ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ASEAN UNIVERSITY NETWORK (AUN) เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย '==บทนำ== 1.1ที่มาและความสำคัญ AUN หรือเครือข่ายมหาวิทย...' |
|||
บรรทัดที่ 62: | บรรทัดที่ 62: | ||
<http://www.aunsec.org/aunmemberuniversities.php> (accessed March 24 ,2015). | <http://www.aunsec.org/aunmemberuniversities.php> (accessed March 24 ,2015). | ||
</ref> ได้แก่ | </ref> ได้แก่ | ||
ประเทศบรูไน Universiti Brunei Darussalam (UBD) ประเทศลาว National University of Laos (NUOL) ประเทศอินโดนีเซีย Universitas Gadjah Mada (UGM) , Universitas Indonesia (UI) , Institut Teknologi Bundung (ITB) , Universitas Airlangga (UNAIR) ประเทศกัมพูชา Royal University of Phnom Penh (RUPP) , Royal University of Law and Economics (RULE) ประเทศมาเลเซีย Universiti Malaya(UM) , Universiti Sains Malaysia (USM) , Universiti Kebangsaan Malaysia (UKM) , Universiti Putra Malaysia (UPM) , Universiti Utara Malaysia (UUM) ประเทศไทย Burapha University (BUU) , Chulalongkorn University (CU) , Chiang Mai University (CMU), Mahidol University (MU) , Prince of Songkla University (PSU) | |||
ประเทศพม่า University of Yangon (UY) , Institute of Economics, Yangon (IEY) , University of Mandalay ประเทศฟิลิปปินส์ De La Salle University (DLSU) , University of the Philippines (UP) , Ateneo de Manila University (ATMU) ประเทศสิงคโปร์ National University of Singapore (NUS) , Nanyang Technological University (NTU) , Singapore Management University (SMU) ประเทศเวียดนาม Vietnam National University, Hanoi (VNU-HN) , Vietnam National University-Ho Chi Minh (VNU-HCM) , Can Tho University (CTU) | |||
'''2.2.3.ระดับการบริหารจัดการ''' โดยเลขาธิการ AUN ซึ่งคอยประสานงาน ควบคุม ดูแลภาพรวม รวมไปถึงการประเมินผลตั้งแต่กระบวนการวางแผนไปจนถึงการดำเนินการจัดกิจกรรมและหลักสูตรต่างๆ นอกจากนี้ยังช่วยเสนอความเห็นเพื่อพัฒนาแผนงานและเครื่องมือเพื่อจัดหาและสร้างแหล่งเงินทุนเพื่อการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่ง AUN มีสำนักงานอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทำงานใกล้ชิดกับ[[เลขาธิการอาเซียน]]ในการประสานงานและปฏิบัติการต่างๆภายในภูมิภาคในเรื่องเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา | '''2.2.3.ระดับการบริหารจัดการ''' โดยเลขาธิการ AUN ซึ่งคอยประสานงาน ควบคุม ดูแลภาพรวม รวมไปถึงการประเมินผลตั้งแต่กระบวนการวางแผนไปจนถึงการดำเนินการจัดกิจกรรมและหลักสูตรต่างๆ นอกจากนี้ยังช่วยเสนอความเห็นเพื่อพัฒนาแผนงานและเครื่องมือเพื่อจัดหาและสร้างแหล่งเงินทุนเพื่อการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่ง AUN มีสำนักงานอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทำงานใกล้ชิดกับ[[เลขาธิการอาเซียน]]ในการประสานงานและปฏิบัติการต่างๆภายในภูมิภาคในเรื่องเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:04, 16 มีนาคม 2559
บทนำ
1.1ที่มาและความสำคัญ
AUN หรือเครือข่ายมหาวิทยาลัยในอาเซียนเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกฉียงใต้เป็นองค์กรเพื่อการพัฒนาภูมิภาคร่วมกันในด้านต่างๆ ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรบุคคลก็เป็นอีกด้านที่ประเทศสมาชิกให้ความสำคัญ [1] โดยในการประชุม ASEAN Summit ครั้งที่ 4 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้เล็งเห็นความสำคัญในการเร่งสร้างความเป็นปึกแผ่น และส่งเสริมการพัฒนาอัตลักษณ์ของภูมิภาคโดยเน้นในส่วนของทรัพยากรบุคคล เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างกันของเครือข่ายมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ในอาเซียน
