ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง'''  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพ..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''ผู้เรียบเรียง'''  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และ ศิปภน อรรคศรี
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และ ศิปภน อรรคศรี


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ'''  รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


 
 


          หลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 การเคลื่อนไหวของประชาสังคมที่ไม่พอใจในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงที่มีกระแสของการต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญก่อนการลงประชามติเมื่อ พ.ศ. 2559 โดยช่วงเวลาดังกล่าวมีกลุ่มต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวางตั้งแต่ภาคประชาสังคม อาทิ กลุ่มประชาธิปไตยใหม่ (NDM) กลุ่มสมัชชาคนจน นักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัย ตลอดจนพรรคการเมืองทั้งฝั่งเพื่อไทย และประชาธิปัตย์  (ไทยรัฐ, 2559) อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญในปี 2559 ไม่ประสบความสำเร็จมากนักหากสังเกตจากการที่ร่างรัฐธรรมนูญได้รับคะแนนเสียงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เห็นชอบ 61.40% ไม่เห็นชอบ 38.60% ขณะที่คำถามพ่วงของประชามติที่สอบถามความเห็นชอบที่จะให้อำนาจสมาชิกวุฒิสภาเลือกนายกรัฐมนตรี ได้รับความเห็นชอบอยู่ที่ 58.11% ต่อ 41.89% ที่ไม่เห็นชอบ (โพสต์ทูเดย์, 2559)
          หลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ประกาศใช้ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 การเคลื่อนไหวของประชาสังคมที่ไม่พอใจในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงที่มีกระแสของการต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญก่อนการลงประชามติเมื่อ พ.ศ. 2559 โดยช่วงเวลาดังกล่าวมีกลุ่มต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวางตั้งแต่ภาคประชาสังคม อาทิ กลุ่มประชาธิปไตยใหม่ (NDM) กลุ่มสมัชชาคนจน นักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัย ตลอดจนพรรคการเมืองทั้งฝั่งเพื่อไทย และประชาธิปัตย์  (ไทยรัฐ, 2559) อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญใน ปี 2559 ไม่ประสบความสำเร็จมากนักหากสังเกตจากการที่ร่างรัฐธรรมนูญได้รับคะแนนเสียงประชามติใน วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เห็นชอบ 61.40% ไม่เห็นชอบ 38.60% ขณะที่คำถามพ่วงของประชามติที่สอบถามความเห็นชอบที่จะให้อำนาจสมาชิกวุฒิสภาเลือกนายกรัฐมนตรี ได้รับความเห็นชอบอยู่ที่ 58.11% ต่อ 41.89% ที่ไม่เห็นชอบ (โพสต์ทูเดย์, 2559)


          เมื่อผลการลงคะแนนเสียงประชามติเป็นเช่นนั้นแล้ว ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ ไม่เพียงแต่จะส่งผลให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบของประชาชนตามกฎหมาย หากแต่ยังทำให้เกิดการเปิดโอกาสให้สมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งได้มีส่วนร่วมในการเลือกนายกรัฐมนตรีคนถัดไปด้วยกัน ซึ่งประเด็นอำนาจของวุฒิสภานี้เองก็เป็นหนึ่งในประเด็นที่ทั้งภาคประชาชน นักวิชาการ รวมถึงพรรคการเมืองได้แสดงความไม่พอใจต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และสั่งสมประสบการณ์ที่พบเห็นความบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเรื่อยมาจนเกิดเป็นกระแสให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ    
          เมื่อผลการลงคะแนนเสียงประชามติเป็นเช่นนั้นแล้ว ผลลัพธ์ที่ตามมาคือไม่เพียงแต่จะส่งผลให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบของประชาชนตามกฎหมาย หากแต่ยังทำให้เกิดการเปิดโอกาสให้สมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งได้มีส่วนร่วมในการเลือกนายกรัฐมนตรีคนถัดไปด้วยกัน ซึ่งประเด็นอำนาจของวุฒิสภานี้เองก็เป็นหนึ่งในประเด็นที่ทั้งภาคประชาชน นักวิชาการ รวมถึงพรรคการเมืองได้แสดงความไม่พอใจต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และสั่งสมประสบการณ์ที่พบเห็นความบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเรื่อยมาจนเกิดเป็นกระแสให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ    


 
 
บรรทัดที่ 16: บรรทัดที่ 16:
          เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ได้มีการประชุมรัฐสภาเพื่ออภิปรายญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีการยื่นเข้ามาจากทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน รวมถึงภาคประชาสังคมอย่างกลุ่มไอลอว์ (ILAW) โดยสาระสำคัญของ 7 ฉบับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ สามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้ (มติชนออนไลน์, 2563)
          เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ได้มีการประชุมรัฐสภาเพื่ออภิปรายญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีการยื่นเข้ามาจากทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน รวมถึงภาคประชาสังคมอย่างกลุ่มไอลอว์ (ILAW) โดยสาระสำคัญของ 7 ฉบับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ สามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้ (มติชนออนไลน์, 2563)


          '''ฉบับแรก''' เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อเสนอให้มีการแก้ไขมาตรา 256 ว่าด้วยการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จำนวน 200 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ภายใต้เงื่อนไขการแก้ไขภายใน 120 วันหลังจากเลือกตั้ง ส.ส.ร. แต่ห้ามแก้ไขหมวดที่ 1 และ 2 ของรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาด
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <u>ฉบับแรก</u> เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อเสนอให้มีการแก้ไขมาตรา 256 ว่าด้วยการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จำนวน 200 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ภายใต้เงื่อนไขการแก้ไขภายใน&nbsp;120 วันหลังจากเลือกตั้ง ส.ส.ร. แต่ห้ามแก้ไขหมวดที่ 1 และ 2 ของรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาด


