ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แนบ พหลโยธิน"
สร้างหน้าด้วย " ผู้เรียบเรียง : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร ผู้ท..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
ผู้เรียบเรียง : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร | ผู้เรียบเรียง : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร | ||
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
---- | ---- | ||
<p style="text-align: center;">'''แนบ พหลโยธิน : ผู้ก่อการฯหลานพระยาพหลฯ'''</p> | <p style="text-align: center;">'''แนบ พหลโยธิน : ผู้ก่อการฯหลานพระยาพหลฯ'''</p> | ||
ในบรรดาบุคคลที่เข้าร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองฯนั้น มีพลเรือนรุ่นหนุ่มคนหนึ่งชื่อแนบ พหลโยธิน ที่มีคนนึกกันว่าท่านเป็นน้องชายพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการฯ แต่แท้จริงแล้วท่านเป็นหลานชาย เพราะเป็นบุตรชายของพี่ชายพระยาพหลฯ มีบางคนบอกเล่าว่านาย แนบ เป็นคนชวนอาเข้าร่วมก่อการฯ แต่มีการยืนยันกันว่าทั้งสองท่านนี้มิได้ชวนกันมาแต่อย่างใด ตัวคุณแนบ พหลโยธิน นั้นถือว่าเป็นต้นตอของขบวนการก็ว่าได้ เพราะเป็นนักเรียนนอก 7 คนที่ได้ประชุมหารือกันอย่างจริงจังกันเป็นกลุ่มแรกที่นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี 2469 ในกลุ่มนี้อีก 6 คน มีแปลก ขีตะสังคะ, ทัศนัย มิตรภักดี, ประยูร ภมรมนตรี, จรูญ สิงหเสนี, ตั้ว ลพานุกรม และ ปรีดี พนมยงค์ ความสำคัญของคุณแนบในกลุ่มนี้อย่างหนึ่งก็คือเป็นผู้ที่มีฐานะดีมากเพราะมีมรดกทางบิดามารดา จึงให้ลดบทบาทที่ออกหน้าให้เป็นกองหลังไว้ดูแลครอบครัวของมิตรที่ร่วมคิด หากมีความผิดพลาดต้องถูกจับหรือเสียชีวิต แนบจะได้คอยช่วยเหลือเกื้อกูล และแนบนี่เองที่เป็นคนชวนเพื่อนชื่อ ทวี บุณยเกตุ เข้ามาร่วมก่อการฯตั้งแต่ตอนที่อยู่เมืองนอก | ในบรรดาบุคคลที่เข้าร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองฯนั้น มีพลเรือนรุ่นหนุ่มคนหนึ่งชื่อแนบ พหลโยธิน ที่มีคนนึกกันว่าท่านเป็นน้องชายพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการฯ แต่แท้จริงแล้วท่านเป็นหลานชาย เพราะเป็นบุตรชายของพี่ชายพระยาพหลฯ มีบางคนบอกเล่าว่านาย แนบ เป็นคนชวนอาเข้าร่วมก่อการฯ แต่มีการยืนยันกันว่าทั้งสองท่านนี้มิได้ชวนกันมาแต่อย่างใด ตัวคุณแนบ พหลโยธิน นั้นถือว่าเป็นต้นตอของขบวนการก็ว่าได้ เพราะเป็นนักเรียนนอก 7 คนที่ได้ประชุมหารือกันอย่างจริงจังกันเป็นกลุ่มแรกที่นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี 2469 ในกลุ่มนี้อีก 6 คน มีแปลก ขีตะสังคะ, ทัศนัย มิตรภักดี, ประยูร ภมรมนตรี, จรูญ สิงหเสนี, ตั้ว ลพานุกรม และ ปรีดี พนมยงค์ ความสำคัญของคุณแนบในกลุ่มนี้อย่างหนึ่งก็คือเป็นผู้ที่มีฐานะดีมากเพราะมีมรดกทางบิดามารดา จึงให้ลดบทบาทที่ออกหน้าให้เป็นกองหลังไว้ดูแลครอบครัวของมิตรที่ร่วมคิด หากมีความผิดพลาดต้องถูกจับหรือเสียชีวิต แนบจะได้คอยช่วยเหลือเกื้อกูล และแนบนี่เองที่เป็นคนชวนเพื่อนชื่อ ทวี บุณยเกตุ เข้ามาร่วมก่อการฯตั้งแต่ตอนที่อยู่เมืองนอก | ||
บรรทัดที่ 22: | บรรทัดที่ 22: | ||
| | ||
[[Category:บุคคลสำคัญทางการเมือง]] | [[Category:บุคคลสำคัญทางการเมือง|น]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 21:16, 6 พฤษภาคม 2563
