ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สภาพลเมือง (Citizens Assemblies)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 24: บรรทัดที่ 24:
          กระบวนการของสภาพลเมืองมีการแบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ ดังนี้
          กระบวนการของสภาพลเมืองมีการแบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ ดังนี้


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>ระยะที่ 1</u>'''การเรียนรู้ (learning) เป็นช่วงที่ประชาชนที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างเข้ามาเป็นสมาชิกสภาพลเมือง เข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>ระยะที่ 1</u> การเรียนรู้ (learning) เป็นช่วงที่ประชาชนที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างเข้ามาเป็นสมาชิกสภาพลเมือง เข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>ระยะที่ 2</u>'''การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน (public hearing) เป็นช่วงที่สมาชิกสภาพลเมืองจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ในบริบทของแต่ละท้องถิ่นผ่านกรระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>ระยะที่ 2</u> การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน (public hearing) เป็นช่วงที่สมาชิกสภาพลเมืองจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ในบริบทของแต่ละท้องถิ่นผ่านกรระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>ระยะที่ 3</u>'''การปรึกษาหารือ (deliberation) เป็นช่วงเวลาที่สมาชิกสภาพลเมืองมาร่วมพูดคุยเพื่อสังเคราะห์สิ่งที่สมาชิกได้เรียนรู้จากระยะที่ 1 และ 2 และจัดทำข้อเสนอแนะต่อสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การลงคะแนนเสียงในการจัดทำประชามติต่อไป
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>ระยะที่ 3</u> การปรึกษาหารือ (deliberation) เป็นช่วงเวลาที่สมาชิกสภาพลเมืองมาร่วมพูดคุยเพื่อสังเคราะห์สิ่งที่สมาชิกได้เรียนรู้จากระยะที่ 1 และ 2 และจัดทำข้อเสนอแนะต่อสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การลงคะแนนเสียงในการจัดทำประชามติต่อไป


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในกรณีสภาพลเมืองเพื่อการปฏิรูประบบการเลือกตั้งของมลรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดาเมื่อ&nbsp;ค.ศ. 2004 การดำเนินการระยะที่ 1 เกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนแรก โดยสมาชิกสภาพลเมืองเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ในเรื่องระบบการเลือกตั้งและกระบวนการทางการเมืองการปกครองในช่วงสุดสัปดาห์ รวม 6 ครั้ง จากนั้นในช่วง 6 เดือนต่อมา สมาชิกสภาพลเมืองแต่ละคนได้ไปเข้าร่วมเวทีสาธารณะซึ่งจัดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทั้งมลรัฐ&nbsp;เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เข้าร่วมเวทีและนำข้อเสนอที่ประชาชนส่งให้แก่สภาพลเมืองมาพิจารณา ในช่วงสามเดือนสุดท้ายของปี สมาชิกสภาพลเมืองใช้เวลามาร่วมกระบวนการปรึกษาหารือในช่วงสุดสัปดาห์อีก 6 ครั้ง เพื่อตัดสินใจว่ามลรัฐบริติชโคลัมเบียต้องการระบบการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ และถ้าระบบการเลือกตั้งใหม่เป็นสิ่งจำเป็น ระบบใดที่มีความเหมาะสมและสมควรนำมาใช้[[#_ftn2|[2]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในกรณีสภาพลเมืองเพื่อการปฏิรูประบบการเลือกตั้งของมลรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดาเมื่อ&nbsp;ค.ศ. 2004 การดำเนินการระยะที่ 1 เกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนแรก โดยสมาชิกสภาพลเมืองเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ในเรื่องระบบการเลือกตั้งและกระบวนการทางการเมืองการปกครองในช่วงสุดสัปดาห์ รวม 6 ครั้ง จากนั้นในช่วง 6 เดือนต่อมา สมาชิกสภาพลเมืองแต่ละคนได้ไปเข้าร่วมเวทีสาธารณะซึ่งจัดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทั้งมลรัฐ&nbsp;เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เข้าร่วมเวทีและนำข้อเสนอที่ประชาชนส่งให้แก่สภาพลเมืองมาพิจารณา ในช่วงสามเดือนสุดท้ายของปี สมาชิกสภาพลเมืองใช้เวลามาร่วมกระบวนการปรึกษาหารือในช่วงสุดสัปดาห์อีก 6 ครั้ง เพื่อตัดสินใจว่ามลรัฐบริติชโคลัมเบียต้องการระบบการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ และถ้าระบบการเลือกตั้งใหม่เป็นสิ่งจำเป็น ระบบใดที่มีความเหมาะสมและสมควรนำมาใช้[[#_ftn2|[2]]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:34, 17 กุมภาพันธ์ 2566

