ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550"
แทนที่เนื้อหาด้วย " [[|''Loading page, please wait...'']]" |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
[['' | '''ผู้เรียบเรียง '''เอกวีร์ มีสุข | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ '''รศ. ดร. นิยม รัฐอมฤต | |||
| |||
'''สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ''''''2550''' | |||
การนำเสนอเนื้อหาสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย หนึ่ง เหตุการณ์รัฐประหารพ.ศ.2549 และการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540 สอง การตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เพื่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550) สาม การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ | |||
| |||
'''เหตุการณ์รัฐประหารพ.ศ.2549 และการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540''' | |||
การรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 มีสาเหตุจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2548 ที่พรรคไทยรักไทยภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรที่ได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดปัญหาจากกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานรัฐสภาและปัญหาการทำงานขององค์กรอิสระเพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รวมถึงการต่อต้านจากพรรคการเมืองฝ่ายค้านต่อรัฐบาลในขณะนั้นอย่างหนัก | |||
ขณะเดียวกันเกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านการทำงานของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยจากการวิพากษ์วิจารณ์โดยนักวิชาการ สื่อมวลชน และข้าราชการ ในประเด็นการทุจริตของรัฐบาล การดำเนินนโญบายประชานิยม และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ รวมถึงเกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกสภาอย่างขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ได้เคลื่อนไหวโดยมีข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีลาออกและเรียกร้องการปฏิรูปการเมืองโดยการร้องขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมือง และการเรียกร้องให้ทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมือง ขณะเดียวกันก็เกิดขบวนการสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากการเลือกตั้งจำนวนมากจากประชาชนคู่ขนานกัน จากความตึงเครียดทางการเมืองดังกล่าวทำให้นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรตัดสินใจประกาศยุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2549 แต่เนื่องจากกระแสต่อต้านการเลือกตั้งจากพรรคฝ่ายค้านที่ปฏิเสธไม่ส่งคนลงรับเลือกตั้ง คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน แม้พรรคไทยรักไทยสามารถชนะการเลือกตั้ง แต่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยความชอบรัฐธรรมนูญในการจัดการเลือกตั้งครั้งนั้น โดยศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งดังกล่าวมิชอบด้วยกฎหมายและให้จัดการเลือกตั้งใหม่ | |||
ท่ามกลางความไม่แน่นอนและความตึงเครียดทางการเมืองดังกล่าว ประกอบกับกระแสการเรียกร้องให้ทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมือง พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้นได้ทำรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 โดยใช้ชื่อคณะทหารว่าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)[[#_ftn1|[1]]] ขณะที่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรกำลังเดินทางเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาและได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540 โดยคปค. ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาใช้เป็นการชั่วคราว โดยมีคำปรารภระบุสาเหตุของการรัฐประหารและการยกเลิกรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 ไว้ว่า | |||
| |||
“...เหตุที่ทำการยึดอำนาจและประกาศให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเสียนั้น ก็โดยปรารถนาจะแก้ไขความเสื่อมศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน ความไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ทำให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยไม่อาจหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ อันเป็นวิกฤติการณ์ร้ายแรงทางการเมืองการปกครอง และปัญหาความขัดแย้งในมวลหมู่ประชาชนที่ถูกปลุกปั่นให้แบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายจนเสื่อมสลายความรู้รักสามัคคีของชนในชาติ อันเป็นวิกฤติการณ์รุนแรงทางสังคม แม้หลายภาคส่วนจะได้ใช้ความพยายามแก้ไขวิกฤติการณ์ดังกล่าวแล้วแต่ก็ไม่เป็นผล กลับมีแนวโน้มว่า จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนถึงขั้นใช้กำลังเข้าปะทะกัน ซึ่งอาจมีการสูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อได้ นับว่า เป็นภยันตรายใหญ่หลวงต่อระบอบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของประเทศ ''จำเป็นต้องกำหนดกลไกทางปกครองที่เหมาะสมแก่สถานการณ์เพื่อใช้ไปพลางก่อน''...”[[#_ftn2|[2]]] | |||
| |||
'''การตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เพื่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550)''' | |||
จากคำปรารถของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 กำหนดให้ “...เร่งดำเนินการให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากประชาชนในทุกขั้นตอน เพื่อให้การเป็นไปตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้นำความกราบบังคมทูล...”[[#_ftn3|<sup><sup>[3]</sup></sup>]] โดยให้ตั้งสมัชชาแห่งชาติจำนวนไม่เกิน 2,000 คน เพื่อให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติคัดเลือกสมาชิกด้วยกันเองเพื่อเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 200 คน โดยสมัชชาแห่งชาติจะนำเสนอบัญชีรายชื่อที่ได้รับการคัดเลือกให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คัดเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อจำนวน 100 คนเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ | |||
สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 100 คน โดยมีประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 1 คนและรองประธานสภารัฐธรรมนูญจำนวนไม่เกิน 2 คน ที่มาจากการลงมติของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยศาสตราจารย์พิเศษนรนิติ เศรษฐบุตร ได้รับเลือกเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ นายเสรี สุวรรณภานนท์เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่1 และนายเดโช สวนานนท์เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 2[[#_ftn4|[4]]] สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ตั้งคณะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ เพื่อทำงานด้านต่าง ๆ | |||
#'''คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ''' จำนวน 35 คน เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จโดยมีนาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริเป็นประธาน | |||
โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาในประเด็นต่าง ๆ จำนวน 6 คณะ คือ 1) คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกรอบที่ 1 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการกระจายอำนาจ 2) คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกรอบที่ 2 ว่าด้วยสถาบันการเมือง 3) คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกรอบที่ 3 ว่าด้วยองค์กรตรวจสอบอิสระและศาล 4) คณะอนุกรรมาธิการติดตามผลและประสานการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน 5) คณะอนุกรรมาธิการจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และ 6) คณะอนุกรรมาธิการจัดทำข้อเสนอแนะในการตราหรือแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ | |||
#'''คณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติ''' เพื่อทำหน้าที่ 1) พิจารณากำหนดกรอบและแนวทางในการดำเนินงานรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ 2) จัดทำข้อสรุปความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นที่สำคัญ ๆ ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ 3) ประสานงานในการรับฟังความคิดเห็นกับคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ และ 4) ดำเนินการศึกษา สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ | |||
โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อศึกษาเรื่องต่าง ๆ จำนวน 7 คณะ ดังนี้ 1) คณะอนุกรรมาธิการประมวลความคิดเห็นประชาชนสู่รัฐธรรมนูญ กรอบที่ 3 องค์กรอิสระ | |||
และศาล 2) คณะอนุกรรมาธิการประมวลความคิดเห็นประชาชนสู่รัฐธรรมนูญ กรอบที่ 2 สถาบัน | |||
การเมือง 3) คณะอนุกรรมาธิการประมวลความคิดเห็นประชาชนสู่รัฐธรรมนูญ กรอบที่ 1 สิทธิเสรีภาพของประชาชน 4) คณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นองค์กรเครือข่ายภาคประชาชน 5) คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาและสำรวจความคิดเห็นของประชาชน 6) คณะอนุกรรมาธิการประสานการมีส่วนร่วมของประชาชน 4 ภาค และ 7) คณะอนุกรรมาธิการประมวลประเด็นความเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างรัฐธรรมนูญ | |||
#'''คณะกรรมาธิการยกร่างหลักเกณฑ์วิธีการออกเสียงประชามติ และการออกเสียงประชามติ ''' เพื่อดำเนินการ 1) พิจารณากำหนด รูปแบบ แนวทางและวิธีการในการยกร่างหลักเกณฑ์ วิธีการออกเสียงประชามติ และการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ 2) พิจารณาดำเนินการในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการออกเสียงประชามติเพื่อบังคับใช้ในการออกเสียงประชามติอย่างถูกต้อง เหมาะสม และ 3) ดำเนินการและควบคุมการจัดให้มีการออกเสียงประชามติโดยประสานงานกับคณะกรรมการการเลือกตั้งและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การออกเสียงประชามติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย | |||
#'''คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อให้ข้อเสนอแนะ ประสาน ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง''' เพื่อให้ข้อเสนอแนะ ประสานให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนแก่คณะกรรมการการเลือกตั้งรวมทั้งติดตามให้มีการปฏิบัติตามประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2550[[#_ftn5|[5]]] | |||
| |||
'''รูปภาพที่ ''''''2: สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550''' | |||
{| border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | |||
|- | |||
