ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พุทธศักราช 2476"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉม..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ


 
 
บรรทัดที่ 10: บรรทัดที่ 10:
<span style="font-size:x-large;">'''ความเป็นมา'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''ความเป็นมา'''</span>


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การตรวจเงินแผ่นดินของไทยเริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา '''พระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติแลว่าด้วยกรมต่าง ๆ&nbsp;ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงิน จุลศักราช ''''''1237”''' ดังปรากฏในหมวดมาตราที่ 8 ว่าด้วยออฟฟิซหลวงในพระบรมมหาราชวังที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า '''“ออดิตออฟฟิซ”''' [[#_ftn1|[1]]] จนกระทั่งต่อมาประเทศไทยได้มีการนำระบบรัฐสภาเข้ามาใช้เมื่อมีการปลี่ยนแปลงการปกครองในช่วง พุทธศักราช 2475 ส่งผลให้สภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษาต่อ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อจัดระเบียบการตรวจเงินแผ่นดิน นำผลให้ต่อมาในปี&nbsp;พ.ศ. 2476 รัฐสภาได้ตรา '''พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ''''''2''''''4''''''76'''” นับเป็นกฎหมายตรวจเงินแผ่นดินฉบับแรกภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การตรวจเงินแผ่นดินของไทยเริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา '''“พระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติแลว่าด้วยกรมต่าง ๆ&nbsp;ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงิน จุลศักราช 1237”''' ดังปรากฏในหมวดมาตราที่ 8 ว่าด้วยออฟฟิซหลวงในพระบรมมหาราชวังที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า '''“ออดิตออฟฟิซ”''' [[#_ftn1|[1]]] จนกระทั่งต่อมาประเทศไทยได้มีการนำระบบรัฐสภาเข้ามาใช้เมื่อมีการปลี่ยนแปลงการปกครองในช่วง พุทธศักราช 2475 ส่งผลให้สภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษาต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อจัดระเบียบการตรวจเงินแผ่นดิน นำผลให้ต่อมาในปี&nbsp;พ.ศ. 2476 รัฐสภาได้ตรา '''“พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2476”''' นับเป็นกฎหมายตรวจเงินแผ่นดินฉบับแรกภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง


<span style="font-size:x-large;">'''สาระสำคัญของกฎหมาย'''</span>
<span style="font-size:x-large;">'''สาระสำคัญของกฎหมาย'''</span>
บรรทัดที่ 74: บรรทัดที่ 74:
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50/หน้า 787/ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2476. '''พระราชบัญญัติว่าด้วยว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พุทธศักราช 2476'''
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50/หน้า 787/ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2476. '''พระราชบัญญัติว่าด้วยว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พุทธศักราช 2476'''


สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. '''ประวัติการตรวจเงินแผ่นดินไทย.''' จาก https://www.audit.go.th/ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2664
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. '''ประวัติการตรวจเงินแผ่นดินไทย.''' จาก [https://www.audit.go.th/ https://www.audit.go.th/] เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2664


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 80: บรรทัดที่ 80:
'''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>'''
'''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>'''
<div><div id="ftn1">
<div><div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, ประวัติการตรวจเงินแผ่นดินไทย, เข้าถึงจาก https://www.audit.go.th/ , เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2664
[[#_ftnref1|[1]]] สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, ประวัติการตรวจเงินแผ่นดินไทย, เข้าถึงจาก [https://www.audit.go.th/ https://www.audit.go.th/] , เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2664
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] เรื่องเดียวกัน
[[#_ftnref2|[2]]] เรื่องเดียวกัน
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:กฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่]][[Category:พระปกเกล้าศึกษา]][[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]][[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]]
[[Category:กฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่]] [[Category:พระปกเกล้าศึกษา]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475-2500]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:34, 2 เมษายน 2565

ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ

 

พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พุทธศักราช 2476

ความเป็นมา

          การตรวจเงินแผ่นดินของไทยเริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติแลว่าด้วยกรมต่าง ๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงิน จุลศักราช 1237” ดังปรากฏในหมวดมาตราที่ 8 ว่าด้วยออฟฟิซหลวงในพระบรมมหาราชวังที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “ออดิตออฟฟิซ” [1] จนกระทั่งต่อมาประเทศไทยได้มีการนำระบบรัฐสภาเข้ามาใช้เมื่อมีการปลี่ยนแปลงการปกครองในช่วง พุทธศักราช 2475 ส่งผลให้สภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษาต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อจัดระเบียบการตรวจเงินแผ่นดิน นำผลให้ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 รัฐสภาได้ตรา “พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2476” นับเป็นกฎหมายตรวจเงินแผ่นดินฉบับแรกภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

สาระสำคัญของกฎหมาย

          กฎหมายฉบับนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อการจัดระเบียบการตรวจเงินแผ่นดินขึ้นใหม่โดยให้โอนงานและบรรดาพนักงานเจ้าหน้าที่กรมตรวจเงินแผ่นดินไปสังกัด “คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน” (มาตรา 4) นับเป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทยที่จัดตั้งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินขึ้นมา ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการ กรรมการและเลขาธิการคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (มาตรา 8)

          ผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินต้องมาจากการคัดเลือกของคณะรัฐมนตรี แล้วนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและได้รับความเห็นชอบจากสภา (มาตรา 9) แล้วนำขึ้นทูลเกล้าเพื่อพระราชทานแต่งตั้ง ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “หลวงดำริอิศรานุวรรต” เป็นประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคนแรก พร้อมประกาศแจ้งความตั้งกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
จำนวน 18 คน เป็นองค์คณะ[2]

การดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

          ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีหน้าที่ดำเนินการและควบคุมกิจการของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินในลักษณะของการทำงานรวมกันเป็น “องค์คณะ” โดยต้องมีกรรมการมาประชุมอย่างน้อย 5 นาย จึงจะเป็นองค์ประชุมได้และถือเอาเสียงข้างมาก หากคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ชี้ขาด (มาตรา 10 ประกอบมาตรา 11)

          สำหรับการใช้จ่ายเงินของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กฎหมายกำหนดให้มีการจัดทำบัญชีการรับจ่ายเงินของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินโดยประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้รับผิดชอบ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งพนักงานในกระทรวงการคลังทำหน้าที่ตรวจสอบและจัดทำรายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 6)

อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

          อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นการดำเนินการภายใต้การควบคุมของนายกรัฐมนตรี และจำกัดอำนาจของคณะกรรมการไว้เพียงการวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ (มาตรา 5)

          (1) ตรวจสอบงบปีเงินรายรับรายจ่ายของแผ่นดิน หรือ งบแสดงฐานะการเงินแผ่นดินประจำปี ซึ่งคณะรัฐมนตรีจะนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและแสดงความเห็นว่ารายการจำนวนเงินรับและจ่ายตามงบปีนั้นได้เป็นไปตามงบประมาณประจำปีและตามความจริงหรือไม่ อนึ่ง การตรวจสอบรายจ่ายราชการลับให้ถือว่าเป็นการจ่ายจริงได้ต่อเมื่อนายกรัฐมนตรีได้ลงนามอนุมัติแล้ว (มาตรา 7)

          (2) ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจำปีและแสดงความเห็นว่าการรับจ่ายเป็นการถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่

          (3) ตรวจสอบงบบัญชีของภาพรวมการเมืองใด ๆ ที่นายกรัฐมนตรีจะได้สั่งให้ตรวจสอบเป็นครั้งคราวและทำรายงานเสนอนายกรัฐมนตรี

          (4) เมื่อทำการตรวจสอบบัญชีและเอกสารใด ๆ ปรากฏว่าบัญชีไม่ถูกต้องและเป็นการทุจริตก็มอบคดีให้เจ้าหน้าที่ฟ้องผู้กระทำผิดต่อศาลตามกฎหมาย

          (5) ทำการตรวจสอบบัญชีเอกสารและทรัพย์สินของทบวงการเมือง

          (6) เรียกพนักงานเจ้าหน้าที่ทบวงการเมืองที่รับตรวจมาเพื่อสอบสวน

          (7) เรียกบุคคลใด ๆ มาให้การเป็นพยานในการตรวจบัญชีเอกสารและทรัพย์สินของแผ่นดิน

การเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

          การที่จะนำเรื่องเสนอคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินพิจารณาภายใต้อำนาจหน้าที่นั้น ให้เป็นหน้าที่ของ “ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน” เป็นผู้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัย โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ (มาตรา 12)

          (1) เรื่องที่ต้องนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินพิจารณาวินิจฉัยเสมอ ได้แก่

               - ตรวจสอบงบปีเงินรายรับรายจ่ายของแผ่นดิน หรือ งบแสดงฐานะการเงินแผ่นดินประจำปี

               - ตรวจสอบบัญชีทุนสำรองเงินตราประจำปีและแสดงความเห็นว่าการรับจ่าย

               - ตรวจสอบงบบัญชีของภาพรวมการเมืองใดๆ ที่นายกรัฐมนตรีจะได้สั่งให้ตรวจสอบเป็นครั้งคราว

               - เมื่อทำการตรวจสอบบัญชีและเอกสารใด ๆ ปรากฏว่าบัญชีไม่ถูกต้องและเป็นการทุจริตก็มอบคดีให้เจ้าหน้าที่ฟ้องผู้กระทำผิดต่อศาลตามกฎหมาย

          (2) เรื่องที่ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินสามารถใช้ดุลพินิจวินิจฉัยตามพฤติการณ์ ได้แก่

               - การตรวจสอบบัญชีเอกสารและทรัพย์สินของทบวงการเมือง

               - เรียกพนักงานเจ้าหน้าที่ทบวงการเมืองที่รับตรวจมาเพื่อสอบสวน

               - เรียกบุคคลใด ๆ มาให้การเป็นพยานในการตรวจบัญชีเอกสารและทรัพย์สินของแผ่นดิน

บทสรุป

          พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2476 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นกฎหมายตรวจเงินแผ่นดินฉบับแรกภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองและใช้บังคับมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2522” เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2476

         

บรรณานุกรม

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50/หน้า 787/ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2476. พระราชบัญญัติว่าด้วยว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พุทธศักราช 2476

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. ประวัติการตรวจเงินแผ่นดินไทย. จาก https://www.audit.go.th/ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2664

 

อ้างอิง

[1] สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, ประวัติการตรวจเงินแผ่นดินไทย, เข้าถึงจาก https://www.audit.go.th/ , เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2664

[2] เรื่องเดียวกัน