ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัตินายตำรวจราชสำนัก พ.ศ. 2495"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 2: | บรรทัดที่ 2: | ||
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล | '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ | ||
| | ||
บรรทัดที่ 52: | บรรทัดที่ 52: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> | ||
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 69/ตอนที่ 62/หน้า 1226/ 7 ตุลาคม 2495. | ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 69/ตอนที่ 62/หน้า 1226/ 7 ตุลาคม 2495. พระราชบัญญัตินายตำรวจราชสำนัก พ.ศ. 2495. | ||
[[Category:ตำรวจ]] [[Category:ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน]] | [[Category:ตำรวจ]] [[Category:ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:55, 15 มีนาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
หลักการและเหตุผลของกฎหมายนายตำรวจราชสำนัก
พระบาทสมเด็จพรปรมินทรมหาภูมิพลอยอดุลเดช มีพระบรมราชโองการให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยนายตำรวจราชสำนัก เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์รักษาให้ความปลอดภัยในราชสำนักและปฏิบัติตามพระราชประสงค์ นอกเหนือจากหน้าที่อื่นที่มีอยู่แล้วตามกฎหมาย (มาตรา 3) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราบัญญัติขึนไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรเรียกว่า “พระราชบัญญัตินายตำรวจราชสำนัก พ.ศ. 2495” ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยให้มีผลบังคับใช้ใน วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2495 เป็นต้นไป และยังคงมีผลบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน
สาระสำคัญของกฎหมายนายตำรวจราชสำนัก
กฎหมายนายตำรวจราชสำนักเป็นการเพิ่มหน้าที่ให้แก่ตำรวจเพิ่มเติมนอกเหนือจากหน้าที่ตำรวจที่มีอยู่แล้วตามกฎหมาย อย่างไรก็ดี ในการปฏิบัติหน้าที่เพิ่มเติมของนายตำรวจราชสำนักต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ “สมุหราชองครักษ์” (มาตรา 3 วรรคสอง)
1) ประเภทของนายตำรวจราชสำนัก
นายตำรวจราชสำนัก มี 3 ประเภท คือ (มาตรา 4)
1.1) นายตำรวจราชสำนักพิเศษ เป็นตำแหน่งที่พระราชทานเกียรติให้เป็นพิเศษ แต่งตั้งจากนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ทำหน้าที่นายตำรวจราชสำนักบางโอกาส (มาตรา 6)
1.2) นายตำรวจราชสำนักเวร แต่งตั้งจากนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรประจำการ ทำหน้าที่นายตำรวจเวรประจำราชสำนัก และคงรับราชการตามตำแหน่งเดิม (มาตรา 7)
1.3) นายตำรวตราชสำนักประจำ แต่งตั้งจากนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรประจำการ ทำหน้าที่นายตำรวจประจำราชสำนักเป็นประจำ (มาตรา 8)
2) การแต่งตั้งและการพ้นจากตำแหน่งนายตำรวจราชสำนัก
การแต่งตั้งนายตำรวจราชสำนักทุกประเภทให้เป็นไปโดย “พระบรมราชโองการ” (มาตรา 5) ส่วนการพ้นจากตำแหน่งนายตำรวจราชสำนัก โดย
- ตำแหน่งนายตำรวจราชสำนักพิเศษ และนายตำรวจราชสำนักประจำ พ้นจากตำแหน่งโดยพระบรมราชโองการ (มาตรา 9)
- ตำแหน่งนายตำรวจราชสำนักเวร พ้นตำแหน่งเมื่อพ้นจากตำแหน่งในกรมตำรวจ หรือ เป็นนายตำรวจราชสำนักเวรครบ 3 ปีบริบูรณ์ (มาตรา 10)
3) เกียรติยศสำหรับนายตำรวจราชสำนัก
นายตำรวจราชสำนักทุกประเภท เมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้วอาจได้รับพระราชทานเข็มอักษรพระปรมาภิไธยย่อ ประกอบด้วยแพรแถบสีตามวันพระราชสมภพในรัชกาลนั้น ๆ เป็นเกียรติยศ (มาตรา 11)
4) ผู้รักษาการตามกฎหมาย
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 12)
บทสรุป
พระราชบัญญัตินายตำรวจราชสำนัก พ.ศ. 2495 เป็นกฎหมายที่ใช้สำหรับแต่งตั้งนายตำรวจราชสำนักทุกประเภาตามพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์และยังคงใช้บังคับมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งโดยปกติพระมหากษัตริย์จะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์และนายตำรวจราชองครักษ์ โดยอาศัยอำนาจตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560 พระราชบัญญัติราชองครักษ์พุทธศักราช 2480 และ พระราชบัญญัตินายตำรวจราชสำนัก พ.ศ. 2495 พร้อม ๆ กัน
บรรณานุกรม
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 69/ตอนที่ 62/หน้า 1226/ 7 ตุลาคม 2495. พระราชบัญญัตินายตำรวจราชสำนัก พ.ศ. 2495.