| style="width:300px;height:207px;" | | |||
[[File:1634544746585.jpg|RTENOTITLE]] | |||
| style="width:300px;height:207px;" | | |||
[[File:1634544756001.jpg|RTENOTITLE]] | |||
|- | |||
| style="width:300px;" | | |||
'''ศาสตราจารย์พิเศษนรนิติ เศรษฐบุตร''' | |||
''ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)'' | |||
| style="width:300px;" | | |||
'''นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ''' | |||
''ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ'' | |||
|} | |||
| |||
คณะกรรมาธิการได้พิจารณากำหนดกรอบแนวทางหลักในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเป็น 3 กรอบ คือ กรอบที่ 1 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการกระจายอำนาจ กรอบที่ 2 ว่าด้วยสถาบันการเมือง และกรอบที่ 3 ว่าด้วยองค์กรตรวจสอบอิสระและศาล[[#_ftn6|[6]]] | |||
| |||
'''การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ''' | |||
ส่วนการเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญได้จัดให้มี'''การออกเสียงประชามติ '''โดยให้ประชาชนออกเสียงให้ความเห็นขอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 29 กำหนดว่าเมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วต้องเผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติ เพื่อให้ประชาชนให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับและให้จัดการออกเสียงประชามติภายในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร | |||
สภาร่างรัฐธรรมนูญจึงได้ออกประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2550 มีสาระสำคัญ ดังนี้ | |||
#กำหนดให้สภาร่างรัฐธรรมนูญตั้งคณะกรรมาธิการทำหน้าที่เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและจัดทำเอกสารชี้แจงประชาชนทราบถึงสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ และชี้ถึงความแตกต่างกับรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 โดยให้คณะกรรมาธิการพิจารณารูปแบบ แนวทาง และวิธีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กับสื่อประชาสัมพันธ์ของภาครัฐและเอกชนอย่างกว้างขวางและทั่วถึง | |||
#กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยแพร่กระบวนการและขั้นตอนการออกเสียงประชามติให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง | |||
#กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการจัดและควบคุมการออกเสียงประชามติให้เป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรมตามที่สภาร่างรัฐธรรมนูญมอบหมาย โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทำหน้าที่ออกประกาศและระเบียบที่จำเป็นในการดำเนินการ | |||
#การออกเสียงประชามติให้ใช้วิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ ให้กระทำภายในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร โดยให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตออกเสียง ในแต่ละจังหวัดให้กำหนดหน่วยออกเสียงที่คำนึงถึงจำนวนของผู้มีสิทธิออกเสียงโดยถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิแต่ละหน่วยจำนวน 800 คน เป็นประมาณ และความสะดวกในการเดินทางไปใช้สิทธิลงประชามติของประชาชน | |||
#กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิออกเสียงต้องมีสัญชาติไทย (แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติไทยต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี) มีอายุไม่ต่ากว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการออกเสียง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตออกเสียงมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน นับถึงวันออกเสียงประชามติ และไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามที่ประกาศกำหนด | |||
#กำหนดให้มีหีบบัตรออกเสียงและบัตรออกเสียงประชามติที่เหมาะสมและอำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิออกเสียง | |||
#กำหนดระยะเวลาในการออกเสียงประชามติ ระหว่างเวลา 08.00 - 16.00 น.[[#_ftn7|[7]]] | |||
'''รูปภาพที่ ''''''2: ตัวอย่างบัตรออกเสียงประชามติ''' | |||
[[File:1634544703946.jpg|RTENOTITLE]] | |||
[[File:1634544720354.jpg|RTENOTITLE]] | |||
'''ที่มา: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี''''''''', '''ประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2550, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 30 ง, (ราชกิจจานุเบกษา, 16 มีนาคม 2550).''''' | |||
| |||
นอกจากนี้ ภายหลังจากการร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ได้มีการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงประชามติให้กับประชาชนทุกครัวเรือนทั่วประเทศ ในช่วงรณรงค์ก่อนการออกเสียงประชามติมีทั้งฝ่ายสนับสนุนที่มองว่าร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 และช่วยให้ประเทศไทยกลับสู่ระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยอีกครั้ง แต่ฝ่ายคัดค้านมองว่าควรนำรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 กลับมาใช้อีกครั้ง มองว่าเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่มีกระบวนการได้มาที่ไม่ชอบธรรมจากการรัฐประหาร และควรให้มีกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเสรีและทั่วถึงมากขึ้น โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยสามารถแสดงความคิดได้อย่างเสรี[[#_ftn8|<sup><sup>[8]</sup></sup>]] ขณะที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานจำนวนมากเพื่อจัดประชามติ เช่น กรมการปกครอง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ รวมถึงจัดอาสาสมัครเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมาออกเสียงประชามติผ่านอาสาสมัครในการลงพื้นที่ต่าง ๆ และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อและการโฆษณา[[#_ftn9|[9]]] | |||
