ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ค่านิยม 12 ประการ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ฐิติกร สังข์แก้ว และดร.อรรถสิทธิ...'
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 9: บรรทัดที่ 9:
== ความหมาย ==
== ความหมาย ==


การยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เหตุผลการเข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศว่า ความแตกแยกทางความคิดที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยได้นำไปสู่สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ เป็นผลให้ประชาชนสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินในรอบหลายปีที่ผ่านมา คสช. จึงเข้าควบคุมสถานการณ์ให้กลับคืนสู่สภาพปกติ และดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และด้านอื่นๆ ให้สำเร็จลุล่วง เพื่อให้เกิดความชอบธรรมแก่ทุกฝ่าย  เพื่อดำเนินการตามเป้าหมายดังกล่าว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. จึงแถลงออกรายการโทรทัศน์ “คืนความสุขให้คนในชาติ” เมื่อคืนวันที่ 11 กรกฎาคม 2557 สรุปใจความได้ว่า สิ่งแรกที่ยังถือเป็นปัญหาของประชาชนคนในทุกระดับชั้นซึ่งต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน คือ การกำหนดค่านิยมหลักให้ชัดเจนในสังคมไทย เพื่อที่จะสร้างประเทศไทยให้เข้มแข็ง ดังนั้นประชาชนไทยต้องเข้มแข็งก่อน จึงถือเป็นที่มาของ “ค่านิยม 12 ประการ” อันเป็นค่านิยมหลักของสังคมไทยตามนโยบาย คสช.  
การยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เหตุผลการเข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศว่า ความแตกแยกทางความคิดที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยได้นำไปสู่สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ เป็นผลให้ประชาชนสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินในรอบหลายปีที่ผ่านมา คสช. จึงเข้าควบคุมสถานการณ์ให้กลับคืนสู่สภาพปกติ และดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และด้านอื่นๆ ให้สำเร็จลุล่วง เพื่อให้เกิดความชอบธรรมแก่ทุกฝ่าย<ref>  "ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557 เรื่องการควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ," ราชกิจจานุเบกษา, ฉบับที่ 131, ตอนพิเศษ 83 ง, 26 พฤษภาคม 2557, หน้า 1-2.</ref> เพื่อดำเนินการตามเป้าหมายดังกล่าว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. จึงแถลงออกรายการโทรทัศน์ “คืนความสุขให้คนในชาติ” เมื่อคืนวันที่ 11 กรกฎาคม 2557 สรุปใจความได้ว่า สิ่งแรกที่ยังถือเป็นปัญหาของประชาชนคนในทุกระดับชั้นซึ่งต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน คือ การกำหนดค่านิยมหลักให้ชัดเจนในสังคมไทย เพื่อที่จะสร้างประเทศไทยให้เข้มแข็ง ดังนั้นประชาชนไทยต้องเข้มแข็งก่อน จึงถือเป็นที่มาของ “ค่านิยม 12 ประการ” อันเป็นค่านิยมหลักของสังคมไทยตามนโยบาย คสช. <ref>"‘บิ๊กตู่’ ลั่นล้างบางเหลือบชาติ เกาะหากินนาน 17 ปี ชู 9 ยุทธศาสตร์ชาติ เผย สนช.สภาปฏิรูป," บ้านเมือง, (12 กรกฎาคม 2557), 11.</ref>


== สาระสำคัญของค่านิยม 12 ประการ ==
== สาระสำคัญของค่านิยม 12 ประการ ==
บรรทัดที่ 15: บรรทัดที่ 15:
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงผ่านรายการโทรทัศน์ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ความว่า
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงผ่านรายการโทรทัศน์ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ความว่า


สิ่งที่คนไทย ประเทศไทย ยังเป็นปัญหา และต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน ต้องมีความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในทุกระดับชั้น ทุกเพศ ทุกวัย เรื่องที่ 1 อยากจะเรียนว่าเราน่าจะกำหนดค่านิยมหลักของคนไทยขึ้นมาให้ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง ฉะนั้นคนต้องเข้มแข็งก่อน   
::::''สิ่งที่คนไทย ประเทศไทย ยังเป็นปัญหา และต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน ต้องมีความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในทุกระดับชั้น ทุกเพศ ทุกวัย เรื่องที่ 1 อยากจะเรียนว่าเราน่าจะกำหนดค่านิยมหลักของคนไทยขึ้นมาให้ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง ฉะนั้นคนต้องเข้มแข็งก่อน  ''<ref>  เรื่องเดียวกัน</ref>


โดยระบุถึงค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้แก่
โดยระบุถึงค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้แก่
บรรทัดที่ 43: บรรทัดที่ 43:
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
นอกจากนั้นแล้ว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าควรนำค่านิยมหลัก 12 ประการ ไปแต่งเป็นเพลงเพื่อท่องจำจนขึ้นใจ ในลักษณะเดียวกันกับเพลงวันเด็ก ซึ่งเยาวชนในยุคหนึ่งเติบโตขึ้นมาด้วยการกล่อมเกลาทำนองเดียวกัน เพราะหากคนไทยยึดมั่นตามค่านิยมชาติที่เน้นทั้งเรื่องการพัฒนาตัวเองทั้งในด้านความสามารถ ทั้งคุณธรรม ศีลธรรม เพื่อร่วมมือกันทำให้ชาติบ้านเมืองและส่วนรวมดีขึ้น จดจำจนขึ้นใจแล้วคนไทยก็จะเข้มแข็ง เมื่อนั้นประเทศชาติก็จะเข้มแข็ง  
นอกจากนั้นแล้ว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าควรนำค่านิยมหลัก 12 ประการ ไปแต่งเป็นเพลงเพื่อท่องจำจนขึ้นใจ ในลักษณะเดียวกันกับเพลงวันเด็ก ซึ่งเยาวชนในยุคหนึ่งเติบโตขึ้นมาด้วยการกล่อมเกลาทำนองเดียวกัน เพราะหากคนไทยยึดมั่นตามค่านิยมชาติที่เน้นทั้งเรื่องการพัฒนาตัวเองทั้งในด้านความสามารถ ทั้งคุณธรรม ศีลธรรม เพื่อร่วมมือกันทำให้ชาติบ้านเมืองและส่วนรวมดีขึ้น จดจำจนขึ้นใจแล้วคนไทยก็จะเข้มแข็ง เมื่อนั้นประเทศชาติก็จะเข้มแข็ง<ref>  พัสณช เหาตะวานิช, "ค่านิยม 12 ข้อ : เราจะสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็งคนต้องเข้มแข็งก่อน," แนวหน้า, (14 กรกฎาคม 2557), 2.</ref>


== มาตรการส่งเสริมเพื่อบรรลุผลทางนโยบาย ==
== มาตรการส่งเสริมเพื่อบรรลุผลทางนโยบาย ==