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''ฉบับที่สอง''' เสนอโดยพรรคร่วมรัฐบาล เสนอให้แก้ไขมาตรา 256 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. เช่นเดียวกับฉบับแรก จำนวน 200 คน หากแต่แบ่งสัดส่วนเป็น 150 คนจากการเลือกตั้ง และ50 คนมาจากการแต่งตั้ง ภายใต้เงื่อนไขการแก้ไขภายใน 240 วันหลังจากเลือกตั้ง ส.ส.ร. แต่ห้ามแก้ไขหมวดที่ 1 และ 2 ของรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาด&nbsp;
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <u>ฉบับที่สอง</u> เสนอโดยพรรคร่วมรัฐบาล เสนอให้แก้ไขมาตรา 256 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. เช่นเดียวกับฉบับแรก จำนวน 200 คน หากแต่แบ่งสัดส่วนเป็น 150 คนจากการเลือกตั้ง และ50 คนมาจากการแต่งตั้ง ภายใต้เงื่อนไขการแก้ไขภายใน 240 วันหลังจากเลือกตั้ง ส.ส.ร. แต่ห้ามแก้ไขหมวดที่ 1 และ 2 ของรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาด&nbsp;


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''ฉบับที่สาม''' เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอให้แก้ไขมาตรา 270 และ 271 เพื่อตัดทอนอำนาจของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในการติดตามการปฏิรูปประเทศออกจากรัฐธรรมนูญ
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <u>ฉบับที่สาม</u> เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอให้แก้ไขมาตรา 270 และ 271 เพื่อตัดทอนอำนาจของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในการติดตามการปฏิรูปประเทศออกจากรัฐธรรมนูญ


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''ฉบับที่สี่''' เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อแก้ไขมาตรา 272 ไม่ให้ ส.ว. มีอำนาจในการร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี และแก้ไขมาตรา 159 เพื่อไม่ให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกที่มิใช่สมาชิกรัฐสภา
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <u>ฉบับที่สี่</u> เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อแก้ไขมาตรา 272 ไม่ให้ ส.ว. มีอำนาจในการร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี และแก้ไขมาตรา 159 เพื่อไม่ให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกที่มิใช่สมาชิกรัฐสภา


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''ฉบับที่ห้า''' เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน เป็นญัตติแก้ไขมาตรา 279 เพื่อยกเลิกความชอบธรรมทางกฎหมายของประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ค.ส.ช.)
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <u>ฉบับที่ห้า</u> เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน เป็นญัตติแก้ไขมาตรา 279 เพื่อยกเลิกความชอบธรรมทางกฎหมายของประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ค.ส.ช.)


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''ฉบับที่หก''' เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อให้มีการแก้ไขระบบเลือกตั้งจากปัจจุบันที่เป็นระบบบัตรใบเดียวตามระบบจัดสรรปันส่วนผสม (Mixed Member Apportionment system: MMA) ให้เป็นแบบบัตร&nbsp;2 ใบ เช่นเดียวกับที่เคยใช้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <u>ฉบับที่หก</u> เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อให้มีการแก้ไขระบบเลือกตั้งจากปัจจุบันที่เป็นระบบบัตรใบเดียวตามระบบจัดสรรปันส่วนผสม (Mixed Member Apportionment system: MMA) ให้เป็นแบบบัตร&nbsp;2 ใบ เช่นเดียวกับที่เคยใช้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; '''ฉบับที่เจ็ด''' เสนอโดยภาคประชาชน จากกลุ่มโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ (ILAW) ซึ่งมีการเสนอแก้ไขใน 6 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นหลักเกณฑ์การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นการลดอำนาจและแก้ไขที่มาของ ส.ว. ประเด็นการยกเลิกมาตราว่าด้วยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรีให้มาจากรายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ประเด็นอำนาจของ ส.ส.ร.&nbsp;ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และประเด็นการสรรหากรรมการในองค์กรอิสระและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <u>ฉบับที่เจ็ด</u> เสนอโดยภาคประชาชน จากกลุ่มโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ (ILAW) ซึ่งมีการเสนอแก้ไขใน 6 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นหลักเกณฑ์การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นการลดอำนาจและแก้ไขที่มาของ ส.ว. ประเด็นการยกเลิกมาตราว่าด้วยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรีให้มาจากรายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ประเด็นอำนาจของ ส.ส.ร.&nbsp;ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และประเด็นการสรรหากรรมการในองค์กรอิสระและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หลังจากพิจารณาเนื้อหาสาระของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับที่ได้มีการนำเสนอกันมานั้นกล่าวได้ว่าให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเมืองไทยใน 5 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1) ด้านของการแก้ไขกฎเกณฑ์การตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีความพร้อมหากอนาคตข้างหน้าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ 2) ด้านที่มาและขอบเขตอำนาจของ ส.ว. 3) ด้านการแก้ไขระบบเลือกตั้ง 4) ด้านการยกเลิกกฎหมายหรือสิ่งที่ ค.ส.ช. เคยบังคับใช้เมื่อยังอยู่ในอำนาจ และ 5) ด้านที่มาและขอบเขตอำนาจขององค์กรอิสระ &nbsp;
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; หลังจากพิจารณาเนื้อหาสาระของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับที่ได้มีการนำเสนอกันมานั้นกล่าวได้ว่าให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเมืองไทยใน 5 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1) ด้านของการแก้ไขกฎเกณฑ์การตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีความพร้อมหากอนาคตข้างหน้าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ 2) ด้านที่มาและขอบเขตอำนาจของ ส.ว. 3) ด้านการแก้ไขระบบเลือกตั้ง 4) ด้านการยกเลิกกฎหมายหรือสิ่งที่ ค.ส.ช. เคยบังคับใช้เมื่อยังอยู่ในอำนาจ และ 5) ด้านที่มาและขอบเขตอำนาจขององค์กรอิสระ &nbsp;
บรรทัดที่ 40: บรรทัดที่ 40:
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เมื่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับได้ยื่นเข้ารัฐสภาด้วยความมุ่งหวังที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีความเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นในมุมของแต่ละกลุ่ม สิ่งที่ต้องพิจารณาตามมาก็คือ เมื่อประเด็นที่ร่างรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับเสนอมานั้นมีผลอันเป็นการตัดทอนอำนาจของผู้มีอำนาจอยู่ในขณะนั้น อาทิ การยกเลิกอำนาจของ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี หรือหลักเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ คำถามที่ตามมาคือ แล้วเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญเดิมนั้นมีความยากในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอย่างไร&nbsp;ภายในหมวดที่ 15 ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วย 2 มาตราสำคัญที่เป็นข้อจำกัดในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้แก่ มาตรา 255 และ มาตรา 256
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เมื่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับได้ยื่นเข้ารัฐสภาด้วยความมุ่งหวังที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีความเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นในมุมของแต่ละกลุ่ม สิ่งที่ต้องพิจารณาตามมาก็คือ เมื่อประเด็นที่ร่างรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับเสนอมานั้นมีผลอันเป็นการตัดทอนอำนาจของผู้มีอำนาจอยู่ในขณะนั้น อาทิ การยกเลิกอำนาจของ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี หรือหลักเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ คำถามที่ตามมาคือ แล้วเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญเดิมนั้นมีความยากในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอย่างไร&nbsp;ภายในหมวดที่ 15 ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วย 2 มาตราสำคัญที่เป็นข้อจำกัดในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้แก่ มาตรา 255 และ มาตรา 256


