ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หน้าที่ของอภิรัฐมนตรี"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ชงคชาญ สุวรรณมณี ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิประ..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''ผู้เรียบเรียง''' ชงคชาญ สุวรรณมณี
'''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล


----
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' รองศาสตราจารย์ ดร.สนธิ เตชานันท์


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง
 


----
'''องค์ประกอบ'''


ประวัติศาสตร์การเมืองก่อนถึงการเปลี่ยนแปลงจาก[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์|ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์]]มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2475 นั้น มีปัจจัยทางประวัติศาสตร์ที่เป็นเงื่อนไขตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 5 ที่มีการปฏิรูปการปกครองมาโดยลำดับ เมื่อสิ้นรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 6 [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัฐกาลที่ 7 ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในหลักรัฐศาสตร์การปกครองของสมเด็จพระบรมชนกนาถ คือ สมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 เป็นอย่างยิ่ง และได้โปรดนำวิธีตั้งที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในยุคสยามใหม่นั้นมาใช้ โดยทรงใช้คำว่า คณะอภิรัฐมนตรี หรือ “Supreme Council of the State” นับว่าเป็นวิวัฒนาการที่ได้นำมาสู่คำว่า “[[คณะองคมนตรี|คณะองคมนตรี]]” หรือ “Privy Council” ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน คณะองคมนตรีในทุกรัชสมัย ได้ดำรงภาระหน้าที่สำคัญถวายองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาด้วยความจงรักภักดี สมดั่งพระดำรัสของ[[สมเด็จฯ_กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] องค์พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่ว่า “[[คณะองคมนตรี|คณะองคมนตรี]]” คือ คณะที่ปรึกษาชั้นสูงสุดของ[[พระมหากษัตริย์|พระมหากษัตริย์]] ด้วยทรงโปรดเกล้าฯ ตั้งตามพระราชอัธยาศัย
เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ เพียง ๒ วันหลังจากที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภาขึ้น เพื่อถวายคำปรึกษาในราชการทั้งปวง ด้วยเหตุผลซึ่งทรงแสดงไว้ในพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระยากัลยาณไมตรี (Francis B. Sayre) เมื่อประมาณ ๘ เดือนต่อมาว่า '''“เพื่อที่จะได้รับความไว้วางใจจากราษฎร”'''และเพื่อที่จะลดโอกาสที่ '''“พระเจ้าแผ่นดินจะทรงใช้อำนาจกระทำการตามอำเภอพระราชหฤทัย”[[#_ftn1|'''['''๑]]]''' อภิรัฐมนตรีที่ทรงแต่งตั้งประกอบด้วยเจ้านายชั้นบรมวงศ์ ๕ พระองค์[[#_ftn2|[]]]เรียงตามลำดับวัยวุฒิ และระบุพระยศขณะนั้น ได้ดังนี้


== ความเป็นมาของการตั้งอภิรัฐมนตรีสภา<ref>พระราชดำรัสทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา, '''ราชกิจจานุเบกษา''' เล่ม 42, วันที่ 28 พฤศจิกายน 2468, หน้า 2618.</ref> ==
#สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช (๒๔๐๒ – ๒๔๗๑) พระราชปิตุลา (อา) ของพระองค์ผู้ทรงเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ และผู้ทรงเป็นพระราชอนุชา (น้อง) ร่วมพระราชชนนี (แม่) ในรัชกาลที่ ๕
#สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ (๒๔๐๖ – ๒๔๙๐) พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ อีกพระองค์หนึ่ง
#พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ (๒๔๐๕ - ๒๔๘๖)พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔เช่นกัน
#พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (๒๔๑๗ - ๒๔๗๔)
#สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต (๒๔๒๔ - ๒๔๘๗)
#&nbsp;


สภาพการเมืองการปกครองเมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติ ในปี พ.ศ. 2468 พระองค์ได้ทรงตระหนักมาก่อนแล้วว่าพระราชฐานะของพระมหากษัตริย์กำลังถูกปัญญาชนมองไปในทางที่ไม่ดีมาตั้งแต่รัชกาลก่อนและความรู้สึกระหว่างพระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ตกอยู่ในภาวะที่แตกแยกกัน ดังนั้นพระองค์จึงทรงตั้ง “อภิรัฐมนตรีสภา” ขึ้นมาเพื่อรวบรวมพระบรมวงศานุวงศ์ที่อาวุโสสูง แต่ยังทรงทันสมัยด้วยมีประสบการณ์มากมาทรงทำงานร่วมกันเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกันในหมู่พระบรมวงศ์และทรงช่วยแบ่งเบาพระราชกิจของพระองค์ด้วย<ref>'''สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475''' http://www.chanpradit.ac.th/~somsak/rutisan450450/index.htm</ref>
พระองค์ตั้งแต่ ๑๒ – ๒๒ ปีต่อมา หลังจากที่อภิรัฐมนตรีสภาพระองค์แรกข้างต้นทิวงคตแล้ว&nbsp; ได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (๒๔๒๕ - ๒๔๗๕) ขึ้นแทน เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๓ และต่อมา ในวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๔&nbsp; ทรงแต่งตั้งเพิ่มเติมอีก ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (๒๔๒๔ - ๒๔๗๙) และพระ<br/> วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย (๒๔๒๖ - ๒๔๘๖) ซึ่งทั้งสามพระองค์นี้ ก็ทรงเคยเป็นเสนาบดีมาแล้วเช่นกัน


เมื่อวันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ภายหลังจากที่เสด็จขึ้นครองราชย์ได้ 2 วัน พระบาทสมพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งอภิรัฐมนตรีสภาขึ้น โดยมีกระแสพระราชดำรัส ดังนี้
&nbsp;


“ขอขอบพระทัยและขอบใจท่านทั้งหลายผู้เปนองคมนตรีที่ได้กระทำสัตยสัญญารับจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อตรงจงรักภักดีต่อตัวเรา
'''เหตุผลของการสถาปนา'''


