ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง : '''เอกวีร์ มีสุข | '''ผู้เรียบเรียง : '''เอกวีร์ มีสุข | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : '''รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : '''รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
| | ||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน'''</span> | ||
การทำความเข้าใจความหมายของระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนแบ่งการอธิบายออกเป็น 4 ส่วน คือ หนึ่ง การอธิบายนิยามทั่วไปของระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน และสอง การจำแนกระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน | การทำความเข้าใจความหมายของระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนแบ่งการอธิบายออกเป็น 4 ส่วน คือ หนึ่ง การอธิบายนิยามทั่วไปของระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน และสอง การจำแนกระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน ส่วนที่เหลือจะจำแนกและอธิบายรายละเอียดระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ หนึ่ง ระบบบัญชีรายชื่อ และสอง ระบบคะแนนเสียงโอนได้ | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''นิยามทั่วไปของระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน'''</span> = | = <span style="font-size:x-large;">'''นิยามทั่วไปของระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน'''</span> = | ||
ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional representation: PR) หรือระบบการเป็นตัวแทนแบบสัดส่วน (Proportional Representation Systems) หรือระบบการออกเสียงเป็นตัวแทนแบบสัดส่วน (Proportional Representation Voting Systems) หมายถึง การกำหนดสัดส่วนร้อยละของจำนวนที่นั่งในรัฐสภาที่พรรคการเมืองพึงได้ให้ได้สัดส่วนเทียบเท่ากับสัดส่วนของคะแนนเสียงของผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่ได้ (popular vote) ตัวอย่างเช่น หากพรรคการเมืองได้คะแนนเสียงคิดเป็น ร้อยละ 35 จากผู้ออกเสียงเลือกตั้ง พรรคการเมืองควรได้ที่นั่งในสภาควรได้เท่ากับหรือใกล้เคียงกับ ร้อยละ 35 ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด การจะคำนวณให้ได้ที่นั่งในระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจะมีสูตรการคำนวนทางคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้จำนวนที่ใกล้เคียงกับหลักการข้างต้นตามที่กฎหมายแต่ละประเทศกำหนด[[#_ftn1|[1]]] ทำให้เป็นระบบที่ออกแบบเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากอย่างง่าย (plurality system) เนื่องจากระบบดังกล่าวส่งผลให้จำนวนที่นั่งในรัฐสภาที่ได้ไม่ได้สัดส่วนกับคะแนนเสียงของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง[[#_ftn2|[2]]] ตัวอย่างเช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดาหนึ่งเขตหนึ่งคนของประเทศ ก. พรรคการเมืองเอดินได้ที่นั่งในสภามากที่สุด แต่เมื่อรวมคะแนนเสียงของผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่เลือกพรรคเอดินทั้งหมดคิดเป็นเพียง ร้อยละ 36 ซึ่งน้อยกว่าพรรคสโนว์บอลที่มีผู้ออกเสียงเลือกตั้งมากกว่าที่ ร้อยละ 40 แต่กลับได้จำนวนที่นั่งในสภาน้อยกว่า | ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional representation: PR) หรือระบบการเป็นตัวแทนแบบสัดส่วน (Proportional Representation Systems) หรือระบบการออกเสียงเป็นตัวแทนแบบสัดส่วน (Proportional Representation Voting Systems) หมายถึง การกำหนดสัดส่วนร้อยละของจำนวนที่นั่งในรัฐสภาที่พรรคการเมืองพึงได้ให้ได้สัดส่วนเทียบเท่ากับสัดส่วนของคะแนนเสียงของผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่ได้ (popular vote) ตัวอย่างเช่น หากพรรคการเมืองได้คะแนนเสียงคิดเป็น ร้อยละ 35 จากผู้ออกเสียงเลือกตั้ง พรรคการเมืองควรได้ที่นั่งในสภาควรได้เท่ากับหรือใกล้เคียงกับ ร้อยละ 35 ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด การจะคำนวณให้ได้ที่นั่งในระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจะมีสูตรการคำนวนทางคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้จำนวนที่ใกล้เคียงกับหลักการข้างต้นตามที่กฎหมายแต่ละประเทศกำหนด[[#_ftn1|[1]]] ทำให้เป็นระบบที่ออกแบบเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากอย่างง่าย (plurality system) เนื่องจากระบบดังกล่าวส่งผลให้จำนวนที่นั่งในรัฐสภาที่ได้ไม่ได้สัดส่วนกับคะแนนเสียงของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง[[#_ftn2|[2]]] ตัวอย่างเช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดาหนึ่งเขตหนึ่งคนของประเทศ ก. พรรคการเมืองเอดินได้ที่นั่งในสภามากที่สุด แต่เมื่อรวมคะแนนเสียงของผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่เลือกพรรคเอดินทั้งหมดคิดเป็นเพียง ร้อยละ 36 ซึ่งน้อยกว่าพรรคสโนว์บอลที่มีผู้ออกเสียงเลือกตั้งมากกว่าที่ ร้อยละ 40 แต่กลับได้จำนวนที่นั่งในสภาน้อยกว่า | ||
<p style="text-align: center;"> </p> <p style="text-align: center;">'''ตารางที่ 1 : '''การไม่ได้สัดส่วนของจำนวนที่นั่งในรัฐสภากับคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในประเทศ ก.</p> | <p style="text-align: center;"> </p> <p style="text-align: center;">'''ตารางที่ 1 :''' การไม่ได้สัดส่วนของจำนวนที่นั่งในรัฐสภากับคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในประเทศ ก.</p> | ||
{| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | {| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | ||
|- | |- | ||
บรรทัดที่ 30: | บรรทัดที่ 30: | ||
|- | |- | ||
| style="width: 114px;" | | | style="width: 114px;" | <p style="text-align: center;">พรรคเอดิน</p> | ||
พรรคเอดิน | |||
| style="width: 254px;" | <p style="text-align: center;">60 (60%)</p> | | style="width: 254px;" | <p style="text-align: center;">60 (60%)</p> | ||
| style="width:232px;" | <p style="text-align: center;">1.8 ล้านคน (36%)</p> | | style="width:232px;" | <p style="text-align: center;">1.8 ล้านคน (36%)</p> | ||
|- | |- | ||
| style="width: 114px;" | | | style="width: 114px;" | <p style="text-align: center;">พรรคสโนว์บอล</p> | ||
พรรคสโนว์บอล | |||
| style="width: 254px;" | <p style="text-align: center;">30 (30%)</p> | | style="width: 254px;" | <p style="text-align: center;">30 (30%)</p> | ||
| style="width:232px;" | <p style="text-align: center;">2.0 ล้านคน (40%)</p> | | style="width:232px;" | <p style="text-align: center;">2.0 ล้านคน (40%)</p> | ||
|- | |- | ||
| style="width: 114px;" | | | style="width: 114px;" | <p style="text-align: center;">พรรคไบร์ตัน</p> | ||
พรรคไบร์ตัน | |||