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ข้อจำกัดแรกคือ มาตรา 255 ว่าด้วยการจำกัดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมิให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และห้ามเปลี่ยนรูปแบบของรัฐ&nbsp;ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศมีเสถียรภาพทางการเมือง&nbsp;ส่วนมาตรา 256 เพิ่มเข้ามาในระหว่างร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทำได้ยากมาก และเป็นการขยายความเป็นการเมืองในส่วนของอำนาจของการตีความรัฐธรรมนูญออกไปยังองค์กรนอกรัฐสภา ทั้งนี้เนื้อความโดยสรุปจึงมี 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ข้อจำกัดแรก คือ มาตรา 255 ว่าด้วยการจำกัดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมิให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และห้ามเปลี่ยนรูปแบบของรัฐ&nbsp;ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศมีเสถียรภาพทางการเมือง&nbsp;ส่วนมาตรา 256 เพิ่มเข้ามาในระหว่างร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทำได้ยากมากและเป็นการขยายความเป็นการเมืองในส่วนของอำนาจของการตีความรัฐธรรมนูญออกไปยังองค์กรนอกรัฐสภา ทั้งนี้เนื้อความโดยสรุปจึงมี 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ส่วนแรก'''คือ จำนวนเสียงในรัฐสภาที่ต้องเห็นชอบต่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เนื่องจากตามมาตรา 256 (2) ระบุให้มีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภา 3 วาระ ซึ่งแต่ละวาระต่างกำหนดหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ส่วนแรก คือ จำนวนเสียงในรัฐสภาที่ต้องเห็นชอบต่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เนื่องจากตาม มาตรา 256 (2) ระบุให้มีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภา 3 วาระ ซึ่งแต่ละวาระต่างกำหนดหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) วาระแรก ขั้นรับหลักการ จำเป็นต้องได้รับเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา แต่ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของวุฒิสภา
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) วาระแรก ขั้นรับหลักการ จำเป็นต้องได้รับเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา แต่ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของวุฒิสภา
บรรทัดที่ 48: บรรทัดที่ 48:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2) วาระที่สอง ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา วาระนี้ได้รับเสียงข้างมากเห็นชอบก็เพียงพอ นอกจากนั้นหากเป็นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเสนอ ก็จำเป็นต้องให้ผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อเสนอกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นในวาระการประชุมด้วย
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2) วาระที่สอง ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา วาระนี้ได้รับเสียงข้างมากเห็นชอบก็เพียงพอ นอกจากนั้นหากเป็นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเสนอ ก็จำเป็นต้องให้ผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อเสนอกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นในวาระการประชุมด้วย


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3) วาระที่สาม ออกเสียงลงคะแนนขั้นสุดท้าย จำเป็นต้องใช้เสียงเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา แต่ในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20&nbsp;ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3) วาระที่สาม ออกเสียงลงคะแนนขั้นสุดท้าย จำเป็นต้องใช้เสียงเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา แต่ในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20&nbsp;ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ด้วยเหตุนี้การที่ร่างกฎหมายจะสามารถผ่านไปได้ในทั้งสามวาระจึงเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากจำเป็นต้องมีการประนีประนอมสูงมากจากทั้งฝ่ายของรัฐบาล ฝ่ายค้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส.ว. ที่มีอำนาจสำคัญมากในการเห็นชอบกฎหมายให้ได้ครบตามจำนวนเสียงเห็นชอบขั้นต่ำที่มาตรา 256 (2) กำหนดไว้
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ด้วยเหตุนี้การที่ร่างกฎหมายจะสามารถผ่านไปได้ในทั้งสามวาระจึงเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากจำเป็นต้องมีการประนีประนอมสูงมากจากทั้งฝ่ายของรัฐบาล ฝ่ายค้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส.ว. ที่มีอำนาจสำคัญมากในการเห็นชอบกฎหมายให้ได้ครบตามจำนวนเสียงเห็นชอบขั้นต่ำที่ มาตรา 256 (2) กำหนดไว้


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ส่วนที่สอง'''ว่าด้วยข้อจำกัดของการจัดทำประชามติเมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในหมวดที่กำหนดตามมาตรา 256 (8) เพราะว่าหากร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบนั้นเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 2 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หรือหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นก่อนที่จะดำเนินการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายก็จำเป็นต้องจัดให้มีการทำประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และหากผลคะแนนเสียงเห็นชอบกับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจึงจะถือว่าเป็นการอนุมัติให้ดำเนินการตามลำดับต่อไป
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ส่วนที่สองว่าด้วยข้อจำกัดของการจัดทำประชามติเมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในหมวดที่กำหนดตาม มาตรา 256 (8) เพราะว่าหากร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบนั้นเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 2 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หรือ หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นก่อนที่จะดำเนินการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายก็จำเป็นต้องจัดให้มีการทำประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และหากผลคะแนนเสียงเห็นชอบกับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจึงจะถือว่าเป็นการอนุมัติให้ดำเนินการตามลำดับต่อไป


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ประการสุดท้าย'''ที่เป็นข้อจำกัดการเสนอเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ คือ สิทธิตามมาตรา 256 (9) ส.ส., ส.ว.&nbsp;หรือสมาชิกทั้งสองสภารวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสมาชิกทั้งหมดของแต่ละสภามีสิทธิ์เข้าชื่อเพื่อยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความความสอดคล้องระหว่างรัฐธรรมนูญกับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ&nbsp;โดยศาลดำเนินการภายใน 30 วัน
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ประการสุดท้ายที่เป็นข้อจำกัดการเสนอเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ คือ สิทธิตาม มาตรา 256 (9) ส.ส., ส.ว.&nbsp;หรือสมาชิกทั้งสองสภารวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสมาชิกทั้งหมดของแต่ละสภามีสิทธิ์เข้าชื่อเพื่อยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความความสอดคล้องระหว่างรัฐธรรมนูญกับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ&nbsp;โดยศาลดำเนินการภายใน 30 วัน


