ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงคหกรรมบดี"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''หลวงคหกรรมบดี'''   ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เ..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''หลวงคหกรรมบดี'''
ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


 
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
 
ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
 
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


----
----


วันนี้มาคุยเรื่องคนการเมืองกันบ้าง ?? 
วันนี้มาคุยเรื่องคนการเมืองกันบ้าง ?? 


เอ่ยชื่อหลวงคหกรรมบดี วันนี้อาจมีคนรู้จักไม่มาก ด้วยเหตุนี้จึงขอหยิบยกเอามาเล่าถึงคนการเมืองคนนี้ ใครๆก็ทราบดีกันแล้วว่า ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2475 เมื่อมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว ชุดแรก และมีประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของไทย คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีแล้ว สภาผู้แทนราษฎรก็มีเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรกคือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือ นายปรีดี พนมยงค์
เอ่ยชื่อหลวงคหกรรมบดี วันนี้อาจมีคนรู้จักไม่มาก ด้วยเหตุนี้จึงขอหยิบยกเอามาเล่าถึงคนการเมืองคนนี้ ใครๆก็ทราบดีกันแล้วว่า ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2475 เมื่อมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว ชุดแรก และมีประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของไทย คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีแล้ว สภาผู้แทนราษฎรก็มีเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรกคือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือ นายปรีดี พนมยงค์
บรรทัดที่ 22: บรรทัดที่ 18:
หลวงคหกรรมบดีเป็นใครมาจากไหนจึงขึ้นมาดำรงตำแหน่งสำคัญหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน อยู่ในกลุ่มผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองฯด้วยหรือไม่  เปิดประวัติท่านออกมาดูก็พอจะเห็นความสัมพันธ์ ท่านเป็นนักเรียนนอก ไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศสในช่วงเวลาเดียวกันกับที่นายควง อภัยวงศ์ และนายปรีดี พนมยงค์ ไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศส และมีที่พักอยู่ที่บริเวณ ''"การ์ติเอ ลาแตง"'' ดังที่ในประวัติระบุไว้
หลวงคหกรรมบดีเป็นใครมาจากไหนจึงขึ้นมาดำรงตำแหน่งสำคัญหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน อยู่ในกลุ่มผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองฯด้วยหรือไม่  เปิดประวัติท่านออกมาดูก็พอจะเห็นความสัมพันธ์ ท่านเป็นนักเรียนนอก ไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศสในช่วงเวลาเดียวกันกับที่นายควง อภัยวงศ์ และนายปรีดี พนมยงค์ ไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศส และมีที่พักอยู่ที่บริเวณ ''"การ์ติเอ ลาแตง"'' ดังที่ในประวัติระบุไว้


''          "..นายชม จารุรัตน์ได้เช่าห้องพักอยู่ในเขต ''''Quartier Latin นครปารีส มีห้องพักใกล้กับห้องพักของนายปรีดี พนมยงค์ นักศึกษากฎหมายทุนกระทรวงยุติธรรม และที่ห้องพักของคนใดคนหนึ่งในสองคนนี้ก็ได้มีนายควง อภัยวงศ์ เพื่อนที่ร่วมเดินทางมากับเรือ "มิเตา" และกำลังศึกษาวิชาวิศวกรรมอยู่ที่เมืองลีออง (Lyon) นั้นเมื่อมาปารีส ก็จะมาพักอยู่เป็นประจำโดยไม่ต้องไปเช่าโรงแรม ทำให้สามคนนี้เป็นเพื่อนรักสนิทสนมกันเป็นพิเศษ เที่ยวเตร่กินนอนอยู่ด้วยกัน"''
''          "..นายชม จารุรัตน์ได้เช่าห้องพักอยู่ในเขต ''''Quartier Latin นครปารีส มีห้องพักใกล้กับห้องพักของนายปรีดี พนมยงค์ นักศึกษากฎหมายทุนกระทรวงยุติธรรม และที่ห้องพักของคนใดคนหนึ่งในสองคนนี้ก็ได้มีนายควง อภัยวงศ์ เพื่อนที่ร่วมเดินทางมากับเรือ "มิเตา" และกำลังศึกษาวิชาวิศวกรรมอยู่ที่เมืองลีออง (Lyon) นั้นเมื่อมาปารีส ก็จะมาพักอยู่เป็นประจำโดยไม่ต้องไปเช่าโรงแรม ทำให้สามคนนี้เป็นเพื่อนรักสนิทสนมกันเป็นพิเศษ เที่ยวเตร่กินนอนอยู่ด้วยกัน"'''''