| style="width: 254px;" | <p style="text-align: center;">8 (8%)</p> | | style="width: 254px;" | <p style="text-align: center;">8 (8%)</p> | ||
| style="width:232px;" | <p style="text-align: center;">8 แสนคน (16%)</p> | | style="width:232px;" | <p style="text-align: center;">8 แสนคน (16%)</p> | ||
|- | |- | ||
| style="width: 114px;" | | | style="width: 114px;" | <p style="text-align: center;">พรรคอาซา</p> | ||
พรรคอาซา | |||
| style="width: 254px;" | <p style="text-align: center;">2 (2%)</p> | | style="width: 254px;" | <p style="text-align: center;">2 (2%)</p> | ||
| style="width:232px;" | <p style="text-align: center;">4 แสนคน (8%)</p> | | style="width:232px;" | <p style="text-align: center;">4 แสนคน (8%)</p> | ||
|} | |} | ||
<p style="text-align: center;">'''ที่มา : '''จำลองโดยผู้เขียน</p> | <p style="text-align: center;">'''ที่มา : '''จำลองโดยผู้เขียน</p> | ||
| | ||
บรรทัดที่ 60: | บรรทัดที่ 52: | ||
| | ||
<p style="text-align: center;">'''ตารางที่ 2 : '''คะแนนที่ '''“ไม่ถูกนับรวม”''' ในระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดาหนึ่งเขตหนึ่งคน</p> | <p style="text-align: center;">'''ตารางที่ 2 :''' คะแนนที่ '''“ไม่ถูกนับรวม”''' ในระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดาหนึ่งเขตหนึ่งคน</p> | ||
{| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" style="width: 50%;" width="100%" | {| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" style="width: 50%;" width="100%" | ||
|- | |- | ||
บรรทัดที่ 83: | บรรทัดที่ 75: | ||
| colspan="4" style="width:76.98%;height:5px;" | <p style="text-align: center;">พรรคโดราเอมอน พรรคไจแอนด์ พรรคเทเลทับบี้ (คะแนนร้อยละ 70)</p> | | colspan="4" style="width:76.98%;height:5px;" | <p style="text-align: center;">พรรคโดราเอมอน พรรคไจแอนด์ พรรคเทเลทับบี้ (คะแนนร้อยละ 70)</p> | ||
|} | |} | ||
<p style="text-align: center;">'''ที่มา : '''จำลองโดยผู้เขียน</p> | <p style="text-align: center;">'''ที่มา :''' จำลองโดยผู้เขียน</p> | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''การจำแนกระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน'''</span> = | = <span style="font-size:x-large;">'''การจำแนกระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน'''</span> = | ||
บรรทัดที่ 92: | บรรทัดที่ 82: | ||
สำหรับการจำแนกในที่นี้จะยกตัวอย่างเพียง 2 ระบบ คือ ระบบบัญชีรายชื่อ (Party list) และระบบคะแนนเสียงโอนได้ (Single transferable vote: STV)[[#_ftn7|[7]]] | สำหรับการจำแนกในที่นี้จะยกตัวอย่างเพียง 2 ระบบ คือ ระบบบัญชีรายชื่อ (Party list) และระบบคะแนนเสียงโอนได้ (Single transferable vote: STV)[[#_ftn7|[7]]] | ||
| == <span style="font-size:large;">1. ระบบบัญชีรายชื่อ (Party list)</span> == | ||
ระบบบัญชีรายชื่อ คือ ระบบที่พรรคการเมืองจะกำหนดรายชื่อของผู้สมัครโดยเรียงลำดับตามความสำคัญหรือเหตุผลทางการเมืองของผู้สมัครแต่ละคน[[#_ftn8|[8]]] ตัวอย่างเช่น สภาให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน พรรคการเมืองแต่ละพรรจะส่งผู้สมัครในบัญชีรายชื่อ พรรคละ 100 คน เป็นระบบที่ใช้ในทั้งประเทศประชาธิปไตยในทวีปยุโรปและประเทศประชาธิปไตยเกิดใหม่อย่างแอฟริกา[[#_ftn9|[9]]] ในการกำหนดเขตเลือกตั้งสำหรับระบบบัญชีรายชื่อ มีทั้งแบบที่ใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง อาทิ อิสราเอลและเนเธอร์แลนด์ และใช้เขตพื้นที่ของจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง อาทิ อาร์เจนตินาและโปรตุเกส[[#_ftn10|[10]]] ระบบัญชีรายชื่อแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ | ระบบบัญชีรายชื่อ คือ ระบบที่พรรคการเมืองจะกำหนดรายชื่อของผู้สมัครโดยเรียงลำดับตามความสำคัญหรือเหตุผลทางการเมืองของผู้สมัครแต่ละคน[[#_ftn8|[8]]] ตัวอย่างเช่น สภาให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน พรรคการเมืองแต่ละพรรจะส่งผู้สมัครในบัญชีรายชื่อ พรรคละ 100 คน เป็นระบบที่ใช้ในทั้งประเทศประชาธิปไตยในทวีปยุโรปและประเทศประชาธิปไตยเกิดใหม่อย่างแอฟริกา[[#_ftn9|[9]]] ในการกำหนดเขตเลือกตั้งสำหรับระบบบัญชีรายชื่อ มีทั้งแบบที่ใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง อาทิ อิสราเอลและเนเธอร์แลนด์ และใช้เขตพื้นที่ของจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง อาทิ อาร์เจนตินาและโปรตุเกส[[#_ftn10|[10]]] ระบบัญชีรายชื่อแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ | ||
| 1) <u>บัญชีรายชื่อแบบปิด (Closed list)</u> คือ รูปแบบที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกพรรคการเมืองเพียงครั้งเดียว พรรคการเมืองจะเป็นผู้กำหนดลำดับของผู้สมัครในบัญชีรายชื่อ ผู้ออกเสียงเลือกตั้งไม่สามารถเลือกผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อได้ โดยการนับคะแนนและการคำนวนที่นั่งในระบบนี้จะเริ่มจากรวมคะแนนที่พรรคการเมืองได้ แล้วเทียบเป็นสัดส่วนร้อยละของคะแนนเสียงเช้ากับร้อยละของจำนวนผู้แทนในสภาเพื่อหาจำนวนผู้แทนที่แต่ละพรรคพึงได้ เมื่อได้จำนวนแล้วแต่ละพรรคจะได้ลำดับรายชื่อผู้สมัครที่ได้เป็นผู้แทนไม่เกินจำนวนที่ได้[[#_ftn11|[11]]] ตัวอย่างเช่น พรรคโดราเอมอนได้คะแนนเสียง 500,000 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด เมื่อเทียบแล้วพรรคโดราเอมอนจะได้จำนวนที่นั่งคิดเป็น ร้อยละ 50 ของที่นั่งในสภา โดยได้ 50 ที่นั่งจาก 100 ที่นั่ง ผู้สมัครที่ได้เป็นผู้แทนจะอยู่ในลำดับที่ 1-50 ของบัญชีรายชื่อพรรคโดราเอมอน | ||
ประเทศไทยได้ใช้ระบบบัญชีรายชื่อแบบปิดในการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และใช้ต่อเนื่องในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2560 ในการเลือกตั้ง | ประเทศไทยได้ใช้ระบบบัญชีรายชื่อแบบปิดในการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และใช้ต่อเนื่องในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2560 ในการเลือกตั้ง | ||
| | ||
<p style="text-align: center;">'''รูปภาพที่ 1 : '''บัตรเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อแบบปิด (Closed list)</p> | <p style="text-align: center;">'''รูปภาพที่ 1 :''' บัตรเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อแบบปิด (Closed list)</p> | ||
{| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | {| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | ||
|- | |- | ||
บรรทัดที่ 155: | บรรทัดที่ 145: | ||
| style="width:119px;" | <p style="text-align: center;">นายทิงกี้-วิงกี้</p> | | style="width:119px;" | <p style="text-align: center;">นายทิงกี้-วิงกี้</p> | ||