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โดยสรุปแล้ว จาก 3 ส่วนสำคัญของกระบวนการผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นแสดงให้เห็นว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เนื่องจากกระบวนการนี้เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการประนีประนอมทางการเมืองอย่างเลี่ยงมิได้ เพียงแค่พลังของรัฐบาลหรือฝ่ายค้านที่อาศัยพลังสนับสนุนของประชาชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้วจะสามารถผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไปได้ แต่ยังต้องปรับให้หลายฝ่ายยอมรับได้ ทั้ง ส.ว. ประชาชนทั้งประเทศที่มีสิทธิ์ออกเสียงประชามติ ศาลรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจตีความกฎหมาย ดังนั้นร่างกฎหมายที่สุดโต่งเกินไปหรือไม่ประนีประนอมกับฝ่ายที่คิดเห็นต่าง ก็จะไม่สามารถผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นได้
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โดยสรุปแล้ว จาก 3 ส่วนสำคัญของกระบวนการผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นแสดงให้เห็นว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เนื่องจากกระบวนการนี้เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการประนีประนอมทางการเมืองอย่างเลี่ยงมิได้ เพียงแค่พลังของรัฐบาลหรือฝ่ายค้านที่อาศัยพลังสนับสนุนของประชาชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้วจะสามารถผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไปได้ แต่ยังต้องปรับให้หลายฝ่ายยอมรับได้ ทั้ง ส.ว. ประชาชนทั้งประเทศที่มีสิทธิ์ออกเสียงประชามติ ศาลรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจตีความกฎหมาย ดังนั้นร่างกฎหมายที่สุดโต่งเกินไปหรือไม่ประนีประนอมกับฝ่ายที่คิดเห็นต่าง ก็จะไม่สามารถผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นได้
บรรทัดที่ 66: บรรทัดที่ 66:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเหตุของการถูกตีตกของ 5 ฉบับข้างต้นนั้น ฉบับที่ 7 ของกลุ่ม ILAW มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เพราะว่าได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. เพียง 3 เสียง ทว่าไม่เห็นชอบรวม 139 เสียง และงดออกเสียงอีก 369 เสียง ขณะที่ฉบับที่ 3 ฉบับที่ 4 ฉบับที่ 5 และ 6 ได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ไม่ถึง 1 ใน 3&nbsp;หรือก็คือประมาณ 83 คน เนื่องจาก ส.ว. เสียงใหญ่งดออกเสียง ต่างกับฉบับที่ 7 ของกลุ่ม ILAW ได้รับเสียงต่อต้านจาก ส.ว. และ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลมากเป็นพิเศษหากพิจารณาจากตัวอย่างข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ต่อไปนี้ เช่น ''“ส.ว.คำนูณ ชำแหละยิบร่างแก้ รธน.ฉบับไอลอว์ จับไต๋นิรโทษคดีทุจริต!”''&nbsp; (ไทยโพสต์, 2563) หรือ ''“ไพบูลย์ เสนอคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับไอลอว์”''&nbsp; (ไทยพีบีเอส, 2563) หรือข้อกล่าวหาหนักหนากว่านั้นคือ มีการที่&nbsp;ส.ว. กล่าวหากลุ่ม ILAW ในประเด็นของการขายชาติ (เดลินิวส์, 2563) เป็นต้น ทั้งหมดที่กล่าวจึงเป็นตัวอย่างที่สะท้อนได้ชัดเจนถึงกระแสของความพยายามปฏิเสธทุกกระแสของความเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะถอนรากหรือกระทบกับอำนาจของ ส.ว. อย่างชัดเจน
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเหตุของการถูกตีตกของ 5 ฉบับข้างต้นนั้น ฉบับที่ 7 ของกลุ่ม ILAW มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เพราะว่าได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. เพียง 3 เสียง ทว่าไม่เห็นชอบรวม 139 เสียง และงดออกเสียงอีก 369 เสียง ขณะที่ฉบับที่ 3 ฉบับที่ 4 ฉบับที่ 5 และ 6 ได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ไม่ถึง 1 ใน 3&nbsp;หรือก็คือประมาณ 83 คน เนื่องจาก ส.ว. เสียงใหญ่งดออกเสียง ต่างกับฉบับที่ 7 ของกลุ่ม ILAW ได้รับเสียงต่อต้านจาก ส.ว. และ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลมากเป็นพิเศษหากพิจารณาจากตัวอย่างข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ต่อไปนี้ เช่น ''“ส.ว.คำนูณ ชำแหละยิบร่างแก้ รธน.ฉบับไอลอว์ จับไต๋นิรโทษคดีทุจริต!”''&nbsp; (ไทยโพสต์, 2563) หรือ ''“ไพบูลย์ เสนอคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับไอลอว์”''&nbsp; (ไทยพีบีเอส, 2563) หรือข้อกล่าวหาหนักหนากว่านั้นคือ มีการที่&nbsp;ส.ว. กล่าวหากลุ่ม ILAW ในประเด็นของการขายชาติ (เดลินิวส์, 2563) เป็นต้น ทั้งหมดที่กล่าวจึงเป็นตัวอย่างที่สะท้อนได้ชัดเจนถึงกระแสของความพยายามปฏิเสธทุกกระแสของความเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะถอนรากหรือกระทบกับอำนาจของ ส.ว. อย่างชัดเจน