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

 

สภาพลเมือง (Citizens Assemblies)

          สภาพลเมืองเป็นกระบวนการปรึกษาหารือสาธารณะที่พัฒนาขึ้นโดย พรรคเสรีนิยม (Liberal Party) ของมลรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา[1] เพื่อใช้ในกระบวนการปฏิรูประบบการเลือกตั้ง โดยการนำตัวแทนประชาชนที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างตามหลักความน่าจะเป็น (random sampling) ประกอบด้วย ผู้ชาย 1 คน ผู้หญิง 1 คน จากทุกเขตเลือกตั้งภายในมลรัฐ ซึ่งในกรณีการปฏิรูประบบเลือกตั้งของมลรัฐบริติชโคลัมเบียนี้มีผู้ได้รับการสุ่มเลือกมาทั้งสิ้น 161 คน (รวมโควต้าที่จัดสรรให้กับตัวแทนประชาชนที่เป็นชนเผ่าพื้นเมือง 2 ที่นั่ง และประธานสภาอีก 1 คน)

          กระบวนการคัดเลือกสมาชิกสภาพลเมืองของมลรัฐบริติชโคลัมเบียมีขั้นตอน ดังนี้

          1. การสุ่มตัวอย่างแบบช่วงชั้นโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์กำหนด (age stratified) จากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละเขต และมีการส่งจดหมายเชิญประชาชนที่ได้รับการสุ่มเลือก จำนวนรวมทั้งสิ้น 15,800 คน เพื่อให้มาเข้าร่วมการประชุมซึ่งจะจัดขึ้นในแต่ละเขตเลือกตั้งซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 79 เขต เริ่มขึ้นในเดือน สิงหาคม ค.ศ. 2003 อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีผู้ตอบรับคำเชิญในจำนวนที่มากเพียงพอสำหรับเป็นตัวแทนประชากรในเชิงภูมิศาสตร์ ได้มีการเพิ่มจำนวนการส่งจดหมายเชิญเป็นอย่างน้อยเขตเลือกตั้งละ 200 คำเชิญในเวลาต่อมา

          2. ในการประชุม คณะทำงานที่รับผิดชอบการจัดกระบวนการสภาพลเมืองจะทำการชี้แจงวัตถุประสงค์ รูปแบบ วิธีการ และข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสภาพลเมือง โดยเน้นย้ำให้ผู้ได้รับการสุ่มเลือกทราบว่า สมาชิกสภาพลเมืองต้องเข้าร่วมกิจกรรมและปฏิบัติหน้าที่ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์เป็นเวลา 12 สัปดาห์ โดยการประชุมและกิจกรรมต่าง ๆ จะจัดขึ้นที่เมืองแวนคูเวอร์

          3. เมื่อประชาชนที่ได้รับเชิญได้รับทราบถึงกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ อย่างครบถ้วนแล้ว รายชื่อของประชาชนที่สมัครใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาพลเมืองจะถูกใส่ลงในหมวก จากนั้นจะมีการจับชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาพลเมืองของเขตเลือกตั้งนั้น ๆ ขึ้นมาเป็น ชาย 1 คน และหญิง 1 คน

          4. กระบวนการตั้งแต่ ข้อ 1-3 จะถูกดำเนินการในรูปแบบเดียวกันในทุกเขตเลือกตั้งจนครบทั้ง 79 เขต

