ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเพทราชา"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
<u>'''พระเพทราชา'''</u> | <u>'''พระเพทราชา'''</u> | ||
ในประวัติศาสตร์ของไทยตั้งแต่สุโขทัย อยุธยา ธนบุรีจนถึงปัจจุบันกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงเวลาที่สำคัญและเป็นแหล่งอารยธรรมที่ถูกเชิดชูและหล่อหลอมให้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ปัจจุบันเรียกว่า “ความเป็นไทย” และช่วงเวลานั้นก็คือช่วงที่อยุธยาเป็นเมืองราชธานีของอาณาจักรที่มีอายุกว่า 400 ปี มรดกทางวัฒนธรรมของอยุธยาอาจถือเป็นจุดที่สำคัญจุดหนึ่งและยังหลงเหลือตกทอดมาสู่คนไทยในปัจจุบัน แต่กระนั้น แม้ในช่วงเวลาที่อาณาจักรอยุธยายังคงดำเนินไปในช่วง 400 ปีนั้นก็มีบรรดาราชวงศ์ต่างๆ เข้ามาสถาปนาตนเป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และราชวงศ์ที่เรามิอาจละเลยที่เอ่ยถึงได้ก็คือ “ราชวงศ์บ้านพลูหลวง” ภายใต้การสถาปนาราชวงศ์ขึ้นปกครองอยุธยาโดย “พระเพทราชา” ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่สำคัญช่วงหนึ่ง ทั้งในแง่ของช่วงเวลาที่เรารู้ว่าราชวงศ์นี้คือราชวงศ์สุดท้ายที่จะได้ปกครองกรุงศรีอยุธยา และเป็นช่วงแห่งการโต้กลับกระแสตะวันตกที่ก่อนหน้านั้น ในสมัยพระนารายณ์ได้เปิดศักราชของการเปิดรับอารยธรรมตะวันตกเข้ามาในอาณาจักรอย่างเต็มพิกัด การขึ้นมาของพระเพทราชาอาจเป็นเสมือนหนึ่งการโต้กลับของชนชั้นสูงที่ไม่พอใจต่อนโยบายดังกล่าว ดังนั้น อาจเป็นการดีที่เราควรมาทำความรู้จักพระเพทราชาผู้ซึ่งเป็นเพียงสามัญชนธรรมดาจากสุพรรณบุรีสู่การขึ้นมาและสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา | ในประวัติศาสตร์ของไทยตั้งแต่สุโขทัย อยุธยา ธนบุรีจนถึงปัจจุบันกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงเวลาที่สำคัญและเป็นแหล่งอารยธรรมที่ถูกเชิดชูและหล่อหลอมให้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ปัจจุบันเรียกว่า “ความเป็นไทย” และช่วงเวลานั้นก็คือช่วงที่อยุธยาเป็นเมืองราชธานีของอาณาจักรที่มีอายุกว่า 400 ปี มรดกทางวัฒนธรรมของอยุธยาอาจถือเป็นจุดที่สำคัญจุดหนึ่งและยังหลงเหลือตกทอดมาสู่คนไทยในปัจจุบัน แต่กระนั้น แม้ในช่วงเวลาที่อาณาจักรอยุธยายังคงดำเนินไปในช่วง 400 ปีนั้นก็มีบรรดาราชวงศ์ต่างๆ เข้ามาสถาปนาตนเป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และราชวงศ์ที่เรามิอาจละเลยที่เอ่ยถึงได้ก็คือ “ราชวงศ์บ้านพลูหลวง” ภายใต้การสถาปนาราชวงศ์ขึ้นปกครองอยุธยาโดย “พระเพทราชา” ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่สำคัญช่วงหนึ่ง ทั้งในแง่ของช่วงเวลาที่เรารู้ว่าราชวงศ์นี้คือราชวงศ์สุดท้ายที่จะได้ปกครองกรุงศรีอยุธยา และเป็นช่วงแห่งการโต้กลับกระแสตะวันตกที่ก่อนหน้านั้น ในสมัยพระนารายณ์ได้เปิดศักราชของการเปิดรับอารยธรรมตะวันตกเข้ามาในอาณาจักรอย่างเต็มพิกัด การขึ้นมาของพระเพทราชาอาจเป็นเสมือนหนึ่งการโต้กลับของชนชั้นสูงที่ไม่พอใจต่อนโยบายดังกล่าว ดังนั้น อาจเป็นการดีที่เราควรมาทำความรู้จักพระเพทราชาผู้ซึ่งเป็นเพียงสามัญชนธรรมดาจากสุพรรณบุรีสู่การขึ้นมาและสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ล้มล้างราชวงศ์ปราสาททองภายใต้การนำของ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช|สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ลงในที่สุด | ||