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อย่างไรก็ตาม ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญยังคงอยู่ในขั้นตอนของรัฐสภา เมื่อวันที่ 23-24 มิ.ย. 2564&nbsp;ที่มีการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จำนวน 13 ฉบับ (เดลินิวส์, 2564) ได้มีการนำเสนอประเด็นแก้ไขหลากหลาย อาทิ ประเด็นสิทธิเสรีภาพ ประเด็นแก้ไขระบบเลือกตั้งให้เป็นบัตรสองใบ ประเด็นตัดอำนาจของ ส.ว. หรือ ประเด็นการปรับเปลี่ยนวิธีไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทว่าท้ายที่สุดผลการลงมติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญวาระแรกในวันที่ 24 มิ.ย. 2564 จบลงด้วยการผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพียงฉบับเดียวนั่นก็คือ ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 เสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ ว่าด้วยการแก้ไขระบบเลือกตั้งให้เป็นบัตรสองใบ&nbsp;ซึ่งปรากฎการณ์ในลักษณะนี้สะท้อนเป็นอย่างดีถึงสิ่งที่ผู้เขียนได้นำเสนอไปข้างต้นในเรื่องของกลไกยับยั้งเสียงข้างมากก็ได้ทำงานอีกครั้งโดยผ่านการลงคะแนนเสียงต่อต้านในส่วนของ ส.ว.
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อย่างไรก็ตาม ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญยังคงอยู่ในขั้นตอนของรัฐสภา เมื่อวันที่ 23-24 มิ.ย. 2564&nbsp;ที่มีการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จำนวน 13 ฉบับ (เดลินิวส์, 2564) ได้มีการนำเสนอประเด็นแก้ไขหลากหลาย อาทิ ประเด็นสิทธิเสรีภาพ ประเด็นแก้ไขระบบเลือกตั้งให้เป็นบัตรสองใบ ประเด็นตัดอำนาจของ ส.ว. หรือ ประเด็นการปรับเปลี่ยนวิธีไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทว่าท้ายที่สุดผลการลงมติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญวาระแรกในวันที่ 24 มิ.ย. 2564 จบลงด้วยการผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพียงฉบับเดียวนั่นก็คือ ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 13 เสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ ว่าด้วยการแก้ไขระบบเลือกตั้งให้เป็นบัตรสองใบ&nbsp;ซึ่งปรากฎการณ์ในลักษณะนี้สะท้อนเป็นอย่างดีถึงสิ่งที่ผู้เขียนได้นำเสนอไปข้างต้นในเรื่องของกลไกยับยั้งเสียงข้างมากก็ได้ทำงานอีกครั้งโดยผ่านการลงคะแนนเสียงต่อต้านในส่วนของ ส.ว.


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 72: บรรทัดที่ 72:
<span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span>


"ไม่รับ‘ร่างรธน.’ 43องค์กร ไม่เอาถามพ่วง". (25 ก.ค. 2559). ไทยรัฐ. เว็บไซต์:&nbsp;https://www.thairath.co.th/content/671812. เข้าถึงเมื่อ 30 ส.ค. 2564.
"ไม่รับ‘ร่างรธน.’ 43องค์กร ไม่เอาถามพ่วง". (25 ก.ค. 2559). ไทยรัฐ. เว็บไซต์:&nbsp;[https://www.thairath.co.th/content/671812 https://www.thairath.co.th/content/671812]. เข้าถึงเมื่อ 30 ส.ค. 2564.


"ประชามติ ‘เหนือ-อีสาน’ ฐานการเมืองคงเดิม". (9 ส.ค. 2559). โพสต์ทูเดย์. เว็บไซต์:&nbsp;https://www.posttoday.com/politic/analysis/447544. เข้าถึงเมื่อ 30 ส.ค. 2564.
"ประชามติ ‘เหนือ-อีสาน’ ฐานการเมืองคงเดิม". (9 ส.ค. 2559). โพสต์ทูเดย์. เว็บไซต์:&nbsp;[https://www.posttoday.com/politic/analysis/447544 https://www.posttoday.com/politic/analysis/447544]. เข้าถึงเมื่อ 30 ส.ค. 2564.


'เปลวสีเงิน. (9 พ.ย. 2563). 'ส.ว.คำนูณ'ชำแหละยิบร่างแก้รธน.ฉบับ'ไอลอว์' จับไต๋นิรโทษคดีทุจริต!. ไทยโพสต์. เว็บไซต์:&nbsp;https://www.thaipost.net/main/detail/83252. เข้าถึงเมื่อ: 20 ก.ย. 2564.
'เปลวสีเงิน. (9 พ.ย. 2563). 'ส.ว.คำนูณ'ชำแหละยิบร่างแก้รธน.ฉบับ'ไอลอว์' จับไต๋นิรโทษคดีทุจริต!. ไทยโพสต์. เว็บไซต์:&nbsp;[https://www.thaipost.net/main/detail/83252 https://www.thaipost.net/main/detail/83252]. เข้าถึงเมื่อ: 20 ก.ย. 2564.


"จับตาประชุมร่วมรัฐสภา 17-18 พ.ย. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ ‘ไปต่อ-คว่ำ’ ?". (17 พ.ย. 2563). มติชนออนไลน์.&nbsp;เว็บไซต์:&nbsp;https://www.matichon.co.th/politics/news_2445362. เข้าถึงเมื่อ 30 ส.ค. 2564
"จับตาประชุมร่วมรัฐสภา 17-18 พ.ย. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ ‘ไปต่อ-คว่ำ’&nbsp;?". (17 พ.ย. 2563). มติชนออนไลน์.&nbsp;เว็บไซต์:&nbsp;[https://www.matichon.co.th/politics/news_2445362 https://www.matichon.co.th/politics/news_2445362]. เข้าถึงเมื่อ 30 ส.ค. 2564


"ไพบูลย์" เสนอคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับไอลอว์. (17 พ.ย. 2563). ไทยพีบีเอส. เว็บไซต์:&nbsp;https://news.thaipbs.or.th/content/298428. เข้าถึงเมื่อ: 20 ก.ย. 2564.
"ไพบูลย์" เสนอคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับไอลอว์. (17 พ.ย. 2563). ไทยพีบีเอส. เว็บไซต์:&nbsp;[https://news.thaipbs.or.th/content/298428 https://news.thaipbs.or.th/content/298428]. เข้าถึงเมื่อ: 20 ก.ย. 2564.


'ชวน'สั่งพักประชุม 'ไอลอว์'สุดเจ็บโดนส.ว.หาว่าขายชาติ. (18 พ.ย. 2563). เดลินิวส์. เว็บไซต์:&nbsp;https://www.dailynews.co.th/politics/807547/. เข้าถึงเมื่อ: 20 ก.ย. 2564.
'ชวน'สั่งพักประชุม 'ไอลอว์'สุดเจ็บโดนส.ว.หาว่าขายชาติ. (18 พ.ย. 2563). เดลินิวส์. เว็บไซต์:&nbsp;[https://www.dailynews.co.th/politics/807547/ https://www.dailynews.co.th/politics/807547/]. เข้าถึงเมื่อ: 20 ก.ย. 2564.


