ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิรูปกองทัพ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว ผู..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 32: บรรทัดที่ 32:
 
 


'''กระแสการปฏิรูปกองทัพในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป ''''''2562'''
'''กระแสการปฏิรูปกองทัพในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป 2562'''


          การแสข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปกองทัพได้เป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชนและบรรดาสื่อมวลชนอีกครั้ง เมื่อมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมีนาคม พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา ซึ่งในการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นนี้ บรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ได้แข่งขันกันนำเสนอนโยบายแก่ประชาชน หนึ่งในนโยบายที่ถูกจับตามองมากที่สุด เนื่องจากถือเป็นประเด็นที่มีความล่อแหลมคือเรื่องของการปฏิรูปกองทัพ โดยได้มีข้อเสนอจากพรรคการเมืองต่างๆ ทั้งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปรับแก้ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจและบทบาทหน้าที่ของกองทัพ ข้อเสนอเรื่องการปรับลดจำนวนกำลังพล รวมถึงจำนวนนายพลของกองทัพ การตัดหรือลดงบประมาณ การปรับปรุงระบบสวัสดิการของทหาร การจัดหายุทโธปกรณ์ นโยบายเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร หรือแม้กระทั่งเรื่องการถือครองที่ดินและผลประโยชน์ต่างๆ ที่กองทัพมีส่วนเกี่ยวข้อง[[#_ftn6|[6]]]
          การแสข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปกองทัพได้เป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชนและบรรดาสื่อมวลชนอีกครั้ง เมื่อมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมีนาคม พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา ซึ่งในการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นนี้ บรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ได้แข่งขันกันนำเสนอนโยบายแก่ประชาชน หนึ่งในนโยบายที่ถูกจับตามองมากที่สุด เนื่องจากถือเป็นประเด็นที่มีความล่อแหลมคือเรื่องของการปฏิรูปกองทัพ โดยได้มีข้อเสนอจากพรรคการเมืองต่างๆ ทั้งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปรับแก้ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจและบทบาทหน้าที่ของกองทัพ ข้อเสนอเรื่องการปรับลดจำนวนกำลังพล รวมถึงจำนวนนายพลของกองทัพ การตัดหรือลดงบประมาณ การปรับปรุงระบบสวัสดิการของทหาร การจัดหายุทโธปกรณ์ นโยบายเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร หรือแม้กระทั่งเรื่องการถือครองที่ดินและผลประโยชน์ต่างๆ ที่กองทัพมีส่วนเกี่ยวข้อง[[#_ftn6|[6]]]
บรรทัดที่ 52: บรรทัดที่ 52:
'''บรรณานุกรม'''
'''บรรณานุกรม'''


กองทัพบก. “ผบ.ทบ.ประกาศเตรียมลุยปฏิรูปกองทัพเต็มสูบ.” (12 กุมภาพันธ์ 2562) เข้าถึงจาก <https://www.rta.mi.th/rta_website_v2/index.php/all-news/item/306-2020-02-05-16-27-01>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
กองทัพบก. “ผบ.ทบ.ประกาศเตรียมลุยปฏิรูปกองทัพเต็มสูบ.” (12 กุมภาพันธ์ 2562) เข้าถึงจาก <[https://www.rta.mi.th/rta_website_v2/index.php/all-news/item/306-2020-02-05-16-27-01 https://www.rta.mi.th/rta_website_v2/index.php/all-news/item/306-2020-02-05-16-27-01]>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.


กานดา นาคน้อย. "นายพลว่างงาน." '''ประชาไท'''. (19 ตุลาคม 2557). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/<br/> journal/2014/10/56086>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563
กานดา นาคน้อย. "นายพลว่างงาน." '''ประชาไท'''. (19 ตุลาคม 2557). เข้าถึงจาก <[https://prachatai.com/ https://prachatai.com/]<br/> journal/2014/10/56086>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563


""ประยุทธ์" เผย ปฏิรูปกองทัพเป็นรูปธรรม ลดนายพล สร้างสวัสดิการให้ชั้นผู้น้อย." '''ผู้จัดการออนไลน์'''. (27 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9630000020021>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
""ประยุทธ์" เผย ปฏิรูปกองทัพเป็นรูปธรรม ลดนายพล สร้างสวัสดิการให้ชั้นผู้น้อย." '''ผู้จัดการออนไลน์'''. (27 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก <[https://mgronline.com/politics/detail/9630000020021 https://mgronline.com/politics/detail/9630000020021]>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.


