ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติราชองครักษ์ พุทธศักราช 2480"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 16: บรรทัดที่ 16:
<span style="font-size:x-large;">'''สาระสำคัญของพระราชบัญญัติราชองครักษ์ พุทธศักราช 2480'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''สาระสำคัญของพระราชบัญญัติราชองครักษ์ พุทธศักราช 2480'''</span>


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''1) ตำแหน่งและหน้าที่ของราชองครักษ์'''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) <u>ตำแหน่งและหน้าที่ของราชองครักษ์</u>


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ตำแหน่งราชองครักษ์สังกัด '''“กรมราชองครักษ์”''' ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสมุหราชองครักษ์ (มาตรา 4) โดยสมุหราชองครักษ์ต้องเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการ (มาตรา 5) ทำหน้าที่หลักในการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์<br/> พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ตำแหน่งราชองครักษ์สังกัด '''“กรมราชองครักษ์”''' ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสมุหราชองครักษ์ (มาตรา 4) โดยสมุหราชองครักษ์ต้องเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการ (มาตรา 5) ทำหน้าที่หลักในการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์<br/> พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ
บรรทัดที่ 22: บรรทัดที่ 22:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; จัดแบ่งประเภทราชองครักษ์ออกเป็น 3 ประเภท คือ (มาตรา 6)
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; จัดแบ่งประเภทราชองครักษ์ออกเป็น 3 ประเภท คือ (มาตรา 6)


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1.1)&nbsp;ราชองครักษ์พิเศษ'''ถือเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ซึ่งแต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตร และปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์ในบางโอกาสตามราชประเพณี (มาตรา 7)'''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1.1)&nbsp;ราชองครักษ์พิเศษ ถือเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ซึ่งแต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตร และปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์ในบางโอกาสตามราชประเพณี (มาตรา 7)


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1.2)&nbsp;ราชองครักษ์เวร'''&nbsp;'''แต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตรซึ่งเป็นพลรบประจำการและคงรับราชการตามตำแหน่งเดิม มีหน้าที่ประจำตามเสด็จ รักษาการและปฏิบัติกิจการอย่างอื่นในส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8)
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1.2)&nbsp;ราชองครักษ์เวร'''&nbsp;'''แต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตรซึ่งเป็นพลรบประจำการและคงรับราชการตามตำแหน่งเดิม มีหน้าที่ประจำตามเสด็จ รักษาการและปฏิบัติกิจการอย่างอื่นในส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8)
บรรทัดที่ 28: บรรทัดที่ 28:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1.3)&nbsp;ราชองครักษ์ประจำ'''&nbsp;'''แต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตรประจำการ[[#_ftn1|[1]]] และเข้ารับราชการประจำในกรมราชองครักษ์ มีหน้าที่ปฏิบัติกิจการในส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ (มาตรา 9)
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;1.3)&nbsp;ราชองครักษ์ประจำ'''&nbsp;'''แต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตรประจำการ[[#_ftn1|[1]]] และเข้ารับราชการประจำในกรมราชองครักษ์ มีหน้าที่ปฏิบัติกิจการในส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ (มาตรา 9)


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''2) การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่ง'''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2) <u>การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่ง</u>


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;- การแต่งตั้งตำแหน่งสมุหราชองครักษ์และราชองครักษ์ทุกประเภท ให้ออก '''“ประกาศพระบรมราชโองการ”''' (มาตรา 10)
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;- การแต่งตั้งตำแหน่งสมุหราชองครักษ์และราชองครักษ์ทุกประเภท ให้ออก '''“ประกาศพระบรมราชโองการ”''' (มาตรา 10)
บรรทัดที่ 40: บรรทัดที่ 40:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;- ราชองครักษ์เวรและราชองครักษ์ประจำเมื่อพ้นจากตำแหนงแล้วอาจได้รับพระราชทานเข็มอักษรพระปรมาภิไธยย่อประกอบด้วยแพรแถบสีตามวันพระราชสมภพในรัชกาลนั้น ๆ เป็นเกียรติยศได้ (มาตรา 14)
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;- ราชองครักษ์เวรและราชองครักษ์ประจำเมื่อพ้นจากตำแหนงแล้วอาจได้รับพระราชทานเข็มอักษรพระปรมาภิไธยย่อประกอบด้วยแพรแถบสีตามวันพระราชสมภพในรัชกาลนั้น ๆ เป็นเกียรติยศได้ (มาตรา 14)


