ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นายทวี บุณยเกตุ"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
<u>'''นายทวี บุณยเกตุ'''</u>[[#_ftn1|[1]]] | <u>'''นายทวี บุณยเกตุ'''</u>[[#_ftn1|[1]]] | ||
“นายกรัฐมนตรีของไทย” เป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ในการขับเคลื่อน[[การบริหารราชการแผ่นดิน]]ในภาคส่วนต่าง ๆ [[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]]จึงเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่งที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเพียง 17 วัน เท่านั้น นั่นคือ “นายทวี บุณยเกตุ” เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ท่านได้รับฉายาว่า “[[นายกฯ_17_วัน]]” และ “[[นายกฯ_ขัดตาทัพ]]” เนื่องจากเป็นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างที่รอคอยการเดินทางมาถึงของ[[หม่อมราชวงศ์เสนีย์_ปราโมช]] เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมีเป้าหมายหลักในการเจรจาต่อรองกับประเทศ[[ฝ่ายสัมพันธมิตร]] หลังสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่_2]] นอกจากนี้ นายทวี บุณยเกตุ ยังมีบทบาทสำคัญตั้งแต่ช่วง[[เปลี่ยนแปลงการปกครอง_พ.ศ._2475]] เป็นต้นมา และเป็นหนึ่งใน “[[คณะราษฎรสายพลเรือน]]” | “นายกรัฐมนตรีของไทย” เป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ในการขับเคลื่อน[[การบริหารราชการแผ่นดิน|การบริหารราชการแผ่นดิน]]ในภาคส่วนต่าง ๆ [[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]]จึงเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่งที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเพียง 17 วัน เท่านั้น นั่นคือ “นายทวี บุณยเกตุ” เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ท่านได้รับฉายาว่า “[[นายกฯ_17_วัน|นายกฯ 17 วัน]]” และ “[[นายกฯ_ขัดตาทัพ|นายกฯ_ขัดตาทัพ]]” เนื่องจากเป็นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างที่รอคอยการเดินทางมาถึงของ[[หม่อมราชวงศ์เสนีย์_ปราโมช|หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมีเป้าหมายหลักในการเจรจาต่อรองกับประเทศ[[ฝ่ายสัมพันธมิตร|ฝ่ายสัมพันธมิตร]] หลังสิ้นสุด[[สงครามโลกครั้งที่_2|สงครามโลกครั้งที่ 2]] นอกจากนี้ นายทวี บุณยเกตุ ยังมีบทบาทสำคัญตั้งแต่ช่วง[[เปลี่ยนแปลงการปกครอง_พ.ศ._2475|เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475]] เป็นต้นมา และเป็นหนึ่งใน “[[คณะราษฎรสายพลเรือน|คณะราษฎรสายพลเรือน]]” | ||
'''<u>ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว</u>''' | '''<u>ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว</u>''' | ||
บรรทัดที่ 20: | บรรทัดที่ 20: | ||
'''<u>หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ</u>''' | '''<u>หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ</u>''' | ||
''' นายทวี บุณยเกตุ เริ่มรับราชการครั้งแรกใน พ'''.ศ. 2471 ในตำแหน่งพนักงานบำรุงพันธุ์สัตว์ ชั้น 2 กรมเพาะปลูก กระทรวงเกษตราธิการ[[#_ftn6|[6]]] ใน พ.ศ. 2473 ได้เลื่อนขั้นเป็นพนักงานบำรุงพันธุ์สัตว์ ชั้น 1 ต่อมาใน พ.ศ. 2474 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการบำรุงพันธุ์สัตว์ อำเภอท่าพระ จังหวัดขอนแก่น ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2475 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยหัวหน้าชั้น 1 กรมสหกรณ์ ต่อมาใน พ.ศ. 2476 | ''' นายทวี บุณยเกตุ เริ่มรับราชการครั้งแรกใน พ'''.ศ. 2471 ในตำแหน่งพนักงานบำรุงพันธุ์สัตว์ ชั้น 2 กรมเพาะปลูก กระทรวงเกษตราธิการ[[#_ftn6|[6]]] ใน พ.ศ. 2473 ได้เลื่อนขั้นเป็นพนักงานบำรุงพันธุ์สัตว์ ชั้น 1 ต่อมาใน พ.ศ. 2474 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการบำรุงพันธุ์สัตว์ อำเภอท่าพระ จังหวัดขอนแก่น ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2475 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยหัวหน้าชั้น 1 กรมสหกรณ์ ต่อมาใน พ.ศ. 2476 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงเกษตราธิการ]] ใน พ.ศ. 2478 เป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมประมง ในปี พ.ศ. 2482 เป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ก่อนจะขยับขึ้นมาเป็นรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในปีเดียวกัน ถัดมาใน พ.ศ. 2483 ดำรงตำแหน่ง “เลขาธิการคณะรัฐมนตรี” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี[[#_ftn7|[7]]] ต่อมาใน พ.ศ. 2488 นายทวี บุณยเกตุ ได้ดำรงตำแหน่ง “อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” นับว่าเป็นอธิการบดีคนที่ 2 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[[#_ftn8|[8]]] | ||