"เปิดนโยบายปฏิรูปกองทัพ 4 พรรคใหญ่ และนโยบายทหาร 32 พรรค." '''ประชาไท'''. (21 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2019/03/81612>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
"เปิดนโยบายปฏิรูปกองทัพ 4 พรรคใหญ่ และนโยบายทหาร 32 พรรค." '''ประชาไท'''. (21 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://prachatai.com/journal/2019/03/81612 https://prachatai.com/journal/2019/03/81612]>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.


พงศกร รอดชมภู. “ปฏิรูปกองทัพ: ส่วนหนึ่งจากงานแถลงนโยบายพรรคอนาคตใหม่ เปิดวิสัยทัศน์ เปลี่ยนอนาคต 16 ธันวาคม 2561 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์.” เข้าถึงจาก
พงศกร รอดชมภู. “ปฏิรูปกองทัพ: ส่วนหนึ่งจากงานแถลงนโยบายพรรคอนาคตใหม่ เปิดวิสัยทัศน์ เปลี่ยนอนาคต 16 ธันวาคม 2561 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์.” เข้าถึงจาก


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <https://futureforwardparty.org/?page_id=3024>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <[https://futureforwardparty.org/?page_id=3024 https://futureforwardparty.org/?page_id=3024]>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.


ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ. "'ปฏิรูปกองทัพ' คือทำให้กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน." สัมภาษณ์โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล. '''ประชาไท'''. (24 กรกฎาคม 2560). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/<br/> journal/2017/07/72532>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ. "'ปฏิรูปกองทัพ' คือทำให้กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน." สัมภาษณ์โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล. '''ประชาไท'''. (24 กรกฎาคม 2560). เข้าถึงจาก <[https://prachatai.com/ https://prachatai.com/]<br/> journal/2017/07/72532>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.


สุรชาติ บำรุงสุข. "จะเปลี่ยนผ่านสำเร็จ ต้องปฏิรูปกองทัพได้ จะปฏิรูปกองทัพสำเร็จ ต้องเปลี่ยนผ่านได้."<br/> &nbsp;
สุรชาติ บำรุงสุข. "จะเปลี่ยนผ่านสำเร็จ ต้องปฏิรูปกองทัพได้ จะปฏิรูปกองทัพสำเร็จ ต้องเปลี่ยนผ่านได้."<br/> &nbsp;


'''มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์'''. (30 พฤษภาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.matichonweekly.com/<br/> column/article_197782>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
'''มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์'''. (30 พฤษภาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.matichonweekly.com/ https://www.matichonweekly.com/]<br/> column/article_197782>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.


