ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉม..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล | '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ | ||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
= '''ความเป็นมา''' = | = '''ความเป็นมา''' = | ||
เมื่อ[[พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร_พ.ศ._2518]] บังคับใช้มาเป็นระยะเวลาเกือบจะครบ 10 ปีแล้ว และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวถึง 5 ครั้ง แต่ก็ยังมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการ[[กรุงเทพมหานคร]]มีความเหมาะสมและคล่องตัวสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้โดยสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้สอดคล้องตามหลักการปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2517]] โดยการจัดแบ่งหมวดหมู่ของกฎหมายเสียใหม่ และได้ปรับปรุงรายละเอียดในการปฏิบัติราชการส่วนท้องถิ่นให้มีระเบียบที่ชัดเจนเพิ่มมากขึ้น อนึ่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ที่ประกาศใช้แทนกฎหมายฉบับเดิม ได้กำหนดโครงสร้างของกฎหมาย จำนวน 132 มาตรา จัดแบ่งออก | เมื่อ[[พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร_พ.ศ._2518|พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร_พ.ศ._2518]] บังคับใช้มาเป็นระยะเวลาเกือบจะครบ 10 ปีแล้ว และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวถึง 5 ครั้ง แต่ก็ยังมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการ[[กรุงเทพมหานคร|กรุงเทพมหานคร]]มีความเหมาะสมและคล่องตัวสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้โดยสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้สอดคล้องตามหลักการปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2517|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2517]] โดยการจัดแบ่งหมวดหมู่ของกฎหมายเสียใหม่ และได้ปรับปรุงรายละเอียดในการปฏิบัติราชการส่วนท้องถิ่นให้มีระเบียบที่ชัดเจนเพิ่มมากขึ้น อนึ่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ที่ประกาศใช้แทนกฎหมายฉบับเดิม ได้กำหนดโครงสร้างของกฎหมาย จำนวน 132 มาตรา จัดแบ่งออก | ||
- คำปรารถและส่วนนำของกฎหมายอันประกอบด้วยชื่อกฎหมาย วันที่มีผลใช้บังคับข้อกำหนดให้ยกเลิกกฎหมายเดิม รวมถึงการกำหนดให้กฎหมายอื่นที่มีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับกฎหมายนี้ให้ใช้กฎหมายนี้ และรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย | - คำปรารถและส่วนนำของกฎหมายอันประกอบด้วยชื่อกฎหมาย วันที่มีผลใช้บังคับข้อกำหนดให้ยกเลิกกฎหมายเดิม รวมถึงการกำหนดให้กฎหมายอื่นที่มีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับกฎหมายนี้ให้ใช้กฎหมายนี้ และรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย | ||
บรรทัดที่ 50: | บรรทัดที่ 50: | ||
การบริหารกรุงเทพมหานครจัดแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ สภากรุงเทพมหานคร และ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดังนี้ | การบริหารกรุงเทพมหานครจัดแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ สภากรุงเทพมหานคร และ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดังนี้ | ||
| <u>ส่วนที่ 1</u> สภากรุงเทพมหานคร | ||
[[สภากรุงเทพมหานคร]]มาจากการเลือกตั้งแบ่งแบบเขต มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี[[#_ftn4|[4]]] สำหรับจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครคำนวณตามเกณฑ์ราษฎรที่มีชื่อในทะเบียนบ้านในกรุงเทพมหานคร[[#_ftn5|[5]]] ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นประธานสภากรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน และ รองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกิน 2 คน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี[[#_ftn6|[6]]] ปฏิบัติหน้าที่ในกิจการของสภากรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร[[#_ftn7|[7]]] | [[สภากรุงเทพมหานคร|สภากรุงเทพมหานคร]]มาจากการเลือกตั้งแบ่งแบบเขต มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี[[#_ftn4|[4]]] สำหรับจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครคำนวณตามเกณฑ์ราษฎรที่มีชื่อในทะเบียนบ้านในกรุงเทพมหานคร[[#_ftn5|[5]]] ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นประธานสภากรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน และ รองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกิน 2 คน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี[[#_ftn6|[6]]] ปฏิบัติหน้าที่ในกิจการของสภากรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร[[#_ftn7|[7]]] | ||