การดำเนินมาตรการเผยแพร่ค่านิยม 12 ประการตามนโยบายของ คสช. เริ่มขึ้นทันทีภายหลังการออกอากาศรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” เมื่อคืนวันที่ 11 กรกฎาคม 2557 ทั้งนี้ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการขยายผลไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เพื่อให้นักเรียนทุกระดับชั้น (ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1-ม.6) ท่องจำ “ค่านิยมทั้ง 12 ประการ” โดยเริ่มตั้งแต่วันเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557  ซึ่งต่อมากองดุริยางค์ทหารบก ได้นำค่านิยมทั้ง 12 ประการมาแต่งเป็นบทเพลง โดยมีชื่อว่า "ค่านิยม 12 ประการ บทอาขยาน" แต่งคำร้องโดย พันเอกสมศักดิ์ เตียสุวรรณ แต่งทำนองและเรียบเรียงโดย ร้อยเอกสุระชัย ถวิลไพร ขับร้องโดย นางสาวกฤติญา สาริกา ควบคุมการจัดทำ โดย พันเอกกฤษดา สาริกา เนื้อร้องดังนี้
การดำเนินมาตรการเผยแพร่ค่านิยม 12 ประการตามนโยบายของ คสช. เริ่มขึ้นทันทีภายหลังการออกอากาศรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” เมื่อคืนวันที่ 11 กรกฎาคม 2557 ทั้งนี้ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการขยายผลไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เพื่อให้นักเรียนทุกระดับชั้น (ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1-ม.6) ท่องจำ “ค่านิยมทั้ง 12 ประการ” โดยเริ่มตั้งแต่วันเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557<ref>  "นายกฯ มอบ นร.ท่องอาขยานค่านิยมไทย," ไทยรัฐ, (18 กันยายน 2557), 15.</ref> ซึ่งต่อมากองดุริยางค์ทหารบก ได้นำค่านิยมทั้ง 12 ประการมาแต่งเป็นบทเพลง โดยมีชื่อว่า "ค่านิยม 12 ประการ บทอาขยาน" แต่งคำร้องโดย พันเอกสมศักดิ์ เตียสุวรรณ แต่งทำนองและเรียบเรียงโดย ร้อยเอกสุระชัย ถวิลไพร ขับร้องโดย นางสาวกฤติญา สาริกา ควบคุมการจัดทำ โดย พันเอกกฤษดา สาริกา เนื้อร้องดังนี้


หนึ่ง รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
หนึ่ง รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
บรรทัดที่ 74: บรรทัดที่ 74:


ทั้งนี้ ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่าได้นำค่านิยมหลัก 12 ประการไปจัดทำเป็นบทอาขยานเพื่อให้นักเรียนท่องจำและให้มีการสอบเพื่อเก็บคะแนนโดยให้สถานศึกษาแต่ละแห่งกำหนดเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลที่คำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันเด็กนักเรียนเมื่อท่องได้แล้วก็ควรปฏิบัติได้ด้วย และไม่เฉพาะแต่นักเรียนเท่านั้น หากบุคลากร ข้าราชการและประชาชนทั่วไปก็ควรนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังด้วย ทั้งยังบรรจุวิชาหน้าที่พลเมืองและประวัติศาสตร์ไทย ในแบบเรียนกระทรวงศึกษาธิการเพื่อณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ  
ทั้งนี้ ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่าได้นำค่านิยมหลัก 12 ประการไปจัดทำเป็นบทอาขยานเพื่อให้นักเรียนท่องจำและให้มีการสอบเพื่อเก็บคะแนนโดยให้สถานศึกษาแต่ละแห่งกำหนดเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลที่คำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันเด็กนักเรียนเมื่อท่องได้แล้วก็ควรปฏิบัติได้ด้วย และไม่เฉพาะแต่นักเรียนเท่านั้น หากบุคลากร ข้าราชการและประชาชนทั่วไปก็ควรนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังด้วย ทั้งยังบรรจุวิชาหน้าที่พลเมืองและประวัติศาสตร์ไทย ในแบบเรียนกระทรวงศึกษาธิการเพื่อณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ <ref>  "สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบายการสร้างค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการสู่การปฏิบัติ," วันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องประชุมโกวิท วรพิพัฒน์ กระทรวงศึกษาธิการ. เข้าถึงจาก <http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=39337&Key=news_boontee>. เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2558.</ref>


ขณะที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำสติกเกอร์ไลน์ “ค่านิยม 12 ประการ” ตามนโยบายของ คสช. ด้วยวงเงินงบประมาณ 7,117,400 บาท จนได้รับคำวิจารณ์ว่าการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวแพงเกินจริงและไม่มีความจำเป็น ทั้งยังขัดกับค่านิยมข้อที่ 10 ซึ่งระบุว่า "รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี"  
ขณะที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำสติกเกอร์ไลน์ “ค่านิยม 12 ประการ” ตามนโยบายของ คสช. ด้วยวงเงินงบประมาณ 7,117,400 บาท จนได้รับคำวิจารณ์ว่าการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวแพงเกินจริงและไม่มีความจำเป็น ทั้งยังขัดกับค่านิยมข้อที่ 10 ซึ่งระบุว่า "รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี" <ref>  "เปิดราคาค่าทำสติกเกอร์ LINE หลังพบไอซีทีทุ่ม 7.1 ล้านทำ “ค่านิยม 12 ประการ” ตามนโยบาย คสช.," ผู้จัดการออนไลน์, (17 ธันวาคม 2557). เข้าถึงจาก http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000144937>. เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2558.</ref>


นอกจากนั้นในกรณี กระทรวงวัฒนธรรม ได้ดำเนินการจัดทำโครงการบทเพลงปลูกฝังค่านิยมหลักคนไทยเพลง “ค่านิยม 12 ประการ” จัดทำเนื้อร้อง เรียบเรียงเสียงประสาน ขับร้องโดยศิลปินบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย พลพล-ทชภณ พลกองเส็ง, ไอซ์-ศรัณยู วินัยพานิช, กัน-นภัทร อินทร์ใจเอื้อ, แก้ม-วิชญาณี เปียกลิ่น, ไมค์-พรภิรมย์ พินทะปะกัง และ ต่าย-อรทัย ดาบคำ คำร้อง/ทำนองโดย ปิติ ลิ้มเจริญ เรียบเรียงโดย ศราวุธ ฤทธิ์นันท์ เนื้อร้องดังนี้  
นอกจากนั้นในกรณี กระทรวงวัฒนธรรม ได้ดำเนินการจัดทำโครงการบทเพลงปลูกฝังค่านิยมหลักคนไทยเพลง “ค่านิยม 12 ประการ” จัดทำเนื้อร้อง เรียบเรียงเสียงประสาน ขับร้องโดยศิลปินบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย พลพล-ทชภณ พลกองเส็ง, ไอซ์-ศรัณยู วินัยพานิช, กัน-นภัทร อินทร์ใจเอื้อ, แก้ม-วิชญาณี เปียกลิ่น, ไมค์-พรภิรมย์ พินทะปะกัง และ ต่าย-อรทัย ดาบคำ คำร้อง/ทำนองโดย ปิติ ลิ้มเจริญ เรียบเรียงโดย ศราวุธ ฤทธิ์นันท์ เนื้อร้องดังนี้ <ref>  กระทรวงวัฒนธรรม, "เพลง ค่านิยม 12 ประการ," เข้าถึงจาก <http://www.m-culture.go.th/>. เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2558.</ref>