<u>'''1. ประวัติการศึกษา ชีวิตครอบครัว และตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ[[#_ftn1|'''[1]''']]'''</u> | <u>'''1. ประวัติการศึกษา ชีวิตครอบครัว และตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ[[#_ftn1|'''[1]''']]'''</u> | ||
พระเพทราชา | พระเพทราชา ทรงเป็นกษัตริย์องค์ของอยุธยาผู้ทรงสถาปนา[[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง|ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]]อันเป็นราชวงศ์ที่ 5 และเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอยุธยา (ครองราชย์ พ.ศ.2231-2246) พระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ.2175 ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.2231 ขณะเมื่อมีพระชนมายุ 56 พรรษา พระเพทราชาทรงมีพื้นเพเป็นควาญช้างจากบ้านพลูหลวงในสุพรรณบุรี (ปัจจุบัน คือ บ้านพลูหลวง ที่ตั้งอยู่ในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี) พระมารดาทรงเป็นพระนมเปรม แม่นมของพระนารายณ์ ดังนั้นพระองค์ได้รับการเลี้ยงดูควบคู่กันมากับพระนารายณ์ และมีพระขนิษฐาคือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) พระสนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาพระเพทราชาได้รับราชการในวังโดยได้เป็นจางวางกรมช้าง แต่ด้วยมีความดีความชอบในการทำสงครามจึงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยรับใช้อย่างใกล้ชิดและมีตำแหน่งสูงในราชสำนัก ในเวลาต่อมาเป็นถึงขุนนางฝ่ายปกครองในตำแหน่ง สมุหพระคชบาลจางวางขวาในกรมพระคชบาลขวาซึ่งมีอำนาจค่อนข้างมากในราชสำนักพระนารายณ์ ณ ตอนนั้น | ||
พระเพทราชามีโอรสองค์หนึ่งคือ หลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นโอรสลับของพระนารายณ์ที่เกิดจากเจ้าหญิงเมืองเชียงใหม่ หลวงสรศักดิ์มีส่วนผลักดันให้พระเพทราชาขึ้นมายึดอำนาจจากพระนารายณ์ จึงเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติต่อจากพระนารายณ์ว่าควรจะเป็นของใคร ระหว่างพระอนุชา 2 องค์คือ เจ้าฟ้าอภัยทศ และเจ้าฟ้าน้อย กับโอรสบุญธรรมคือพระปีย์ แต่กระนั้นบุคคลทั้ง 3 ก็ถูกพระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์ร่วมมือกันกำจัด และขับไล่ทหารฝรั่งเศสออกนอกราชอาณาจักร และยึดอำนาจของพระนารายณ์และสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์บ้านพลูหลวงปกครองอยุธยาต่อไป พระเทพราชามีโอรส 2 องค์ที่มีสิทธิในการสืบราชสมบัติ คือพระขวัญแก้ว จากพระมเหสีฝ่ายขวากรมหลวงโยธาทิพ (ภคินีของพระนารายณ์) และเจ้าฟ้าตรัสน้อยจากมเหสีฝ่ายซ้ายกรมหลวงโยธาเทพ (พระธิดาของพระนารายณ์) เมื่อทรงประชวร ปัญหาการสืบราชสมบัติก็เกิดขึ้น หลวงสรศักดิ์ลอบประหารพระขวัญแก้ว (ตรัสน้อยหนีไปบวชพระ) พระเพทราชาจึงตั้งพระนัดดาเจ้าพระพิไชยสุรินทร์ ให้สืบราชสมบัติ แต่เมื่อพระองค์สวรรคต หลวงสรศักดิ์ก็ได้สืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าเสือ | พระเพทราชามีโอรสองค์หนึ่งคือ หลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นโอรสลับของพระนารายณ์ที่เกิดจากเจ้าหญิงเมืองเชียงใหม่ หลวงสรศักดิ์มีส่วนผลักดันให้พระเพทราชาขึ้นมายึดอำนาจจากพระนารายณ์ จึงเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติต่อจากพระนารายณ์ว่าควรจะเป็นของใคร ระหว่างพระอนุชา 2 องค์คือ เจ้าฟ้าอภัยทศ และเจ้าฟ้าน้อย กับโอรสบุญธรรมคือพระปีย์ แต่กระนั้นบุคคลทั้ง 3 ก็ถูกพระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์ร่วมมือกันกำจัด และขับไล่ทหารฝรั่งเศสออกนอกราชอาณาจักร และยึดอำนาจของพระนารายณ์และสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์บ้านพลูหลวงปกครองอยุธยาต่อไป พระเทพราชามีโอรส 2 องค์ที่มีสิทธิในการสืบราชสมบัติ คือพระขวัญแก้ว จากพระมเหสีฝ่ายขวากรมหลวงโยธาทิพ (ภคินีของพระนารายณ์) และเจ้าฟ้าตรัสน้อยจากมเหสีฝ่ายซ้ายกรมหลวงโยธาเทพ (พระธิดาของพระนารายณ์) เมื่อทรงประชวร ปัญหาการสืบราชสมบัติก็เกิดขึ้น หลวงสรศักดิ์ลอบประหารพระขวัญแก้ว (ตรัสน้อยหนีไปบวชพระ) พระเพทราชาจึงตั้งพระนัดดาเจ้าพระพิไชยสุรินทร์ ให้สืบราชสมบัติ แต่เมื่อพระองค์สวรรคต หลวงสรศักดิ์ก็ได้สืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าเสือ | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
แม้ว่าเหตุผลส่วนหนึ่งของการก่อการโค้นล้มสมเด็จพระนารายณ์คือการขับไล่ชาวตะวันตกให้ออกไปจากอยุธยา แต่กระนั้นชาวตะวันตกที่พระเพทราชาต้องการขับไล่คือชาวฝรั่งเศส และเพื่อปรับความสัมพันธ์ให้มีลักษณะที่เท่าเทียมกันระหว่างชาวต่างชาติกับอยุธยา พระเพทราชาจึงยังคงติดต่อกับชาวต่างชาติไม่ได้ปิดประเทศตามการตีความของนักประวัติศาสตร์บางกลุ่ม พระองค์ทรงมีสัมพันธ์อันดีกับฮอลันดา ฮอลันดาเองก็พอใจที่จะค้าขายมิได้คิดเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองดังเช่นฝรั่งเศสหรือบาทหลวงคริสตังกระทำ พระเพทราชาส่งทูตไปปัตตาเวีย (ที่เกาะชวา) ของฮอลันดา มีการยืนยันที่จะให้สิทธิผูกขาดการซื้อหนังกวางและยังผูกขาดในการซื้อดีบุกอีกด้วย | แม้ว่าเหตุผลส่วนหนึ่งของการก่อการโค้นล้มสมเด็จพระนารายณ์คือการขับไล่ชาวตะวันตกให้ออกไปจากอยุธยา แต่กระนั้นชาวตะวันตกที่พระเพทราชาต้องการขับไล่คือชาวฝรั่งเศส และเพื่อปรับความสัมพันธ์ให้มีลักษณะที่เท่าเทียมกันระหว่างชาวต่างชาติกับอยุธยา พระเพทราชาจึงยังคงติดต่อกับชาวต่างชาติไม่ได้ปิดประเทศตามการตีความของนักประวัติศาสตร์บางกลุ่ม พระองค์ทรงมีสัมพันธ์อันดีกับฮอลันดา ฮอลันดาเองก็พอใจที่จะค้าขายมิได้คิดเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองดังเช่นฝรั่งเศสหรือบาทหลวงคริสตังกระทำ พระเพทราชาส่งทูตไปปัตตาเวีย (ที่เกาะชวา) ของฮอลันดา มีการยืนยันที่จะให้สิทธิผูกขาดการซื้อหนังกวางและยังผูกขาดในการซื้อดีบุกอีกด้วย | ||