ผู้เรียบเรียง : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
แนบ พหลโยธิน : ผู้ก่อการฯหลานพระยาพหลฯ
ในบรรดาบุคคลที่เข้าร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองฯนั้น มีพลเรือนรุ่นหนุ่มคนหนึ่งชื่อแนบ พหลโยธิน ที่มีคนนึกกันว่าท่านเป็นน้องชายพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการฯ แต่แท้จริงแล้วท่านเป็นหลานชาย เพราะเป็นบุตรชายของพี่ชายพระยาพหลฯ มีบางคนบอกเล่าว่านาย แนบ เป็นคนชวนอาเข้าร่วมก่อการฯ แต่มีการยืนยันกันว่าทั้งสองท่านนี้มิได้ชวนกันมาแต่อย่างใด ตัวคุณแนบ พหลโยธิน นั้นถือว่าเป็นต้นตอของขบวนการก็ว่าได้ เพราะเป็นนักเรียนนอก 7 คนที่ได้ประชุมหารือกันอย่างจริงจังกันเป็นกลุ่มแรกที่นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี 2469 ในกลุ่มนี้อีก 6 คน มีแปลก ขีตะสังคะ, ทัศนัย มิตรภักดี, ประยูร ภมรมนตรี, จรูญ สิงหเสนี, ตั้ว ลพานุกรม และ ปรีดี พนมยงค์ ความสำคัญของคุณแนบในกลุ่มนี้อย่างหนึ่งก็คือเป็นผู้ที่มีฐานะดีมากเพราะมีมรดกทางบิดามารดา จึงให้ลดบทบาทที่ออกหน้าให้เป็นกองหลังไว้ดูแลครอบครัวของมิตรที่ร่วมคิด หากมีความผิดพลาดต้องถูกจับหรือเสียชีวิต แนบจะได้คอยช่วยเหลือเกื้อกูล และแนบนี่เองที่เป็นคนชวนเพื่อนชื่อ ทวี บุณยเกตุ เข้ามาร่วมก่อการฯตั้งแต่ตอนที่อยู่เมืองนอก
แนบ พหลโยธิน เป็นคนกรุงเทพฯ เกิดที่บ้านถนนราชบพิธ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ปี 2443 เป็นบุตรของนายพลโท พระยาพหลโยธินรามินทรภักดี (นพ พหลโยธิน) และคุณหญิง ล้วน (จารุรัตน์) ทางด้านการศึกษาก็ได้เรียนในโรงเรียนมัธยมที่ดีมากในเวลานั้นคือโรงเรียนราชวิทยาลัย จบแล้วจึงได้เดินทางไปเรียนกฎหมายที่ประเทศอังกฤษ ได้เข้าเรียนที่สำนัก เกรย์ อิน จนจบได้เป็นเนติอังกฤษ เมื่อปี 2468 ตอนนั้นมีอายุได้ 25 ปี แล้วจึงได้ข้ามฝั่งจากเกาะอังกฤษไปเรียนที่ฝรั่งเศสทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่มหาวิทยาลัยปารีส จึงได้พบเพื่อนนักเรียนไทยในฝรั่งเศสจนได้ร่วมหารือกันเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แนบได้อยู่เรียนที่ฝรั่งเศสจนจบการศึกษาแล้วจึงได้เดินทางกลับประเทศไทยนี้ 2474 ก่อนวันยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ไม่ถึงปี จึงไม่ใช่คนที่จะไปชวนพระยาพหลฯมาร่วมก่อการฯ แนบ พหลโยธิน กลับมาแล้วได้เข้ารับราชการที่กระทรวงยุติธรรมในวันที่ 14 กันยายน ปี 2474 ได้เริ่มฝึกหัดเป็นผู้พิพากษา และได้ติดต่อกับเพื่อนกลุ่มผู้ก่อการฯตลอดมา โดยอยู่ในสายพลเรือนที่มีนาย ปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าสาย และตัวท่านเองก็เป็นคนประสานนัดแนะกับเพื่อนฝ่ายพลเรือนในวันเวลาของการนัดหมายที่ต้องออกทำงานในวันที่ 24 มิถุนายน ปี 2475 สำหรับชีวิตครอบครัวท่านได้สมรสกับคุณหญิง สะไบ สกุลเดิม แพ่งสภา
