ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนัด คอมันตร์"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร ผู้ทรงคุณว..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


----
----


'''ถนัด คอมันตร์ '''''': รัฐมนตรีต่างประเทศนานที่สุด'''
'''ถนัด คอมันตร์ ''''''''':''' รัฐมนตรีต่างประเทศนานที่สุด'''


         วันนี้ใครไม่คุยเรื่องประชาคมอาเซียน ก็อาจดูว่าไม่ค่อยจะทันสมัย แต่อาจมีคนน้อยคนที่ทราบว่านักการเมืองไทยที่มีส่วนเป็นตัวจักรสำคัญในการก่อตั้งประชาคมอาเซียนมาเมื่อกว่ากึ่งศตวรรษนั้นยังมีชีวิตอยู่ พ.อ.(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผู้เรืองนามของนายกรัฐมนตรี สองจอมพล คือทั้งจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพล ถนอม กิตติขจร รัฐมนตรีถนัด คอมันตร์ ผู้นี้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ร่วมเวลากันแล้วนับว่านานที่สุด
         วันนี้ใครไม่คุยเรื่องประชาคมอาเซียน ก็อาจดูว่าไม่ค่อยจะทันสมัย แต่อาจมีคนน้อยคนที่ทราบว่านักการเมืองไทยที่มีส่วนเป็นตัวจักรสำคัญในการก่อตั้งประชาคมอาเซียนมาเมื่อกว่ากึ่งศตวรรษนั้นยังมีชีวิตอยู่ พ.อ.(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผู้เรืองนามของนายกรัฐมนตรี สองจอมพล คือทั้งจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพล ถนอม กิตติขจร รัฐมนตรีถนัด คอมันตร์ ผู้นี้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ร่วมเวลากันแล้วนับว่านานที่สุด
บรรทัดที่ 20: บรรทัดที่ 20:
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั้นเป็นผู้นำที่รู้จักเลือกคนมาทำงานเป็นอย่างดี รัฐบาลของท่านนั้นเลือกเอานักปฏิบัติการที่มักเรียกกันว่า ''"เทคโนแครต"'' ในวงราชการให้มาทำงานการเมือง ครั้งนั้นท่านยังเอาทูตไทยอีก 2 ประเทศนอกจาก ดร.ถนัดมาเป็นรัฐมนตรี และมีขุนนางเก่าชื่อดีอย่างพระยาอรรถการีย์นิพนธ์ พระบำราษนราดูรย์ พระประกาศสหกรณ์ และคนเด่นอีกบางคนมาเป็นรัฐมนตรี ดร.