ตลอด 15 ปีที่พระเพทราชาขึ้นครองราชย์ด้วยการแย่งชิงบัลลังก์จากราชวงศ์ก่อนทำให้เกิดปัญหาเรื่องความสงบตลอดมา พระองค์ถูกมองว่าเป็นผู้แย่งราชสมบัติ อันเป็นเหตุก็ทำให้มีการกบฏต่อพระองค์จำนวนมาก ดังเช่น กบฏธรรมเสถียร จากนครนายกที่หัวหน้ากบฏอ้างตนเป็น เจ้าฟ้าอภัยทศ (อนุชาของพระนารายณ์) ฝ่ายกบฏรวบรวมผู้คนจำนวนมากจากแถบเมืองสระบุรี ลพบุรี และนครนายก บุกรุกเข้ามาจนถึงกำแพงเมืองอยุธยาแต่ก็ถูกหลวงสรศักดิ์ปราบได้ ส่วนหัวเมืองบางเมืองก็ไม่ยอมรับอำนาจของพระเพทราชา เช่นเมืองนครราชสีมาและเมืองนคศรีธรรมราช ทั้ง 2 เมืองมีเจ้าเมืองที่ได้รับสถาปนาโดยพระนารายณ์ ทำให้ไม่ยอมรับอำนาจของพระเพทราชาและต้องส่งกองทัพไปปราบใช้เวลาปราบถึง 2 ปีและเป็นสงครามภายในที่ใหญ่มากที่สุดสงครามหนึ่ง | ตลอด 15 ปีที่พระเพทราชาขึ้นครองราชย์ด้วยการแย่งชิงบัลลังก์จากราชวงศ์ก่อนทำให้เกิดปัญหาเรื่องความสงบตลอดมา พระองค์ถูกมองว่าเป็นผู้แย่งราชสมบัติ อันเป็นเหตุก็ทำให้มีการกบฏต่อพระองค์จำนวนมาก ดังเช่น กบฏธรรมเสถียร จากนครนายกที่หัวหน้ากบฏอ้างตนเป็น เจ้าฟ้าอภัยทศ (อนุชาของพระนารายณ์) ฝ่ายกบฏรวบรวมผู้คนจำนวนมากจากแถบเมืองสระบุรี ลพบุรี และนครนายก บุกรุกเข้ามาจนถึงกำแพงเมืองอยุธยาแต่ก็ถูกหลวงสรศักดิ์ปราบได้ ส่วนหัวเมืองบางเมืองก็ไม่ยอมรับอำนาจของพระเพทราชา เช่นเมืองนครราชสีมาและเมืองนคศรีธรรมราช ทั้ง 2 เมืองมีเจ้าเมืองที่ได้รับสถาปนาโดยพระนารายณ์ ทำให้ไม่ยอมรับอำนาจของพระเพทราชาและต้องส่งกองทัพไปปราบใช้เวลาปราบถึง 2 ปีและเป็นสงครามภายในที่ใหญ่มากที่สุดสงครามหนึ่ง หลังจากนี้ยังมี[[กบฏบุกญงว้า|กบฏบุกญงว้า]] เกิดขึ้นอีกที่นครราชสีมา ต้องใช้กำลังปราบอยู่ 2 ปี นับว่ารัชสมัยพระเพทราชาเป็นกษัตริย์ที่มีปัญหาเสถียรภาพการเมืองภายในสูง[[#_ftn2|[2]]] ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้[[หัวเมืองฝ่ายเหนือ|หัวเมืองฝ่ายเหนือ]]อยู่ในความดูแลของ[[สมุหนายก|สมุหนายก]] และ[[หัวเมืองฝ่ายใต้|หัวเมืองฝ่ายใต้]]อยู่ในความดูแลของ[[สมุหพระกลาโหม]] โดยแบ่งให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบดูแลกิจการทั้งด้านทหารและพลเรือนในภูมิภาคนั้นๆ นอกจากนี้พระองค์ยังได้เพิ่มจำนวนกำลังทหารให้แก่[[กรมพระราชวังบวรสถานมงคล|กรมพระราชวังบวรสถานมงคล]]หรือ[[วังหน้า|วังหน้า]] เพื่อเป็นกำลังป้องกันวังหลวงอีกทางหนึ่งด้วย | ||