การคานและตรวจสอบอำนาจระหว่างสภากรุงเทพมหานครและ[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]] ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งกันขึ้นของทั้งสององค์กร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสามารถร้องขอให้มีการ '''“ยุบสภากรุงเทพมหานคร”''' มาใช้เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่[[#_ftn8|[8]]] ในขณะที่[[สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร]]ย่อมมีสิทธิ '''“ตั้งกระทู้ถามการทำงาน”''' ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[[#_ftn9|[9]]] มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติ '''“ขอเปิดอภิปรายทั่วไป”''' เพื่อให้ผู้ว่าราชการแถลงตอบ[[#_ftn10|[10]]] และมีอำนาจเลือก '''“คณะกรรมการสามัญ”''' และ '''“คณะกรรมการวิสามัญ”''' จากสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือบุคคลภายนอกทำหน้าที่สอบสวนหรือศึกษาเรื่องในอำนาจหน้าที่[[#_ftn11|[11]]] พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ[[#_ftn12|[12]]] | การคานและตรวจสอบอำนาจระหว่างสภากรุงเทพมหานครและ[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร|ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]] ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งกันขึ้นของทั้งสององค์กร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสามารถร้องขอให้มีการ '''“ยุบสภากรุงเทพมหานคร”''' มาใช้เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่[[#_ftn8|[8]]] ในขณะที่[[สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร|สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร]]ย่อมมีสิทธิ '''“ตั้งกระทู้ถามการทำงาน”''' ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[[#_ftn9|[9]]] มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติ '''“ขอเปิดอภิปรายทั่วไป”''' เพื่อให้ผู้ว่าราชการแถลงตอบ[[#_ftn10|[10]]] และมีอำนาจเลือก '''“คณะกรรมการสามัญ”''' และ '''“คณะกรรมการวิสามัญ”''' จากสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือบุคคลภายนอกทำหน้าที่สอบสวนหรือศึกษาเรื่องในอำนาจหน้าที่[[#_ftn11|[11]]] พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ[[#_ftn12|[12]]] | ||
การประชุมสภากรุงเทพมหานคร ต้องมีการประชุมสามัญไม่น้อยกว่าสองสมัยแต่ไม่เกินสี่สมัยในหนึ่งปี[[#_ftn13|[13]]] หากมีกรณีจำเป็นสามารถขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญได้[[#_ftn14|[14]]] การประชุมเป็นไปโดยเปิดเผย[[#_ftn15|[15]]] และใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ในการลงมติต่าง ๆ[[#_ftn16|[16]]] | การประชุมสภากรุงเทพมหานคร ต้องมีการประชุมสามัญไม่น้อยกว่าสองสมัยแต่ไม่เกินสี่สมัยในหนึ่งปี[[#_ftn13|[13]]] หากมีกรณีจำเป็นสามารถขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญได้[[#_ftn14|[14]]] การประชุมเป็นไปโดยเปิดเผย[[#_ftn15|[15]]] และใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ในการลงมติต่าง ๆ[[#_ftn16|[16]]] | ||
บรรทัดที่ 60: | บรรทัดที่ 60: | ||
กฎหมายกำหนดควบคุมสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องไม่ดำรงตำแหน่งซ้ำซ้อนหรือสวมหมวกหลายใบเพื่อไม่ให้เอื้อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่[[#_ftn17|[17]]] | กฎหมายกำหนดควบคุมสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องไม่ดำรงตำแหน่งซ้ำซ้อนหรือสวมหมวกหลายใบเพื่อไม่ให้เอื้อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่[[#_ftn17|[17]]] | ||
| <u>ส่วนที่ 2</u> ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร | ||
ให้กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร[[#_ftn18|[18]]] โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงและลับตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[[#_ftn19|[19]]] มีวาะดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง[[#_ftn20|[20]]] ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดคุณลักษณะและลักษณะต้องห้ามโดยนำหลักการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ เช่น การห้ามดำรงตำแหน่งซ้ำซ้อนในหน่วยงานรัฐหรือเอกชนอื่นใด ห้ามไม่ให้เป็นคู่สัญญากับกรุงเทพมหานคร เป็นต้น[[#_ftn21|[21]]] | ให้กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร[[#_ftn18|[18]]] โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงและลับตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[[#_ftn19|[19]]] มีวาะดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง[[#_ftn20|[20]]] ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดคุณลักษณะและลักษณะต้องห้ามโดยนำหลักการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ เช่น การห้ามดำรงตำแหน่งซ้ำซ้อนในหน่วยงานรัฐหรือเอกชนอื่นใด ห้ามไม่ให้เป็นคู่สัญญากับกรุงเทพมหานคร เป็นต้น[[#_ftn21|[21]]] | ||
บรรทัดที่ 76: | บรรทัดที่ 76: | ||
การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร และ ส่วนที่ 2 เขตและสภาเขต | การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร และ ส่วนที่ 2 เขตและสภาเขต | ||
