ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กัญชาเสรี"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''กัญชาเสรี''' ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 18: บรรทัดที่ 18:
กัญชาเป็นพืชควบคุมตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ถือเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เช่นเดียวกับกระท่อมและฝิ่น มีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญมีผลต่อสมอง การควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของผู้เสพ ทั้งนี้ ผู้ใดผลิต จำหน่าย มีไว้ในครอบครอง หรือเพื่อเสพ ล้วนมีโทษทางอาญา คือ จำคุกตั้งแต่ไม่เกิน 1 ปี ถึง 15 ปี หรือปรับตั้งแต่ไม่เกิน 20,000 บาท ถึง 1,500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม การครอบครองเพื่อการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้กัญชาสามารถทำได้โดยการขออนุญาตกระทรวงเป็นกรณีไป ทว่าการเสพนั้นกฎหมายได้กำหนดห้ามไว้อย่างเด็ดขาด จึงไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะด้วยวัตถุประสงค์ทางการแพทย์หรืออื่นใด[[#_ftn1|[1]]] จนกระทั่งวันที่ 25 ธันวาคม 2561 สภานิติบัญญัติ​แห่งชาติ (สนช.) ได้มีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. .... โดยสาระสำคัญ คือ การปลดล็อกให้กัญชาและกระท่อมออกจากการเป็นยาเสพติดประเภท 5 เพื่อให้สามารถนำไปใช้ทางการแพทย์ การรักษาโรค และการศึกษาวิจัย แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลทางการแพทย์[[#_ftn2|[2]]]
กัญชาเป็นพืชควบคุมตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ถือเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เช่นเดียวกับกระท่อมและฝิ่น มีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญมีผลต่อสมอง การควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของผู้เสพ ทั้งนี้ ผู้ใดผลิต จำหน่าย มีไว้ในครอบครอง หรือเพื่อเสพ ล้วนมีโทษทางอาญา คือ จำคุกตั้งแต่ไม่เกิน 1 ปี ถึง 15 ปี หรือปรับตั้งแต่ไม่เกิน 20,000 บาท ถึง 1,500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม การครอบครองเพื่อการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้กัญชาสามารถทำได้โดยการขออนุญาตกระทรวงเป็นกรณีไป ทว่าการเสพนั้นกฎหมายได้กำหนดห้ามไว้อย่างเด็ดขาด จึงไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะด้วยวัตถุประสงค์ทางการแพทย์หรืออื่นใด[[#_ftn1|[1]]] จนกระทั่งวันที่ 25 ธันวาคม 2561 สภานิติบัญญัติ​แห่งชาติ (สนช.) ได้มีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. .... โดยสาระสำคัญ คือ การปลดล็อกให้กัญชาและกระท่อมออกจากการเป็นยาเสพติดประเภท 5 เพื่อให้สามารถนำไปใช้ทางการแพทย์ การรักษาโรค และการศึกษาวิจัย แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลทางการแพทย์[[#_ftn2|[2]]]


พรรคภูมิใจไทยดูเหมือนจะเป็นพรรคการเมืองแรกๆ ในการเลือกตั้ง ปี 2562 ที่นำเสนอนโยบายกัญชาเพื่อเป็นจุดขายต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ภายใต้สโลแกน “พืชแก้จนของคนไทย นโยบายสร้างรายได้ประชาชน” และ “พืชแก้จน พืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ กัญชาเสรี” หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “กัญชาเสรี”<br/> การเปิดตัว “กัญชาเสรี” ครั้งแรกเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2562 ในการแถลงนโยบายของพรรคฯ<br/> โดยนายศักดิ์สยาม​ ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ที่ชี้แจงว่าต้องการใช้โมเดลของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย​ ประเทศสหรัฐอเมริกา มาเป็นต้นแบบ เพราะหลังจากทำให้เปิดเสรีแล้ว ก็ทำให้รัฐแคลิฟอร์เนียกลายเป็นตลาดค้ากัญชาเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีมูล​ค่า​ถึง​ 5 แสนล้านบาท​ ทั้งยังสามารถเก็บภาษาจากประชาชนได้กว่า 1 แสนล้านบาท ในกรณีของไทย หากนำโมเดลนี้มาใช้ก็จะทำให้ทุกครอบครัวสามารถปลูกกัญชาได้อย่างเสรีตามโควตาบ้านละ 6 ต้น โดยไม่ต้องติดขัดเรื่องใบอนุญาตการปลูกที่สูงถึง 30 ล้านบาท ตามที่ สนช. ได้ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายไปก่อนหน้านี้ อันจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุน แต่หากมีการปลดล็อกกฎหมาย โดยพรรคภูมิใจไทยจะมีการยกร่างร่างกฎหมายขึ้นใหม่ จึงขอให้ประชาชนให้การสนับสนุนพรรคฯ และนายอนุทิน​ ชาญวีรกูล​ หัวหน้าพรรค เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อผลักดันนโยบายดังกล่าว[[#_ftn3|[3]]]
พรรคภูมิใจไทยดูเหมือนจะเป็นพรรคการเมืองแรกๆ ในการเลือกตั้ง ปี 2562 ที่นำเสนอนโยบายกัญชาเพื่อเป็นจุดขายต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ภายใต้สโลแกน “พืชแก้จนของคนไทย นโยบายสร้างรายได้ประชาชน” และ “พืชแก้จน พืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ กัญชาเสรี” หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “กัญชาเสรี” การเปิดตัว “กัญชาเสรี” ครั้งแรกเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2562 ในการแถลงนโยบายของพรรคฯ โดยนายศักดิ์สยาม​ ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ที่ชี้แจงว่าต้องการใช้โมเดลของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย​ ประเทศสหรัฐอเมริกา มาเป็นต้นแบบ เพราะหลังจากทำให้เปิดเสรีแล้ว ก็ทำให้รัฐแคลิฟอร์เนียกลายเป็นตลาดค้ากัญชาเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีมูล​ค่า​ถึง​ 5 แสนล้านบาท​ ทั้งยังสามารถเก็บภาษาจากประชาชนได้กว่า 1 แสนล้านบาท ในกรณีของไทย หากนำโมเดลนี้มาใช้ก็จะทำให้ทุกครอบครัวสามารถปลูกกัญชาได้อย่างเสรีตามโควตาบ้านละ 6 ต้น โดยไม่ต้องติดขัดเรื่องใบอนุญาตการปลูกที่สูงถึง 30 ล้านบาท ตามที่ สนช. ได้ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายไปก่อนหน้านี้ อันจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุน แต่หากมีการปลดล็อกกฎหมาย โดยพรรคภูมิใจไทยจะมีการยกร่างร่างกฎหมายขึ้นใหม่ จึงขอให้ประชาชนให้การสนับสนุนพรรคฯ และนายอนุทิน​ ชาญวีรกูล​ หัวหน้าพรรค เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อผลักดันนโยบายดังกล่าว[[#_ftn3|[3]]]


แม้ว่าพรรคการเมืองใหญ่อื่นๆ อาทิ พรรคประชาธิปัตย์ อนาคตใหม่ และเพื่อไทย จะหยิบยกประเด็นกัญชา (และกัญชง) ขึ้นมาเพื่อดึงคะแนนเสียงเช่นกัน แต่ก็นับได้ว่าพรรคภูมิใจไทย มีแนวความคิดเรื่องกัญชาที่สุดโต่ง กว้างขวาง และมีรายละเอียดมากที่สุด จนถูกขนานนามว่าเป็น “อภิมหาประชานิยม”[[#_ftn4|[4]]] ต่อมาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 นายอนุทิน​ ชาญวีรกูล ได้โพสต์ข้อความผ่าน Facebook ความว่า
แม้ว่าพรรคการเมืองใหญ่อื่นๆ อาทิ พรรคประชาธิปัตย์ อนาคตใหม่ และเพื่อไทย จะหยิบยกประเด็นกัญชา (และกัญชง) ขึ้นมาเพื่อดึงคะแนนเสียงเช่นกัน แต่ก็นับได้ว่าพรรคภูมิใจไทย มีแนวความคิดเรื่องกัญชาที่สุดโต่ง กว้างขวาง และมีรายละเอียดมากที่สุด จนถูกขนานนามว่าเป็น “อภิมหาประชานิยม”[[#_ftn4|[4]]] ต่อมาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 นายอนุทิน​ ชาญวีรกูล ได้โพสต์ข้อความผ่าน Facebook ความว่า
บรรทัดที่ 32: บรรทัดที่ 32:
&nbsp;
&nbsp;