|} | |} | ||
<p style="text-align: center;">'''ที่มา : '''จำลองโดยผู้เขียน</p> | <p style="text-align: center;">'''ที่มา :''' จำลองโดยผู้เขียน</p> | ||
| | ||
<p style="text-align: center;">'''ตารางที่ 4 : '''การคำนวนคะแนนผู้แทนในระบบบัญชีรายชื่อแบบปิด</p> | <p style="text-align: center;">'''ตารางที่ 4 :''' การคำนวนคะแนนผู้แทนในระบบบัญชีรายชื่อแบบปิด</p> | ||
{| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | {| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | ||
|- | |- | ||
บรรทัดที่ 176: | บรรทัดที่ 166: | ||
|- | |- | ||
| style="width:120px;" | | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">'''พรรคโดราเอมอน'''</p> | ||
'''พรรคโดราเอมอน''' | |||
| style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">500,000</p> | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">500,000</p> | ||
| style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">50%</p> | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">50%</p> | ||
บรรทัดที่ 184: | บรรทัดที่ 172: | ||
| style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">ลำดับ 1-50</p> | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">ลำดับ 1-50</p> | ||
|- | |- | ||
| style="width:120px;" | | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">'''พรรคไจแอนด์'''</p> | ||
'''พรรคไจแอนด์''' | |||
| style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">300,000</p> | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">300,000</p> | ||
| style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">30%</p> | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">30%</p> | ||
บรรทัดที่ 192: | บรรทัดที่ 178: | ||
| style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">ลำดับ 1-30</p> | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">ลำดับ 1-30</p> | ||
|- | |- | ||
| style="width:120px;" | | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">'''พรรคอเวนเจอร์'''</p> | ||
'''พรรคอเวนเจอร์''' | |||
| style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">100,000</p> | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">100,000</p> | ||
| style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">10%</p> | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">10%</p> | ||
บรรทัดที่ 200: | บรรทัดที่ 184: | ||
| style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">ลำดับ 1-10</p> | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">ลำดับ 1-10</p> | ||
|- | |- | ||
| style="width:120px;" | | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">'''พรรคเทเลทับบี้'''</p> | ||
'''พรรคเทเลทับบี้''' | |||
| style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">100,000</p> | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">100,000</p> | ||
| style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">10%</p> | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">10%</p> | ||
บรรทัดที่ 208: | บรรทัดที่ 190: | ||
| style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">ลำดับ 1-10</p> | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">ลำดับ 1-10</p> | ||
|} | |} | ||
<p style="text-align: center;">'''ที่มา : '''จำลองโดยผู้เขียน</p> | <p style="text-align: center;">'''ที่มา :''' จำลองโดยผู้เขียน</p> | ||
| | ||
2) <u>บัญชีรายชื่อแบบเปิด (Open list)</u> คือ รูปแบบที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกพรรคการเมืองและเลือกรายชื่อที่พรรคการเมืองกำหนดในบัญชีรายชื่อ หรือเลือก '''“ได้ทั้งพรรคได้ทั้งคน”''' เพื่อให้ผู้ออกเสียงเลือกตั้งสามารถเลือกคนที่ตนชื่นชอบในบัญชีรายชื่อได้ ผู้แทนที่ได้รับเลือกในระบบนี้จึงสอดรับกับความต้องการของผู้ออกเสียงเลือกตั้งทั้งในแง่ของพรรคการเมืองและบุคคล[[#_ftn12|[12]]] โดยการนับคะแนนและการคำนวนที่นั่งในระบบนี้จะเริ่มจากรวมคะแนนที่พรรคการเมืองได้ แล้วเทียบเป็นสัดส่วนร้อยละของคะแนนเสียงเช้ากับร้อยละของจำนวนผู้แทนในสภา เพื่อหาจำนวนผู้แทนที่แต่ละพรรคพึงได้เมื่อได้จำนวนแล้วจะเรียงคะแนนของผู้สมัครของพรรคที่ได้คะแนนสูงสุดตามลำดับจนครบจำนวนที่พึงได้ ตัวอย่างเช่น พรรคไจแอนด์ได้คะแนนเสียง 300,000 คะแนนคิดเป็น ร้อยละ 30 ของจำนวนผู้ออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด เมื่อเทียบแล้วพรรคโดราเอมอนจะได้จำนวนที่นั่งคิดเป็น ร้อยละ 30 ของที่นั่งในสภา โดยได้ 30 ที่นั่งจาก 100 ที่นั่ง ผู้สมัครที่ได้เป็นผู้แทนจะได้เรียงตามผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุด ลำดับที่ 1-30 ที่ผู้ออกเสียงเลือกตั้งเลือกในบัญชีรายชื่อพรรคโดราเอมอน | |||
| | ||
<p style="text-align: center;">'''รูปภาพที่ 2 :''' บัตรเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิด (Open list)</p> | |||
'''รูปภาพที่ ''' | {| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | ||
{| border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | |||
|- | |- | ||
| colspan="4" style="width:601px;" | | | colspan="4" style="width: 601px; text-align: center;" | | ||
'''บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ''' | '''บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ''' | ||
'''ให้ทำเครื่องหมาย | '''ให้ทำเครื่องหมาย X เลือกผู้สมัครเพียงหนึ่งคน''' | ||
|- | |- | ||
| style="width:150px;" | | | style="width:150px;" | <p style="text-align: center;">'''พรรคโดราเอมอน'''</p> | ||
'''พรรคโดราเอมอน''' | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">'''พรรคไจแอนด์'''</p> | ||
| style="width:170px;" | <p style="text-align: center;">'''พรรคอเวนเจอร์'''</p> | |||
| style="width:161px;" | | | style="width:119px;" | <p style="text-align: center;">'''พรรคเทเลทับบี้'''</p> | ||
'''พรรคไจแอนด์''' | |||
| style="width:170px;" | | |||
'''พรรคอเวนเจอร์''' | |||
| style="width:119px;" | | |||
'''พรรคเทเลทับบี้''' | |||
|- | |- | ||
| style="width:150px;" | | | style="width:150px;" | | ||
บรรทัดที่ 277: | บรรทัดที่ 249: | ||
|} | |} | ||
<p style="text-align: center;">'''ที่มา : '''จำลองโดยผู้เขียน</p> | |||
'''ที่มา: | |||
| | ||
<p style="text-align: center;">'''ตารางที่ 5 :''' การคำนวนคะแนนผู้แทนในระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิด</p> | |||
'''ตารางที่ | {| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | ||