ตั้งแต่เราได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์แห่งสมเด็จพระบุรพมหาราชเจ้า ซึ่งได้ทรงปกครองป้องกันและทำนุบำรุงสยามประเทศอันเปนที่รักของเราทั้งหลายให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบมาช้านาน เราก็รู้สึกความรับผิดชอบในส่วนเรา ซึ่งจะต้องพยายามปกครองสยามประเทศกับทั้งประชาชนทั้งหลายให้ร่มเย็นเปนสันติสุข และให้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองโดยเต็มความสามารถของเราที่จะพึงกระทำได้ทุกอย่างทุกประการต่อไปจนสุดกำลัง อาศัยความปรารภที่กล่าวมา เราคิดเห็นว่าตามราชประเพณีซึ่งมีอยู่ในบัดนี้ พระเจ้าแผ่นดินมีมนตรีสำหรับเปนที่ทรงปรึกษาหารือสองคณะด้วยกัน คือ องคมนตรี ซึ่งทรงตั้งไว้เปนจำนวนมาก สำหรับทรงปรึกษากิจการพิเศษ อันเกิดขึ้นฉะเพาะสิ่งฉะเพาะอย่างคณะ 1 กับเสนาบดีสภาผู้บังคับบัญชาราชการกระทรวงต่าง ๆ มีจำนวน หย่อนญี่สิบ สำหรับทรงปรึกษาหารือราชการ อันกำหนดไว้เปนหน้าที่ในกระทรวงนั้น ๆ คณะ 1 แต่ยังมีราชการอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเปนการสำคัญอย่างยิ่ง กล่าวคือ ที่จะคิดให้กิจการตลอดจนรัฎฐาภิปาลโนบายของรัฐบาลเปนอุปการอันหนึ่งอันเดียวกันทุกกระทรวงทบวงการ แต่ก่อนมาตกอยู่แต่ตาม พระบรมราชวินิจฉัยแม้มีพระราชประสงค์จะทรงปรึกษาหารือผู้อื่นก็ได้อาศัยแต่เสนาบดีสภา เราเห็นว่ายังไม่เหมาะ เพราะเหตุที่เสนาบดีสภาสมาชิกตั้งตามตำแหน่งกระทรวงมีจำนวนมากนั้นอย่าง 1 และล้วนเปนเจ้าหน้าที่ฉะเพาะกิจการกระทรวงใด กระทรวงหนึ่งนั้นอีกอย่าง 1 เราจึงคิดจะตั้งมนตรีขึ้นใหม่อีกคณะหนึ่ง เรียกว่า “อภิรัฐมนตรีสภา” ให้มีจำนวนสมาชิกแต่น้อย สำหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงปรึกษาราชการทั้งปวงเปนนิจ เพื่อจะได้เปนกำลังแก่การที่ทรงพระราชวินิจฉัยราชการทั้งปวง ในการตั้งสภาอภิรัฐมนตรีนี้ ผู้ซึ่งสมควรจะเปนสมาชิกจำต้องเปนผู้ซึ่งมีความคุ้นเคยและชำนิชำนาญราชการมากมาแต่ก่อน และประกอบด้วยเกียรติคุณทั้งความปรีชาสามารถ สมควรเปนที่ทรงไว้พระราชหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนมหาชนทั้งหลาย เราจึงได้เลือกสรร
วิเคราะห์ได้ว่า ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงไว้ว่า “'''เพื่อที่จะได้รับความไว้วางใจจากราษฎร'''” นั้น เป็นเพราะพระองค์ทรงเห็นว่าพระองค์เองไม่ทรงมีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดินเพียงพอ แต่การทรงทำหน้าที่พระมหากษัตริย์ด้วยพระองค์เองแต่พระองค์เดียว จึงต้องพระราชประสงค์ที่จะทรงมีที่ปรึกษาผู้ซึ่งมีประสบการณ์สูง ประกอบกับในรัชกาลที่ ๖ มีเหตุการณ์ เช่น มีผู้จะก่อการกบฏขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๕๓ (รศ. ๑๓๐) และสถานการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าราษฎรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนชั้นกลาง มีความไว้วางใจลดลงต่อการปกครองภายใต้การนำของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและเสนาบดี ซึ่งโดยมากเป็นขุนนางผู้ใกล้ชิดพระองค์ โดยเจ้านายผู้เคยแก่ราชการแผ่นดินทรงมีโอกาสและบทบาทไม่มาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงต้องพระราชประสงค์จะกู้ความไว้วางใจของราษฎรกลับคืนมาบ้างด้วยการแสดงให้เห็นว่าเจ้านายเหล่านั้นได้ทรงกลับมามีบทบาทและความสามัคคีทำงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนในรัชกาลของพระองค์ในฐานะที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ซึ่งจะยังผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความมั่นคงยิ่งขึ้น[[#_ftn3|[๓]]]แต่ในขณะเดียวกัน พระองค์ก็ทรงตระหนักดียิ่งว่าการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นนับวันจะล้าสมัย[[#_ftn4|[๔]]] และจึงมีพระราชดำริจะปรับเปลี่ยนระบอบนั้นสู่ระบบพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นขั้นเป็นตอน เหตุดังนั้น จึงทรงเริ่มด้วยการทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภาขึ้นเพื่อที่จะทัดทานการทรงใช้พระราชอำนาจตามอำเภอพระราชหฤทัยของพระมหากษัตริย์ อันเป็นขั้นตอนแรกของการเข้าสู่การมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีอำนาจจำกัด (limited monarchy) &nbsp;ซึ่งเป็นหนทางให้สถาบันพระมหากษัตริย์ (ไม่ใช่ในรูปแบบของสมบูรณาญาสิทธิราชย์) มีความมั่นคนยั่งยืน พระราชประสงค์ประการนี้ หากคิดให้ดี นับว่าไม่แปลก ในเมื่อทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ จึงทรงมีหน้าที่ต้องรักษาไว้ซึ่งสถาบันนั้น แต่พระราชดำรินี้อาจไม่เป็นที่ตระหนักหรือเข้าใจกันในวงกว้างนักในขณะนั้น