'''"กัญชาเสรี" ภายใต้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข [[อนุทิน]]''''''​''''''ชาญวีรกูล'''
'''"กัญชาเสรี" ภายใต้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อนุทิน''''''​''''''ชาญวีรกูล'''


ภายหลังการเลือกตั้ง วันที่ 24 มีนาคม 2562 สิ้นสุดลง คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศจำนวนส.ส. อย่างไม่เป็นทางการ แม้ไม่อาจกล่าวได้ชัดเจนว่า “กัญชาเสรี” เป็นนโยบายที่ส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดกลางอย่างพรรคภูมิใจไทย ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งครั้งนี้จนได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาเป็นอันดับ 5 ซึ่งได้ไป 51 ที่นั่ง (รองจากพรรคเพื่อไทย ที่ได้ 137 ที่นั่ง, พรรคพลังประชารัฐ 116<br/> ที่นั่ง, พรรคอนาคตใหม่ 80 ที่นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ 52 ที่นั่ง)[[#_ftn7|[7]]] และกลายเป็นพรรคตัวแปรที่มีอำนาจต่อรองในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า “กัญชาเสรี” และตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นหนึ่งในเงื่อนไขต่อรองการเข้าร่วมรัฐบาล ดังที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า “หากพรรคต่างๆ ปฏิเสธนโยบายนี้ พรรคจะไม่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลเด็ดขาด และจะไม่ยออมสละเงื่อนไขนี้ทิ้งไปเพื่อเป็นฝ่ายรัฐบาล เพราะนโยบายพรรคถือเป็นจุดแข็งที่ทำให้ประชาชนเทคะแนนเสียงมาให้”[[#_ftn8|[8]]] ต่อมาเมื่อพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยเสนอชื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข งานสัมมนาใหญ่เรื่อง "กัญชาเสรีเพื่อการแพทย์"<br/> ที่จัดขึ้นโดยพรรคภูมิใจไทยเพียง 2 วันหลังการเข้ารับตำแหน่งของอนุทิน ชาญวีรกูล พร้อมกับที่ได้ยืนยันว่าต้องผลักดันนโยบายกัญชาให้ประสบความสำเร็จเพราะได้ "สัญญากับพี่น้องประชาชนไว้" ที่จะทำประโยชน์ให้กับการรักษาผู้ป่วยทางการแพทย์ รวมถึงประชาชนโดยทั่วไป[[#_ftn9|[9]]]
ภายหลังการเลือกตั้ง วันที่ 24 มีนาคม 2562 สิ้นสุดลง คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศจำนวนส.ส. อย่างไม่เป็นทางการ แม้ไม่อาจกล่าวได้ชัดเจนว่า “กัญชาเสรี” เป็นนโยบายที่ส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดกลางอย่างพรรคภูมิใจไทย ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งครั้งนี้จนได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาเป็นอันดับ 5 ซึ่งได้ไป 51 ที่นั่ง (รองจากพรรคเพื่อไทย ที่ได้ 137 ที่นั่ง, พรรคพลังประชารัฐ 116 ที่นั่ง, พรรคอนาคตใหม่ 80 ที่นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ 52 ที่นั่ง)[[#_ftn7|[7]]] และกลายเป็นพรรคตัวแปรที่มีอำนาจต่อรองในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า “กัญชาเสรี” และตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นหนึ่งในเงื่อนไขต่อรองการเข้าร่วมรัฐบาล ดังที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า “หากพรรคต่างๆ ปฏิเสธนโยบายนี้ พรรคจะไม่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลเด็ดขาด และจะไม่ยออมสละเงื่อนไขนี้ทิ้งไปเพื่อเป็นฝ่ายรัฐบาล เพราะนโยบายพรรคถือเป็นจุดแข็งที่ทำให้ประชาชนเทคะแนนเสียงมาให้”[[#_ftn8|[8]]] ต่อมาเมื่อพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยเสนอชื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข งานสัมมนาใหญ่เรื่อง "กัญชาเสรีเพื่อการแพทย์"<br/> ที่จัดขึ้นโดยพรรคภูมิใจไทยเพียง 2 วันหลังการเข้ารับตำแหน่งของอนุทิน ชาญวีรกูล พร้อมกับที่ได้ยืนยันว่าต้องผลักดันนโยบายกัญชาให้ประสบความสำเร็จเพราะได้ "สัญญากับพี่น้องประชาชนไว้" ที่จะทำประโยชน์ให้กับการรักษาผู้ป่วยทางการแพทย์ รวมถึงประชาชนโดยทั่วไป[[#_ftn9|[9]]]


นโยบายกัญชาเพื่อการแพทย์และส่งเสริมการปลูกพืชกัญา ได้ถูกบรรจุไว้เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และกระทรวงสาธารณสุข ในยุคของนายอนุทิน ชาญวีรกูล ความชัดเจนด้านนโยบายเริ่มปรากฏออกมาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ว่านโยบายกัญชาของรัฐบาลจำกัดอยู่เพียงเพื่อการแพทย์และการรักษาโรคเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงการใช้เพื่อความบันเทิงและสันทนาการแต่อย่างใด[[#_ftn10|[10]]] การผลักดันนโยบายกัญชาดำเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยพรรคภูมิใจไทย จนกระทั่ง วันที่ 13 กันยายน 2562 ได้มีการเสนอร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ก็คือ ร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ …) พ.ศ…. และร่างพระราชบัญญัติสถาบันพืชยาเสพติดแห่งประเทศไทย พ.ศ.... หรือที่รู้จักกันในชื่อ "กฎหมายปลูกกัญชาบ้านละ 6 ต้น" เพื่อปลดล็อกกัญชาให้สามารถใช้ทางการแพทย์ได้อย่างแพร่หลาย และประชาชนสามารถปลูกได้ตามนโยบายที่พรรคฯ หาเสียงไว้ในช่วงเลือกตั้ง ซึ่งมีสาระสำคัญ[[#_ftn11|[11]]] คือ
นโยบายกัญชาเพื่อการแพทย์และส่งเสริมการปลูกพืชกัญา ได้ถูกบรรจุไว้เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และกระทรวงสาธารณสุข ในยุคของนายอนุทิน ชาญวีรกูล ความชัดเจนด้านนโยบายเริ่มปรากฏออกมาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ว่านโยบายกัญชาของรัฐบาลจำกัดอยู่เพียงเพื่อการแพทย์และการรักษาโรคเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงการใช้เพื่อความบันเทิงและสันทนาการแต่อย่างใด[[#_ftn10|[10]]] การผลักดันนโยบายกัญชาดำเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยพรรคภูมิใจไทย จนกระทั่ง วันที่ 13 กันยายน 2562 ได้มีการเสนอร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ก็คือ ร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ …) พ.ศ…. และร่างพระราชบัญญัติสถาบันพืชยาเสพติดแห่งประเทศไทย พ.ศ.... หรือที่รู้จักกันในชื่อ "กฎหมายปลูกกัญชาบ้านละ 6 ต้น" เพื่อปลดล็อกกัญชาให้สามารถใช้ทางการแพทย์ได้อย่างแพร่หลาย และประชาชนสามารถปลูกได้ตามนโยบายที่พรรคฯ หาเสียงไว้ในช่วงเลือกตั้ง ซึ่งมีสาระสำคัญ[[#_ftn11|[11]]] คือ
บรรทัดที่ 66: บรรทัดที่ 66:
'''บรรณานุกรม'''
'''บรรณานุกรม'''


“กฎหมายเกี่ยวกับกัญชา." '''สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม'''. เข้าถึงจาก <https://media.oncb.go.th/index.php/th/23-2018-02-20-07-04-07/2018-02-20-07-05-01/64-content5-21-5-61-1>. เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563.
“กฎหมายเกี่ยวกับกัญชา." '''สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม'''. เข้าถึงจาก <[https://media.oncb.go.th/index.php/th/23-2018-02-20-07-04-07/2018-02-20-07-05-01/64-content5-21-5-61-1 https://media.oncb.go.th/index.php/th/23-2018-02-20-07-04-07/2018-02-20-07-05-01/64-content5-21-5-61-1]>. เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563.


