ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุบพรรคไทยรักษาชาติ"
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง:''' <br/> 1. รองศาสตราจารย์ ดร.กตัญญู&nbs..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 14: | บรรทัดที่ 14: | ||
'''1. ความหมาย หรือ แนวคิด''' | '''1. ความหมาย หรือ แนวคิด''' | ||
เมื่อกิจกรรมต่าง ๆ ในสังคมมีมากมาย กว้างขวาง ก็จำเป็นที่จะต้องอาศัยบุคคลผู้มีความรู้แขนงต่างๆ มารวมกันเป็นองค์กรพรรคการเมืองเพื่อปฏิบัติงานและประสานให้ภารกิจต่างๆ บรรลุวัตถุประสงค์ การเข้ามาทำหน้าที่ของพรรคการเมืองจะเสนอตัวเป็นตัวกลางระหว่างประชาชนกับรัฐบาลหรือกลุ่มอิทธิพลกับรัฐบาล เพื่อพยายามจัดสรรและสนองผลประโยชน์ให้เกิดแก่ประชาชนหรือกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ มากที่สุด | เมื่อกิจกรรมต่าง ๆ ในสังคมมีมากมาย กว้างขวาง ก็จำเป็นที่จะต้องอาศัยบุคคลผู้มีความรู้แขนงต่างๆ มารวมกันเป็นองค์กรพรรคการเมืองเพื่อปฏิบัติงานและประสานให้ภารกิจต่างๆ บรรลุวัตถุประสงค์ การเข้ามาทำหน้าที่ของพรรคการเมืองจะเสนอตัวเป็นตัวกลางระหว่างประชาชนกับรัฐบาลหรือกลุ่มอิทธิพลกับรัฐบาล เพื่อพยายามจัดสรรและสนองผลประโยชน์ให้เกิดแก่ประชาชนหรือกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ มากที่สุด มีเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่จะได้มาซึ่งการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ ดังนั้นพรรคการเมือง ก็คือ กลุ่มบุคคลที่รวมกันขึ้นเพื่อแสวงหาอำนาจทางการเมืองตามวิถีทางของแต่ละรัฐซึ่งกำหนดไว้[[#_ftn1|[1]]] | ||
นอกจากนี้มีผู้ให้ความหมายของพรรคการเมืองไว้มากมาย โดยส่วนใหญ่มีลักษณะร่วมกันอยู่สามประการ ดังนี้[[#_ftn2|[2]]] | นอกจากนี้มีผู้ให้ความหมายของพรรคการเมืองไว้มากมาย โดยส่วนใหญ่มีลักษณะร่วมกันอยู่สามประการ ดังนี้[[#_ftn2|[2]]] | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
1. เป็นกลุ่มบุคคลที่มีการจัดตั้งองค์กรร่วมกัน | 1. เป็นกลุ่มบุคคลที่มีการจัดตั้งองค์กรร่วมกัน | ||
2. มีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน คือ สมาชิกส่วนใหญ่มีความเห็นในทางการเมือง เศรษฐกิจ | 2. มีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน คือ สมาชิกส่วนใหญ่มีความเห็นในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในแนวทางกว้างๆคล้ายๆกัน | ||
3. มีวัตถุประสงค์ให้ได้มาซึ่งอำนาจมหาชน และใช้อำนาจนั้นดำเนินการหรือบริหารประเทศให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น ลักษณะประการนี้สำคัญยิ่งเพราะโดยธรรมชาติในสังคมอาจมีการรวมตัวกันของบุคคลที่มีความคิดเห็นคล้ายกันเข้าด้วยกัน หากแต่ถ้ากลุ่มดังกล่าวไม่ประสงค์จะเข้ามาบริหารประเทศแล้ว ย่อมไม่ใช่พรรคการเมือง อาจเป็นสหภาพแรงงาน สมาคม หรือมูลนิธิเท่านั้น โดยสรุป ความหมายของพรรคการเมือง คือ กลุ่มบุคคลที่มีการจัดตั้งองค์กรร่วมกันโดยมีอุดมการณ์ทางการเมืองเหมือนกัน โดยกลุ่มดังกล่าวมีวัตถุประสงค์จะยึดกุมอำนาจรัฐ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เข้าเป็นรัฐบาลเพื่อดำเนินการตามอุดมการณ์ของตนให้สัมฤทธิ์ผล | 3. มีวัตถุประสงค์ให้ได้มาซึ่งอำนาจมหาชน และใช้อำนาจนั้นดำเนินการหรือบริหารประเทศให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น ลักษณะประการนี้สำคัญยิ่งเพราะโดยธรรมชาติในสังคมอาจมีการรวมตัวกันของบุคคลที่มีความคิดเห็นคล้ายกันเข้าด้วยกัน หากแต่ถ้ากลุ่มดังกล่าวไม่ประสงค์จะเข้ามาบริหารประเทศแล้ว ย่อมไม่ใช่พรรคการเมือง อาจเป็นสหภาพแรงงาน สมาคม หรือมูลนิธิเท่านั้น โดยสรุป ความหมายของพรรคการเมือง คือ กลุ่มบุคคลที่มีการจัดตั้งองค์กรร่วมกันโดยมีอุดมการณ์ทางการเมืองเหมือนกัน โดยกลุ่มดังกล่าวมีวัตถุประสงค์จะยึดกุมอำนาจรัฐ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เข้าเป็นรัฐบาลเพื่อดำเนินการตามอุดมการณ์ของตนให้สัมฤทธิ์ผล | ||
ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองโดยตรง นั้นคือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560[[#_ftn3|[3]]] ซึ่งได้นิยาม “พรรคการเมือง” หมายความว่า | ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองโดยตรง นั้นคือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560[[#_ftn3|[3]]] ซึ่งได้นิยาม “พรรคการเมือง” หมายความว่า คณะบุคคลที่รวมตัวกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองโดยได้จดทะเบียน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งการจัดตั้งพรรคการเมืองนั้นมีขั้นตอนตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ดังนี้ มาตรา 9 บุคคลซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองในแนวทางเดียวกัน และมีคุณสมบัติและ ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ จํานวนไม่น้อยกว่าห้าร้อยคนอาจร่วมกันดําเนินการเพื่อจัดตั้ง พรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ได้ | ||
(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ในกรณีเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี | (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ในกรณีเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี | ||
บรรทัดที่ 48: | บรรทัดที่ 48: | ||
ประเด็นแรก พฤติการณ์ของพรรคไทยรักษาชาติมีเหตุให้ยุบพรรคการเมืองได้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 หรือไม่ ในประเด็นนี้ ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวดที่ 2 ได้บัญญัติว่า พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าโดยกำเนิดทรงดำรงอยู่เหนือการเมืองตามพระประสงค์ของรัชกาลที่ 7 พระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 7 ที่ระบุว่า พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์เป็นที่เคารพ ไม่ควรแก่ตำแหน่งทางการเมือง และควรอยู่เหนือการถูกติเตียน และไม่ควรแก่ตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเป็นการงานที่จะนำมาซึ่งพระเดชและพระคุณย่อมอยู่ในวงที่จะถูกติเตียน อีกเหตุหนึ่งจะนำมาซึ่งความขมขื่นโยในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอันเป็นเวลาที่ต่างฝ่ายต่างโจมตีให้ร้ายซึ่งกันและกัน เพื่อความสงบเรียบร้อยสมัครสมานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างเจ้านานกับราษฎรควรถือเสียว่าพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปย่อมดำรงอยู่เหนือการเมืองทั้งหลาย ส่วนเจ้านายจะทำนุบำรุงประเทศ ก็ย่อมมีโอกาสบริบูรณ์ในทางตำแหน่งประจำและตำแหน่งในวิชาชีพ หลักการพื้นฐานดังกล่าว เป็นเจตนารมณ์ร่วมของการสถาปนาระบอบการปกครองของไทยไว้ในรัฐธรรมนูญแต่เริ่มแรก และเป็นฉันทานุมัติที่ฝ่ายสภาผู้แทนราษฎรให้การยอมรับปฏิบัติสืบต่อมาว่าพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงควรอยู่การเมือง | ประเด็นแรก พฤติการณ์ของพรรคไทยรักษาชาติมีเหตุให้ยุบพรรคการเมืองได้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 หรือไม่ ในประเด็นนี้ ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวดที่ 2 ได้บัญญัติว่า พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าโดยกำเนิดทรงดำรงอยู่เหนือการเมืองตามพระประสงค์ของรัชกาลที่ 7 พระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 7 ที่ระบุว่า พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์เป็นที่เคารพ ไม่ควรแก่ตำแหน่งทางการเมือง และควรอยู่เหนือการถูกติเตียน และไม่ควรแก่ตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเป็นการงานที่จะนำมาซึ่งพระเดชและพระคุณย่อมอยู่ในวงที่จะถูกติเตียน อีกเหตุหนึ่งจะนำมาซึ่งความขมขื่นโยในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอันเป็นเวลาที่ต่างฝ่ายต่างโจมตีให้ร้ายซึ่งกันและกัน เพื่อความสงบเรียบร้อยสมัครสมานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างเจ้านานกับราษฎรควรถือเสียว่าพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปย่อมดำรงอยู่เหนือการเมืองทั้งหลาย ส่วนเจ้านายจะทำนุบำรุงประเทศ ก็ย่อมมีโอกาสบริบูรณ์ในทางตำแหน่งประจำและตำแหน่งในวิชาชีพ หลักการพื้นฐานดังกล่าว เป็นเจตนารมณ์ร่วมของการสถาปนาระบอบการปกครองของไทยไว้ในรัฐธรรมนูญแต่เริ่มแรก และเป็นฉันทานุมัติที่ฝ่ายสภาผู้แทนราษฎรให้การยอมรับปฏิบัติสืบต่อมาว่าพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงควรอยู่การเมือง | ||