| <u>ส่วนที่ 1</u> ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร ให้กรุงเทพมหานครจัดมีส่วนราชการภายใน 90 วัน[[#_ftn26|[26]]] จัดแบ่งออกเป็น สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขานารผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร สำนักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานเป็นสำนัก และสำนักงานเขต การตั้ง ยุบ เปลี่ยนแปลง แบ่งส่วนราชการภายในให้จัดทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานครและประกาศในราชกิจจานุเบกษา[[#_ftn27|[27]]] | ||
| <u>ส่วนที่ 2</u> เขตและสภาเขต ให้มีผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักงาน[[#_ftn28|[28]]] โดยในเขตหนึ่ง ๆ ให้มี '''“สภาเขต”''' ทำหน้าที่ให้ข้อคิดเห็นต่อผู้อำนวยการเขตและสภากรุงเทพมหานคร ให้คำแนะนำ คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตร้องขอ[[#_ftn29|[29]]] สภาเขตประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งจำนวนอย่างน้อย เขตละ 7 คน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคน ให้มีสมาชิกสภาเขตเพิ่มขึ้นหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน[[#_ftn30|[30]]] โดยสภาเขตมีวาระคราวละ 4 ปี[[#_ftn31|[31]]] ให้สภาเขตเลือกสมาชิกสภาเขตเป็นประธานสภาเขตและรองประธานสภาเขต มีวาระคราวละ 1 ปี[[#_ftn32|[32]]] ให้สภาเขตประชุมอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง[[#_ftn33|[33]]] | ||
'''4. การรักษาราชการแทนและการปฏิบัติราชการแทน''' | '''4. การรักษาราชการแทนและการปฏิบัติราชการแทน''' | ||
บรรทัดที่ 120: | บรรทัดที่ 120: | ||
= '''บทส่งท้าย''' = | = '''บทส่งท้าย''' = | ||
กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้เสร็จสิ้นภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ 1 กันยายน 2528[[#_ftn55|[55]]] ส่งผลให้มีการจัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นใน วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 ผลการเลือกตั้งมีพลตรี[[จำลอง_ศรีเมือง]] ชนะการเลือกตั้งถือเป็นผู้ว่าราชการกกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้ง คนที่ 2 แต่เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 10[[#_ftn56|[56]]] ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 1 กันยายน 2528[[#_ftn57|[57]]] ทั้งนี้ ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาใช้บังคับโดยอนุโลม[[#_ftn58|[58]]] | กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้เสร็จสิ้นภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ 1 กันยายน 2528[[#_ftn55|[55]]] ส่งผลให้มีการจัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นใน วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 ผลการเลือกตั้งมีพลตรี[[จำลอง_ศรีเมือง|จำลอง_ศรีเมือง]] ชนะการเลือกตั้งถือเป็นผู้ว่าราชการกกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้ง คนที่ 2 แต่เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 10[[#_ftn56|[56]]] ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 1 กันยายน 2528[[#_ftn57|[57]]] ทั้งนี้ ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาใช้บังคับโดยอนุโลม[[#_ftn58|[58]]] | ||
การบังคับใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มีการปรับปรุงแก้ไขถึง 6 ครั้ง และมีผลบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน ดังนี้ | การบังคับใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มีการปรับปรุงแก้ไขถึง 6 ครั้ง และมีผลบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน ดังนี้ | ||
บรรทัดที่ 144: | บรรทัดที่ 144: | ||
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136/ตอนที่ 50ก/หน้า 142/16 เมษายน 2562. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528. | ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136/ตอนที่ 50ก/หน้า 142/16 เมษายน 2562. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528. | ||
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร. | วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร. จาก [https://th.wikipedia.org/wiki/ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร https://th.wikipedia.org/wiki/ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]. | ||
<div> | <div> | ||
| | ||
บรรทัดที่ 260: | บรรทัดที่ 260: | ||
[[#_ftnref55|[55]]] มาตรา 127 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 | [[#_ftnref55|[55]]] มาตรา 127 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 | ||
</div> <div id="ftn56"> | </div> <div id="ftn56"> | ||