การลงประชามติรัฐธรรมนูญจัดขึ้นในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ถือเป็นการจัดประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรกของประเทศไทยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางตรง มีประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญร้อยละ 57.81 และไม่รับร่างร้อยละ 42.19[[#_ftn10|<sup><sup>[10]</sup></sup>]] ภายหลังการจัดทำประชามติจึงนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้ในวันที่ 24 สิงหาคม 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550) | |||
| |||
'''ตารางที่ ''''''1: ผลการออกเสียงประชามติ วันที่ 19 สิงหาคม 2550''' | |||
{| border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | |||
|- | |||
| style="width:300px;" | | |||
'''การใช้สิทธิออกเสียงประชามติ รวมทั้งประเทศ''' | |||
| style="width:300px;" | | |||
| |||
|- | |||
| style="width:300px;" | | |||
จำนวนผู้มีสิทธิออกเสียง | |||
| style="width:300px;" | | |||
45,092,955 คน | |||
|- | |||
| style="width:300px;" | | |||
จำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียง | |||
| style="width:300px;" | | |||
25,978,954 คน (57.61%) | |||
|- | |||
| style="width:300px;" | | |||
จำนวนบัตรที่นับเป็นคะแนน | |||
| style="width:300px;" | | |||
25,474,747 บัตร (98.06%) | |||
|- | |||
| style="width:300px;" | | |||
จำนวนบัตรที่ไม่นับเป็นคะแนน | |||
| style="width:300px;" | | |||
504,207 บัตร (1.94%) | |||
|- | |||
| style="width:300px;" | | |||
'''ผลการออกเสียงประชามติ รวมทั้งประเทศ''' | |||
| style="width:300px;" | | |||
| |||
|- | |||
| style="width:300px;" | | |||
เห็นชอบ | |||
| style="width:300px;" | | |||
14,727,306 เสียง (57.81%) | |||
|- | |||
| style="width:300px;" | | |||
ไม่เห็นชอบ | |||
| style="width:300px;" | | |||
10,747,441 เสียง (42.19%) | |||
|} | |||
'''ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ,'''''' ข้อมูลสถิติการออกเสียงประชามติพ.ศ.2550 (กรุงเทพมหานคร: วิสม่า เอเชีย, 2559), 1.''' | |||
| |||
'''บรรณานุกรม''' | |||
นรนิติ เศรษฐบุตร. รัฐธรรมนูญกับการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550. | |||
เบเคอร์, คริส และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร. ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน, 2557. | |||
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย''(''ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 102 ก., 1 ตุลาคม 2549. | |||
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2550, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 30 ง., 16 มีนาคม 2550. | |||
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนพิเศษ 3 ง., 11 มกราคม 2550. | |||
วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์. "นับถอยหลัง "รับ-ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 การเมืองไทยจะไปทางไหน?" สารคดีสิงหาคม 2550. | |||
| |||
วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน และ ชรินทร์ สันประเสริฐ. "รัฐธรรมนูญกับการเมืองการปกครองไทย." ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย, ฐปนรรต พรหมอินทร์ (บรรณาธิการ), 1-148. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561. | |||
วีระ สมความคิด. การติดตามการออกเสียงประชามติ เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2550. | |||
สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. "รายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ." สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม, 2564. [https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=8267&filename=index https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=8267&filename=index]. | |||
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. ข้อมูลสถิติการออกเสียงประชามติพ.ศ.2550. กรุงเทพมหานคร: วิสม่า เอเชีย, 2559. | |||
| |||
<div>อ้างอิง | |||
---- | |||
<div id="ftn1"> | |||
[[#_ftnref1|[1]]] คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร, ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน, 2557). นรนิติ เศรษฐบุตร, รัฐธรรมนูญกับการเมืองไทย (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550), 334-39. และวิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน และ ชรินทร์ สันประเสริฐ, "รัฐธรรมนูญกับการเมืองการปกครองไทย," ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย, ฐปนรรต พรหมอินทร์ (บรรณานุกรม) (นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561), 126-32. | |||