สำหรับตำแหน่งทางการเมืองนั้น นายทวี บุณยเกตุ เริ่มต้นภายหลัง[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง_24_มิถุนายน_2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]] โดยนายทวี บุณยเกตุ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ “คณะราษฎรสายพลเรือน” ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านพ้นไป | สำหรับตำแหน่งทางการเมืองนั้น นายทวี บุณยเกตุ เริ่มต้นภายหลัง[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง_24_มิถุนายน_2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]] โดยนายทวี บุณยเกตุ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ “คณะราษฎรสายพลเรือน” ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านพ้นไป ได้มีการตั้ง[[สภาผู้แทนราษฎร]] ซึ่งนายทวี บุณยเกตุ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดแรก เมื่อวันที่ [[28_มิถุนายน_พ.ศ._2475]] ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญฉบับถาวร_ในวันที่_10_ธันวาคม_พ.ศ._2475]] นายทวี บุณยเกตุได้รับแต่งตั้งให้เป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร_ประเภทสอง]] และอยู่ในตำแหน่งนี้เรื่อยมา จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2489[[#_ftn9|[9]]] ระหว่างนั้น ในช่วง พ.ศ. 2485 – 2486 ได้รับแต่งตั้งเป็น[[รัฐมนตรีลอย]] ในรัฐบาล[[แปลก_พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] ต่อมาเมื่อ[[ควง_อภัยวงศ์|นายควง อภัยวงศ์]] เป็นนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2487 นั้น นายทวี บุณยเกตุได้เข้าร่วมใน[[คณะรัฐมนตรี]]ด้วย โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นรัฐมนตรีสั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อมาเมื่อนายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เพื่อให้หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี. ซี. เดินทางกลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นบุคคลที่ฝ่ายสัมพันธมิตรไว้วางใจ[[#_ftn10|[10]]] | ||
ระหว่างที่รอให้หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เดินทางกลับมาถึงประเทศไทยนั้น นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ประกาศแต่งตั้งให้นายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เนื่องจากมีความรอบรู้เกี่ยวกับงานในคณะรัฐมนตรีมานาน และเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเสรีไทย ขณะที่นายควง อภัยวงศ์ ยังมีภาพที่ใกล้ชิดกับกองทัพญี่ปุ่นอยู่ และนายปรีดี พนมยงค์ เกรงข้อครหาเรื่องความต้องการเป็นนายกรัฐมนตรี[[#_ftn11|[11]]] แต่การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายทวี บุณยเกตุ เกิดขึ้นภายในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น และเมื่อหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เดินทางมาถึงประเทศไทย นายทวี บุณยเกตุ ได้ลาออกจากตำแหน่ง ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 โดยให้เหตุผลว่า “ภารกิจเร่งด่วนที่รัฐบาลคณะนี้พึงปฏิบัติได้สำเร็จลุล่วงไปแล้ว”[[#_ftn12|[12]]] เมื่อหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น นายทวี บุณยเกตุได้เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรี โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2489 เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี นายทวี บุณยเกตุ ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ และพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2489[[#_ftn13|[13]]] | ระหว่างที่รอให้หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เดินทางกลับมาถึงประเทศไทยนั้น นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ประกาศแต่งตั้งให้นายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เนื่องจากมีความรอบรู้เกี่ยวกับงานในคณะรัฐมนตรีมานาน และเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเสรีไทย ขณะที่นายควง อภัยวงศ์ ยังมีภาพที่ใกล้ชิดกับกองทัพญี่ปุ่นอยู่ และนายปรีดี พนมยงค์ เกรงข้อครหาเรื่องความต้องการเป็นนายกรัฐมนตรี[[#_ftn11|[11]]] แต่การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายทวี บุณยเกตุ เกิดขึ้นภายในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น และเมื่อหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เดินทางมาถึงประเทศไทย นายทวี บุณยเกตุ ได้ลาออกจากตำแหน่ง ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 โดยให้เหตุผลว่า “ภารกิจเร่งด่วนที่รัฐบาลคณะนี้พึงปฏิบัติได้สำเร็จลุล่วงไปแล้ว”[[#_ftn12|[12]]] เมื่อหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น นายทวี บุณยเกตุได้เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรี โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2489 เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี นายทวี บุณยเกตุ ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ และพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2489[[#_ftn13|[13]]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:58, 2 เมษายน 2561
ผู้เรียบเรียง : ผศ.ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
“การจัดตั้งรัฐบาลนี้ ได้กระทำในระหว่าง
หัวเลี้ยวแห่งสงครามกับสันติภาพ จึงมีภารกิจมากหลาย
ซึ่งจะต้องรีบปฏิบัติโดยด่วน เพื่อให้ทันกับสถานการณ์
และสอดคล้องเหมาะสมในอันที่จะดำเนินการเจรา
กับฝ่ายสหประชาชาติต่อไป”
นายทวี บุณยเกตุ[1]
“นายกรัฐมนตรีของไทย” เป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดินในภาคส่วนต่าง ๆ นายกรัฐมนตรีจึงเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย มีนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่งที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งเพียง 17 วัน เท่านั้น นั่นคือ “นายทวี บุณยเกตุ” เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ท่านได้รับฉายาว่า “นายกฯ 17 วัน” และ “นายกฯ_ขัดตาทัพ” เนื่องจากเป็นการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในระหว่างที่รอคอยการเดินทางมาถึงของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมีเป้าหมายหลักในการเจรจาต่อรองกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้ นายทวี บุณยเกตุ ยังมีบทบาทสำคัญตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา และเป็นหนึ่งใน “คณะราษฎรสายพลเรือน”
ประวัติการศึกษาและชีวิตครอบครัว
นายทวี บุณยเกตุ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 ที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นบุตรของพระยารณชัยชาญยุทธ (ถนอม บุณยเกตุ) และคุณหญิงรณชัยชาณยุทธ (ทับทิม บุณยเกตุ นามสกุลเดิมคือ ศรีเพ็ญ)[2] นายทวี บุณยเกตุ ได้รับการศึกษาเบื้องต้นในโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี ก่อนจะเข้ามาศึกษาต่อในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2456 ต่อมาได้ย้ายไปเป็นนักเรียนประจำในโรงเรียนราชวิทยาลัย ในช่วง พ.ศ. 2457 – 2460 กระทั่งสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7[3]
เมื่อสำเร็จการศึกษาในประเทศไทยแล้ว นายทวี บุณยเกตุ ได้เดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ โดยในช่วง พ.ศ. 2464 – 2466 ได้เข้าศึกษาใน Ongar Grammar School (Essex) และ King’s College ประเทศอังกฤษ ต่อมาใน พ.ศ. 2466 ได้ย้ายไปศึกษาใน Ecole Superieure d’Agriculture et de Viticeelture d’Angers ประเทศฝรั่งเศส และต่อมาได้ศึกษาวิชากสิกรรม ใน Universitaire de’l Guest ประเทศฝรั่งเศส และสำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2471[4]
นายทวี บุณยเกตุ สมรสกับนางอำภาศรี บุณยเกตุ ธิดาของพระยาวิทยาปรีชามาตย์ (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2476 มีบุตร – ธิดา ทั้งสิ้น 2 คน คือ นายวีระวัฒน์ บุณยเกตุ และนางสาวภัทรฤดี บุณยเกตุ นายทวี บุณยเกตุ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 เวลา 23.20 น. สิริรวมอายุ 67 ปี[5]