"'รัฐสภา'มีมติผ่านร่าง13ของปชป. แค่ร่างเดียวที่เหลือตก!". (25 มิ.ย. 2564). เดลินิวส์. เว็บไซต์:&nbsp;https://www.dailynews.co.th/politics/852213/. เข้าถึงเมื่อ: 20 ก.ย. 2564.
"'รัฐสภา'มีมติผ่านร่าง13ของปชป. แค่ร่างเดียวที่เหลือตก!". (25 มิ.ย. 2564). เดลินิวส์. เว็บไซต์:&nbsp;[https://www.dailynews.co.th/politics/852213/ https://www.dailynews.co.th/politics/852213/]. เข้าถึงเมื่อ: 20 ก.ย. 2564.


[[Category:รัฐธรรมนูญ]][[Category:รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560]][[Category:การแก้ไขรัฐธรรมนูญ]]
[[Category:รัฐธรรมนูญ]] [[Category:รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560]] [[Category:การแก้ไขรัฐธรรมนูญ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:35, 10 สิงหาคม 2565

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร และ ศิปภน อรรคศรี

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

 

          หลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ประกาศใช้ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 การเคลื่อนไหวของประชาสังคมที่ไม่พอใจในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงที่มีกระแสของการต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญก่อนการลงประชามติเมื่อ พ.ศ. 2559 โดยช่วงเวลาดังกล่าวมีกลุ่มต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญอย่างกว้างขวางตั้งแต่ภาคประชาสังคม อาทิ กลุ่มประชาธิปไตยใหม่ (NDM) กลุ่มสมัชชาคนจน นักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัย ตลอดจนพรรคการเมืองทั้งฝั่งเพื่อไทย และประชาธิปัตย์  (ไทยรัฐ, 2559) อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญใน ปี 2559 ไม่ประสบความสำเร็จมากนักหากสังเกตจากการที่ร่างรัฐธรรมนูญได้รับคะแนนเสียงประชามติใน วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เห็นชอบ 61.40% ไม่เห็นชอบ 38.60% ขณะที่คำถามพ่วงของประชามติที่สอบถามความเห็นชอบที่จะให้อำนาจสมาชิกวุฒิสภาเลือกนายกรัฐมนตรี ได้รับความเห็นชอบอยู่ที่ 58.11% ต่อ 41.89% ที่ไม่เห็นชอบ (โพสต์ทูเดย์, 2559)

          เมื่อผลการลงคะแนนเสียงประชามติเป็นเช่นนั้นแล้ว ผลลัพธ์ที่ตามมาคือไม่เพียงแต่จะส่งผลให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบของประชาชนตามกฎหมาย หากแต่ยังทำให้เกิดการเปิดโอกาสให้สมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งได้มีส่วนร่วมในการเลือกนายกรัฐมนตรีคนถัดไปด้วยกัน ซึ่งประเด็นอำนาจของวุฒิสภานี้เองก็เป็นหนึ่งในประเด็นที่ทั้งภาคประชาชน นักวิชาการ รวมถึงพรรคการเมืองได้แสดงความไม่พอใจต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และสั่งสมประสบการณ์ที่พบเห็นความบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเรื่อยมาจนเกิดเป็นกระแสให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ    

 

ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับ

          เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ได้มีการประชุมรัฐสภาเพื่ออภิปรายญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีการยื่นเข้ามาจากทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน รวมถึงภาคประชาสังคมอย่างกลุ่มไอลอว์ (ILAW) โดยสาระสำคัญของ 7 ฉบับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ สามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้ (มติชนออนไลน์, 2563)

          ฉบับแรก เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อเสนอให้มีการแก้ไขมาตรา 256 ว่าด้วยการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จำนวน 200 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ภายใต้เงื่อนไขการแก้ไขภายใน 120 วันหลังจากเลือกตั้ง ส.ส.ร. แต่ห้ามแก้ไขหมวดที่ 1 และ 2 ของรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาด

          ฉบับที่สอง เสนอโดยพรรคร่วมรัฐบาล เสนอให้แก้ไขมาตรา 256 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. เช่นเดียวกับฉบับแรก จำนวน 200 คน หากแต่แบ่งสัดส่วนเป็น 150 คนจากการเลือกตั้ง และ50 คนมาจากการแต่งตั้ง ภายใต้เงื่อนไขการแก้ไขภายใน 240 วันหลังจากเลือกตั้ง ส.ส.ร. แต่ห้ามแก้ไขหมวดที่ 1 และ 2 ของรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาด 

          ฉบับที่สาม เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอให้แก้ไขมาตรา 270 และ 271 เพื่อตัดทอนอำนาจของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในการติดตามการปฏิรูปประเทศออกจากรัฐธรรมนูญ

          ฉบับที่สี่ เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อแก้ไขมาตรา 272 ไม่ให้ ส.ว. มีอำนาจในการร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี และแก้ไขมาตรา 159 เพื่อไม่ให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอกที่มิใช่สมาชิกรัฐสภา

          ฉบับที่ห้า เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน เป็นญัตติแก้ไขมาตรา 279 เพื่อยกเลิกความชอบธรรมทางกฎหมายของประกาศหรือคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (ค.ส.ช.)

