ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การทุจริตคอรัปชั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 10: | บรรทัดที่ 10: | ||
'''บทนำ''' | '''บทนำ''' | ||
| ปัญหา[[การทุจริตคอรัปชั่น|การทุจริตคอรัปชั่น]]เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นคู่กับสังคมของแต่ละประเทศเป็นเวลานาน เกิดได้ในหลากหลายรูปแบบ หลากหลายลักษณะ วิธีการป้องกันและแก้ไข ความรู้ความเข้าใจ ของแต่ละประเทศก็ต่างกันออกไป มีผลทำให้การกระทำบางการกระทำไม่จัดว่าเป็นการทุจริตคอรัปชั่น ทั้งนี้ ล้วนแต่เกิดจากปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ที่ขับเคลื่อนโดยผู้มีอำนาจเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี การทุจริตคอรัปชั่น และ [[ผลประโยชน์ทับซ้อน|ผลประโยชน์ทับซ้อน]] มีความสอดคล้องกันในแง่ของการกระทำ ที่เราสามารถเรียก [[การขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม|การขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม]]นั้น เป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่นำไปสู่การคอรัปชั่น โดยจะนำเสนอในลำดับถัดไป | ||
'''ความหมาย''' | '''ความหมาย''' | ||
บรรทัดที่ 18: | บรรทัดที่ 18: | ||
“ ทุจริตต่อหน้าที่ ” หมายถึง การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่าใดอย่าหนึ่งในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจะทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนหรือผู้อื่น[[#_ftn1|[1]]] ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นทำให้ตนเองได้ประโยชน์แต่เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม จากความหมายนี้แสดงให้เห็นว่า การกระทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง ในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่วนรวมนั้น เป็นการขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม ซึ่งหมายความว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) เป็นการทุจริตคอรัปชั่นรูปแบบหนึ่งนั่นเอง | “ ทุจริตต่อหน้าที่ ” หมายถึง การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่าใดอย่าหนึ่งในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจะทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนหรือผู้อื่น[[#_ftn1|[1]]] ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นทำให้ตนเองได้ประโยชน์แต่เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม จากความหมายนี้แสดงให้เห็นว่า การกระทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง ในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่วนรวมนั้น เป็นการขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม ซึ่งหมายความว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) เป็นการทุจริตคอรัปชั่นรูปแบบหนึ่งนั่นเอง | ||
คอรัปชั่น (Corruption) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Corruptioเป็นคำที่รู้จักกันดีมานานแต่ความหมายแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ใช้ หลักการหรือมุมมองด้านศีลธรรม การเมืองหรือด้านเศรษฐกิจ ในมุมมองของการกระทำนั้น คอรัปชั่นถือเป็นอาชญากรรม (crime) ประเภทหนึ่ง ในบางกรณีคอรัปชั่นอาจจะถูกมองในความหมายที่แคบและต่างจากการโกง ยักยอก รีดไถ การขู่ โดยมองว่า คอรัปชั่นเป็นการกระทำของคนสองฝ่ายที่หาประโยชน์ร่วมกันจากฝ่ายที่สามเช่น การติดสินบนหรือหมายถึง การฉ้อราษฎร์บังหลวง เบียดบังเอาโดยอำนาจหน้าที่ราชการ ซึ่งก็มีการโต้เถียงกันว่า คำว่า | คอรัปชั่น (Corruption) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Corruptioเป็นคำที่รู้จักกันดีมานานแต่ความหมายแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ใช้ หลักการหรือมุมมองด้านศีลธรรม การเมืองหรือด้านเศรษฐกิจ ในมุมมองของการกระทำนั้น คอรัปชั่นถือเป็นอาชญากรรม (crime) ประเภทหนึ่ง ในบางกรณีคอรัปชั่นอาจจะถูกมองในความหมายที่แคบและต่างจากการโกง ยักยอก รีดไถ การขู่ โดยมองว่า คอรัปชั่นเป็นการกระทำของคนสองฝ่ายที่หาประโยชน์ร่วมกันจากฝ่ายที่สามเช่น การติดสินบนหรือหมายถึง การฉ้อราษฎร์บังหลวง เบียดบังเอาโดยอำนาจหน้าที่ราชการ ซึ่งก็มีการโต้เถียงกันว่า คำว่า [[ฉ้อราษฎร์บังหลวง|ฉ้อราษฎร์บังหลวง]]นั้นมีความหมายแคบกว่าคอรัปชั่น เพราะคำว่าฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้นเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ของรัฐและสาธารณะเท่านั้น ต่อมาสำนักงาน[[คณะกรรมการกฤษฎีกา|คณะกรรมการกฤษฎีกา]]ได้แปลคำว่า [[การทุจริตและพฤติกรรมมิชอบ|การทุจริตและพฤติกรรมมิชอบ]]ในวงราชการให้ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า corruption นั่นเอง[[#_ftn2|[2]]] | ||
| | ||
บรรทัดที่ 32: | บรรทัดที่ 32: | ||
2.3 การคอรัปชั่นในเชิงของการบริหารหรือปฏิบัติการ (administrative corruption) หมายถึง การคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นจากลักษณะของการปฏิบัติ การบังคับใช้ระเบียบ การปฏิบัติงานอื่นๆ | 2.3 การคอรัปชั่นในเชิงของการบริหารหรือปฏิบัติการ (administrative corruption) หมายถึง การคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นจากลักษณะของการปฏิบัติ การบังคับใช้ระเบียบ การปฏิบัติงานอื่นๆ | ||
2.4 การคอรัปชั่นเชิงนโยบาย (policy corruption) หมายถึง การคอรัปชั่นที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบต่างๆในเชิงโครงสร้าง ทั้งด้านนโยบาย การดำเนินการ หรือการบริหารงาน โดยการใช้ข้อกำหนดของกฎหมายรองรับ | 2.4 [[การคอรัปชั่นเชิงนโยบาย|การคอรัปชั่นเชิงนโยบาย]] (policy corruption) หมายถึง การคอรัปชั่นที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบต่างๆในเชิงโครงสร้าง ทั้งด้านนโยบาย การดำเนินการ หรือการบริหารงาน โดยการใช้ข้อกำหนดของกฎหมายรองรับ | ||