ถนัด คอมันตร์ นั้น ความที่เป็นผู้มีความรู้ดีและมือสะอาดจึงไม่ค่อยกลัวใคร รวมทั้งนักการเมืองฝ่ายค้านและนักข่าวหนังสือพิมพ์ ฝ่ายค้านที่สำคัญและค้านจริงในตอนนั้นคือพรรคประชาธิปัตย์ ถึงขนาดบางคราวท่านได้แนะนำนักข่าวที่มาถามท่านผิดๆถูกๆให้ไปหาข้อมูลเสียก่อน บางคนให้ฉายาท่านว่า ''"เทวดา"'' ก็มี การดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยในเวลานั้นถือได้ว่าใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกามาก ก่อนหน้าที่ท่านจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ได้มีการตั้งองค์การป้องกันร่วมกันของประเทศในภูมิภาคนี้กับประเทศมหาอำนาจตะวันตกที่เรียกเป็นภาษาไทยว่าองค์การ ส.ป.อ. หรือภาษาอังกฤษว่า ''"ซีโต้"'' แต่ความเชื่อในเรื่องภัยคอมมูนิสต์ก็มีอยู่มาก จึงมีข้อตกลงสำคัญระหว่างไทยกับอเมริกัน ที่เรียกว่าข้อตกลงถนัด-รัสค์ ที่รัฐมนตรีของสองประเทศเป็นผู้ทำ โดยสหรัฐฯให้คำมั่นจะช่วยไทยหากมีภัยรุกราน
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั้นเป็นผู้นำที่รู้จักเลือกคนมาทำงานเป็นอย่างดี รัฐบาลของท่านนั้นเลือกเอานักปฏิบัติการที่มักเรียกกันว่า ''"เทคโนแครต"'' ในวงราชการให้มาทำงานการเมือง ครั้งนั้นท่านยังเอาทูตไทยอีก 2 ประเทศนอกจาก ดร.ถนัดมาเป็นรัฐมนตรี และมีขุนนางเก่าชื่อดีอย่างพระยาอรรถการีย์นิพนธ์ พระบำราษนราดูรย์ พระประกาศสหกรณ์ และคนเด่นอีกบางคนมาเป็นรัฐมนตรี ดร.ถนัด คอมันตร์ นั้น ความที่เป็นผู้มีความรู้ดีและมือสะอาดจึงไม่ค่อยกลัวใคร รวมทั้งนักการเมืองฝ่ายค้านและนักข่าวหนังสือพิมพ์ ฝ่ายค้านที่สำคัญและค้านจริงในตอนนั้นคือพรรคประชาธิปัตย์ ถึงขนาดบางคราวท่านได้แนะนำนักข่าวที่มาถามท่านผิดๆถูกๆให้ไปหาข้อมูลเสียก่อน บางคนให้ฉายาท่านว่า ''"เทวดา"'' ก็มี การดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยในเวลานั้นถือได้ว่าใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกามาก ก่อนหน้าที่ท่านจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ได้มีการตั้งองค์การป้องกันร่วมกันของประเทศในภูมิภาคนี้กับประเทศมหาอำนาจตะวันตกที่เรียกเป็นภาษาไทยว่าองค์การ ส.ป.อ. หรือภาษาอังกฤษว่า ''"ซีโต้"'' แต่ความเชื่อในเรื่องภัยคอมมูนิสต์ก็มีอยู่มาก จึงมีข้อตกลงสำคัญระหว่างไทยกับอเมริกัน ที่เรียกว่าข้อตกลงถนัด-รัสค์ ที่รัฐมนตรีของสองประเทศเป็นผู้ทำ โดยสหรัฐฯให้คำมั่นจะช่วยไทยหากมีภัยรุกราน