“กัญชา: เปิดนโยบายกัญชาของภูมิใจไทยอีกครั้ง หลังโปรดเกล้าฯ “อนุทิน ชาญวีรกูล” เป็น รมว. สาธารณสุข." '''บีบีซี''' (13 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/thailand-48973471>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
“กัญชา: เปิดนโยบายกัญชาของภูมิใจไทยอีกครั้ง หลังโปรดเกล้าฯ “อนุทิน ชาญวีรกูล” เป็น รมว. สาธารณสุข." '''บีบีซี''' (13 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.bbc.com/thai/thailand-48973471 https://www.bbc.com/thai/thailand-48973471]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.


“คนป่วยเฮ ! "อนุทิน" เผย "กัญชาเสรีเพื่อการแพทย์" บรรจุเป็นนโยบายรัฐบาลแล้ว." '''ฐานเศรษฐกิจ''' (12 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thansettakij.com/content/404973>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
“คนป่วยเฮ&nbsp;! "อนุทิน" เผย "กัญชาเสรีเพื่อการแพทย์" บรรจุเป็นนโยบายรัฐบาลแล้ว." '''ฐานเศรษฐกิจ''' (12 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.thansettakij.com/content/404973 https://www.thansettakij.com/content/404973]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.


“เทียบนโยบาย ‘กัญชา’ ในศึกเลือกตั้ง 2562." '''The Standard''' (1 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/thailandelection2562-marijuana-policy/>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563. และ "ถึงเวลาสู่กัญชาเสรี?." '''ไทยรัฐออนไลน์''' (16 พฤษภาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1568010>. เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563.
“เทียบนโยบาย ‘กัญชา’ ในศึกเลือกตั้ง 2562." '''The Standard''' (1 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://thestandard.co/thailandelection2562-marijuana-policy/ https://thestandard.co/thailandelection2562-marijuana-policy/]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563. และ "ถึงเวลาสู่กัญชาเสรี?." '''ไทยรัฐออนไลน์''' (16 พฤษภาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.thairath.co.th/news/politic/1568010 https://www.thairath.co.th/news/politic/1568010]>. เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563.


“นักวิชาการ” เปิดเวทีแสดงจุดยืน ไม่สนับสนุนกัญชาเสรี." '''PPTV''' (2 พฤษภาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/102403>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
“นักวิชาการ” เปิดเวทีแสดงจุดยืน ไม่สนับสนุนกัญชาเสรี." '''PPTV''' (2 พฤษภาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/102403 https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/102403]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.


“ผลการเลือกตั้งทั่วประเทศ.” '''PPTV''' (8 พฤษภาคม 2562). เข้าถึงได้จาก <https://election.pptvhd36.com>. เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2563.
“ผลการเลือกตั้งทั่วประเทศ.” '''PPTV''' (8 พฤษภาคม 2562). เข้าถึงได้จาก <[https://election.pptvhd36.com https://election.pptvhd36.com]>. เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2563.


“‘ภูมิใจไทย' แจงโมเดล 'ปลูกกัญชาเสรี' เพื่อประโยชน์ประชาชน." '''Voice Online'''. (26 กุมภาพันธ์ 2562). เข้าถึงจาก <https://www.voicetv.co.th/read/Kq2iktyZ4>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
“‘ภูมิใจไทย' แจงโมเดล 'ปลูกกัญชาเสรี' เพื่อประโยชน์ประชาชน." '''Voice Online'''. (26 กุมภาพันธ์ 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.voicetv.co.th/read/Kq2iktyZ4 https://www.voicetv.co.th/read/Kq2iktyZ4]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.


“ภูมิใจไทยประกาศนโยบาย "ปลูกกัญชาเสรี" ใช้โมเดลแคลิฟอร์เนีย." '''โพสต์ทูเดย์''' (17 มกราคม 2562).&nbsp; เข้าถึงจาก <https://www.posttoday.com/politic/news/577332>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
“ภูมิใจไทยประกาศนโยบาย "ปลูกกัญชาเสรี" ใช้โมเดลแคลิฟอร์เนีย." '''โพสต์ทูเดย์''' (17 มกราคม 2562).&nbsp; เข้าถึงจาก <[https://www.posttoday.com/politic/news/577332 https://www.posttoday.com/politic/news/577332]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.


“‘รสนา’ หนุนกัญชาเสรี ‘อนุทิน’ ชี้ ทำประชาชนพึ่งตัวเองได้." '''มติชนออนไลน์''' (13 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1579805>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
“‘รสนา’ หนุนกัญชาเสรี ‘อนุทิน’ ชี้ ทำประชาชนพึ่งตัวเองได้." '''มติชนออนไลน์''' (13 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1579805 https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1579805]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.


“เลือกตั้ง2562 : "อนุทิน" ย้ำเงื่อนไขพรรคร่วมรัฐบาลต้องรับนโยบายกัญชา." '''Thai PBS''' (25 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://news.thaipbs.or.th/content/278728>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
“เลือกตั้ง2562&nbsp;: "อนุทิน" ย้ำเงื่อนไขพรรคร่วมรัฐบาลต้องรับนโยบายกัญชา." '''Thai PBS''' (25 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://news.thaipbs.or.th/content/278728 https://news.thaipbs.or.th/content/278728]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.


“สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติด ให้ใช้ กัญชา กระท่อม เพื่อทางการแพทย์." '''Workpoint News'''. (25 ธันวาคม 2561). เข้าถึงจาก <https://workpointnews.com/2018/12/25/สนช-ผ่านร่าง-พ-ร-บ-ยาเสพติ/>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
“สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติด ให้ใช้ กัญชา กระท่อม เพื่อทางการแพทย์." '''Workpoint News'''. (25 ธันวาคม 2561). เข้าถึงจาก <[https://workpointnews.com/2018/12/25/สนช-ผ่านร่าง-พ-ร-บ-ยาเสพติ/ https://workpointnews.com/2018/12/25/สนช-ผ่านร่าง-พ-ร-บ-ยาเสพติ/]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.


“ส่องร่าง กม.ปลูกกัญชา6ต้น ฉบับ‘ภท.’ชงสภาเปิดทาง." '''มติชนออนไลน์''' (14 กันยายน 2562). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_1669243>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
“ส่องร่าง กม.ปลูกกัญชา6ต้น ฉบับ‘ภท.’ชงสภาเปิดทาง." '''มติชนออนไลน์''' (14 กันยายน 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_1669243 https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_1669243]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.


“สัมมนา'มองกัญชาให้รอบด้าน'ไม่สนับสนุนกัญชาเสรี หวั่นผลกระทบต่อสังคมหากคุมไม่ได้ ชี้กัญชาช่วง5ปีเพื่อการแพทย์." '''ไทยทริบูน''' (26 เมษายน 2562).
“สัมมนา'มองกัญชาให้รอบด้าน'ไม่สนับสนุนกัญชาเสรี หวั่นผลกระทบต่อสังคมหากคุมไม่ได้ ชี้กัญชาช่วง5ปีเพื่อการแพทย์." '''ไทยทริบูน''' (26 เมษายน 2562).


เข้าถึงจาก <http://www.thaitribune.org/contents/detail/303?content_id=35284>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
เข้าถึงจาก <[http://www.thaitribune.org/contents/detail/303?content_id=35284 http://www.thaitribune.org/contents/detail/303?content_id=35284]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.


“‘อนุทิน' ลั่นกัญชาเสรีทางการแพทย์ต้องเสร็จในรัฐบาลนี้." '''กรุงเทพธุรกิจออนไลน์''' (18 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/841053>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
“‘อนุทิน' ลั่นกัญชาเสรีทางการแพทย์ต้องเสร็จในรัฐบาลนี้." '''กรุงเทพธุรกิจออนไลน์''' (18 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/841053 https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/841053]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.


““อนุทิน” ประกาศคนไทยปลูกกัญชาเสรีได้ทันที ถ้าให้ ภท.เป็นรัฐบาล." '''ไทยโพสต์''' (3 กุมภาพันธ์ 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/28189>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
““อนุทิน” ประกาศคนไทยปลูกกัญชาเสรีได้ทันที ถ้าให้ ภท.เป็นรัฐบาล." '''ไทยโพสต์''' (3 กุมภาพันธ์ 2562). เข้าถึงจาก <[https://www.thaipost.net/main/detail/28189 https://www.thaipost.net/main/detail/28189]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.


““อนุทิน” ลั่นหน้าที่ตนจบแล้ว หลังผลักดันกม.กัญชาเสรีปลูกบ้านละ 6 ต้นมาครึ่งทาง." '''สำนักข่าว ''''''Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ''' (25 กันยายน 2562).
““อนุทิน” ลั่นหน้าที่ตนจบแล้ว หลังผลักดันกม.กัญชาเสรีปลูกบ้านละ 6 ต้นมาครึ่งทาง." '''สำนักข่าว ''''''Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ''' (25 กันยายน 2562).