จากรูปแบบต่างๆที่ได้กล่าวไปนั้น สามารถเกิดการคอรัปชั่นขึ้นได้หลายลักษณะ ในลักษณะที่เกิดพร้อมกัน หรือแยกกันเกิดก็ได้ โดยส่วนใหญ่รูปแบบที่เกิดขึ้นมักจะเกิดขึ้นในรูปแบบ ระบบพวกพ้อง (cronyism) การล็อบบี้ (lobbying) การติดสินบน (bribery) และอีกมากมายอันได้แก่[[#_ftn4|[4]]] | จากรูปแบบต่างๆที่ได้กล่าวไปนั้น สามารถเกิดการคอรัปชั่นขึ้นได้หลายลักษณะ ในลักษณะที่เกิดพร้อมกัน หรือแยกกันเกิดก็ได้ โดยส่วนใหญ่รูปแบบที่เกิดขึ้นมักจะเกิดขึ้นในรูปแบบ [[ระบบพวกพ้อง|ระบบพวกพ้อง]] (cronyism) [[การล็อบบี้|การล็อบบี้]] (lobbying) [[การติดสินบน|การติดสินบน]] (bribery) และอีกมากมายอันได้แก่[[#_ftn4|[4]]] | ||
หนึ่ง ฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง หรือบิดเบือน ระเบียบแบบแผน หรือกฎข้อบังคับ ตัวอย่างเช่น การแสดงราคาในบัญชีสินค้าเป็นเท็จ เพื่อประเมินอากรให้ต่ำกว่าอัตราที่เป็นจริง | หนึ่ง ฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง หรือบิดเบือน ระเบียบแบบแผน หรือกฎข้อบังคับ ตัวอย่างเช่น การแสดงราคาในบัญชีสินค้าเป็นเท็จ เพื่อประเมินอากรให้ต่ำกว่าอัตราที่เป็นจริง | ||
บรรทัดที่ 54: | บรรทัดที่ 54: | ||
''การทุจริตสีดำ (Black corruption)'' หมายถึง การเห็นพ้องต้องกัน ที่เป็นฉันทามติที่เกิดขึ้นระหว่างชนนั้นและมวลชน ที่เห็นว่าการกระทำนั้นควรตำหนิ ติเตียน และควรได้รับการลงโทษ | ''การทุจริตสีดำ (Black corruption)'' หมายถึง การเห็นพ้องต้องกัน ที่เป็นฉันทามติที่เกิดขึ้นระหว่างชนนั้นและมวลชน ที่เห็นว่าการกระทำนั้นควรตำหนิ ติเตียน และควรได้รับการลงโทษ | ||
''การทุจริตสีเทา ( | ''การทุจริตสีเทา (Gray corruption)''หมายถึง การที่ความเห็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำเห็นว่าต้องได้การลงโทษ ส่วนอีกส่วนหนึ่งมีความเห็นต่างกันออกไป ทำให้ส่วนใหญ่ความคิดเห็นที่เกิดขึ้นมักจะไม่ชัดเจนเช่น การให้ค่าน้ำชา การให้ค่านายหน้า การกระทำเหล่านี้สามารถลดหย่อนการใช้กฎระเบียบไปได้ | ||
''การทุจริตสีขาว ( | ''การทุจริตสีขาว (White corruption)''หมายถึง การที่ชนชั้นนำและมวลชน เห็นว่าเป็นการทุจริตที่ไม่ร้ายแรงมากนัก สามารถยอมรับการกระทำนั้นได้ ทำให้ไม่มีความพยายามที่จะดำเนินการลงโทษ การละเลยของสังคม ที่ถือเอาการยอมรับของสังคมในลักษณะนี้ จะทำให้การทุจริตคอรัปชั่นสามารถเข้ามาแทรกซึมในสังคม จนเป็นเรื่องปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่การฝังรากลึกในสังคมที่มิอาจแก้ไขได้ โดยส่วนใหญ่การรับผลประโยชน์จะอิงเรื่องขนบธรรมเนียม ประเพณี คือการได้มาแบบไม่ได้ร้องขอ เรียกว่าการแสดงน้ำใจ เช่น เป็นเจ้าภาพงานกุศลของผู้มีอำนาจ | ||
| | ||
บรรทัดที่ 74: | บรรทัดที่ 74: | ||
สี่ การขาดจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ซึ่งปัจจุบันคนในสังคมยังขาดอุดมการณ์และขาดจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม | สี่ การขาดจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ซึ่งปัจจุบันคนในสังคมยังขาดอุดมการณ์และขาดจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม | ||
ทิพาวดี เมฆสวรรค์ กล่าวว่า Robert Kligaardคณบดีของ Rand Graduate School, California ได้คิดสูตรอธิบายการเกิดพฤติกรรมคอรัปชั่นไว้ว่า | ทิพาวดี เมฆสวรรค์ กล่าวว่า Robert Kligaardคณบดีของ Rand Graduate School, California ได้คิดสูตรอธิบายการเกิดพฤติกรรมคอรัปชั่นไว้ว่า การทุจริตคอรัปชั่นจะเกิดขึ้นเมื่อมี[[การผูกขาด|การผูกขาด]] (Monopoly) หรือรวบอำนาจไว้ที่แหล่งเดียว ประกอบกับว่า การตัดสินใจใดๆขึ้นอยู่กับการใช้ดุลพินิจ (Discretion) ของผู้มีอำนาจนั้นๆเป็นสำคัญ ดังนั้นหากมีมูลค่ารวมของการผูกขาดและการเปิดโอกาสให้ใช้ดุลพินิจมากกว่าความรับผิดชอบตรวจสอบได้ (Accountability) โอกาสการทุจริต [[ไม่โปร่งใส|ไม่โปร่งใส]]ก็จะมีมากขึ้น[[#_ftn7|[7]]] | ||
'''Co = M + D –A''' | '''Co = M + D –A''' | ||
บรรทัดที่ 98: | บรรทัดที่ 98: | ||
1) ลักษณะการทุจริตที่จากตัวบุคคล | 1) ลักษณะการทุจริตที่จากตัวบุคคล | ||
1.1 การทุจริตของบุคคล โดยเฉพาะผู้บริหาร | 1.1 การทุจริตของบุคคล โดยเฉพาะผู้บริหาร และ[[สมาชิกสภาท้องถิ่น|สมาชิกสภาท้องถิ่น]] ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบของการใช้ตำแหน่งในการแสวงหาผลประโยชน์ มีญาติหรือพวกพ้องมาเป็นผู้รับเหมาการจัดซื้อจัดจ้างที่มีการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มของตน รวมถึงการเก็บรายได้แล้วไม่ส่งคลัง พร้อมทั้งมีการแก้ไขหลักฐานการเงิน เป็นต้น | ||
1.2 การทุจริตที่เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจและขาดคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน ซึ่งหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด มีพนักงานท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถที่ไม่ตรงกับงาน หรือไม่มีความรู้เฉพาะด้านดีพอ ก็จะทำให้การปฏิบัติงานแต่ละครั้งอาจนำไปสู่ความผิดพลาดได้ง่าย และยังยังส่อไปในทางทุจริตอีกด้วย | 1.2 การทุจริตที่เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจและขาดคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน ซึ่งหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด มีพนักงานท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถที่ไม่ตรงกับงาน หรือไม่มีความรู้เฉพาะด้านดีพอ ก็จะทำให้การปฏิบัติงานแต่ละครั้งอาจนำไปสู่ความผิดพลาดได้ง่าย และยังยังส่อไปในทางทุจริตอีกด้วย | ||
บรรทัดที่ 112: | บรรทัดที่ 112: | ||
3) ลักษณะการทุจริตที่เกิดจากการตรวจสอบและกฎระเบียบ | 3) ลักษณะการทุจริตที่เกิดจากการตรวจสอบและกฎระเบียบ | ||
3.1 | 3.1 การทุจริตที่เกิดจากช่องว่างของกฎระเบียบและ[[กฎหมาย|กฎหมาย]] พบว่าในกรณีที่กำหนดให้[[ผู้บริหารท้องถิ่น|ผู้บริหารท้องถิ่น]]สามารถดำรงตำแหน่งได้ 4 ปีนั้น เป็นการเปิดช่องว่างให้เกิดการทุจริตมากขึ้น เพราะหาก[[สมาชิกสภาท้องถิ่น|สมาชิกสภาท้องถิ่น]]กับผู้บริหารท้องถิ่น เป็นพวกพ้องกัน ก็เป็นช่องว่างในการทุจริตได้ เพราะขาดซึ่ง[[การถ่วงดุลอำนาจ|การถ่วงดุลอำนาจ]]ที่เข้มแข็ง | ||
