ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัชทายาท"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
== รัชทายาท ==
== รัชทายาท ==


          พระรัชทายาทตามที่ ''กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์'' ระบุไว้คือ “เจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์ พระองค์ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สมมตขึ้น เพื่อเปนผู้ทรงสืบราชสันตติวงศ์สนองพระองค์ต่อไป”[[#_ftn1|[1]]] ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณเป็นพระรัชทายาท มีพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515
          พระรัชทายาทตามที่ ''กฎมณเฑียรบาลว่าด้วย[[การสืบราชสันตติวงศ์]]'' ระบุไว้คือ “เจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์ พระองค์ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สมมตขึ้น เพื่อเปนผู้ทรงสืบราชสันตติวงศ์สนองพระองค์ต่อไป”[[#_ftn1|[1]]] ในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]]ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา[[สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ_เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ]]เป็นพระรัชทายาท มีพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515


 
 
บรรทัดที่ 14: บรรทัดที่ 14:
== ตำแหน่งพระมหาอุปราช ==
== ตำแหน่งพระมหาอุปราช ==


          ก่อนที่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะกำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 25 แนวคิดเรื่องรัชทายาทไม่ปรากฏชัดเจน การปราบดาภิเษกเพื่อพิสูจน์บารมีของการจะได้เป็นกษัตริย์หรือพระจักรพรรดิราชพระองค์ใหม่โดยไม่ต้องเน้นความสืบเนื่องของราชวงศ์ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ กฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยาก็ไม่ได้วางลำดับพระราชวงศ์ที่จะสืบราชสมบัติไว้ มีเพียงการลำดับหลั่นชั้นยศศักดิ์ของพระราชวงศ์เท่านั้น การกำหนดตำแหน่งรัชทายาทเพิ่งปรากฏขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีการวางกฎเกณฑ์อันแน่นอนเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์เป็นลายลักษณ์อักษรในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
          ก่อนที่รัฐ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]]จะกำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 25 แนวคิดเรื่องรัชทายาทไม่ปรากฏชัดเจน การปราบดาภิเษกเพื่อพิสูจน์บารมีของการจะได้เป็นกษัตริย์หรือพระจักรพรรดิราชพระองค์ใหม่โดยไม่ต้องเน้นความสืบเนื่องของราชวงศ์ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ [[กฎมณเฑียรบาล_(โดม_ไกรปกรณ์)|กฎมณเฑียรบาล]]สมัยอยุธยาก็ไม่ได้วางลำดับพระราชวงศ์ที่จะสืบราชสมบัติไว้ มีเพียงการลำดับหลั่นชั้นยศศักดิ์ของพระราชวงศ์เท่านั้น การกำหนดตำแหน่งรัชทายาทเพิ่งปรากฏขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และมีการวางกฎเกณฑ์อันแน่นอนเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์เป็นลายลักษณ์อักษรในปลายรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]


          พระมหาอุปราชเป็นตำแหน่งสำคัญก่อนที่จะมีการกำหนดตำแหน่งรัชทายาทขึ้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพมีพระวินิจฉัยเทียบตำแหน่งนี้เข้ากับรัชทายาท[[#_ftn2|[2]]] แต่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงมีพระวินิจฉัยต่างไปว่าไม่น่าจะเทียบกันได้[[#_ftn3|[3]]] ตำแหน่งนี้ปรากฏอย่างช้าในสมัยอยุธยาตอนกลาง เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตรากฎหมายใหม่ขึ้น คือใน ''กฎมนเทียรบาล'' ระบุว่าเป็นสกุลยศสำหรับพระราชโอรสที่ประสูติจากแม่หยัวเมือง ส่วนใน ''พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน'' กำหนดให้พระมหาอุปราชซึ่งได้รับสถาปนามาจากสมเด็จพระอนุชาธิราชหรือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงศักดินา 100,000 เหนือตำแหน่งอื่นๆ ทั้งปวง[[#_ftn4|[4]]]
          พระมหาอุปราชเป็นตำแหน่งสำคัญก่อนที่จะมีการกำหนดตำแหน่งรัชทายาทขึ้น [[สมเด็จฯ_กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]มีพระวินิจฉัยเทียบตำแหน่งนี้เข้ากับรัชทายาท[[#_ftn2|[2]]] แต่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงมีพระวินิจฉัยต่างไปว่าไม่น่าจะเทียบกันได้[[#_ftn3|[3]]] ตำแหน่งนี้ปรากฏอย่างช้าในสมัยอยุธยาตอนกลาง เมื่อ[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]]ทรงตรา[[กฎหมาย]]ใหม่ขึ้น คือใน ''กฎมนเทียรบาล'' ระบุว่าเป็นสกุลยศสำหรับพระราชโอรสที่ประสูติจากแม่หยัวเมือง ส่วนใน ''พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน'' กำหนดให้พระมหาอุปราชซึ่งได้รับสถาปนามาจากสมเด็จพระอนุชาธิราชหรือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงศักดินา 100,000 เหนือตำแหน่งอื่นๆ ทั้งปวง[[#_ftn4|[4]]]