{| border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | |||
|- | |- | ||
| style="width:120px;" | | | style="width: 120px; text-align: center;" | | ||
| | ||
| style="width:120px;" | | | style="width: 120px; text-align: center;" | | ||
'''คะแนนเสียงที่พรรคการเมืองได้''' | '''คะแนนเสียงที่พรรคการเมืองได้ (รวม 1 ล้านคะแนน)''' | ||
| style="width: 120px; text-align: center;" | | |||
| style="width:120px;" | | |||
'''ร้อยละของคะแนนเสียงต่อจำนวนผู้ออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด''' | '''ร้อยละของคะแนนเสียงต่อจำนวนผู้ออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด''' | ||
| style="width:120px;" | | | style="width: 120px; text-align: center;" | | ||
'''จำนวนผู้แทนที่ได้ตามสัดส่วนที่นั่งในสภา''' | '''จำนวนผู้แทนที่ได้ตามสัดส่วนที่นั่งในสภา (100 ที่นั่ง)''' | ||
| style="width: 120px; text-align: center;" | | |||
| style="width:120px;" | | |||
'''ลำดับคะแนนผู้สมัครที่ได้เป็นผู้แทน''' | '''ลำดับคะแนนผู้สมัครที่ได้เป็นผู้แทน''' | ||
บรรทัดที่ 308: | บรรทัดที่ 272: | ||
|- | |- | ||
| style="width:120px;" | | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">'''พรรคโดราเอมอน'''</p> | ||
'''พรรคโดราเอมอน''' | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">350,000</p> | ||
| style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">35%</p> | |||
| style="width:120px;" | | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">35</p> | ||
350,000 | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">ลำดับ 1-35</p> | ||
| style="width:120px;" | | |||
35% | |||
| style="width:120px;" | | |||
35 | |||
| style="width:120px;" | | |||
ลำดับ 1-35 | |||
|- | |- | ||
| style="width:120px;" | | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">'''พรรคไจแอนด์'''</p> | ||
'''พรรคไจแอนด์''' | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">300,000</p> | ||
| style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">30%</p> | |||
| style="width:120px;" | | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">30</p> | ||
300,000 | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">ลำดับ 1-30</p> | ||
| style="width:120px;" | | |||
30% | |||
| style="width:120px;" | | |||
30 | |||
| style="width:120px;" | | |||
ลำดับ 1-30 | |||
|- | |- | ||
| style="width:120px;" | | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">'''พรรคอเวนเจอร์'''</p> | ||
'''พรรคอเวนเจอร์''' | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">200,000</p> | ||
| style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">20%</p> | |||
| style="width:120px;" | | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">20</p> | ||
200,000 | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">ลำดับ 1-20</p> | ||
| style="width:120px;" | | |||
20% | |||
| style="width:120px;" | | |||
20 | |||
| style="width:120px;" | | |||
ลำดับ 1-20 | |||
|- | |- | ||
| style="width:120px;" | | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">'''พรรคเทเลทับบี้'''</p> | ||
'''พรรคเทเลทับบี้''' | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">150,000</p> | ||
| style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">15%</p> | |||
| style="width:120px;" | | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">15</p> | ||
150,000 | | style="width:120px;" | <p style="text-align: center;">ลำดับ 1-15</p> | ||
| style="width:120px;" | | |||
15% | |||
| style="width:120px;" | | |||
15 | |||
| style="width:120px;" | | |||
ลำดับ 1-15 | |||
|} | |} | ||
<p style="text-align: center;">'''ที่มา :''' จำลองโดยผู้เขียน</p> | |||
'''ที่มา: | |||
| | ||
ข้อดีของระบบบัญชีรายชื่อเป็นระบบที่สามารถแปรคะแนนเสียงเป็นที่นั่งในสภาได้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง ส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งของพรรคการเมืองในการนำเสนอนโยบายและอุดมการณ์ของพรรคการเมือง ทำให้ได้ผู้แทนที่ไม่ได้ยึดติดเฉพาะพื้นที่ในเขตเลือกตั้งขนาดเล็กแต่เป็นผู้แทนที่สะท้อนความต้องการภาพรวมของประเทศ และป้องกันการเกิดคะแนนทิ้งเปล่าเพราะคะแนนเสียงของผู้ออกเสียงเลือกตั้งจะถูกนับเป็นส่วนหนึ่งในการแปลงเป็นผู้แทน ส่วนข้อเสียของระบบนี้ คิอ อาจก่อให้เกิดความยุ่งยากในการลงคะแนนต่อผู้ออกเสียงเลือกตั้ง เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองที่มีแนวคิดสุดโต่งและพรรคการเมืองขนาดเล็กสามารถได้คะแนนเสียงและที่นั่งในสภาได้[[#_ftn13|[13]]] | ข้อดีของระบบบัญชีรายชื่อเป็นระบบที่สามารถแปรคะแนนเสียงเป็นที่นั่งในสภาได้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง ส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งของพรรคการเมืองในการนำเสนอนโยบายและอุดมการณ์ของพรรคการเมือง ทำให้ได้ผู้แทนที่ไม่ได้ยึดติดเฉพาะพื้นที่ในเขตเลือกตั้งขนาดเล็กแต่เป็นผู้แทนที่สะท้อนความต้องการภาพรวมของประเทศ และป้องกันการเกิดคะแนนทิ้งเปล่าเพราะคะแนนเสียงของผู้ออกเสียงเลือกตั้งจะถูกนับเป็นส่วนหนึ่งในการแปลงเป็นผู้แทน ส่วนข้อเสียของระบบนี้ คิอ อาจก่อให้เกิดความยุ่งยากในการลงคะแนนต่อผู้ออกเสียงเลือกตั้ง เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองที่มีแนวคิดสุดโต่งและพรรคการเมืองขนาดเล็กสามารถได้คะแนนเสียงและที่นั่งในสภาได้[[#_ftn13|[13]]] | ||
== <span style="font-size:large;">2. ระบบคะแนนเสียงโอนได้</span> == | |||
ระบบคะแนนเสียงโอนได้ (Single transferable vote: STV) หรือ หรือระบบเลือกตัวเลือก (Choice Voting) | ระบบคะแนนเสียงโอนได้ (Single transferable vote: STV) หรือ หรือระบบเลือกตัวเลือก (Choice Voting) หรือ ระบบฮาร์-คล๊าก (Hare-Clark system) เป็นระบบที่ใช้ในการเลือกสมาชิกรัฐสภาของประเทศไอร์แลนด์และมอลตา การเลือกตั้งวุฒิสภาของประเทศออสเตรเลีย และการเลือกผู้แทนในระดับท้องถิ่นของเมืองต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น[[#_ftn14|[14]]] | ||