</div> <div id="ftn2"> | |||
[[#_ftnref2|[2]]] สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 102 ก, (ราชกิจจานุเบกษา, 1 ตุลาคม 2549). | |||
</div> <div id="ftn3"> | |||
[[#_ftnref3|[3]]] อ้างแล้ว. | |||
</div> <div id="ftn4"> | |||
[[#_ftnref4|[4]]] สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนพิเศษ 3 ง, (ราชกิจจานุเบกษา, 11 มกราคม 2550). | |||
</div> <div id="ftn5"> | |||
[[#_ftnref5|[5]]] สรุปจาก วีระ สมความคิด, การติดตามการออกเสียงประชามติ เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2550), 23-32. | |||
</div> <div id="ftn6"> | |||
[[#_ftnref6|[6]]] สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, "รายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ," สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม, 2564. [https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=8267&filename=index https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=8267&filename=index]. | |||
</div> <div id="ftn7"> | |||
[[#_ftnref7|[7]]] สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2550, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 30 ง, (ราชกิจจานุเบกษา, 16 มีนาคม 2550). และ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, ข้อมูลสถิติการออกเสียงประชามติพ.ศ.2550 (กรุงเทพมหานคร: วิสม่า เอเชีย, 2559), 3. | |||
</div> <div id="ftn8"> | |||
[[#_ftnref8|[8]]] วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์, "นับถอยหลัง "รับ-ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 การเมืองไทยจะไปทางไหน?," สารคดี, สิงหาคม 2550. | |||
</div> <div id="ftn9"> | |||
[[#_ftnref9|[9]]] สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 4-5. | |||
</div> <div id="ftn10"> | |||
[[#_ftnref10|[10]]] อ้างแล้ว., 1. | |||
</div> </div> | |||
[[Category:หน้าที่มีลิงก์ไฟล์เสีย]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:06, 18 ตุลาคม 2564
ผู้เรียบเรียง เอกวีร์ มีสุข
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ. ดร. นิยม รัฐอมฤต
'สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. '2550
การนำเสนอเนื้อหาสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย หนึ่ง เหตุการณ์รัฐประหารพ.ศ.2549 และการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540 สอง การตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เพื่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550) สาม การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
เหตุการณ์รัฐประหารพ.ศ.2549 และการยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540
การรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 มีสาเหตุจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2548 ที่พรรคไทยรักไทยภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรที่ได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภาจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดปัญหาจากกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานรัฐสภาและปัญหาการทำงานขององค์กรอิสระเพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รวมถึงการต่อต้านจากพรรคการเมืองฝ่ายค้านต่อรัฐบาลในขณะนั้นอย่างหนัก
ขณะเดียวกันเกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านการทำงานของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยจากการวิพากษ์วิจารณ์โดยนักวิชาการ สื่อมวลชน และข้าราชการ ในประเด็นการทุจริตของรัฐบาล การดำเนินนโญบายประชานิยม และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ รวมถึงเกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกสภาอย่างขบวนการพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ได้เคลื่อนไหวโดยมีข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีลาออกและเรียกร้องการปฏิรูปการเมืองโดยการร้องขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมือง และการเรียกร้องให้ทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมือง ขณะเดียวกันก็เกิดขบวนการสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ได้รับเสียงสนับสนุนจากการเลือกตั้งจำนวนมากจากประชาชนคู่ขนานกัน จากความตึงเครียดทางการเมืองดังกล่าวทำให้นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรตัดสินใจประกาศยุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2549 แต่เนื่องจากกระแสต่อต้านการเลือกตั้งจากพรรคฝ่ายค้านที่ปฏิเสธไม่ส่งคนลงรับเลือกตั้ง คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน แม้พรรคไทยรักไทยสามารถชนะการเลือกตั้ง แต่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยความชอบรัฐธรรมนูญในการจัดการเลือกตั้งครั้งนั้น โดยศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งดังกล่าวมิชอบด้วยกฎหมายและให้จัดการเลือกตั้งใหม่