เชื่อว่าแนบต้องเป็นผู้ก่อการฯที่มีความสำคัญและเป็นที่ยอมรับมากในกลุ่ม เพราะหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียง 4 วัน ในวันที่ 28 มิถุนายน ปี 2475 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกในจำนวน 70 คน และเป็นกรรมการราษฎรซึ่งเป็นคณะผู้บริหารประเทศที่ทั้งหมดมีจำนวนเพียง 15 คน จึงมีตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงทั้งในอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร แนบ พหลโยธิน พ้นจากตำแหน่งกรรมการราษฎร เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 แต่ท่านก็ยังได้ร่วมรัฐบาลเป็นรัฐมนตรีลอยสืบต่อมาของรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา จนถึงวันที่ 1 เมษายน ปี 2476 เมื่อนายกฯดำเนินการปิดสภาฯและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ครั้งนั้นรัฐบาลปรับเอารัฐมนตรีออก 5 คน มีนาย ปรีดี พนมยงค์ หลวงเดชสหกรณ์, นายตั้ว ลพานุกรม, พระยาประมวลวิชาพูล และนายแนบ พหลโยธิน การปิดสภาครั้งนั้นได้นำไปสู่การยึดอำนาจซ้ำของพระยาพหลฯ หลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ที่ล้มรัฐบาลพระยามโนฯ จากนั้นพระยาพหลฯจึงเข้ามาเป็นนายกฯ แต่นายแนบก็มิได้กลับเข้ามาเป็นรัฐมนตรี
ถึงจะไม่ได้เป็นรัฐมนตรี แต่คุณแนบก็ยังมีความสัมพันธ์อันดีกับคณะราษฎร ท่านย้ายไปฝึกงานที่กระทรวงการคลังก่อนที่จะย้ายไปอยู่ทำงานที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง อีกปีต่อมาในวันที่ 1 เมษายน ปี 2477 ก็ขึ้นเป็นผู้ช่วยปลัดกระทรวงการคลัง ครั้นถึงวันที่ 14 กรกฎาคม ปี 2479 ก็ได้เป็นอธิบดีกรมคลัง หรือที่เวลานี้เรียกว่า กรมธนารักษ์ ในปี 2481 มีการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 อีก ท่านก็ได้รับแต่งตั้ง และอยู่สืบมาจนถึงวันที่9 พฤษภาคม ปี 2489 ที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ในปี 2481 ที่หลวงพิบูลสงครามได้ขึ้นเป็นนายกฯ และในสมัยรัฐบาลหลวงพิบูลฯนี่เอง นายแนบได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในวันที่ 27 พฤศจิกายน ปี 2485 โดยมีพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนชัย เป็นผู้ว่าการฯ แต่แล้วในวันที่ 16 ตุลาคม ปี 2489 สมัยรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ท่านส่งจดหมายลาออกจากตำแหน่งรองผู้ว่าการฯ แสดงความเห็นขัดแย้งกับรัฐบาลโดยแจ้งชัด ดังมีความในจดหมายว่า
“ เนื่องจากกรณีการขายทองคำของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการธนาคารมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าควรจะขายด้วยวิธีประมูลราคา แต่คณะรัฐมนตรีไม่เห็นชอบด้วย และจะให้ขายโดยวิธีไม่ประมูลราคา และกำหนดราคาขายให้ต่ำกว่าราคาตลาด อันเป็นเหตุให้รัฐบาลเปลี่ยนตัวกรรมการนั้น ”
การขัดแย้งครั้งนั้นแสดงว่ารัฐบาลที่มีเพื่อนผู้ก่อการฯอย่างหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ดูจะอยู่คนละฝ่ายกับรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่ชื่อ แนบ พหลโยธิน อย่างแน่นอน เวลาผ่านมาอีกหนึ่งปี รัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ก็ถูกยึดอำนาจโดย
คณะรัฐประหาร ในวันที่ 8 พฤศจิกายน ปี 2490 เป็นการล้มรัฐบาลที่มีผลให้คณะราษฎรหมดอำนาจและพ้นเวทีการเมืองไปอย่างถาวร ส่วน แนบ พหลโยธิน ก็ไม่มีชื่อเข้ามาในวงการเมืองโดยตรง แต่ท่านก็ยังมีชื่อเป็นประธานธนาคารอยู่อีก 2 แห่งคือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารอาคารสงเคราะห์
แนบ พหลโยธิน ได้มีชีวิตอยู่ดูการเมืองต่อมาจนถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน ปี 2514 จึงได้ถึงแก่อนิจกรรม