ประเด็นที่สอง กรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติจะถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองมาตรา 92 วรรคสองหรือไม่ ในประเด็นนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 6 : 3 เห็นว่าตามกฎหมายกำหนดว่า เมื่อศาลไต่สวนแล้ว มีคำสั่งยุบพรรคจึงชอบที่ศาลจะเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 แต่มีข้อพิจารณาต่อไปว่า เมื่อเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งแล้ว จะต้องเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาเท่าใด เห็นว่าการกำหนดระยะเวลาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งเป็นสิทธิทางการเมืองที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้ง จึงต้องพิจารณาให้ได้สัดส่วนพอเหมาะพอควรกับความร้ายแรงกับโทษ | ประเด็นที่สอง กรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติจะถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองมาตรา 92 วรรคสองหรือไม่ ในประเด็นนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 6 : 3 เห็นว่าตามกฎหมายกำหนดว่า เมื่อศาลไต่สวนแล้ว มีคำสั่งยุบพรรคจึงชอบที่ศาลจะเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 แต่มีข้อพิจารณาต่อไปว่า เมื่อเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งแล้ว จะต้องเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาเท่าใด เห็นว่าการกำหนดระยะเวลาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งเป็นสิทธิทางการเมืองที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้ง จึงต้องพิจารณาให้ได้สัดส่วนพอเหมาะพอควรกับความร้ายแรงกับโทษ | ||
เมื่อพิจารราจากการกระทำของผู้ถูกร้องซึ่งกระทำเพียงขั้นตอนหนึ่งของการได้มาซึ่งรายชื่อของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ยังไม่เกิดความเสียหายร้ายแรง นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาความสำนึกของกรรมการบริหารที่น้อมรับพระราชโองการไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมทันที เมื่อรับทราบแสดงให้เห็นว่ายังมีความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ จึงเห็นสมควรกำหนดระยะเวลาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ 10 ปี ตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค | เมื่อพิจารราจากการกระทำของผู้ถูกร้องซึ่งกระทำเพียงขั้นตอนหนึ่งของการได้มาซึ่งรายชื่อของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ยังไม่เกิดความเสียหายร้ายแรง นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาความสำนึกของกรรมการบริหารที่น้อมรับพระราชโองการไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมทันที เมื่อรับทราบแสดงให้เห็นว่ายังมีความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ จึงเห็นสมควรกำหนดระยะเวลาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ 10 ปี ตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค | ||
บรรทัดที่ 72: | บรรทัดที่ 72: | ||
'''5. สรุป''' | '''5. สรุป''' | ||
ในช่วงระหว่างการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. 2562 นั้น ได้มีการเกิดเหตุการณ์สำคัญจากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช) | ในช่วงระหว่างการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. 2562 นั้น ได้มีการเกิดเหตุการณ์สำคัญจากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ได้เสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีของพรรคการเมือง ทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาคำร้องที่ขอให้ตรวจสอบว่าการกระทำดังกล่าวของพรรคไทยรักษาชาติเข้าข่ายผิดพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 (2) กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 มีมติว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยสั่งยุบพรรคการเมืองได้ต่อไป ซึ่งมติของ กกต. ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีพระราชโองการประกาศสถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งประกาศเผยแพร่ต่อสาธารณชนในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และใน | ||