          ฉบับที่หก เสนอโดยพรรคร่วมฝ่ายค้าน เพื่อให้มีการแก้ไขระบบเลือกตั้งจากปัจจุบันที่เป็นระบบบัตรใบเดียวตามระบบจัดสรรปันส่วนผสม (Mixed Member Apportionment system: MMA) ให้เป็นแบบบัตร 2 ใบ เช่นเดียวกับที่เคยใช้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540

          ฉบับที่เจ็ด เสนอโดยภาคประชาชน จากกลุ่มโครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ (ILAW) ซึ่งมีการเสนอแก้ไขใน 6 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นหลักเกณฑ์การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นการลดอำนาจและแก้ไขที่มาของ ส.ว. ประเด็นการยกเลิกมาตราว่าด้วยยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ ประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรีให้มาจากรายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ประเด็นอำนาจของ ส.ส.ร. ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และประเด็นการสรรหากรรมการในองค์กรอิสระและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

          หลังจากพิจารณาเนื้อหาสาระของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับที่ได้มีการนำเสนอกันมานั้นกล่าวได้ว่าให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเมืองไทยใน 5 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1) ด้านของการแก้ไขกฎเกณฑ์การตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีความพร้อมหากอนาคตข้างหน้าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ 2) ด้านที่มาและขอบเขตอำนาจของ ส.ว. 3) ด้านการแก้ไขระบบเลือกตั้ง 4) ด้านการยกเลิกกฎหมายหรือสิ่งที่ ค.ส.ช. เคยบังคับใช้เมื่อยังอยู่ในอำนาจ และ 5) ด้านที่มาและขอบเขตอำนาจขององค์กรอิสระ  

          แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยการเสนอกฎหมายที่จะมีผลลดทอนอำนาจของกลุ่มที่ครองอำนาจทางการเมืองอยู่ในขณะนี้ไม่ว่าจะเป็น ส.ว. หรือนักการเมืองที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลยุค ค.ส.ช. ส่งผลให้สิ่งที่นำเสนอกลายเป็นประเด็นท้าทาย การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็คือ กลุ่มที่จะเสียอำนาจจะยินยอมให้ลดอำนาจของตัวเองได้อย่างไร ซึ่งประเด็นนี้กลายเป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณาในลำดับถัดไป

 

ความยากของกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

          เมื่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับได้ยื่นเข้ารัฐสภาด้วยความมุ่งหวังที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีความเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นในมุมของแต่ละกลุ่ม สิ่งที่ต้องพิจารณาตามมาก็คือ เมื่อประเด็นที่ร่างรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับเสนอมานั้นมีผลอันเป็นการตัดทอนอำนาจของผู้มีอำนาจอยู่ในขณะนั้น อาทิ การยกเลิกอำนาจของ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี หรือหลักเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ คำถามที่ตามมาคือ แล้วเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญเดิมนั้นมีความยากในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอย่างไร ภายในหมวดที่ 15 ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ประกอบด้วย 2 มาตราสำคัญที่เป็นข้อจำกัดในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้แก่ มาตรา 255 และ มาตรา 256

          ข้อจำกัดแรก คือ มาตรา 255 ว่าด้วยการจำกัดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมิให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และห้ามเปลี่ยนรูปแบบของรัฐ ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศมีเสถียรภาพทางการเมือง ส่วนมาตรา 256 เพิ่มเข้ามาในระหว่างร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทำได้ยากมากและเป็นการขยายความเป็นการเมืองในส่วนของอำนาจของการตีความรัฐธรรมนูญออกไปยังองค์กรนอกรัฐสภา ทั้งนี้เนื้อความโดยสรุปจึงมี 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่

          ส่วนแรก คือ จำนวนเสียงในรัฐสภาที่ต้องเห็นชอบต่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เนื่องจากตาม มาตรา 256 (2) ระบุให้มีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภา 3 วาระ ซึ่งแต่ละวาระต่างกำหนดหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่

          1) วาระแรก ขั้นรับหลักการ จำเป็นต้องได้รับเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา แต่ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของวุฒิสภา

          2) วาระที่สอง ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา วาระนี้ได้รับเสียงข้างมากเห็นชอบก็เพียงพอ นอกจากนั้นหากเป็นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ประชาชนเสนอ ก็จำเป็นต้องให้ผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อเสนอกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นในวาระการประชุมด้วย

          3) วาระที่สาม ออกเสียงลงคะแนนขั้นสุดท้าย จำเป็นต้องใช้เสียงเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา แต่ในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

          ด้วยเหตุนี้การที่ร่างกฎหมายจะสามารถผ่านไปได้ในทั้งสามวาระจึงเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากจำเป็นต้องมีการประนีประนอมสูงมากจากทั้งฝ่ายของรัฐบาล ฝ่ายค้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส.ว. ที่มีอำนาจสำคัญมากในการเห็นชอบกฎหมายให้ได้ครบตามจำนวนเสียงเห็นชอบขั้นต่ำที่ มาตรา 256 (2) กำหนดไว้

          ส่วนที่สองว่าด้วยข้อจำกัดของการจัดทำประชามติเมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในหมวดที่กำหนดตาม มาตรา 256 (8) เพราะว่าหากร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบนั้นเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 2 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หรือ หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นก่อนที่จะดำเนินการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายก็จำเป็นต้องจัดให้มีการทำประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และหากผลคะแนนเสียงเห็นชอบกับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจึงจะถือว่าเป็นการอนุมัติให้ดำเนินการตามลำดับต่อไป

          ประการสุดท้ายที่เป็นข้อจำกัดการเสนอเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ คือ สิทธิตาม มาตรา 256 (9) ส.ส., ส.ว. หรือสมาชิกทั้งสองสภารวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสมาชิกทั้งหมดของแต่ละสภามีสิทธิ์เข้าชื่อเพื่อยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความความสอดคล้องระหว่างรัฐธรรมนูญกับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยศาลดำเนินการภายใน 30 วัน

          โดยสรุปแล้ว จาก 3 ส่วนสำคัญของกระบวนการผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นแสดงให้เห็นว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เนื่องจากกระบวนการนี้เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการประนีประนอมทางการเมืองอย่างเลี่ยงมิได้ เพียงแค่พลังของรัฐบาลหรือฝ่ายค้านที่อาศัยพลังสนับสนุนของประชาชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแล้วจะสามารถผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไปได้ แต่ยังต้องปรับให้หลายฝ่ายยอมรับได้ ทั้ง ส.ว. ประชาชนทั้งประเทศที่มีสิทธิ์ออกเสียงประชามติ ศาลรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจตีความกฎหมาย ดังนั้นร่างกฎหมายที่สุดโต่งเกินไปหรือไม่ประนีประนอมกับฝ่ายที่คิดเห็นต่าง ก็จะไม่สามารถผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้นได้

 

ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับเดียวที่ได้ไปต่อ และแนวโน้มในอนาคต