[[สมเด็จเจ้าฟ้าฯ_กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช|สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช]] พระองค์ 1
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลปรากฏว่าในระยะแรกๆ ความไว้วางใจของราษฎรมีเพิ่มขึ้น หากแต่ไม่นานก็มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ในหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ ที่สำคัญในเรื่องขอบเขตหน้าที่ของอภิรัฐมนตรีสภา


[[สมเด็จเจ้าฟ้าฯ_กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต|สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต]] พระองค์ 1
&nbsp;
 
[[สมเด็จเจ้าฟ้าฯ_กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์|สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์]] พระองค์ 1
 
กรมพระดำรงราชานุภาพ พระองค์ 1
 
กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระองค์ 1
 
ด้วยทั้ง 5 พระองค์นี้ได้ทรงรับราชการในตำแหน่งสำคัญมาแต่รัฐกาลที่ 5 เคยเปนที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย ทั้งได้คุ้นเคยทราบกระแสพระราชดำริห์ และพระบรมราโชบายของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมาแต่ก่อน ล้วนทรงปรีชาสามารถและมีเกียรติคุณจะหาผู้อื่นเสมอเหมือนได้โดยยาก เราตั้งให้เจ้านายผู้ใหญ่ทั้ง 5 พระองค์เปนอภิรัฐมนตรีแต่นี้ไป ด้วยไว้วางใจในความซื่อตรงจงรักภักดี ซึ่งทรงมีต่อบ้านเมืองและตัวเราด้วยกันทุกพระองค์ การที่เราคิดจัดดังกล่าวมานี้หวังว่าจะเปนคุณเปนประโยชน์สืบต่อไป...”
 
ในการที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา ทำให้พระองค์ประสบความสำเร็จในการบริหารประเทศในระยะแรก ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาที่ทรงมีไปถึงพระยากัลยาณไมตรี มีความตอนหนึ่งว่า..


“...ทันทีที่ข้าพเจ้าเสวยราชย์ก็คิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างที่สุดที่จะทำอะไรบางอย่างเพื่อเรียกความเชื่อถือจากประชาชนกลับคืนมาอีก ดังนั้น จึงได้มีการตั้งอภิรัฐมนตรีสภาขึ้น ซึ่งได้ผลทันทีและข้าพเจ้าได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนในวันเดียว เหตุที่การกระทำเช่นนี้ได้ผลทันทีทันใดก็เพราะ มันเป็นความหวังสำหรับสิ่งซึ่งพึงปรารถนาหลายประการ ประการแรกพระราชวงศ์เริ่มรวมกันและทำงานกันอย่างกลมเกลียว ประการที่สอง พระเจ้าอยู่หัวมีความเต็มใจที่จะขอคำปรึกษาจากพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมีประสบการณ์มาแล้วในราชการ และเป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน ไม่มีขุนนางคนใดเลยที่เป็นที่เกลียดชังของประชาชนรวมอยู่ในสภานี้ ประการที่สาม พระราชอำนาจของกษัตริย์ที่จะทำอะไรตามใจพระองค์เองก็จะลดน้อยลงไป เมื่อมีสภานี้ (พึงระลึกว่าในสภาพความเห็นในประเทศขณะนั้น คิดกันว่าพระมหากษัตริย์มีทางที่จะทำอะไรที่เป็นภัยมากกว่าที่จะทำดี)..” <ref>ชัยอนันต์ สมุทวณิช '''การเมือง-การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย พ.ศ. 2411-2475.''' หน้า 84.</ref>
'''หน้าที่ของอภิรัฐมนตรี'''


เราจะเห็นได้ว่าการตั้งอภิรัฐมนตรีสภาแม้จะช่วยลดความกดดันในหมู่ข้าราชการและประชาชนที่เคยมีต่อสภาพการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์ได้ในระยะแรกก็จริง แต่เมื่อนานวันไปข้าราชการและประชาชนต่างเกิดความรู้สึกว่าอภิรัฐมนตีสภาเริ่มมีอำนาจมากเกินไปเหมือนกับว่าพระมหากษัตริย์ทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคณะอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วพระองค์มิได้ทรงถือว่าคณะอภิรัฐมนตรีมีอิทธิพลเหนือกว่าพระองค์แต่อย่างใด เพียงเป็นผู้ที่คอยให้คำปรึกษาราชการแผ่นดินเท่านั้น
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จากร่างพระราชบัญญัติซึ่งในที่สุดไม่มีการประกาศใช้ เนื่องด้วยความเห็นแตกต่างหลากหลาย อภิรัฐมนตรีสภามีหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาราชการทั้งปวง เพื่อประกอบพระราชวินิจฉัยสั่งการ ไม่มีหน้าที่บังคับบัญชาราชการ เว้นแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นการเฉพาะพระองค์หรือเป็นการชั่วคราว การถวายคำปรึกษาโดยส่วนใหญ่จะทำในรูปแบบการประชุม ซึ่งประทับเป็นองค์ประธานด้วยพระองค์เอง แต่อภิรัฐมนตรีสามารถกราบบังคมทูลถวายความเห็นเป็นการส่วนพระองค์ได้ทุกเมื่อทั้งในเรื่องที่ทรงขอคำปรึกษา และเรื่องอื่นๆ ตามแต่จะเห็นสมควร ที่สำคัญอภิรัฐมนตรียังมีสิทธิ์เข้าประชุมและร่วมลงมติในการประชุมเสนาบดีสภา การที่เป็นเช่นนี้บ่อยครั้ง ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าอภิรัฐมนตรีมีอิทธิพลหรืออำนาจมากกว่าเป็นที่ปรึกษา[[#_ftn5|[๕]]] ต่อประเด็นนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายว่า เป็นจริงในบางครั้งและเป็นไปเพื่อความสะดวก แต่ ''“ความเห็นของอภิรัฐมนตรีสภาจะเกิดผลในทางการบริหารได้ก็โดยผ่านพระมหากษัตริย์เท่านั้น”[[#_ftn6|'''['''๖]]]''


