ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหาร พ.ศ. 2490"
บรรทัดที่ 91: | บรรทัดที่ 91: | ||
ในคืนยามดึกของคืนวันที่ 7 ต่อ วันที่ 8 กำลังทหารได้มุ่งตรงไปยังเป้าหมายหลายแห่ง'''เพื่อจับกุมตัวบุคคลสำคัญในรัฐบาลตามแผนการ''' ดังนี้ | ในคืนยามดึกของคืนวันที่ 7 ต่อ วันที่ 8 กำลังทหารได้มุ่งตรงไปยังเป้าหมายหลายแห่ง'''เพื่อจับกุมตัวบุคคลสำคัญในรัฐบาลตามแผนการ''' ดังนี้ | ||
<br> | |||
<br> | <br> | ||
'''สายที่ 1''' มีพันโท ก้าน จำนงภูมิเวท นำกำลังทหารพร้อมพันเอก เผ่า ศรียานนท์ พันโทละม้าย อุทยานานนท์ พันโท เฉลิม พงศ์สวัสดิ์ นำกำลังทหารจากหน่วยปืนต่อสู้อากาศยานและ ร.1 พัน 2 ไปจับกุมนายปรีดี ที่บ้านพักทำเนียบท่าช้าง | '''สายที่ 1''' มีพันโท ก้าน จำนงภูมิเวท นำกำลังทหารพร้อมพันเอก เผ่า ศรียานนท์ พันโทละม้าย อุทยานานนท์ พันโท เฉลิม พงศ์สวัสดิ์ นำกำลังทหารจากหน่วยปืนต่อสู้อากาศยานและ ร.1 พัน 2 ไปจับกุมนายปรีดี ที่บ้านพักทำเนียบท่าช้าง |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:38, 25 กุมภาพันธ์ 2552
บทความนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยโดยผู้ืทรงคุณวุฒิ
ผู้เรียบเรียง ณัฐพล และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มทหารและกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม มีผลทำให้รัฐบาลพลเรือนของกลุ่มนายปรีดี พนมยงค์ตกจากอำนาจไปและเป็นจุดเริ่มต้นของการกลับมามีอำนาจของกลุ่มทหารและกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม ตลอดจนเป็นจุดการเริ่มต้นของการเพิ่มอำนาจทางการเมืองให้กับพระมหากษัตริย์อย่างสำคัญภายหลังการปฏิวัติ 2475
สภาพปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
สภาพปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีผลกระทบต่อรัฐบาลพลเรือนอย่างต่อเนื่องหลายชุด นับตั้งแต่ รัฐบาลของนายทวี บุณยเกตุ , ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช , นายควง อภัยวงศ์ , นายปรีดี พนมยงค์ และรัฐบาลของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
ปัญหาภายในประเทศ
1. ปัญหาเศรษฐกิจหลังสงครามของไทย
เกิดขึ้นจาก ปัญหาภาวะเงินเฟ้อและการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ ภายหลังสงครามค่าเงินบาทไทยตกลงมาก ในขณะที่ไทยไม่สามารถส่งออกสินค้าที่สำคัญได้อย่างเต็มที่ เช่น ยาง ดีบุกและไม้สัก เพื่อมีเงินตราต่างประเทศในการใช้ซื้อสินค้าจากภายนอกกลับเข้ามาแก้ไขการขาดแคลนสินค้าได้ทันการณ์ แม้รัฐบาลนายปรีดีได้ขอกู้เงินจากสหรัฐอเมริกาจำนวน 10 ล้านดอลลาร์และกู้เงินจากอินเดีย 50 ล้านรูปี เพื่อใช้ซื้อสินค้าเข้ามาบรรเทาความขาดแคลนภายในประเทศแล้วก็ตาม