หน้าที่การงานและตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญ
นายทวี บุณยเกตุ เริ่มรับราชการครั้งแรกใน พ.ศ. 2471 ในตำแหน่งพนักงานบำรุงพันธุ์สัตว์ ชั้น 2 กรมเพาะปลูก กระทรวงเกษตราธิการ[6] ใน พ.ศ. 2473 ได้เลื่อนขั้นเป็นพนักงานบำรุงพันธุ์สัตว์ ชั้น 1 ต่อมาใน พ.ศ. 2474 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการบำรุงพันธุ์สัตว์ อำเภอท่าพระ จังหวัดขอนแก่น ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2475 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยหัวหน้าชั้น 1 กรมสหกรณ์ ต่อมาใน พ.ศ. 2476 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ใน พ.ศ. 2478 เป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมประมง ในปี พ.ศ. 2482 เป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ก่อนจะขยับขึ้นมาเป็นรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในปีเดียวกัน ถัดมาใน พ.ศ. 2483 ดำรงตำแหน่ง “เลขาธิการคณะรัฐมนตรี” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี[7] ต่อมาใน พ.ศ. 2488 นายทวี บุณยเกตุ ได้ดำรงตำแหน่ง “อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” นับว่าเป็นอธิการบดีคนที่ 2 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[8]
สำหรับตำแหน่งทางการเมืองนั้น นายทวี บุณยเกตุ เริ่มต้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยนายทวี บุณยเกตุ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ “คณะราษฎรสายพลเรือน” ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านพ้นไป ได้มีการตั้งสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งนายทวี บุณยเกตุ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดแรก เมื่อวันที่ 28_มิถุนายน_พ.ศ._2475 ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร_ในวันที่_10_ธันวาคม_พ.ศ._2475 นายทวี บุณยเกตุได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร_ประเภทสอง และอยู่ในตำแหน่งนี้เรื่อยมา จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2489[9] ระหว่างนั้น ในช่วง พ.ศ. 2485 – 2486 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีลอย ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต่อมาเมื่อนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ใน พ.ศ. 2487 นั้น นายทวี บุณยเกตุได้เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรีด้วย โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นรัฐมนตรีสั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อมาเมื่อนายควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เพื่อให้หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี. ซี. เดินทางกลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นบุคคลที่ฝ่ายสัมพันธมิตรไว้วางใจ[10]
ระหว่างที่รอให้หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เดินทางกลับมาถึงประเทศไทยนั้น นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ประกาศแต่งตั้งให้นายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เนื่องจากมีความรอบรู้เกี่ยวกับงานในคณะรัฐมนตรีมานาน และเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเสรีไทย ขณะที่นายควง อภัยวงศ์ ยังมีภาพที่ใกล้ชิดกับกองทัพญี่ปุ่นอยู่ และนายปรีดี พนมยงค์ เกรงข้อครหาเรื่องความต้องการเป็นนายกรัฐมนตรี[11] แต่การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายทวี บุณยเกตุ เกิดขึ้นภายในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น และเมื่อหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เดินทางมาถึงประเทศไทย นายทวี บุณยเกตุ ได้ลาออกจากตำแหน่ง ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2488 โดยให้เหตุผลว่า “ภารกิจเร่งด่วนที่รัฐบาลคณะนี้พึงปฏิบัติได้สำเร็จลุล่วงไปแล้ว”[12] เมื่อหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น นายทวี บุณยเกตุได้เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรี โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2489 เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี นายทวี บุณยเกตุ ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ และพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2489[13]