&nbsp;
&nbsp;


== บทบาทหน้าที่ของอภิรัฐมนตรีสภา ==
'''บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภา'''


อภิรัฐมนตรีสภา เป็นสถาบันใหม่เทียบเท่าได้กับสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ 5 ซึ่งได้ตั้งขึ้นภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ 2 วัน (วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) มีหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาชั้นสูงแก่พระมหากษัตริย์ ซึ่งให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกิจการการเมืองการปกครองและนโยบายของประเทศ อภิรัฐมนตรีสภา มีการกำหนดการประชุมทุก ๆ วันศุกร์ สัปดาห์ละครั้ง โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานในการประชุม เริ่มการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ณ พระที่นั่งบรมพิมาน อภิรัฐมนตรีสภา ได้ให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดินหลายเรื่องที่สำคัญ กล่าวคือ
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; อย่างไรก็ตาม เรื่องที่นำเข้าที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภานั้นมีความสำคัญต่อประเทศอย่างยิ่ง และบางเรื่องเป็นเรื่องลับมาก ซึ่งชาญชัย รัตนวิบูลย์ได้วิเคราะห์ไว้โดยละเอียดและสรุปโดยรวมว่า อภิรัฐมนตรีทั้งในฐานะสภาที่ปรึกษา และในการปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรอื่น อีกทั้งในการปฏิบัติงานเป็นการเฉพาะแต่ละพระองค์ มี ๒ ด้านที่สำคัญ คือ ด้านการคลัง และด้านการปกครอง[[#_ftn7|[๗]]]


1. ให้คำปรึกษาหารือข้อราชการเรื่อง [[ร่างพระราชบัญญัติสภากรรมการองคมนตรี|ร่างพระราชบัญญัติสภากรรมการองคมนตรี]] ซึ่งพระราชทานลงมาให้ศึกษาและนำคำปรึกษาขึ้นถวายบังคมทูล
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในด้านการคลัง &nbsp;ชาญชัยสรุปว่าในการแก้ปัญหางบประมาณขาดดุล ได้มีการดำเนินการตามมติอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งมีการตัดทอนรายจ่าย ยุบเลิกและรวมหน่วยงาน งดบางโครงการและดุลข้าราชการออก[[#_ftn8|[๘]]] ซึ่งแม้จะเป็นเหตุให้มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ในทางลบ แต่ได้ส่งผลให้งบประมาณทุกปีเว้นปี พ.ศ. ๒๔๗๔ – ๒๔๗๕ ไม่ขาดดุลและเมื่อการคลังของประเทศถูกกระทบอีกเป็นอันมากจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๔๗๓ สภานี้ก็มีบทบาทมากในการให้มีความเข้มงวดในการตัดทอนรายจ่าย รวมทั้งให้จัดเก็บภาษีอากรแบบใหม่ๆ ซึ่งการตัดทอนงบประมาณของกระทรวงกลาโหมได้เป็นเหตุสำคัญให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหมทรงลาออก อีกทั้งการตัดสินใจออกจากมาตรฐานทองคำตามอังกฤษและลดค่าเงินบาท ซึ่งมีความเห็นต่างกันมากระหว่างอภิรัฐมนตรีด้วยกันและระหว่างอภิรัฐมนตรีกับเสนาบดี ทำให้ใช้เวลาถึง ๗ เดือน จึงจะมีการตัดสินใจ และได้ทำให้ความเชื่อมั่นในรัฐบาลลดลง


2. วางรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปของเทศบาล โดยการปรับปรุงแก้ไขสุขาภิบาลที่มีอยู่ให้เป็นเทศบาล ซึ่งได้จัดตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้ทูลเกล้าฯ ถวายรายงานและความเห็นเกี่ยวกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติเทศบาล
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในส่วนของบทบาทด้านภาษีอากร ชาญชัยพบว่าอภิรัฐมนตรีสภาไม่สนับสนุนให้เก็บภาษีคนรวย แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเห็นว่าควรนำระบบภาษีที่เป็นธรรมมาใช้ แต่สภานี้ได้สนับสนุนและรัฐบาลได้เริ่มเก็บภาษีเงินเดือนและภาษีโรงเรือนและที่ดินแทน โครงสร้างภาษีจึงยังคงเป็นภาษีทางอ้อมเป็นส่วนใหญ่ สำหรับบทบาทในการบริหารหนี้สาธารณะนั้น สภานี้มีน้อย