[[#_ftnref56|[56]]] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565. | [[#_ftnref56|[56]]] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ข้อมูลจาก [https://th.wikipedia.org/wiki/ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร https://th.wikipedia.org/wiki/ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร], เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565. | ||
</div> <div id="ftn57"> | </div> <div id="ftn57"> | ||
[[#_ftnref57|[57]]] มาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 | [[#_ftnref57|[57]]] มาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 | ||
บรรทัดที่ 268: | บรรทัดที่ 268: | ||
| | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:การปกครองท้องถิ่น]][[Category:ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น]][[Category:ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น]][[Category:โครงสร้างการบริหารงานกรุงเทพมหานคร]][[Category:อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร]][[Category:กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร]][[Category:กรุงเทพมหานคร]] | [[Category:การปกครองท้องถิ่น]] [[Category:ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น]] [[Category:ว่าด้วยการปกครองท้องถิ่น]] [[Category:โครงสร้างการบริหารงานกรุงเทพมหานคร]] [[Category:อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร]] [[Category:กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร]] [[Category:กรุงเทพมหานคร]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:33, 21 กรกฎาคม 2565
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
ความเป็นมา
เมื่อพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร_พ.ศ._2518 บังคับใช้มาเป็นระยะเวลาเกือบจะครบ 10 ปีแล้ว และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวถึง 5 ครั้ง แต่ก็ยังมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการกรุงเทพมหานครมีความเหมาะสมและคล่องตัวสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้โดยสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้สอดคล้องตามหลักการปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2517 โดยการจัดแบ่งหมวดหมู่ของกฎหมายเสียใหม่ และได้ปรับปรุงรายละเอียดในการปฏิบัติราชการส่วนท้องถิ่นให้มีระเบียบที่ชัดเจนเพิ่มมากขึ้น อนึ่ง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ที่ประกาศใช้แทนกฎหมายฉบับเดิม ได้กำหนดโครงสร้างของกฎหมาย จำนวน 132 มาตรา จัดแบ่งออก
- คำปรารถและส่วนนำของกฎหมายอันประกอบด้วยชื่อกฎหมาย วันที่มีผลใช้บังคับข้อกำหนดให้ยกเลิกกฎหมายเดิม รวมถึงการกำหนดให้กฎหมายอื่นที่มีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับกฎหมายนี้ให้ใช้กฎหมายนี้ และรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย
- หมวด 1 การจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
- หมวด 2 การบริหารกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่ 1 สภากรุงเทพมหานคร
ส่วนที่ 2 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- หมวด 3 การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่ 1 ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่ 2 เขตและสภาเขต
- หมวด 4 การรักษาราชการแทน และปฏิบัติราชการแทน
- หมวด 5 อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
- หมวด 6 ข้อบัญญัติ
- หมวด 7 การคลังและทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
- หมวด 8 ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกรุงเทพมหานคร
- บทเฉพาะกาล
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
1. การจัดระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
กฎหมายได้ปรับเปลี่ยนสถานะของกรุงเทพมหานครจากทบวงการเมือง ปรับเปลี่ยนให้กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็น “นิติบุคคล” และเป็น “ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น”[1] โดยยังคงแบ่งพื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครเป็นเขตและแขวงอยู่เช่นเดิม[2] ทั้งนี้ ให้กรุงเทพมหานครมีความหมายถึงเขตท้องที่จังหวัด เขตหมายถึงเขตท้องที่อำเภอ และแขวงหมายถึงเขตท้องถิ่นตำบลตามกฎหมายอื่นใดที่ใช้บังคับ[3]
2. การบริหารกรุงเทพมหานคร
การบริหารกรุงเทพมหานครจัดแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ สภากรุงเทพมหานคร และ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดังนี้
ส่วนที่ 1 สภากรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานครมาจากการเลือกตั้งแบ่งแบบเขต มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี[4] สำหรับจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครคำนวณตามเกณฑ์ราษฎรที่มีชื่อในทะเบียนบ้านในกรุงเทพมหานคร[5] ให้สภากรุงเทพมหานครเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเป็นประธานสภากรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน และ รองประธานสภากรุงเทพมหานครไม่เกิน 2 คน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี[6] ปฏิบัติหน้าที่ในกิจการของสภากรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร[7]