          แต่ถึงจะเป็นนักเรียนฝรั่งเศสยุคนั้นและเป็นเพื่อนสนิทกับผู้ก่อการฯสำคัญทั้งสองท่าน หลวงคหกรรมบดีก็มิได้ร่วมเป็นผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงฯ เพราะเมื่อเรียนจบทั้งทางด้านรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์กลับมาจากฝรั่งเศสแล้ว นายชม จารุรัตน์ ได้มาทำงานที่กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และต่อมาได้เป็นอำมาตย์ตรี มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงคหกรรมบดี ที่สำคัญคือได้เป็น''"เลขานุการเสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน"'' ผู้ซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมอยู่ในตอนนั้น อาจเป็นเพราะมีตำแหน่งที่ใกล้ชิดมากกับกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน จึงทำให้เมื่อกลับมาเมืองไทยแล้ว เพื่อนๆไม่กล้าไปชวนหลวงคหกรรมบดี หรือ นายชม จารุรัตน์ ของเพื่อนเก่าสมัยที่ปารีสมาร่วมงานการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
          แต่ถึงจะเป็นนักเรียนฝรั่งเศสยุคนั้นและเป็นเพื่อนสนิทกับผู้ก่อการฯสำคัญทั้งสองท่าน หลวงคหกรรมบดีก็มิได้ร่วมเป็นผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงฯ เพราะเมื่อเรียนจบทั้งทางด้านรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์กลับมาจากฝรั่งเศสแล้ว นายชม จารุรัตน์ ได้มาทำงานที่กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และต่อมาได้เป็นอำมาตย์ตรี มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงคหกรรมบดี ที่สำคัญคือได้เป็น''"เลขานุการเสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน"'' ผู้ซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมอยู่ในตอนนั้น อาจเป็นเพราะมีตำแหน่งที่ใกล้ชิดมากกับกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน จึงทำให้เมื่อกลับมาเมืองไทยแล้ว เพื่อนๆไม่กล้าไปชวนหลวงคหกรรมบดี หรือ นายชม จารุรัตน์ ของเพื่อนเก่าสมัยที่ปารีสมาร่วมงานการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
บรรทัดที่ 35: บรรทัดที่ 31:


ท่านออกมาทำงานที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งแต่ 14 ธันวาคม 2497 จนอายุ 65 ปี 15 กรกฎาคม 2516  และเสียชีวิต เมื่อ 10 มกราคม 2522
ท่านออกมาทำงานที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งแต่ 14 ธันวาคม 2497 จนอายุ 65 ปี 15 กรกฎาคม 2516  และเสียชีวิต เมื่อ 10 มกราคม 2522
'''ที่มา'''
หนังสือ “คนการเมือง” 
 

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:20, 29 พฤษภาคม 2560

ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


วันนี้มาคุยเรื่องคนการเมืองกันบ้าง ?? 

เอ่ยชื่อหลวงคหกรรมบดี วันนี้อาจมีคนรู้จักไม่มาก ด้วยเหตุนี้จึงขอหยิบยกเอามาเล่าถึงคนการเมืองคนนี้ ใครๆก็ทราบดีกันแล้วว่า ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2475 เมื่อมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว ชุดแรก และมีประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรกของไทย คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีแล้ว สภาผู้แทนราษฎรก็มีเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนแรกคือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือ นายปรีดี พนมยงค์

          งานแม่บ้านสภาผู้แทนราษฎรหรือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่นายปรีดี พนมยงค์เป็นอยู่นี้มีคนที่ช่วยทำงานท่านหนึ่งที่สำคัญชื่อ หลวงคหกรรมบดี ซึ่งท่านได้เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต่อมาเลยในวันรุ่งขึ้น ดังความที่ปรากฏในหนังสืองานศพของท่านว่า

" ..สำหรับเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ขออนุมัติต่อที่ประชุมให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ( นายปรีดี พนมยงค์) ดำรงตำแหน่งเป็นการชั่วคราวไปก่อน แล้วให้หลวงคหกรรมบดี
(นายชม จารุรัตน์) ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรคนต่อไปในวันรุ่งขึ้น คือ ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา นายชวน จารุรัตน์  ได้ดำรงตำแหน่งนี้ จนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2485 .."