ค่านิยมดีดี ต้องมีในหัวใจ *
ค่านิยมดีดี ต้องมีในหัวใจ *
บรรทัดที่ 136: บรรทัดที่ 136:
== ความเห็นฝ่ายที่สนับสนุน “ค่านิยม 12 ประการ” ==
== ความเห็นฝ่ายที่สนับสนุน “ค่านิยม 12 ประการ” ==
ภายหลังจากการประกาศให้ “ค่านิยม 12 ประการ” เป็นเหมือนแนวทางที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนพึงยึดถือเป็นค่านิยมหลักของคนในชาติ ก็ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลสาธารณะและสื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง ตัวอย่างเช่น พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) เห็นว่าค่านิยมหลัก 12 ประการ สอดคล้องกับหลักธรรมะ "เพราะเป็นจริยธรรมที่ทุกคนควรยึดถือ และประพฤติปฏิบัติ ซึ่งขณะนี้ นับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะฟื้นฟูค่านิยมเหล่านี้ให้กลับคืนสู่สังคมไทย" การสร้างค่านิยม 12 ประการให้ยั่งยืนจึงต้องปลูกฝังไปถึงรากฐานให้แก่เยาวชน โดยผู้ใหญ่ สื่อมวลชนและสถาบันการศึกษาควรร่วมมือกันใช้กระบวนการ "อบรม บ่มเพาะ" จนกลายเป็นวัฒนธรรมของสังคมไทย  
ภายหลังจากการประกาศให้ “ค่านิยม 12 ประการ” เป็นเหมือนแนวทางที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนพึงยึดถือเป็นค่านิยมหลักของคนในชาติ ก็ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลสาธารณะและสื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง ตัวอย่างเช่น พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) เห็นว่าค่านิยมหลัก 12 ประการ สอดคล้องกับหลักธรรมะ "เพราะเป็นจริยธรรมที่ทุกคนควรยึดถือ และประพฤติปฏิบัติ ซึ่งขณะนี้ นับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะฟื้นฟูค่านิยมเหล่านี้ให้กลับคืนสู่สังคมไทย" การสร้างค่านิยม 12 ประการให้ยั่งยืนจึงต้องปลูกฝังไปถึงรากฐานให้แก่เยาวชน โดยผู้ใหญ่ สื่อมวลชนและสถาบันการศึกษาควรร่วมมือกันใช้กระบวนการ "อบรม บ่มเพาะ" จนกลายเป็นวัฒนธรรมของสังคมไทย <ref>  "ว.วชิรเมธี" เผย หลักค่านิยม 12 ประการของ คสช.คล้ายหลักธรรมะ ชี้ เวลานี้เหมาะ ฟื้น "จริยธรรม", มติชนออนไลน์, (18 สิงหาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1408320793>. เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2558.</ref>
ส่วน รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร แสดงความเห็นว่าความแตกแยกในสังคมไทยในรอบหลายปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการมีแนวคิดและค่านิยมที่แตกต่างกัน เนื่องจากบุคคลบางกลุ่มและเยาวชนรุ่นใหม่ยึดถือ “ค่านิยมที่สมควร” จนลุกลามบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งรุนแรงประเมินค่ามิได้ ดังนั้นค่านิยม 12 ประการ ตามนโยบาย คสช. จึงเป็นการปลูกจิตสำนึกให้คนในชาติได้เข้าใจความเป็นไทยอย่างแท้จริง ให้คนไทยได้รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบที่พึงมีต่อประเทศชาติ มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศจึงควรนำแนวคิดดังกล่าวถ่ายทอดแก่นักศึกษา ครู อาจารย์ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ โดยจัดทำเป็นวาระหนึ่งของยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของนักศึกษาด้วย  
ส่วน รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร แสดงความเห็นว่าความแตกแยกในสังคมไทยในรอบหลายปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการมีแนวคิดและค่านิยมที่แตกต่างกัน เนื่องจากบุคคลบางกลุ่มและเยาวชนรุ่นใหม่ยึดถือ “ค่านิยมที่สมควร” จนลุกลามบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งรุนแรงประเมินค่ามิได้ ดังนั้นค่านิยม 12 ประการ ตามนโยบาย คสช. จึงเป็นการปลูกจิตสำนึกให้คนในชาติได้เข้าใจความเป็นไทยอย่างแท้จริง ให้คนไทยได้รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบที่พึงมีต่อประเทศชาติ มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศจึงควรนำแนวคิดดังกล่าวถ่ายทอดแก่นักศึกษา ครู อาจารย์ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ โดยจัดทำเป็นวาระหนึ่งของยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของนักศึกษาด้วย <ref>  รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร, “เดินหน้าประเทศไทยกับการสร้างค่านิยม 12 ประการ,” มติชน, (29 กรกฎาคม 2557), 21.</ref>
ขณะที่ พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) ชี้ให้เห็นว่าการรวบวิชาประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมไว้เป็นกลุ่มสาระโดยไม่เน้นแยกออกเป็นวิชาต่างหากก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ อีกทั้งการเรียนวิชาการเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะส่งผลให้เป็นคนดีและสังคมที่ดีได้ แต่ "จะต้องมีคุณธรรม ศีลธรรมด้วย มิฉะนั้นจะเข้าทำนอง ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด สังคมปัจจุบันเน้นแต่ปริมาณ แต่ลืมคุณธรรมใช้ความรู้โดยไม่มีคุณธรรม ลืมใช้สติฉุดรั้ง" ดังนั้นทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมมือกัน เริ่มตั้งแต่บ้าน ครอบครัว ชุมชน วัด และโรงเรียน หรือที่เรียกว่า “บ ว ร” ที่จะต้องช่วยกันปลูกฝังสิ่งที่ดีในจิตใจของเยาวชน  
 
ขณะที่ พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) ชี้ให้เห็นว่าการรวบวิชาประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมไว้เป็นกลุ่มสาระโดยไม่เน้นแยกออกเป็นวิชาต่างหากก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ อีกทั้งการเรียนวิชาการเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะส่งผลให้เป็นคนดีและสังคมที่ดีได้ แต่ "จะต้องมีคุณธรรม ศีลธรรมด้วย มิฉะนั้นจะเข้าทำนอง ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด สังคมปัจจุบันเน้นแต่ปริมาณ แต่ลืมคุณธรรมใช้ความรู้โดยไม่มีคุณธรรม ลืมใช้สติฉุดรั้ง" ดังนั้นทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมมือกัน เริ่มตั้งแต่บ้าน ครอบครัว ชุมชน วัด และโรงเรียน หรือที่เรียกว่า “บ ว ร” ที่จะต้องช่วยกันปลูกฝังสิ่งที่ดีในจิตใจของเยาวชน <ref>  อรนุช วานิชทวีวัฒน์, "เรื่องน่าคิด ‘ศีลธรรม: วิชาที่ถูกลืม’," เดลินิวส์, (10 ตุลาคม 2557), 22.</ref>


== ความเห็นฝ่ายที่คัดค้าน “ค่านิยม 12 ประการ” ==
== ความเห็นฝ่ายที่คัดค้าน “ค่านิยม 12 ประการ” ==