ระบบคะแนนเสียงเดียวโอนได้ เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับความชอบ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ออกเสียงเลือกตั้งเรียงลำดับความชอบผู้สมัครในการเลือกตั้งเขตเดียวหลายเบอร์ เมื่อมีการนับคะแนนจะใช้สูตรการคำนวณโควตา โดยผู้สมัครที่ได้รับคะแนนตามอันดับความชอบแรกมากกว่าโควตาที่ระบุจะได้รับเลือกตั้งทันที ถ้าหากการนับคะแนนในรอบแรกยังไม่ได้ผู้ชนะ จึงจะเริ่มการนับครั้งต่อๆ ไป โดยคะแนนเสียงของผู้สมัครที่มีคะแนนน้อยสุดจะถูกตัดออกและโอนคะแนนไปกระจายใหม่ให้ผู้สมัครที่เหลือ จนกระทั่งมีผู้สมัครได้รับเลือกตั้งในจำนวนตามที่กำหนด ผู้ลงคะแนนโดยปกติจะลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครมากกว่าพรรคการเมือง[[#_ftn15|[15]]] | ระบบคะแนนเสียงเดียวโอนได้ เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับความชอบ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ออกเสียงเลือกตั้งเรียงลำดับความชอบผู้สมัครในการเลือกตั้งเขตเดียวหลายเบอร์ เมื่อมีการนับคะแนนจะใช้สูตรการคำนวณโควตา โดยผู้สมัครที่ได้รับคะแนนตามอันดับความชอบแรกมากกว่าโควตาที่ระบุจะได้รับเลือกตั้งทันที ถ้าหากการนับคะแนนในรอบแรกยังไม่ได้ผู้ชนะ จึงจะเริ่มการนับครั้งต่อๆ ไป โดยคะแนนเสียงของผู้สมัครที่มีคะแนนน้อยสุดจะถูกตัดออกและโอนคะแนนไปกระจายใหม่ให้ผู้สมัครที่เหลือ จนกระทั่งมีผู้สมัครได้รับเลือกตั้งในจำนวนตามที่กำหนด ผู้ลงคะแนนโดยปกติจะลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครมากกว่าพรรคการเมือง[[#_ftn15|[15]]] | ||
| | ||
[[File:1634544322252.jpg|RTENOTITLE | [[File:1634544322252.jpg|center|RTENOTITLE]] | ||
| ระบบนี้มีข้อดีที่สามารถเปิดโอกาสให้ผู้ออกเสียงเลือกตั้งได้เลือกทั้งคนและพรรคโดยยังสามารถคำนวนคะแนนแบบสัดส่วนได้ สามารถเพิ่มแรงจูงใจให้คนออกมาใช้สิทธิเพราะคะแนนเสียงของตนไม่ถูกทิ้งน้ำ แต่เป็นระบบที่มีข้อเสีย คือ ยากต่อการทำความเข้าใจและไม่เป็นที่คุ้นเคยมากนัก และมีความซับซ้อนในการนับคะแนน[[#_ftn16|[16]]] | ||
'''บรรณานุกรม''' | = <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> = | ||
Fairvote. "Plurality-Majority Systems." Last modified Accessed 14 July, 2021. [https://www.fairvote.org/plurality_majority_systems https://www.fairvote.org/plurality_majority_systems]. | Fairvote. "Plurality-Majority Systems." Last modified Accessed 14 July, 2021. [https://www.fairvote.org/plurality_majority_systems https://www.fairvote.org/plurality_majority_systems]. | ||
บรรทัดที่ 409: | บรรทัดที่ 327: | ||
อรรถสิทธิ์ พานแก้ว. "พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง." ใน การเมือง อำนาจ ความรู้: หลักรัฐศาสตร์เบื้องต้นสำนักธรรมศาสตร์, ประจักษ์ ก้องกีรติ (บรรณาธิการ), 273-306. กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์, 2564. | อรรถสิทธิ์ พานแก้ว. "พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง." ใน การเมือง อำนาจ ความรู้: หลักรัฐศาสตร์เบื้องต้นสำนักธรรมศาสตร์, ประจักษ์ ก้องกีรติ (บรรณาธิการ), 273-306. กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์, 2564. | ||
= '''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>''' = | |||
< | <div> | ||
<div | |||
[[#_ftnref1|[1]]] Joseph L. Klesner, ''Comparative Politica: A Introduction'' (New York: McGraw-Hill, 2014), 127. | [[#_ftnref1|[1]]] Joseph L. Klesner, ''Comparative Politica: A Introduction'' (New York: McGraw-Hill, 2014), 127. | ||
<div id="ftn2"> | |||
[[#_ftnref2|[2]]] อรรถสิทธิ์ พานแก้ว, "พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง," ใน การเมือง อำนาจ ความรู้: หลักรัฐศาสตร์เบื้องต้นสำนักธรรมศาสตร์, ประจักษ์ ก้องกีรติ (บรรณาธิการ) (กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์, 2564), 296. | [[#_ftnref2|[2]]] อรรถสิทธิ์ พานแก้ว, "พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง," ใน การเมือง อำนาจ ความรู้: หลักรัฐศาสตร์เบื้องต้นสำนักธรรมศาสตร์, ประจักษ์ ก้องกีรติ (บรรณาธิการ) (กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์, 2564), 296. | ||
</div> <div id="ftn3"> | </div> <div id="ftn3"> | ||
บรรทัดที่ 444: | บรรทัดที่ 360: | ||
</div> <div id="ftn16"> | </div> <div id="ftn16"> | ||
[[#_ftnref16|[16]]] Ibid., 76-77. | [[#_ftnref16|[16]]] Ibid., 76-77. | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:พรรคการเมือง]][[Category:พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]][[Category:ว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:49, 7 มีนาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : เอกวีร์ มีสุข
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน
การทำความเข้าใจความหมายของระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนแบ่งการอธิบายออกเป็น 4 ส่วน คือ หนึ่ง การอธิบายนิยามทั่วไปของระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน และสอง การจำแนกระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน ส่วนที่เหลือจะจำแนกและอธิบายรายละเอียดระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนประเภทต่าง ๆ ที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ หนึ่ง ระบบบัญชีรายชื่อ และสอง ระบบคะแนนเสียงโอนได้
นิยามทั่วไปของระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน
ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional representation: PR) หรือระบบการเป็นตัวแทนแบบสัดส่วน (Proportional Representation Systems) หรือระบบการออกเสียงเป็นตัวแทนแบบสัดส่วน (Proportional Representation Voting Systems) หมายถึง การกำหนดสัดส่วนร้อยละของจำนวนที่นั่งในรัฐสภาที่พรรคการเมืองพึงได้ให้ได้สัดส่วนเทียบเท่ากับสัดส่วนของคะแนนเสียงของผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่ได้ (popular vote) ตัวอย่างเช่น หากพรรคการเมืองได้คะแนนเสียงคิดเป็น ร้อยละ 35 จากผู้ออกเสียงเลือกตั้ง พรรคการเมืองควรได้ที่นั่งในสภาควรได้เท่ากับหรือใกล้เคียงกับ ร้อยละ 35 ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด การจะคำนวณให้ได้ที่นั่งในระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจะมีสูตรการคำนวนทางคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้จำนวนที่ใกล้เคียงกับหลักการข้างต้นตามที่กฎหมายแต่ละประเทศกำหนด[1] ทำให้เป็นระบบที่ออกแบบเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากอย่างง่าย (plurality system) เนื่องจากระบบดังกล่าวส่งผลให้จำนวนที่นั่งในรัฐสภาที่ได้ไม่ได้สัดส่วนกับคะแนนเสียงของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง[2] ตัวอย่างเช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดาหนึ่งเขตหนึ่งคนของประเทศ ก. พรรคการเมืองเอดินได้ที่นั่งในสภามากที่สุด แต่เมื่อรวมคะแนนเสียงของผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่เลือกพรรคเอดินทั้งหมดคิดเป็นเพียง ร้อยละ 36 ซึ่งน้อยกว่าพรรคสโนว์บอลที่มีผู้ออกเสียงเลือกตั้งมากกว่าที่ ร้อยละ 40 แต่กลับได้จำนวนที่นั่งในสภาน้อยกว่า
ตารางที่ 1 : การไม่ได้สัดส่วนของจำนวนที่นั่งในรัฐสภากับคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในประเทศ ก.