3.2 การทุจริตที่เกิดจากตรวจสอบขาดความหลากหลายในการตรวจสอบจากภาคส่วนต่างๆ แบ่งได้เป็น | 3.2 การทุจริตที่เกิดจากตรวจสอบขาดความหลากหลายในการตรวจสอบจากภาคส่วนต่างๆ แบ่งได้เป็น | ||
ก) ภายนอกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | ก) ภายนอกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการตรวจสอบจาก[[คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน|คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน]]และ[[คณะกรรมการป้องกันและปรามปรามทุจริตแห่งชาติ|คณะกรรมการป้องกันและปรามปรามทุจริตแห่งชาติ]] และมีจำนวนคนไม่เพียงพอในการตรวจสอบในทุกพื้นที่ เป็นเพียงการสุ่มตัวอย่างเท่านั้น จึงทำให้เกิดความไม่หลากหลายและไม่ทั่วถึง | ||
| | ||
บรรทัดที่ 128: | บรรทัดที่ 128: | ||
''ด้านที่ '2ความร่วมมือจากภาคประชาชน'' เช่น การให้ประชาชนรับรู้ข่าวสาร เสริมสร้างบทบาทของภาคประชาชนในการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการจัดให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องกฎระเบียบที่ท้องถิ่นดำเนินการ หรือ ให้มีการจัดทำคู่มือประชาชนมอบให้ประชาชนที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ซึ่งคู่มือต้องมีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย เนื้อหาที่ชัดเจน จะทำให้การตรวจสอบภาคประชาชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น | ''ด้านที่ '2ความร่วมมือจากภาคประชาชน'' เช่น การให้ประชาชนรับรู้ข่าวสาร เสริมสร้างบทบาทของภาคประชาชนในการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการจัดให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องกฎระเบียบที่ท้องถิ่นดำเนินการ หรือ ให้มีการจัดทำคู่มือประชาชนมอบให้ประชาชนที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ซึ่งคู่มือต้องมีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย เนื้อหาที่ชัดเจน จะทำให้การตรวจสอบภาคประชาชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น | ||
''ด้านที่ '3 ปรับปรุงโครงสร้างภายนอกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น'' เช่น ปรับปรุงบทบาทของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ให้มีการเพิ่มกำลังคนในการตรวจสอบ | ''ด้านที่ '3 ปรับปรุงโครงสร้างภายนอกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น'' เช่น ปรับปรุงบทบาทของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ให้มีการเพิ่มกำลังคนในการตรวจสอบ รวมถึงการประสานงานกับองค์กรที่ทำหน้าที่ใน[[การกำกับดูแลท้องถิ่น|การกำกับดูแลท้องถิ่น]]เพื่อแสวงหาแนวทางในการตรวจสอบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน[[#_ftn10|[10]]] | ||
| | ||
บรรทัดที่ 136: | บรรทัดที่ 136: | ||
1) การตรวจสอบองค์กรผู้มีอำนาจในการกำกับดูแล | 1) การตรวจสอบองค์กรผู้มีอำนาจในการกำกับดูแล | ||
1.1 กระทรวงมหาดไทย ผ่านการใช้อำนาจตามกฎหมายในการแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | 1.1 กระทรวงมหาดไทย ผ่านการใช้อำนาจตามกฎหมายในการแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือการใช้อำนาจลง[[โทษทางวินัย|โทษทางวินัย]]ต่อเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น การให้ความเห็นชอบ การอนุมัติ อนุญาต เพิกถอน ระงับยับยั้ง สั่งการยกเลิกการกระทำที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย ในงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคุมการออกกฎ ระเบียบต่างๆ รวมไปถึงการชี้แจง การกำหนดมาตรฐานต่างๆในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยึดถือปฏิบัติ[[#_ftn11|[11]]] | ||
1.2 ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่มีฐานะในการกำกับดูแล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล | 1.2 ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่มีฐานะในการกำกับดูแล [[องค์การบริหารส่วนจังหวัด|องค์การบริหารส่วนจังหวัด]] [[เทศบาล|เทศบาล]] หรือ[[เทศบาลเมือง|เทศบาลเมือง]] | ||
1.3 นายอำเภอ | 1.3 นายอำเภอ ที่มีฐานะในการกำกับดูแล[[เทศบาลตำบล|เทศบาลตำบล]] และ[[องค์การบริหารส่วนตำบล|องค์การบริหารส่วนตำบล]][[#_ftn12|[12]]] | ||
2) การตรวจสอบองค์กรที่มีบทบาทในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต | 2) การตรวจสอบองค์กรที่มีบทบาทในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต | ||
2.1 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สิน ตรวจสอบการกระทำอันเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วย ความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ และทำการตรวจสอบในกรณีที่มีผู้กล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม | 2.1 [[คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ|คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ]] ที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สิน ตรวจสอบการกระทำอันเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วย ความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ และทำการตรวจสอบในกรณีที่มีผู้กล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม | ||
2.2 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ทำหน้าที่ตรวจสอบดูแลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบถึงความชอบด้วยกฎหมายและตรวจสอบถึงความมีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินทั้งในส่วนที่เป็นงบประมาณและรายได้จากส่วนอื่นๆ | 2.2 [[คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน|คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน]] ทำหน้าที่ตรวจสอบดูแลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบถึงความชอบด้วยกฎหมายและตรวจสอบถึงความมีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินทั้งในส่วนที่เป็นงบประมาณและรายได้จากส่วนอื่นๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | ||