เข้าถึงจาก <https://www.hfocus.org/content/2019/09/17799>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
เข้าถึงจาก <[https://www.hfocus.org/content/2019/09/17799 https://www.hfocus.org/content/2019/09/17799]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
 
&nbsp;
 
&nbsp;


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 110: บรรทัดที่ 106:
----
----
<div id="ftn1">
<div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] "กฎหมายเกี่ยวกับกัญชา," '''สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม''', เข้าถึงจาก <https://media.oncb.go.th/index.php/th/23-2018-02-20-07-04-07/2018-02-20-07-05-01/64-content5-21-5-61-1>. เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563.
[[#_ftnref1|[1]]] "กฎหมายเกี่ยวกับกัญชา," '''สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม''', เข้าถึงจาก <[https://media.oncb.go.th/index.php/th/23-2018-02-20-07-04-07/2018-02-20-07-05-01/64-content5-21-5-61-1 https://media.oncb.go.th/index.php/th/23-2018-02-20-07-04-07/2018-02-20-07-05-01/64-content5-21-5-61-1]>. เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563.
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] "สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติด ให้ใช้ กัญชา กระท่อม เพื่อทางการแพทย์," '''Workpoint News''', (25 ธันวาคม 2561), เข้าถึงจาก <https://workpointnews.com/2018/12/25/สนช-ผ่านร่าง-พ-ร-บ-ยาเสพติ/>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
[[#_ftnref2|[2]]] "สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติด ให้ใช้ กัญชา กระท่อม เพื่อทางการแพทย์," '''Workpoint News''', (25 ธันวาคม 2561), เข้าถึงจาก <[https://workpointnews.com/2018/12/25/สนช-ผ่านร่าง-พ-ร-บ-ยาเสพติ/ https://workpointnews.com/2018/12/25/สนช-ผ่านร่าง-พ-ร-บ-ยาเสพติ/]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] "ภูมิใจไทยประกาศนโยบาย "ปลูกกัญชาเสรี" ใช้โมเดลแคลิฟอร์เนีย," '''โพสต์ทูเดย์''' (17 มกราคม 2562),&nbsp; เข้าถึงจาก <https://www.posttoday.com/politic/news/577332>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
[[#_ftnref3|[3]]] "ภูมิใจไทยประกาศนโยบาย "ปลูกกัญชาเสรี" ใช้โมเดลแคลิฟอร์เนีย," '''โพสต์ทูเดย์''' (17 มกราคม 2562),&nbsp; เข้าถึงจาก <[https://www.posttoday.com/politic/news/577332 https://www.posttoday.com/politic/news/577332]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[4]]] "เทียบนโยบาย ‘กัญชา’ ในศึกเลือกตั้ง 2562," '''The Standard''' (1 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/thailandelection2562-marijuana-policy/>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563. และ "ถึงเวลาสู่กัญชาเสรี?," '''ไทยรัฐออนไลน์''' (16 พฤษภาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1568010>. เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563.
[[#_ftnref4|[4]]] "เทียบนโยบาย ‘กัญชา’ ในศึกเลือกตั้ง 2562," '''The Standard''' (1 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <[https://thestandard.co/thailandelection2562-marijuana-policy/ https://thestandard.co/thailandelection2562-marijuana-policy/]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563. และ "ถึงเวลาสู่กัญชาเสรี?," '''ไทยรัฐออนไลน์''' (16 พฤษภาคม 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.thairath.co.th/news/politic/1568010 https://www.thairath.co.th/news/politic/1568010]>. เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563.
</div> <div id="ftn5">
</div> <div id="ftn5">
[[#_ftnref5|[5]]] "“อนุทิน” ประกาศคนไทยปลูกกัญชาเสรีได้ทันที ถ้าให้ ภท.เป็นรัฐบาล," '''ไทยโพสต์''' (3 กุมภาพันธ์ 2562), เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/28189>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
[[#_ftnref5|[5]]] "“อนุทิน” ประกาศคนไทยปลูกกัญชาเสรีได้ทันที ถ้าให้ ภท.เป็นรัฐบาล," '''ไทยโพสต์''' (3 กุมภาพันธ์ 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.thaipost.net/main/detail/28189 https://www.thaipost.net/main/detail/28189]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[6]]] "'ภูมิใจไทย' แจงโมเดล 'ปลูกกัญชาเสรี' เพื่อประโยชน์ประชาชน," '''Voice Online''', (26 กุมภาพันธ์ 2562), เข้าถึงจาก <https://www.voicetv.co.th/read/Kq2iktyZ4>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
[[#_ftnref6|[6]]] "'ภูมิใจไทย' แจงโมเดล 'ปลูกกัญชาเสรี' เพื่อประโยชน์ประชาชน," '''Voice Online''', (26 กุมภาพันธ์ 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.voicetv.co.th/read/Kq2iktyZ4 https://www.voicetv.co.th/read/Kq2iktyZ4]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]] “ผลการเลือกตั้งทั่วประเทศ,” '''PPTV''' (8 พฤษภาคม 2562), เข้าถึงได้จาก <https://election.pptvhd36.com>. เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2563.
[[#_ftnref7|[7]]] “ผลการเลือกตั้งทั่วประเทศ,” '''PPTV''' (8 พฤษภาคม 2562), เข้าถึงได้จาก <[https://election.pptvhd36.com https://election.pptvhd36.com]>. เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2563.
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] "เลือกตั้ง2562 : "อนุทิน" ย้ำเงื่อนไขพรรคร่วมรัฐบาลต้องรับนโยบายกัญชา," '''Thai PBS''' (25 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://news.thaipbs.or.th/content/278728>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
[[#_ftnref8|[8]]] "เลือกตั้ง2562&nbsp;: "อนุทิน" ย้ำเงื่อนไขพรรคร่วมรัฐบาลต้องรับนโยบายกัญชา," '''Thai PBS''' (25 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <[https://news.thaipbs.or.th/content/278728 https://news.thaipbs.or.th/content/278728]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
[[#_ftnref9|[9]]] "กัญชา: เปิดนโยบายกัญชาของภูมิใจไทยอีกครั้ง หลังโปรดเกล้าฯ “อนุทิน ชาญวีรกูล” เป็น รมว. สาธารณสุข," '''บีบีซี''' (13 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/thailand-48973471>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
[[#_ftnref9|[9]]] "กัญชา: เปิดนโยบายกัญชาของภูมิใจไทยอีกครั้ง หลังโปรดเกล้าฯ “อนุทิน ชาญวีรกูล” เป็น รมว. สาธารณสุข," '''บีบีซี''' (13 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.bbc.com/thai/thailand-48973471 https://www.bbc.com/thai/thailand-48973471]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
</div> <div id="ftn10">
</div> <div id="ftn10">
[[#_ftnref10|[10]]] "'อนุทิน' ลั่นกัญชาเสรีทางการแพทย์ต้องเสร็จในรัฐบาลนี้," '''กรุงเทพธุรกิจออนไลน์''' (18 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/841053>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
[[#_ftnref10|[10]]] "'อนุทิน' ลั่นกัญชาเสรีทางการแพทย์ต้องเสร็จในรัฐบาลนี้," '''กรุงเทพธุรกิจออนไลน์''' (18 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/841053 https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/841053]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
</div> <div id="ftn11">
</div> <div id="ftn11">
[[#_ftnref11|[11]]] "ส่องร่าง กม.ปลูกกัญชา6ต้น ฉบับ‘ภท.’ชงสภาเปิดทาง," '''มติชนออนไลน์''' (14 กันยายน 2562), เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_1669243>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
[[#_ftnref11|[11]]] "ส่องร่าง กม.ปลูกกัญชา6ต้น ฉบับ‘ภท.’ชงสภาเปิดทาง," '''มติชนออนไลน์''' (14 กันยายน 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_1669243 https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_1669243]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
</div> <div id="ftn12">
</div> <div id="ftn12">
[[#_ftnref12|[12]]] "“อนุทิน” ลั่นหน้าที่ตนจบแล้ว หลังผลักดันกม.กัญชาเสรีปลูกบ้านละ 6 ต้นมาครึ่งทาง," '''สำนักข่าว ''''''Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ''' (25 กันยายน 2562), เข้าถึงจาก <https://www.hfocus.org/content/2019/09/17799>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
[[#_ftnref12|[12]]] "“อนุทิน” ลั่นหน้าที่ตนจบแล้ว หลังผลักดันกม.กัญชาเสรีปลูกบ้านละ 6 ต้นมาครึ่งทาง," '''สำนักข่าว ''''''Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ''' (25 กันยายน 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.hfocus.org/content/2019/09/17799 https://www.hfocus.org/content/2019/09/17799]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
</div> <div id="ftn13">
</div> <div id="ftn13">
[[#_ftnref13|[13]]] "‘รสนา’ หนุนกัญชาเสรี ‘อนุทิน’ ชี้ ทำประชาชนพึ่งตัวเองได้," '''มติชนออนไลน์''' (13 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1579805>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
[[#_ftnref13|[13]]] "‘รสนา’ หนุนกัญชาเสรี ‘อนุทิน’ ชี้ ทำประชาชนพึ่งตัวเองได้," '''มติชนออนไลน์''' (13 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1579805 https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1579805]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
</div> <div id="ftn14">
</div> <div id="ftn14">
[[#_ftnref14|[14]]] "คนป่วยเฮ ! "อนุทิน" เผย "กัญชาเสรีเพื่อการแพทย์" บรรจุเป็นนโยบายรัฐบาลแล้ว," '''ฐานเศรษฐกิจ '''(12 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.thansettakij.com/content/404973>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
[[#_ftnref14|[14]]] "คนป่วยเฮ&nbsp;! "อนุทิน" เผย "กัญชาเสรีเพื่อการแพทย์" บรรจุเป็นนโยบายรัฐบาลแล้ว," '''ฐานเศรษฐกิจ '''(12 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.thansettakij.com/content/404973 https://www.thansettakij.com/content/404973]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
</div> <div id="ftn15">
</div> <div id="ftn15">
[[#_ftnref15|[15]]] "สัมมนา'มองกัญชาให้รอบด้าน'ไม่สนับสนุนกัญชาเสรี หวั่นผลกระทบต่อสังคมหากคุมไม่ได้ ชี้กัญชาช่วง5ปีเพื่อการแพทย์," '''ไทยทริบูน''' (26 เมษายน 2562), เข้าถึงจาก <http://www.thaitribune.org/contents/detail/303?content_id=35284>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
[[#_ftnref15|[15]]] "สัมมนา'มองกัญชาให้รอบด้าน'ไม่สนับสนุนกัญชาเสรี หวั่นผลกระทบต่อสังคมหากคุมไม่ได้ ชี้กัญชาช่วง5ปีเพื่อการแพทย์," '''ไทยทริบูน''' (26 เมษายน 2562), เข้าถึงจาก <[http://www.thaitribune.org/contents/detail/303?content_id=35284 http://www.thaitribune.org/contents/detail/303?content_id=35284]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
</div> <div id="ftn16">
</div> <div id="ftn16">
[[#_ftnref16|[16]]] "“นักวิชาการ” เปิดเวทีแสดงจุดยืน ไม่สนับสนุนกัญชาเสรี," '''PPTV''' (2 พฤษภาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/102403>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
[[#_ftnref16|[16]]] "“นักวิชาการ” เปิดเวทีแสดงจุดยืน ไม่สนับสนุนกัญชาเสรี," '''PPTV''' (2 พฤษภาคม 2562), เข้าถึงจาก <[https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/102403 https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/102403]>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]]
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:43, 14 ตุลาคม 2563