การคานและตรวจสอบอำนาจระหว่างสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งกันขึ้นของทั้งสององค์กร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสามารถร้องขอให้มีการ “ยุบสภากรุงเทพมหานคร” มาใช้เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่[8] ในขณะที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครย่อมมีสิทธิ “ตั้งกระทู้ถามการทำงาน” ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[9] มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติ “ขอเปิดอภิปรายทั่วไป” เพื่อให้ผู้ว่าราชการแถลงตอบ[10] และมีอำนาจเลือก “คณะกรรมการสามัญ” และ “คณะกรรมการวิสามัญ” จากสมาชิกสภากรุงเทพมหานครหรือบุคคลภายนอกทำหน้าที่สอบสวนหรือศึกษาเรื่องในอำนาจหน้าที่[11] พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ[12]
การประชุมสภากรุงเทพมหานคร ต้องมีการประชุมสามัญไม่น้อยกว่าสองสมัยแต่ไม่เกินสี่สมัยในหนึ่งปี[13] หากมีกรณีจำเป็นสามารถขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญได้[14] การประชุมเป็นไปโดยเปิดเผย[15] และใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ในการลงมติต่าง ๆ[16]
กฎหมายกำหนดควบคุมสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องไม่ดำรงตำแหน่งซ้ำซ้อนหรือสวมหมวกหลายใบเพื่อไม่ให้เอื้อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่[17]
ส่วนที่ 2 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ให้กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร[18] โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงและลับตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[19] มีวาะดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง[20] ทั้งนี้ กฎหมายกำหนดคุณลักษณะและลักษณะต้องห้ามโดยนำหลักการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ เช่น การห้ามดำรงตำแหน่งซ้ำซ้อนในหน่วยงานรัฐหรือเอกชนอื่นใด ห้ามไม่ให้เป็นคู่สัญญากับกรุงเทพมหานคร เป็นต้น[21]
กฎหมายกำหนดให้มีบุคคลเข้ามาช่วยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการบริหารราชการของกรุงเทพมหานคร และถือเป็นข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง[22] ดังนี้
1. รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ไม่เกิน 4 คน[23]
2. เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 1 คน และ ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำนวนไม่เกินรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[24]
3. ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา และคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[25]
3. การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานคร
การจัดระเบียบราชการของกรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร และ ส่วนที่ 2 เขตและสภาเขต
ส่วนที่ 1 ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร ให้กรุงเทพมหานครจัดมีส่วนราชการภายใน 90 วัน[26] จัดแบ่งออกเป็น สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร สำนักงานเลขานารผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร สำนักหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานเป็นสำนัก และสำนักงานเขต การตั้ง ยุบ เปลี่ยนแปลง แบ่งส่วนราชการภายในให้จัดทำเป็นประกาศของกรุงเทพมหานครและประกาศในราชกิจจานุเบกษา[27]
ส่วนที่ 2 เขตและสภาเขต ให้มีผู้อำนวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักงาน[28] โดยในเขตหนึ่ง ๆ ให้มี “สภาเขต” ทำหน้าที่ให้ข้อคิดเห็นต่อผู้อำนวยการเขตและสภากรุงเทพมหานคร ให้คำแนะนำ คำปรึกษาตามที่ผู้อำนวยการเขตร้องขอ[29] สภาเขตประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งจำนวนอย่างน้อย เขตละ 7 คน ถ้าเขตใดมีราษฎรเกินหนึ่งแสนคน ให้มีสมาชิกสภาเขตเพิ่มขึ้นหนึ่งคนต่อจำนวนราษฎรทุกหนึ่งแสนคน[30] โดยสภาเขตมีวาระคราวละ 4 ปี[31] ให้สภาเขตเลือกสมาชิกสภาเขตเป็นประธานสภาเขตและรองประธานสภาเขต มีวาระคราวละ 1 ปี[32] ให้สภาเขตประชุมอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง[33]
4. การรักษาราชการแทนและการปฏิบัติราชการแทน
กฎหมายกำหนดให้มีการมอบอำนาจเพื่อให้ปฏิบัติราชการแทน โดยจัดทำเป็นหนังสือ ส่วนการรักษาราชการแทนในกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ชั่วคราวไว้ ดังนี้
1. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มอบให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ถ้าจะมอบให้ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หรือผู้อำนวยการเขตปฏิบัติราชการแทนก็ได้แต่ต้องทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา[34]
2. ปลัดกรุงเทพมหานคร มอบให้รองปลัดกรุงเทพมหานคร[35]
