ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสด็จฯ เลียบหัวเมืองฝ่ายเหนือ และมณฑลพายัพ"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
หลังขึ้นครองสิริราชสมบัติได้เพียงปีเศษ | หลังขึ้นครองสิริราชสมบัติได้เพียงปีเศษ [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จพระราชดำเนินเลียบ[[หัวเมืองฝ่ายเหนือ]] และ[[มณฑลพายัพ]]ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่พระมหากษัตริย์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนดินแดนล้านนา นับตั้งแต่ได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยามในแผ่นดิน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] | ||
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รวมมณฑลมหาราษฎร์ซึ่งแยกออกจากมณฑลพายัพในรัชกาลก่อนกลับคืนดังเดิม เพื่อให้ระบบการบริหารราชการมีความกะทัดรัดและประหยัดงบประมาณแผ่นดิน ในเวลานั้นทางรถไฟสายเหนือที่สร้างจากกรุงเทพไปถึงเชียงใหม่ทำให้หัวเมืองต่างๆในมณฑลพายัพเจริญก้าวหน้า ผู้คนสามารถติดต่อไปมาหาสู่กันได้สะดวกรวดเร็วขึ้นมาก | ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รวมมณฑลมหาราษฎร์ซึ่งแยกออกจากมณฑลพายัพในรัชกาลก่อนกลับคืนดังเดิม เพื่อให้ระบบการบริหารราชการมีความกะทัดรัดและประหยัดงบประมาณแผ่นดิน ในเวลานั้นทางรถไฟสายเหนือที่สร้างจากกรุงเทพไปถึงเชียงใหม่ทำให้หัวเมืองต่างๆในมณฑลพายัพเจริญก้าวหน้า ผู้คนสามารถติดต่อไปมาหาสู่กันได้สะดวกรวดเร็วขึ้นมาก |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:45, 22 มกราคม 2559
หลังขึ้นครองสิริราชสมบัติได้เพียงปีเศษ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเลียบหัวเมืองฝ่ายเหนือ และมณฑลพายัพซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่พระมหากษัตริย์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนดินแดนล้านนา นับตั้งแต่ได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยามในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รวมมณฑลมหาราษฎร์ซึ่งแยกออกจากมณฑลพายัพในรัชกาลก่อนกลับคืนดังเดิม เพื่อให้ระบบการบริหารราชการมีความกะทัดรัดและประหยัดงบประมาณแผ่นดิน ในเวลานั้นทางรถไฟสายเหนือที่สร้างจากกรุงเทพไปถึงเชียงใหม่ทำให้หัวเมืองต่างๆในมณฑลพายัพเจริญก้าวหน้า ผู้คนสามารถติดต่อไปมาหาสู่กันได้สะดวกรวดเร็วขึ้นมาก
พุทธศักราช ๒๔๖๙ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีได้ประทับรถไฟเสด็จพระราชดำเนินเลียบหัวเมืองฝ่ายเหนือ และมณฑลพายัพเพื่อเยี่ยมเยียนราษฎร ทอดพระเนตรชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในแถบนี้โดยเสด็จพระราชดำเนินไปยังพิษณุโลกซึ่งเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเสด็จไปมณฑลพายัพที่แพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ และลำพูน
ในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้นได้พระราชทานพระแสงราชศัสตราอันเป็นสัญลักษณ์แทนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไว้ให้แก่ เมืองเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง และแพร่ โดยมีพระราชดำรัสตอบชาวเมืองเชียงใหม่ ความตอนหนึ่งว่า
“ ประเทศใดการปกครองแยกย้ายเป็นพวกเป็นเหล่าในประเทศเดียวกัน ก็มักเกิดวิบัติขัดข้องต่างๆ...ส่วนประเทศเรานี้ไซร้ ได้อาศัยพระปรีชาญาณแห่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ... ทรงพระราชอุตสาหะจัดการบ้านเมืองให้สมควรแก่กาลสมัยมาโดยลำดับ ประเทศสยามจึงมั่นคงและมีความเจริญรุ่งเรืองเห็นปานฉะนี้ เราก็ตั้งใจว่าจะดำเนินตามรอยพระบาทต่อไป...”
ที่มา
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