กัญชาเสรี

ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ดร. สติธร ธนานิธิโชติ

 

ความนำ

"กัญชาเสรี" เป็นนโยบายรณรงค์หาเสียงของพรรคภูมิใจไทย ในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ปี 2562 โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการผลักดันให้กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ เนื่องจาก พื้นที่ประเทศไทยเป็นพื้นที่ ถือเป็นแหล่งผลิตกัญชาที่มีคุณภาพดีที่สุดแหล่งหนึ่งของโลก และกัญชาที่ปลูกในไทยไทย ก็ให้สารที่นำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ดีที่สุด ดังนั้น รัฐบาลจึงควรส่งเสริมให้เกิดการปลูกกัญชาได้อย่างเสรี โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจำหน่ายเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตยารักษาโรค หรือ เพื่อการรักษาทางการแพทย์ อันจะก่อให้เกิดรายได้แก่เกษตรกรเพิ่มขึ้นมหาศาล และเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมที่มูลค่าหลายแสนล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ นโยบายกัญชาเสรี หรือ กัญชาเพื่อการแพทย์ ของพรรคภูมิใจไทย ได้ดึงดูดความสนใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมาก พร้อมๆ กับได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายถึงความเป็นไปไม่ได้ในการดำเนินนโยบายดังกล่าวในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ซึ่งพรรคภูมิใจไทยได้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย จึงได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และดำเนินการผลักดันนโยบายกัญชาของพรรคฯ อย่างต่อเนื่อง

 

"กัญชาเสรี" กับการณรงค์หาเสียงของพรรคภูมิใจไทย

กัญชาเป็นพืชควบคุมตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ถือเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เช่นเดียวกับกระท่อมและฝิ่น มีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญมีผลต่อสมอง การควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมของผู้เสพ ทั้งนี้ ผู้ใดผลิต จำหน่าย มีไว้ในครอบครอง หรือเพื่อเสพ ล้วนมีโทษทางอาญา คือ จำคุกตั้งแต่ไม่เกิน 1 ปี ถึง 15 ปี หรือปรับตั้งแต่ไม่เกิน 20,000 บาท ถึง 1,500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม การครอบครองเพื่อการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้กัญชาสามารถทำได้โดยการขออนุญาตกระทรวงเป็นกรณีไป ทว่าการเสพนั้นกฎหมายได้กำหนดห้ามไว้อย่างเด็ดขาด จึงไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะด้วยวัตถุประสงค์ทางการแพทย์หรืออื่นใด[1] จนกระทั่งวันที่ 25 ธันวาคม 2561 สภานิติบัญญัติ​แห่งชาติ (สนช.) ได้มีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. .... โดยสาระสำคัญ คือ การปลดล็อกให้กัญชาและกระท่อมออกจากการเป็นยาเสพติดประเภท 5 เพื่อให้สามารถนำไปใช้ทางการแพทย์ การรักษาโรค และการศึกษาวิจัย แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลทางการแพทย์[2]

พรรคภูมิใจไทยดูเหมือนจะเป็นพรรคการเมืองแรกๆ ในการเลือกตั้ง ปี 2562 ที่นำเสนอนโยบายกัญชาเพื่อเป็นจุดขายต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ภายใต้สโลแกน “พืชแก้จนของคนไทย นโยบายสร้างรายได้ประชาชน” และ “พืชแก้จน พืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ กัญชาเสรี” หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “กัญชาเสรี” การเปิดตัว “กัญชาเสรี” ครั้งแรกเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2562 ในการแถลงนโยบายของพรรคฯ โดยนายศักดิ์สยาม​ ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ที่ชี้แจงว่าต้องการใช้โมเดลของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย​ ประเทศสหรัฐอเมริกา มาเป็นต้นแบบ เพราะหลังจากทำให้เปิดเสรีแล้ว ก็ทำให้รัฐแคลิฟอร์เนียกลายเป็นตลาดค้ากัญชาเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีมูล​ค่า​ถึง​ 5 แสนล้านบาท​ ทั้งยังสามารถเก็บภาษาจากประชาชนได้กว่า 1 แสนล้านบาท ในกรณีของไทย หากนำโมเดลนี้มาใช้ก็จะทำให้ทุกครอบครัวสามารถปลูกกัญชาได้อย่างเสรีตามโควตาบ้านละ 6 ต้น โดยไม่ต้องติดขัดเรื่องใบอนุญาตการปลูกที่สูงถึง 30 ล้านบาท ตามที่ สนช. ได้ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายไปก่อนหน้านี้ อันจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุน แต่หากมีการปลดล็อกกฎหมาย โดยพรรคภูมิใจไทยจะมีการยกร่างร่างกฎหมายขึ้นใหม่ จึงขอให้ประชาชนให้การสนับสนุนพรรคฯ และนายอนุทิน​ ชาญวีรกูล​ หัวหน้าพรรค เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อผลักดันนโยบายดังกล่าว[3]

