ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
= '''ความหมายและที่มาของธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐ''' =
= '''ความหมายและที่มาของธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐ''' =
</div>  
</div>  
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; “ธรรมาภิบาล” มาจากคำว่า “ธรรมะ” หมายถึง ความถูกต้องดีงาม “อภิบาล” หมายถึง การปกครองหรือการปกปักรักษา” เมื่อรวมเป็นคำว่า “ธรรมาภิบาล” จึงหมายถึง การปกครองที่ยึดถือความถูกต้องดีงามเป็นหลักหรือการปกครองโดยธรรม ส่วนคำว่า “ธรรมรัฐ” หมายถึง รัฐหรือองค์กรที่มีรูปแบบและการดำเนินงานอย่างถูกต้องดีงาม[[#_ftn1|''''''[1]'''''']] คำว่าธรรมาภิบาลในความหมายของระเบียบบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีเป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาชน โดยครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการและฝ่ายธุรกิจเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้จักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลังก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งอันเป็นการปกป้องสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่ประเทศได้[[#_ftn2|[2]]] การได้ว่าการบริหารประเทศโดยใช้หลักธรรมาภิบาลจะเป็นค่านิยมพื้นฐานหรือระบบคุณค่าสำหรับการยึดถือและประพฤติปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมของสังคม กล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในอันที่จะส่งผลต่อความมั่นคงผาสุกของคนในชาติ หากสังคมใดผู้นำประเทศ หรือผู้ปกครองประเทศและประชาชนมีการปกครองโดยยึดหลักธรรมาภิบาลแล้ว สังคมนั้นจะเกิดความเข้มแข็ง จะเห็นได้ว่าแนวคิดในเรื่องของธรรมภิบาลมีการเผยแพร่และได้รับการยอมรับในการนำไปปฏิบัติใช้อย่างกว้างขวางทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน ไม่ว่าเรื่องของ 1) การมีส่วนร่วม 2) หลักนิติธรรม<br/> 3) ความโปร่งใส 4) มีการตอบสนอง 5) มุ่งเน้นฉันทามติ 6) มีความเสมอภาคและการไม่ละเลยบุคคลใดออกไปจากสังคม 7) มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และ 8) มีความรับผิดชอบ
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; “ธรรมาภิบาล” มาจากคำว่า “ธรรมะ” หมายถึง ความถูกต้องดีงาม “อภิบาล” หมายถึง การปกครองหรือการปกปักรักษา” เมื่อรวมเป็นคำว่า “ธรรมาภิบาล” จึงหมายถึง การปกครองที่ยึดถือความถูกต้องดีงามเป็นหลักหรือการปกครองโดยธรรม ส่วนคำว่า “ธรรมรัฐ” หมายถึง รัฐหรือองค์กรที่มีรูปแบบและการดำเนินงานอย่างถูกต้องดีงาม[[#_ftn1|''''''[1]'''''']] คำว่าธรรมาภิบาลในความหมายของระเบียบบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีเป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาชน โดยครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการและฝ่ายธุรกิจเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้จักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลังก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งอันเป็นการปกป้องสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่ประเทศได้[[#_ftn2|[2]]] การได้ว่าการบริหารประเทศโดยใช้หลักธรรมาภิบาลจะเป็นค่านิยมพื้นฐานหรือระบบคุณค่าสำหรับการยึดถือและประพฤติปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมของสังคม กล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในอันที่จะส่งผลต่อความมั่นคงผาสุกของคนในชาติ หากสังคมใดผู้นำประเทศ หรือผู้ปกครองประเทศและประชาชนมีการปกครองโดยยึดหลักธรรมาภิบาลแล้ว สังคมนั้นจะเกิดความเข้มแข็ง จะเห็นได้ว่าแนวคิดในเรื่องของธรรมภิบาลมีการเผยแพร่และได้รับการยอมรับในการนำไปปฏิบัติใช้อย่างกว้างขวางทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน ไม่ว่าเรื่องของ 1) การมีส่วนร่วม 2) หลักนิติธรรม 3) ความโปร่งใส 4) มีการตอบสนอง 5) มุ่งเน้นฉันทามติ 6) มีความเสมอภาคและการไม่ละเลยบุคคลใดออกไปจากสังคม 7) มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และ 8) มีความรับผิดชอบ


&nbsp;สำหรับในการบริหารงานภาครัฐและภาคเอกชนเมื่อมีการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารราชการแผ่นดินแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะหลายประการ อาทิ[[#_ftn3|[3]]]
&nbsp;สำหรับในการบริหารงานภาครัฐและภาคเอกชนเมื่อมีการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารราชการแผ่นดินแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะหลายประการ อาทิ[[#_ftn3|[3]]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:52, 24 มีนาคม 2563

ผู้เรียบเรียง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายภัทระ คำพิทักษ์