นอกจากปัญหาข้างต้น รัฐบาลพลเรือนต้องแก้ไขปัญหาข้าวขาดแคลน เนื่องจากไทยจำต้องส่งข้าวแบบให้เปล่าแก่อังกฤษ จำนวน 1.5 ล้านตัน ตาม”ความตกลงสมบูรณ์แบบ” ที่ไทยลงนามกับอังกฤษเมื่อ 1 มกราคม 2489 โดยรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชเพื่อชดเชยการจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้กับอังกฤษภายใน 1 กันยายน 2490 เวลาต่อมารัฐบาลนายปรีดี พนมยงค์ ได้เจรจาแก้ไขข้อตกลงใหม่ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2489 ทำให้ไทยสามารถขายข้าวให้อังกฤษแทนการส่งให้โดยไม่คิดมูลค่าและมีจำนวนลดลงเหลือเพียง 1.2 ล้านตันในราคาขายที่ 12.14 ปอนด์ ภายใน 1 ปี มิฉะนั้นไทยต้องส่งข้าวให้อังกฤษโดยไม่คิดมูลค่าอีก ทำให้รัฐบาลนายปรีดีและรัฐบาลของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผูกขาดการซื้อข้าวเพื่อเร่งส่งออกให้ทันข้อตกลงฯ ด้วยราคาซื้อที่ต่ำ ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนข้าวภายในประเทศ ในขณะที่ราคาข้าวในตลาดโลกมีราคาสูง ทำให้พ่อค้ากักตุนข้าวและมีการลักลอบส่งออกนอกประเทศแทนการขายให้รัฐบาลและประชาชน ปัญหาจากข้อตกลงสมบูรณ์แบบทำให้เกิดการขาดแคลนข้าวและข้าวมีราคาสูง รัฐบาลได้จัดสรรข้าวขายให้กับประชาชน โดยประชาชนต้องเข้าแถวซื้อข้าวเพิ่มความเดือนร้อนให้ประชาชนภายหลังสงครามมาก
ความต่อเนื่องจากสภาวะหลังสงคราม ความอดยาก การขาดแคลนอาหาร ยังผลให้เกิดปัญหาโจรผู้ร้ายชุกชุมหลังสงคราม เกิดเนื่องมาจากการปลดประจำการทหารอย่างฉับพลันกับปัญหาเศรษฐกิจหลังสงคราม ทำให้ทหารบางส่วนที่ถูกปลดปราศจากวินัยรวมตัวร่วมกับกลุ่มโจรทำการปล้นสะดม ไม่แต่เพียงเท่านั้นปัญหาความไม่สงบในสังคมเกิดจากอาวุธที่ตกค้างหลังสงครามจำนวนมหาศาลทั้งจากกองทัพญี่ปุ่น กองทัพไทยและอาวุธจากเสรีไทยที่แจกจ่ายอย่างกว้างขวางเพื่อเตรียมการต่อต้านญี่ปุ่น มีผลทำให้เกิดแพร่กระจายของอาวุธ สะดวกในการครอบอาวุธและการค้าอาวุธ ส่งผลให้การปล้นสะดมและการก่ออาชญากรรมเพิ่มจำนวนขึ้น ปัญหานี้ได้ลดทอนความเชื่อมั่นรัฐบาลลงและเป็นเหตุให้เกิดการโจมตีประสิทธิภาพในการบริหารประเทศของรัฐบาลภายหลังสงคราม
ด้วยเหตุภาวะความขาดแคลนและระส่ำระสายหลังสงคราม เปิดโอกาสให้ข้าราชการและนักการเมืองร่วมมือกับพ่อค้าแสวงหาประโยชน์จากการค้า การนำเข้าและส่งออกสินค้า ทำให้สินค้าขาดแคลนและมีราคาสูง ทำให้เกิดปัญหาการฉ้อราษฎรบังหลวง แม้รัฐบาลจะจัดตั้งองค์การสรรพาหารเพื่อแก้ไขปัญหาแล้วก็ตาม แต่การบรรเทาปัญหาความขาดแคลนสินค้ายังไม่เป็นผล ทำให้ประชาชนลดความเชื่อถือรัฐบาลลงและมีความต้องการผู้นำที่เข้มแข็งในการแก้ไขปัญหาที่เด็ดขาดในการขจัดปัญหาเศรษฐกิจหลังสงคราม
ปัญหาข้างต้น ส่งผลให้คนไทยที่เคยยินดีกับการรอดพ้นการพ่ายแพ้สงครามโลกจากการนำของรัฐบาลพลเรือนของนายปรีดีและพลเรือตรีถวัลย์ เริ่มเกิดความไม่พอใจในประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสั่นคลอนความชอบธรรมของรัฐบาลพลเรือนทั้งสองมากขึ้น
2. ปัญหาการเมือง
เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง ไทยสามารถรอดพ้นจากการตกเป็นผู้แพ้สงครามได้ และด้วยความหวังที่จะลบความบาดหมางที่เคยเกิดขึ้นระหว่างคณะราษฎรและกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม นายปรีดีจึงผลักดันให้รัฐบาลหลังสงครามนิรโทษกรรมความผิดให้กับกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมที่ถูกจองจำจากความผิดฐานก่อกบฎ ต่อต้านการปฏิวัติ 2475 เช่น กรณีกบฏบวรเดช(2476) การลอบสังหารผู้นำรัฐบาล และกบฎ 2481 ฯลฯ ให้พ้นโทษตามสัญญาร่วมเป็น“ขบวนการเสรีไทย” ในช่วงสงคราม