3. พิจารณา[[โครงร่างรัฐธรรมนูญ|โครงร่างรัฐธรรมนูญ]]ที่[[พระยากัลยาณไมตรี|พระยากัลยาณไมตรี]] (Francis B.Sayre) ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย มีลักษณะเป็นระบบนายกรัฐมนตรีให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินโดยตรงแทนองค์พระมหากษัตริย์ โดย[[นายกรัฐมนตรี|นายกรัฐมนตรี]]มีสิทธิเลือก[[คณะรัฐมนตรี|คณะรัฐมนตรี]]เอง ส่วนพระมหากษัตริย์ยังคงไว้ซึ่ง[[อำนาจนิติบัญญัติ|อำนาจนิติบัญญัติ]] [[อำนาจบริหาร|อำนาจบริหาร]] และ[[อำนาจตุลาการ|อำนาจตุลาการ]] ตามแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้อภิรัฐมนตรีสภามีหน้าที่เพียงถวายคำปรึกษาเท่านั้นไม่มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน โครงร่างรัฐธรรมนูญของพระยากัลยาณไมตรีฉบับนี้จึงไม่ได้รับความเห็นชอบจากอภิรัฐมนตรีสภา โดย[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ|สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ซึ่งเป็นสมาชิกพระองค์หนึ่งของอภิรัฐมนตรีสภาทรงคัดค้านว่า การมีนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องและวิธีการปกครองในระบอบรัฐสภา ไม่ใช่การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งไม่มีรัฐสภา เมื่อเป็นเช่นนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงระงับพระราชดำริเรื่องการพระราชทานรัฐธรรมนูญไว้ก่อน แล้วทรงเริ่มงานวางพื้นฐานการปกครองแบบรัฐสภาขึ้นในปี พ.ศ. 2470 โดยการให้นาย[[เรมอนด์_บี._สตีเวนส์|เรมอนด์ บี. สตีเวนส์]] ที่ปรึกษาราชการกระทรวงการต่างประเทศและ[[พระยาศรีวิสารวาจา|พระยาศรีวิสารวาจา]] ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้พิจารณาร่างหลักเกณฑ์ของ[[รัฐธรรมนูญ|รัฐธรรมนูญ]] และทรงมีพระราชดำรัสถึงความประสงค์ที่จะให้รัฐธรรมนูญแก่ราษฎรโดยเร็วที่สุด และต้องให้ทันวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันครบรอบมหาจักรี นายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ และพระยาศรีวิสารวาจา จึงยกร่างรัฐธรรมนูญ และได้นำทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2474 นอกจากนั้น นายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์และพระยาศรีวิสารวาจายังได้แนบบันทึกความเห็นประกอบเค้าโครงการเปลี่ยนแปลงการปกครองอีก 2 ฉบับว่าไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญในขณะนั้น เพราะประชาชนยังไม่พร้อม และเทศบาลก็ยังไม่ได้มีการจัดตั้งขึ้นมา โครงร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาและพระบรมวงศานุวงศ์ได้พากันคัดค้านไม่เห็นด้วย โดยอ้างเหตุผลว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควร เนื่องจากราษฎรยังมีการศึกษาไม่ดีพอ เกรงว่าเมื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายภายหลัง คำคัดค้านดังกล่าวทำให้พระองค์ทรงลังเลพระทัยว่าควรจะพระราชทานรัฐธรรมนูญเมื่อใดจึงจะเหมาะสม ความไม่แน่นอนและเงื่อนไขต่าง ๆ ทำให้ระบบการเมืองไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับเหตุการณ์ [[การปฏิวัติ|การปฏิวัติ]]ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จึงเกิดขึ้น
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในด้านบทบาทด้านการปกครองนั้น อภิรัฐมนตรีสภามีในเรื่อง ๓ เรื่องที่สำคัญ คือ


== คณะอภิรัฐมนตรีสภา<ref>สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, '''การเมืองการปกครอง พ.ศ. 1762-2500''', พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. หน้า 386-387.</ref> ==
#รับแนวพระราชดำริมาพิจารณาการจัดตั้งสภากรรมการองคมนตรี ฝึกหัดชนชั้นนำในการประชุมแบบรัฐสภา
#รับพระราชดำริในการพิจารณาหารูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล
#ในการถวายความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ (อาจไม่ใช่ในที่ประชุม) ทั้งที่เสนอโดยพระยากัลยาณไมตรีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ และที่ร่างโดยนายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ (Raymond B. Stevens) และพระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ นอกจากนั้น สภานี้ยังมีบทบาทในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติต่างๆ และในการถวายคำปรึกษาในเรื่องการแต่งตั้งและการพ้นตำแหน่งของข้าราชการระดับสูง ชาญชัยจึงสรุปว่า '''“อภิรัฐมนตรีสภามีบทบาทอย่างกว้างขวางทั้งในด้านการคลัง การปกครอง และเป็นสภาที่มีอำนาจมากที่สุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว”[[#_ftn9|'''['''๙]]]'''


คณะอภิรัฐมนตรีสภา ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งขึ้นนั้นโดยพระองค์ทรงคัดเลือกจากพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่เคยปฎิบัติหน้าที่ในราชการสำคัญ ๆ มาแล้วทั้งสิ้น ได้แก่
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เรื่องขอบเขตหน้าที่และบทบาทของอภิรัฐมนตรีสภานี้ ยังมีความเห็นของพระยากัลยาณไมตรีและของนายสตีเวนส์และพระยาศรีวิสารให้ศึกษาด้วย


1. [[สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข_เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช|สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช]] เคยดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบก ทหารเรือ จเรทัพบก และเป็นผู้สำเร็จราชการในรัชกาลที่ 6 หลายครั้ง ทำหน้าที่เป็นประธานอภิรัฐมนตรีสภา
&nbsp;


2. [[สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ_เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต|สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต]] สำเร็จวิชาการทหารบกมาจากประเทศเยอรมันนี เคยรับราชการในกองทัพบก เคยเป็นเสนาธิการทหารบกในสมัยรัชกาลที่ 6 เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ และเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ เป็นต้น
'''บรรณานุกรม'''


3. [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ_เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์|สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์]] ทรงชำนาญราชการในพระราชสำนักเกี่ยวกับพระราชประเพณีทั่วไป และเคยดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ กระทรวงกลาโหม และกระทรวงวัง
ชาญชัย รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. ''บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว<u>.</u>''&nbsp;&nbsp;&nbsp;กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า.


4. [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ_กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] เคยปฏิบัติราชการสำคัญ ๆ ในสมัยราชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 เช่นทรงจัดตั้งกระทรวงธรรมการ และทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยพระองค์แรก ทรงมีความชำนาญด้านการปกครองและทรงเป็นนักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีจนได้รับขนานพระนามว่า พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย
ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๔๖๙. Problems of Siam ในวัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. (๒๕๔๘).&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;หน้า ๑๓๕ – ๑๔๓.


5. [[สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ_กรมพระจันทบุรีนฤนาถ|สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ]] ทรงเชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจ และการคลัง เคยดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงพาณิชย์ และทรงเป็นเอกอัครบัณฑิตทางด้านภาษาศาสตร์
วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. ''แนวพระราชดำริทางการเมือง''ของ''พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสต<u>ร์</u>''<u>.</u> กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า.
<div>'''อ้างอิง'''
----
<div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[๑]]]วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. ''แนวพระราชดำริทางการเมือง''ของ''พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์''. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า. หน้า ๑๓๙.
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[๒]]]ชาญชัยรัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. ''บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.''กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า.(หน้า ๑๖๑).