3. ผู้อำนวยการสำนักกรุงเทพมหานคร มอบให้รองผู้อำนวยการสำนัก[36]
4. ผู้อำนวยการเขต มอบให้ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต[37]
5. อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครมีอำนาจดำเนินกิจการในเขตกรุงเทพมหานครครอบคลุมทุกด้าน อนึ่ง กฎหมายฉบับนี้ได้เพิ่มอำนาจหน้าที่ในด้านการทะเบียน การผังเมือง การขนส่ง การดูแลรักษาที่สาธารณะ และการควบคุมอาคารเพิ่มเติมขึ้นจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518[38] โดยกรุงเทพมหานครสามารถจัดหารายได้จากการเรียกค่าบริการจากเอกชนและส่วนราชการต่าง ๆ ได้[39] พร้อมอาจร่วมกับบุคคลอื่นก่อตั้งบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัทได้[40] ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนได้โดยความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานครและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน[41]
กรุงเทพมหานครอาจดำเนินกิจการนอกเขตกรุงเทพมหานครได้หากมีความจำเป็นต้องกระทำเพื่อประโยชน์แก่ชาชนในกรุงเทพมหานครและต้องได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร พร้อมกับความยินยอมจากผู้ว่าราชการจังหวัด ราชการส่งท้องถิ่นหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง[42]
6. ข้อบัญญัติ
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะตราขึ้นได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานคร เพื่อการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร การดำเนินการด้านพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร การเงิน การคลัง งบประมาณ หรือเมื่อกฎหมายกำหนดให้ตราเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร[43] การเสนอร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครยังคงเสนอได้โดย[44]
1. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือ
2. สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด
การถ่วงดุลและคานอำนาจระหว่างสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการในด้านการออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร กำหนดไว้ว่าเมื่อสภากรุงเทพมหานครเห็นชอบร่างข้อบัญญัติจะส่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป[45] แต่หากสภากรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครจะตกไป[46] ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เห็นชอบกับสภากรุงเทพมหานครมีสิทธิส่งร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครคืนให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณาทบทวนอีกครั้ง และหากสภากรุงเทพมหานครยืนยันตามเดิมต้องได้คะแนนเสียงยืนยันไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด[47]
7. การคลังและทรัพย์สินของกรุงเทพมหานคร
กฎหมายให้กรุงเทพมหานครสามารถจัดเก็บภาษีประเภทต่าง ๆ เพื่อหารายได้ให้แก่กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย อากรการฆ่าสัตว์[48] ภาษีและค่าธรรมเนียมรถหรือรถยนต์หรือล้อเลื่อน[49] ภาษีบำรุงสำหรับน้ำมันเบนซิน ดีเซล และก๊าซปิโตรเลียม[50] นอกจากนี้ยังสามารถเรียกเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นได้ไม่เกิน ร้อยละ 10 ของภาษีประเภทภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นพนันตามกฎหมายว่าด้วยพนันได้อีก[51] โดยมอบให้เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครมีอำนาจในการจัดเก็บภาษี ในกรณีที่ค้างชำระให้มีอำนาจยึดหรือสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยไม่ต้องขอศาลออกหมายยึดหรือสั่ง[52]
8. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกรุงเทพมหานคร
ถึงแม้ว่ากรุงเทพมหานครจะมีอำนาจหน้าที่ในการจัดหารายได้จากหลายช่องทางก็ตาม กฎหมายก็ยังคงกำหนดให้รัฐบาลต้องตั้งงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนให้แก่กรุงเทพมหานคร[53] และกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมแบบกำกับดูแลการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร[54]
บทส่งท้าย
กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้เสร็จสิ้นภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ 1 กันยายน 2528[55] ส่งผลให้มีการจัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นใน วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 ผลการเลือกตั้งมีพลตรีจำลอง_ศรีเมือง ชนะการเลือกตั้งถือเป็นผู้ว่าราชการกกรุงเทพมหานครที่มาจากการเลือกตั้ง คนที่ 2 แต่เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 10[56] ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 1 กันยายน 2528[57] ทั้งนี้ ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาใช้บังคับโดยอนุโลม[58]
การบังคับใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มีการปรับปรุงแก้ไขถึง 6 ครั้ง และมีผลบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน ดังนี้