          ส่วนในรัฐอยุธยาตอนต้นที่ขอบเขตอำนาจยังจำกัดอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาเท่านั้นและใช้ระบบเมืองลูกหลวงเป็นกลไกในการปกครองอาณาจักร เจ้านายที่ครองเมืองลูกหลวงสำคัญ มีฐานอำนาจมั่นคงมักได้สืบตำแหน่งกษัตริย์หรือชิงตำแหน่งนั้นมาได้ แต่ก็ปรากฏด้วยว่ามักมีการขนานพระนามพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ว่าพระราเมศวร กระทั่งสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งเข้าสู่ช่วงกลางของอยุธยาแล้ว พระนามตำแหน่งนี้ก็ยังใช้อยู่[[#_ftn5|[5]]]
          ส่วนในรัฐอยุธยาตอนต้นที่ขอบเขตอำนาจยังจำกัดอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาเท่านั้นและใช้ระบบเมืองลูกหลวงเป็นกลไกในการปกครองอาณาจักร เจ้านายที่ครองเมืองลูกหลวงสำคัญ มีฐานอำนาจมั่นคงมักได้สืบตำแหน่งกษัตริย์หรือชิงตำแหน่งนั้นมาได้ แต่ก็ปรากฏด้วยว่ามักมีการขนานพระนามพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ว่าพระราเมศวร กระทั่งสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งเข้าสู่ช่วงกลางของอยุธยาแล้ว พระนามตำแหน่งนี้ก็ยังใช้อยู่[[#_ftn5|[5]]]
บรรทัดที่ 22: บรรทัดที่ 22:
          อำนาจของตำแหน่งพระมหาอุปราชจะพัฒนาไปพร้อมกับระบบกรมเจ้าในปลายสมัยอยุธยา นั่นคือการให้เจ้านายทรงกรม มีไพร่พลในสังกัด เพื่อคานกับขุนนางที่ค่อยๆ เข้มแข็งและมีอำนาจสูงขึ้น เห็นได้ชัดในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศที่ทรงตั้งกรมเจ้าจำนวนมาก เพื่อสร้างฐานอำนาจของกษัตริย์ให้มั่นคง เนื่องจากแม้พระองค์จะทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชมาก่อน แต่ก็ไม่สามารถควบคุมอำนาจเหนือขุนนางได้ ต้องทรงขึ้นครองราชย์ด้วยการกวาดล้างขุนนางที่สนับสนุนเจ้านายพระองค์อื่น[[#_ftn6|[6]]] เป็นผลให้กรมของพระมหาอุปราช คือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งคงมีขึ้นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระเพทราชากลายเป็นกรมใหญ่ทรงอำนาจบารมี อยู่ในข่ายที่จะได้ราชสมบัติมากกว่าตำแหน่งใด
          อำนาจของตำแหน่งพระมหาอุปราชจะพัฒนาไปพร้อมกับระบบกรมเจ้าในปลายสมัยอยุธยา นั่นคือการให้เจ้านายทรงกรม มีไพร่พลในสังกัด เพื่อคานกับขุนนางที่ค่อยๆ เข้มแข็งและมีอำนาจสูงขึ้น เห็นได้ชัดในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศที่ทรงตั้งกรมเจ้าจำนวนมาก เพื่อสร้างฐานอำนาจของกษัตริย์ให้มั่นคง เนื่องจากแม้พระองค์จะทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชมาก่อน แต่ก็ไม่สามารถควบคุมอำนาจเหนือขุนนางได้ ต้องทรงขึ้นครองราชย์ด้วยการกวาดล้างขุนนางที่สนับสนุนเจ้านายพระองค์อื่น[[#_ftn6|[6]]] เป็นผลให้กรมของพระมหาอุปราช คือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งคงมีขึ้นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระเพทราชากลายเป็นกรมใหญ่ทรงอำนาจบารมี อยู่ในข่ายที่จะได้ราชสมบัติมากกว่าตำแหน่งใด


          ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ตำแหน่งพระมหาอุปราชอยู่ในฐานะที่แทบเสมอกันกับกษัตริย์ เห็นได้จากการออกพระนามกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรสถานมงคล” บ้าง “พระมหากษัตริย์วังหน้า” บ้าง หรือเมื่อออกพระนามพระมหาอุปราชพระองค์นี้คู่กับกษัตริย์ก็เป็น “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์”[[#_ftn7|[7]]] ในรัชสมัยต่อๆ มา พระมหาอุปราชหรือวังหน้าก็ยังคงมีสถานะทำนองเดียวกัน ทุกพระองค์ได้รับการสถาปนาโดยตรงจากกษัตริย์ ยกเว้นพระมหาอุปราชพระองค์สุดท้ายที่ทรงได้ครองตำแหน่งนี้จากการสนับสนุนของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ภายหลังได้เป็นสมเด็จเจ้าพระยา) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
          ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ตำแหน่งพระมหาอุปราชอยู่ในฐานะที่แทบเสมอกันกับกษัตริย์ เห็นได้จากการออกพระนามกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]ว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรสถานมงคล” บ้าง “พระมหากษัตริย์วังหน้า” บ้าง หรือเมื่อออกพระนามพระมหาอุปราชพระองค์นี้คู่กับกษัตริย์ก็เป็น “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์”[[#_ftn7|[7]]] ในรัชสมัยต่อๆ มา พระมหาอุปราชหรือวังหน้าก็ยังคงมีสถานะทำนองเดียวกัน ทุกพระองค์ได้รับการสถาปนาโดยตรงจากกษัตริย์ ยกเว้นพระมหาอุปราชพระองค์สุดท้ายที่ทรงได้ครองตำแหน่งนี้จากการสนับสนุนของ[[เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์]] ([[ช่วง_บุนนาค|ช่วง บุนนาค ]]ภายหลังได้เป็นสมเด็จเจ้าพระยา) [[ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน]]


          เมื่อเริ่มมีการรวมศูนย์อำนาจสู่กษัตริย์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานะพระมหาอุปราชในขณะนั้นคือกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญจึงเริ่มถูกลดอำนาจลง โดยเฉพาะจากการปฏิรูประบบการคลัง แต่เนื่องจากมีไพร่พลในสังกัดมาก ตำแหน่งพระมหาอุปราชจึงยังอยู่ในสถานะที่ท้าทายพระราชอำนาจ นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายวังหลวงของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับฝ่ายวังหน้าของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญในกรณีวิกฤตการณ์วังหน้า พ.ศ. 2417 หลังเหตุการณ์ยุติ สถานะของพระมหาอุปราชที่เคยเทียบได้กับกษัตริย์พระองค์ที่สองจึงสิ้นสุด[[#_ftn8|[8]]] ต่อมา เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตใน พ.ศ. 2428 และประจวบกับอำนาจทางการเมืองรวมศูนย์ที่กษัตริย์ได้มากขึ้น ตำแหน่งนี้จึงถูกเลิกไป มีการสถาปนาพระรัชทายาทที่อยู่ในกำกับของพระราชอำนาจกษัตริย์ขึ้นแทน
          เมื่อเริ่มมีการรวมศูนย์อำนาจสู่กษัตริย์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานะพระมหาอุปราชในขณะนั้นคือกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญจึงเริ่มถูกลดอำนาจลง โดยเฉพาะจากการปฏิรูประบบการคลัง แต่เนื่องจากมีไพร่พลในสังกัดมาก ตำแหน่งพระมหาอุปราชจึงยังอยู่ในสถานะที่ท้าทายพระราชอำนาจ นำไปสู่[[ความขัดแย้ง]]ระหว่างฝ่ายวังหลวงของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับฝ่ายวังหน้าของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญในกรณี[[วิกฤตการณ์วังหน้า]] พ.ศ. 2417 หลังเหตุการณ์ยุติ สถานะของพระมหาอุปราชที่เคยเทียบได้กับกษัตริย์พระองค์ที่สองจึงสิ้นสุด[[#_ftn8|[8]]] ต่อมา เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตใน พ.ศ. 2428 และประจวบกับอำนาจทางการเมืองรวมศูนย์ที่กษัตริย์ได้มากขึ้น ตำแหน่งนี้จึงถูกเลิกไป มีการสถาปนาพระรัชทายาทที่อยู่ในกำกับของพระราชอำนาจกษัตริย์ขึ้นแทน


 
 
บรรทัดที่ 30: บรรทัดที่ 30:
== พระรัชทายาทและกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ==
== พระรัชทายาทและกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ==


          ใน พ.ศ. 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ซึ่งประสูติจากสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (พระยศขณะนั้น) เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยเทียบกับตำแหน่งสมเด็จหน่อพุทธเจ้าที่มีอยู่แต่เดิมใน ''กฎมณเฑียรบาล'' และให้ทรงศักดินาเสมอพระมหาอุปราช ถือเป็นครั้งแรกของการสถาปนาตำแหน่งพระรัชทายาท ต่อมาเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์นี้สวรรคตใน พ.ศ. 2437 (ตามปฏิทินเก่า) ได้มีการสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ซึ่งประสูติจากพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี (พระยศขณะนั้น) ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
          ใน พ.ศ. 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนา[[สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ_เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ]] พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ซึ่งประสูติจาก[[สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา]] พระบรมราชเทวี (พระยศขณะนั้น) เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยเทียบกับตำแหน่งสมเด็จหน่อพุทธเจ้าที่มีอยู่แต่เดิมใน ''กฎมณเฑียรบาล'' และให้ทรง[[ศักดินา]]เสมอพระมหาอุปราช ถือเป็นครั้งแรกของการสถาปนาตำแหน่งพระรัชทายาท ต่อมาเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์นี้สวรรคตใน พ.ศ. 2437 (ตามปฏิทินเก่า) ได้มีการสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ซึ่งประสูติจาก[[พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี]] พระวรราชเทวี (พระยศขณะนั้น) ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน


          การสถาปนาตำแหน่งพระรัชทายาทขึ้นแทนพระมหาอุปราชเกิดขึ้นได้บนเงื่อนไขสำคัญ ประการแรก คือการสถาปนารัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีการรวมศูนย์ทางการเมืองเข้ามาอยู่ในพระราชอำนาจของกษัตริย์ ซึ่งเริ่มขึ้นจากการปฏิรูประบบการคลัง และสลายระบบการควบคุมกำลังไพร่พลแบบเดิมที่แบ่งไปขึ้นกับกรมกองเจ้านายหรือขุนนาง ซึ่งจะสามารถท้าทายพระราชอำนาจได้ดังกรณีวิกฤตการณ์วังหน้า[[#_ftn9|[9]]] ประการถัดมา คือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นต้องประกันความมั่นคงไว้ด้วยการกำหนดตัวผู้สืบราชสมบัติที่แน่นอนไว้ภายใต้แนวคิดเรื่องราชวงศ์ที่สืบสายโลหิตต่อเนื่องไป[[#_ftn10|[10]]] และอีกประการ คือการปรับแบบแผนตำแหน่งยศเจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ให้อนุวัตรตามแบบตะวันตก[[#_ftn11|[11]]]
          การสถาปนาตำแหน่งพระรัชทายาทขึ้นแทนพระมหาอุปราชเกิดขึ้นได้บนเงื่อนไขสำคัญ ประการแรก คือการสถาปนารัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีการรวมศูนย์ทางการเมืองเข้ามาอยู่ใน[[พระราชอำนาจ]]ของกษัตริย์ ซึ่งเริ่มขึ้นจากการปฏิรูประบบการคลัง และสลายระบบการควบคุมกำลังไพร่พลแบบเดิมที่แบ่งไปขึ้นกับกรมกองเจ้านายหรือขุนนาง ซึ่งจะสามารถท้าทายพระราชอำนาจได้ดังกรณีวิกฤตการณ์วังหน้า[[#_ftn9|[9]]] ประการถัดมา คือ[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์]]ที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นต้องประกันความมั่นคงไว้ด้วยการกำหนดตัวผู้สืบราชสมบัติที่แน่นอนไว้ภายใต้แนวคิดเรื่องราชวงศ์ที่สืบสายโลหิตต่อเนื่องไป[[#_ftn10|[10]]] และอีกประการ คือการปรับแบบแผนตำแหน่งยศเจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ให้อนุวัตรตามแบบตะวันตก[[#_ftn11|[11]]]