พรรคการเมือง |
จำนวน/ร้อยละ ที่นั่งในรัฐสภา (100 ที่นั่ง) |
จำนวน/ร้อยละ ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (5 ล้านคน) |
พรรคเอดิน |
60 (60%) |
1.8 ล้านคน (36%) |
พรรคสโนว์บอล |
30 (30%) |
2.0 ล้านคน (40%) |
พรรคไบร์ตัน |
8 (8%) |
8 แสนคน (16%) |
พรรคอาซา |
2 (2%) |
4 แสนคน (8%) |
ที่มา : จำลองโดยผู้เขียน
นอกจากนี้ เป็นระบบที่พยายามป้องกันไม่ให้เกิดกรณีผู้ชนะกินรวบ (winners take all) และป้องกันมิให้เกิดคะแนนเสียงที่เหลือที่ไม่ถูกนำมาใช้หรือ “คะแนนทิ้งน้ำ” เพราะการเลือกตั้งสมาชิกสภาในระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดาหนึ่ง ผู้ชนะการเลือกตั้งคือผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด ทำให้คะแนนเสียงของผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่เลือกผู้แพ้ไม่ได้นำมาคิดเป็นส่วนหนึ่งในการหาผู้แทน คะแนนเสียงจึง “ไม่ถูกนับรวม” ทำให้ไม่สะท้อนความต้องการของคนเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น ในเขตเลือกตั้งแอสการ์ดผู้แทนจากพรรคอเวนเจอร์ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงเพียง ร้อยละ 30 แต่พรรคที่เหลือซึ่งได้คะแนนเสียงรวมกันกว่า ร้อยละ 70 ไม่ได้ถูกมานับรวมเป็นส่วนหนึ่งในการเลือกผู้แทนตามตารางที่ 2
ตารางที่ 2 : คะแนนที่ “ไม่ถูกนับรวม” ในระบบเขตเสียงข้างมากธรรมดาหนึ่งเขตหนึ่งคน
เขตเลือกตั้ง |
พรรค โดราเอมอน |
พรรค ไจแอนด์ |
พรรค อเวนเจอร์ |
พรรค เทเลทับบี้ |
เขตแอสการ์ด |
25 |
25 |
30 |
20 |
ผู้ชนะ |
พรรคอเวนเจอร์ (คะแนนร้อยละ 30) | |||
ผู้แพ้ |
พรรคโดราเอมอน พรรคไจแอนด์ พรรคเทเลทับบี้ (คะแนนร้อยละ 70) |
ที่มา : จำลองโดยผู้เขียน
การจำแนกระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วน
ในการจำแนกประเภทของการจำแนกระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนมีนักวิชาการได้จำแนกและให้รายละเอียดไว้แตกต่างกัน เช่น สิริพรรณ นกสวน สวัสดี (2561) ได้จำแนกโดยเรียกว่าระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนหรือระบบบัญชีรายชื่อ (Proportional representation: PR / Party List System) แบ่งออกเป็นสามประเภท[3] ขณะที่อรรถสิทธิ พานแก้ว (2564) ได้จำแนกโดยเรียกชื่อว่าระบบสัดส่วน (proportional representative system) แบ่งออกเป็นสองประเภท[4] ส่วนงานของ International IDEA (2005) เรียกว่าระบบการเป็นตัวแทนแบบสัดส่วน (Proportional Representation Systems) แบ่งออกเป็นสองประเภท[5] ส่วนของ FairVote (2021) เรียกว่าระบบการออกเสียงเป็นตัวแทนแบบสัดส่วน (Proportional Representation Voting Systems) แบ่งเป็นสามประเภท[6]
สำหรับการจำแนกในที่นี้จะยกตัวอย่างเพียง 2 ระบบ คือ ระบบบัญชีรายชื่อ (Party list) และระบบคะแนนเสียงโอนได้ (Single transferable vote: STV)[7]
1. ระบบบัญชีรายชื่อ (Party list)
ระบบบัญชีรายชื่อ คือ ระบบที่พรรคการเมืองจะกำหนดรายชื่อของผู้สมัครโดยเรียงลำดับตามความสำคัญหรือเหตุผลทางการเมืองของผู้สมัครแต่ละคน[8] ตัวอย่างเช่น สภาให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน พรรคการเมืองแต่ละพรรจะส่งผู้สมัครในบัญชีรายชื่อ พรรคละ 100 คน เป็นระบบที่ใช้ในทั้งประเทศประชาธิปไตยในทวีปยุโรปและประเทศประชาธิปไตยเกิดใหม่อย่างแอฟริกา[9] ในการกำหนดเขตเลือกตั้งสำหรับระบบบัญชีรายชื่อ มีทั้งแบบที่ใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง อาทิ อิสราเอลและเนเธอร์แลนด์ และใช้เขตพื้นที่ของจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง อาทิ อาร์เจนตินาและโปรตุเกส[10] ระบบัญชีรายชื่อแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) บัญชีรายชื่อแบบปิด (Closed list) คือ รูปแบบที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกพรรคการเมืองเพียงครั้งเดียว พรรคการเมืองจะเป็นผู้กำหนดลำดับของผู้สมัครในบัญชีรายชื่อ ผู้ออกเสียงเลือกตั้งไม่สามารถเลือกผู้สมัครในระบบบัญชีรายชื่อได้ โดยการนับคะแนนและการคำนวนที่นั่งในระบบนี้จะเริ่มจากรวมคะแนนที่พรรคการเมืองได้ แล้วเทียบเป็นสัดส่วนร้อยละของคะแนนเสียงเช้ากับร้อยละของจำนวนผู้แทนในสภาเพื่อหาจำนวนผู้แทนที่แต่ละพรรคพึงได้ เมื่อได้จำนวนแล้วแต่ละพรรคจะได้ลำดับรายชื่อผู้สมัครที่ได้เป็นผู้แทนไม่เกินจำนวนที่ได้[11] ตัวอย่างเช่น พรรคโดราเอมอนได้คะแนนเสียง 500,000 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด เมื่อเทียบแล้วพรรคโดราเอมอนจะได้จำนวนที่นั่งคิดเป็น ร้อยละ 50 ของที่นั่งในสภา โดยได้ 50 ที่นั่งจาก 100 ที่นั่ง ผู้สมัครที่ได้เป็นผู้แทนจะอยู่ในลำดับที่ 1-50 ของบัญชีรายชื่อพรรคโดราเอมอน