ถึงแม้การสำรวจทัศนคติของประชาชนจะแสดงความเห็นด้วยกับค่านิยม 12 ประการ ถึงร้อยละ 64.44  แต่นักวิชาการและกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมก็ยังให้เหตุผลยืนยันความไม่เห็นด้วยควบคู่กันไป
ถึงแม้การสำรวจทัศนคติของประชาชนจะแสดงความเห็นด้วยกับค่านิยม 12 ประการ ถึงร้อยละ 64.44 <ref> "ดุสิตโพล เผย ปชช.หนุนค่านิยม 12 ประการ คสช. ยกชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สำคัญสุด," ผู้จัดการออนไลน์, (28 กันยายน 2557). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000111426&Html=1&TabID=2&>. เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2558.</ref> แต่นักวิชาการและกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมก็ยังให้เหตุผลยืนยันความไม่เห็นด้วยควบคู่กันไป


ทั้งนี้ สุรพศ ทวีศักดิ์ วิจารณ์ว่าค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามนโยบาย คสช. ถือเป็นชุดความดีที่อิงอยู่กับและ/หรือสนับสนุนอุดมการณ์อำนาจนิยม ซึ่งไม่มีทางคล้ายคลึงกับหลักพุทธธรรม เพราะโดยหลักการแล้วก็คือการไม่เปิดพื้นที่ให้มีเสรีภาพในการแสวงหา หรือแสดงความคิดเห็นต่อความจริงได้ตลอด ขณะที่พุทธธรรมนั้นเป็นการยืนยันเสรีภาพของปัจเจกบุคคลในการแสวงหาความจริงทั้งส่วนบุคคลและทางสังคมการเมือง ยิ่งไปกว่านั้นการที่ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ออกมาสนับสนุนค่านิยม 12 ประการ ในรายการเดินหน้าประเทศไทย ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย จึงสวนทางกับบทบาทของพุทธะที่เน้นให้เกิด "แสงสว่าง" หรือการตื่นรู้ (enlightenment) ทั้งในเรื่องทุกข์ระดับปัจเจกบุคคล เรียนรู้ที่จะปลดปล่อยตนเองทางจิตวิญญาณ และการวิพากษ์ระบบความเชื่อ อำนาจและประเพณีอื่นๆ อันครอบงำให้ผู้คนสยบต่อระบบชนชั้นชั้นและความงมงายต่างๆ นั่นเท่ากับเป็นการเป็นการไม่ซื่อสัตย์ต่อหลักการพื้นฐานของพุทธธรรมเสียเอง  
ทั้งนี้ สุรพศ ทวีศักดิ์ วิจารณ์ว่าค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามนโยบาย คสช. ถือเป็นชุดความดีที่อิงอยู่กับและ/หรือสนับสนุนอุดมการณ์อำนาจนิยม ซึ่งไม่มีทางคล้ายคลึงกับหลักพุทธธรรม เพราะโดยหลักการแล้วก็คือการไม่เปิดพื้นที่ให้มีเสรีภาพในการแสวงหา หรือแสดงความคิดเห็นต่อความจริงได้ตลอด ขณะที่พุทธธรรมนั้นเป็นการยืนยันเสรีภาพของปัจเจกบุคคลในการแสวงหาความจริงทั้งส่วนบุคคลและทางสังคมการเมือง ยิ่งไปกว่านั้นการที่ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ออกมาสนับสนุนค่านิยม 12 ประการ ในรายการเดินหน้าประเทศไทย ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย จึงสวนทางกับบทบาทของพุทธะที่เน้นให้เกิด "แสงสว่าง" หรือการตื่นรู้ (enlightenment) ทั้งในเรื่องทุกข์ระดับปัจเจกบุคคล เรียนรู้ที่จะปลดปล่อยตนเองทางจิตวิญญาณ และการวิพากษ์ระบบความเชื่อ อำนาจและประเพณีอื่นๆ อันครอบงำให้ผู้คนสยบต่อระบบชนชั้นชั้นและความงมงายต่างๆ นั่นเท่ากับเป็นการเป็นการไม่ซื่อสัตย์ต่อหลักการพื้นฐานของพุทธธรรมเสียเอง <ref>  สุรพศ ทวีศักดิ์, "ว.วชิรเมธี กับการโปรฯ ค่านิยมหลัก 12 ประการ," มติชนออนไลน์, (19 สิงหาคม พ.ศ. 2557). เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1408466485>. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2558.</ref>


สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ชี้ให้เห็นว่าการกำหนด ค่านิยม 12 ประการ เป็นลักษณะความเคยชินของรัฐบาลซึ่งมีภูมิหลังมาจากทหารในอันที่จะใช้อำนาจ แต่ไม่ได้เปิดกว้างให้มีการวิพากษ์วิจารณ์จึงทวนทางกับการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ซึ่งต้องเน้นการเรียนในห้องให้น้อยลง แต่เน้นการเรียนรู้นอกห้องเรียนหรือเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมถึงเน้นการวิพากษ์วิจารณ์ ดังนั้นค่านิยม 12 ประการจึงเท่ากับการศึกษาที่ถอยหลังลงคลอง ดังความว่า "มันจะย้อนยุคก็ตรงนี้ หลายๆ เรื่องในนโยบายเขียนดี แต่ถ้าทัศนคติของผู้นำไปสวนทาง กลัววิจารณ์ กลัวไม่เชื่อ สั่งให้จำ มันสวนทางกับการเรียนรู้ ปฏิรูปหลักสูตร ผมก็เสียวว่ามันจะถอยหลังทัศนคติของผู้นำไม่ทันกับโลกปัจจุบัน มันสวนทางกับการสอนให้น้อยลง เรียนรู้ให้มากขึ้น แต่คุณเพิ่มประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง อย่างนี้จะทำให้การปฏิรูปหลักสูตรมันเสียไป"  
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ชี้ให้เห็นว่าการกำหนด ค่านิยม 12 ประการ เป็นลักษณะความเคยชินของรัฐบาลซึ่งมีภูมิหลังมาจากทหารในอันที่จะใช้อำนาจ แต่ไม่ได้เปิดกว้างให้มีการวิพากษ์วิจารณ์จึงทวนทางกับการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ซึ่งต้องเน้นการเรียนในห้องให้น้อยลง แต่เน้นการเรียนรู้นอกห้องเรียนหรือเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมถึงเน้นการวิพากษ์วิจารณ์ ดังนั้นค่านิยม 12 ประการจึงเท่ากับการศึกษาที่ถอยหลังลงคลอง ดังความว่า "มันจะย้อนยุคก็ตรงนี้ หลายๆ เรื่องในนโยบายเขียนดี แต่ถ้าทัศนคติของผู้นำไปสวนทาง กลัววิจารณ์ กลัวไม่เชื่อ สั่งให้จำ มันสวนทางกับการเรียนรู้ ปฏิรูปหลักสูตร ผมก็เสียวว่ามันจะถอยหลังทัศนคติของผู้นำไม่ทันกับโลกปัจจุบัน มันสวนทางกับการสอนให้น้อยลง เรียนรู้ให้มากขึ้น แต่คุณเพิ่มประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง อย่างนี้จะทำให้การปฏิรูปหลักสูตรมันเสียไป"  
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ได้รวมตัวหน้ากันกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์คัดค้านการใช้หลักค่านิยม 12 ประการ เนื่องจากเป็นความคิดชี้นำเยาวชนและเป็นการพยายามสร้างชุดความดีชุดเดียวให้ผู้คนยึดถือ ทำให้นโยบายค่านิยม 12 ประการเป็นเสมือนการล้างสมอง แต่สังคมไทยประกอบด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย ทั้งยึดถือคติความเชื่อแตกต่างกันมากมาย รัฐบาลจึงควรยอมรับการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลาย ดังนั้นจึงรณรงค์ให้กระทรวงศึกษาธิการยกเลิกการบังคับใช้ค่านิยม 12 ประการ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต่อมา พล.ร.อ.ณรงค์  พิพัฒนาศัย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตอบโต้ว่า "ค่านิยม 12 ประการ" ล้วนแล้วแต่เป็นค่านิยมที่ดีงามทั้งสิ้น การให้เด็กไทยทำความดีก็ย่อมเป็นเรื่องที่ดีตามไปด้วย ฉะนั้นหากการปลูกฝังค่านิยม 12 ประการเป็นเรื่องไม่ถูกต้องก็พร้อมพิจารณา แต่หากเป็นความเห็นของคนส่วนน้อยเพียงไม่กี่คนในสังคมก็ไม่ควรใส่ใจ  
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ได้รวมตัวหน้ากันกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์คัดค้านการใช้หลักค่านิยม 12 ประการ เนื่องจากเป็นความคิดชี้นำเยาวชนและเป็นการพยายามสร้างชุดความดีชุดเดียวให้ผู้คนยึดถือ ทำให้นโยบายค่านิยม 12 ประการเป็นเสมือนการล้างสมอง แต่สังคมไทยประกอบด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย ทั้งยึดถือคติความเชื่อแตกต่างกันมากมาย รัฐบาลจึงควรยอมรับการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลาย ดังนั้นจึงรณรงค์ให้กระทรวงศึกษาธิการยกเลิกการบังคับใช้ค่านิยม 12 ประการ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต่อมา พล.ร.อ.ณรงค์  พิพัฒนาศัย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตอบโต้ว่า "ค่านิยม 12 ประการ" ล้วนแล้วแต่เป็นค่านิยมที่ดีงามทั้งสิ้น การให้เด็กไทยทำความดีก็ย่อมเป็นเรื่องที่ดีตามไปด้วย ฉะนั้นหากการปลูกฝังค่านิยม 12 ประการเป็นเรื่องไม่ถูกต้องก็พร้อมพิจารณา แต่หากเป็นความเห็นของคนส่วนน้อยเพียงไม่กี่คนในสังคมก็ไม่ควรใส่ใจ <ref>"นร.ม.5 กลุ่มต้านค่านิยม 12 ประการ เผยทหารโทรถามหาที่ ร.ร.-วอน คสช.เลิกระแวงคนคิดต่าง," ประชาไท, (22 ตุลาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://prachatai.org/journal/2014/10/56142>. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2558.; "ตั้ง สกศ. วางทิศทางปฏิรูปทั้งระบบ," มติชน, (23 ตุลาคม 2557), 7.</ref>


== บรรณานุกรม ==
== บรรณานุกรม ==
บรรทัดที่ 182: บรรทัดที่ 183:


อรนุช วานิชทวีวัฒน์. "เรื่องน่าคิด ‘ศีลธรรม: วิชาที่ถูกลืม’." เดลินิวส์. (10 ตุลาคม 2557), 22.
อรนุช วานิชทวีวัฒน์. "เรื่องน่าคิด ‘ศีลธรรม: วิชาที่ถูกลืม’." เดลินิวส์. (10 ตุลาคม 2557), 22.


== หนังสืออ่านเพิ่มเติม ==
== หนังสืออ่านเพิ่มเติม ==
บรรทัดที่ 189: บรรทัดที่ 189:


Reynolds, Craig J. ed. (2002). National Identity and Its Defenders: Thailand Today. Revised Edition. Chiang Mai, Thailand: Silkworm Books.
Reynolds, Craig J. ed. (2002). National Identity and Its Defenders: Thailand Today. Revised Edition. Chiang Mai, Thailand: Silkworm Books.
            
            
==อ้างอิง==
==อ้างอิง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:39, 10 พฤศจิกายน 2558

ผู้เรียบเรียง ฐิติกร สังข์แก้ว และดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ศาสตราจารย์ นรนิติ เศรษฐบุตร


ความหมาย

การยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เหตุผลการเข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศว่า ความแตกแยกทางความคิดที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยได้นำไปสู่สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ เป็นผลให้ประชาชนสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินในรอบหลายปีที่ผ่านมา คสช. จึงเข้าควบคุมสถานการณ์ให้กลับคืนสู่สภาพปกติ และดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และด้านอื่นๆ ให้สำเร็จลุล่วง เพื่อให้เกิดความชอบธรรมแก่ทุกฝ่าย[1] เพื่อดำเนินการตามเป้าหมายดังกล่าว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. จึงแถลงออกรายการโทรทัศน์ “คืนความสุขให้คนในชาติ” เมื่อคืนวันที่ 11 กรกฎาคม 2557 สรุปใจความได้ว่า สิ่งแรกที่ยังถือเป็นปัญหาของประชาชนคนในทุกระดับชั้นซึ่งต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน คือ การกำหนดค่านิยมหลักให้ชัดเจนในสังคมไทย เพื่อที่จะสร้างประเทศไทยให้เข้มแข็ง ดังนั้นประชาชนไทยต้องเข้มแข็งก่อน จึงถือเป็นที่มาของ “ค่านิยม 12 ประการ” อันเป็นค่านิยมหลักของสังคมไทยตามนโยบาย คสช. [2]

สาระสำคัญของค่านิยม 12 ประการ

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงผ่านรายการโทรทัศน์ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ความว่า

สิ่งที่คนไทย ประเทศไทย ยังเป็นปัญหา และต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน ต้องมีความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในทุกระดับชั้น ทุกเพศ ทุกวัย เรื่องที่ 1 อยากจะเรียนว่าเราน่าจะกำหนดค่านิยมหลักของคนไทยขึ้นมาให้ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง ฉะนั้นคนต้องเข้มแข็งก่อน [3]

โดยระบุถึงค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้แก่

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม

3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์

4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม

5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม

6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน

7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง

8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่

9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี

11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา

12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

นอกจากนั้นแล้ว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าควรนำค่านิยมหลัก 12 ประการ ไปแต่งเป็นเพลงเพื่อท่องจำจนขึ้นใจ ในลักษณะเดียวกันกับเพลงวันเด็ก ซึ่งเยาวชนในยุคหนึ่งเติบโตขึ้นมาด้วยการกล่อมเกลาทำนองเดียวกัน เพราะหากคนไทยยึดมั่นตามค่านิยมชาติที่เน้นทั้งเรื่องการพัฒนาตัวเองทั้งในด้านความสามารถ ทั้งคุณธรรม ศีลธรรม เพื่อร่วมมือกันทำให้ชาติบ้านเมืองและส่วนรวมดีขึ้น จดจำจนขึ้นใจแล้วคนไทยก็จะเข้มแข็ง เมื่อนั้นประเทศชาติก็จะเข้มแข็ง[4]