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ ตามประเด็นในการวินิจฉัยคำฟ้องคดียุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช) ไว้ 3 ประเด็นได้แก่ ประเด็นแรก พฤติการณ์ของพรรคไทยรักษาชาติมีเหตุให้ยุบพรรคการเมืองได้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 ประเด็นที่สอง กรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติจะถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองมาตรา 92 วรรคสอง และประเด็นที่สาม ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบจะสามารถจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ภายในกำหนด 10 ปี | เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ ตามประเด็นในการวินิจฉัยคำฟ้องคดียุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช) ไว้ 3 ประเด็นได้แก่ ประเด็นแรก พฤติการณ์ของพรรคไทยรักษาชาติมีเหตุให้ยุบพรรคการเมืองได้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 ประเด็นที่สอง กรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติจะถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองมาตรา 92 วรรคสอง และประเด็นที่สาม ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบจะสามารถจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ภายในกำหนด 10 ปี | ||
บรรทัดที่ 82: | บรรทัดที่ 82: | ||
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (ม.ป.ป.). ''หลักรัฐศาสตร์.'' กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (ม.ป.ป.). ''หลักรัฐศาสตร์.'' กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | ||
ข่าวสด. (2562). สืบค้นจาก https://www.khaosod.co.th/politics/news_2285423, เข้าถึงเมื่อ 6 | ข่าวสด. (2562). สืบค้นจาก [https://www.khaosod.co.th/politics/news_2285423 https://www.khaosod.co.th/politics/news_2285423], เข้าถึงเมื่อ 6 | ||
มิถุนายน 2563 | มิถุนายน 2563 | ||
บรรทัดที่ 130: | บรรทัดที่ 130: | ||
2563 | 2563 | ||
</div> <div id="ftn5"> | </div> <div id="ftn5"> | ||
[[#_ftnref5|[5]]] ข่าวสด. (2562). สืบค้นจาก https://www.khaosod.co.th/politics/news_2285423, เข้าถึงเมื่อ 6 | [[#_ftnref5|[5]]] ข่าวสด. (2562). สืบค้นจาก [https://www.khaosod.co.th/politics/news_2285423 https://www.khaosod.co.th/politics/news_2285423], เข้าถึงเมื่อ 6 | ||
มิถุนายน 2563 | มิถุนายน 2563 |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:30, 1 กุมภาพันธ์ 2564
ผู้เรียบเรียง:
1. รองศาสตราจารย์ ดร.กตัญญู แก้วหานาม
2. อาจารย์ ดร. นพพล อัคฮาด
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย
ยุบพรรคไทยรักษาชาติ
ในช่วงระหว่างการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. 2562 นั้น ได้มีการเกิดเหตุการณ์สำคัญจากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช) ซึ่งมีผลให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้งมีผลให้ถูกยกเลิกไปก่อนที่จะถึงวันลงคะแนนเลือกตั้ง ดังนั้นเหตุการณ์การยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช) นี้จึงมีประเด็นที่น่าสนใจดังที่จะได้อธิบายต่อไปนี้
1. ความหมาย หรือ แนวคิด
เมื่อกิจกรรมต่าง ๆ ในสังคมมีมากมาย กว้างขวาง ก็จำเป็นที่จะต้องอาศัยบุคคลผู้มีความรู้แขนงต่างๆ มารวมกันเป็นองค์กรพรรคการเมืองเพื่อปฏิบัติงานและประสานให้ภารกิจต่างๆ บรรลุวัตถุประสงค์ การเข้ามาทำหน้าที่ของพรรคการเมืองจะเสนอตัวเป็นตัวกลางระหว่างประชาชนกับรัฐบาลหรือกลุ่มอิทธิพลกับรัฐบาล เพื่อพยายามจัดสรรและสนองผลประโยชน์ให้เกิดแก่ประชาชนหรือกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ มากที่สุด มีเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่จะได้มาซึ่งการจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ ดังนั้นพรรคการเมือง ก็คือ กลุ่มบุคคลที่รวมกันขึ้นเพื่อแสวงหาอำนาจทางการเมืองตามวิถีทางของแต่ละรัฐซึ่งกำหนดไว้[1]
นอกจากนี้มีผู้ให้ความหมายของพรรคการเมืองไว้มากมาย โดยส่วนใหญ่มีลักษณะร่วมกันอยู่สามประการ ดังนี้[2]
1. เป็นกลุ่มบุคคลที่มีการจัดตั้งองค์กรร่วมกัน
2. มีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน คือ สมาชิกส่วนใหญ่มีความเห็นในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในแนวทางกว้างๆคล้ายๆกัน
3. มีวัตถุประสงค์ให้ได้มาซึ่งอำนาจมหาชน และใช้อำนาจนั้นดำเนินการหรือบริหารประเทศให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น ลักษณะประการนี้สำคัญยิ่งเพราะโดยธรรมชาติในสังคมอาจมีการรวมตัวกันของบุคคลที่มีความคิดเห็นคล้ายกันเข้าด้วยกัน หากแต่ถ้ากลุ่มดังกล่าวไม่ประสงค์จะเข้ามาบริหารประเทศแล้ว ย่อมไม่ใช่พรรคการเมือง อาจเป็นสหภาพแรงงาน สมาคม หรือมูลนิธิเท่านั้น โดยสรุป ความหมายของพรรคการเมือง คือ กลุ่มบุคคลที่มีการจัดตั้งองค์กรร่วมกันโดยมีอุดมการณ์ทางการเมืองเหมือนกัน โดยกลุ่มดังกล่าวมีวัตถุประสงค์จะยึดกุมอำนาจรัฐ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เข้าเป็นรัฐบาลเพื่อดำเนินการตามอุดมการณ์ของตนให้สัมฤทธิ์ผล
ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองโดยตรง นั้นคือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560[3] ซึ่งได้นิยาม “พรรคการเมือง” หมายความว่า คณะบุคคลที่รวมตัวกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองโดยได้จดทะเบียน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งการจัดตั้งพรรคการเมืองนั้นมีขั้นตอนตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้ดังนี้ มาตรา 9 บุคคลซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองในแนวทางเดียวกัน และมีคุณสมบัติและ ไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ จํานวนไม่น้อยกว่าห้าร้อยคนอาจร่วมกันดําเนินการเพื่อจัดตั้ง พรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ได้
(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ในกรณีเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
(2) มีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปี
(3) ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งรัฐธรรมนูญ
(4) อยู่ในระหว่างถูกสั่งห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญนี้
(5) ไม่เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นหรือผู้ยื่นคําขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองอื่น หรือผู้แจ้งการเตรียมการจัดตั้งพรรคการเมืองอื่น
ในการดําเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง กำหนดไว้ในมาตรา 20 ให้พรรคการเมืองที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองแล้วเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์สําคัญเพื่อดําเนินกิจกรรมทางการเมืองตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง และมาตรา 22 กำหนดให้ คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง มีหน้าที่ควบคุมและกํากับดูแลมิให้สมาชิกกระทําการอันเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ข้อบังคับ รวมตลอดทั้งระเบียบ ประกาศ และคําสั่งของคณะกรรมการ และการสิ้นสุดของพรรคการเมือง กำหนดไว้ในมาตรา 90 พรรคการเมืองสิ้นสุดลงเมื่อ (1) สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง (2) ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง และ (3) มีการควบรวมพรรคการเมือง
ต่อมาพบว่า ในช่วงระหว่างการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. 2562 นั้น ได้มีการเกิดเหตุการณ์สำคัญจากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ได้เสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีของพรรคการเมือง ทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาคำร้องที่ขอให้ตรวจสอบว่าการกระทำดังกล่าวของพรรคไทยรักษาชาติเข้าข่ายผิดพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 (2) กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 มีมติว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยสั่งยุบพรรคการเมืองได้ต่อไป ซึ่งมติของ กกต. ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีพระราชโองการประกาศสถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งประกาศเผยแพร่ต่อสาธารณชนในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ และพิจารณาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ของกรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติ ภายในกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งยุบพรรค
2. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดประเด็นในการวินิจฉัยคำฟ้องคดียุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช) ไว้ 3 ประเด็นดังนี้[4]