          ดังที่ได้สรุปภาพรวมของความยากในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้ข้างต้น ความสำเร็จของกลไกยับยั้งเสียงข้างมากที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญได้สะท้อนออกมาให้เห็นจากปรากฎการณ์เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับ ซึ่งผลลัพธ์ของเหตุการณ์พิจารณาเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นในวาระแรกนั้น วันที่ 18 พ.ย. 2563 ซึ่งเป็นวันลงมติรับหลักการวาระแรกของร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับ ผลของการลงมติในวันนั้นจบลงด้วยการลงมติเห็นชอบเพียง 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 ของพรรคฝ่ายค้าน และฉบับที่ 2 ของพรรคฝ่ายรัฐบาล ขณะที่ฉบับที่ 3 ฉบับที่ 4 ฉบับที่ 5 ฉบับที่ 6 ของพรรคฝ่ายค้าน และฉบับที่ 7 ของกลุ่มภาคประชาชน ILAW ถูกตีตกทั้งหมด

          ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเหตุของการถูกตีตกของ 5 ฉบับข้างต้นนั้น ฉบับที่ 7 ของกลุ่ม ILAW มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เพราะว่าได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. เพียง 3 เสียง ทว่าไม่เห็นชอบรวม 139 เสียง และงดออกเสียงอีก 369 เสียง ขณะที่ฉบับที่ 3 ฉบับที่ 4 ฉบับที่ 5 และ 6 ได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ไม่ถึง 1 ใน 3 หรือก็คือประมาณ 83 คน เนื่องจาก ส.ว. เสียงใหญ่งดออกเสียง ต่างกับฉบับที่ 7 ของกลุ่ม ILAW ได้รับเสียงต่อต้านจาก ส.ว. และ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลมากเป็นพิเศษหากพิจารณาจากตัวอย่างข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ต่อไปนี้ เช่น “ส.ว.คำนูณ ชำแหละยิบร่างแก้ รธน.ฉบับไอลอว์ จับไต๋นิรโทษคดีทุจริต!”  (ไทยโพสต์, 2563) หรือ “ไพบูลย์ เสนอคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับไอลอว์”  (ไทยพีบีเอส, 2563) หรือข้อกล่าวหาหนักหนากว่านั้นคือ มีการที่ ส.ว. กล่าวหากลุ่ม ILAW ในประเด็นของการขายชาติ (เดลินิวส์, 2563) เป็นต้น ทั้งหมดที่กล่าวจึงเป็นตัวอย่างที่สะท้อนได้ชัดเจนถึงกระแสของความพยายามปฏิเสธทุกกระแสของความเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะถอนรากหรือกระทบกับอำนาจของ ส.ว. อย่างชัดเจน

          อย่างไรก็ตาม ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญยังคงอยู่ในขั้นตอนของรัฐสภา เมื่อวันที่ 23-24 มิ.ย. 2564 ที่มีการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จำนวน 13 ฉบับ (เดลินิวส์, 2564) ได้มีการนำเสนอประเด็นแก้ไขหลากหลาย อาทิ ประเด็นสิทธิเสรีภาพ ประเด็นแก้ไขระบบเลือกตั้งให้เป็นบัตรสองใบ ประเด็นตัดอำนาจของ ส.ว. หรือ ประเด็นการปรับเปลี่ยนวิธีไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทว่าท้ายที่สุดผลการลงมติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญวาระแรกในวันที่ 24 มิ.ย. 2564 จบลงด้วยการผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพียงฉบับเดียวนั่นก็คือ ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 13 เสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ ว่าด้วยการแก้ไขระบบเลือกตั้งให้เป็นบัตรสองใบ ซึ่งปรากฎการณ์ในลักษณะนี้สะท้อนเป็นอย่างดีถึงสิ่งที่ผู้เขียนได้นำเสนอไปข้างต้นในเรื่องของกลไกยับยั้งเสียงข้างมากก็ได้ทำงานอีกครั้งโดยผ่านการลงคะแนนเสียงต่อต้านในส่วนของ ส.ว.

 

บรรณานุกรม

"ไม่รับ‘ร่างรธน.’ 43องค์กร ไม่เอาถามพ่วง". (25 ก.ค. 2559). ไทยรัฐ. เว็บไซต์: https://www.thairath.co.th/content/671812. เข้าถึงเมื่อ 30 ส.ค. 2564.

"ประชามติ ‘เหนือ-อีสาน’ ฐานการเมืองคงเดิม". (9 ส.ค. 2559). โพสต์ทูเดย์. เว็บไซต์: https://www.posttoday.com/politic/analysis/447544. เข้าถึงเมื่อ 30 ส.ค. 2564.

'เปลวสีเงิน. (9 พ.ย. 2563). 'ส.ว.คำนูณ'ชำแหละยิบร่างแก้รธน.ฉบับ'ไอลอว์' จับไต๋นิรโทษคดีทุจริต!. ไทยโพสต์. เว็บไซต์: https://www.thaipost.net/main/detail/83252. เข้าถึงเมื่อ: 20 ก.ย. 2564.

"จับตาประชุมร่วมรัฐสภา 17-18 พ.ย. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ ‘ไปต่อ-คว่ำ’ ?". (17 พ.ย. 2563). มติชนออนไลน์. เว็บไซต์: https://www.matichon.co.th/politics/news_2445362. เข้าถึงเมื่อ 30 ส.ค. 2564

"ไพบูลย์" เสนอคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับไอลอว์. (17 พ.ย. 2563). ไทยพีบีเอส. เว็บไซต์: https://news.thaipbs.or.th/content/298428. เข้าถึงเมื่อ: 20 ก.ย. 2564.

'ชวน'สั่งพักประชุม 'ไอลอว์'สุดเจ็บโดนส.ว.หาว่าขายชาติ. (18 พ.ย. 2563). เดลินิวส์. เว็บไซต์: https://www.dailynews.co.th/politics/807547/. เข้าถึงเมื่อ: 20 ก.ย. 2564.

"'รัฐสภา'มีมติผ่านร่าง13ของปชป. แค่ร่างเดียวที่เหลือตก!". (25 มิ.ย. 2564). เดลินิวส์. เว็บไซต์: https://www.dailynews.co.th/politics/852213/. เข้าถึงเมื่อ: 20 ก.ย. 2564.