คณะอภิรัฐมนตรีสภา เป็นที่ทรงนับถือขององค์พระมหากษัตริย์ ได้ทำหน้าที่ถวายข้อปรึกษาราชการในพระองค์และแผ่นดินจนถึง พ.ศ. 2475 หลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีประกาศยกเลิกอภิรัฐมนตรีสภา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475
&nbsp;
 
</div> <div id="ftn3">
== อ้างอิง ==
[[#_ftnref3|[๓]]] ชาญชัย&nbsp; รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. ''บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.''หน้า ๑๖๑ – ๑๖๒.
 
</div> <div id="ftn4">
<references />
&nbsp;[๔] ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๔๖๙. Problems of Siam ในวัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.. (๒๕๔๘). และศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากเรื่องแนวทางการปรับเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
 
</div> <div id="ftn5">
== บรรณานุกรม ==
[[#_ftnref5|[๕]]]ชาญชัย&nbsp; รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. ''บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.''หน้า ๑๖๒ – ๑๖๓.
 
</div> <div id="ftn6">
จักษ์ พันธ์ชูเพชร. '''การเมืองการปกครองไทย “จากยุคสุโขทัยสู่สมัยทักษิณ” .''' กรุงเทพฯ&nbsp;: บริษัท มายด์ พับลิชชิ่ง จำกัด. 2549.
[[#_ftnref6|[๖]]]วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. ''แนวพระราชดำริทางการเมือง''ของ''พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์''. หน้า ๑๓๙
 
</div> <div id="ftn7">
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. '''ประวัติการเมืองไทย 2475-2500.''' กรุงเทพฯ&nbsp;: โรงพิมพ์เรือนแก้ว. 2549.
[[#_ftnref7|[๗]]]ชาญชัย รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. ''บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.''หน้า ๑๖๓ – ๑๖๘.
 
</div> <div id="ftn8">
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. '''100 ปี แห่งการปฏิรูประบบราชการวิวัฒนาการของอำนาจรัฐและอำนาจการเมือง.''' กรุงเทพฯ&nbsp;: บริษัท สุขุมและบุตร จำกัด. 2538.
[[#_ftnref8|[๘]]]ชาญชัย&nbsp; รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. ''บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.''หน้า ๑๖๓ – ๑๖๘.
 
</div> <div id="ftn9">
ชัยอนันต์ สมุทวณิช และ ขัตติยา กรรณสูต. '''เอกสารการเมืองการปกครองไทย (พ.ศ. 2417-2477).''' กรุงเทพฯ&nbsp;: สถาบันสยามศึกษา สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย. 2532.
[[#_ftnref9|[๙]]]ชาญชัย&nbsp; รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. ''บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.''
 
</div> </div>
พีระพงษ์ สิทธิอมร และคณะ. '''ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ปฏิรูป ปฏิวัติ รัฐประหาร ของผู้นำ ทางการเมือง พลเรือน ตำรวจ ทหาร.''' กรุงเทพฯ&nbsp;: หจก.ซี แอนด์ เอ็น. 2549.
[[หมวดหมู่:พระปกเกล้าศึกษา]]
 
ภารดี มหาขันธ์. '''ประวัติศาสตร์การปกครองไทย.''' กรุงเทพฯ&nbsp;: อมรการพิมพ์. 2527.
 
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. '''การเมืองการปกครองไทย&nbsp;: พ.ศ. 1762-2500'''. กรุงเทพฯ&nbsp;: เสมาธรรม. 2549.
 
== ดูเพิ่มเติม ==
 
ประกาศเลิกอภิรัฐมนตรีสภา, '''ราชกิจจานุเบกษา''' เล่ม 49, วันที่ 17 กรกฎาคม 2475,หน้า 202.
 
'''การเมืองการปกครองในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.''' [http://www.senate.go.th/km/data/prapok_political.doc http://www.senate.go.th/km/data/prapok_political.doc]
 
ชัยอนันต์ สมุทวณิช, '''100 ปี แห่งการปฏิรูประบบราชการวิวัฒนาการของอำนาจรัฐและอำนาจ การเมือง,''' กรุงเทพฯ&nbsp;: บริษัท สุขุมและบุตร จำกัด , 2538.
 
ชัยอนันต์ สมุทวณิช และ ขัตติยา กรรณสูต, '''เอกสารการเมืองการปกครอง ( พ.ศ. 2417-2477).''' พิมพ์ครั้งที่ 2 โดยสถาบันสยามศึกษา สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2532.
 
ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร, แนวทางการสร้างรัฐธรรมนูญก่อน 24 มิถุนายน 2475 (3), [http://www.siamrath.co.th/uifont/Articledetail.aspx?nid=3701&acid=3701 http://www.siamrath.co.th/uifont/Articledetail.aspx?nid=3701&acid=3701]
 
ภารดี มหาขันธ์, '''ประวัติศาสตร์การปกครองไทย,''' กรุงเทพฯ&nbsp;: อมรการพิมพ์ , 2527.
 
โสภณ น้อยจันทร์, '''ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัชกาลที่ 7 – ปัจจุบัน,''' [http://learners.in.th/blog/rattanagosin/225937 http://learners.in.th/blog/rattanagosin/225937].