ประเด็นแรก พฤติการณ์ของพรรคไทยรักษาชาติมีเหตุให้ยุบพรรคการเมืองได้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 หรือไม่ ในประเด็นนี้ ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวดที่ 2 ได้บัญญัติว่า พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าโดยกำเนิดทรงดำรงอยู่เหนือการเมืองตามพระประสงค์ของรัชกาลที่ 7 พระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 7 ที่ระบุว่า พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์เป็นที่เคารพ ไม่ควรแก่ตำแหน่งทางการเมือง และควรอยู่เหนือการถูกติเตียน และไม่ควรแก่ตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเป็นการงานที่จะนำมาซึ่งพระเดชและพระคุณย่อมอยู่ในวงที่จะถูกติเตียน อีกเหตุหนึ่งจะนำมาซึ่งความขมขื่นโยในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอันเป็นเวลาที่ต่างฝ่ายต่างโจมตีให้ร้ายซึ่งกันและกัน เพื่อความสงบเรียบร้อยสมัครสมานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างเจ้านานกับราษฎรควรถือเสียว่าพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปย่อมดำรงอยู่เหนือการเมืองทั้งหลาย ส่วนเจ้านายจะทำนุบำรุงประเทศ ก็ย่อมมีโอกาสบริบูรณ์ในทางตำแหน่งประจำและตำแหน่งในวิชาชีพ หลักการพื้นฐานดังกล่าว เป็นเจตนารมณ์ร่วมของการสถาปนาระบอบการปกครองของไทยไว้ในรัฐธรรมนูญแต่เริ่มแรก และเป็นฉันทานุมัติที่ฝ่ายสภาผู้แทนราษฎรให้การยอมรับปฏิบัติสืบต่อมาว่าพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงควรอยู่การเมือง
ประเด็นที่สอง กรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติจะถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองมาตรา 92 วรรคสองหรือไม่ ในประเด็นนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 6 : 3 เห็นว่าตามกฎหมายกำหนดว่า เมื่อศาลไต่สวนแล้ว มีคำสั่งยุบพรรคจึงชอบที่ศาลจะเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 แต่มีข้อพิจารณาต่อไปว่า เมื่อเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งแล้ว จะต้องเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาเท่าใด เห็นว่าการกำหนดระยะเวลาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งเป็นสิทธิทางการเมืองที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้ง จึงต้องพิจารณาให้ได้สัดส่วนพอเหมาะพอควรกับความร้ายแรงกับโทษ
เมื่อพิจารราจากการกระทำของผู้ถูกร้องซึ่งกระทำเพียงขั้นตอนหนึ่งของการได้มาซึ่งรายชื่อของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ยังไม่เกิดความเสียหายร้ายแรง นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาความสำนึกของกรรมการบริหารที่น้อมรับพระราชโองการไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมทันที เมื่อรับทราบแสดงให้เห็นว่ายังมีความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ จึงเห็นสมควรกำหนดระยะเวลาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ 10 ปี ตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค
ประเด็นที่สาม ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบจะสามารถจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ภายในกำหนด 10 ปีได้หรือไม่ ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคของผู้ถูกร้อง และถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งจะไปจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ได้หรือไม่ ศาลมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นว่ากฎหมายไม่ให้ศาลพิจารณาเป็นอย่างอื่นได้ เมื่อศาลมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองแล้ว ให้นายทะเบียบพรรคการเมืองประกาศคำสั่งยุบพรรคนั้น และห้ามบุคคลใด ใช้ชื่อย่อ หรือภาพพรรคการเมืองซ้ำ และห้ามไม่ให้ผู้ที่เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบไปจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งยุบพรรค[5]
3. หลักการสำคัญ / ความสำคัญ
พรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งเป็นพรรคที่กำเนิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงพรรคการเมืองที่เคยจดแจ้งจัดตั้งไว้เดิมตั้งแต่ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 เดิมแรกจดแจ้งได้ใช้ชื่อพรรคการเมืองว่า พรรครัฐไทย ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคใหม่เป็นพรรคไทยรวมพลัง ซึ่งเคยส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2554 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จนกระทั่งพรรคไทยรวมพลังได้จัดประชุมใหญ่ขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคใหม่เป็นพรรคไทยรักษาชาติ ที่มีตัวย่อ ทษช. พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค อุดมการณ์ของพรรค นโยบายของพรรค รวมถึงคณะกรรมการบริหารพรรค ซึ่งมี ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช อดีต ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค และมีนักการเมืองอีกหลายคนที่ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ล้วนเป็นระดับแกนนำเดิมของพรรคเพื่อไทย ทั้งนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช นายแพทย์ เชิดชัย ตันติศิรินทร์ นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายสุธรรม แสงประทุม นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายเกรียง กัลป์ตินันท์ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ และนางสาวขัตติยา สวัสดิผล ทำให้พรรคไทยรักษาชาติ ถูกมองว่าอาจเป็นพรรคที่จะมาร่วมเก็บคะแนนพรรค เพื่อนำคะแนนไปรวมกับพรรคเพื่อไทยหลังเลือกตั้ง ด้วยกติกาการเลือกตั้งที่ไม่เอื้อประโยชน์ให้พรรคขนาดใหญ่อย่างเพื่อไทย พรรคไทยรักษาชาติซึ่งเป็นพรรคที่แตกออกมา จึงมีหน้าที่เก็บคะแนนเขตที่พรรคเพื่อไทยเคยแพ้เลือกตั้ง เพื่อนำคะแนนดิบไปแลกเก้าอี้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และเห็นได้ชัดจากอดีตแกนนำพรรคจากเพื่อไทย ที่ย้ายพรรคไปอยู่พรรคไทยรักษาชาติต่างลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักษาชาติ แต่น่าเสียดายที่ต่อมาได้มีคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญให้มีการยุบพรรคไทยรักษาชาติและตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติ[6]
4. สาระบัญญัติ หรือ เนื้อหาหลัก
จากหลักการสำคัญของการจัดตั้งพรรคไทยรักษาชาติเพื่อลงสู้ศึกการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 ตามที่เกิดขึ้น แต่ถูกศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติเป็นเวลา 10 ปีนั้น ผลจากคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้มีการวิเคราะห์ให้ความเห็นความสำคัญในประเด็นผลสะเทือนของคำวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักษาชาติ ออกเป็นสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งเห็นว่า คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญจะไม่ทำให้พรรคการเมืองในปีก ‘ทักษิณ’ ได้คะแนนเลือกตั้งลดลง แต่อีกฝ่ายหนึ่งมองว่า การยุบพรรคจะลดทอนความเป็นไปได้ที่กลุ่มการเมืองฝ่ายทักษิณจะได้จัดตั้งรัฐบาล
สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้นำเสนอรายงานจากความเห็นของนักวิชาการที่มองว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติด้วยข้อกล่าวหาว่า เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นับเป็นการบั่นทอนโอกาสของพรรคการเมืองในปีกต่อต้านบทบาททางการเมืองของทหารที่จะเอาชนะพรรคการเมืองที่เป็นพันธมิตรกับรัฐบาลคณะรัฐประหาร ส่วนรศ.ดร. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นกับรอยเตอร์ ว่าการยุบพรรคไทยรักษาชาติจะลิดรอนสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เพราะไทยรักษาชาติเป็นหนึ่งในกลุ่มการเมืองใหญ่กลุ่มหนึ่งในปีกของนายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ผู้นี้กล่าวด้วยว่า การยุบพรรคไทยรักษาชาติคงไม่ทำให้พรรคการเมืองฝ่ายนายทักษิณได้รับคะแนนเลือกตั้งลดน้อยลง หรือทำให้พรรคฝ่ายนิยมทหารได้เสียงเพิ่มมากขึ้น ผู้ออกเสียงเลือกตั้งที่ตั้งใจจะโหวตเลือกพรรคไทยรักษาชาติจะพากันหันไปเลือกพรรคอื่นในปีกของนายทักษิณแทน การแบ่งขั้วทางการเมืองจะยังดำรงอยู่ต่อไป[7]
อย่างไรก็ดี สำนักข่าวเอพีรายงานว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทำให้ปีกพรรคที่สนับสนุนอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เหลือแต่พรรคเพื่อไทยเป็นตัวหลัก เนื่องจากมีการวางยุทธศาสตร์ให้แต่ละพรรคในปีกดังกล่าว แยกกันลงชิงชัยในแต่ละเขตเลือกตั้ง ดังนั้น การขาดพรรคไทยรักษาชาติไปพรรคหนึ่งจะส่งผลกระทบต่อพันธมิตรการเมืองของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ในประเด็นนี้ ผศ.ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นกับสำนักข่าวเอพี ก่อนหน้าศาลรัฐธรรมนูญออกคำวินิจฉัย โดยบอกว่าการยุบพรรคไทยรักษาชาติจะลดทอนโอกาสของพรรคการเมืองปีกพรรคที่สนับสนุนอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ลงเป็นอย่างมากในการคว้าชัยชนะและได้จัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง[8]
5. สรุป