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''3) อำนาจหน้าที่สมุหราชองครักษ์เพิ่มเติม'''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3) <u>อำนาจหน้าที่สมุหราชองครักษ์เพิ่มเติม</u>


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สมุหราชองครักษ์มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ และข้าราชการพลเรือนที่ส่วนราชการต่าง ๆ ขึ้นสมทบราชองครักษ์เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ช่วยราชองครักษ์ในการปฏิบัติหน้าที่ได้&nbsp;(มาตรา 10 ทวิ) โดยสมุหราชองครักษ์ ราชองครักษ์ และเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งให้ช่วยราชองครักษ์ในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (มาตรา 10 ตรี)
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สมุหราชองครักษ์มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ และข้าราชการพลเรือนที่ส่วนราชการต่าง ๆ ขึ้นสมทบราชองครักษ์เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ช่วยราชองครักษ์ในการปฏิบัติหน้าที่ได้&nbsp;(มาตรา 10 ทวิ) โดยสมุหราชองครักษ์ ราชองครักษ์ และเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งให้ช่วยราชองครักษ์ในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (มาตรา 10 ตรี)

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 12:41, 15 มีนาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ

 

พระราชบัญญัติราชองครักษ์ พุทธศักราช  2480

ความเป็นมาของกฎหมาย

          ใน พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตรา “พระราชบัญญัติราชองค์รักษ์ ร.ศ. 117” ขึ้น เพื่อจัดระเบีบบการสำหรับราชองครักษ์ จนกระทั่งต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร ศก 129 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติสมุหมนตรี_รัตนโกสินทร์ศก_129 ขึ้นเพื่อให้ฝ่ายพลเรือนที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมุหมนตรีมีเครื่องหมายราชองครักษ์เป็นสำคัญ ต่อมาทรงพระราชดำริว่าสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติราชองครักษ์ ร.ศ. 129 จึงทรงให้ยกเลิกและตรา “พระราชบัญญัติราชองครักษ์ พระพุทธศักราช 2459” ขึ้น โดยกำหนดให้ผู้ที่จะเป็นราชองครักษ์ได้ คือ นายทหารบท นายทหารเรือ และนายเสือป่า จนกระทั่งต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติราชองครักษ์ พุทธศักราช 2469” เพื่อชำระแก้ไขเพิ่มเติมข้อความบางแห่งในพระราชบัญญัติราชองครักษ์ พ.ศ. 2459 ที่ล่วงพันสมัย โดยเนื้อหาสำคัญ คือ การตั้งกรมราชองครักษ์ขึ้น ให้สมุหราชองครักษ์เป็นหัวหน้ากรม

          ต่อมาในสมัยพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่าสมควรปรับปรุงพระราชบัญญัติราชองครักษ์ พุทธศักราช 2469 เพื่อให้เหมาะแก่กาลสมัย จึงมีพระบรมราชโองการให้ตรา “พระราชบัญญัติราชองครักษ์ พุทธศักราช 2480” ขึ้น

 

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติราชองครักษ์ พุทธศักราช 2480

          1) ตำแหน่งและหน้าที่ของราชองครักษ์

          ตำแหน่งราชองครักษ์สังกัด “กรมราชองครักษ์” ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสมุหราชองครักษ์ (มาตรา 4) โดยสมุหราชองครักษ์ต้องเป็นนายทหารสัญญาบัตรประจำการ (มาตรา 5) ทำหน้าที่หลักในการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ

          จัดแบ่งประเภทราชองครักษ์ออกเป็น 3 ประเภท คือ (มาตรา 6)

               1.1) ราชองครักษ์พิเศษ ถือเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ซึ่งแต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตร และปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์ในบางโอกาสตามราชประเพณี (มาตรา 7)

               1.2) ราชองครักษ์เวร แต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตรซึ่งเป็นพลรบประจำการและคงรับราชการตามตำแหน่งเดิม มีหน้าที่ประจำตามเสด็จ รักษาการและปฏิบัติกิจการอย่างอื่นในส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8)

               1.3) ราชองครักษ์ประจำ แต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตรประจำการ[1] และเข้ารับราชการประจำในกรมราชองครักษ์ มีหน้าที่ปฏิบัติกิจการในส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ (มาตรา 9)