ท่ามกลางความไม่แน่นอนและความตึงเครียดทางการเมืองดังกล่าว ประกอบกับกระแสการเรียกร้องให้ทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมือง พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้นได้ทำรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 โดยใช้ชื่อคณะทหารว่าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)[1] ขณะที่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรกำลังเดินทางเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาและได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540 โดยคปค. ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาใช้เป็นการชั่วคราว โดยมีคำปรารภระบุสาเหตุของการรัฐประหารและการยกเลิกรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 ไว้ว่า
“...เหตุที่ทำการยึดอำนาจและประกาศให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเสียนั้น ก็โดยปรารถนาจะแก้ไขความเสื่อมศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน ความไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ทำให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยไม่อาจหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ อันเป็นวิกฤติการณ์ร้ายแรงทางการเมืองการปกครอง และปัญหาความขัดแย้งในมวลหมู่ประชาชนที่ถูกปลุกปั่นให้แบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่ายจนเสื่อมสลายความรู้รักสามัคคีของชนในชาติ อันเป็นวิกฤติการณ์รุนแรงทางสังคม แม้หลายภาคส่วนจะได้ใช้ความพยายามแก้ไขวิกฤติการณ์ดังกล่าวแล้วแต่ก็ไม่เป็นผล กลับมีแนวโน้มว่า จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนถึงขั้นใช้กำลังเข้าปะทะกัน ซึ่งอาจมีการสูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อได้ นับว่า เป็นภยันตรายใหญ่หลวงต่อระบอบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ และความสงบเรียบร้อยของประเทศ จำเป็นต้องกำหนดกลไกทางปกครองที่เหมาะสมแก่สถานการณ์เพื่อใช้ไปพลางก่อน...”[2]
การตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เพื่อร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550)
จากคำปรารถของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 กำหนดให้ “...เร่งดำเนินการให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากประชาชนในทุกขั้นตอน เพื่อให้การเป็นไปตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้นำความกราบบังคมทูล...”[3] โดยให้ตั้งสมัชชาแห่งชาติจำนวนไม่เกิน 2,000 คน เพื่อให้สมาชิกสมัชชาแห่งชาติคัดเลือกสมาชิกด้วยกันเองเพื่อเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 200 คน โดยสมัชชาแห่งชาติจะนำเสนอบัญชีรายชื่อที่ได้รับการคัดเลือกให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คัดเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อจำนวน 100 คนเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 100 คน โดยมีประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 1 คนและรองประธานสภารัฐธรรมนูญจำนวนไม่เกิน 2 คน ที่มาจากการลงมติของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยศาสตราจารย์พิเศษนรนิติ เศรษฐบุตร ได้รับเลือกเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ นายเสรี สุวรรณภานนท์เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่1 และนายเดโช สวนานนท์เป็นรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ คนที่ 2[4] สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ตั้งคณะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ เพื่อทำงานด้านต่าง ๆ
- คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 35 คน เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จโดยมีนาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริเป็นประธาน
โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาในประเด็นต่าง ๆ จำนวน 6 คณะ คือ 1) คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกรอบที่ 1 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการกระจายอำนาจ 2) คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกรอบที่ 2 ว่าด้วยสถาบันการเมือง 3) คณะอนุกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญกรอบที่ 3 ว่าด้วยองค์กรตรวจสอบอิสระและศาล 4) คณะอนุกรรมาธิการติดตามผลและประสานการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน 5) คณะอนุกรรมาธิการจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และ 6) คณะอนุกรรมาธิการจัดทำข้อเสนอแนะในการตราหรือแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
- คณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติ เพื่อทำหน้าที่ 1) พิจารณากำหนดกรอบและแนวทางในการดำเนินงานรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ 2) จัดทำข้อสรุปความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นที่สำคัญ ๆ ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ 3) ประสานงานในการรับฟังความคิดเห็นกับคณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ และ 4) ดำเนินการศึกษา สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ
โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อศึกษาเรื่องต่าง ๆ จำนวน 7 คณะ ดังนี้ 1) คณะอนุกรรมาธิการประมวลความคิดเห็นประชาชนสู่รัฐธรรมนูญ กรอบที่ 3 องค์กรอิสระ
และศาล 2) คณะอนุกรรมาธิการประมวลความคิดเห็นประชาชนสู่รัฐธรรมนูญ กรอบที่ 2 สถาบัน