สุรชาติ บำรุงสุข. "ปฏิรูปกองทัพต้องเป็นวาระแห่งชาติ… ต้องคิดปฏิรูปกองทัพอย่างจริงจังแล้ว!." '''มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์.''' (28 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก
สุรชาติ บำรุงสุข. "ปฏิรูปกองทัพต้องเป็นวาระแห่งชาติ… ต้องคิดปฏิรูปกองทัพอย่างจริงจังแล้ว!." '''มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์.''' (28 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <https://www.matichonweekly.com/column/article_181866>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <[https://www.matichonweekly.com/column/article_181866 https://www.matichonweekly.com/column/article_181866]>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
<div>อ้างอิง  
<div>อ้างอิง  
----
----
<div id="ftn1">
<div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ, "'ปฏิรูปกองทัพ' คือทำให้กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน," สัมภาษณ์โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล, '''ประชาไท''', (24 กรกฎาคม 2560). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2017/07/72532>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
[[#_ftnref1|[1]]] ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ, "'ปฏิรูปกองทัพ' คือทำให้กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน," สัมภาษณ์โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล, '''ประชาไท''', (24 กรกฎาคม 2560). เข้าถึงจาก <[https://prachatai.com/journal/2017/07/72532 https://prachatai.com/journal/2017/07/72532]>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] สุรชาติ บำรุงสุข, "ปฏิรูปกองทัพต้องเป็นวาระแห่งชาติ… ต้องคิดปฏิรูปกองทัพอย่างจริงจังแล้ว!," '''มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์''', (28 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.matichonweekly.com/column/article_181866>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
[[#_ftnref2|[2]]] สุรชาติ บำรุงสุข, "ปฏิรูปกองทัพต้องเป็นวาระแห่งชาติ… ต้องคิดปฏิรูปกองทัพอย่างจริงจังแล้ว!," '''มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์''', (28 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.matichonweekly.com/column/article_181866 https://www.matichonweekly.com/column/article_181866]>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] สุรชาติ บำรุงสุข, "จะเปลี่ยนผ่านสำเร็จ ต้องปฏิรูปกองทัพได้ จะปฏิรูปกองทัพสำเร็จ ต้องเปลี่ยนผ่านได้," '''มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์''', (30 พฤษภาคม 2562). เข้าถึงจาก
[[#_ftnref3|[3]]] สุรชาติ บำรุงสุข, "จะเปลี่ยนผ่านสำเร็จ ต้องปฏิรูปกองทัพได้ จะปฏิรูปกองทัพสำเร็จ ต้องเปลี่ยนผ่านได้," '''มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์''', (30 พฤษภาคม 2562). เข้าถึงจาก


<https://www.matichonweekly.com/column/article_197782>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
<[https://www.matichonweekly.com/column/article_197782 https://www.matichonweekly.com/column/article_197782]>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[4]]] ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ, "'ปฏิรูปกองทัพ' คือทำให้กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน," สัมภาษณ์โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล, '''ประชาไท''', (24 กรกฎาคม 2560). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2017/07/72532>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
[[#_ftnref4|[4]]] ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ, "'ปฏิรูปกองทัพ' คือทำให้กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน," สัมภาษณ์โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล, '''ประชาไท''', (24 กรกฎาคม 2560). เข้าถึงจาก <[https://prachatai.com/journal/2017/07/72532 https://prachatai.com/journal/2017/07/72532]>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
</div> <div id="ftn5">
</div> <div id="ftn5">
[[#_ftnref5|[5]]] กานดา นาคน้อย, "นายพลว่างงาน," '''ประชาไท''', (19 ตุลาคม 2557). เข้าถึงจาก &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <https://prachatai.com/journal/2014/10/56086>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563
[[#_ftnref5|[5]]] กานดา นาคน้อย, "นายพลว่างงาน," '''ประชาไท''', (19 ตุลาคม 2557). เข้าถึงจาก &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <[https://prachatai.com/journal/2014/10/56086 https://prachatai.com/journal/2014/10/56086]>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[6]]] "เปิดนโยบายปฏิรูปกองทัพ 4 พรรคใหญ่ และนโยบายทหาร 32 พรรค," '''ประชาไท''', (21 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2019/03/81612>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
[[#_ftnref6|[6]]] "เปิดนโยบายปฏิรูปกองทัพ 4 พรรคใหญ่ และนโยบายทหาร 32 พรรค," '''ประชาไท''', (21 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://prachatai.com/journal/2019/03/81612 https://prachatai.com/journal/2019/03/81612]>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]] พงศกร รอดชมภู, “ปฏิรูปกองทัพ: ส่วนหนึ่งจากงานแถลงนโยบายพรรคอนาคตใหม่ เปิดวิสัยทัศน์ เปลี่ยนอนาคต 16 ธันวาคม 2561 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์,” เข้าถึงจาก <https://futureforwardparty.org/?page_id=3024>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
[[#_ftnref7|[7]]] พงศกร รอดชมภู, “ปฏิรูปกองทัพ: ส่วนหนึ่งจากงานแถลงนโยบายพรรคอนาคตใหม่ เปิดวิสัยทัศน์ เปลี่ยนอนาคต 16 ธันวาคม 2561 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์,” เข้าถึงจาก <[https://futureforwardparty.org/?page_id=3024 https://futureforwardparty.org/?page_id=3024]>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] กองทัพบก, “ผบ.ทบ.ประกาศเตรียมลุยปฏิรูปกองทัพเต็มสูบ,” (12 กุมภาพันธ์ 2562) เข้าถึงจาก <https://www.rta.<br/> mi.th/rta_website_v2/index.php/all-news/item/306-2020-02-05-16-27-01>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
[[#_ftnref8|[8]]] กองทัพบก, “ผบ.ทบ.ประกาศเตรียมลุยปฏิรูปกองทัพเต็มสูบ,” (12 กุมภาพันธ์ 2562) เข้าถึงจาก <[https://www.rta https://www.rta].<br/> mi.th/rta_website_v2/index.php/all-news/item/306-2020-02-05-16-27-01>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
[[#_ftnref9|[9]]] ""ประยุทธ์" เผย ปฏิรูปกองทัพเป็นรูปธรรม ลดนายพล สร้างสวัสดิการให้ชั้นผู้น้อย," '''ผู้จัดการออนไลน์''', (27 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9630000020021>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
[[#_ftnref9|[9]]] ""ประยุทธ์" เผย ปฏิรูปกองทัพเป็นรูปธรรม ลดนายพล สร้างสวัสดิการให้ชั้นผู้น้อย," '''ผู้จัดการออนไลน์''', (27 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก <[https://mgronline.com/politics/detail/9630000020021 https://mgronline.com/politics/detail/9630000020021]>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]]
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:23, 20 ตุลาคม 2563

ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย


ความนำ

          กองทัพถือเป็นสถาบันสำคัญและทรงอำนาจไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ของจำนวนบุคลากร การครอบครองอาวุธยุทธปกรณ์ เทคโนโลยี งบประมาณ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทของกองทัพในทางการเมือง ซึ่งมิอาจปฏิเสธได้ว่ากองทัพ หรือ บุคลากรของกองทัพได้มีอิทธิพลหรือมีส่วนในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ตราบจนปัจจุบันกองทัพยังคงถูกมองว่าเป็นตัวแสดงหรือตัวแปรสำคัญทางการเมือง โดยนอกจากบทบาทหน้าที่ในการปกป้องอธิปไตยของประเทศชาติแล้ว การแสดงบทบาทท่าทีของกองทัพยังเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงเสถียรภาพของรัฐบาล สิ่งเหล่านี้จึงก่อให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทหน้าที่ของกองทัพอันนำไปสู่ข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปกองทัพที่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึง และกลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงอยู่ในสังคมเป็นระยะ ในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา ประเด็นเกี่ยวกับการปฏิรูปกองทัพซึ่งถูกนำเสนอขึ้นโดยพรรคการเมืองเพื่อใช้เป็นนโยบายในการสู้ศึกเลือกตั้งนั้น ได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงที่สำคัญทั้งระหว่างรัฐบาลกับบรรดาพรรคการเมือง แวดวงวิชาการ สื่อมวลชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ขณะเดียวกันก็ได้มีปฏิกิริยาจากผู้นำของกองทัพ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นไปในทิศทางการปฏิเสธแนวทางข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปของบรรดาพรรคการเมืองและแวดวงวิชาการ

 

กองทัพกับการเมืองไทย

          กองทัพถูกวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอดถึงบทบาทในการแทรกแซงการเมือง ไม่ว่าจะโดยการรัฐประหาร การที่ผู้นำของกองทัพเข้ามาเป็นผู้นำรัฐบาล ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี หรือตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญอื่นๆ รวมถึงการที่กองทัพวางท่าทีอันเป็นการเลือกสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนรัฐบาลใดซึ่งย่อมส่งผลต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของรัฐบาลนั้นๆ จากบทบาทท่าทีของกองทัพในลักษณะดังกล่าวจึงนำมาสู่ข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่ากองทัพกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการเติบโตและพัฒนาของระบอบการเมืองประชาธิปไตย เงื่อนไขสำคัญคือการที่กองทัพกลายเป็นสถาบันที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐบาลพลเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเห็นได้ชัดเจนในช่วงที่การเมืองเกิดวิกฤตความขัดแย้ง กองทัพมักจะมีบทบาทในการเข้ามาควบคุมสถานการณ์[1] อันเป็นการขัดกับหลักการที่กองทัพต้องอยู่ภายใต้การควบคุมสั่งการของรัฐบาลพลเรือน (Civilian control of the military) ซึ่งถือเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย

          การอยู่นอกเหนือการควบคุมสั่งการของรัฐบาลพลเรือนในทางปฏิบัติ ตลอดจนบทบาทของกองทัพที่มักเข้ามาแทรกแซงหรือมีอิทธิพลเหนือการเมือง สุรชาติ บำรุงสุข นักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญประเด็นความมั่นคง ได้วิเคราะห์และจำแนกปัญหาของกองทัพไทยออกเป็น 5 ด้านหลัก ได้แก่

          ด้านที่หนึ่ง ปัญหารัฐซ้อนรัฐและความเป็นอิสระทางการเมือง โดยที่กองทัพไทยเป็นองค์กรที่มีอิสระในการเมืองไทยอย่างเป็นเอกเทศจากรัฐบาลพลเรือน และอำนาจของกองทัพยังแทรกซ้อนอยู่ในแทบทุกภาคส่วนของสังคมการเมืองไทย

          ด้านที่สอง ปัญหาวินัยทหารกับการแสดงออกทางการเมือง โดยที่คำถามสำคัญประการหนึ่งของวินัยทหารในประเด็นนี้ ได้แก่ การที่ผู้นำกองทัพสามารถแสดงออกทางการเมืองได้เพียงใด เนื่องเพราะในหมู่ประเทศที่พัฒนาแล้วผู้นำกองทัพจะไม่ได้รับอนึญาตให้สามารถแสดงออกทางการเมืองดังที่มักเกิดขึ้นในสังคมการเมืองไทย

          ด้านที่สาม ปัญหาสภาวะการขาดความเป็นวิชาชีพทางทหาร ด้วยการที่ทหารได้มีบทบาทเข้ามาแทรกแซงการเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2549 และต่อมาคือในปี พ.ศ.2557 มีส่วนทำให้ทหารที่เติบโตขึ้นมาในรุ่นหลังๆ มีความเชื่อว่าการที่ทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมืองหรือเป็นทหารการเมืองนั้นมิใช่สิ่งที่ผิดแต่อย่างใด

          ด้านที่สี่ ปัญหาความเข้มแข็งของความเป็นทหารการเมือง ในการเมืองของประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนานั้น ปฏิเสธข้อเท็จจริงประการสำคัญไม่ได้ว่าภาคพลเรือนหรือภาคประชาสังคมมักจะไม่มีอำนาจและขีดความสามารถมากพอที่จะต้านทานการขยายบทบาทของกองทัพได้

          ด้านที่ห้า ปัญหาอุดมการณ์ต่อต้านการเมืองของกลุ่มอนุรักษนิยมและผู้นำทหาร ซึ่งโดยธรรมชาติของกลุ่มปีกที่เป็นกลุ่มอนุรักษนิยมในการเมืองของประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนา จะมีทิศทางที่ชัดเจนในการสนับสนุนการยึดอำนาจของผู้นำทหาร ด้วยเงื่อนไขเช่นนี้กองทัพจึงมักมีบทบาทเป็นแกนกลางของการรัฐประหารของฝ่ายอนุรักษนิยมเพื่อทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง[2]