แต่ที่ ดร.ถนัดได้ชื่อว่าเป็น "มิสเตอร์อาเซียน" ก็เพราะท่านเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งสมาคมแรกของประเทศในภูมิภาคอาเซียนนี้ โดยมีไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เพียงสามประเทศก่อตั้งสมาคมอาสา ( ASA :  Association of South east Asia) ขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2504 สมัยที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี เวลานี้ในบรรดาผู้ที่ร่วมก่อตั้งเหลือ ดร.ถนัด คอมันตร์ อยู่เพียงท่านเดียว
แต่ที่ ดร.ถนัดได้ชื่อว่าเป็น "มิสเตอร์อาเซียน" ก็เพราะท่านเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งสมาคมแรกของประเทศในภูมิภาคอาเซียนนี้ โดยมีไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เพียงสามประเทศก่อตั้งสมาคมอาสา ( ASA :  Association of South east Asia) ขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2504 สมัยที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี เวลานี้ในบรรดาผู้ที่ร่วมก่อตั้งเหลือ ดร.ถนัด คอมันตร์ อยู่เพียงท่านเดียว


ดร.ถนัด คอมันตร์ อยู่ร่วมรัฐบาลของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผ่านเหตุการณ์กรณีเขาพระวิหาร ที่ไทยแพ้คดีมาด้วยจนถึงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2506 หัวหน้ารัฐบาล คือจอมพล สฤษดิ์ฯ ได้ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ครั้นจอมพลถนอม กิตติขจร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อมา ดร.ถนัด ก็ยังคงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรัฐบาลเรื่อยมา จนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2511 ในเดือนมิถุนายน และ การเลือกตั้งทั่วไปในปีถัดมา ตอนนั้นจอมพล ถนอม กิตติขจร ตั้งพรรคการเมืองชื่อพรรคสหประชาไทย ส่งนักการเมืองลงสมัครเข้ารับเลือกตั้งอย่างเต็มที่ และก็ชนะได้เสียงข้างมากเข้ามาตั้งรัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อมา ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ยังเป็นของ ดร.ถนัด คอมันตร์ โดยไม่เปลี่ยนแปลง
ดร.ถนัด คอมันตร์ อยู่ร่วมรัฐบาลของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผ่านเหตุการณ์กรณีเขาพระวิหาร ที่ไทยแพ้คดีมาด้วยจนถึงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2506 หัวหน้ารัฐบาล คือจอมพล สฤษดิ์ฯ ได้ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ครั้นจอมพลถนอม กิตติขจร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อมา ดร.ถนัด ก็ยังคงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรัฐบาลเรื่อยมา จนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2511 ในเดือนมิถุนายน และ การเลือกตั้งทั่วไปในปีถัดมา ตอนนั้นจอมพล ถนอม กิตติขจร ตั้งพรรคการเมืองชื่อพรรคสหประชาไทย ส่งนักการเมืองลงสมัครเข้ารับเลือกตั้งอย่างเต็มที่ และก็ชนะได้เสียงข้างมากเข้ามาตั้งรัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อมา ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ยังเป็นของ ดร.ถนัด คอมันตร์ โดยไม่เปลี่ยนแปลง
บรรทัดที่ 28: บรรทัดที่ 28:
ต่อมาเมื่อจอมพลถนอมตั้งรัฐบาลตอนปลายปี พ.ศ.2515  ดร.ถนัด ก็ไม่ได้เข้าร่วมรัฐบาล มีคนเล่ากันว่าเพราะปลายสมัยรัฐบาลจอมพล ถนอมชุดก่อนได้มีการขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างรัฐมนตรีถนัดกับอดีตรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลที่ออกไปเป็นทูตประจำสหรัฐฯ แต่ ดร.ถนัดก็ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในตอนนั้นด้วย
ต่อมาเมื่อจอมพลถนอมตั้งรัฐบาลตอนปลายปี พ.ศ.2515  ดร.ถนัด ก็ไม่ได้เข้าร่วมรัฐบาล มีคนเล่ากันว่าเพราะปลายสมัยรัฐบาลจอมพล ถนอมชุดก่อนได้มีการขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างรัฐมนตรีถนัดกับอดีตรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลที่ออกไปเป็นทูตประจำสหรัฐฯ แต่ ดร.ถนัดก็ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในตอนนั้นด้วย


ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ ''"''''14 ตุลาคม 2516"'' ที่นิสิตนักศึกษาและประชาชนล้มรัฐบาลของจอมพลถนอม ดร.ถนัด จึงไม่ได้อยู่ในคณะรัฐบาล และในช่วงที่บรรยากาศประชาธิปไตยบานเต็มเวียง จนมาถึงวันสลดใจเพราะคนไทยฆ่ากันเองตอนปลายปี 2519 จนเวลาล่วงเลยมาถึงปลายปี 2521 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ.2521 และเตรียมที่จะมีการเลือกตั้งในปีถัดมา เวลานั้นอาจมีคนคิดว่าดร.ถนัด คอมันตร์ คงจะยุติบทบาททางการเมืองไปแล้ว แต่การณ์กลับตรงกันข้าม ดร.ถนัด กลับเข้ามาสู่วงการเมืองอีกครั้ง โดยลงสมัครเข้าแข่งขันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพ ที่ทำให้คนแปลกใจคือท่านอยู่ในกลุ่มประชาธิปัตย์หรือพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง ตอนนั้นยังไม่มีกฎหมายพรรคการเมืองจึงยังไม่ยอมให้มีพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ พรรคประชาธิปัตย์นี้เคยเป็นพรรคที่มีความขัดแย้งกับท่านมาก่อนตอนที่ท่านเป็นรัฐมนตรี การเลือกตั้งครั้งนั้นกลุ่มประชาธิปัตย์แพ้เรียบในกรุงเทพ มี ดร.ถนัดคนเดียวเท่านั้นที่ชนะได้ในกรุงเทพ
ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ ''"''''14 ตุลาคม 2516"'''''<b>ที่นิสิตนักศึกษาและประชาชนล้มรัฐบาลของจอมพลถนอม ดร.ถนัด จึงไม่ได้อยู่ในคณะรัฐบาล และในช่วงที่บรรยากาศประชาธิปไตยบานเต็มเวียง จนมาถึงวันสลดใจเพราะคนไทยฆ่ากันเองตอนปลายปี 2519 จนเวลาล่วงเลยมาถึงปลายปี 2521 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ.2521 และเตรียมที่จะมีการเลือกตั้งในปีถัดมา เวลานั้นอาจมีคนคิดว่าดร.ถนัด คอมันตร์ คงจะยุติบทบาททางการเมืองไปแล้ว แต่การณ์กลับตรงกันข้าม ดร.ถนัด กลับเข้ามาสู่วงการเมืองอีกครั้ง โดยลงสมัครเข้าแข่งขันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพ ที่ทำให้คนแปลกใจคือท่านอยู่ในกลุ่มประชาธิปัตย์หรือพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง ตอนนั้นยังไม่มีกฎหมายพรรคการเมืองจึงยังไม่ยอมให้มีพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ พรรคประชาธิปัตย์นี้เคยเป็นพรรคที่มีความขัดแย้งกับท่านมาก่อนตอนที่ท่านเป็นรัฐมนตรี การเลือกตั้งครั้งนั้นกลุ่มประชาธิปัตย์แพ้เรียบในกรุงเทพ มี ดร.ถนัดคนเดียวเท่านั้นที่ชนะได้ในกรุงเทพ</b>


วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2522 ดร.ถนัดก็ทำให้คนที่สนใจการเมืองได้ทึ่งอีก เพราะพรรคประชาธิปัตย์เลือกท่านเป็นหัวหน้าพรรค ชนะคนที่เข้าพรรคมาก่อนท่านหลายคน ด้วยเหตุนี้เมื่อต่อมาพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล ท่านจึงได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลที่มีพลเอก เปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ตอนนั้นจึงถือได้ว่าท่านเล่นการเมืองโดยแท้ ลงเลือกตั้งเดินหาเสียงกับชาวกรุงและสังกัดพรรคการเมืองจริงจัง ดร.ถนัด เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเป็นรองนายกรัฐมนตรีอยู่ในรัฐบาลต่อมา ครั้นถึง พ.ศ.2525 เมื่อพ้นภาระจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ท่านก็พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล แต่ก็ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ต่อมาจนมีการยุบสภาในปี 2526&nbsp; ในการเลือกตั้งทั่วไปที่ตามมา ท่านก็มิได้สมัครเข้าแข่งขัน และก็มิได้เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นใด จึงเป็นการเลิกเล่นการเมืองตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2526 ตอนนั้นท่านอายุ 69 ปี
วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2522 ดร.ถนัดก็ทำให้คนที่สนใจการเมืองได้ทึ่งอีก เพราะพรรคประชาธิปัตย์เลือกท่านเป็นหัวหน้าพรรค ชนะคนที่เข้าพรรคมาก่อนท่านหลายคน ด้วยเหตุนี้เมื่อต่อมาพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล ท่านจึงได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลที่มีพลเอก เปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ตอนนั้นจึงถือได้ว่าท่านเล่นการเมืองโดยแท้ ลงเลือกตั้งเดินหาเสียงกับชาวกรุงและสังกัดพรรคการเมืองจริงจัง ดร.ถนัด เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเป็นรองนายกรัฐมนตรีอยู่ในรัฐบาลต่อมา ครั้นถึง พ.ศ.2525 เมื่อพ้นภาระจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ท่านก็พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล แต่ก็ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ต่อมาจนมีการยุบสภาในปี 2526&nbsp; ในการเลือกตั้งทั่วไปที่ตามมา ท่านก็มิได้สมัครเข้าแข่งขัน และก็มิได้เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นใด จึงเป็นการเลิกเล่นการเมืองตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2526 ตอนนั้นท่านอายุ 69 ปี