2.3 ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงในกรณีที่มีคำร้องเรียนว่า ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหรือปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม | 2.3 [[ผู้ตรวจการแผ่นดิน]] มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงในกรณีที่มีคำร้องเรียนว่า ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหรือปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม | ||
2.4 สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกกล่าวหาว่า กระทำฐานทุจริตต่อหน้าที่อาจถูกดำเนินการตามกฎหมายฟอกเงิน[[#_ftn13|[13]]] | 2.4 [[สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน|สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน]] เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกกล่าวหาว่า กระทำฐานทุจริตต่อหน้าที่อาจถูกดำเนินการตามกฎหมายฟอกเงิน[[#_ftn13|[13]]] | ||
3) การตรวจสอบจากภาคประชาชน โดยประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิในการมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายได้รับรองสิทธิไว้ ซึ่งการใช้สิทธิของประชาชนจะเป็นการช่วยให้เกิดการตรวจสอบการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทางหนึ่ง โดยกลไกการตรวจสอบจะประกอบไปด้วย การเข้าชื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการ หรือการดำเนินการต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการควบคุมโดยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร[[#_ftn14|[14]]] | 3) การตรวจสอบจากภาคประชาชน โดยประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิในการมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายได้รับรองสิทธิไว้ ซึ่งการใช้สิทธิของประชาชนจะเป็นการช่วยให้เกิดการตรวจสอบการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทางหนึ่ง โดยกลไกการตรวจสอบจะประกอบไปด้วย [[การเข้าชื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น|การเข้าชื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น]] คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการ หรือการดำเนินการต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการควบคุมโดยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร[[#_ftn14|[14]]] | ||
โดยสรุป ในประเทศไทยยังมีการทุจริตคอรัปชั่นอยู่มาก และมีแนมโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สถาบันการเงินและภาพรวมของประเทศมีความน่าเชื่อถือที่ลดลง ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นนั้นไม่ได้เกิดเฉพาะในระดับประเทศ ในระดับการปกครองส่วนท้องถิ่นก็มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเช่นเดียวกัน ซึ่งปัจจัยสำคัญส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดปัญหานี้คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์สาธารณะ ที่เราเรียกกันว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) ที่สะท้อนให้เห็นในลักษณะของระบบเครือญาติ พวกพ้อง หรือระบบอุปถัมภ์ เกิดการทุจริตคอรัปชั่นในรูปแบบต่างๆขึ้นมากมาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นการคอรัปชั่นอย่างหนึ่ง เป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้เกิดกันและกัน | โดยสรุป ในประเทศไทยยังมีการทุจริตคอรัปชั่นอยู่มาก และมีแนมโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สถาบันการเงินและภาพรวมของประเทศมีความน่าเชื่อถือที่ลดลง ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นนั้นไม่ได้เกิดเฉพาะในระดับประเทศ ในระดับการปกครองส่วนท้องถิ่นก็มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเช่นเดียวกัน ซึ่งปัจจัยสำคัญส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดปัญหานี้คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์สาธารณะ ที่เราเรียกกันว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) ที่สะท้อนให้เห็นในลักษณะของระบบเครือญาติ พวกพ้อง หรือระบบอุปถัมภ์ เกิดการทุจริตคอรัปชั่นในรูปแบบต่างๆขึ้นมากมาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นการคอรัปชั่นอย่างหนึ่ง เป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้เกิดกันและกัน |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 19:48, 1 ธันวาคม 2562
เรียบเรียงโดย กฤษณ์ วงศ์วิเศษธร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล
บทนำ
ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นคู่กับสังคมของแต่ละประเทศเป็นเวลานาน เกิดได้ในหลากหลายรูปแบบ หลากหลายลักษณะ วิธีการป้องกันและแก้ไข ความรู้ความเข้าใจ ของแต่ละประเทศก็ต่างกันออกไป มีผลทำให้การกระทำบางการกระทำไม่จัดว่าเป็นการทุจริตคอรัปชั่น ทั้งนี้ ล้วนแต่เกิดจากปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ที่ขับเคลื่อนโดยผู้มีอำนาจเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี การทุจริตคอรัปชั่น และ ผลประโยชน์ทับซ้อน มีความสอดคล้องกันในแง่ของการกระทำ ที่เราสามารถเรียก การขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมนั้น เป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่นำไปสู่การคอรัปชั่น โดยจะนำเสนอในลำดับถัดไป
ความหมาย
“ทุจริตคอรัปชั่น” ในความจริงแล้วเป็นคำเดียวกัน โดยทุจริตนั้นตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Corruption” ซึ่งคำว่า “ทุจริต” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า ความประพฤติชั่ว ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต ถ้าเป็นความพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต
“ ทุจริตต่อหน้าที่ ” หมายถึง การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่าใดอย่าหนึ่งในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจะทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนหรือผู้อื่น[1] ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นทำให้ตนเองได้ประโยชน์แต่เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม จากความหมายนี้แสดงให้เห็นว่า การกระทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง ในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่วนรวมนั้น เป็นการขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม ซึ่งหมายความว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) เป็นการทุจริตคอรัปชั่นรูปแบบหนึ่งนั่นเอง
คอรัปชั่น (Corruption) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า Corruptioเป็นคำที่รู้จักกันดีมานานแต่ความหมายแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ใช้ หลักการหรือมุมมองด้านศีลธรรม การเมืองหรือด้านเศรษฐกิจ ในมุมมองของการกระทำนั้น คอรัปชั่นถือเป็นอาชญากรรม (crime) ประเภทหนึ่ง ในบางกรณีคอรัปชั่นอาจจะถูกมองในความหมายที่แคบและต่างจากการโกง ยักยอก รีดไถ การขู่ โดยมองว่า คอรัปชั่นเป็นการกระทำของคนสองฝ่ายที่หาประโยชน์ร่วมกันจากฝ่ายที่สามเช่น การติดสินบนหรือหมายถึง การฉ้อราษฎร์บังหลวง เบียดบังเอาโดยอำนาจหน้าที่ราชการ ซึ่งก็มีการโต้เถียงกันว่า คำว่า ฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้นมีความหมายแคบกว่าคอรัปชั่น เพราะคำว่าฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้นเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ของรัฐและสาธารณะเท่านั้น ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แปลคำว่า การทุจริตและพฤติกรรมมิชอบในวงราชการให้ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า corruption นั่นเอง[2]
รูปแบบการทุจริตคอรัปชั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การคอรัปชั่นที่เกิดโดยทั่วไป อาศัยปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสภาพสังคมของประเทศนั้นๆ ระบบการเมืองการปกครอง โอกาสที่จะเข้าถึงข้อมูลที่นำไปสู่การคอรัปชั่น สามารถแบ่งรูปแบบการทุจริตได้ ดังนี้[3]
2.1 การคอรัปชั่นขนาดใหญ่ (Grand corruption) หมายถึง การคอรัปชั่นที่โดยทั่วไปแล้วมีขนาดของวงเงินจำนวนมาก
2.2 การคอรัปชั่นขนาดย่อย (petty corruption) หมายถึง การคอรัปชั่นในวงเงินจำนวนน้อย
2.3 การคอรัปชั่นในเชิงของการบริหารหรือปฏิบัติการ (administrative corruption) หมายถึง การคอรัปชั่นที่เกิดขึ้นจากลักษณะของการปฏิบัติ การบังคับใช้ระเบียบ การปฏิบัติงานอื่นๆ
2.4 การคอรัปชั่นเชิงนโยบาย (policy corruption) หมายถึง การคอรัปชั่นที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบต่างๆในเชิงโครงสร้าง ทั้งด้านนโยบาย การดำเนินการ หรือการบริหารงาน โดยการใช้ข้อกำหนดของกฎหมายรองรับ
จากรูปแบบต่างๆที่ได้กล่าวไปนั้น สามารถเกิดการคอรัปชั่นขึ้นได้หลายลักษณะ ในลักษณะที่เกิดพร้อมกัน หรือแยกกันเกิดก็ได้ โดยส่วนใหญ่รูปแบบที่เกิดขึ้นมักจะเกิดขึ้นในรูปแบบ ระบบพวกพ้อง (cronyism) การล็อบบี้ (lobbying) การติดสินบน (bribery) และอีกมากมายอันได้แก่[4]
หนึ่ง ฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง หรือบิดเบือน ระเบียบแบบแผน หรือกฎข้อบังคับ ตัวอย่างเช่น การแสดงราคาในบัญชีสินค้าเป็นเท็จ เพื่อประเมินอากรให้ต่ำกว่าอัตราที่เป็นจริง
สอง จูงใจ เรียกร้อง ข่มขู่ หน่วงเหนี่ยวหรือกลั่นแกล้ง เพื่อหาประโยชน์ใส่ตนหรือพวกพ้อง เช่น เมื่อมีประชาชนมาติดต่อราชการที่ต้องเขียนคำร้อง เจ้าหน้าที่รับเขียนให้โดยเรียกเก็บเงินรายละ 10 – 20 บาท เป็นค่าอากรแสตมป์ซึ่งเกินอัตราจริง เป็นต้น
สาม สมยอม รู้เห็นเป็นใจ เพิกเฉย หรือละเว้นการกระทำในการที่ต้องปฏิบัติหรือรับผิดชอบตามหน้าที่ เช่น พนักงานสอบสวนรับสินบนเพื่อแปลงรูปคดีจากหนักให้เป็นเบา หรือทำหลักฐานในอ่อนเพื่อให้อัยการสั่งไม่ฟ้อง หรือเพื่อให้ศาลยกฟ้องผู้กระทำผิด
สี่ ยักยอก เบียดบังซึ่งทรัพย์สินของทางราชการ เช่น การยักยอกเงินค่าอากรแสตมป์ โดยนำเอาอากรแสตมป์ที่ใช้แล้วมาใช้อีก
ห้า ปลอมแปลง หรือการกระทำใดๆ อันเป็นเท็จ เช่น เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านการเงินของสำนักงานที่ดินทำการปลอมแปลงลายมือเจ้าหน้าที่เพื่อยักยอกเงินค่าธรรมเนียมที่ดินและเงินมัดจำรังวัด
หก มีผลประโยชน์ร่วมในกิจการบางประเภทที่สามารถใช้อำนาจหน้าที่ของตนบันดาลประโยชน์ได้ เช่น การรับเงินค่านายหน้าเมื่อมีการจัดซื้อของใช้ในราชการ โดยมีเงื่อนไขเพียงขอให้ซื้อของที่ร้านนั้นๆ
เจ็ด การสมยอมเสนอราคา หรือการฮั้ว เพื่อกำหนดราคาอันเป็นการเอาเปรียบรัฐ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันอย่างแท้จริงทำให้รัฐเสียประโยชน์
นอกจากนี้ Heidenheimer ได้จำแนกรูปแบบการเกิดทุจริตออกเป็นเกณฑ์ของสีที่สะท้อนความอดทนของสังคม ต่อการกระทำต่างๆที่ส่อไปในทางทุจริต[5] ได้แก่
การทุจริตสีดำ (Black corruption) หมายถึง การเห็นพ้องต้องกัน ที่เป็นฉันทามติที่เกิดขึ้นระหว่างชนนั้นและมวลชน ที่เห็นว่าการกระทำนั้นควรตำหนิ ติเตียน และควรได้รับการลงโทษ
การทุจริตสีเทา (Gray corruption)หมายถึง การที่ความเห็นส่วนหนึ่งของชนชั้นนำเห็นว่าต้องได้การลงโทษ ส่วนอีกส่วนหนึ่งมีความเห็นต่างกันออกไป ทำให้ส่วนใหญ่ความคิดเห็นที่เกิดขึ้นมักจะไม่ชัดเจนเช่น การให้ค่าน้ำชา การให้ค่านายหน้า การกระทำเหล่านี้สามารถลดหย่อนการใช้กฎระเบียบไปได้
การทุจริตสีขาว (White corruption)หมายถึง การที่ชนชั้นนำและมวลชน เห็นว่าเป็นการทุจริตที่ไม่ร้ายแรงมากนัก สามารถยอมรับการกระทำนั้นได้ ทำให้ไม่มีความพยายามที่จะดำเนินการลงโทษ การละเลยของสังคม ที่ถือเอาการยอมรับของสังคมในลักษณะนี้ จะทำให้การทุจริตคอรัปชั่นสามารถเข้ามาแทรกซึมในสังคม จนเป็นเรื่องปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่การฝังรากลึกในสังคมที่มิอาจแก้ไขได้ โดยส่วนใหญ่การรับผลประโยชน์จะอิงเรื่องขนบธรรมเนียม ประเพณี คือการได้มาแบบไม่ได้ร้องขอ เรียกว่าการแสดงน้ำใจ เช่น เป็นเจ้าภาพงานกุศลของผู้มีอำนาจ