การเมือง 3) คณะอนุกรรมาธิการประมวลความคิดเห็นประชาชนสู่รัฐธรรมนูญ กรอบที่ 1 สิทธิเสรีภาพของประชาชน 4) คณะอนุกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นองค์กรเครือข่ายภาคประชาชน 5) คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาและสำรวจความคิดเห็นของประชาชน 6) คณะอนุกรรมาธิการประสานการมีส่วนร่วมของประชาชน 4 ภาค และ 7) คณะอนุกรรมาธิการประมวลประเด็นความเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างรัฐธรรมนูญ
- คณะกรรมาธิการยกร่างหลักเกณฑ์วิธีการออกเสียงประชามติ และการออกเสียงประชามติ เพื่อดำเนินการ 1) พิจารณากำหนด รูปแบบ แนวทางและวิธีการในการยกร่างหลักเกณฑ์ วิธีการออกเสียงประชามติ และการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ 2) พิจารณาดำเนินการในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการออกเสียงประชามติเพื่อบังคับใช้ในการออกเสียงประชามติอย่างถูกต้อง เหมาะสม และ 3) ดำเนินการและควบคุมการจัดให้มีการออกเสียงประชามติโดยประสานงานกับคณะกรรมการการเลือกตั้งและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การออกเสียงประชามติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
- คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อให้ข้อเสนอแนะ ประสาน ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อให้ข้อเสนอแนะ ประสานให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนแก่คณะกรรมการการเลือกตั้งรวมทั้งติดตามให้มีการปฏิบัติตามประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2550[5]
'รูปภาพที่ '2: สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ศาสตราจารย์พิเศษนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) |
นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ |
คณะกรรมาธิการได้พิจารณากำหนดกรอบแนวทางหลักในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเป็น 3 กรอบ คือ กรอบที่ 1 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน และการกระจายอำนาจ กรอบที่ 2 ว่าด้วยสถาบันการเมือง และกรอบที่ 3 ว่าด้วยองค์กรตรวจสอบอิสระและศาล[6]
การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
ส่วนการเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญได้จัดให้มีการออกเสียงประชามติ โดยให้ประชาชนออกเสียงให้ความเห็นขอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 29 กำหนดว่าเมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วต้องเผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติ เพื่อให้ประชาชนให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับและให้จัดการออกเสียงประชามติภายในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
สภาร่างรัฐธรรมนูญจึงได้ออกประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2550 มีสาระสำคัญ ดังนี้
- กำหนดให้สภาร่างรัฐธรรมนูญตั้งคณะกรรมาธิการทำหน้าที่เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญและจัดทำเอกสารชี้แจงประชาชนทราบถึงสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ และชี้ถึงความแตกต่างกับรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 โดยให้คณะกรรมาธิการพิจารณารูปแบบ แนวทาง และวิธีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กับสื่อประชาสัมพันธ์ของภาครัฐและเอกชนอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
- กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยแพร่กระบวนการและขั้นตอนการออกเสียงประชามติให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง
- กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการจัดและควบคุมการออกเสียงประชามติให้เป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรมตามที่สภาร่างรัฐธรรมนูญมอบหมาย โดยให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทำหน้าที่ออกประกาศและระเบียบที่จำเป็นในการดำเนินการ
- การออกเสียงประชามติให้ใช้วิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ ให้กระทำภายในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร โดยให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตออกเสียง ในแต่ละจังหวัดให้กำหนดหน่วยออกเสียงที่คำนึงถึงจำนวนของผู้มีสิทธิออกเสียงโดยถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิแต่ละหน่วยจำนวน 800 คน เป็นประมาณ และความสะดวกในการเดินทางไปใช้สิทธิลงประชามติของประชาชน
- กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิออกเสียงต้องมีสัญชาติไทย (แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติไทยต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี) มีอายุไม่ต่ากว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการออกเสียง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตออกเสียงมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน นับถึงวันออกเสียงประชามติ และไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามที่ประกาศกำหนด
- กำหนดให้มีหีบบัตรออกเสียงและบัตรออกเสียงประชามติที่เหมาะสมและอำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิออกเสียง
- กำหนดระยะเวลาในการออกเสียงประชามติ ระหว่างเวลา 08.00 - 16.00 น.[7]
'รูปภาพที่ '2: ตัวอย่างบัตรออกเสียงประชามติ
ที่มา: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี'''', ประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2550, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 30 ง, (ราชกิจจานุเบกษา, 16 มีนาคม 2550).