มาตรการส่งเสริมเพื่อบรรลุผลทางนโยบาย

การดำเนินมาตรการเผยแพร่ค่านิยม 12 ประการตามนโยบายของ คสช. เริ่มขึ้นทันทีภายหลังการออกอากาศรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” เมื่อคืนวันที่ 11 กรกฎาคม 2557 ทั้งนี้ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการขยายผลไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เพื่อให้นักเรียนทุกระดับชั้น (ตั้งแต่ระดับชั้น ป.1-ม.6) ท่องจำ “ค่านิยมทั้ง 12 ประการ” โดยเริ่มตั้งแต่วันเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557[5] ซึ่งต่อมากองดุริยางค์ทหารบก ได้นำค่านิยมทั้ง 12 ประการมาแต่งเป็นบทเพลง โดยมีชื่อว่า "ค่านิยม 12 ประการ บทอาขยาน" แต่งคำร้องโดย พันเอกสมศักดิ์ เตียสุวรรณ แต่งทำนองและเรียบเรียงโดย ร้อยเอกสุระชัย ถวิลไพร ขับร้องโดย นางสาวกฤติญา สาริกา ควบคุมการจัดทำ โดย พันเอกกฤษดา สาริกา เนื้อร้องดังนี้

หนึ่ง รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

สอง ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทนได้

สาม กตัญญู พ่อแม่ สุดหัวใจ

สี่ มุ่งใฝ่ เล่าเรียน เพียรวิชา

ห้า รักษา วัฒนธรรม ประจำชาติ

หก ไม่ขาด ศีลธรรม ศาสนา

เจ็ด เรียนรู้ อธิปไตย ของประชา

แปด รักษา วินัย กฎหมายไทย

เก้า ปฏิบัติ ตามพระ ราชดำรัส

สิบ ไม่ขาด พอเพียง เลี้ยงชีพได้

สิบเอ็ด ต้อง เข็มแข็ง ทั้งกายใจ

สิบสองไซร้ คิดอะไร ให้ส่วนรวม


ทั้งนี้ ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่าได้นำค่านิยมหลัก 12 ประการไปจัดทำเป็นบทอาขยานเพื่อให้นักเรียนท่องจำและให้มีการสอบเพื่อเก็บคะแนนโดยให้สถานศึกษาแต่ละแห่งกำหนดเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลที่คำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันเด็กนักเรียนเมื่อท่องได้แล้วก็ควรปฏิบัติได้ด้วย และไม่เฉพาะแต่นักเรียนเท่านั้น หากบุคลากร ข้าราชการและประชาชนทั่วไปก็ควรนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังด้วย ทั้งยังบรรจุวิชาหน้าที่พลเมืองและประวัติศาสตร์ไทย ในแบบเรียนกระทรวงศึกษาธิการเพื่อณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ [6]

ขณะที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำสติกเกอร์ไลน์ “ค่านิยม 12 ประการ” ตามนโยบายของ คสช. ด้วยวงเงินงบประมาณ 7,117,400 บาท จนได้รับคำวิจารณ์ว่าการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวแพงเกินจริงและไม่มีความจำเป็น ทั้งยังขัดกับค่านิยมข้อที่ 10 ซึ่งระบุว่า "รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี" [7]

นอกจากนั้นในกรณี กระทรวงวัฒนธรรม ได้ดำเนินการจัดทำโครงการบทเพลงปลูกฝังค่านิยมหลักคนไทยเพลง “ค่านิยม 12 ประการ” จัดทำเนื้อร้อง เรียบเรียงเสียงประสาน ขับร้องโดยศิลปินบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย พลพล-ทชภณ พลกองเส็ง, ไอซ์-ศรัณยู วินัยพานิช, กัน-นภัทร อินทร์ใจเอื้อ, แก้ม-วิชญาณี เปียกลิ่น, ไมค์-พรภิรมย์ พินทะปะกัง และ ต่าย-อรทัย ดาบคำ คำร้อง/ทำนองโดย ปิติ ลิ้มเจริญ เรียบเรียงโดย ศราวุธ ฤทธิ์นันท์ เนื้อร้องดังนี้ [8]

ค่านิยมดีดี ต้องมีในหัวใจ *

ถ้าเรารักเมืองไทย จดจำไว้ให้ดี

ต้องเอาดีให้ได้ เกิดเป็นไทยทั้งที

ต้องคิดดี ต้องทำดี ต้องทำได้


หนึ่งรักชาติและศาสน์ กษัตริย์

สองซื่อสัตย์ มีอุดมการณ์

สามรู้คุณพ่อแม่ ครูบาอาจารย์

สี่ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาไม่เกียจไม่คร้าน

ตั้งใจเพียรเขียนอ่านให้ดี

(ซ้ำ *)

ห้ารักษาวัฒนธรรม

หกศีลธรรมต้องมีในใจ

เป็นผู้ให้ด้วยใจแบ่งปัน

เจ็ดเรียนรู้ประชาธิปไตย

แปดต้องมีวินัยร่วมกัน

ต้องยึดมั่นกฎหมายบ้านเมือง


เก้าต้องมีสติทุกก้าว

เดินไปตามรอยเท้าของพ่อ

สิบต้องเพียงและพอในหัวใจ

สิบเอ็ดเป็นคนเข้มแข็ง

ไม่ยอมแพ้อำนาจบาตรใหญ่

สิบสองรักประเทศไทยรักส่วนรวม

(ซ้ำ **)

ต้องคิดดี ต้องทำดี ต้องทำได้…

ปฏิกิริยาของสังคมต่อ “ค่านิยม 12 ประการ” ตามนโยบาย คสช.

“ค่านิยม 12 ประการ” ตามนโยบายของ คสช. จะได้รับการตอบรับจากภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อสานต่อในการจัดทำเป็นแผนนโยบายในกระทรวง หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ แล้ว แต่ก็เป็นนโยบายที่ส่งผลสะเทือนต่อสังคมในวงกว้าง ไม่เพียงแต่ฝ่ายที่สนับสนุนและเห็นด้วยกับ “ค่านิยม 12 ประการ” เท่านั้น แต่ยังปรากฏฝ่ายที่วิพากษ์วิจารณ์ไปในทิศทางต่างๆ อย่างกว้างขวาง

ความเห็นฝ่ายที่สนับสนุน “ค่านิยม 12 ประการ”

ภายหลังจากการประกาศให้ “ค่านิยม 12 ประการ” เป็นเหมือนแนวทางที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนพึงยึดถือเป็นค่านิยมหลักของคนในชาติ ก็ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลสาธารณะและสื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง ตัวอย่างเช่น พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) เห็นว่าค่านิยมหลัก 12 ประการ สอดคล้องกับหลักธรรมะ "เพราะเป็นจริยธรรมที่ทุกคนควรยึดถือ และประพฤติปฏิบัติ ซึ่งขณะนี้ นับเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะฟื้นฟูค่านิยมเหล่านี้ให้กลับคืนสู่สังคมไทย" การสร้างค่านิยม 12 ประการให้ยั่งยืนจึงต้องปลูกฝังไปถึงรากฐานให้แก่เยาวชน โดยผู้ใหญ่ สื่อมวลชนและสถาบันการศึกษาควรร่วมมือกันใช้กระบวนการ "อบรม บ่มเพาะ" จนกลายเป็นวัฒนธรรมของสังคมไทย [9]