สาเหตุของการทุจริตคอรัปชั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่น นั่นคือ การใช้อำนาจ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่เป็นที่ต้องการของมนุษย์ โดยเฉพาะ นักการเมือง ข้าราชการ เมื่อมีอำนาจจากการได้รับตำแหน่งแล้ว จึงเป็นหนทางนำไปสู่การแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ให้ตนเองและครอบครัวมีความร่ำรวย หรือได้ผลตอบแทนตามที่ตนต้องการ โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าเป็นการได้มาโดยสุจริตหรือไม่
Lord Acton กล่าวว่า เมื่อมีอำนาจก็มักอยากจะให้อำนาจไปในทางที่ผิด และเมื่อมีอำนาจมาก ก็ยิ่งใช้อำนาจไปในทางที่ผิดมากขึ้น (Power tends to corrupt and absolute power corrupt absolutely) [6]นอกจากอำนาจจะเป็นกลไกสำคัญในการก่อให้เกิดการทุจริตแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลให้เกิดการทุจริตด้วยเช่นกัน ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้ระบบทุจริตคอรัปชั่นมีโครงสร้างรากฐานอันแข็งแกร่งและดำรงอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
หนึ่ง ระบบการเมืองและระบบราชการมีเกราะกำบังที่แน่นหนา
สอง ภาคประชาชนขาดความเข้มแข็งและขาดผู้นำในการต่อต้าน
สาม ค่านิยมที่เป็นอุปสรรคฝังรากลึกในสังคม ค่านิยมของคนในสังคมที่เป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมคอรัปชั่น เช่น ค่านิยมในสังคมอุปถัมภ์
สี่ การขาดจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ซึ่งปัจจุบันคนในสังคมยังขาดอุดมการณ์และขาดจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม
ทิพาวดี เมฆสวรรค์ กล่าวว่า Robert Kligaardคณบดีของ Rand Graduate School, California ได้คิดสูตรอธิบายการเกิดพฤติกรรมคอรัปชั่นไว้ว่า การทุจริตคอรัปชั่นจะเกิดขึ้นเมื่อมีการผูกขาด (Monopoly) หรือรวบอำนาจไว้ที่แหล่งเดียว ประกอบกับว่า การตัดสินใจใดๆขึ้นอยู่กับการใช้ดุลพินิจ (Discretion) ของผู้มีอำนาจนั้นๆเป็นสำคัญ ดังนั้นหากมีมูลค่ารวมของการผูกขาดและการเปิดโอกาสให้ใช้ดุลพินิจมากกว่าความรับผิดชอบตรวจสอบได้ (Accountability) โอกาสการทุจริต ไม่โปร่งใสก็จะมีมากขึ้น[7]
Co = M + D –A
Corruption = Monopoly + Discretion –Accountability
การทุจริต = อำนาจผูกขาด + ดุลพินิจ – ความรับผิดชอบ
อย่างไรก็ดี นักวิชาการหลายท่าน ได้มีการจำแนกปัจจัยที่นำไปสู่การทุจริตคอรัปชั่นไว้ 2 ปัจจัย ได้แก่
1. ปัจจัยภายใน ที่อยู่ในใจหรือในตัวบุคคล มีองค์ประกอบด้วยกัน 4 ประการ ได้แก่ โอกาส สิ่งจูงใจ การเสี่ยงภัย ความซื่อสัตย์ เช่น โอกาส ที่มีการเปิดโอกาสให้ทุจริตก็ควรจะทุจริต สิ่งจูงใจที่อยู่ในลักษณะของเงิน หรือสิ่งตอบแทนอื่นๆ การขาดคุณธรรมความซื่อสัตย์ ซึ่งปัจจัยภายในที่เกิดจากตัวบุคคลนั้น เราสามารถรับรู้ได้ว่าการทุจริตนั้นจะมาในลักษณะของผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest)
2. ปัจจัยภายนอก ด้านเศรษฐกิจ เกิดขึ้นเพราะค่าครองชีพที่สูงขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้จำนวนเงินที่เป็นค่าตอบแทนในการทำงาน (เงินเดือน) มีไม่พอกับความต้องการใช้ในแต่ละเดือน รวมไปถึงความต้องการที่ไม่สิ้นสุด ด้านการเมือง เป็นการใช้เงินในการหาเสียง จึงจำเป็นที่จะต้องถอนทุนคืนเมื่อไรรับตำแหน่ง ด้านการบริหารของรัฐที่ขาดประสิทธิภาพ ขาดการควบคุมดูแลในการทำงาน หย่อนกฎระเบียบ จนเป็นช่องทางที่เปิดโอกาสให้มีการทุจริตเกิดขึ้น ตำแหน่งที่เอื้อต่อการทุจริต รวมไปถึงการอยู่ใต้อิทธิพลของบุคคลที่ทุจริต[8]
การทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[9]
การทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
1) ลักษณะการทุจริตที่จากตัวบุคคล
1.1 การทุจริตของบุคคล โดยเฉพาะผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบของการใช้ตำแหน่งในการแสวงหาผลประโยชน์ มีญาติหรือพวกพ้องมาเป็นผู้รับเหมาการจัดซื้อจัดจ้างที่มีการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มของตน รวมถึงการเก็บรายได้แล้วไม่ส่งคลัง พร้อมทั้งมีการแก้ไขหลักฐานการเงิน เป็นต้น
1.2 การทุจริตที่เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจและขาดคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน ซึ่งหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด มีพนักงานท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถที่ไม่ตรงกับงาน หรือไม่มีความรู้เฉพาะด้านดีพอ ก็จะทำให้การปฏิบัติงานแต่ละครั้งอาจนำไปสู่ความผิดพลาดได้ง่าย และยังยังส่อไปในทางทุจริตอีกด้วย
1.3 การทุจริตที่เกิดจากอำนาจ บารมี อิทธิพล พบว่าในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่ง มีการครอบงำของอำนาจ อิทธิพลทางการเมืองของผู้บริหารท้องถิ่นอยู่เยอะ จึงทำให้เกิดการทุจริตได้ง่าย และยากต่อการตรวจสอบการใช้อำนาจโดยไม่ชอบนี้ และส่วนสำคัญอีกประการคือการวัฒนธรรมของสังคมไทยได้หยั่งรากลึกลงไปในสังคม เช่น การสำนึกบุญคุณผู้มีพระคุณ ความเกรงกลัวอิทธิพลของผู้มีบารมี ส่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นช่องทางให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีโอกาสใช้อำนาจหน้าที่การงานในการแสวงหาผลประโยชน์
2) ลักษณะการทุจริตที่เกิดจากการบริหารงานและองค์การ
2.1 การทุจริตที่เกิดจากขาดการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ เป็นการปิดบังข้อมูลทั้งทางด้านการเงิน งบประมาณ ช่องทางการสื่อสารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง จึงทำให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปได้ง่าย ไม่มีผู้ตรวจสอบ
2.2 การทุจริตที่เกิดจากการบริหารด้านงบประมาณ การทำบัญชี การจัดซื้อจัดจ้างและการเงินการคลัง สาเหตุมาจากการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอ้างว่าไม่ทราบเรื่องการจัดทำ จัดซื้อจัดจ้าง โดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง การไม่ทำทะเบียนยืมเงิน ไม่ทำบัญชีคุมรายรับรายจ่ายที่เป็นปัจจุบัน ไม่มีการทำหลักฐานการเบิกเงิน ไม่มีการตั้งประชาชนเข้ามาตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง เรื่องต่างๆเหล่านี้เป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการทุจริตแทบทั้งสิ้น
