดำเนินคดีและศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว[7]

 

ภาพ : การทำกิจกรรม “รวมพลคนไม่มีจะกิน ตีหม้อไล่เผด็จการ” เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 [8]

Hit the pot, tap the container (4).jpg
Hit the pot, tap the container (4).jpg
Hit the pot, tap the container (5).jpg
Hit the pot, tap the container (5).jpg
Hit the pot, tap the container (6).jpg
Hit the pot, tap the container (6).jpg

 

          อย่างไรก็ดี การตีหม้อ เคาะภาชนะ ถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสียงแสดงการสนับสนุนและขอบคุณ เช่น ประเทศไนจีเรียในปี ค.ศ. 1961 ในเหตุการณ์ที่เรียกว่า “ค่ำคืนแห่งเสียงหม้อ” (The nights of the pots) เป็นอยู่ในช่วงเวลาของสงครามเรียกร้องเอกราชของไนจีเรีย ชาวบ้านในหลายเมืองต่างใช้เสียงเคาะหม้อเคาะกระทะเพื่อสนับสนุนเอกราชของประเทศจากฝรั่งเศส เช่นเดียวกับชาวอินเดียหลายเมืองทั่วประเทศที่ร่วมกันเคาะภาชนะเพื่อให้กำลังใจและขอบคุณเจ้าหน้าที่บุคลากรการแพทย์ ในการรับมือต่อการระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 ในขณะที่การใช้วิธี ตีหม้อ เคาะภาชนะ ถูกนำมาใช้เพื่อแสดงออกทั้งการแสดงความไม่พอใจต่อการมีพระราชดำรัสผ่านสถานีโทรทัศน์ของ สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 ต่อสถานการณ์โควิด-19 ที่ประเทศกำลังเผชิญ ซึ่งเป็นการแสดงออกไปพร้อม ๆ กับความไม่พอใจต่อรัฐบาลที่รับมือต่อการระบาดของโควิด-19 ไม่ดีพอ แต่ในขณะเดียวกันการเคาะดังกล่าว ก็เพื่อให้กำลังใจทีมแพทย์และบุคลากรแนวหน้าที่ต้องรับมือการระบาดด้วย[9]

      

อ้างอิง

[1] “March of the Empty Pots and Pans”, Retrieved from URL https://www.forgingmemory.org/narrative/march-empty-pots-and-pans(27 July 2021).

[2] "ตีหม้อเคาะกระทะ" วัฒนธรรมประท้วง จากลาตินอเมริกาสู่เมียนมาและไทย”, สืบค้นจาก https://voicetv.co.th/read/jdZqzF7NK (27 กรกฎาคม 2564).

[3] “Iceland's 'pots and pans revolution': Lessons from a nation that people power helped to emerge from its 2008 crisis all the stronger” , Retrieved from URL https://www.independent.co.uk/news/world/europe/iceland-s-pots-and-pans-revolution-lessons-nation-people-power-helped-emerge-its-2008-crisis-all-stronger-10351095.html(27 July 2021).

[4] ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน “noise barrage 1978, first People Power show”, Retrieved from URL https://stuartsantiago. com/noise-barrage-1978-first-people-power-show/(27 July 2021).

[5] “In Pictures: Striking pans to protest Myanmar’s military coup” , Retrieved from URL https://www.aljazeera.com/ gallery/2021/2/3/in-pictures-striking-pans-in-myanmars-capital-to-protest-coup(27 July 2021).

[6] “​"ดั่งเสียงไล่ปีศาจร้าย" ชาวพม่าส่งเสียงดังกระหึ่มนครย่างกุ่ง #ไม่เอารัฐประหาร”, สืบค้นจาก https://www.voicetv.co.th/read/SYT-tCPG2 (27 กรกฎาคม 2564) และ “The importance of Myanmar’s pots and pans protests”, Retrieved from URL https://www. lowyinstitute.org/the-interpreter/importance-myanmar-s-pots-and-pans-protests (27 July 2021).

[7] “สรุปเหตุการณ์วันที่ 10 ก.พ. ผู้ชุมนุมที่เรียกตัวเองว่า "ราษฎร" รวมตัวทำกิจกรรม "รวมพลคนไม่มีจะกิน ตีหม้อไล่เผด็จการ"”, สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-56016306(27 กรกฎาคม 2564).

[8] “ประมวลภาพ หม้อ-ถัง-ปี๊บ-เครื่องครัวสารพัด ในบรรยากาศ #ตีหม้อไล่เผด็จการ”, สืบค้นจาก https://thestandard.co/hit-the-pot-to-chase-the-dictator-kitchen-utensils/(27 กรกฎาคม 2564).

[9] "ตีหม้อเคาะกระทะ" วัฒนธรรมประท้วง จากลาตินอเมริกาสู่เมียนมาและไทย”, สืบค้นจาก https://voicetv.co.th/read/jdZqzF7NK (27 กรกฎาคม 2564).