          ตำแหน่งพระรัชทายาทจึงถูกจัดวางให้ไม่อยู่ในสถานะที่ท้าทายพระราชอำนาจ สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องราชวงศ์ และประกันความสืบเนื่องของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รู้ได้แน่นอนว่าพระองค์ใดจะได้สืบราชสมบัติต่อ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารสองพระองค์แรกทรงเป็นพระราชโอรสสืบสายพระโลหิตตรงจากกษัตริย์คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่างจากตำแหน่งพระมหาอุปราช ซึ่งไม่ได้ถูกกำหนดสิทธิแน่นอนในการสืบราชสมบัติ ซ้ำยังอยู่ในสถานะที่อาจท้าทายพระราชอำนาจ โดยเฉพาะกรณีกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ซึ่งไม่ได้มาจากการสถาปนาของกษัตริย์ เป็นเพียงพระราชภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) ของกษัตริย์ และมีกำลังไพร่พลในสังกัดมาก
          ตำแหน่งพระรัชทายาทจึงถูกจัดวางให้ไม่อยู่ในสถานะที่ท้าทายพระราชอำนาจ สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องราชวงศ์ และประกันความสืบเนื่องของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รู้ได้แน่นอนว่าพระองค์ใดจะได้สืบราชสมบัติต่อ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารสองพระองค์แรกทรงเป็นพระราชโอรสสืบสายพระโลหิตตรงจากกษัตริย์คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่างจากตำแหน่งพระมหาอุปราช ซึ่งไม่ได้ถูกกำหนดสิทธิแน่นอนในการสืบราชสมบัติ ซ้ำยังอยู่ในสถานะที่อาจท้าทายพระราชอำนาจ โดยเฉพาะกรณีกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ซึ่งไม่ได้มาจากการสถาปนาของกษัตริย์ เป็นเพียงพระราชภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) ของกษัตริย์ และมีกำลังไพร่พลในสังกัดมาก
บรรทัดที่ 40: บรรทัดที่ 40:
          สาระสำคัญของกฎมณเฑียรบาลที่ประกาศใช้ใน พ.ศ. 2467 คือ (1) ให้กษัตริย์มีพระราชอำนาจในการสถาปนาเจ้านายพระองค์หนึ่งขึ้นเป็นพระรัชทายาท (2) ให้พระรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์โดยทันทีเมื่อกษัตริย์สวรรคต (3) วางกฎการหลั่นลำดับเจ้านายที่มีสิทธิขึ้นครองราชย์ในกรณีที่กษัตริย์สวรรคตโดยไม่มีพระรัชทายาทที่ทรงสถาปนาไว้ (4) กำหนดคุณสมบัติที่เป็นเหตุให้ต้องงดเว้นจากการสืบราชสันตติวงศ์ และ (5) กำหนดให้มีผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์ในกรณีที่กษัตริย์ขึ้นครองราชย์เมื่อยังทรงพระเยาว์[[#_ftn13|[13]]] อนึ่ง กฎมณเฑียรบาลนี้ยังกำหนดว่ายังไม่ถึงเวลาอันควรที่จะนับเจ้านายผู้หญิงเข้าในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์
          สาระสำคัญของกฎมณเฑียรบาลที่ประกาศใช้ใน พ.ศ. 2467 คือ (1) ให้กษัตริย์มีพระราชอำนาจในการสถาปนาเจ้านายพระองค์หนึ่งขึ้นเป็นพระรัชทายาท (2) ให้พระรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์โดยทันทีเมื่อกษัตริย์สวรรคต (3) วางกฎการหลั่นลำดับเจ้านายที่มีสิทธิขึ้นครองราชย์ในกรณีที่กษัตริย์สวรรคตโดยไม่มีพระรัชทายาทที่ทรงสถาปนาไว้ (4) กำหนดคุณสมบัติที่เป็นเหตุให้ต้องงดเว้นจากการสืบราชสันตติวงศ์ และ (5) กำหนดให้มีผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์ในกรณีที่กษัตริย์ขึ้นครองราชย์เมื่อยังทรงพระเยาว์[[#_ftn13|[13]]] อนึ่ง กฎมณเฑียรบาลนี้ยังกำหนดว่ายังไม่ถึงเวลาอันควรที่จะนับเจ้านายผู้หญิงเข้าในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์


          พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ขึ้นครองราชย์หลังการตรากฎมณเฑียรบาลฉบับนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดในพระราชพินัยกรรมว่าในกรณีที่ไม่มีพระราชโอรสให้พระราชอนุชาร่วมพระราชชนนีพระองค์นี้สืบราชสันตติวงศ์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติโดยไม่ได้ทรงตั้งพระรัชทายาทไว้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลก็อยู่ในลำดับแรกของสืบราชสันตติวงศ์ตามมาตรา 9 (11) ของกฎมณเฑียรบาล และรัฐสภาลงมติเสียงข้างมากเห็นชอบให้อัญเชิญพระองค์ขึ้นทรงราชย์ ต่อมาเมื่อสิ้นรัชกาลโดยไม่มีพระรัชทายาทที่สถาปนาไว้เช่นกัน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งอยู่ในลำดับแรกตามมาตรา 9 (8) ของกฎมณเฑียรบาลก็ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาให้สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป
         [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ขึ้นครองราชย์หลังการตรากฎมณเฑียรบาลฉบับนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดในพระราชพินัยกรรมว่าในกรณีที่ไม่มีพระราชโอรสให้พระราชอนุชาร่วมพระราชชนนีพระองค์นี้สืบราชสันตติวงศ์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติโดยไม่ได้ทรงตั้งพระรัชทายาทไว้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลก็อยู่ในลำดับแรกของสืบราชสันตติวงศ์ตามมาตรา 9 (11) ของกฎมณเฑียรบาล และ[[รัฐสภา]][[ลงมติ]]เสียงข้างมากเห็นชอบให้อัญเชิญพระองค์ขึ้นทรงราชย์ ต่อมาเมื่อสิ้นรัชกาลโดยไม่มีพระรัชทายาทที่สถาปนาไว้เช่นกัน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งอยู่ในลำดับแรกตามมาตรา 9 (8) ของกฎมณเฑียรบาลก็ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาให้สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป


 
 
บรรทัดที่ 46: บรรทัดที่ 46:
== การสืบราชสันตติวงศ์หลัง พ.ศ. 2475 ==
== การสืบราชสันตติวงศ์หลัง พ.ศ. 2475 ==


          หลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 กฎมณเฑียรบาลไม่ใช่เงื่อนไขเดียวของการขึ้นครองราชย์อีกต่อไป รัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกกำหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาด้วย และไม่ได้ถวายให้เป็นพระราชอำนาจในการแก้ไขกฎมณเฑียรบาล แต่ถือว่าย่อมแก้ได้โดยกระบวนการทางรัฐสภา เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของระบอบประชาธิปไตย กระทั่งในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 จึงมีข้อกำหนดห้ามแก้ไขกฎมณเฑียรบาล แต่ยังคงบัญญัติให้การขึ้นครองราชย์ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาไว้ ภายหลังตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2511 จึงกำหนดให้แก้ไขกฎมณเฑียรบาลได้เช่นเดียวกับการแก้รัฐธรรมนูญ แต่นับจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา รัฐสภาถูกลดอำนาจให้เหลือเพียงรับทราบการขึ้นครองราชย์ของพระรัชทายาท ไม่ใช่ให้ความเห็นชอบ และถวายพระราชอำนาจให้กษัตริย์ในการแก้ไขกฎมณเฑียรบาล[[#_ftn14|[14]]]
          หลัง[[การปฏิวัติ_พ.ศ._2475|การปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ]]กฎมณเฑียรบาลไม่ใช่เงื่อนไขเดียวของการขึ้นครองราชย์อีกต่อไป รัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกกำหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาด้วย และไม่ได้ถวายให้เป็นพระราชอำนาจในการแก้ไขกฎมณเฑียรบาล แต่ถือว่าย่อมแก้ได้โดยกระบวนการทางรัฐสภา เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของระบอบประชาธิปไตย กระทั่งใน[[รัฐธรรมนูญฉบับ_พ.ศ._2492]] จึงมีข้อกำหนดห้ามแก้ไขกฎมณเฑียรบาล แต่ยังคงบัญญัติให้การขึ้นครองราชย์ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาไว้ ภายหลังตั้งแต่[[รัฐธรรมนูญฉบับ_พ.ศ._2511]] จึงกำหนดให้แก้ไขกฎมณเฑียรบาลได้เช่นเดียวกับการแก้รัฐธรรมนูญ แต่นับจาก[[รัฐธรรมนูญฉบับ_พ.ศ._2534]] เป็นต้นมา รัฐสภาถูกลดอำนาจให้เหลือเพียงรับทราบการขึ้นครองราชย์ของพระรัชทายาท ไม่ใช่ให้ความเห็นชอบ และถวายพระราชอำนาจให้กษัตริย์ในการแก้ไขกฎมณเฑียรบาล[[#_ftn14|[14]]]