ภายหลังเหตุการณ์การยึดอำนาจของนายทหารนำโดยพลโท ผิน ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ส่งผลให้นายทวี บุณยเกตุ ต้องลี้ภัยทางการเมืองไปที่ปีนัง และได้เดินทางกลับประเทศไทยอีกครั้ง ภายหลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 ส่งผลให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม หมดบทบาททางการเมืองลงอย่างถาวร[14] หลังจากที่นายทวี บุณยเกตุ เดินทางกลับมาประเทศไทยแล้วได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในปี พ.ศ. 2502 และต่อมาเมื่อพ.ศ. 2511 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ และสามารถเร่งรัดร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จในพ.ศ. 2511[15]
นอกจากนี้นายทวี บุณยเกตุ ยังได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ อาทิเช่น เป็นคณะกรรมการพิจารณาเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ ในสมัยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นคณะกรรมการเจรจาเพื่อแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้นายทวี บุณยเกตุ ยังเป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี สำหรับงานภาคเอกชน นายทวี บุณยเกตุ ได้เป็นที่ปรึกษาทั่วไปของบริษัท ข้าวไทย จำกัด ระหว่าง พ.ศ. 2484 – 2488 เป็นประธานกรรมการบริษัท ค้าวัตถุก่อสร้าง จำกัด ใน พ.ศ. 2508 เป็นนายกสมาคมอุตสาหกรรมไทย ใน พ.ศ. 2510 เป็นกรรมการในบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ระหว่าง พ.ศ. 2502 – 2514 และบริษัท เหล็กสยาม จำกัด ใน พ.ศ. 2509[16]
ผลงานที่สำคัญในทางการเมือง
ผลงานที่สำคัญในทางการเมืองของนายทวี บุณยเกตุ มีอยู่หลายด้าน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ผลงานในคณะราษฎร ผลงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ผลงานในช่วงที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และผลงานในการร่างรัฐธรรมนูญ
“ผลงานในคณะราษฎร” โดยในช่วงเวลาที่นายทวี บุณยเกตุ ศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น ได้รู้จักกับบรรดาสมาชิกผู้ก่อตั้งของคณะราษฎร อาทิเช่น ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี นายแนบ พหลโยธิน นายปรีดี พนมยงค์ เป็นต้น ส่งผลให้นายทวี บุณยเกตุ ได้ถูกชักจูงให้เข้าร่วมก่อการด้วย[17] นายทวี บุณยเกตุ ได้ชักนำมิตรสหายให้เข้าร่วมก่อการเพิ่มขึ้น มีนายจรูญ สืบแสง นายวิลาศ โอสถานนท์ นายเสงี่ยม สภานนท์ เป็นต้น[18] โดยนายทวี บุณยเกตุ ได้เข้าร่วมวางแผนกับกลุ่มผู้ก่อการในฐาน “สมาชิกประเภท ดี 1”[19] แม้ว่าในช่วงเวลาที่จะปฏิบัติการนั้น นายทวี บุณยเกตุ ต้องรับราชการอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น แต่ก็ได้ให้นายแนบ พหลโยธิน เป็นผู้แจ้งข่าวสารต่าง ๆ อยู่เป็นระยะ จนกระทั่งถึงวันปฏิบัติการ นายแนบ พหลโยธิน ได้โทรเลขไปนัดหมายกับนายทวี บุณยเกตุ ความว่า “ส่งเงินวันที่ 16 นี้”[20] ส่งผลให้นายทวี บุณยเกตุ เข้าใจว่าเป็นวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จึงได้อาสาเข้ามาราชการในส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร แต่เมื่อคณะราษฎรตกลงกันให้เป็นวันที่ 24 มิถุนายนนั้น นายทวี บุณยเกตุจึงต้องขอขยายเวลาราชการออกไปอีก 7 วัน[21] และเมื่อถึงวันที่ 24 มิถุนายน นายทวี บุณยเกตุ ได้รับมอบหมายให้ไปควบคุมตัวพระประยุทธอริยั่น ผู้บัญชาการกองรถรบ ซึ่งมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีกำลังรบสูง หากนำมาต่อต้านคณะราษฎร อาจส่งผลให้คณะราษฎรพ่ายแพ้ได้[22]
“ผลงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2” ในช่วงเวลาดังกล่าว นายทวี บุณยเกตุ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “เลขาธิการคณะรัฐมนตรี” ในช่วง พ.