แม้ว่าพรรคการเมืองใหญ่อื่นๆ อาทิ พรรคประชาธิปัตย์ อนาคตใหม่ และเพื่อไทย จะหยิบยกประเด็นกัญชา (และกัญชง) ขึ้นมาเพื่อดึงคะแนนเสียงเช่นกัน แต่ก็นับได้ว่าพรรคภูมิใจไทย มีแนวความคิดเรื่องกัญชาที่สุดโต่ง กว้างขวาง และมีรายละเอียดมากที่สุด จนถูกขนานนามว่าเป็น “อภิมหาประชานิยม”[4] ต่อมาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 นายอนุทิน​ ชาญวีรกูล ได้โพสต์ข้อความผ่าน Facebook ความว่า

 

ประเทศไทย เป็นแหล่งผลิตกัญชาที่มีคุณภาพดีที่สุดแหล่งหนึ่งของโลก กัญชาไทยให้สารที่นำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ดีที่สุด แต่รัฐบาลไทยกลับปิดกั้นโอกาสของคนไทย ถ้าประชาชนให้โอกาส พรรคภูมิใจไทย จะเข้าไปลดอำนาจรัฐ และทลายทุกข้อจำกัดที่ปิดกั้นประชาชน เกษตรกร เข้าถึงความร่ำรวย ให้ได้เร็วที่สุด กัญชาไทย ต้องปลูกได้เสรีนี่ไม่ใช่นโยบายเพ้อฝัน ขายฝันแต่เป็นนโยบายที่จะทำให้คนไทยร่ำรวยขึ้นได้จริง แค่เปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตก็เปลี่ยนไป ใครไม่ทำภูมิใจไทย ทำ และทำทันที[5]

 

 “กัญชาเสรี” สร้างความสนใจจากประชาชน องค์กรภาคประชาชน สื่อมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก สำหรับจุดเด่นที่สำคัญของนโยบายกัญชาของพรรคภูมิใจไทย ก็คือ การเน้นย้ำว่ากัญชาเป็นพืชที่มีประโยชน์ทางการแพทย์และสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศมหาศาล ทั้งยังสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนหลายแสนบาทต่อปี แต่ด้วยเงื่อนไขทางกฎหมาย ทำให้รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยไม่กล้าส่งเสริมการปลูกกัญชาและใช้ประโยชน์จากพืชดังกล่าวนี้อย่างจริงจัง พรรคภูมิใจไทยจึงอาสาเข้ามาปลดล็อกกัญชาเพื่อประโยชน์ประชาชน อย่างไรก็ตาม เมื่อปลัดกระทรวงการคลังได้ออกมาตั้งข้อสังเกตถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินนโยบายกัญชา เนื่องจากต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และนายวิชา มหาคุณ คณบดีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ออกมาท้วงติงถึงนโยบายกัญชาแบบ “สุดซอยสุดโต่ง” ของพรรคภูมิใจไทยนั้น พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ โฆษกพรรคภูมิใจไทย ได้ออกมา ชี้แจงว่าพรรคภูมิใจไทย ไม่มีนโยบายเมกะโปรเจกต์ที่จะผลาญเงินงบประมาณของประเทศ แต่เน้น “ทำลายข้อจำกัดทางกฎหมาย ซึ่งนำไปสู่การลดอำนาจรัฐ” เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด ขณะเดียวกัน “การเสนอของพรรคฯ ไม่ใช้เป็นนโยบายกัญชาแบบสุดซอยอย่างที่มีการวิจารณ์ แต่เป็นนโยบายที่เรา ตั้งใจทำอย่างมีขั้นตอน...มีการศึกษาเตรียมพร้อม ทั้งเรื่องกฎหมาย เรื่องความพร้อมของคน สังคม โดยได้สอบถามความเห็นอย่างรอบคอบแล้ว จึงออกมาเป็นนโยบายเพื่อผลประโยชน์ทางการแพทย์ การศึกษา”[6]

 

"กัญชาเสรี" ภายใต้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อนุทิน'​'ชาญวีรกูล

ภายหลังการเลือกตั้ง วันที่ 24 มีนาคม 2562 สิ้นสุดลง คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศจำนวนส.ส. อย่างไม่เป็นทางการ แม้ไม่อาจกล่าวได้ชัดเจนว่า “กัญชาเสรี” เป็นนโยบายที่ส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดกลางอย่างพรรคภูมิใจไทย ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งครั้งนี้จนได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาเป็นอันดับ 5 ซึ่งได้ไป 51 ที่นั่ง (รองจากพรรคเพื่อไทย ที่ได้ 137 ที่นั่ง, พรรคพลังประชารัฐ 116 ที่นั่ง, พรรคอนาคตใหม่ 80 ที่นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ 52 ที่นั่ง)[7] และกลายเป็นพรรคตัวแปรที่มีอำนาจต่อรองในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า “กัญชาเสรี” และตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นหนึ่งในเงื่อนไขต่อรองการเข้าร่วมรัฐบาล ดังที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า “หากพรรคต่างๆ ปฏิเสธนโยบายนี้ พรรคจะไม่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลเด็ดขาด และจะไม่ยออมสละเงื่อนไขนี้ทิ้งไปเพื่อเป็นฝ่ายรัฐบาล เพราะนโยบายพรรคถือเป็นจุดแข็งที่ทำให้ประชาชนเทคะแนนเสียงมาให้”[8] ต่อมาเมื่อพรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยเสนอชื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562 โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข งานสัมมนาใหญ่เรื่อง "กัญชาเสรีเพื่อการแพทย์"
ที่จัดขึ้นโดยพรรคภูมิใจไทยเพียง 2 วันหลังการเข้ารับตำแหน่งของอนุทิน ชาญวีรกูล พร้อมกับที่ได้ยืนยันว่าต้องผลักดันนโยบายกัญชาให้ประสบความสำเร็จเพราะได้ "สัญญากับพี่น้องประชาชนไว้" ที่จะทำประโยชน์ให้กับการรักษาผู้ป่วยทางการแพทย์ รวมถึงประชาชนโดยทั่วไป[9]

นโยบายกัญชาเพื่อการแพทย์และส่งเสริมการปลูกพืชกัญา ได้ถูกบรรจุไว้เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และกระทรวงสาธารณสุข ในยุคของนายอนุทิน ชาญวีรกูล ความชัดเจนด้านนโยบายเริ่มปรากฏออกมาอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ว่านโยบายกัญชาของรัฐบาลจำกัดอยู่เพียงเพื่อการแพทย์และการรักษาโรคเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงการใช้เพื่อความบันเทิงและสันทนาการแต่อย่างใด[10] การผลักดันนโยบายกัญชาดำเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยพรรคภูมิใจไทย จนกระทั่ง วันที่ 13 กันยายน 2562 ได้มีการเสนอร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ก็คือ ร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ …) พ.ศ…. และร่างพระราชบัญญัติสถาบันพืชยาเสพติดแห่งประเทศไทย พ.ศ.... หรือที่รู้จักกันในชื่อ "กฎหมายปลูกกัญชาบ้านละ 6 ต้น" เพื่อปลดล็อกกัญชาให้สามารถใช้ทางการแพทย์ได้อย่างแพร่หลาย และประชาชนสามารถปลูกได้ตามนโยบายที่พรรคฯ หาเสียงไว้ในช่วงเลือกตั้ง ซึ่งมีสาระสำคัญ[11] คือ

 

  1. การเสนอตั้ง “สถาบันพืชยาเสพติดแห่งประเทศไทย” เป็นหน่วยงานของรัฐ ทำหน้าที่ศึกษาวิจัย วิเคราะห์ และพัฒนาพืชยาเสพติดอย่างเป็นระบบ, ออกใบอนุญาตให้ประชาชนหรือนิติบุคคลในการปลูก ผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก ภายใต้ การควบคุมและกำกับดูแล, รับซื้อพืชยาเสพติดและผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
  2. แยก “พืชยาเสพติด” ที่สามารถใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ออกจาก “สารเสพติด” ให้โทษ เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติด ค.ศ. 1961 และ ค.ศ. 1972 ขององค์การสหประชาชาติที่ไทยเป็นรัฐภาคีอยู่ ซึ่งระบุว่ารัฐภาคีที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกได้ ต้องสามารถระบุจำนวนพื้นที่ จำนวนต้น จำนวนที่ใช้เพื่อสกัดและหลังสกัด มีการประมาณการจำนวนผู้ป่วยที่ใช้พืชยาเสพติด
  3. เพื่อประโยชน์สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ ให้พลเมืองไทยสามารถปลูกได้ไม่เกินครอบครัวละ 6 ต้น เพื่อการบริโภคส่วนบุคคล เพื่อการรักษาทางการแพทย์ ผลิต จำหน่าย ทั้งนี้ ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและการบริหารของสถาบันพืชยาเสพติดแห่งประเทศไทย