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562
ทั้งนี้ สาระสำคัญในการแก้ไข ฉบับที่ 6 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และดำเนินการเลือกตั้งให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รวมถึงการแก้ไขเพิ่มเติมการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร การพ้นจากตำแหน่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และการกระทำอันต้องห้ามของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักธรรมาภิบาล
บรรณานุกรม
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102/ตอนที่ 115/31 สิงหาคม 2528. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528.
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136/ตอนที่ 50ก/หน้า 142/16 เมษายน 2562. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร.
อ้างอิง
[1] มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[2] มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[3] มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[4] มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[5] มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[6] มาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[7] มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[8] มาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[9] มาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[10] มาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[11] มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[12] มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[13] มาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[14] มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[15] มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[16] มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[17] มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[18] มาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[19] มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[20] มาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[21] มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[22] มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[23] มาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[24] มาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[25] มาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[26] มาตรา 126 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[27] มาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[28] มาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[29] มาตรา 98 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[30] มาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[31] มาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[32] มาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[33] มาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[34] มาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[35] มาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[36] มาตรา 83 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[37] มาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[38] มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[39] มาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[40] มาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[41] มาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[42] มาตรา 93 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[43] มาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[44] มาตรา 98 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[45] มาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[46] มาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[47] มาตรา 101 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[48] มาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[49] มาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[50] มาตรา 111 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[51] มาตรา 112 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[52] มาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[53] มาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[54] มาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[55] มาตรา 127 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[56] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565.
[57] มาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
[58] มาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528