ศ. 2483 – 2486 และต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยสงคราม ทั้งสงครามอินโดจีน และสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งเต็มไปด้วยปัญหาต่าง ๆ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและกองทัพญี่ปุ่น เป็นต้น[23] บทบาทของเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในช่วงเวลาดังกล่าว จึงต้องประสานงานอย่างรอบด้าน ขณะเดียวกันส่งผลให้นายทวี บุณยเกตุ เกิดความไม่ลงรอยกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีอีกด้วย[24] ซึ่งความขัดแย้งนี้ปรากฏชัดเมื่อนายทวี บุณยเกตุ พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรเลือกให้เป็น “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” แต่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไม่ยอมลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ส่งผลให้นายทวี บุณยเกตุ ต้องลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว นอกจานี้ระหว่างสงครามกำลังดำเนินไป นายทวี บุณยเกตุ ยังได้เข้าร่วมกับ “ขบวนการเสรีไทย” และเป็นกำลังสำคัญคนหนึ่งในขบวนการอีกด้วย[25]
“ผลงานในช่วงที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี” แม้ว่านายทวี บุณยเกตุ จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพียง 17 วัน ซึ่งนายทวี บุณยเกตุ ได้แถลงเป็นนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนโยบายหลัก 4 ประการ คือ (1) ยึดหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (2) จะปฏิบัติตามพระบรมราชโองการประกาศสันติภาพ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (3) จะร่วมมือกับสหประชาชาติในทุกวิถีทาง และ (4) รักษาความสงบเรียบร้อยภายใน[26] นอกจากนี้รัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ มีผลงานที่สำคัญประการหนึ่ง คือการเปลี่ยนชื่อประเทศในภาษาอังกฤษ จากเดิมใช้คำว่า “Thailand” ให้เปลี่ยนกลับมาเป็น “Siam” และชื่อชนชาติ จากเดิมใช้คำว่า “Thai” ให้เปลี่ยนกลับมาเป็น “Siamese”[27] รัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ ยังมีบทบาทสำคัญในการเจรจาและให้การต้อนรับกับกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรที่เดินทางเข้ามาสำรวจความเสียหายภายหลังสงครามสิ้นสุดอีกด้วย[28]
“ผลงานในการร่างรัฐธรรมนูญ” ถือเป็นผลงานทางการเมืองที่สำคัญชิ้นสุดท้ายในชีวิตของนายทวี บุณยเกตุ โดยมีการแต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา ใน พ.ศ. 2502 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี นายทวี บุณยเกตุ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญด้วย ในครั้งแรกนั้น มีพลเอก สุทธิ์ สุทธิสารรณกร เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ จนกระทั่ง พลเอก สุทธิ์ สุทธิสารรณกร ได้ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2511 ส่งผลให้นายทวี บุณยเกตุ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้เลื่อนขึ้นเป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 และสามารถผลักดันให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญได้สำเร็จ เป็น “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511” ประกาศใช้ ณ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2511[29] มีจำนวนมาตราทั้งสิ้น 183 มาตรา นับว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่มีการจัดทำยาวนานที่สุดในประเทศไทย
บทบาทของนายทวี บุณยเกตุ นับได้ว่ามีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์การเมืองไทย โดยเฉพาะในฐานะนายกรัฐมนตรีในช่วงเปลี่ยนผ่านจากสงครามสู่สันติภาพ ส่งผลให้ท่านได้รับฉายาว่า “นายกฯ ขัดตาทัพ” และยังเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีระยะเวลาการดำตำแหน่งรวมสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย จึงได้รับฉายาอีกฉายาหนึ่งว่า “นายกฯ 17 วัน”[30]
บรรณานุกรม
กองบรรณาธิการฝ่ายการเมือง, ลึก ล้วง ลับ 28 นายกรัฐมนตรีไทย, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บุ๊คส์ทูยู, 2556).
กองบรรณาธิการมติชน, ตำนานรัฐบาลไทย, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2532).
ทวี บุณยเกตุ, พ่อสอนลูก ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายทวี บุณยเกตุ ม.ป.ช. ,ท.จ.ว.,ท.ม., (กรุงเทพฯ : ม.ป.พ., 2515).
นรนิติ เศรษฐบุตร, เกิดมาเป็นนายก, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554).
วรศักดิ์ จันทร์ภักดี, ส่งลูกรักฝากเมียขวัญ ตัวฉันไปคุ้มไทย: การประกวดรูปเขียนกับการโฆษณา'ชวนเชื่อในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2' , จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ , (ปีที่ 19 ฉบับที่ 19, มิถุนายน 2558 – พฤษภาคม 2559).