ระหว่างเสรีไทยในไทยและอังกฤษที่นายปรีดีเคยตกลงไว้กับ กับหม่อมเจ้าศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท แกนนำกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมที่ลี้ภัยไปอังกฤษ ให้ปลดปล่อยนักโทษการเมืองให้เป็นอิสระเพื่อการประนีประนอมและร่วมมือกันฟื้นฟูประเทศภายหลังสงคราม ทำให้นักโทษการเมืองและพวกกบฏที่หลบหนีไปยังต่างประเทศกลับคืนมาสู่การเมืองได้อีกครั้ง หรืออาจกล่าวได้ว่านี่เป็นการปลดปล่อยกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมครั้งใหญ่ แต่อดีตนักโทษการเมืองบางส่วน กลับไม่เห็นด้วยกับการแสวงหาการปรองดองกับรัฐบาล เช่น ม.จ.สิทธิพร กฤดากร ม.ร.ว.นิมิตร มงคล นวรัตน์ พระยาศราภัยวนิช สอ เสถบุตร โชติ คุ้มพันธ์ ได้ออกมาร่วมมือกับ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชจัดตั้งพรรคก้าวหน้าเคลื่อนไหวการโจมตีรัฐบาลนายปรีดีและพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อย่างรุนแรง
นอกจากนี้ ปัญหาการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่อานันทมหิดลที่เกิดขึ้นอย่างปริศนาทำให้รัฐบาลนายปรีดี และพลเรือตรีถวัลย์ ต้องตกอยู่ในฐานะผู้รับผิดชอบในการสืบสวนหาผู้กระทำความผิด
ท่ามกลางสภาพการแข่งขันทางการเมืองั้ขับเคี่ยวอย่างเข้มข้นระหว่างพรรคสหชีพ แนวรัฐธรรมนูญ –ฝ่ายรัฐบาล กับ ประชาธิปัตย์-ฝ่ายค้าน ทำให้เกิดการโจมตี ใส่ร้ายทางการเมืองเพื่อให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งโดยไม่พิจารณาปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองในภาพรวม ด้วยเหตุที่การแข่งขันทางการเมืองที่มุ่งหวังแต่เพียงชัยชนะ พรรคประชาธิปัตย์ได้อาศัยประเด็นดังกล่าวในการโจมตีรัฐบาลและแสวงหาคะแนนนิยมจากประชาชน
ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ
ภายหลังสงครามโลกสิ้นสุดลง ขบวนการกู้ชาติของประเทศเพื่อนบ้านได้มีการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อเอกราชกันอย่างคึกคักในกลุ่มอินโดจีนที่ถูกฝรั่งเศสปกครอง เช่น ขบวนการกู้ชาติของชาวเวียดนามหรือ เวียตมินห์ ขบวนการลาวอิสระและขบวนการเขมรอิสระ
รัฐบาลนายปรีดีและรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ มีความเห็นใจในความมุ่งมั่นเพื่อเอกราชของประเทศเพื่อนบ้าน จึงได้ให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวด้วยการจัดตั้ง “สันนิบาติเอเชียอาคเนย์”ขึ้นในปลายปี 2490 ทั้งนี้ สมาชิกของสันนิบาตฯประกอบด้วย ไทยและขบวนการเวียตมินห์ ลาวอิสระ และเขมรอิสระ สันนิบาตฯนี้ มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือขบวนการกู้ชาติในอินโดจีนจากการปกครองของฝรั่งเศส ทำให้นายปรีดีถูกจับตามองจากปรปักษ์ทางการเมืองและต่อมาถูกกล่าวว่าเป็นแกนนำของคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมและพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นปรปักษ์ทางการเมือง ได้ดำเนินการกล่าวหาโจมตีรัฐบาลของนายปรีดีและพลเรือตรี ถวัลย์ถึงความไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจหลังสงคราม การฉ้อราษฎรบังหลวง การเป็นคอมมิวนิสต์ การไม่สามารถคลี่คลายการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และนายปรีดีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสวรรคต
ควรบันทึกด้วยว่า กลุ่มการเมืองที่สำคัญภายหลังสงครามโลกสิ้นสุดลง คือ
- 1. กลุ่มนายปรีดี ซึ่งประกอบด้วยพวกเสรีไทย สมาชิกสภาผู้แทนภาคอีสาน และกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญและได้เป็นรัฐบาล
- 2. กลุ่มทหารที่เคยเกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้หมดอำนาจการเมืองลงไป แต่ต้องการกลับสู่อำนาจและ ฟื้นฟูเกียรติภูมิ และ
- 3. กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยม และพรรคประชาธิปัตย์ ที่เคยสูญเสียอำนาจและต้องการกลับมามีอำนาจทางการเมือง
การก่อตัวของการรัฐประหาร
สัญญาณของความเคลื่อนไหวของกลุ่มทหารได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อ 24 มีนาคม 2490 จอมพล ป. อดีตนายกรัฐมนตรีประกาศจะกลับคืนสู่การเมืองอีกครั้ง ด้วยการจัดตั้งพรรคธรรมาธิปัตย์ ขึ้นสนับสนุนจอมพล ป. โดยมีหลวงวิจิตรวาทการเป็นหัวหน้าพรรค เพื่อลงแข่งขันในการเลือกตั้ง ต่อมา กลุ่มทหารนอกราชการนำโดยพลโทผิน ชุนหะวัณและนาวาอากาศเอกกาจ กาจสงคราม นายทหารนอกราชการได้เริ่มความเคลื่อนไหวทางลับเพื่อก่อการรัฐประหารขึ้น โดยพลโทผินไปพบจอมพล ป.หลายครั้งเพื่อชวนให้เข้าร่วม ไม่แต่เพียงการพบไปอดีตนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ต่อมา พลโทผินและนาวาอากาศเอกกาจได้ไปประสานกับพรรคประชาธิปัตย์ และนายเลื่อน พงษ์โสภณ-สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์หลายครั้งเพื่อเตรียมแผนการ จากนั้น แผนการเริ่มต้นจากความเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ในการสั่นคลอนความชอบธรรมของรัฐบาล พลเรือตรี ถวัลย์ ด้วยการเปิดอภิปรายทั่วไปถึง 9 วัน ระหว่าง 19-27 พฤษภาคม 2490 ทำให้ประชาชนเริ่มเสื่อมความนิยมที่มีต่อรัฐบาลลง
ท่ามกลางกระแสข่าวความพยายามก่อการรัฐประหารที่ยังคงดำรงอยู่ตลอดเวลา แต่พลเรือตรี ถวัลย์ นายกรัฐมนตรียังคงมีความมั่นใจในเสถียรภาพ จนกระทั่ง ได้เคยกล่าวว่า “นอนรอปฏิวัติมานานแล้ว ไม่เห็นปฏิวัติเสียที” บุคคลในฝ่ายรัฐบาลที่ระมัดระวังเสถียรภาพทางการเมืองตลอดเวลา มีเพียงนายปรีดี เมื่อเริ่มได้รับรายงานจากตำรวจได้สืบพบความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกล่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมที่เคยก่อการกบฎทุกกรณีได้ร่วมกันเตรียมแผนการก่อการรัฐประหารแล้ว ตลอดจน ได้รับรายงานการเคลื่อนไหวของทหารจากพลเอก อดุล อดุลเดชจรัส-ผู้บัญชาการทหารบก นายปรีดีจึงได้สั่งการให้นายทองเปลว ชลภูมิ นายปราโมช พึ่งสุนทร นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และนายถวิล อุดล ออกหาข่าวการพยายามรัฐประหารเช่นกัน
ก่อนการรัฐประหารจะเกิดขึ้น ในต้นเดือน พฤศจิกายน มีการประชุมกันที่บ้านพักที่ท่าช้างของนายปรีดี ระหว่าง นายปรีดี –อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษอาวุโส พลเรือตรี ถวัลย์ นายกรัฐมนตรี พลเรือตรีสังวร ยุทธกิจ-อธิบดีกรมตำรวจ และพลเอกอดุล เรื่องการปรับปรุงรัฐบาล โดยพลเรือตรีถวัลย์ต้องการลาออกในจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2490 ดังนั้น ที่ประชุมเห็นชอบเสนอให้พลเอกอดุลเป็นนายกรัฐมนตรีแทน โดยนายปรีดี เชื่อมั่นว่า พลเอก อดุล จะสามารถควบคุมสถานการณ์ในกลุ่มทหารบกได้ และมีการเตรียมแผนการจับกุมนายทหารที่วางแผนการรัฐประหารให้เสร็จสิ้นภายในก่อนเช้าวันที่ 9 พฤศจิกายน เมื่อแผนการแผนการรัฐประหารรั่วไหล ฝ่ายรัฐบาลเริ่มรู้ การก่อการรัฐประหารต้องเร่งลงมือก่อนพวกเขาจะถูกจับกุม
การรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490
ฉากสุดท้ายก่อนการรัฐประหารจะเกิดขึ้นนั้น เริ่มจาก คืนวันที่ 7 พฤศจิกายน เวลา 21.00 น พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการการกุศลชื่อ “เมตตาบันเทิง”ขึ้นที่สวนอัมพร เป็นงานเต้นรำการกุศล กิจกรรมสำคัญในคืนนั้น คือพลเรือตรี ถวัลย์ และนายควง อภัยวงศ์ ผู้นำฝ่ายค้าน ผู้มีความขัดแย้งกันอย่างลึกซึ้งนั้น ได้ร่วมกันนั่งรถสามล้อคันเดียวกัน โดยมี โชติ คุ้มพันธุ์ อดีตนักโทษการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ขี่สามล้อวนไปรอบๆเวทีเต้นรำที่สวนอัมพร ภาพดังกล่าวได้สร้างเสียงแสดงความดีใจให้กับผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก ท่ามกลางความสนุกสนานและความหวังที่จะประนีประนอม ต่อมาพลเรือตรี ถวัลย์ ได้รับรายงานว่ามีทหารจำนวนหนึ่งได้เคลื่อนกำลังทหารตรงมาจะจับกุม นายกรัฐมนตรีได้ปลีกตัวออกจากงานทันที จากนั้น การรัฐประหารก็ได้เริ่มต้นขึ้น
กลุ่มทหารดำเนินการรัฐประหาร มีดังนี้
- กลุ่มที่ 1 มีนาวาอากาศเอก กาจ กาจสงครามเป็นแกนนำ
- กลุ่มที่ 2 มีพลโทผิน ชุณหะวัณ และ
- กลุ่มที่ 3 มี พันเอกสวัสดิ์ สวัสดิรณชัย
ในคืนยามดึกของคืนวันที่ 7 ต่อ วันที่ 8 กำลังทหารได้มุ่งตรงไปยังเป้าหมายหลายแห่งเพื่อจับกุมตัวบุคคลสำคัญในรัฐบาลตามแผนการ ดังนี้
สายที่ 1 มีพันโท ก้าน จำนงภูมิเวท นำกำลังทหารพร้อมพันเอก เผ่า ศรียานนท์ พันโทละม้าย อุทยานานนท์ พันโท เฉลิม พงศ์สวัสดิ์ นำกำลังทหารจากหน่วยปืนต่อสู้อากาศยานและ ร.1 พัน 2 ไปจับกุมนายปรีดี ที่บ้านพักทำเนียบท่าช้าง
สายที่ 2 มีร้อยเอก ขุนปรีชารณเสฏฐ์ นำกำลังทหารหน่วยปืนต่อสู้อากาศยานและ ร.1 พัน 3 ไปจับกุมพลเรือตรี ถวัลย์ ที่บ้านพักถนนราชวิถี
สายที่ 3 มีพันเอก หลวงสถิตยุทธการ นำกำลังหน่วยปืนต่อสู้อากาศยานและ ร.1 พัน 1 ไปจับกุมพลเรือตรี สังวร สุวรรณชีพ ที่บ้านที่ตำบลบางกะปิ
แต่การจับกุมไม่เป็นผล เนื่องจากนายปรีดี ได้ลงเรือหลบหนีไปได้ก่อน ส่วนพลเรือตรี ถวัลย์ สามารถหลบหนีไปได้ระหว่างงานเมตตาบันเทิงที่สวนอัมพร ส่วนพลเรือตรี สังวรณ์ หลบหนีไปได้ก่อนเช่นกัน
เช้าวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 คณะทหารที่เรียกตนเองว่า “คณะรัฐประหาร” สามารถยึดอำนาจรัฐได้สำเร็จ โดยประกาศ ข้ออ้างในการรัฐประหารคือ
- 1.รัฐประหารเพื่อประเทศชาติ
- 2.รัฐประหารล้มรัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ เพื่อสถาปนา การเทิดทูลชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประพฤติตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
- 3.รัฐประหารเพื่อเชิดชูเกียรติของทหารบกที่ถูกย่ำยีให้ฟื้นกลับคืน
- 4.รัฐประหารเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพให้แก่ประชาชน