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:04, 29 พฤษภาคม 2560

ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


ถนัด คอมันตร์ '''': รัฐมนตรีต่างประเทศนานที่สุด

         วันนี้ใครไม่คุยเรื่องประชาคมอาเซียน ก็อาจดูว่าไม่ค่อยจะทันสมัย แต่อาจมีคนน้อยคนที่ทราบว่านักการเมืองไทยที่มีส่วนเป็นตัวจักรสำคัญในการก่อตั้งประชาคมอาเซียนมาเมื่อกว่ากึ่งศตวรรษนั้นยังมีชีวิตอยู่ พ.อ.(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผู้เรืองนามของนายกรัฐมนตรี สองจอมพล คือทั้งจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพล ถนอม กิตติขจร รัฐมนตรีถนัด คอมันตร์ ผู้นี้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ร่วมเวลากันแล้วนับว่านานที่สุด

          แม้ท่านจะเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองแบบสมัครเล่น ด้วยว่าไม่ได้เข้าพรรคการเมืองหรือลงสมัครเข้ารับเลือกตั้งก็ตาม แต่เส้นทางทางการเมืองของ ดร. ถนัด คอมันตร์ ก็ไม่ธรรมดา เมื่อเห็นนามสกุลของท่านอาจมีคนอยากรู้ที่มาว่าเป็นมาอย่างไร
          ดร.ถนัด คอมันตร์ เป็นบุตรของ พระยาพิพากษาสัตยาธิปไตย (โป๋) กับคุณหญิงถนอม ท่านเกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2457 ส่วนนามสกุลของท่านนั้นในหนังสื่อชื่อ "แด่พ่อที่รักลูก" ที่พิมพ์ออกมาในโอกาส 100 ปี ของ ดร.ถนัดนั้นมีคำอธิบายเรื่องนี้เอาไว้ยาว ขอยกมาให้ดูเพียงส่วนเดียวว่า

"3.'คอ' มาจาก 'โค้ว' เนื่องจากบรรพบุรุษเป็นชาวจีนแซ่โค้วซึ่งเดินทางมากับเรือสำเภาจากประเทศจีน มาทำการค้าขายในประเทศสยามตอนต้นยุครัตนโกสินทร์ แต่งงานกับสาวชาวไทย มีลูกหลานไทย และบิดาของนายโป๋ มีนามว่า 'มัน'จึงพ้องกับคำว่า 'มันตร์' หมายถึง มันตรา หรือการสวดภาวนา 'คอมันตร์' จึงหมายถึง 'การสวดภาวนาเพื่อสิริมงคลแด่ต้นตระกูล' "

ที่จริงยังมีคำอธิบายถึงที่มาของคำ "คอมันตร์" อีกสองทาง ที่จะหาอ่านได้จากหนังสือข้างต้น  ดร.ถนัด เป็นคนเรียนหนังสือเก่ง ไปเรียนเมืองนอกที่ฝรั่งเศสตั้งแต่วัยเด็ก เมื่ออายุเพียง 14 ปี ตอนแรกเรียนด้วยทุนพ่อ ต่อมา ในช่วงอุดมศึกษาชิงทุนหลวงได้ ท่านศึกษาจบปริญญาเอกที่เรียกว่า "ดอกเตอร์อังดรัวต์" ของรัฐ จากมหาวิทยาลัยปารีส และกลับมารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ที่ทำงานเก่ง คนในกระทรวงรู้จักดี จึงได้เลื่อนตำแหน่งเร็ว อายุเพียง 40 กว่าๆก็ได้ไปเป็นทูตไทยอยู่ที่กรุงวอชิงตันแล้ว และการที่เป็นทูตไทยอยู่ที่สหรัฐอเมริกานั่นเองจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ท่านเข้ามาเป็นนักการเมืองที่หลายคนนึกว่า "ชั่วคราว" เพราะท่านได้พบปะและคงมีโอกาสได้ให้ความเห็นกับนายทหารคนสำคัญที่ช่วงนั้นไปรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลวอเตอร์รีด ในกรุงวอชิงตัน นายทหารท่านนี้ได้แก่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติ เมื่อ พ.ศ.2501