ความหมายและที่มาของธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐ

          “ธรรมาภิบาล” มาจากคำว่า “ธรรมะ” หมายถึง ความถูกต้องดีงาม “อภิบาล” หมายถึง การปกครองหรือการปกปักรักษา” เมื่อรวมเป็นคำว่า “ธรรมาภิบาล” จึงหมายถึง การปกครองที่ยึดถือความถูกต้องดีงามเป็นหลักหรือการปกครองโดยธรรม ส่วนคำว่า “ธรรมรัฐ” หมายถึง รัฐหรือองค์กรที่มีรูปแบบและการดำเนินงานอย่างถูกต้องดีงาม'[1]' คำว่าธรรมาภิบาลในความหมายของระเบียบบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีเป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาชน โดยครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการและฝ่ายธุรกิจเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้จักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลังก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งอันเป็นการปกป้องสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่ประเทศได้[2] การได้ว่าการบริหารประเทศโดยใช้หลักธรรมาภิบาลจะเป็นค่านิยมพื้นฐานหรือระบบคุณค่าสำหรับการยึดถือและประพฤติปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมของสังคม กล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในอันที่จะส่งผลต่อความมั่นคงผาสุกของคนในชาติ หากสังคมใดผู้นำประเทศ หรือผู้ปกครองประเทศและประชาชนมีการปกครองโดยยึดหลักธรรมาภิบาลแล้ว สังคมนั้นจะเกิดความเข้มแข็ง จะเห็นได้ว่าแนวคิดในเรื่องของธรรมภิบาลมีการเผยแพร่และได้รับการยอมรับในการนำไปปฏิบัติใช้อย่างกว้างขวางทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาชน ไม่ว่าเรื่องของ 1) การมีส่วนร่วม 2) หลักนิติธรรม 3) ความโปร่งใส 4) มีการตอบสนอง 5) มุ่งเน้นฉันทามติ 6) มีความเสมอภาคและการไม่ละเลยบุคคลใดออกไปจากสังคม 7) มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และ 8) มีความรับผิดชอบ

 สำหรับในการบริหารงานภาครัฐและภาคเอกชนเมื่อมีการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารราชการแผ่นดินแล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะหลายประการ อาทิ[3]

          1) ประโยชน์ต่อองค์กรภาครัฐ จะเห็นได้ว่าการหลักธรรมาภิบาลมาใช้กับองค์กรภาครัฐ โดยทำให้มีการบริหารจัดการได้อย่างคล่องตัวทันต่อสถานการณ์สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลงในรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ส่งผลให้เกิดกลไกและกฎเกณฑ์ในการบริการจัดการอย่างเป็นระบบ คุ้มค่า โปร่งใส มีมาตรฐานและมีความน่าเชื่อถือ

          2) ประโยชน์ต่อบุคลากรในองค์กรภาครัฐ โดยทำให้องค์กรนั้นมีการปฏิบัติงานที่ชัดเจนในเรื่องของระบบ ขั้นตอนของการทำงานส่งผลให้ความรวดเร็ว เกิดความคล่องตัวของการทำงานที่ไม่ซับซ้อน ลดปัญหาการแทรกแซงงานในทางที่มิชอบได้อันเป็นการป้องกันการทุจริตและเพิ่มคุณภาพชีวิตของการทำงานอย่างมีความสุขมากขึ้น

          3) ประโยชน์ต่อประชาชน โดยทำให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการจากภาครัฐได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เป็นธรรมและเสมอภาค ทั้งมีความโปร่งใส ทันสมัย เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนอย่างแท้จริง

          4) ประโยชน์ต่อประเทศชาติ การที่องค์การภาครัฐมีธรรมาภิบาลในการบริหารงานจัดการองค์กร ย่อมส่งผลให้การดำเนินงานเกิดความเป็นธรรม โปร่งใสและสามารถตรวจสอบการทำงานได้ ลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งยังเกิดความคุ้มค่าในการเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดินและส่งผลให้ประเทศชาติเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

ธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาครัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

          จากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้ออกมาบังคับใช้โดยมีเจตนารมณ์อันสำคัญ คือ การปฏิรูปการเมืองโดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ 1) ขยายสิทธิเสรีภาพและส่วนร่วมของพลเมืองในการเมือง 2) เพื่อการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชนเพื่อให้เกิดความสุจริตและโปร่งใสในระบอบการเมือง และ 3) ทำให้ระบบการเมืองมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้รัฐบาลต้องมีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ในเรื่องของธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี อันประกอบด้วยหลักการที่สำคัญ 10 ประการ คือ 1) หลักการตอบสนอง 2) หลักประสิทธิผล
3) หลักประสิทธิภาพ/คุ้มค่า 4) หลักความเสมอภาค 5) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ 6) หลักการตรวจสอบได้/มีภาระรับผิดชอบ 7) หลักการเปิดเผย/ความโปร่งใส 8) หลักการกระจายอำนาจ 9) หลักการมีส่วนร่วม และ 10) หลักนิติธรรม ทั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงาน/หน่วยงานราชการใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่และสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบราชการไทยภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2546-2550 และพ.ศ.2551-2554) เพื่อให้ระบบราชการไทยมีการพัฒนาและความก้าวหน้าให้มีการปรับเปลี่ยนอย่างเป็นรูปธรรม ยังประโยชน์ให้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเป็นการขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผลจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐ และหลักธรรมาภิบาลดังกล่าวได้มีการพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องโดยมีการบัญญัติหลักการนำธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานภาครัฐในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 ในหมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทยโดยบัญญัติไว้ในมาตรา 74 กำหนดให้ บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์รวมตลอดจนอำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 สิ้นสุดลง แต่หลักการธรรมาภิบาลยังคงดำเนินการต่อไปโดยรัฐบาลมีหน้าที่ในการบริหารประเทศและต้องให้ความสำคัญกับหลักธรรมภิบาล จนกระทั่งเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้มีการบังคับใช้ หลักธรรมาภิบาลก็ยังคงเป็นหลักการที่สำคัญต่อการบริหารจัดการประเทศ โดยหลัก
ธรรมาภิบาลได้ถูกกำหนดไว้ในหมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ อันเป็นการกำหนดให้รัฐพึงปฏิบัติเพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาประเทศ ซึ่งมาตรา 65 ได้บัญญัติไว้ว่า

“รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว

การจัดทำ การกำหนดเป้าหมาย ระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าหมายและสาระที่พึงมีในยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงด้วย

ยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้”

เมื่อมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเช่นนี้จึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐต้องจัดทำกรอบการดำเนินงานเพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างสอดคล้องและมีทิศทางแนวเดียวกัน ทั้งมีการทำงานที่เกิดการบูรณาการร่วมกันเพื่อให้บทบัญญัติตามกฎหมายนี้เกิดผลปฏิบัติได้อย่างแท้จริง ดังนั้น จะเห็นได้ว่าจากผลของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 จึงทำให้รัฐบาลต้องมีการนำหลักธรรมาภิบาลมาบรรจุไว้ในส่วนที่ 4 ของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศและยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการในภาครัฐการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและยังได้นำมาบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) เพื่อเป็นเป้าหมายอันสำคัญให้ประเทศเกิดการพัฒนาและเป็นการขับเคลื่อนนโยบายด้านต่าง ๆ ของรัฐภายใต้กฎหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและส่งผลให้ประเทศชาติเพื่อการพัฒนาไปอย่างยั่งยืน มั่งคั่งและมั่นคงอย่างแท้จริง

บทสรุป

          แม้การสร้างหลักธรรมาภิบาลในประเทศไทยจะมีลักษณะเป็นรูปธรรมและค่อนข้างจะเป็นที่สิ่งที่เข้าใจยากต่อการนำไปปฏิบัติใช้ แต่อย่างไรก็ดี การจะนำไปใช้ให้ได้อย่างมีสัมฤทธิ์ในระยะยาวจึงต้องอาศัยเวลาในการปรับเปลี่ยนและเรียนรู้ แต่ในท้ายที่สุดเมื่อประเทศไทยได้ยึดหลักธรรมาภิบาลและได้ปฏิบัติใช้อย่างจริงจังในการบริหารจัดการประเทศ ก็ย่อมทำให้สังคมไทยและประเทศชาติเกิดความสงบสุขได้อย่างแท้จริง

บรรณานุกรม

ตรีเพชร จินต์นุพงศ์. เรื่องน่ารู้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อธรรมาภิบาล.วารสารสำนักงาน

ผู้ตรวจการแผ่นดิน. (ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560).ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134 ตอนที่

40 ก.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่ง

ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.หลักธรรมาภิบาลในรัฐธรรมนูญ

แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

 

หนังสือ/เอกสารอ่านเพิ่มเติม

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ. บริษัทแอคทีฟพรินท์ จำกัด พิมพ์ครั้งที่ 1

กรกฎาคม 2561.

สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. รายงานวิจัยเรื่องประชาชนและธรรมาภิบาล: การสำรวจทัศคติของคนไทยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์.2549.

แสงชัย อภิชาตธนพัฒน์.หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร.หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 4

วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์กรภาครัฐ

'ตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ('Good Governance Rating) กันยายน 2552.

 

อ้างอิง

[1] อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.หลักธรรมาภิบาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. หน้า 3.

[2] ตรีเพชร จินต์นุพงศ์. เรื่องน่ารู้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อธรรมาภิบาล.วารสารสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. (ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561) หน้า 170.

[3] ตรีเพชร จินต์นุพงศ์. เรื่องเดียวกัน. หน้า 177-178.