- 5.สืบหาผู้ปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและนำตัวฟ้องร้องตามกฎหมาย และ
- 6.รัฐประหารเพื่อขจัดลัทธิคอมมิวนิสต์
รายชื่อ “คณะรัฐประหาร” มีดังนี้
นายทหารนอกประจำการ มีจำนวน 12 คน คือ
1.จอมพล ป. พิบูลสงคราม | 7.พันโท ณรงค์ วรบุตร |
2.พลโท ผิน ชุณหะวัณ | 8.พันโท โต๊ะ ปั้นตระกูล |
3.นาวาอากาศเอก กาจ กาจสงคราม | 9.พันโท ศิลป พิบูลภานุวัตร |
4.พันเอก ก้าน จำนงภูมิเวท | 10.พันตรี ชาญ บุญญะสิทธิ์ |
5.พันเอก น้อม เกตุนุติ | 11.ร้อย เอกขุนปรีชารณเสฏฐ์(เลื่อน ปรีชาแจ่ม) |
6.พันเอก เผ่า ศรียานนท์ | 12.ร้อยตรี ทองคำ ยิ้มกำภู |
นายทหารบกประจำการ มีจำนวน 38 นาย คือ
1.พันเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | 20.พันตรี ศิริ ศิริโยธิน | 2.พันโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุทธยา | 21.พันตรี พงษ์ ปุณณกันต์ |
3. พันโท สุดใจ พูนทรัพย์ | 22.พันตรี ประมาณ อดิเรกสาร | ||
4.พันโท ประภาส จารุเสถียร | 23.พันเอก ไสว ไสวแสนยากร | ||
5.พันโท ตรี บุษยะกนิษฐ์ | 24.พันโท สาย เชนยะวนิช | ||
6.พันโท ชลอ จารุกลัส | 25.พันโท เผชิญ นิมิตบุตร | ||
7.ร้อยโท ชาญณรงค์ วิจารณบุตร | 26.พันโท ถนอม กิตติขจร | ||
8.พันเอก เจริญ สุวรรณวิสูตร์ | 27.พันโท อัครเดช ยงยุทธ | ||
9.พันตรี จิตต์ สุนทานนท์ | 28.พันโท ปรุง รังสิยานนท์ | ||
10.พันตรี ผาด ตุงคะสมิต | 29.พันโท สวัสดิ์ สีมานนท์ปริญญา | ||
11.ร้อยเอก ประจวบ สุนทรางกูร | 30.พันตรี จำรูญ วีณะคุปต์ | ||
12.พันโท กฤช ปุณณกันต์ | 31.ร้อยเอก อนันต์ พิบูลสงคราม | ||
13.ร้อยเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ | 32.ร้อยเอก วิฑูร หงสเวช | ||
14.พันเอก หลวงสวัสดิสรยุทธ | 33.พันโท หลวงสถิตยุทธการ | ||
15.พันโท เฉลิม พงษ์สวัสดิ์ | 34.พันโท ชูศักดิ์ วัฒนรณชัย | ||
16.พันโท ประเสริฐ รุจิระวงศ์ | 35.พันโท ละม้าย อุทยานานนท์ | ||
17.พันโท เล็ก สงวนชาติสรไกร | 36.ร้อยเอกลิขิต หงสนันท์ | ||
18.พันเอก สวัสดิ์ สวัสดิ์เกียรติ | 37.ร้อยเอก วรมัน ณ ระนอง | ||
19.ร้อยเอก ณรงค์ สาลีรัฐวิภาค | 38.ร้อยเอก ทม จิตรวิมล |
นายทหารเรือประจำการ มีจำนวน 2 คน คือ
1. นาวาเอก หลวงชำนาญอรรถยุทธ | 2. นาวาตรี สุนทร สุนทรนาวิน |
นายทหารอากาศประจำการ มีจำนวน 2 นาย คือ
1. นาวาอากาศโท เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร | 2. นาวาตรี นักรบ บิณษรี |
ตำรวจ มีจำนวน 5 คน คือ
1.พันตำรวจเอก หลวงพิชิตธุรการ | 4.ร้อยตำรวจโท สกล สถิตยุทธการ |
2.ร้อยตำรวจเอก เกษียร ศรุตานนท์ | 5.ร้อยตำรวจตรี วิจัย สวัสดิ์เกียรติ |
3.ร้อยตำรวจโท บันเทิง กัมปนาทแสนยากร |
ข้าราชการพลเรือนที่เกี่ยวข้อง มีจำนวน 9 คน คือ
ผลกระทบภายหลังการรัฐประหาร
1.ล้มเลิกรัฐธรรมนูญ 2489 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2490(ฉบับชั่วคราว) หรือ “รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม”ที่ให้อำนาจแก่พระมหากษัตริย์มาก และมีการฟื้นฟู“อภิรัฐมนตรี” องค์กรตามระบอบเก่าให้กลับมาอีกครั้งภายหลังการปฏิวัติ 2475