ส่วน รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร แสดงความเห็นว่าความแตกแยกในสังคมไทยในรอบหลายปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการมีแนวคิดและค่านิยมที่แตกต่างกัน เนื่องจากบุคคลบางกลุ่มและเยาวชนรุ่นใหม่ยึดถือ “ค่านิยมที่สมควร” จนลุกลามบานปลายกลายเป็นความขัดแย้งรุนแรงประเมินค่ามิได้ ดังนั้นค่านิยม 12 ประการ ตามนโยบาย คสช. จึงเป็นการปลูกจิตสำนึกให้คนในชาติได้เข้าใจความเป็นไทยอย่างแท้จริง ให้คนไทยได้รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบที่พึงมีต่อประเทศชาติ มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศจึงควรนำแนวคิดดังกล่าวถ่ายทอดแก่นักศึกษา ครู อาจารย์ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ โดยจัดทำเป็นวาระหนึ่งของยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของนักศึกษาด้วย [10]

ขณะที่ พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) ชี้ให้เห็นว่าการรวบวิชาประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมไว้เป็นกลุ่มสาระโดยไม่เน้นแยกออกเป็นวิชาต่างหากก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ อีกทั้งการเรียนวิชาการเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะส่งผลให้เป็นคนดีและสังคมที่ดีได้ แต่ "จะต้องมีคุณธรรม ศีลธรรมด้วย มิฉะนั้นจะเข้าทำนอง ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด สังคมปัจจุบันเน้นแต่ปริมาณ แต่ลืมคุณธรรมใช้ความรู้โดยไม่มีคุณธรรม ลืมใช้สติฉุดรั้ง" ดังนั้นทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมมือกัน เริ่มตั้งแต่บ้าน ครอบครัว ชุมชน วัด และโรงเรียน หรือที่เรียกว่า “บ ว ร” ที่จะต้องช่วยกันปลูกฝังสิ่งที่ดีในจิตใจของเยาวชน [11]

ความเห็นฝ่ายที่คัดค้าน “ค่านิยม 12 ประการ”

ถึงแม้การสำรวจทัศนคติของประชาชนจะแสดงความเห็นด้วยกับค่านิยม 12 ประการ ถึงร้อยละ 64.44 [12] แต่นักวิชาการและกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมก็ยังให้เหตุผลยืนยันความไม่เห็นด้วยควบคู่กันไป

ทั้งนี้ สุรพศ ทวีศักดิ์ วิจารณ์ว่าค่านิยมหลัก 12 ประการ ตามนโยบาย คสช. ถือเป็นชุดความดีที่อิงอยู่กับและ/หรือสนับสนุนอุดมการณ์อำนาจนิยม ซึ่งไม่มีทางคล้ายคลึงกับหลักพุทธธรรม เพราะโดยหลักการแล้วก็คือการไม่เปิดพื้นที่ให้มีเสรีภาพในการแสวงหา หรือแสดงความคิดเห็นต่อความจริงได้ตลอด ขณะที่พุทธธรรมนั้นเป็นการยืนยันเสรีภาพของปัจเจกบุคคลในการแสวงหาความจริงทั้งส่วนบุคคลและทางสังคมการเมือง ยิ่งไปกว่านั้นการที่ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ออกมาสนับสนุนค่านิยม 12 ประการ ในรายการเดินหน้าประเทศไทย ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย จึงสวนทางกับบทบาทของพุทธะที่เน้นให้เกิด "แสงสว่าง" หรือการตื่นรู้ (enlightenment) ทั้งในเรื่องทุกข์ระดับปัจเจกบุคคล เรียนรู้ที่จะปลดปล่อยตนเองทางจิตวิญญาณ และการวิพากษ์ระบบความเชื่อ อำนาจและประเพณีอื่นๆ อันครอบงำให้ผู้คนสยบต่อระบบชนชั้นชั้นและความงมงายต่างๆ นั่นเท่ากับเป็นการเป็นการไม่ซื่อสัตย์ต่อหลักการพื้นฐานของพุทธธรรมเสียเอง [13]

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ชี้ให้เห็นว่าการกำหนด ค่านิยม 12 ประการ เป็นลักษณะความเคยชินของรัฐบาลซึ่งมีภูมิหลังมาจากทหารในอันที่จะใช้อำนาจ แต่ไม่ได้เปิดกว้างให้มีการวิพากษ์วิจารณ์จึงทวนทางกับการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ซึ่งต้องเน้นการเรียนในห้องให้น้อยลง แต่เน้นการเรียนรู้นอกห้องเรียนหรือเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมถึงเน้นการวิพากษ์วิจารณ์ ดังนั้นค่านิยม 12 ประการจึงเท่ากับการศึกษาที่ถอยหลังลงคลอง ดังความว่า "มันจะย้อนยุคก็ตรงนี้ หลายๆ เรื่องในนโยบายเขียนดี แต่ถ้าทัศนคติของผู้นำไปสวนทาง กลัววิจารณ์ กลัวไม่เชื่อ สั่งให้จำ มันสวนทางกับการเรียนรู้ ปฏิรูปหลักสูตร ผมก็เสียวว่ามันจะถอยหลังทัศนคติของผู้นำไม่ทันกับโลกปัจจุบัน มันสวนทางกับการสอนให้น้อยลง เรียนรู้ให้มากขึ้น แต่คุณเพิ่มประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง อย่างนี้จะทำให้การปฏิรูปหลักสูตรมันเสียไป" ทั้งนี้เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ได้รวมตัวหน้ากันกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์คัดค้านการใช้หลักค่านิยม 12 ประการ เนื่องจากเป็นความคิดชี้นำเยาวชนและเป็นการพยายามสร้างชุดความดีชุดเดียวให้ผู้คนยึดถือ ทำให้นโยบายค่านิยม 12 ประการเป็นเสมือนการล้างสมอง แต่สังคมไทยประกอบด้วยกลุ่มคนที่หลากหลาย ทั้งยึดถือคติความเชื่อแตกต่างกันมากมาย รัฐบาลจึงควรยอมรับการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลาย ดังนั้นจึงรณรงค์ให้กระทรวงศึกษาธิการยกเลิกการบังคับใช้ค่านิยม 12 ประการ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต่อมา พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตอบโต้ว่า "ค่านิยม 12 ประการ" ล้วนแล้วแต่เป็นค่านิยมที่ดีงามทั้งสิ้น การให้เด็กไทยทำความดีก็ย่อมเป็นเรื่องที่ดีตามไปด้วย ฉะนั้นหากการปลูกฝังค่านิยม 12 ประการเป็นเรื่องไม่ถูกต้องก็พร้อมพิจารณา แต่หากเป็นความเห็นของคนส่วนน้อยเพียงไม่กี่คนในสังคมก็ไม่ควรใส่ใจ [14]

บรรณานุกรม

กระทรวงวัฒนธรรม. "เพลง ค่านิยม 12 ประการ." เข้าถึงจาก <http://www.m-culture.go.th/>. เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2558.

ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยมและเจษฎา จี้สละ. "ผ่าตัดการศึกษายุคคสช. หวังได้แต่ระวังถอยหลัง." โพสต์ทูเดย์. (17 พ.ย. 2557), A6.

“ดุสิตโพล เผย ปชช.หนุนค่านิยม 12 ประการคสช. ยกชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สำคัญสุด." ผู้จัดการออนไลน์. (28 กันยายน 2557). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000111426&Html=1&TabID=2&>. เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2558.

“ตั้ง สกศ. วางทิศทางปฏิรูปทั้งระบบ." มติชน. (23 ตุลาคม 2557), 7.

“นร.ม.5 กลุ่มต้านค่านิยม 12 ประการ เผยทหารโทรถามหาที่ ร.ร.-วอน คสช.เลิกระแวงคนคิดต่าง." ประชาไท. (22 ตุลาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://prachatai.org/journal/2014/10/56142>. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2558. “นายกฯ มอบ นร.ท่องอาขยานค่านิยมไทย," ไทยรัฐ. (18 กันยายน 2557), 15.

“’บิ๊กตู่’ ลั่นล้างบางเหลือบชาติ เกาะหากินนาน 17 ปี ชู 9 ยุทธศาสตร์ชาติ เผย สนช.สภาปฏิรูป." บ้านเมือง. (12 กรกฎาคม 2557), 11.

“ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557 เรื่องการควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ." ราชกิจจานุเบกษา. ฉบับที่ 131. ตอนพิเศษ 83 ง. 26 พฤษภาคม 2557.

“เปิดราคาค่าทำสติกเกอร์ LINE หลังพบไอซีทีทุ่ม 7.1 ล้านทำ “ค่านิยม 12 ประการ” ตามนโยบาย คสช." ผู้จัดการออนไลน์. (17 ธันวาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/ CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000144937>. เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2558.

พัสณช เหาตะวานิช. "ค่านิยม 12 ข้อ: เราจะสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็ง คนต้องเข้มแข็งก่อน." แนวหน้า. (14 กรกฎาคม 2557), 2.

รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. “เดินหน้าประเทศไทยกับการสร้างค่านิยม 12 ประการ.” มติชนรายวัน. (29 กรกฎาคม 2557), 21.

““ว.วชิรเมธี" เผย หลักค่านิยม 12 ประการของ คสช.คล้ายหลักธรรมะ ชี้ เวลานี้เหมาะ ฟื้น "จริยธรรม." มติชนออนไลน์. (18 สิงหาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_ detail.php?newsid=1408320793>. เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2558.

“สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบายการสร้างค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการสู่การปฏิบัติ." วันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องประชุมโกวิท วรพิพัฒน์ กระทรวงศึกษาธิการ. เข้าถึงจาก <http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=39337&Key=news_boontee>. เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2558.

สุรพศ ทวีศักดิ์. "ว.วชิรเมธี กับการโปรฯ ค่านิยมหลัก 12 ประการ." มติชนออนไลน์. (19 สิงหาคม พ.ศ. 2557). เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1408466485>. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2558.

อรนุช วานิชทวีวัฒน์. "เรื่องน่าคิด ‘ศีลธรรม: วิชาที่ถูกลืม’." เดลินิวส์. (10 ตุลาคม 2557), 22.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

Connors, Michael Kelly. (2003). Democracy and National Identity in Thailand. New York: RoutledgeCurzon.

Reynolds, Craig J. ed. (2002). National Identity and Its Defenders: Thailand Today. Revised Edition. Chiang Mai, Thailand: Silkworm Books.

อ้างอิง

  1. "ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557 เรื่องการควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ," ราชกิจจานุเบกษา, ฉบับที่ 131, ตอนพิเศษ 83 ง, 26 พฤษภาคม 2557, หน้า 1-2.
  2. "‘บิ๊กตู่’ ลั่นล้างบางเหลือบชาติ เกาะหากินนาน 17 ปี ชู 9 ยุทธศาสตร์ชาติ เผย สนช.สภาปฏิรูป," บ้านเมือง, (12 กรกฎาคม 2557), 11.
  3. เรื่องเดียวกัน
  4. พัสณช เหาตะวานิช, "ค่านิยม 12 ข้อ : เราจะสร้างสรรค์ประเทศไทยให้เข้มแข็งคนต้องเข้มแข็งก่อน," แนวหน้า, (14 กรกฎาคม 2557), 2.
  5. "นายกฯ มอบ นร.ท่องอาขยานค่านิยมไทย," ไทยรัฐ, (18 กันยายน 2557), 15.
  6. "สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบายการสร้างค่านิยมหลักคนไทย 12 ประการสู่การปฏิบัติ," วันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องประชุมโกวิท วรพิพัฒน์ กระทรวงศึกษาธิการ. เข้าถึงจาก <http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=39337&Key=news_boontee>. เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2558.
  7. "เปิดราคาค่าทำสติกเกอร์ LINE หลังพบไอซีทีทุ่ม 7.1 ล้านทำ “ค่านิยม 12 ประการ” ตามนโยบาย คสช.," ผู้จัดการออนไลน์, (17 ธันวาคม 2557). เข้าถึงจาก http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000144937>. เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2558.
  8. กระทรวงวัฒนธรรม, "เพลง ค่านิยม 12 ประการ," เข้าถึงจาก <http://www.m-culture.go.th/>. เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2558.
  9. "ว.วชิรเมธี" เผย หลักค่านิยม 12 ประการของ คสช.คล้ายหลักธรรมะ ชี้ เวลานี้เหมาะ ฟื้น "จริยธรรม", มติชนออนไลน์, (18 สิงหาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1408320793>. เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2558.
  10. รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร, “เดินหน้าประเทศไทยกับการสร้างค่านิยม 12 ประการ,” มติชน, (29 กรกฎาคม 2557), 21.
  11. อรนุช วานิชทวีวัฒน์, "เรื่องน่าคิด ‘ศีลธรรม: วิชาที่ถูกลืม’," เดลินิวส์, (10 ตุลาคม 2557), 22.
  12. "ดุสิตโพล เผย ปชช.หนุนค่านิยม 12 ประการ คสช. ยกชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สำคัญสุด," ผู้จัดการออนไลน์, (28 กันยายน 2557). เข้าถึงจาก <http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000111426&Html=1&TabID=2&>. เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2558.
  13. สุรพศ ทวีศักดิ์, "ว.วชิรเมธี กับการโปรฯ ค่านิยมหลัก 12 ประการ," มติชนออนไลน์, (19 สิงหาคม พ.ศ. 2557). เข้าถึงจาก <http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1408466485>. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2558.
  14. "นร.ม.5 กลุ่มต้านค่านิยม 12 ประการ เผยทหารโทรถามหาที่ ร.ร.-วอน คสช.เลิกระแวงคนคิดต่าง," ประชาไท, (22 ตุลาคม 2557). เข้าถึงจาก <http://prachatai.org/journal/2014/10/56142>. เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2558.; "ตั้ง สกศ. วางทิศทางปฏิรูปทั้งระบบ," มติชน, (23 ตุลาคม 2557), 7.