ประเทศไทยได้ใช้ระบบบัญชีรายชื่อแบบปิดในการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และใช้ต่อเนื่องในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2560 ในการเลือกตั้ง
รูปภาพที่ 1 : บัตรเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อแบบปิด (Closed list)
บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ให้ทำเครื่องหมาย X เลือกพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว | |||||||
พรรคโดราเอมอน |
พรรคไจแอนด์ |
พรรคอเวนเจอร์ |
พรรคเทเลทับบี้ | ||||
|
|
|
| ||||
นายโดราเอม่อน |
นายโกดะ ทาเคชิ |
นายสตีฟ โรเจอร์ |
นางสาวลาล่า | ||||
นายโนบิ โนบิตะ |
นายโฮเนกาว่า ซึเนโอะ |
นางสาวนาตาชา โรมานอฟ |
นายโพ | ||||
นางสาวมินาโมโตะ ชิซึกะ |
นางสาวโกดะ ไจโกะ |
นายคลินต์ บาร์ตัน |
นายทิงกี้-วิงกี้ |
ที่มา : จำลองโดยผู้เขียน
ตารางที่ 4 : การคำนวนคะแนนผู้แทนในระบบบัญชีรายชื่อแบบปิด
|
คะแนนเสียงที่พรรคการเมืองได้ (รวม 1 ล้านคะแนน) |
ร้อยละของคะแนนเสียงต่อจำนวนผู้ออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด |
จำนวนผู้แทนที่ได้ตามสัดส่วนที่นั่งในสภา (100 ที่นั่ง) |
ลำดับผู้สมัครที่ได้เป็นผู้แทน |
พรรคโดราเอมอน |
500,000 |
50% |
50 |
ลำดับ 1-50 |
พรรคไจแอนด์ |
300,000 |
30% |
30 |
ลำดับ 1-30 |
พรรคอเวนเจอร์ |
100,000 |
10% |
10 |
ลำดับ 1-10 |
พรรคเทเลทับบี้ |
100,000 |
10% |
10 |
ลำดับ 1-10 |
ที่มา : จำลองโดยผู้เขียน
2) บัญชีรายชื่อแบบเปิด (Open list) คือ รูปแบบที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกพรรคการเมืองและเลือกรายชื่อที่พรรคการเมืองกำหนดในบัญชีรายชื่อ หรือเลือก “ได้ทั้งพรรคได้ทั้งคน” เพื่อให้ผู้ออกเสียงเลือกตั้งสามารถเลือกคนที่ตนชื่นชอบในบัญชีรายชื่อได้ ผู้แทนที่ได้รับเลือกในระบบนี้จึงสอดรับกับความต้องการของผู้ออกเสียงเลือกตั้งทั้งในแง่ของพรรคการเมืองและบุคคล[12] โดยการนับคะแนนและการคำนวนที่นั่งในระบบนี้จะเริ่มจากรวมคะแนนที่พรรคการเมืองได้ แล้วเทียบเป็นสัดส่วนร้อยละของคะแนนเสียงเช้ากับร้อยละของจำนวนผู้แทนในสภา เพื่อหาจำนวนผู้แทนที่แต่ละพรรคพึงได้เมื่อได้จำนวนแล้วจะเรียงคะแนนของผู้สมัครของพรรคที่ได้คะแนนสูงสุดตามลำดับจนครบจำนวนที่พึงได้ ตัวอย่างเช่น พรรคไจแอนด์ได้คะแนนเสียง 300,000 คะแนนคิดเป็น ร้อยละ 30 ของจำนวนผู้ออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด เมื่อเทียบแล้วพรรคโดราเอมอนจะได้จำนวนที่นั่งคิดเป็น ร้อยละ 30 ของที่นั่งในสภา โดยได้ 30 ที่นั่งจาก 100 ที่นั่ง ผู้สมัครที่ได้เป็นผู้แทนจะได้เรียงตามผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุด ลำดับที่ 1-30 ที่ผู้ออกเสียงเลือกตั้งเลือกในบัญชีรายชื่อพรรคโดราเอมอน
รูปภาพที่ 2 : บัตรเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิด (Open list)
บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ให้ทำเครื่องหมาย X เลือกผู้สมัครเพียงหนึ่งคน | |||
พรรคโดราเอมอน |
พรรคไจแอนด์ |
พรรคอเวนเจอร์ |
พรรคเทเลทับบี้ |
☐ นายโดราเอม่อน |
☐ นายโกดะ ทาเคชิ |
☐ นายสตีฟ โรเจอร์ |
☐ นางสาวลาล่า |
☐ นายโนบิ โนบิตะ |
☐ นายโฮเนกาว่า ซึเนโอะ |
☒ นางสาวนาตาชา โรมานอฟ |
☐ นายโพ |
☐ นางสาวมินาโมโตะ ชิซึกะ |
☐ นางสาวโกดะ ไจโกะ |
☐ นายคลินต์ บาร์ตัน |
☐ นายทิงกี้-วิงกี้ |
ที่มา : จำลองโดยผู้เขียน
ตารางที่ 5 : การคำนวนคะแนนผู้แทนในระบบบัญชีรายชื่อแบบเปิด
|
คะแนนเสียงที่พรรคการเมืองได้ (รวม 1 ล้านคะแนน) |
ร้อยละของคะแนนเสียงต่อจำนวนผู้ออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด |
จำนวนผู้แทนที่ได้ตามสัดส่วนที่นั่งในสภา (100 ที่นั่ง) |
ลำดับคะแนนผู้สมัครที่ได้เป็นผู้แทน
|
พรรคโดราเอมอน |
350,000 |
35% |
35 |
ลำดับ 1-35 |
พรรคไจแอนด์ |
300,000 |
30% |
30 |
ลำดับ 1-30 |
พรรคอเวนเจอร์ |
200,000 |
20% |
20 |
ลำดับ 1-20 |
พรรคเทเลทับบี้ |
150,000 |
15% |
15 |
ลำดับ 1-15 |
ที่มา : จำลองโดยผู้เขียน
ข้อดีของระบบบัญชีรายชื่อเป็นระบบที่สามารถแปรคะแนนเสียงเป็นที่นั่งในสภาได้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง ส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งของพรรคการเมืองในการนำเสนอนโยบายและอุดมการณ์ของพรรคการเมือง ทำให้ได้ผู้แทนที่ไม่ได้ยึดติดเฉพาะพื้นที่ในเขตเลือกตั้งขนาดเล็กแต่เป็นผู้แทนที่สะท้อนความต้องการภาพรวมของประเทศ และป้องกันการเกิดคะแนนทิ้งเปล่าเพราะคะแนนเสียงของผู้ออกเสียงเลือกตั้งจะถูกนับเป็นส่วนหนึ่งในการแปลงเป็นผู้แทน ส่วนข้อเสียของระบบนี้ คิอ อาจก่อให้เกิดความยุ่งยากในการลงคะแนนต่อผู้ออกเสียงเลือกตั้ง เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองที่มีแนวคิดสุดโต่งและพรรคการเมืองขนาดเล็กสามารถได้คะแนนเสียงและที่นั่งในสภาได้[13]