นอกจากนี้ในช่วงที่พระเพทราชาปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้นได้มีหัวเมืองประเทศใกล้เคียงเข้ามาอ่อนน้อมสวามิภักดิ์เป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา อาทิ ใน พ.ศ. 2234 เขมรได้ส่งคณะราชทูตนำช้างเผือกเชือกหนึ่งมาถวายขอเข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร ต่อมา ใน พ.ศ. 2238 กษัตริย์กรุงศรีสัตนาคนหุตได้ส่งราชทูตนำพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย กับขอให้กองทัพไทยไปช่วยต้านทานการรุกรานจากกองทัพหลวงพระบาง พระองค์ได้จัดกองทัพขึ้นไปช่วยไกล่เกลี่ย จนทั้งสองเมืองกลับเป็นไมตรีต่อกัน[[#_ftn3|[3]]] | นอกจากนี้ในช่วงที่พระเพทราชาปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้นได้มีหัวเมืองประเทศใกล้เคียงเข้ามาอ่อนน้อมสวามิภักดิ์เป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา อาทิ ใน พ.ศ. 2234 เขมรได้ส่งคณะราชทูตนำช้างเผือกเชือกหนึ่งมาถวายขอเข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร ต่อมา ใน พ.ศ. 2238 กษัตริย์กรุงศรีสัตนาคนหุตได้ส่งราชทูตนำพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย กับขอให้กองทัพไทยไปช่วยต้านทานการรุกรานจากกองทัพหลวงพระบาง พระองค์ได้จัดกองทัพขึ้นไปช่วยไกล่เกลี่ย จนทั้งสองเมืองกลับเป็นไมตรีต่อกัน[[#_ftn3|[3]]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:36, 1 ธันวาคม 2562
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว และ ชุติเดช เมธีชุติกุล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พระเพทราชา
ในประวัติศาสตร์ของไทยตั้งแต่สุโขทัย อยุธยา ธนบุรีจนถึงปัจจุบันกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงเวลาที่สำคัญและเป็นแหล่งอารยธรรมที่ถูกเชิดชูและหล่อหลอมให้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ปัจจุบันเรียกว่า “ความเป็นไทย” และช่วงเวลานั้นก็คือช่วงที่อยุธยาเป็นเมืองราชธานีของอาณาจักรที่มีอายุกว่า 400 ปี มรดกทางวัฒนธรรมของอยุธยาอาจถือเป็นจุดที่สำคัญจุดหนึ่งและยังหลงเหลือตกทอดมาสู่คนไทยในปัจจุบัน แต่กระนั้น แม้ในช่วงเวลาที่อาณาจักรอยุธยายังคงดำเนินไปในช่วง 400 ปีนั้นก็มีบรรดาราชวงศ์ต่างๆ เข้ามาสถาปนาตนเป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา และราชวงศ์ที่เรามิอาจละเลยที่เอ่ยถึงได้ก็คือ “ราชวงศ์บ้านพลูหลวง” ภายใต้การสถาปนาราชวงศ์ขึ้นปกครองอยุธยาโดย “พระเพทราชา” ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่สำคัญช่วงหนึ่ง ทั้งในแง่ของช่วงเวลาที่เรารู้ว่าราชวงศ์นี้คือราชวงศ์สุดท้ายที่จะได้ปกครองกรุงศรีอยุธยา และเป็นช่วงแห่งการโต้กลับกระแสตะวันตกที่ก่อนหน้านั้น ในสมัยพระนารายณ์ได้เปิดศักราชของการเปิดรับอารยธรรมตะวันตกเข้ามาในอาณาจักรอย่างเต็มพิกัด การขึ้นมาของพระเพทราชาอาจเป็นเสมือนหนึ่งการโต้กลับของชนชั้นสูงที่ไม่พอใจต่อนโยบายดังกล่าว ดังนั้น อาจเป็นการดีที่เราควรมาทำความรู้จักพระเพทราชาผู้ซึ่งเป็นเพียงสามัญชนธรรมดาจากสุพรรณบุรีสู่การขึ้นมาและสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ล้มล้างราชวงศ์ปราสาททองภายใต้การนำของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชลงในที่สุด
1. ประวัติการศึกษา ชีวิตครอบครัว และตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ[1]