2.กลุ่มนายปรีดีหมดอำนาจ ในขณะที่กลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมและกลุ่มทหารกลับมามีอำนาจ ตลอดจน การที่รัฐบาลนายควงต้องการเอาใจ “คณะรัฐประหาร” เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับรัฐบาลของตน จึงออกพระราชบัญญัติคุ้มครองความสงบสุข พ.ศ.2490 ที่ให้อำนาจทหาร เข้าปราบปราม จับกุมฝ่ายต่อต้านการรัฐบาลหรือกลุ่มนายปรีดี ซึ่งนำไปสู่การจับกุมบุคคลสำคัญในรัฐบาลและรัฐสภาในชุดก่อนการรัฐประหารจำนวนมาก
3.การรัฐประหารที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มอนุรักษ์-กษัตริย์นิยมและ “คณะรัฐประหาร”ครั้งนี้ ทำให้อำนาจทางการเมืองของคณะราษฎรได้เริ่มเลื่อมคลายลง
นอกจาก เนื้อหาสาระในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้เพิ่มอำนาจพระมหากษัตริย์มากขึ้นและมีการรื้อฟื้นองคกรในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชกลับมาอีกครั้ง นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลนายควงที่ตั้งขึ้นหลังการรัฐประหารประกอบขึ้นจาก พระราชวงศ์ และขุนนางเก่า มากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนหลังการปฏิวัติ 2475
หนังสือที่แนะนำให้อ่าน
ณัฐพล ใจจริง , “ คว่ำปฏิวัติ-โค่นคณะราษฎร : การก่อตัวของ ‘ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข’ ” , ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2551), หน้า 104-146.
สุชิน ตันติกุล (2515) รัฐประหาร พ.ศ.2490 . นครหลวง : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (2550) แผนชิงชาติไทย : ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐสมัยจอมพล ป. พิบูล
สงคราม ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2491-2500). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ 6 ตุลารำลึก .
ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน ,หม่อมเจ้า(2543) 1 ศตวรรษ ศุภสวัสดิ์ .กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง
แอนด์พับลิชชิ่ง.
Fineman , Danial (1997) A Special Relationship : The United States and Military
Government in Thailand , 1947-1958. Honolulu : University of Hawaii Press
บรรณานุกรม
เฉียบ อัมพุนันท์,ร.ต.อ. (2501) มหาวิทยาลัยของข้าพเจ้า . พระนคร: ไทยสัมพันธ์ .
ผิน ชุณหะวัณ, จอมพล .(2513) ชีวิตกับเหตุการณ์ . พระนคร : โรงพิมพ์ประเสริฐศิริ.
พิทยลาภพฤฒิยากร,กรมหมื่น(2512)เจ็ดรอบอายุกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร , พระนคร :
พระจันทร์.
วิชัย ประสังสิต(2492) ปฏิวัติ รัฐประหาร และกบฏจลาจลในสมัยประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย .
พระนคร: โรงพิมพ์บริษัทรัฐภักดี .
ภูมิพลอดุลยเดช , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , “ (สำเนา) พระราชหัตถเลขาของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม วันที่ 25 พฤศจิกายน 2490”, วิชัย ประสังสิต (2498) เบื้องหลังการ สวรรคต ร. 8. พระนคร : ธรรมเสวี.
“แมลงหวี่”(หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช) (2491) เบื้องหลังประวัติศาสตร์ เล่ม 1 . พระนคร :
สหอุปกรณ์การพิมพ์.