          จากลักษณะปัญหาข้างต้น สุรชาติรวมไปถึงนักวิชาการจำนวนมากจึงมองเห็นในทำนองเดียวกันว่าการจะพัฒนาประชาธิปไตยของไทยให้มีความมั่นคงและยั่งยืนได้นั้น หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องกระทำควบคู่ไปกับการปฏิรูปกองทัพ[3] นอกจากปรับลดบทบาทมิให้กองทัพมีศักยภาพในการเข้ามาก้าวก่ายแทรกแซงการเมืองและทำให้กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลพลเรือนแล้ว[4] ยังต้องมีการปฏิรูปกองทัพด้วยการปรับลดจำนวนนายพลและลดกำลังพลให้เหมาะสมกับจำนวนประชากร ปฏิรูปด้านความโปร่งใสของการใช้จ่ายงบประมาณ ปรับปรุงสัดส่วนงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาให้มีความเหมาะสม ฯลฯ[5] การปฏิรูปในแนวทางดังกล่าวยังถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพในการปฏิบัติภารกิจ โดยที่ไม่จำเป็นต้องผูกติดอยู่กับการมีจำนวนกำลังพลมากมายดังเช่นที่ผ่านมา

 

กระแสการปฏิรูปกองทัพในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป 2562

          การแสข้อเรียกร้องเรื่องการปฏิรูปกองทัพได้เป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชนและบรรดาสื่อมวลชนอีกครั้ง เมื่อมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมีนาคม พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา ซึ่งในการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นนี้ บรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ได้แข่งขันกันนำเสนอนโยบายแก่ประชาชน หนึ่งในนโยบายที่ถูกจับตามองมากที่สุด เนื่องจากถือเป็นประเด็นที่มีความล่อแหลมคือเรื่องของการปฏิรูปกองทัพ โดยได้มีข้อเสนอจากพรรคการเมืองต่างๆ ทั้งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปรับแก้ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจและบทบาทหน้าที่ของกองทัพ ข้อเสนอเรื่องการปรับลดจำนวนกำลังพล รวมถึงจำนวนนายพลของกองทัพ การตัดหรือลดงบประมาณ การปรับปรุงระบบสวัสดิการของทหาร การจัดหายุทโธปกรณ์ นโยบายเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร หรือแม้กระทั่งเรื่องการถือครองที่ดินและผลประโยชน์ต่างๆ ที่กองทัพมีส่วนเกี่ยวข้อง[6]

          ท่ามกลางบรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ที่ชูนโยบายเรื่องการปฏิรูปกองทัพขึ้นมาเป็นนโยบายสำคัญในการรณรงค์เลือกตั้งนั้น นโยบายเรื่องการปฏิรูปกองทัพของพรรคอนาคตใหม่ดูจะเป็นพรรคที่ได้รับความสนใจมากที่สุด เนื่องจากท่าทีตลอดช่วงก่อนการเลือกตั้งที่ผ่านมาที่ทางพรรคค่อนข้างแสดงออกอย่างชัดเจนถึงการชูธงเรื่องของการปฏิรูปกองทัพที่ทางพรรคเล็งเห็นว่าเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตย และด้วยการที่บุคคลของพรรคมักมีวิวาทะกับฝ่ายรัฐบาลรวมถึงกองทัพดังที่ปรากฎผ่านสื่อมวลชนหลายต่อหลายครั้ง เป็นสิ่งเร่งเร้าดึงดูดทั้งผู้ที่เห็นด้วยและผู้ที่เห็นต่างกับแนวทางที่พรรคได้นำเสนอให้มาร่วมถกเถียงกันในประเด็นสำคัญดังกล่าว

          สำหรับข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปกองทัพของพรรคอนาคตใหม่นั้น ทางพรรคได้กำหนดหมุดหมายสำคัญที่ต้องการจะทำให้กองทัพเป็นกองทัพของประชาชนอย่างแท้จริง ในประเด็นดังกล่าว พลโทพงศกร รอดชมภู รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ได้กล่าวบรรยายไว้ถึงเป้าหมาย แนวทางและสาระสำคัญของการปฏิรูปกองทัพ อาทิ การสถาปนาอำนาจของรัฐบาลพลเรือนอยู่เหนือกองทัพ โดยการสร้างระบบคณะเสนาธิการร่วม ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้บังคับบัญชาของทุกเหล่าทัพ ลดจำนวนกำลังพลของแต่ละเหล่าทัพให้ตอบสนองต่อความจำเป็น ให้มีการยกเลิกการเกณฑ์ทหารแบบในปัจจุบัน โดยกำหนดให้มีการเกณฑ์ทหารต่อเมื่อมีสงครามเท่านั้น ปรับเปลี่ยนมาเป็นระบบอาสาสมัคร ปรับลดงบประมาณให้มีความเหมาะสมกับภารกิจและความจำเป็น ดูแลสวัสดิการกำลังพลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แก้ปัญหาระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายภายในกองทัพ เป็นต้น[7]