          กระบวนการสุ่มเลือกสมาชิกสภาพลเมืองหลายขั้นตอนที่กล่าวมา ทำให้มั่นใจได้ว่าสภาพลเมืองที่จัดตั้งขึ้นประกอบด้วยสัดส่วนสมาชิกที่มีการกระจายไปตามช่วงอายุและอาชีพซึ่งเป็นภาพจำลององค์ประกอบของประชาชนในมลรัฐได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ การกำหนดให้มีตัวแทน ผู้ชาย 1 คน ผู้หญิง 1 คน เท่ากันในแต่ละเขต สะท้อนถึงการคำนึงถึงความเสมอภาคกันของหญิง-ชายได้เป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้น ขั้นตอนที่เปิดโอกาสให้ประชาชนที่ได้รับการสุ่มเลือกแสดงเจตจำนงของตนเองโดยความสมัครใจเข้าร่วมกระบวนการที่ต้องใช้เวลาตลอดทั้งปีทั้งการเข้าร่วมศึกษาเรียนรู้ พิจารณาไตร่ตรอง และตัดสินใจในช่วงสุดสัปดาห์ถึง 12 ครั้ง และการเข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนอีกหลายครั้ง แสดงให้เห็นว่าสมาชิกสภาพลเมืองทุกคนที่ได้รับเลือกจากกระบวนการมีความยินดีและเต็มใจในการทำหน้าที่และปฏิบัติภารกิจอันหนักหนานี้ 

          กระบวนการของสภาพลเมืองมีการแบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ ดังนี้

          ระยะที่ 1 การเรียนรู้ (learning) เป็นช่วงที่ประชาชนที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างเข้ามาเป็นสมาชิกสภาพลเมือง เข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

          ระยะที่ 2 การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน (public hearing) เป็นช่วงที่สมาชิกสภาพลเมืองจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ในบริบทของแต่ละท้องถิ่นผ่านกรระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่

          ระยะที่ 3 การปรึกษาหารือ (deliberation) เป็นช่วงเวลาที่สมาชิกสภาพลเมืองมาร่วมพูดคุยเพื่อสังเคราะห์สิ่งที่สมาชิกได้เรียนรู้จากระยะที่ 1 และ 2 และจัดทำข้อเสนอแนะต่อสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การลงคะแนนเสียงในการจัดทำประชามติต่อไป

          ในกรณีสภาพลเมืองเพื่อการปฏิรูประบบการเลือกตั้งของมลรัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดาเมื่อ ค.ศ. 2004 การดำเนินการระยะที่ 1 เกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนแรก โดยสมาชิกสภาพลเมืองเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ในเรื่องระบบการเลือกตั้งและกระบวนการทางการเมืองการปกครองในช่วงสุดสัปดาห์ รวม 6 ครั้ง จากนั้นในช่วง 6 เดือนต่อมา สมาชิกสภาพลเมืองแต่ละคนได้ไปเข้าร่วมเวทีสาธารณะซึ่งจัดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทั้งมลรัฐ เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เข้าร่วมเวทีและนำข้อเสนอที่ประชาชนส่งให้แก่สภาพลเมืองมาพิจารณา ในช่วงสามเดือนสุดท้ายของปี สมาชิกสภาพลเมืองใช้เวลามาร่วมกระบวนการปรึกษาหารือในช่วงสุดสัปดาห์อีก 6 ครั้ง เพื่อตัดสินใจว่ามลรัฐบริติชโคลัมเบียต้องการระบบการเลือกตั้งใหม่หรือไม่ และถ้าระบบการเลือกตั้งใหม่เป็นสิ่งจำเป็น ระบบใดที่มีความเหมาะสมและสมควรนำมาใช้[2]