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กลับจากรักษาตัวที่สหรัฐฯ มาเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ ยึดอำนาจครั้งที่ 2 ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 และตั้งรัฐบาลที่มี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เองเป็นนายกรัฐมนตรี ในตอนต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ2502 ครั้งนั้นผู้คนในวงการการเมืองจึงได้ยินชื่อ ดร.ถนัด คอมันตร์ มากขึ้น เพราะท่านได้เข้าร่วมรัฐบาลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากอดีตทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกามาเป็นรัฐมนตรีดูงานเรื่องการเมืองต่างประเทศในช่วงเวลาสงครามเย็นในโลกที่แบ่งออกเป็นสองค่ายใหญ่ๆ ในโลก คือค่ายตะวันตกที่ไม่เป็นคอมมูนิสต์ มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ กับค่ายคอมมูนิสต์ ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ ทั้งยังมีกลุ่มโลกที่สามแสดงตัวไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ทางพวกตะวันตกก็ไม่อยากเข้า ทางคอมมูนิสต์ก็ยังไม่อยากเป็น ทำตัวอยู่กลางๆ ดังนั้นจึงถือว่าเป็นรัฐมนตรีสำคัญที่นายกรัฐมนตรีเลือกมาอย่างเหมาะสม

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั้นเป็นผู้นำที่รู้จักเลือกคนมาทำงานเป็นอย่างดี รัฐบาลของท่านนั้นเลือกเอานักปฏิบัติการที่มักเรียกกันว่า "เทคโนแครต" ในวงราชการให้มาทำงานการเมือง ครั้งนั้นท่านยังเอาทูตไทยอีก 2 ประเทศนอกจาก ดร.ถนัดมาเป็นรัฐมนตรี และมีขุนนางเก่าชื่อดีอย่างพระยาอรรถการีย์นิพนธ์ พระบำราษนราดูรย์ พระประกาศสหกรณ์ และคนเด่นอีกบางคนมาเป็นรัฐมนตรี ดร.ถนัด คอมันตร์ นั้น ความที่เป็นผู้มีความรู้ดีและมือสะอาดจึงไม่ค่อยกลัวใคร รวมทั้งนักการเมืองฝ่ายค้านและนักข่าวหนังสือพิมพ์ ฝ่ายค้านที่สำคัญและค้านจริงในตอนนั้นคือพรรคประชาธิปัตย์ ถึงขนาดบางคราวท่านได้แนะนำนักข่าวที่มาถามท่านผิดๆถูกๆให้ไปหาข้อมูลเสียก่อน บางคนให้ฉายาท่านว่า "เทวดา" ก็มี การดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยในเวลานั้นถือได้ว่าใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกามาก ก่อนหน้าที่ท่านจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ได้มีการตั้งองค์การป้องกันร่วมกันของประเทศในภูมิภาคนี้กับประเทศมหาอำนาจตะวันตกที่เรียกเป็นภาษาไทยว่าองค์การ ส.ป.อ. หรือภาษาอังกฤษว่า "ซีโต้" แต่ความเชื่อในเรื่องภัยคอมมูนิสต์ก็มีอยู่มาก จึงมีข้อตกลงสำคัญระหว่างไทยกับอเมริกัน ที่เรียกว่าข้อตกลงถนัด-รัสค์ ที่รัฐมนตรีของสองประเทศเป็นผู้ทำ โดยสหรัฐฯให้คำมั่นจะช่วยไทยหากมีภัยรุกราน