 

อนึ่ง ภายหลังผลักดันร่างกฎหมายกัญชาทั้ง 2 ฉบับ เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภา นายอนุทิน ชาญวีรกูล กล่าวว่า ตนเองและพรรคภูมิใจไทยได้ผลักดันนโยบายกัญชาเพื่อการแพทย์อย่างสมบูรณ์แล้ว "ปัจจุบันถือว่าการปลูกกัญชาเสรีทางการแพทย์มาถึงครึ่งทาง" เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐสภาในการพิจารณากฎหมาย ส่วนการยอมรับในทางการแพทย์นั้น การใช้สารสกัดกัญชาเป็นที่นิยมในหมู่แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกมากกว่าแพทย์แผนปัจจุบัน จึงอยากเห็นการยอมรับที่มากขึ้น รวมถึงอยากให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันจนนโยบายนี้ประสบความสำเร็จอันจะเกิดประโยชน์กับประเทศชาติ[12]

 

กระแสสังคมและข้อวิพากษ์วิจารณ์

          นโยบายกัญชาเสรีที่นำเสนอโดยพรรคภูมิใจไทยในช่วงการเลือกตั้งปี 2562 ก่อให้เกิดกระแสสนับสนุนและความตื่นตัวในการศึกษากัญชาจากประชาชนจำนวนมาก ดังที่ นางสาวรสนา โตสิตระกูล เลขาธิการ มูลนิธิสุขภาพไทย ให้ความเห็นว่า นโยบายกัญชาเพื่อการแพทย์ว่าจะตอบโจทย์ที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงยารักษาโรคและพึ่งพาตนเองได้ เช่นเดียวกับน้ำมันกัญชาของแพทย์พื้นบ้าน ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการพึ่งพาตนเองในชุมชนท้องถิ่น จึงสนับสนุนนโยบายนี้ตราบเท่าที่มีการควบคุมไม่ให้กลุ่มทุนต่างชาติเข้ามาตักตวงหาผลประโยชน์จากการผลิตกัญชาทางการแพทย์รักษาประชาชน[13] สอดคล้องกับเครือข่าย 12 องค์กร ที่ประกอบด้วย มูลนิธิข้าวขวัญ, มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ, มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI), มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย), มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิสุขภาพไทย, มหาวิทยาลัยรังสิต, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ, ขบวนการสร้างเสริมสุขภาพประชาชน (ขสช.), เครือข่ายผู้ป่วย (Healthy Forum) และคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ที่ได้ออกมาประกาศให้การสนับสนุนกัญชาเสรีเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะการใช้น้ำมันกัญชาของแพทย์พื้นบ้าน ให้สามารถปลูกและผลิตยากัญชาเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยตามหลักที่ได้ถูกฝึกอบรมความรู้กัญชาจากกรมแพทย์แผนไทย[14]

อย่างไรก็ตาม “กัญชาเสรี” ได้ก่อให้เกิดความกังวลถึงความพร้อมและความเหมาะสมที่จะดำเนินการปลดล็อคในสังคมไทย เพราะประชาชนจำนวนมากยังเข้าใจผิดว่าสามารถใช้กัญชาเพื่อสันทนาการได้อย่างเสรี นอกจากจะก่อปัญหาเชิงศีลธรรมและเป็นการมอมเมาประชาชนแล้ว ยังเป็นการยากแก่การควบคุมพฤติกรรมการปลูก การค้าขาย และการใช้อีกด้วย อันจะนำมาซึ่งปัญหาทางสังคมอื่นๆ อีกมากมาย นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กังวลว่า สังคมไทยรับได้เพียง “กัญชาเพื่อการแพทย์” เท่านั้น แต่หากจะครอบคลุมไปถึงกัญชาเพื่อสันทนาการ หรือ กัญชาเสรีแบบไม่มีเงื่อนไขนั้นย่อมต้องคำนึงถึง “วุฒิภาวะของสังคมไทย” ด้วย[15] ด้านนักวิจัยทางการเกษตร ตัวแทนเกษตรกร และบุคลากรทางการแพทย์จำนวนหนึ่ง เห็นว่า กัญชาและสารสกัดกัญชามีประโยชน์ในการรักษาโรคแก่ผู้ป่วยที่มีความรู้และอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลจากหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น ทว่าหากใช้อย่างไม่ถูกต้องก็จะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสังคม กล่าวคือ ในวัยเด็กอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมอง ระดับสติปัญญา สภาวะทางจิต และการควบคุมร่างกาย ส่วนการผลักดันให้กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ก็เกิดขึ้นได้ยาก เพราะหลายประเทศยังมีการห้ามนำเข้า-ส่งออก ตลอดจนการทุกๆ ครั้งต้องขออนุญาตจากสหประชาชาติด้วย[16] ทั้งนี้ นโยบายกัญชายังคงเป็นที่ถกเถียงในสังคมไทย แม้ว่าจะมีคุณูปการทางการแพทย์หลายประการ แต่การกำกับควบคุมผลกระทบทางสังคมก็เป็นสิ่งที่ยังไม่มีหน่วยงานใดพิจารณาถึงประเด็นนี้อย่างจริงจัง รวมถึงยังปรากฏการนำเสนอมาตรการป้องกันอย่างเหมาะสม

 

นัยสำคัญต่อการเมืองไทย

นโยบายกัญชาเสรี ของพรรคภูมิใจไทยเป็นผลผลิตของการต่อสู้แข่งขันเชิงนโยบายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในปี 2560 ซึ่งพรรคภูมิใจไทยต้องการสร้างความโดดเด่นในเชิงนโยบายให้แตกต่างจากพรรคการเมืองอื่นๆ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะได้เล็งเห็นแล้วว่าหากนำเสนอนโยบายประชานิยมแบบเมกะโปรเจกต์ อย่างที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่นำเสนอนั้น อาจเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ ดังนั้น การที่พรรคภูมิใจไทยเป็นพรรคขนาดกลางที่จะเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลผสม จึงจำเป็นต้องนำเสนอนโยบายที่จะสร้างความดึงดูดความสนใจของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยสังเกตได้จากคำเรียก “กัญชาเสรี” ซึ่งเป็นคำใหญ่คำโต และคำมั่นสัญญาที่แกนนำพรรคได้ให้ไว้ในช่วงเลือกตั้งว่าจะทำให้กัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับประชาชนและประเทศชาติมหาศาล ทว่า เมื่อพรรคภูมิใจไทย ได้เข้าร่วมรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แล้ว กลับเบี่ยงเบนนโยบายให้กลายมาเป็นการส่งเสริมกัญชาเพื่อการแพทย์ ที่มีเงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆ มากมาย นอกจากนั้นแล้ว การนำเสนอนโยบายกัญชาเสรี ยังบอกเป็นนัยตั้งแต่ช่วงเลือกตั้งว่า หากพรรคภูมิใจไทยได้เข้าไปมีส่วนในการร่วมจัดตั้งรัฐบาลผสมแล้ว พรรคก็จะจับจองโควต้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อผลักดันนโยบายกัญชาเสรีให้เกิดผลตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ในช่วงเลือกตั้งกับประชาชน ด้วยเหตุนี้ นโยบายกัญชาเสรี จึงไม่ได้เป็นเพียงนโยบายสาธารณะที่นำเสนอในช่วงเลือกตั้งเท่านั้น หากยังเป็นยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่ถูกจัดวางไว้เพื่อต่อรองตำแหน่งในรัฐบาลอีกด้วย ถึงแม่ว่า นโยบายกัญชาเสรีจะไม่ได้ประสบความสำเร็จเต็มที่อย่างที่พรรคภูมิใจไทยได้หาเสียงไว้ก็ตาม แต่นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็สามารถใช้นโยบายนี้เป็นผลงานของตนเองและพรรคภูมิใจไทย ตลอดการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีไปจนถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไปได้อีกด้วย

 

บรรณานุกรม

“กฎหมายเกี่ยวกับกัญชา." สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. เข้าถึงจาก <https://media.oncb.go.th/index.php/th/23-2018-02-20-07-04-07/2018-02-20-07-05-01/64-content5-21-5-61-1>. เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563.