นอกจากนี้ ภายหลังจากการร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ได้มีการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงประชามติให้กับประชาชนทุกครัวเรือนทั่วประเทศ ในช่วงรณรงค์ก่อนการออกเสียงประชามติมีทั้งฝ่ายสนับสนุนที่มองว่าร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 และช่วยให้ประเทศไทยกลับสู่ระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยอีกครั้ง แต่ฝ่ายคัดค้านมองว่าควรนำรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 กลับมาใช้อีกครั้ง มองว่าเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่มีกระบวนการได้มาที่ไม่ชอบธรรมจากการรัฐประหาร และควรให้มีกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเสรีและทั่วถึงมากขึ้น โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยสามารถแสดงความคิดได้อย่างเสรี[8] ขณะที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานจำนวนมากเพื่อจัดประชามติ เช่น กรมการปกครอง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ รวมถึงจัดอาสาสมัครเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมาออกเสียงประชามติผ่านอาสาสมัครในการลงพื้นที่ต่าง ๆ และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อและการโฆษณา[9]
การลงประชามติรัฐธรรมนูญจัดขึ้นในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ถือเป็นการจัดประชามติเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญครั้งแรกของประเทศไทยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางตรง มีประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญร้อยละ 57.81 และไม่รับร่างร้อยละ 42.19[10] ภายหลังการจัดทำประชามติจึงนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้ในวันที่ 24 สิงหาคม 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550)
'ตารางที่ '1: ผลการออกเสียงประชามติ วันที่ 19 สิงหาคม 2550
การใช้สิทธิออกเสียงประชามติ รวมทั้งประเทศ |
|
จำนวนผู้มีสิทธิออกเสียง |
45,092,955 คน |
จำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียง |
25,978,954 คน (57.61%) |
จำนวนบัตรที่นับเป็นคะแนน |
25,474,747 บัตร (98.06%) |
จำนวนบัตรที่ไม่นับเป็นคะแนน |
504,207 บัตร (1.94%) |
ผลการออกเสียงประชามติ รวมทั้งประเทศ |
|
เห็นชอบ |
14,727,306 เสียง (57.81%) |
ไม่เห็นชอบ |
10,747,441 เสียง (42.19%) |
'ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ,' ข้อมูลสถิติการออกเสียงประชามติพ.ศ.2550 (กรุงเทพมหานคร: วิสม่า เอเชีย, 2559), 1.
บรรณานุกรม
นรนิติ เศรษฐบุตร. รัฐธรรมนูญกับการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.
เบเคอร์, คริส และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร. ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน, 2557.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 102 ก., 1 ตุลาคม 2549.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2550, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 30 ง., 16 มีนาคม 2550.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนพิเศษ 3 ง., 11 มกราคม 2550.
วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์. "นับถอยหลัง "รับ-ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 การเมืองไทยจะไปทางไหน?" สารคดีสิงหาคม 2550.
วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน และ ชรินทร์ สันประเสริฐ. "รัฐธรรมนูญกับการเมืองการปกครองไทย." ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย, ฐปนรรต พรหมอินทร์ (บรรณาธิการ), 1-148. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561.
วีระ สมความคิด. การติดตามการออกเสียงประชามติ เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2550.
สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. "รายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ." สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม, 2564. https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=8267&filename=index.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. ข้อมูลสถิติการออกเสียงประชามติพ.ศ.2550. กรุงเทพมหานคร: วิสม่า เอเชีย, 2559.
[1] คริส เบเคอร์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร, ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน, 2557). นรนิติ เศรษฐบุตร, รัฐธรรมนูญกับการเมืองไทย (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550), 334-39. และวิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน และ ชรินทร์ สันประเสริฐ, "รัฐธรรมนูญกับการเมืองการปกครองไทย," ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทย, ฐปนรรต พรหมอินทร์ (บรรณานุกรม) (นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561), 126-32.
[2] สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 102 ก, (ราชกิจจานุเบกษา, 1 ตุลาคม 2549).
[3] อ้างแล้ว.
[4] สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนพิเศษ 3 ง, (ราชกิจจานุเบกษา, 11 มกราคม 2550).
[5] สรุปจาก วีระ สมความคิด, การติดตามการออกเสียงประชามติ เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2550), 23-32.
[6] สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, "รายงานของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ," สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม, 2564. https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=8267&filename=index.
[7] สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2550, ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 30 ง, (ราชกิจจานุเบกษา, 16 มีนาคม 2550). และ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, ข้อมูลสถิติการออกเสียงประชามติพ.ศ.2550 (กรุงเทพมหานคร: วิสม่า เอเชีย, 2559), 3.
[8] วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์, "นับถอยหลัง "รับ-ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 การเมืองไทยจะไปทางไหน?," สารคดี, สิงหาคม 2550.
[9] สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 4-5.
[10] อ้างแล้ว., 1.