พระเพทราชา ทรงเป็นกษัตริย์องค์ของอยุธยาผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวงอันเป็นราชวงศ์ที่ 5 และเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอยุธยา (ครองราชย์ พ.ศ.2231-2246) พระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ.2175 ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.2231 ขณะเมื่อมีพระชนมายุ 56 พรรษา พระเพทราชาทรงมีพื้นเพเป็นควาญช้างจากบ้านพลูหลวงในสุพรรณบุรี (ปัจจุบัน คือ บ้านพลูหลวง ที่ตั้งอยู่ในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี) พระมารดาทรงเป็นพระนมเปรม แม่นมของพระนารายณ์ ดังนั้นพระองค์ได้รับการเลี้ยงดูควบคู่กันมากับพระนารายณ์ และมีพระขนิษฐาคือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) พระสนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาพระเพทราชาได้รับราชการในวังโดยได้เป็นจางวางกรมช้าง แต่ด้วยมีความดีความชอบในการทำสงครามจึงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยรับใช้อย่างใกล้ชิดและมีตำแหน่งสูงในราชสำนัก ในเวลาต่อมาเป็นถึงขุนนางฝ่ายปกครองในตำแหน่ง สมุหพระคชบาลจางวางขวาในกรมพระคชบาลขวาซึ่งมีอำนาจค่อนข้างมากในราชสำนักพระนารายณ์ ณ ตอนนั้น
พระเพทราชามีโอรสองค์หนึ่งคือ หลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นโอรสลับของพระนารายณ์ที่เกิดจากเจ้าหญิงเมืองเชียงใหม่ หลวงสรศักดิ์มีส่วนผลักดันให้พระเพทราชาขึ้นมายึดอำนาจจากพระนารายณ์ จึงเกิดปัญหาการสืบราชสมบัติต่อจากพระนารายณ์ว่าควรจะเป็นของใคร ระหว่างพระอนุชา 2 องค์คือ เจ้าฟ้าอภัยทศ และเจ้าฟ้าน้อย กับโอรสบุญธรรมคือพระปีย์ แต่กระนั้นบุคคลทั้ง 3 ก็ถูกพระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์ร่วมมือกันกำจัด และขับไล่ทหารฝรั่งเศสออกนอกราชอาณาจักร และยึดอำนาจของพระนารายณ์และสถาปนาตัวเองเป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์บ้านพลูหลวงปกครองอยุธยาต่อไป พระเทพราชามีโอรส 2 องค์ที่มีสิทธิในการสืบราชสมบัติ คือพระขวัญแก้ว จากพระมเหสีฝ่ายขวากรมหลวงโยธาทิพ (ภคินีของพระนารายณ์) และเจ้าฟ้าตรัสน้อยจากมเหสีฝ่ายซ้ายกรมหลวงโยธาเทพ (พระธิดาของพระนารายณ์) เมื่อทรงประชวร ปัญหาการสืบราชสมบัติก็เกิดขึ้น หลวงสรศักดิ์ลอบประหารพระขวัญแก้ว (ตรัสน้อยหนีไปบวชพระ) พระเพทราชาจึงตั้งพระนัดดาเจ้าพระพิไชยสุรินทร์ ให้สืบราชสมบัติ แต่เมื่อพระองค์สวรรคต หลวงสรศักดิ์ก็ได้สืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าเสือ
พระเพทราชาทรงมีมเหสีสำคัญๆอยู่ 5 พระองค์ ได้แก่ 1) กรมพระเทพามาตย์ (กัน) มเหสีเดิมในพระเพทราชาเป็นผู้อภิบาลพระเจ้าเสือตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ภายหลังได้ขึ้นเป็นที่กรมพระเทพามาตย์ 2) กรมหลวงโยธาเทพ หรือ มเหสีฝ่ายซ้าย - พระราชธิดาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชโอรสคือ เจ้าฟ้าตรัสน้อย 3) กรมหลวงโยธาทิพ หรือ มเหสีฝ่ายขวา - พระน้องนางในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชโอรสคือ พระขวัญแก้ว 4) พระนางกุสาวดี มเหสีพระราชทานจากพระนารายณ์มหาราช พระธิดาพญาแสนหลวง เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ มีพระราชโอรสคือ พระเจ้าเสือ 5) พระแก้วฟ้า ปรากฏในเอกสารในสมัยอยุธยาได้กล่าวว่า หลังจากการไกล่เกลี่ยเขตแดนระหว่างไทยกับลาว กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์ได้ส่งพระราชธิดาถวายแก่พระเพทราชา แต่เอกสารของลาวกลับไม่ได้ปรากฏหรือกล่าวเอาไว้เลย พระเพทราชาเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2246 พระชนมายุได้ 71 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี
2. ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง
แม้ว่าเหตุผลส่วนหนึ่งของการก่อการโค้นล้มสมเด็จพระนารายณ์คือการขับไล่ชาวตะวันตกให้ออกไปจากอยุธยา แต่กระนั้นชาวตะวันตกที่พระเพทราชาต้องการขับไล่คือชาวฝรั่งเศส และเพื่อปรับความสัมพันธ์ให้มีลักษณะที่เท่าเทียมกันระหว่างชาวต่างชาติกับอยุธยา พระเพทราชาจึงยังคงติดต่อกับชาวต่างชาติไม่ได้ปิดประเทศตามการตีความของนักประวัติศาสตร์บางกลุ่ม พระองค์ทรงมีสัมพันธ์อันดีกับฮอลันดา ฮอลันดาเองก็พอใจที่จะค้าขายมิได้คิดเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองดังเช่นฝรั่งเศสหรือบาทหลวงคริสตังกระทำ พระเพทราชาส่งทูตไปปัตตาเวีย (ที่เกาะชวา) ของฮอลันดา มีการยืนยันที่จะให้สิทธิผูกขาดการซื้อหนังกวางและยังผูกขาดในการซื้อดีบุกอีกด้วย
ตลอด 15 ปีที่พระเพทราชาขึ้นครองราชย์ด้วยการแย่งชิงบัลลังก์จากราชวงศ์ก่อนทำให้เกิดปัญหาเรื่องความสงบตลอดมา พระองค์ถูกมองว่าเป็นผู้แย่งราชสมบัติ อันเป็นเหตุก็ทำให้มีการกบฏต่อพระองค์จำนวนมาก ดังเช่น กบฏธรรมเสถียร จากนครนายกที่หัวหน้ากบฏอ้างตนเป็น เจ้าฟ้าอภัยทศ (อนุชาของพระนารายณ์) ฝ่ายกบฏรวบรวมผู้คนจำนวนมากจากแถบเมืองสระบุรี ลพบุรี และนครนายก บุกรุกเข้ามาจนถึงกำแพงเมืองอยุธยาแต่ก็ถูกหลวงสรศักดิ์ปราบได้ ส่วนหัวเมืองบางเมืองก็ไม่ยอมรับอำนาจของพระเพทราชา เช่นเมืองนครราชสีมาและเมืองนคศรีธรรมราช ทั้ง 2 เมืองมีเจ้าเมืองที่ได้รับสถาปนาโดยพระนารายณ์ ทำให้ไม่ยอมรับอำนาจของพระเพทราชาและต้องส่งกองทัพไปปราบใช้เวลาปราบถึง 2 ปีและเป็นสงครามภายในที่ใหญ่มากที่สุดสงครามหนึ่ง หลังจากนี้ยังมีกบฏบุกญงว้า เกิดขึ้นอีกที่นครราชสีมา ต้องใช้กำลังปราบอยู่ 2 ปี นับว่ารัชสมัยพระเพทราชาเป็นกษัตริย์ที่มีปัญหาเสถียรภาพการเมืองภายในสูง[2] ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในความดูแลของสมุหนายก และหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหพระกลาโหม โดยแบ่งให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบดูแลกิจการทั้งด้านทหารและพลเรือนในภูมิภาคนั้นๆ นอกจากนี้พระองค์ยังได้เพิ่มจำนวนกำลังทหารให้แก่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า เพื่อเป็นกำลังป้องกันวังหลวงอีกทางหนึ่งด้วย