          ดังนั้น การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลใน พ.ศ. 2477 (ตามปฏิทินเดิม) จึงถือเป็นครั้งแรกของการทรงราชย์โดยผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาตามนัยของกฎมณเฑียรบาล และหลักการประชาธิปไตยที่กำหนดให้ประมุขของรัฐต้องมีที่มายึดโยงกับองค์กรที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนก็แสดงออกอย่างชัดเจนในการลงมติอัญเชิญพระองค์ขึ้นทรงราชย์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือมีผู้ลงคะแนนไม่เห็นด้วย 2 เสียงที่จะให้อัญเชิญพระองค์ขึ้นทรงราชย์[[#_ftn15|[15]]] เมื่อสิ้นรัชกาลใน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชก็ทรงราชย์ต่อภายใต้หลักการเดียวกัน แต่เมื่อหลักการนี้ถูกแก้ไขโดยรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา การทรงราชย์ของพระรัชทายาทในอนาคตจึงไม่อยู่ในหลักการนี้อีกต่อไป
          ดังนั้น การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลใน พ.ศ. 2477 (ตามปฏิทินเดิม) จึงถือเป็นครั้งแรกของการทรงราชย์โดยผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาตามนัยของกฎมณเฑียรบาล และ[[หลักการประชาธิปไตย]]ที่กำหนดให้ประมุขของรัฐต้องมีที่มายึดโยงกับองค์กรที่ได้รับ[[การเลือกตั้ง]]จากประชาชนก็แสดงออกอย่างชัดเจนในการลงมติอัญเชิญพระองค์ขึ้นทรงราชย์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือมีผู้ลงคะแนนไม่เห็นด้วย 2 เสียงที่จะให้อัญเชิญพระองค์ขึ้นทรงราชย์[[#_ftn15|[15]]] เมื่อสิ้นรัชกาลใน พ.ศ. 2489 [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]]ก็ทรงราชย์ต่อภายใต้หลักการเดียวกัน แต่เมื่อหลักการนี้ถูกแก้ไขโดยรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา การทรงราชย์ของพระรัชทายาทในอนาคตจึงไม่อยู่ในหลักการนี้อีกต่อไป


          นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญตั้งแต่ฉบับ พ.ศ. 2517 ได้เพิ่มเติมกฎเกณฑ์ในการสืบราชสันตติวงศ์ว่านอกจากจะให้เป็นไปตามนัยของกฎมณเฑียรบาลแล้ว ยังให้รัฐสภาเห็นชอบกับการขึ้นทรงราชย์ของพระราชธิดาในกรณีที่ไม่มีพระราชโอรสได้ และตั้งแต่ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2534 ได้กำหนดให้การเสนอชื่อพระราชธิดาขึ้นทรงราชย์ในกรณีไม่มีพระรัชทายาทที่สถาปนาไว้สามารถเป็นไปได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขการไม่มีพระราชโอรส[[#_ftn16|[16]]] อย่างไรก็ตาม แม้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดจะเปิดทางให้พระราชธิดาขึ้นทรงราชย์ได้ในกรณีไม่มีพระรัชทายาท ทว่ากระทั่งปัจจุบัน ''กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์'' ซึ่งมีเนื้อหาขัดกับรัฐธรรมนูญ เพราะสงวนสิทธิการครองราชย์ให้เจ้านายผู้ชายเท่านั้นก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้สอดคล้องกัน
          นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญตั้งแต่ฉบับ พ.ศ. 2517 ได้เพิ่มเติมกฎเกณฑ์ในการสืบราชสันตติวงศ์ว่านอกจากจะให้เป็นไปตามนัยของกฎมณเฑียรบาลแล้ว ยังให้รัฐสภาเห็นชอบกับการขึ้นทรงราชย์ของพระราชธิดาในกรณีที่ไม่มีพระราชโอรสได้ และตั้งแต่ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2534 ได้กำหนดให้การเสนอชื่อพระราชธิดาขึ้นทรงราชย์ในกรณีไม่มีพระรัชทายาทที่สถาปนาไว้สามารถเป็นไปได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขการไม่มีพระราชโอรส[[#_ftn16|[16]]] อย่างไรก็ตาม แม้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดจะเปิดทางให้พระราชธิดาขึ้นทรงราชย์ได้ในกรณีไม่มีพระรัชทายาท ทว่ากระทั่งปัจจุบัน ''กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์'' ซึ่งมีเนื้อหาขัดกับรัฐธรรมนูญ เพราะสงวนสิทธิการครองราชย์ให้เจ้านายผู้ชายเท่านั้นก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้สอดคล้องกัน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:04, 10 มกราคม 2561

เรียบเรียงโดย : นายสุรเชษ์ฐ  สุขลาภกิจ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต


รัชทายาท

          พระรัชทายาทตามที่ กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ระบุไว้คือ “เจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์ พระองค์ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สมมตขึ้น เพื่อเปนผู้ทรงสืบราชสันตติวงศ์สนองพระองค์ต่อไป”[1] ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ_เจ้าฟ้าวชิราลงกรณเป็นพระรัชทายาท มีพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515

 

ตำแหน่งพระมหาอุปราช

          ก่อนที่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะกำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 25 แนวคิดเรื่องรัชทายาทไม่ปรากฏชัดเจน การปราบดาภิเษกเพื่อพิสูจน์บารมีของการจะได้เป็นกษัตริย์หรือพระจักรพรรดิราชพระองค์ใหม่โดยไม่ต้องเน้นความสืบเนื่องของราชวงศ์ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นมาจนถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ กฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยาก็ไม่ได้วางลำดับพระราชวงศ์ที่จะสืบราชสมบัติไว้ มีเพียงการลำดับหลั่นชั้นยศศักดิ์ของพระราชวงศ์เท่านั้น การกำหนดตำแหน่งรัชทายาทเพิ่งปรากฏขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีการวางกฎเกณฑ์อันแน่นอนเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์เป็นลายลักษณ์อักษรในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