ในช่วงระหว่างการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. 2562 นั้น ได้มีการเกิดเหตุการณ์สำคัญจากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ได้เสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีของพรรคการเมือง ทำให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาคำร้องที่ขอให้ตรวจสอบว่าการกระทำดังกล่าวของพรรคไทยรักษาชาติเข้าข่ายผิดพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 (2) กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 มีมติว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยสั่งยุบพรรคการเมืองได้ต่อไป ซึ่งมติของ กกต. ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีพระราชโองการประกาศสถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งประกาศเผยแพร่ต่อสาธารณชนในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และใน
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยสั่งยุบพรรคไทยรักษาชาติ ตามประเด็นในการวินิจฉัยคำฟ้องคดียุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช) ไว้ 3 ประเด็นได้แก่ ประเด็นแรก พฤติการณ์ของพรรคไทยรักษาชาติมีเหตุให้ยุบพรรคการเมืองได้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 92 ประเด็นที่สอง กรรมการบริหารพรรคไทยรักษาชาติจะถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองมาตรา 92 วรรคสอง และประเด็นที่สาม ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบจะสามารถจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ภายในกำหนด 10 ปี
6. บรรณานุกรม
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (ม.ป.ป.). หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ข่าวสด. (2562). สืบค้นจาก https://www.khaosod.co.th/politics/news_2285423, เข้าถึงเมื่อ 6
มิถุนายน 2563
เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง. (ม.ป.ป.). “พรรคการเมือง”สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title,
สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563
บีบีซีไทย. (2562). สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-47459168, เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน
2563
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก
https://www.ect.go.th/ect_th/download/article/article_20171031151304.pdf, เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2563
พีพีทีออนไลน์ (2561). กลยุทธ์! เพื่อไทย –ไทยรักษาชาติ แตกแบงก์พันเป็นแบงก์ร้อย แก้เกมรัฐธรรมนูญ.
สืบค้นจากhttps://www.pptvhd36.com/news/, เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2563
Panu Wongcha-um and Panarat Thepgumpanat (2019) “Thai court bans party for nominating
princess for PM”, Retrieved from
Tassanee Vejpongsa and Grant PecK (2019). “Thai court disbands political party for
nominating princess” Retrieved from https://apnews.com/08d55a40d0f14003bb2347406cbb3006
[1] โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (ม.ป.ป.). หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. น.114 – 115
[2] เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง. (ม.ป.ป.). “พรรคการเมือง”สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title,
สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563
[3] พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก
https://www.ect.go.th/ect_th/download/article/article_20171031151304.pdf, เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2563
[4] บีบีซีไทย. (2562). สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-47459168, เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน
2563
[5] ข่าวสด. (2562). สืบค้นจาก https://www.khaosod.co.th/politics/news_2285423, เข้าถึงเมื่อ 6
มิถุนายน 2563
[6]พีพีทีออนไลน์ (2561). กลยุทธ์! เพื่อไทย –ไทยรักษาชาติ แตกแบงก์พันเป็นแบงก์ร้อย แก้เกมรัฐธรรมนูญ.
สืบค้นจากhttps://www.pptvhd36.com/news/, เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2563
[7] Panu Wongcha-um and Panarat Thepgumpanat (2019) “Thai court bans party for nominating
princess for PM”, Retrieved from
[8] Tassanee Vejpongsa and Grant PecK (2019). “Thai court disbands political party for
nominating princess” Retrieved from https://apnews.com/08d55a40d0f14003bb2347406cbb3006