          จากข้อเสนอและกระแสเรื่องการปฏิรูปกองทัพที่ปรากฎขึ้นในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2562 นั้น ย่อมก็ให้เกิดข้อถกเถียงและความความคิดเห็นของประชาชนที่แตกออกเป็นสองฝ่ายหลักๆ โดยฝ่ายหนึ่งคือผู้ที่เห็นด้วยและสนับสนุนให้กองทัพมีการปฏิรูป โดยมองว่าหากไกองทัพยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย กองทัพจะยังคงมีบทบาทและอิทธิพลในการเข้ามาก้าวก่ายแทรกแซงการเมือง ขณะที่ประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของพรรคการเมืองต่างๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวในประเด็นดังกล่าว ก็มองว่าการปฏิรูปกองทัพเป็นวาระทางการเมืองที่ถูกเสนอขึ้นโดยบรรดาพรรคการเมืองจะทำให้กองทัพซึ่งเป็นสถาบันหลักที่ดูแลด้านความมั่นคงของชาติเกิดความอ่อนแอ ส่งผลเสียทั้งต่อรัฐบาลและประเทศชาติ

 

สรุป

          แม้จะมีปฏิกิริยาจากผู้นำระดับสูงของกองทัพที่มักออกมาตอบโต้ฝ่ายการเมืองที่เสนอแนวคิดให้มีการปฏิรูปกองทัพอยู่เป็นระยะๆ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้นำของกองทัพก็ได้มีการแถลงถึงความพยายามในการปรับปรุงระบบและกลไกการบริหารจัดการกองทัพให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยทางกองทัพเรียกความพยายามปรับปรุงดังกล่าวว่าเป็นการปฏิรูป[8] เช่นเดียวกับที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ชี้แจงยืนยันในสภาผู้แทนราษฎรในการเดินหน้าปฏิรูปกองทัพให้สำเร็จเป็นรูปธรรม ซึ่งจะครอบคลุมถึงเรื่องการปรับลดจำนวนนายพลของแต่ละเหล่าทัพ มุ่งเน้นการสร้างสวัสดิการแก่ทหารชั้นผู้น้อย การขจัดคนไม่ดีออกจากกองทัพ[9] อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่าแนวทางของนายกรัฐมนตรี รวมถึงคำแถลงของผู้นำกองทัพถึงเรื่องการปฏิรูปก็ดูจะยังคงเป็นคนละเรื่อง คนละประเด็นกับข้อเสนอของพรรคการเมืองหรือแวดวงวิชาการที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปกองทัพ อาทิ ในประเด็นสำคัญเช่น การปรับลดจำนวนกำลังพลและงบประมาณ การยกเลิกระบบการเกณฑ์ทหาร หรือแม้กระทั่งเป้าหมายปลายทางคือการสร้างระบบการเมืองที่กองทัพจะต้องไม่เป็นอิสระ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมสั่งการของรัฐบาลพลเรือน เป็นต้น

 

บรรณานุกรม

กองทัพบก. “ผบ.ทบ.ประกาศเตรียมลุยปฏิรูปกองทัพเต็มสูบ.” (12 กุมภาพันธ์ 2562) เข้าถึงจาก <https://www.rta.mi.th/rta_website_v2/index.php/all-news/item/306-2020-02-05-16-27-01>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.

กานดา นาคน้อย. "นายพลว่างงาน." ประชาไท. (19 ตุลาคม 2557). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/
journal/2014/10/56086>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563

""ประยุทธ์" เผย ปฏิรูปกองทัพเป็นรูปธรรม ลดนายพล สร้างสวัสดิการให้ชั้นผู้น้อย." ผู้จัดการออนไลน์. (27 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9630000020021>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.