3) ลักษณะการทุจริตที่เกิดจากการตรวจสอบและกฎระเบียบ
3.1 การทุจริตที่เกิดจากช่องว่างของกฎระเบียบและกฎหมาย พบว่าในกรณีที่กำหนดให้ผู้บริหารท้องถิ่นสามารถดำรงตำแหน่งได้ 4 ปีนั้น เป็นการเปิดช่องว่างให้เกิดการทุจริตมากขึ้น เพราะหากสมาชิกสภาท้องถิ่นกับผู้บริหารท้องถิ่น เป็นพวกพ้องกัน ก็เป็นช่องว่างในการทุจริตได้ เพราะขาดซึ่งการถ่วงดุลอำนาจที่เข้มแข็ง
3.2 การทุจริตที่เกิดจากตรวจสอบขาดความหลากหลายในการตรวจสอบจากภาคส่วนต่างๆ แบ่งได้เป็น
ก) ภายนอกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการตรวจสอบจากคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการป้องกันและปรามปรามทุจริตแห่งชาติ และมีจำนวนคนไม่เพียงพอในการตรวจสอบในทุกพื้นที่ เป็นเพียงการสุ่มตัวอย่างเท่านั้น จึงทำให้เกิดความไม่หลากหลายและไม่ทั่วถึง
มาตรการป้องกันและแก้ไขการทุจริตคอรัปชั่น
จากปัญหาการคอรัปชั่นที่กล่าวมาข้างต้น สามารถป้องกันและแก้ไขได้ จำเป็นต้องอาศัยการดำเนินของหลายๆฝ่ายเป็นสำคัญ ทางภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาชน รวมถึงองค์กรที่มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐด้วย ทั้งนี้ มาตรการแก้ไขปัญหาสามารถแยกได้เป็น 3 ด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 ปรับปรุงโครงสร้างภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งด้านงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง เสนอให้มีการแต่งตั้งประชาชนเข้ามาเป็นคณะกรรมการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะในขั้นตอนการตรวจรับงาน รวมไปถึงการหมุนเวียนเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาดำเนินการเรื่องจัดซื้อจัดจ้างนี้ เพื่อป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับคู่ผู้ขายมากจนเกินไป และการบริหารบุคลากร ให้มีการลดอำนาจผู้บริหารท้องถิ่น โดยแบ่งอำนาจการบริหารบุคคลออกเป็น 2 ระดับ กล่าวคือ ให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจในการบริหารระดับปลัดท้องถิ่น รองปลัดท้องถิ่น และหัวหน้าหน่วยต่างๆ นอกจากนั้นเป็นอำนาจการบริหารงานบุคคลของปลัดท้องถิ่น นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องมีการเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีวุฒิการศึกษาและความรู้ความสามารถตรงกับงานที่ทำ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการทุจริตได้
ด้านที่ '2ความร่วมมือจากภาคประชาชน เช่น การให้ประชาชนรับรู้ข่าวสาร เสริมสร้างบทบาทของภาคประชาชนในการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการจัดให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องกฎระเบียบที่ท้องถิ่นดำเนินการ หรือ ให้มีการจัดทำคู่มือประชาชนมอบให้ประชาชนที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ซึ่งคู่มือต้องมีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย เนื้อหาที่ชัดเจน จะทำให้การตรวจสอบภาคประชาชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ด้านที่ '3 ปรับปรุงโครงสร้างภายนอกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ปรับปรุงบทบาทของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ให้มีการเพิ่มกำลังคนในการตรวจสอบ รวมถึงการประสานงานกับองค์กรที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลท้องถิ่นเพื่อแสวงหาแนวทางในการตรวจสอบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน[10]
องค์กรที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการป้องการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1) การตรวจสอบองค์กรผู้มีอำนาจในการกำกับดูแล
1.1 กระทรวงมหาดไทย ผ่านการใช้อำนาจตามกฎหมายในการแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือการใช้อำนาจลงโทษทางวินัยต่อเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น การให้ความเห็นชอบ การอนุมัติ อนุญาต เพิกถอน ระงับยับยั้ง สั่งการยกเลิกการกระทำที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย ในงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคุมการออกกฎ ระเบียบต่างๆ รวมไปถึงการชี้แจง การกำหนดมาตรฐานต่างๆในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยึดถือปฏิบัติ[11]
1.2 ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่มีฐานะในการกำกับดูแล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล หรือเทศบาลเมือง
1.3 นายอำเภอ ที่มีฐานะในการกำกับดูแลเทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล[12]
2) การตรวจสอบองค์กรที่มีบทบาทในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
2.1 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สิน ตรวจสอบการกระทำอันเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วย ความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ และทำการตรวจสอบในกรณีที่มีผู้กล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
2.2 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ทำหน้าที่ตรวจสอบดูแลการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบถึงความชอบด้วยกฎหมายและตรวจสอบถึงความมีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินทั้งในส่วนที่เป็นงบประมาณและรายได้จากส่วนอื่นๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.3 ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงในกรณีที่มีคำร้องเรียนว่า ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหรือปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม
2.4 สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกกล่าวหาว่า กระทำฐานทุจริตต่อหน้าที่อาจถูกดำเนินการตามกฎหมายฟอกเงิน[13]