นอกจากนี้ในช่วงที่พระเพทราชาปกครองกรุงศรีอยุธยาอยู่นั้นได้มีหัวเมืองประเทศใกล้เคียงเข้ามาอ่อนน้อมสวามิภักดิ์เป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา อาทิ ใน พ.ศ. 2234 เขมรได้ส่งคณะราชทูตนำช้างเผือกเชือกหนึ่งมาถวายขอเข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร ต่อมา ใน พ.ศ. 2238 กษัตริย์กรุงศรีสัตนาคนหุตได้ส่งราชทูตนำพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย กับขอให้กองทัพไทยไปช่วยต้านทานการรุกรานจากกองทัพหลวงพระบาง พระองค์ได้จัดกองทัพขึ้นไปช่วยไกล่เกลี่ย จนทั้งสองเมืองกลับเป็นไมตรีต่อกัน[3]
บรรณานุกรม
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, อยุธยา : ประวัติศาสตร์และการเมือง, ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (บก.), (พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2548)
นิธิ เอียวศรีวงศ์, การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์, (พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : มติชน, 2549)
พลับพลึง มูลศิลป์, ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส สมัยอยุธยา, (กรุงเทพ: บรรณกิจ, 2523)
ภูธร ภูมะธน, โกษาปาน ราชทูตกู้แผ่นดิน, (กรุงเทพฯ: สถาบันการเรียนรู้และสร้างสรรค์ (พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้), 2550)
วิบูล วิจิตรวาทการ, ราชวงศ์บ้านพลูหลวง, (กรุงเทพฯ : บริษัทสร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด, 2544)
ส.สีมา ศิลปวัฒนธรรม, เล่าเรื่อง พระเพทราชา ตกกระไดพลอยโจน, Retrieved From http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1373427780, March 23, 2016
สมเด็จพระเพทราชา, Retrieved From http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/19496-029680/, March 23, 2016
อ้างอิง
[1] ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, อยุธยา : ประวัติศาสตร์และการเมือง, ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (บก.), (พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2548), น.76-78; วิบูล วิจิตรวาทการ, ราชวงศ์บ้านพลูหลวง, (กรุงเทพฯ : บริษัทสร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด, 2544), น.1-8; นิธิ เอียวศรีวงศ์, การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์, (พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : มติชน, 2549), น.71-82; ภูธร ภูมะธน, โกษาปาน ราชทูตกู้แผ่นดิน, (กรุงเทพฯ: สถาบันการเรียนรู้และสร้างสรรค์ (พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้), 2550), น.33; พลับพลึง มูลศิลป์, ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส สมัยอยุทธยา, (กรุงเทพ: บรรณกิจ, 2523), น.110, 238
[2] อ้างแล้ว, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, น.77-78
[3] สมเด็จพระเพทราชา, Retrieved From http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/19496-029680/, March 23, 2016