          การจัดกระบวนการในรูปแบบสภาพลเมืองอาจถูกวิจารณ์โดยเฉพาะในเรื่องความรู้ความสามารถของสมาชิกสภาพลเมืองที่เกือบทั้งหมดเป็นประชาชนธรรมดาที่อาจจะไม่มีความรู้ในเรื่องที่ได้รับมอบหมายให้เรียนรู้ รับฟัง และตัดสินใจมากนัก ดังเช่นกรณีของมลรัฐบริติชโคลัมเบียที่เป็นการพิจารณาเรื่องระบบการเลือกตั้งที่เหมาะสม ซึ่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและต้องการความรู้ทางวิชาการค่อนข้างมาก ในช่วงแรกของการดำเนินการ สภาพลเมืองของมลรัฐบริติชโคลัมเบียถูกตั้งคำถามจากสื่อมวลชนเกี่ยวกับความสามารถของสมาชิกในการเรียนรู้และทำความเข้าใจกับความซับซ้อนของระบบการเลือกตั้งและผลลัพธ์ของการนำระบบการเลือกตั้งแต่ละระบบมาใช้ อย่างไรก็ตาม เมื่อกระบวนการต่าง ๆ ของสภาพลเมืองขับเคลื่อนไป เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อมวลชนค่อย ๆ เปลี่ยนไปในทางชื่นชมและประทับใจกับประเด็นสาระที่สภาพลเมืองหยิบยกขึ้นมาอภิปราย ทำให้ความเชื่อถือศรัทธาในความสามารถของประชาชนธรรมดา ๆ ที่เข้ามาทำหน้าที่สมาชิกสภาพลเมืองค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่าทัศนคติเชิงบวกที่สาธารณะมีต่อสมาชิกและกระบวนการของสภาพลเมืองเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่งในการชี้วัดความสำเร็จของสภาพลเมือง[3]

          ถึงแม้ว่าข้อเสนอของสภาพลเมืองบริติชโคลัมเบียจะไม่ผ่านความเห็นชอบจากประชาชนในการจัดทำประชามติ แต่ประสบการณ์การนำกระบวนการสภาพลเมืองไปใช้เริ่มปรากฏเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศแคนาดา เช่น ใน ค.ศ. 2006 กระบวนการสภาพลเมืองไปใช้ในการปฏิรูประบบการเลือกตั้งของ มลรัฐออนแทรีโอ (Ontario)[4] นอกจากนี้ ประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกยังได้นำกระบวนการสภาพลเมืองไปประยุกต์ใช้ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการเมืองและระบบเลือกตั้ง (เช่น เนเธอร์แลนด์[5] ไอร์แลนด์[6] ออสเตรเลีย[7] ฯลฯ) และการกำหนดนโยบายด้านอื่น ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น นโยบายเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (เช่น เยอรมนี[8] สหราชอาณาจักร[9]) นโยบายด้านความมั่นคงทางอาหาร (เช่น สหราชอาณาจักร[10]) นโยบายด้านสาธารณสุข (เช่น มลรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา[11] ไอร์แลนด์[12]) เป็นต้น

          เหตุผลสำคัญที่ทำให้หลายประเทศมีการนำรูปแบบสภาพลเมืองไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการตัดสินใจสาธารณะมีหลายประการ กล่าวคือ ประการแรก กระบวนการคัดเลือกสมาชิกสภาพลเมือง โดยจุดมุ่งหมายสำคัญของกระบวนการนี้คือเพื่อให้มั่นใจว่าจะทำให้กลุ่มคนที่มีความเป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้งในวงกว้างในลักษณะทางประชากรต่าง ๆ เช่น เพศ ชาติพันธุ์ ชนชั้นทางสังคม และพื้นที่ที่อาศัยอยู่ บางครั้งการสุ่มตัวอย่างอาจพิจารณาเรื่องความเป็นตัวแทนของจุดยืนทางการเมืองเพื่อให้ได้กลุ่มคนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกันอย่างสุดขั้วเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกสภาพลเมืองด้วยก็ได้[13] ประการต่อมา การอาศัยรูปแบบการพูดคุยที่เรียกว่า “การปรึกษาหารือ (deliberation)” ซึ่งเป็นรูปแบบของการพิจารณาไตร่ตรองประเด็นปัญหายาก ๆ ร่วมกันโดยการอภิปรายอย่างรอบคอบและยาวนานเพื่อการตัดสินใจร่วมกัน กระบวนการอภิปรายเน้นถึงความสำคัญของการไตร่ตรองและการอภิปรายอย่างมีข้อมูลในการตัดสินใจ สิ่งนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาพลเมืองสามารถแสดงจุดยืนของตนได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้นในประเด็นต่าง ๆ ที่มีอยู่ด้วยความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนที่มีอยู่ในการตัดสินใจที่กำหนด ประการสุดท้าย ผลลัพธ์ที่เกิดจากสภาพลเมืองเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากสมาชิกสภาพลเมืองแต่ละคนรู้สึกว่าเป็นการตัดสินใจร่วมกันของสมาชิกภายหลังจากที่แต่ละคนได้รับข้อมูลที่เพียงพอแล้ว[14]