วิจิตร วิชัยสาร, รัฐบาลไทยสมัยนายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี (31 สิงหาคม – 16 กันยายน 2488), (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2516).
วีระ เลิศสมพร, ชื่อ ฉายา และสมญานามทางการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2545 เล่ม 1, (กรุงเทพฯ : พงษ์สวัสดิ์การพิมพ์, 2546).
เว็บไซต์
ทำเนียบอธิการบดี, เข้าถึงจาก <http://www.ku.ac.th/web2012/index.php?c=adms&m=linkmenu_th&time=&lang=thai&ip=1&id=177> เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2559.
[1] คำแถลงนโยบายของนายทวี บุณยเกตุ ต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2488 ที่มา วิจิตร วิชัยสาร, รัฐบาลไทยสมัยนายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี (31 สิงหาคม – 16 กันยายน 2488), (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2516), น. 77.
[2] วิจิตร วิชัยสาร, รัฐบาลไทยสมัยนายทวี บุณยเกตุ เป็นนายกรัฐมนตรี (31 สิงหาคม – 16 กันยายน 2488), (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2516), น. 6.
[3] ทวี บุณยเกตุ, พ่อสอนลูก ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ นายทวี บุณยเกตุ ม.ป.ช.,ท.จ.ว.,ท.ม., (กรุงเทพฯ : มปพ., 2515), น. (1).
[4] เพิ่งอ้าง.
[5] เพิ่งอ้าง, น. (4).
[6] กองบรรณาธิการมติชน, ตำนานรัฐบาลไทย, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2532), น. 31.
[7] ทวี บุณยเกตุ, อ้างแล้ว, น. (2).
[8] ทำเนียบอธิการบดี, เข้าถึงจาก http://www.ku.ac.th/web2012/index.php?c=adms&m=linkmenu_th&time=&lang=thai&ip=1&id=177 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2559.
[9] กองบรรณาธิการฝ่ายการเมือง, ลึก ล้วง ลับ 28 นายกรัฐมนตรีไทย, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บุ๊คส์ทูยู, 2556), น. 97-98.
[10] นรนิติ เศรษฐบุตร, เกิดมาเป็นนายก, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554), น. 97-98.
[11] วิจิตร วิชัยสาร, อ้างแล้ว, น. 32-34.
[12] นรนิติ เศรษฐบุตร, อ้างแล้ว, น. 94.
[13] ทวี บุณยเกตุ, อ้างแล้ว, น. (3).
[14] กองบรรณาธิการมติชน, อ้างแล้ว, น. 33.
[15] ทวี บุณยเกตุ, อ้างแล้ว, น. (4).
[16] เพิ่งอ้าง, (4) – (5).
[17] วิจิตร วิชัยสาร, อ้างแล้ว, น. 11.
[18] เพิ่งอ้าง, น. 14.
[19] เพิ่งอ้าง, น. 15.
[20] เพิ่งอ้าง, น. 16.
[21] เพิ่งอ้าง, น. 17.
[22] กองบรรณาธิการมติชน, อ้างแล้ว, น. 31.
[23] วรศักดิ์ จันทร์ภักดี, ส่งลูกรักฝากเมียขวัญ ตัวฉันไปคุ้มไทย: การประกวดรูปเขียนกับการโฆษณาชวนเชื่อในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 , จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ , (ปีที่ 19 ฉบับที่ 19, มิถุนายน 2558 – พฤษภาคม 2559), น. 71-75.
[24] กองบรรณาธิการมติชน, อ้างแล้ว, น. 31.
[25] เพิ่งอ้าง.
[26] นรนิติ เศรษฐบุตร, อ้างแล้ว, น. 92-93.
[27] เพิ่งอ้าง, น. 94.
[28] วิจิตร วิชัยสาร, อ้างแล้ว, น. 46-56.
[29] ทวี บุณยเกตุ, อ้างแล้ว, น. (4).
[30] วีระ เลิศสมพร, ชื่อ ฉายา และสมญานามทางการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2545 เล่ม 1, (กรุงเทพฯ : พงษ์สวัสดิ์การพิมพ์, 2546), น. 50-51.