          2) การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่ง

               - การแต่งตั้งตำแหน่งสมุหราชองครักษ์และราชองครักษ์ทุกประเภท ให้ออก “ประกาศพระบรมราชโองการ” (มาตรา 10)

               - การพ้นจากตำแหน่ง “สมุหราชองครักษ์” และ “ราชองครักษ์พิเศษ” ให้พ้นจากตำแหน่งโดย “ประกาศพระบรมราชโองการ” (มาตรา 11)

               - การพ้นจากตำแหน่ง “ราชองครักษ์เวร” จะพ้นจากตำแหน่งในกรณีย้ายจากพลรบ หรือออกจากประจำการ หรือไปรับราชการฝ่ายพลเรือน และพ้นจากตำแหน่งในกระทรวงกลาโหม หรือ ได้เป็นราชองครักษ์เวรครบ 3 ปี บริบูรณ์ (มาตรา 12)

               - การพ้นจากตำแหน่ง “ราชองครักษ์ประจำ” จะพ้นจากตำแหน่งในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ ย้ายจากพลรบ หรือ ออกจากประจำการ หรือ ไปรับราชการที่อื่นและขาดจากตำแหน่งหน้าที่ในกรมราชองครักษ์ (มาตรา 13)

               - ราชองครักษ์เวรและราชองครักษ์ประจำเมื่อพ้นจากตำแหนงแล้วอาจได้รับพระราชทานเข็มอักษรพระปรมาภิไธยย่อประกอบด้วยแพรแถบสีตามวันพระราชสมภพในรัชกาลนั้น ๆ เป็นเกียรติยศได้ (มาตรา 14)

          3) อำนาจหน้าที่สมุหราชองครักษ์เพิ่มเติม

          สมุหราชองครักษ์มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ และข้าราชการพลเรือนที่ส่วนราชการต่าง ๆ ขึ้นสมทบราชองครักษ์เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ช่วยราชองครักษ์ในการปฏิบัติหน้าที่ได้ (มาตรา 10 ทวิ) โดยสมุหราชองครักษ์ ราชองครักษ์ และเจ้าหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งให้ช่วยราชองครักษ์ในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (มาตรา 10 ตรี)

 

บทสรุป

          พระราชบัญญัติราชองครักษ์ พุทธศักราช 2480 ยังคงมีผลใช้บังคับมาจนถึงปัจจุบันและได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายอีก 2 ครั้ง ดังนี้

          - การแก้ไขเพิ่มเติม “พระราชบัญญัติราชองครักษ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496” เพื่อให้สอดคล้องกับข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเหล่าทหาร พ.ศ. 2495 ซึ่งมิได้แบ่งทหารออกเป็นพลรบและผู้ช่วยพลรบเหมือนแต่ก่อน

          - การแก้ไขเพิ่มเติม “พระราชบัญญัติราชองครักษ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2521” เพื่อให้ข้าราชการที่มิใช่ราชองครักษ์ที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์อยู่มีหน้าที่และความรับผิดชอบตามกฎหมาย และกำหนดอำนาจหน้าที่ในการจับกุมปราบปรามผู้กระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ

          โดยปกติพระมหากษัตริย์จะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์และนายตำรวจราชองครักษ์ โดยอาศัยอำนาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติราชองครักษ์ พุทธศักราช 2480 และ พระราชบัญญัตินายตำรวจราชสำนัก พ.ศ. 2495 พร้อม ๆ กัน

 

บรรณานุกรม

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 54/-/หน้า 1547/7 กุมภาพันธ์ 2480. พระราชบัญญัติราชองครักษ์ พุทธศักราช 2480

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 70/ตอนที่ 55/หน้า 959/25 สิงหาคม 2496. พระราชบัญญัติราชองครักษ์ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2496

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95/ตอนที่ 84/ฉบับพิเศษ หน้า 1/17 สิงหาคม 2521. พระราชบัญญัติราชองครักษ์ (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2521

 

อ้างอิง

[1] เดิมแต่งตั้งจากนายทหารซึ่งเป็นพลรบประจำการ ต่อมาได้มีการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับข้อบังคับของกฎหมายเหล่าทหาร ใน พ.ศ. 2496 จึงได้มีการตัด “พลรบ” ออก