 

อ้างอิง

[1] รายะละเอียดเกี่ยวกับสภาพลเมืองของมลรัฐบริติชโคลัมเบีย และรายงานผลการดำเนินการสามารถดูเพิ่มเติมได้ในรายงานฉบับสมบูรณ์ของ British Columbia Citizens’ Assembly on Electoral Reform. 2004. Making Every Vote Count: the Case for Electoral Reform in British Columbia. British Columbia, Vancouver: British Columbia Citizens’ Assembly on Electoral Reform และทางเว็บไซต์ www.citizensassembly.bc.ca

[2] LeDuc, Lawrence. "Electoral reform and direct democracy in Canada: When citizens become involved." West European Politics 34.3 (2011): 551-567.

[3] French, Richard D. "Essay Review: Second Thoughts on the First Citizens Assemblies." International Public Management Review 13.1 (2012): 61-76.

[4] Fournier, P., Van Der Kolk, H., Carty, R. K., Blais, A., & Rose, J. (2011). When citizens decide: Lessons from citizen assemblies on electoral reform. Oxford University Press.

[5] Rose, Jonathan. "Institutionalizing participation through citizens’ assemblies." Activating the Citizen. Palgrave Macmillan, London, 2009. 214-232.

[6] Farrell, David M., Jane Suiter, and Clodagh Harris. "‘Systematizing’constitutional deliberation: the 2016–18 citizens’ assembly in Ireland." Irish Political Studies 34.1 (2019): 113-123.

[7] Carson, Lyn. "Creating democratic surplus through citizens’ assemblies." Journal of Deliberative Democracy 4.1 (2020).

[8] Kuntze, Lennart, and Lukas Paul Fesenfeld. "Citizen assemblies can enhance political feasibility of ambitious climate policies." Available at SSRN 3918532 (2021).

[9] Wells, Rebecca, Candice Howarth, and Lina I. Brand-Correa. "Are citizen juries and assemblies on climate change driving democratic climate policymaking? An exploration of two case studies in the UK." Climatic Change 168.1 (2021): 1-22.

[10] Doherty, Bob, et al. "Citizen Participation in Food Systems Policy Making: A case study of a citizens’ assembly." Emerald Open Research 2 (2020): 22.

[11] Black, Laura W., Anna W. Wolfe, and Soo-Hye Han. "Storytelling and Deliberative Play in the Oregon Citizens’ Assembly Online Pilot on COVID-19 Recovery." American Behavioral Scientist (2022): 00027642221093591.

[12] Kirk, Aoife, Pippa Grenfell, and Peninah Murage. "A Planetary Health Perspective to Decarbonising Public Hospitals in Ireland: A Health Policy Report." European Journal of Environment and Public Health 5.1 (2021): em0067-em0067.

[13] Renwick, A., Allan, S., Jennings, W., McKee, R, Russell, M. and Smith, G. 2017. A Considered Public Voice on Brexit: The Report of the Citizens' Assembly on Brexit. London The Constitution Unit, University College London.

[14] Ibid.