2. ระบบคะแนนเสียงโอนได้
ระบบคะแนนเสียงโอนได้ (Single transferable vote: STV) หรือ หรือระบบเลือกตัวเลือก (Choice Voting) หรือ ระบบฮาร์-คล๊าก (Hare-Clark system) เป็นระบบที่ใช้ในการเลือกสมาชิกรัฐสภาของประเทศไอร์แลนด์และมอลตา การเลือกตั้งวุฒิสภาของประเทศออสเตรเลีย และการเลือกผู้แทนในระดับท้องถิ่นของเมืองต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น[14]
ระบบคะแนนเสียงเดียวโอนได้ เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับความชอบ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ออกเสียงเลือกตั้งเรียงลำดับความชอบผู้สมัครในการเลือกตั้งเขตเดียวหลายเบอร์ เมื่อมีการนับคะแนนจะใช้สูตรการคำนวณโควตา โดยผู้สมัครที่ได้รับคะแนนตามอันดับความชอบแรกมากกว่าโควตาที่ระบุจะได้รับเลือกตั้งทันที ถ้าหากการนับคะแนนในรอบแรกยังไม่ได้ผู้ชนะ จึงจะเริ่มการนับครั้งต่อๆ ไป โดยคะแนนเสียงของผู้สมัครที่มีคะแนนน้อยสุดจะถูกตัดออกและโอนคะแนนไปกระจายใหม่ให้ผู้สมัครที่เหลือ จนกระทั่งมีผู้สมัครได้รับเลือกตั้งในจำนวนตามที่กำหนด ผู้ลงคะแนนโดยปกติจะลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครมากกว่าพรรคการเมือง[15]

ระบบนี้มีข้อดีที่สามารถเปิดโอกาสให้ผู้ออกเสียงเลือกตั้งได้เลือกทั้งคนและพรรคโดยยังสามารถคำนวนคะแนนแบบสัดส่วนได้ สามารถเพิ่มแรงจูงใจให้คนออกมาใช้สิทธิเพราะคะแนนเสียงของตนไม่ถูกทิ้งน้ำ แต่เป็นระบบที่มีข้อเสีย คือ ยากต่อการทำความเข้าใจและไม่เป็นที่คุ้นเคยมากนัก และมีความซับซ้อนในการนับคะแนน[16]
บรรณานุกรม
Fairvote. "Plurality-Majority Systems." Last modified Accessed 14 July, 2021. https://www.fairvote.org/plurality_majority_systems.
Klesner, Joseph L. Comparative Politica: A Introduction. New York: McGraw-Hill, 2014.
Reynolds, Andrew, Ben Reilly, and Andrew Ellis. Electoral System Design: The New International Idea Handbook. Stockholm: International IDEA, 2005.
เรย์โนลด์ส, แอนดรูว์, เบน ไรลี, และ แอนดรูว์ เอลลิส. การออกแบบระบบเลือกตั้ง: คู่มือเล่มใหม่ของ International Idea. กรุงเทพมหานคร: เบสท์กราฟิค, 2555.
สิริพรรณ นกสวน สวัสดี. ระบบเลือกตั้งเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์, 2561.
อรรถสิทธิ์ พานแก้ว. "พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง." ใน การเมือง อำนาจ ความรู้: หลักรัฐศาสตร์เบื้องต้นสำนักธรรมศาสตร์, ประจักษ์ ก้องกีรติ (บรรณาธิการ), 273-306. กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์, 2564.
อ้างอิง
[1] Joseph L. Klesner, Comparative Politica: A Introduction (New York: McGraw-Hill, 2014), 127.
[2] อรรถสิทธิ์ พานแก้ว, "พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง," ใน การเมือง อำนาจ ความรู้: หลักรัฐศาสตร์เบื้องต้นสำนักธรรมศาสตร์, ประจักษ์ ก้องกีรติ (บรรณาธิการ) (กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์, 2564), 296.
[3] สิริพรรณ นกสวน สวัสดี, ระบบเลือกตั้งเปรียบเทียบ (กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์, 2561).
[4] อรรถสิทธิ์ พานแก้ว, ใน การเมือง อำนาจ ความรู้: หลักรัฐศาสตร์เบื้องต้นสำนักธรรมศาสตร์, 294.
[5] Andrew Reynolds, Ben Reilly, and Andrew Ellis, Electoral System Design: The New International Idea Handbook (Stockholm: International IDEA, 2005). หรือดูฉบับแปลภาษาไทยใน แอนดรูว์ เรย์โนลด์ส, เบน ไรลี, และ แอนดรูว์ เอลลิส, การออกแบบระบบเลือกตั้ง: คู่มือเล่มใหม่ของ International Idea (กรุงเทพมหานคร: เบสท์กราฟิค, 2555).
[6] Fairvote, "Plurality-Majority Systems," accessed 14 July, 2021. https://www.fairvote.org/plurality_majority_systems.
[7] ผู้เขียนยึดตามคำแปลในงานของ อรรถสิทธิ์ พานแก้ว, ใน การเมือง อำนาจ ความรู้: หลักรัฐศาสตร์เบื้องต้นสำนักธรรมศาสตร์.
[8] Klesner, 127.
[9] Fairvote, ibid.
[10] Reynolds, Reilly, and Ellis, 57.
[11] Fairvote, ibid.
[12] อรรถสิทธิ์ พานแก้ว, ใน การเมือง อำนาจ ความรู้: หลักรัฐศาสตร์เบื้องต้นสำนักธรรมศาสตร์, 296-97. และ Fairvote, ibid.
[13] Reynolds, Reilly, and Ellis, 57-59.
[14] Fairvote, ibid.
[15] Reynolds, Reilly, and Ellis, 71-72.
[16] Ibid., 76-77.