“กัญชา: เปิดนโยบายกัญชาของภูมิใจไทยอีกครั้ง หลังโปรดเกล้าฯ “อนุทิน ชาญวีรกูล” เป็น รมว. สาธารณสุข." บีบีซี (13 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/thailand-48973471>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

“คนป่วยเฮ ! "อนุทิน" เผย "กัญชาเสรีเพื่อการแพทย์" บรรจุเป็นนโยบายรัฐบาลแล้ว." ฐานเศรษฐกิจ (12 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thansettakij.com/content/404973>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

“เทียบนโยบาย ‘กัญชา’ ในศึกเลือกตั้ง 2562." The Standard (1 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/thailandelection2562-marijuana-policy/>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563. และ "ถึงเวลาสู่กัญชาเสรี?." ไทยรัฐออนไลน์ (16 พฤษภาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1568010>. เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563.

“นักวิชาการ” เปิดเวทีแสดงจุดยืน ไม่สนับสนุนกัญชาเสรี." PPTV (2 พฤษภาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/102403>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

“ผลการเลือกตั้งทั่วประเทศ.” PPTV (8 พฤษภาคม 2562). เข้าถึงได้จาก <https://election.pptvhd36.com>. เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2563.

“‘ภูมิใจไทย' แจงโมเดล 'ปลูกกัญชาเสรี' เพื่อประโยชน์ประชาชน." Voice Online. (26 กุมภาพันธ์ 2562). เข้าถึงจาก <https://www.voicetv.co.th/read/Kq2iktyZ4>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

“ภูมิใจไทยประกาศนโยบาย "ปลูกกัญชาเสรี" ใช้โมเดลแคลิฟอร์เนีย." โพสต์ทูเดย์ (17 มกราคม 2562).  เข้าถึงจาก <https://www.posttoday.com/politic/news/577332>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

“‘รสนา’ หนุนกัญชาเสรี ‘อนุทิน’ ชี้ ทำประชาชนพึ่งตัวเองได้." มติชนออนไลน์ (13 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1579805>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

“เลือกตั้ง2562 : "อนุทิน" ย้ำเงื่อนไขพรรคร่วมรัฐบาลต้องรับนโยบายกัญชา." Thai PBS (25 มีนาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://news.thaipbs.or.th/content/278728>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

“สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติด ให้ใช้ กัญชา กระท่อม เพื่อทางการแพทย์." Workpoint News. (25 ธันวาคม 2561). เข้าถึงจาก <https://workpointnews.com/2018/12/25/สนช-ผ่านร่าง-พ-ร-บ-ยาเสพติ/>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

“ส่องร่าง กม.ปลูกกัญชา6ต้น ฉบับ‘ภท.’ชงสภาเปิดทาง." มติชนออนไลน์ (14 กันยายน 2562). เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_1669243>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

“สัมมนา'มองกัญชาให้รอบด้าน'ไม่สนับสนุนกัญชาเสรี หวั่นผลกระทบต่อสังคมหากคุมไม่ได้ ชี้กัญชาช่วง5ปีเพื่อการแพทย์." ไทยทริบูน (26 เมษายน 2562).

เข้าถึงจาก <http://www.thaitribune.org/contents/detail/303?content_id=35284>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

“‘อนุทิน' ลั่นกัญชาเสรีทางการแพทย์ต้องเสร็จในรัฐบาลนี้." กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (18 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/841053>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

““อนุทิน” ประกาศคนไทยปลูกกัญชาเสรีได้ทันที ถ้าให้ ภท.เป็นรัฐบาล." ไทยโพสต์ (3 กุมภาพันธ์ 2562). เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/28189>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

““อนุทิน” ลั่นหน้าที่ตนจบแล้ว หลังผลักดันกม.กัญชาเสรีปลูกบ้านละ 6 ต้นมาครึ่งทาง." สำนักข่าว 'Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ' (25 กันยายน 2562).

เข้าถึงจาก <https://www.hfocus.org/content/2019/09/17799>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

 

อ้างอิง

[1] "กฎหมายเกี่ยวกับกัญชา," สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม, เข้าถึงจาก <https://media.oncb.go.th/index.php/th/23-2018-02-20-07-04-07/2018-02-20-07-05-01/64-content5-21-5-61-1>. เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563.

[2] "สนช.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติด ให้ใช้ กัญชา กระท่อม เพื่อทางการแพทย์," Workpoint News, (25 ธันวาคม 2561), เข้าถึงจาก <https://workpointnews.com/2018/12/25/สนช-ผ่านร่าง-พ-ร-บ-ยาเสพติ/>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

[3] "ภูมิใจไทยประกาศนโยบาย "ปลูกกัญชาเสรี" ใช้โมเดลแคลิฟอร์เนีย," โพสต์ทูเดย์ (17 มกราคม 2562),  เข้าถึงจาก <https://www.posttoday.com/politic/news/577332>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

[4] "เทียบนโยบาย ‘กัญชา’ ในศึกเลือกตั้ง 2562," The Standard (1 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://thestandard.co/thailandelection2562-marijuana-policy/>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563. และ "ถึงเวลาสู่กัญชาเสรี?," ไทยรัฐออนไลน์ (16 พฤษภาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.thairath.co.th/news/politic/1568010>. เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563.

[5] "“อนุทิน” ประกาศคนไทยปลูกกัญชาเสรีได้ทันที ถ้าให้ ภท.เป็นรัฐบาล," ไทยโพสต์ (3 กุมภาพันธ์ 2562), เข้าถึงจาก <https://www.thaipost.net/main/detail/28189>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

[6] "'ภูมิใจไทย' แจงโมเดล 'ปลูกกัญชาเสรี' เพื่อประโยชน์ประชาชน," Voice Online, (26 กุมภาพันธ์ 2562), เข้าถึงจาก <https://www.voicetv.co.th/read/Kq2iktyZ4>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

[7] “ผลการเลือกตั้งทั่วประเทศ,” PPTV (8 พฤษภาคม 2562), เข้าถึงได้จาก <https://election.pptvhd36.com>. เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2563.

[8] "เลือกตั้ง2562 : "อนุทิน" ย้ำเงื่อนไขพรรคร่วมรัฐบาลต้องรับนโยบายกัญชา," Thai PBS (25 มีนาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://news.thaipbs.or.th/content/278728>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

[9] "กัญชา: เปิดนโยบายกัญชาของภูมิใจไทยอีกครั้ง หลังโปรดเกล้าฯ “อนุทิน ชาญวีรกูล” เป็น รมว. สาธารณสุข," บีบีซี (13 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.bbc.com/thai/thailand-48973471>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

[10] "'อนุทิน' ลั่นกัญชาเสรีทางการแพทย์ต้องเสร็จในรัฐบาลนี้," กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (18 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/841053>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

[11] "ส่องร่าง กม.ปลูกกัญชา6ต้น ฉบับ‘ภท.’ชงสภาเปิดทาง," มติชนออนไลน์ (14 กันยายน 2562), เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_1669243>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

[12] "“อนุทิน” ลั่นหน้าที่ตนจบแล้ว หลังผลักดันกม.กัญชาเสรีปลูกบ้านละ 6 ต้นมาครึ่งทาง," สำนักข่าว 'Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ' (25 กันยายน 2562), เข้าถึงจาก <https://www.hfocus.org/content/2019/09/17799>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

[13] "‘รสนา’ หนุนกัญชาเสรี ‘อนุทิน’ ชี้ ทำประชาชนพึ่งตัวเองได้," มติชนออนไลน์ (13 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_1579805>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

[14] "คนป่วยเฮ ! "อนุทิน" เผย "กัญชาเสรีเพื่อการแพทย์" บรรจุเป็นนโยบายรัฐบาลแล้ว," ฐานเศรษฐกิจ (12 กรกฎาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.thansettakij.com/content/404973>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

[15] "สัมมนา'มองกัญชาให้รอบด้าน'ไม่สนับสนุนกัญชาเสรี หวั่นผลกระทบต่อสังคมหากคุมไม่ได้ ชี้กัญชาช่วง5ปีเพื่อการแพทย์," ไทยทริบูน (26 เมษายน 2562), เข้าถึงจาก <http://www.thaitribune.org/contents/detail/303?content_id=35284>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.

[16] "“นักวิชาการ” เปิดเวทีแสดงจุดยืน ไม่สนับสนุนกัญชาเสรี," PPTV (2 พฤษภาคม 2562), เข้าถึงจาก <https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/102403>. เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563.