          แต่ยังมีบางท่านระบุว่าหลวงคหกรรมบดีได้เป็นเลขาธิการสภาฯตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 ถึงวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2485

หลวงคหกรรมบดีเป็นใครมาจากไหนจึงขึ้นมาดำรงตำแหน่งสำคัญหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน อยู่ในกลุ่มผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองฯด้วยหรือไม่  เปิดประวัติท่านออกมาดูก็พอจะเห็นความสัมพันธ์ ท่านเป็นนักเรียนนอก ไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศสในช่วงเวลาเดียวกันกับที่นายควง อภัยวงศ์ และนายปรีดี พนมยงค์ ไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศส และมีที่พักอยู่ที่บริเวณ "การ์ติเอ ลาแตง" ดังที่ในประวัติระบุไว้

          "..นายชม จารุรัตน์ได้เช่าห้องพักอยู่ในเขต 'Quartier Latin นครปารีส มีห้องพักใกล้กับห้องพักของนายปรีดี พนมยงค์ นักศึกษากฎหมายทุนกระทรวงยุติธรรม และที่ห้องพักของคนใดคนหนึ่งในสองคนนี้ก็ได้มีนายควง อภัยวงศ์ เพื่อนที่ร่วมเดินทางมากับเรือ "มิเตา" และกำลังศึกษาวิชาวิศวกรรมอยู่ที่เมืองลีออง (Lyon) นั้นเมื่อมาปารีส ก็จะมาพักอยู่เป็นประจำโดยไม่ต้องไปเช่าโรงแรม ทำให้สามคนนี้เป็นเพื่อนรักสนิทสนมกันเป็นพิเศษ เที่ยวเตร่กินนอนอยู่ด้วยกัน"

          แต่ถึงจะเป็นนักเรียนฝรั่งเศสยุคนั้นและเป็นเพื่อนสนิทกับผู้ก่อการฯสำคัญทั้งสองท่าน หลวงคหกรรมบดีก็มิได้ร่วมเป็นผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงฯ เพราะเมื่อเรียนจบทั้งทางด้านรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์กลับมาจากฝรั่งเศสแล้ว นายชม จารุรัตน์ ได้มาทำงานที่กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และต่อมาได้เป็นอำมาตย์ตรี มีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงคหกรรมบดี ที่สำคัญคือได้เป็น"เลขานุการเสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน" ผู้ซึ่งเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมอยู่ในตอนนั้น อาจเป็นเพราะมีตำแหน่งที่ใกล้ชิดมากกับกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน จึงทำให้เมื่อกลับมาเมืองไทยแล้ว เพื่อนๆไม่กล้าไปชวนหลวงคหกรรมบดี หรือ นายชม จารุรัตน์ ของเพื่อนเก่าสมัยที่ปารีสมาร่วมงานการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

กระนั้นเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองฯ โดยยึดอำนาจได้สำเร็จในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475แล้ว วันรุ่งขึ้นหลวงคหกรรมบดีก็ถูกเพื่อนตามเข้ามาร่วมงานทันทีที่พระที่นั่งอนันตสมาคม และในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2475 เมื่อมีการประกาศรายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว จำนวน 70 คน จึงมีชื่อหลวง
คหกรรมบดีเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ด้วย

แม้จะไม่ได้เป็นผู้ก่อการฯ แต่ก็เป็นคนที่คณะผู้ก่อการฯวางใจ และเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ในระยะเวลาที่คณะราษฎรมีอำนาจทางการเมืองอยู่ประมาณ 14 ปีนั้น หลวงคหกรรมบดีนั้นก็ได้เป็นเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรอยู่เป็นเวลานานเกือบ 9 ปี ทั้งตอนที่มีการประชุมพิจารณาเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติ เมื่อปี 2476 โดยตั้งคณะ "กรรมานุการ" มาพิจารณานั้น ในจำนวนกรรมการ 14 คนซึ่งเป็นคนสำคัญทางการเมืองยุคนั้น ที่เข้าประชุมก็มีหลวงคหกรรมบดี ร่วมอยู่ด้วย

มีคนเชื่อกันว่าหลวงคหกรรมบดีน่าจะสนิทกับนายควง อภัยวงศ์ มาก เพราะต่อมาท่านได้ไปดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม ในสมัยที่นายควง อภัยวงศ์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตอนนั้นมีหลวงพิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี หลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2489 นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี หลวงคหกรรมบดีก็มาเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและเป็นรัฐมนตรีอยู่พร้อมกันไป

นายควง อภัยวงศ์ กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี หลังการรัฐประหาร พ.ศ.2490 หลวงคหกรรมบดีก็กลับมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และหลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2491 ในรัฐบาลนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ท่านก็ได้เปลี่ยนตำแหน่งมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นตำแหน่งการเมืองตำแหน่งสุดท้ายของท่าน เมื่อนายควง อภัยวงศ์ ถูกคณะรัฐประหารจี้ให้ลาออก ท่านจึงพ้นการเมืองตั้งแต่ พ.ศ.2491

ท่านออกมาทำงานที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งแต่ 14 ธันวาคม 2497 จนอายุ 65 ปี 15 กรกฎาคม 2516  และเสียชีวิต เมื่อ 10 มกราคม 2522

ที่มา

หนังสือ “คนการเมือง”