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:30, 19 พฤษภาคม 2560

ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.สนธิ เตชานันท์

 

องค์ประกอบ

เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ เพียง ๒ วันหลังจากที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภาขึ้น เพื่อถวายคำปรึกษาในราชการทั้งปวง ด้วยเหตุผลซึ่งทรงแสดงไว้ในพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระยากัลยาณไมตรี (Francis B. Sayre) เมื่อประมาณ ๘ เดือนต่อมาว่า “เพื่อที่จะได้รับความไว้วางใจจากราษฎร”และเพื่อที่จะลดโอกาสที่ “พระเจ้าแผ่นดินจะทรงใช้อำนาจกระทำการตามอำเภอพระราชหฤทัย”[๑] อภิรัฐมนตรีที่ทรงแต่งตั้งประกอบด้วยเจ้านายชั้นบรมวงศ์ ๕ พระองค์[๒]เรียงตามลำดับวัยวุฒิ และระบุพระยศขณะนั้น ได้ดังนี้

  1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช (๒๔๐๒ – ๒๔๗๑) พระราชปิตุลา (อา) ของพระองค์ผู้ทรงเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ และผู้ทรงเป็นพระราชอนุชา (น้อง) ร่วมพระราชชนนี (แม่) ในรัชกาลที่ ๕
  2. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ (๒๔๐๖ – ๒๔๙๐) พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ อีกพระองค์หนึ่ง
  3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ (๒๔๐๕ - ๒๔๘๖)พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔เช่นกัน
  4. พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (๒๔๑๗ - ๒๔๗๔)
  5. สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต (๒๔๒๔ - ๒๔๘๗)
  6.  

พระองค์ตั้งแต่ ๑๒ – ๒๒ ปีต่อมา หลังจากที่อภิรัฐมนตรีสภาพระองค์แรกข้างต้นทิวงคตแล้ว  ได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ (๒๔๒๕ - ๒๔๗๕) ขึ้นแทน เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๓ และต่อมา ในวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๔  ทรงแต่งตั้งเพิ่มเติมอีก ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าพี่ยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (๒๔๒๔ - ๒๔๗๙) และพระ
วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย (๒๔๒๖ - ๒๔๘๖) ซึ่งทั้งสามพระองค์นี้ ก็ทรงเคยเป็นเสนาบดีมาแล้วเช่นกัน

 

เหตุผลของการสถาปนา

วิเคราะห์ได้ว่า ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงไว้ว่า “เพื่อที่จะได้รับความไว้วางใจจากราษฎร” นั้น เป็นเพราะพระองค์ทรงเห็นว่าพระองค์เองไม่ทรงมีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดินเพียงพอ แต่การทรงทำหน้าที่พระมหากษัตริย์ด้วยพระองค์เองแต่พระองค์เดียว จึงต้องพระราชประสงค์ที่จะทรงมีที่ปรึกษาผู้ซึ่งมีประสบการณ์สูง ประกอบกับในรัชกาลที่ ๖ มีเหตุการณ์ เช่น มีผู้จะก่อการกบฏขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๕๓ (รศ. ๑๓๐) และสถานการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าราษฎรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนชั้นกลาง มีความไว้วางใจลดลงต่อการปกครองภายใต้การนำของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและเสนาบดี ซึ่งโดยมากเป็นขุนนางผู้ใกล้ชิดพระองค์ โดยเจ้านายผู้เคยแก่ราชการแผ่นดินทรงมีโอกาสและบทบาทไม่มาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงต้องพระราชประสงค์จะกู้ความไว้วางใจของราษฎรกลับคืนมาบ้างด้วยการแสดงให้เห็นว่าเจ้านายเหล่านั้นได้ทรงกลับมามีบทบาทและความสามัคคีทำงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนในรัชกาลของพระองค์ในฐานะที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ซึ่งจะยังผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความมั่นคงยิ่งขึ้น[๓]แต่ในขณะเดียวกัน พระองค์ก็ทรงตระหนักดียิ่งว่าการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นนับวันจะล้าสมัย[๔] และจึงมีพระราชดำริจะปรับเปลี่ยนระบอบนั้นสู่ระบบพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) อย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นขั้นเป็นตอน เหตุดังนั้น จึงทรงเริ่มด้วยการทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภาขึ้นเพื่อที่จะทัดทานการทรงใช้พระราชอำนาจตามอำเภอพระราชหฤทัยของพระมหากษัตริย์ อันเป็นขั้นตอนแรกของการเข้าสู่การมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีอำนาจจำกัด (limited monarchy)  ซึ่งเป็นหนทางให้สถาบันพระมหากษัตริย์ (ไม่ใช่ในรูปแบบของสมบูรณาญาสิทธิราชย์) มีความมั่นคนยั่งยืน พระราชประสงค์ประการนี้ หากคิดให้ดี นับว่าไม่แปลก ในเมื่อทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ จึงทรงมีหน้าที่ต้องรักษาไว้ซึ่งสถาบันนั้น แต่พระราชดำรินี้อาจไม่เป็นที่ตระหนักหรือเข้าใจกันในวงกว้างนักในขณะนั้น

          ผลปรากฏว่าในระยะแรกๆ ความไว้วางใจของราษฎรมีเพิ่มขึ้น หากแต่ไม่นานก็มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ในหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ ที่สำคัญในเรื่องขอบเขตหน้าที่ของอภิรัฐมนตรีสภา

 

หน้าที่ของอภิรัฐมนตรี

          จากร่างพระราชบัญญัติซึ่งในที่สุดไม่มีการประกาศใช้ เนื่องด้วยความเห็นแตกต่างหลากหลาย อภิรัฐมนตรีสภามีหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาราชการทั้งปวง เพื่อประกอบพระราชวินิจฉัยสั่งการ ไม่มีหน้าที่บังคับบัญชาราชการ เว้นแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นการเฉพาะพระองค์หรือเป็นการชั่วคราว การถวายคำปรึกษาโดยส่วนใหญ่จะทำในรูปแบบการประชุม ซึ่งประทับเป็นองค์ประธานด้วยพระองค์เอง แต่อภิรัฐมนตรีสามารถกราบบังคมทูลถวายความเห็นเป็นการส่วนพระองค์ได้ทุกเมื่อทั้งในเรื่องที่ทรงขอคำปรึกษา และเรื่องอื่นๆ ตามแต่จะเห็นสมควร ที่สำคัญอภิรัฐมนตรียังมีสิทธิ์เข้าประชุมและร่วมลงมติในการประชุมเสนาบดีสภา การที่เป็นเช่นนี้บ่อยครั้ง ทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าอภิรัฐมนตรีมีอิทธิพลหรืออำนาจมากกว่าเป็นที่ปรึกษา[๕] ต่อประเด็นนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายว่า เป็นจริงในบางครั้งและเป็นไปเพื่อความสะดวก แต่ “ความเห็นของอภิรัฐมนตรีสภาจะเกิดผลในทางการบริหารได้ก็โดยผ่านพระมหากษัตริย์เท่านั้น”[๖]