แต่ที่ ดร.ถนัดได้ชื่อว่าเป็น "มิสเตอร์อาเซียน" ก็เพราะท่านเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งสมาคมแรกของประเทศในภูมิภาคอาเซียนนี้ โดยมีไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เพียงสามประเทศก่อตั้งสมาคมอาสา ( ASA :  Association of South east Asia) ขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2504 สมัยที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี เวลานี้ในบรรดาผู้ที่ร่วมก่อตั้งเหลือ ดร.ถนัด คอมันตร์ อยู่เพียงท่านเดียว

ดร.ถนัด คอมันตร์ อยู่ร่วมรัฐบาลของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผ่านเหตุการณ์กรณีเขาพระวิหาร ที่ไทยแพ้คดีมาด้วยจนถึงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2506 หัวหน้ารัฐบาล คือจอมพล สฤษดิ์ฯ ได้ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ครั้นจอมพลถนอม กิตติขจร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อมา ดร.ถนัด ก็ยังคงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรัฐบาลเรื่อยมา จนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2511 ในเดือนมิถุนายน และ การเลือกตั้งทั่วไปในปีถัดมา ตอนนั้นจอมพล ถนอม กิตติขจร ตั้งพรรคการเมืองชื่อพรรคสหประชาไทย ส่งนักการเมืองลงสมัครเข้ารับเลือกตั้งอย่างเต็มที่ และก็ชนะได้เสียงข้างมากเข้ามาตั้งรัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อมา ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ยังเป็นของ ดร.ถนัด คอมันตร์ โดยไม่เปลี่ยนแปลง

ในรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจร นี่เอง ที่รัฐมนตรี ถนัดได้ร่วมประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ที่กรุงเทพ เมืองหลวงของประเทศไทย ออกปฏิญญากรุงเทพ ตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 ดังนั้นเรื่องความเป็นมาของประชาคมอาเซียน ผู้ที่รู้ดีตั้งแต่ต้นคือ ดร. ถนัด คอมันตร์ การเป็นรัฐมนตรีที่ไม่กลัวสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นเป็นที่รู้กันพอสมควร ดังที่มีเรื่องเล่าถึงเหตุการณ์ประท้วงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2514 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4 คนได้โกนหัวประท้วงรัฐมนตรีถนัด ที่ลานพระบรมรูปทรงม้าหน้ารัฐสภา อ้างว่าท่านไม่ปฏิบัติตามมติของสภา ความเป็นมาของเรื่องก็คือมี ส.ส.ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ และนายกฯมอบหมายให้รัฐมนตรีถนัดมาตอบแทนท่าน ตอนที่ตอบท่านรัฐมนตรีได้บอกว่าถ้อยคำในกระทู้บางส่วนนั้นมีลักษณะเป็นการใส่ร้าย ท่านจึงยกข้อบังคับสภาและตั้งข้อสังเกตว่าประธานไม่ควรอนุญาตให้เป็นกระทู้ จึงมีการประท้วงกันในสภาจนมาถึงขั้นโกนหัวกันที่หน้าสภาด้วย แต่ท่านก็ยังคงเป็นรัฐมนตรีต่อมาจนถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 คือวันที่จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้ยึดอำนาจล้มรัฐบาลตัวเองและล้มรัฐธรรมนูญ รัฐมนตรีถนัดจึงเป็นรัฐมนตรีต่อเนื่องกันมานานประมาณ 13. ปี นับว่าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด

ต่อมาเมื่อจอมพลถนอมตั้งรัฐบาลตอนปลายปี พ.ศ.2515  ดร.ถนัด ก็ไม่ได้เข้าร่วมรัฐบาล มีคนเล่ากันว่าเพราะปลายสมัยรัฐบาลจอมพล ถนอมชุดก่อนได้มีการขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างรัฐมนตรีถนัดกับอดีตรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลที่ออกไปเป็นทูตประจำสหรัฐฯ แต่ ดร.ถนัดก็ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในตอนนั้นด้วย

ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ "'14 ตุลาคม 2516"ที่นิสิตนักศึกษาและประชาชนล้มรัฐบาลของจอมพลถนอม ดร.ถนัด จึงไม่ได้อยู่ในคณะรัฐบาล และในช่วงที่บรรยากาศประชาธิปไตยบานเต็มเวียง จนมาถึงวันสลดใจเพราะคนไทยฆ่ากันเองตอนปลายปี 2519 จนเวลาล่วงเลยมาถึงปลายปี 2521 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ.2521 และเตรียมที่จะมีการเลือกตั้งในปีถัดมา เวลานั้นอาจมีคนคิดว่าดร.ถนัด คอมันตร์ คงจะยุติบทบาททางการเมืองไปแล้ว แต่การณ์กลับตรงกันข้าม ดร.ถนัด กลับเข้ามาสู่วงการเมืองอีกครั้ง โดยลงสมัครเข้าแข่งขันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพ ที่ทำให้คนแปลกใจคือท่านอยู่ในกลุ่มประชาธิปัตย์หรือพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง ตอนนั้นยังไม่มีกฎหมายพรรคการเมืองจึงยังไม่ยอมให้มีพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ พรรคประชาธิปัตย์นี้เคยเป็นพรรคที่มีความขัดแย้งกับท่านมาก่อนตอนที่ท่านเป็นรัฐมนตรี การเลือกตั้งครั้งนั้นกลุ่มประชาธิปัตย์แพ้เรียบในกรุงเทพ มี ดร.ถนัดคนเดียวเท่านั้นที่ชนะได้ในกรุงเทพ

วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2522 ดร.ถนัดก็ทำให้คนที่สนใจการเมืองได้ทึ่งอีก เพราะพรรคประชาธิปัตย์เลือกท่านเป็นหัวหน้าพรรค ชนะคนที่เข้าพรรคมาก่อนท่านหลายคน ด้วยเหตุนี้เมื่อต่อมาพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล ท่านจึงได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลที่มีพลเอก เปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ตอนนั้นจึงถือได้ว่าท่านเล่นการเมืองโดยแท้ ลงเลือกตั้งเดินหาเสียงกับชาวกรุงและสังกัดพรรคการเมืองจริงจัง ดร.ถนัด เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเป็นรองนายกรัฐมนตรีอยู่ในรัฐบาลต่อมา ครั้นถึง พ.ศ.2525 เมื่อพ้นภาระจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ท่านก็พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล แต่ก็ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ต่อมาจนมีการยุบสภาในปี 2526  ในการเลือกตั้งทั่วไปที่ตามมา ท่านก็มิได้สมัครเข้าแข่งขัน และก็มิได้เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นใด จึงเป็นการเลิกเล่นการเมืองตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2526 ตอนนั้นท่านอายุ 69 ปี

ท่านอดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผู้นี้ แม้จะไม่ได้เรียนมาทางทหารและไม่เคยเป็นนายทหารมาก่อน แต่ในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ท่านได้รับยศทางทหารเป็น "พันเอก(พิเศษ)" เป็นการได้ยศครั้งแรกและครั้งสุดท้าย เรื่องการได้ยศทหารนี้มีเรื่องเล่าขอเก็บมาเล่าต่อว่า

"เมื่อครั้งจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรีและดร.ถนัด คอมันตร์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ บางครั้งมีความเห็นไม่ตรงกันและ ดร.ถนัด คอมันตร์ ก็จะยืนกรานไม่ยอมเปลี่ยนความเห็น จอมพล สฤษดิ์ จึงแก้เคล็ดโดยการขอพระราชทานยศทหารให้เพื่อว่าเมื่อมียศทหารแล้ว ก็จะต้องทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา.."

วันนี้ ดร.ถนัด คอมันตร์ อดีตนักการทูต และนักการเมืองเรืองนาม ผู้ครองตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยนานที่สุด ท่านมีอายุ 101 ปีแล้ว และเป็นผู้ก่อตั้งประชาคมอาเซียนเพียงคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่