ในเวลาต่อมาจึงมีการลงนามตามข้อตกลงโดยมหาวิทยาลัยสมาชิกในการก่อตั้ง ASEAN University Network ขึ้นหรือที่รู้จักกันในนาม AUN อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรีในการบริหารจัดการการศึกษาจาก 6 ประเทศด้วยกัน ในแรกเริ่มนั้นมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมทั้งสิ้น 11 มหาวิทยาลัย โดยมอบอำนาจตามข้อตกลงแก่คณะกรรมการผู้ได้รับมอบหมายและเลขาธิการซึ่งมีคณะกรรมการผู้บริหารเป็นผู้จัดการดูแล
คณะกรรมการผู้ได้รับมอบหมายได้จัดการประชุมหารือครั้งแรกขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2539 เพื่อวางแผนการดำเนินการใน 4 เรื่องสำคัญ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนนิสิตนักศึกษา การศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคอาเซียนข้อมูลข่าวสารสารสนเทศเครือข่าย และความร่วมมือด้านวิจัย [2]
หลังจากการลงนามรับรองกฏบัตรอาเซียนใน พ.ศ.2550 AUN ได้มีบทบาทสำคัญในฐานะองค์กรที่มีผลงานทางด้านประชาสังคมและวัฒนธรรมผ่านการดำเนินการเรื่องของการจัดโปรแกรมและกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการจัดการการศึกษาเกี่ยวกับอาเซียนในระดับอุดมศึกษาและพัฒนาความร่วมมือในระหว่างภูมิภาค ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเรื่องของการศึกษาในมาตรฐานระดับสากล
1.2 ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน
AUN มียุทธศาสตร์ที่เน้นความสำคัญในเรื่องการสร้างอัตลักษณ์โดยสร้างความร่วมมือร่วมใจกันของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนาภูมิภาค[3] ซึ่งมีการดำเนินการดังนี้
1) หลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเชิงสหวิทยาการ ในระดับการศึกษาที่มีการมอบปริญญาบัตร
2) หลักสูตรความร่วมมือการจัดการศึกษาในภูมิภาคเกี่ยวกับอาเซียนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกโดยสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษามากกว่าหนึ่งประเทศสมาชิกขึ้นไป
3) การทำวิจัยในระดับภูมิภาคอาเซียนโดยการร่วมมือกันของนักวิทยาศาสตร์และนักศึกษามากกว่าหนึ่งประเทศสมาชิกขึ้นไป
4) หลักสูตรเยี่ยมเยือนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของคณาจารย์ในภูมิภาคอาเซียน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการศึกษาจากแนวคิดของประเทศสมาชิกหนึ่งไปยังอีกประเทศสมาชิกหนึ่ง
องค์กร
2.1 นโยบายการดำเนินงาน
นโยบายของ เครือข่ายมหาวิทยาลัยในอาเซียน ประกอบด้วย
1) เสริมสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือกันที่มีอยู่เดิมระหว่างมหาวิทยาลัยในอาเซียน
2) ก่อให้เกิดความร่วมมือกันทางด้านการศึกษาและการทำวิจัย รวมไปถึงความร่วมมือในการจัดหลักสูตรการศึกษาและการวิจัยโดยเฉพาะในด้านอัตลักษณ์ของอาเซียน
3) เสริมสร้างความร่วมมือและความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างนักเรียนทุน นักวิชาการ และนักวิจัยในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน
4) สนองตอบต่อทิศทางการปรับนโยบายหลักของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคอาเซียน
2.2 โครงสร้างขององค์กร[4]
แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
2.2.1.ระดับนโยบาย Board of Trustee วางรูปแบบและจัดทำแผนนโยบาย ประกอบด้วย
1) ผู้แทนหน่วยงานรัฐบาลของชาติสมาชิกที่กำกับดูแลมหาวิทยาลัย
2) เลขาธิการใหญ่
3) ประธานคณะกรรมาธิการของ Board of Trustee
4) ประธาน Senior Official Meeting on Education (SOM-ED)
5) ผู้อำนวยการขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้Southeast Asian Ministers of Education Organization (SEAMEO)
6) เลขาธิการ
2.2.2.ระดับการปฏิบัติการ โดยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นภาคี ซึ่งในปัจจุบันการดำเนินงานได้ขยายวงกว้างไปถึงจำนวน 30 มหาวิทยาลัยสมาชิก[5] ได้แก่ ประเทศบรูไน Universiti Brunei Darussalam (UBD) ประเทศลาว National University of Laos (NUOL) ประเทศอินโดนีเซีย Universitas Gadjah Mada (UGM) , Universitas Indonesia (UI) , Institut Teknologi Bundung (ITB) , Universitas Airlangga (UNAIR) ประเทศกัมพูชา Royal University of Phnom Penh (RUPP) , Royal University of Law and Economics (RULE) ประเทศมาเลเซีย Universiti Malaya(UM) , Universiti Sains Malaysia (USM) , Universiti Kebangsaan Malaysia (UKM) , Universiti Putra Malaysia (UPM) , Universiti Utara Malaysia (UUM) ประเทศไทย Burapha University (BUU) , Chulalongkorn University (CU) , Chiang Mai University (CMU), Mahidol University (MU) , Prince of Songkla University (PSU) ประเทศพม่า University of Yangon (UY) , Institute of Economics, Yangon (IEY) , University of Mandalay ประเทศฟิลิปปินส์ De La Salle University (DLSU) , University of the Philippines (UP) , Ateneo de Manila University (ATMU) ประเทศสิงคโปร์ National University of Singapore (NUS) , Nanyang Technological University (NTU) , Singapore Management University (SMU) ประเทศเวียดนาม Vietnam National University, Hanoi (VNU-HN) , Vietnam National University-Ho Chi Minh (VNU-HCM) , Can Tho University (CTU)
2.2.3.ระดับการบริหารจัดการ โดยเลขาธิการ AUN ซึ่งคอยประสานงาน ควบคุม ดูแลภาพรวม รวมไปถึงการประเมินผลตั้งแต่กระบวนการวางแผนไปจนถึงการดำเนินการจัดกิจกรรมและหลักสูตรต่างๆ นอกจากนี้ยังช่วยเสนอความเห็นเพื่อพัฒนาแผนงานและเครื่องมือเพื่อจัดหาและสร้างแหล่งเงินทุนเพื่อการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่ง AUN มีสำนักงานอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทำงานใกล้ชิดกับเลขาธิการอาเซียนในการประสานงานและปฏิบัติการต่างๆภายในภูมิภาคในเรื่องเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
2.3 งบประมาณ
ค่าใช้จ่ายการดำเนินการและกิจกรรมต่างที่จัดขึ้นภายใต้ AUN ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภายในได้แก่ กลุ่มมหาวิทยาลัยสมาชิกในภูมิภาค นอกจากนั้น AUN ยังรับการสนับสนุนจากจากองค์กรภายนอกซึ่งเป็นคู่เจรจาของอาเซียน ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน สหภาพยุโรป อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติหรือ The United Nations Development Program (UNDP)
บทบาทขององค์กร
3.1บทบาทภายใน
กิจกรรมจะถูกจัดแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนเยาวชน,ความร่วมมือทางการศึกษา,มาตรฐาน เครื่องมือ ระบบ และนโยบายของความร่วมมือของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา,หลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาต่างๆ,รูปแบบนโยบายระดับภูมิภาคแบะระดับสากล
3.2บทบาทภายนอก
มีการตกลงร่วมกันเป็นเครือข่ายกับองค์กรอื่นๆเพื่อการจัดกิจกรรมและหลักสูตรต่างๆอย่างหลากหลาย อาทิ ASEAN, ASEAN Foundation, DAAD, EUA, ASIA-EUROPE Foundation,UNESCO,JICA,Japan Foundation, MEXT, Ministry of Education,Ministry of Gender Equality and Family Republic of Korea, ADB, EU etc.
บรรณานุกรม
ASEAN Network University, 2015. AUN MEMBER UNIVERSITIES http://www.aunsec.org/aunmemberuniversities.php (accessed March 24 ,2015).
ASEAN Network University, 2015. HISTORY and BACKGROUND. http://www.aunsec.org/ourhistory.php (accessed March 24 ,2015).
ASEAN Network University, 2015. ORGANIZATION STRUCTURE. http://www.aunsec.org/organization.php (accessed March 24 ,2015).
Salita Seedokmai, “THE ROLE OF THE ASEAN UNIVERSITY NETWORK IN CREATING AWARENESS OF ASEAN THROUGH YOUTH PARTICIPANT,”( Southeast Asian Studies Program Chulalongkorn University,2013).
อ้างอิง
- ↑ Salita Seedokmai, “THE ROLE OF THE ASEAN UNIVERSITY NETWORK IN CREATING AWARENESS OF ASEAN THROUGH YOUTH PARTICIPANT,”( Southeast Asian Studies Program Chulalongkorn University,2013).
- ↑ ASEAN Network University, 2015. “HISTORY and BACKGROUND.” <http://www.aunsec.org/ourhistory.php> (accessed March 24 ,2015).
- ↑ Ibid.
- ↑ ASEAN Network University, 2015. “ORGANIZATION STRUCTURE”. <http://www.aunsec.org/organization.php> (accessed March 24 ,2015).
- ↑ ASEAN Network University, 2015. “AUN MEMBER UNIVERSITIES” <http://www.aunsec.org/aunmemberuniversities.php> (accessed March 24 ,2015).