 

บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภา

          อย่างไรก็ตาม เรื่องที่นำเข้าที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภานั้นมีความสำคัญต่อประเทศอย่างยิ่ง และบางเรื่องเป็นเรื่องลับมาก ซึ่งชาญชัย รัตนวิบูลย์ได้วิเคราะห์ไว้โดยละเอียดและสรุปโดยรวมว่า อภิรัฐมนตรีทั้งในฐานะสภาที่ปรึกษา และในการปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรอื่น อีกทั้งในการปฏิบัติงานเป็นการเฉพาะแต่ละพระองค์ มี ๒ ด้านที่สำคัญ คือ ด้านการคลัง และด้านการปกครอง[๗]

          ในด้านการคลัง  ชาญชัยสรุปว่าในการแก้ปัญหางบประมาณขาดดุล ได้มีการดำเนินการตามมติอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งมีการตัดทอนรายจ่าย ยุบเลิกและรวมหน่วยงาน งดบางโครงการและดุลข้าราชการออก[๘] ซึ่งแม้จะเป็นเหตุให้มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ในทางลบ แต่ได้ส่งผลให้งบประมาณทุกปีเว้นปี พ.ศ. ๒๔๗๔ – ๒๔๗๕ ไม่ขาดดุลและเมื่อการคลังของประเทศถูกกระทบอีกเป็นอันมากจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๔๗๓ สภานี้ก็มีบทบาทมากในการให้มีความเข้มงวดในการตัดทอนรายจ่าย รวมทั้งให้จัดเก็บภาษีอากรแบบใหม่ๆ ซึ่งการตัดทอนงบประมาณของกระทรวงกลาโหมได้เป็นเหตุสำคัญให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหมทรงลาออก อีกทั้งการตัดสินใจออกจากมาตรฐานทองคำตามอังกฤษและลดค่าเงินบาท ซึ่งมีความเห็นต่างกันมากระหว่างอภิรัฐมนตรีด้วยกันและระหว่างอภิรัฐมนตรีกับเสนาบดี ทำให้ใช้เวลาถึง ๗ เดือน จึงจะมีการตัดสินใจ และได้ทำให้ความเชื่อมั่นในรัฐบาลลดลง

          ในส่วนของบทบาทด้านภาษีอากร ชาญชัยพบว่าอภิรัฐมนตรีสภาไม่สนับสนุนให้เก็บภาษีคนรวย แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเห็นว่าควรนำระบบภาษีที่เป็นธรรมมาใช้ แต่สภานี้ได้สนับสนุนและรัฐบาลได้เริ่มเก็บภาษีเงินเดือนและภาษีโรงเรือนและที่ดินแทน โครงสร้างภาษีจึงยังคงเป็นภาษีทางอ้อมเป็นส่วนใหญ่ สำหรับบทบาทในการบริหารหนี้สาธารณะนั้น สภานี้มีน้อย

          ในด้านบทบาทด้านการปกครองนั้น อภิรัฐมนตรีสภามีในเรื่อง ๓ เรื่องที่สำคัญ คือ

  1. รับแนวพระราชดำริมาพิจารณาการจัดตั้งสภากรรมการองคมนตรี ฝึกหัดชนชั้นนำในการประชุมแบบรัฐสภา
  2. รับพระราชดำริในการพิจารณาหารูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล
  3. ในการถวายความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ (อาจไม่ใช่ในที่ประชุม) ทั้งที่เสนอโดยพระยากัลยาณไมตรีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ และที่ร่างโดยนายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ (Raymond B. Stevens) และพระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ นอกจากนั้น สภานี้ยังมีบทบาทในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติต่างๆ และในการถวายคำปรึกษาในเรื่องการแต่งตั้งและการพ้นตำแหน่งของข้าราชการระดับสูง ชาญชัยจึงสรุปว่า “อภิรัฐมนตรีสภามีบทบาทอย่างกว้างขวางทั้งในด้านการคลัง การปกครอง และเป็นสภาที่มีอำนาจมากที่สุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว”[๙]

          เรื่องขอบเขตหน้าที่และบทบาทของอภิรัฐมนตรีสภานี้ ยังมีความเห็นของพระยากัลยาณไมตรีและของนายสตีเวนส์และพระยาศรีวิสารให้ศึกษาด้วย

 

บรรณานุกรม

ชาญชัย รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.   กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า.

ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๔๖๙. Problems of Siam ในวัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. (๒๕๔๘).    หน้า ๑๓๕ – ๑๔๓.

วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า.

อ้างอิง

[๑]วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า. หน้า ๑๓๙.

[๒]ชาญชัยรัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.กรุงเทพฯ: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า.(หน้า ๑๖๑).

 

[๓] ชาญชัย  รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.หน้า ๑๖๑ – ๑๖๒.

 [๔] ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๔๖๙. Problems of Siam ในวัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. (๒๕๔๘). และศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากเรื่องแนวทางการปรับเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

[๕]ชาญชัย  รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.หน้า ๑๖๒ – ๑๖๓.

[๖]วัลย์วิภา จรูญโรจน์, ม.ล. ๒๕๔๘. แนวพระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์. หน้า ๑๓๙

[๗]ชาญชัย รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.หน้า ๑๖๓ – ๑๖๘.

[๘]ชาญชัย  รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.หน้า ๑๖๓ – ๑๖๘.

[๙]ชาญชัย  รัตนวิบูลย์. ๒๕๔๘. บทบาทของอภิรัฐมนตรีสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.