          พระมหาอุปราชเป็นตำแหน่งสำคัญก่อนที่จะมีการกำหนดตำแหน่งรัชทายาทขึ้น สมเด็จฯ_กรมพระยาดำรงราชานุภาพมีพระวินิจฉัยเทียบตำแหน่งนี้เข้ากับรัชทายาท[2] แต่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงมีพระวินิจฉัยต่างไปว่าไม่น่าจะเทียบกันได้[3] ตำแหน่งนี้ปรากฏอย่างช้าในสมัยอยุธยาตอนกลาง เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตรากฎหมายใหม่ขึ้น คือใน กฎมนเทียรบาล ระบุว่าเป็นสกุลยศสำหรับพระราชโอรสที่ประสูติจากแม่หยัวเมือง ส่วนใน พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน กำหนดให้พระมหาอุปราชซึ่งได้รับสถาปนามาจากสมเด็จพระอนุชาธิราชหรือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงศักดินา 100,000 เหนือตำแหน่งอื่นๆ ทั้งปวง[4]

          ส่วนในรัฐอยุธยาตอนต้นที่ขอบเขตอำนาจยังจำกัดอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาเท่านั้นและใช้ระบบเมืองลูกหลวงเป็นกลไกในการปกครองอาณาจักร เจ้านายที่ครองเมืองลูกหลวงสำคัญ มีฐานอำนาจมั่นคงมักได้สืบตำแหน่งกษัตริย์หรือชิงตำแหน่งนั้นมาได้ แต่ก็ปรากฏด้วยว่ามักมีการขนานพระนามพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ว่าพระราเมศวร กระทั่งสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งเข้าสู่ช่วงกลางของอยุธยาแล้ว พระนามตำแหน่งนี้ก็ยังใช้อยู่[5]

          อำนาจของตำแหน่งพระมหาอุปราชจะพัฒนาไปพร้อมกับระบบกรมเจ้าในปลายสมัยอยุธยา นั่นคือการให้เจ้านายทรงกรม มีไพร่พลในสังกัด เพื่อคานกับขุนนางที่ค่อยๆ เข้มแข็งและมีอำนาจสูงขึ้น เห็นได้ชัดในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศที่ทรงตั้งกรมเจ้าจำนวนมาก เพื่อสร้างฐานอำนาจของกษัตริย์ให้มั่นคง เนื่องจากแม้พระองค์จะทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชมาก่อน แต่ก็ไม่สามารถควบคุมอำนาจเหนือขุนนางได้ ต้องทรงขึ้นครองราชย์ด้วยการกวาดล้างขุนนางที่สนับสนุนเจ้านายพระองค์อื่น[6] เป็นผลให้กรมของพระมหาอุปราช คือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งคงมีขึ้นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระเพทราชากลายเป็นกรมใหญ่ทรงอำนาจบารมี อยู่ในข่ายที่จะได้ราชสมบัติมากกว่าตำแหน่งใด

          ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ตำแหน่งพระมหาอุปราชอยู่ในฐานะที่แทบเสมอกันกับกษัตริย์ เห็นได้จากการออกพระนามกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังบวรสถานมงคล” บ้าง “พระมหากษัตริย์วังหน้า” บ้าง หรือเมื่อออกพระนามพระมหาอุปราชพระองค์นี้คู่กับกษัตริย์ก็เป็น “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์”[7] ในรัชสมัยต่อๆ มา พระมหาอุปราชหรือวังหน้าก็ยังคงมีสถานะทำนองเดียวกัน ทุกพระองค์ได้รับการสถาปนาโดยตรงจากกษัตริย์ ยกเว้นพระมหาอุปราชพระองค์สุดท้ายที่ทรงได้ครองตำแหน่งนี้จากการสนับสนุนของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ภายหลังได้เป็นสมเด็จเจ้าพระยา) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

          เมื่อเริ่มมีการรวมศูนย์อำนาจสู่กษัตริย์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานะพระมหาอุปราชในขณะนั้นคือกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญจึงเริ่มถูกลดอำนาจลง โดยเฉพาะจากการปฏิรูประบบการคลัง แต่เนื่องจากมีไพร่พลในสังกัดมาก ตำแหน่งพระมหาอุปราชจึงยังอยู่ในสถานะที่ท้าทายพระราชอำนาจ นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายวังหลวงของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับฝ่ายวังหน้าของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญในกรณีวิกฤตการณ์วังหน้า พ.ศ. 2417 หลังเหตุการณ์ยุติ สถานะของพระมหาอุปราชที่เคยเทียบได้กับกษัตริย์พระองค์ที่สองจึงสิ้นสุด[8] ต่อมา เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตใน พ.ศ. 2428 และประจวบกับอำนาจทางการเมืองรวมศูนย์ที่กษัตริย์ได้มากขึ้น ตำแหน่งนี้จึงถูกเลิกไป มีการสถาปนาพระรัชทายาทที่อยู่ในกำกับของพระราชอำนาจกษัตริย์ขึ้นแทน

 

พระรัชทายาทและกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์

          ใน พ.ศ. 2429 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ_เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ซึ่งประสูติจากสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (พระยศขณะนั้น) เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยเทียบกับตำแหน่งสมเด็จหน่อพุทธเจ้าที่มีอยู่แต่เดิมใน กฎมณเฑียรบาล และให้ทรงศักดินาเสมอพระมหาอุปราช ถือเป็นครั้งแรกของการสถาปนาตำแหน่งพระรัชทายาท ต่อมาเมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์นี้สวรรคตใน พ.ศ. 2437 (ตามปฏิทินเก่า) ได้มีการสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ซึ่งประสูติจากพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี (พระยศขณะนั้น) ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน

          การสถาปนาตำแหน่งพระรัชทายาทขึ้นแทนพระมหาอุปราชเกิดขึ้นได้บนเงื่อนไขสำคัญ ประการแรก คือการสถาปนารัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีการรวมศูนย์ทางการเมืองเข้ามาอยู่ในพระราชอำนาจของกษัตริย์ ซึ่งเริ่มขึ้นจากการปฏิรูประบบการคลัง และสลายระบบการควบคุมกำลังไพร่พลแบบเดิมที่แบ่งไปขึ้นกับกรมกองเจ้านายหรือขุนนาง ซึ่งจะสามารถท้าทายพระราชอำนาจได้ดังกรณีวิกฤตการณ์วังหน้า[9] ประการถัดมา คือระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นต้องประกันความมั่นคงไว้ด้วยการกำหนดตัวผู้สืบราชสมบัติที่แน่นอนไว้ภายใต้แนวคิดเรื่องราชวงศ์ที่สืบสายโลหิตต่อเนื่องไป[10] และอีกประการ คือการปรับแบบแผนตำแหน่งยศเจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ให้อนุวัตรตามแบบตะวันตก[11]

          ตำแหน่งพระรัชทายาทจึงถูกจัดวางให้ไม่อยู่ในสถานะที่ท้าทายพระราชอำนาจ สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องราชวงศ์ และประกันความสืบเนื่องของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รู้ได้แน่นอนว่าพระองค์ใดจะได้สืบราชสมบัติต่อ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารสองพระองค์แรกทรงเป็นพระราชโอรสสืบสายพระโลหิตตรงจากกษัตริย์คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่างจากตำแหน่งพระมหาอุปราช ซึ่งไม่ได้ถูกกำหนดสิทธิแน่นอนในการสืบราชสมบัติ ซ้ำยังอยู่ในสถานะที่อาจท้าทายพระราชอำนาจ โดยเฉพาะกรณีกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ซึ่งไม่ได้มาจากการสถาปนาของกษัตริย์ เป็นเพียงพระราชภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) ของกษัตริย์ และมีกำลังไพร่พลในสังกัดมาก

          อย่างไรก็ดี ตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์การสืบราชสมบัติเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ ทันทีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ต่อมาจึงเกิดความยุ่งยากในการกำหนดตัวพระรัชทายาทชั่วคราวจนกว่ากษัตริย์จะมีพระราชโอรส เนื่องจากมีความเห็นที่ขัดแย้งกันในหมู่เจ้านายชั้นสูง เป็นเหตุให้มีพระราชดำริที่จะให้มีการวางกฎเกณฑ์การสืบราชสมบัติในกรณีที่พระมหากษัตริย์สวรรคตโดยไม่มีพระรัชทายาทไว้[12] แต่กว่าที่จะมีการตรา กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ออกมาก็ล่วงถึงปลายรัชสมัยหลังพระราชอนุชาร่วมพระราชชนนีเดียวกันทยอยทิวงคตไปและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ยังไม่มีพระราชโอรส

          สาระสำคัญของกฎมณเฑียรบาลที่ประกาศใช้ใน พ.ศ. 2467 คือ (1) ให้กษัตริย์มีพระราชอำนาจในการสถาปนาเจ้านายพระองค์หนึ่งขึ้นเป็นพระรัชทายาท (2) ให้พระรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์โดยทันทีเมื่อกษัตริย์สวรรคต (3) วางกฎการหลั่นลำดับเจ้านายที่มีสิทธิขึ้นครองราชย์ในกรณีที่กษัตริย์สวรรคตโดยไม่มีพระรัชทายาทที่ทรงสถาปนาไว้ (4) กำหนดคุณสมบัติที่เป็นเหตุให้ต้องงดเว้นจากการสืบราชสันตติวงศ์ และ (5) กำหนดให้มีผู้สำเร็จราชการต่างพระองค์ในกรณีที่กษัตริย์ขึ้นครองราชย์เมื่อยังทรงพระเยาว์[13] อนึ่ง กฎมณเฑียรบาลนี้ยังกำหนดว่ายังไม่ถึงเวลาอันควรที่จะนับเจ้านายผู้หญิงเข้าในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์

         พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ขึ้นครองราชย์หลังการตรากฎมณเฑียรบาลฉบับนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดในพระราชพินัยกรรมว่าในกรณีที่ไม่มีพระราชโอรสให้พระราชอนุชาร่วมพระราชชนนีพระองค์นี้สืบราชสันตติวงศ์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติโดยไม่ได้ทรงตั้งพระรัชทายาทไว้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลก็อยู่ในลำดับแรกของสืบราชสันตติวงศ์ตามมาตรา 9 (11) ของกฎมณเฑียรบาล และรัฐสภาลงมติเสียงข้างมากเห็นชอบให้อัญเชิญพระองค์ขึ้นทรงราชย์ ต่อมาเมื่อสิ้นรัชกาลโดยไม่มีพระรัชทายาทที่สถาปนาไว้เช่นกัน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งอยู่ในลำดับแรกตามมาตรา 9 (8) ของกฎมณเฑียรบาลก็ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาให้สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป

 

การสืบราชสันตติวงศ์หลัง พ.ศ. 2475

          หลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 กฎมณเฑียรบาลไม่ใช่เงื่อนไขเดียวของการขึ้นครองราชย์อีกต่อไป รัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกกำหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาด้วย และไม่ได้ถวายให้เป็นพระราชอำนาจในการแก้ไขกฎมณเฑียรบาล แต่ถือว่าย่อมแก้ได้โดยกระบวนการทางรัฐสภา เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของระบอบประชาธิปไตย กระทั่งในรัฐธรรมนูญฉบับ_พ.ศ._2492 จึงมีข้อกำหนดห้ามแก้ไขกฎมณเฑียรบาล แต่ยังคงบัญญัติให้การขึ้นครองราชย์ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาไว้ ภายหลังตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับ_พ.ศ._2511 จึงกำหนดให้แก้ไขกฎมณเฑียรบาลได้เช่นเดียวกับการแก้รัฐธรรมนูญ แต่นับจากรัฐธรรมนูญฉบับ_พ.ศ._2534 เป็นต้นมา รัฐสภาถูกลดอำนาจให้เหลือเพียงรับทราบการขึ้นครองราชย์ของพระรัชทายาท ไม่ใช่ให้ความเห็นชอบ และถวายพระราชอำนาจให้กษัตริย์ในการแก้ไขกฎมณเฑียรบาล[14]

          ดังนั้น การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลใน พ.ศ. 2477 (ตามปฏิทินเดิม) จึงถือเป็นครั้งแรกของการทรงราชย์โดยผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาตามนัยของกฎมณเฑียรบาล และหลักการประชาธิปไตยที่กำหนดให้ประมุขของรัฐต้องมีที่มายึดโยงกับองค์กรที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนก็แสดงออกอย่างชัดเจนในการลงมติอัญเชิญพระองค์ขึ้นทรงราชย์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือมีผู้ลงคะแนนไม่เห็นด้วย 2 เสียงที่จะให้อัญเชิญพระองค์ขึ้นทรงราชย์[15] เมื่อสิ้นรัชกาลใน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชก็ทรงราชย์ต่อภายใต้หลักการเดียวกัน แต่เมื่อหลักการนี้ถูกแก้ไขโดยรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา การทรงราชย์ของพระรัชทายาทในอนาคตจึงไม่อยู่ในหลักการนี้อีกต่อไป

          นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญตั้งแต่ฉบับ พ.ศ. 2517 ได้เพิ่มเติมกฎเกณฑ์ในการสืบราชสันตติวงศ์ว่านอกจากจะให้เป็นไปตามนัยของกฎมณเฑียรบาลแล้ว ยังให้รัฐสภาเห็นชอบกับการขึ้นทรงราชย์ของพระราชธิดาในกรณีที่ไม่มีพระราชโอรสได้ และตั้งแต่ในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2534 ได้กำหนดให้การเสนอชื่อพระราชธิดาขึ้นทรงราชย์ในกรณีไม่มีพระรัชทายาทที่สถาปนาไว้สามารถเป็นไปได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขการไม่มีพระราชโอรส[16] อย่างไรก็ตาม แม้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดจะเปิดทางให้พระราชธิดาขึ้นทรงราชย์ได้ในกรณีไม่มีพระรัชทายาท ทว่ากระทั่งปัจจุบัน กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ซึ่งมีเนื้อหาขัดกับรัฐธรรมนูญ เพราะสงวนสิทธิการครองราชย์ให้เจ้านายผู้ชายเท่านั้นก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้สอดคล้องกัน

 

บรรณานุกรม

“กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์.”  ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 41 (12 พฤศจิกายน 2467), หน้า 195-213.

กฎหมายตรา '3 ดวง ฉบับพิมพ์ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองแก้ไขปรับปรุงใหม่ เล่ม 1.  กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ, 2548.

จีรพล เกตุจุมพล.  “การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างขององค์ความรู้ของกลุ่มชนชั้นนำสยามรุ่นใหม่ พ.ศ. 2367-2468 (ศึกษากรณีชำระพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1-4).”  วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ.  ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดาร กับเรื่องพระราชประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2516.  (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายพงษ์เจริญ ส่งศิริ ณ เมรุวัดธาตุทอง พระโขนง วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2516)

ฐากูร จุลินทร.  รายงานการศึกษาเรื่องการกำหนดกฎมณเฑียรบาลในรัฐธรรมนูญไทย.  กรุงเทพฯ: กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2557.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.  พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ '5.  กรุงเทพฯ: มติชน, 2545.

ดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมพระ.  อธิบายเบ็ดเตล็ดในเรื่องพงศาวดารสยาม.  กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2554.

มานพ ถาวรวัฒน์สกุล.  ขุนนางอยุธยา.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547.

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล.  “ในหลวงอานันท์ขึ้นครองราชย์ตามลำดับขั้นของกฎมณเฑียรบาลหรือเพราะปรีดีสนับสนุน? (1),” ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2549), หน้า 188-228.

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล.  สมบูรณาญาสิทธิราชในรัฐธรรมนูญ '2540[ออนไลน์].  2550.  แหล่งที่มา: http://somsakwork.blogspot.com/2007/07/blog-post.html [6 มีนาคม 2559]

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์.  การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4-พ.ศ. 2475.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.

Kullada Kesboonchoo Mead.  The Rise and Decline of Thai Absolutism.  London and New York, NY: Routledge/Curzon, 2004.

 

อ้างอิง

          [1] “กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์,” ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 41 (12 พฤศจิกายน 2467), หน้า 199.

          [2] สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ '5 (กรุงเทพฯ: มติชน, 2545), หน้า 83. และพระเจ้าบรมวงศเธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ, “อธิบายเรื่องพระมหาอุปราช,” ใน อธิบายเบ็ดเตล็ดในเรื่องพงศาวดารสยาม (กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2554), หน้า 27.

          [3] สาส์นสมเด็จ เล่ม 3, อ้างใน จีรพล เกตุจุมพล, “การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างขององค์ความรู้ของกลุ่มชนชั้นนำสยามรุ่นใหม่ พ.ศ. 2367-2468 (ศึกษากรณีชำระพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1-4)” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539), หน้า 132-133.

          [4] กฎหมายตรา 3 ดวง ฉบับพิมพ์ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองแก้ไขปรับปรุงใหม่ เล่ม 1 (กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ, 2548), หน้า 52, 117-118.

          [5] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, “วิจารณ์เรื่องพระราชประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช,” ใน ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดาร กับเรื่องพระราชประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2516), หน้า 33-37.

          [6] มานพ ถาวรวัฒน์สกุล, ขุนนางอยุธยา (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547), หน้า 295-297.

          [7] จีรพล เกตุจุมพล, “การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างขององค์ความรู้ของกลุ่มชนชั้นนำสยามรุ่นใหม่ พ.ศ. 2367-2468 (ศึกษากรณีชำระพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1-4),” หน้า 148.

          [8] Kullada Kesboonchoo Mead, The Rise and Decline of Thai Absolutism (London and New York, NY: RoutledgeCurzon, 2004), p. 63.

          [9] Ibid, pp. 51-65.

          [10] อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์, การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่รัชกาลที่ '4-พ.ศ. 2475(กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538), หน้า 94-98.

          [11] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, “ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ,” ใน ทรงวิจารณ์เรื่องพระราชพงศาวดาร กับเรื่องพระราชประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช, หน้า 55.

          [12] สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, “ในหลวงอานันท์ขึ้นครองราชย์ตามลำดับขั้นของกฎมณเฑียรบาลหรือเพราะปรีดีสนับสนุน? (1),” ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2549), หน้า 211.

          [13] “กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์,” หน้า 195-213.

          [14] สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, สมบูรณาญาสิทธิราชในรัฐธรรมนูญ 2540 [ออนไลน์], 2550, แหล่งที่มา: http://somsakwork.blogspot.com/2007/07/blog-post.html [6 มีนาคม 2559]

          [15] เรื่องเดียวกัน.

          [16] ดูเพิ่มเติมที่ ฐากูร จุลินทร, รายงานการศึกษาเรื่องการกำหนดกฎมณเฑียรบาลในรัฐธรรมนูญไทย (กรุงเทพฯ: กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2557), หน้า 198-210.