3) การตรวจสอบจากภาคประชาชน โดยประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิในการมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายได้รับรองสิทธิไว้ ซึ่งการใช้สิทธิของประชาชนจะเป็นการช่วยให้เกิดการตรวจสอบการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทางหนึ่ง โดยกลไกการตรวจสอบจะประกอบไปด้วย การเข้าชื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการ หรือการดำเนินการต่างๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการควบคุมโดยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร[14]
โดยสรุป ในประเทศไทยยังมีการทุจริตคอรัปชั่นอยู่มาก และมีแนมโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้สถาบันการเงินและภาพรวมของประเทศมีความน่าเชื่อถือที่ลดลง ปัญหาทุจริตคอรัปชั่นนั้นไม่ได้เกิดเฉพาะในระดับประเทศ ในระดับการปกครองส่วนท้องถิ่นก็มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่นเช่นเดียวกัน ซึ่งปัจจัยสำคัญส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดปัญหานี้คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์สาธารณะ ที่เราเรียกกันว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) ที่สะท้อนให้เห็นในลักษณะของระบบเครือญาติ พวกพ้อง หรือระบบอุปถัมภ์ เกิดการทุจริตคอรัปชั่นในรูปแบบต่างๆขึ้นมากมาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นการคอรัปชั่นอย่างหนึ่ง เป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้เกิดกันและกัน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น สามารถป้องกันและแก้ไขได้ และจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งองค์กรต่างๆ ภาคประชาชน รวมถึงสังคมที่จำเป็นต้องมีความตระหนักถึงปัญหาและสาเหตุที่มาจากค่านิยมต่างๆ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน หากแต่สังคมยังมีแนวคิดหรือทัศนคติแบบเดิมๆ ก็ไม่สามารถจะป้องกันหรือแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้ ถึงแม้จะมีมาตรการหรือวิธีการที่ดีอยู่ก็ตาม
บรรณานุกรม
โกวิทย์ พวงงาม. “การทุจริตคอรัปชั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรการและกลไกการป้องกัน.” http://kpi.ac.th/media/pdf/M7_122.pdf(สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2559).
คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน. คู่มือประชาชน ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551.
จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์. “ แนวโน้มของคอรัปชั่นในประเทศไทย.” รัฐสภา. 2556.
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. นักการเมืองไทย : จริยธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน การคอรัปชั่น สภาพปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ แนวทางแก้ไข. ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สายธาร, 2553.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. “การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.” วารสารวิชาการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ปีที่ 6, ฉบับที่ 1 (2556): 149-155.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. คู่มือประชาชนต้านการทุจริต(ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1). พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์, 2545.
สุพรรณี ไชยอำพร และ สิรินทิพย์ อรุณเรื่อ. “รูปแบบและกระบวนการคอรัปชั่นในการก'่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ'.” วารสารพัฒนาสังคม เล่ม 8, ฉบับ 1 (2549): 194-195.
Roberta Ann Johnson. The Struggle Against Corruption: A Comparative Study. 1sted. New York: palgravemacmillan. 2004.
[1]คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน, คู่มือประชาชนตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ, (กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2551), 29.
[2]จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์, “แนวโน้มของคอรัปชั่นในประเทศไทย,” รัฐสภา, (2556): 2-1.
[3] ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, นักการเมืองไทย : จริยธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน การคอรัปชั่น สภาพปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ แนวทางแก้ไข, ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: สายธาร, 2553), 142-143.
[4] สรุปความจาก สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, คู่มือประชาชนต้านการทุจริต (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1), พิมพ์ครั้งที่ 5, (กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์, 2545), 40.
[5]Roberta Ann Johnson, The Struggle Against Corruption: A Comparative Study, 1st ed., (New York: palgravemacmillan, 2004), 2.
[6]สุพรรณี ไชยอำพร และ สิรินทิพย์ อรุณเรื่อ, “รูปแบบและกระบวนการคอรัปชั่นในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ,” วารสารพัฒนาสังคม เล่ม 8, ฉบับ 1 (2549): 194-195.
[7] อ้างแล้วเชิงอรรถที่ '1, 2-9.
[8] อ้างแล้วเชิงอรรถที่ '4, 39.
[9] สรุปความจาก โกวิทย์ พวงงาม, “การทุจริตคอรัปชั่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรการและกลไกการป้องกัน,” http://kpi.ac.th/media/pdf/M7_122.pdf(สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2559), 5-8.
[10] อ่านเพิ่มเติมได้ที่ สมคิด เลิศไพฑูรย์และคณะ, “การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,” วารสารวิชาการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ ปีที่ 6, ฉบับที่ 1 (2556): 149-155.
[11]เพิ่งอ้าง, 139.
[12] อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ '1, 47.
[13] อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ '1, 49.
[14] อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ '10, 139.