"เปิดนโยบายปฏิรูปกองทัพ 4 พรรคใหญ่ และนโยบายทหาร 32 พรรค." ประชาไท. (21 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2019/03/81612>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.

พงศกร รอดชมภู. “ปฏิรูปกองทัพ: ส่วนหนึ่งจากงานแถลงนโยบายพรรคอนาคตใหม่ เปิดวิสัยทัศน์ เปลี่ยนอนาคต 16 ธันวาคม 2561 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์.” เข้าถึงจาก

          <https://futureforwardparty.org/?page_id=3024>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.

ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ. "'ปฏิรูปกองทัพ' คือทำให้กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน." สัมภาษณ์โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล. ประชาไท. (24 กรกฎาคม 2560). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/
journal/2017/07/72532>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.

สุรชาติ บำรุงสุข. "จะเปลี่ยนผ่านสำเร็จ ต้องปฏิรูปกองทัพได้ จะปฏิรูปกองทัพสำเร็จ ต้องเปลี่ยนผ่านได้."
 

มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์. (30 พฤษภาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.matichonweekly.com/
column/article_197782>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.

สุรชาติ บำรุงสุข. "ปฏิรูปกองทัพต้องเป็นวาระแห่งชาติ… ต้องคิดปฏิรูปกองทัพอย่างจริงจังแล้ว!." มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์. (28 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก

          <https://www.matichonweekly.com/column/article_181866>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.

อ้างอิง

[1] ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ, "'ปฏิรูปกองทัพ' คือทำให้กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน," สัมภาษณ์โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล, ประชาไท, (24 กรกฎาคม 2560). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2017/07/72532>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.

[2] สุรชาติ บำรุงสุข, "ปฏิรูปกองทัพต้องเป็นวาระแห่งชาติ… ต้องคิดปฏิรูปกองทัพอย่างจริงจังแล้ว!," มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์, (28 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.matichonweekly.com/column/article_181866>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.

[3] สุรชาติ บำรุงสุข, "จะเปลี่ยนผ่านสำเร็จ ต้องปฏิรูปกองทัพได้ จะปฏิรูปกองทัพสำเร็จ ต้องเปลี่ยนผ่านได้," มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์, (30 พฤษภาคม 2562). เข้าถึงจาก

<https://www.matichonweekly.com/column/article_197782>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.

[4] ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ, "'ปฏิรูปกองทัพ' คือทำให้กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน," สัมภาษณ์โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล, ประชาไท, (24 กรกฎาคม 2560). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2017/07/72532>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.

[5] กานดา นาคน้อย, "นายพลว่างงาน," ประชาไท, (19 ตุลาคม 2557). เข้าถึงจาก             <https://prachatai.com/journal/2014/10/56086>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563

[6] "เปิดนโยบายปฏิรูปกองทัพ 4 พรรคใหญ่ และนโยบายทหาร 32 พรรค," ประชาไท, (21 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://prachatai.com/journal/2019/03/81612>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.

[7] พงศกร รอดชมภู, “ปฏิรูปกองทัพ: ส่วนหนึ่งจากงานแถลงนโยบายพรรคอนาคตใหม่ เปิดวิสัยทัศน์ เปลี่ยนอนาคต 16 ธันวาคม 2561 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์,” เข้าถึงจาก <https://futureforwardparty.org/?page_id=3024>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.

[8] กองทัพบก, “ผบ.ทบ.ประกาศเตรียมลุยปฏิรูปกองทัพเต็มสูบ,” (12 กุมภาพันธ์ 2562) เข้าถึงจาก <https://www.rta.
mi.th/rta_website_v2/index.php/all-news/item/306-2020-02-05-16-27-01>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.

[9] ""ประยุทธ์" เผย ปฏิรูปกองทัพเป็นรูปธรรม ลดนายพล สร้างสวัสดิการให้ชั้นผู้น้อย," ผู้จัดการออนไลน์, (27 กุมภาพันธ์ 2563). เข้าถึงจาก <https://mgronline.com/politics/detail/9630000020021>. เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563.