ดิเรก ชัยนาม (2510) ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ,พระนคร : แพร่พิทยา.
ณัฐพล ใจจริง , “ คว่ำปฏิวัติ-โค่นคณะราษฎร : การก่อตัวของ ‘ระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์เป็นประมุข’ ” , ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2551), หน้า 104-146.
ยวด เลิศฤทธิ์ “ระลึกถึงมือกฎหมายคณะรัฐประหาร 2490”, อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ
นายเขม ชาติ บุญยรัตพันธุ์ (ณ เมรุ วัดธาตุทอง วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2538), กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
ศุภกาญจน์ ตันตราภรณ์ (2542) “ รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง : ศึกษารัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับ ชั่วคราว)พุทธศักราช2490 ” วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ศุภสวัสดิ์วงศ์สนิท สวัสดิวัตน ,หม่อมเจ้า(2543) 1 ศตวรรษ ศุภสวัสดิ์ .กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง
แอนด์พับลิชชิ่ง.
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (2550) แผนชิงชาติไทย : ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐสมัยจอมพล ป. พิบูล
สงคราม ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2491-2500). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ 6 ตุลารำลึก .
สุชิน ตันติกุล (2515) รัฐประหาร พ.ศ.2490 . นครหลวง : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
สุชิน ตันติกุล (2517) “ผลสะท้อนทางการเมืองของรัฐประหาร พ.ศ. 2490” , วิทยานิพนธ์
รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ (2535) ขบวนการเสรีไทยกับความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย
ระหว่าง พ.ศ.2481 – 2492 .กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หยุด แสงอุทัย ( 2495) คำอธิบายรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2475-95 . พระนคร : โรงพิมพ์ชูสิน.
อนันต์ พิบูลสงคราม , พลตรี (2540) จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2 เล่ม . กรุงเทพฯ : ตระกูลพิบูล
สงคราม.
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พันเอกช่วง เชวงศักดิ์สงคราม (ณ เมรุ หน้าพลับพลาอิศริยา
ภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 18 มิถุนายน 2505). กรุงเทพฯ: กรมชลประทาน.
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือตรี หลวง สังวรณ์ยุทธกิจ (ณ เมรุ วัด ธาตุทอง วันที่ 29
ธันวาคม 2516), กรุงเทพฯ:ชวนพิมพ์.
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายเขม ชาติ บุญยรัตพันธุ์ (ณ เมรุ วัดธาตุทอง วันที่ 25
กุมภาพันธ์ 2538), กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ จอมพลผิน ชุณหะวัณ( ณ เมรุ วัดพระศรีมหาธาตุ วันที่ 7
พฤษภาคม 2516), กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.
Chalong Soontravanich, “ The small arms industry in Thailand and the Asian crisis ” ,
Takeshi Hamashita and Takashi Shiraishi (edited) , Hegemony, technocracy, networks : papers presented at Core University Program Workshop on networks, hegemony and technocracy , Kyoto, March 25-26 2002 , Kyoto : The Networks, 2002
Fineman , Danial (1997) A Special Relationship : The United States and Military
Government in Thailand , 1947-1958. Honolulu : University of Hawaii Press
Kobkua Suwannathat - Pain (1994) Politics and National Interests : Negotiations for The
Settlement of The Franco-Siamese Territorial Dispute 1945-1947 , Tokyo : Sophia University.
Kobkua Suwannathat-Pian,(1995) Thailand’s Durable Premier : Phibun through Three
Decades 1932 – 1957. Kuala Lumpur : Oxford University Press .
Stanton, Edwin F. (1956) Brief authority : excursions of a common man in an uncommon
World .New York : Harper.
Tarling ,Nicholas (1996) “Britain and the coup 1947 in Siam” ,International Association
of Historians of Asia , Chulalongkorn University , Bangkok 20-24 May.
Thanet Aphornsuvan (1987)“The United States and the coming of the coup of 1947 in
Siam”, Journal of The Siam Society ,75, pp.187-214.
ดูเพิ่มเติม
1.นายกมล พหลโยธิน | 6.นายประพันธ์ ศิริกาญจน์ |
2.หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ | 7.นายประไพ ตุงคะเศรณี |
3.นายเฉลิม เชี่ยวสกุล | 8.ม.ล.ปืนไท มาลากุล |
4.นายจวน จนิษฐ์ | 9.หม่อมวิภา จักรพันธ์ |
5.นายเทพ สาริกบุตร |