ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะราษฎร"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 10: บรรทัดที่ 10:
   
   
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖
*[https://www.youtube.com/watch?v=BWkzLUfMcmo&list=PLz3ADrKTT5i0vjsCnIPrpraHExclR_Odo&index=98  YOU TUBE : ธ ทรงธรรม กับวิวัฒนาการการปกครองของสยาม : คณะราษฎร]


[[หมวดหมู่:สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ "ประชาธิปไตย"]]
[[หมวดหมู่:สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับ "ประชาธิปไตย"]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:35, 9 กันยายน 2558

ช่วงเวลากว่า ๔๐ ปีที่สยามอยู่ในระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ความรู้ความเข้าใจเรื่องการเมืองการปกครองได้แผ่ขยายออกไป โดยเฉพาะกับนักเรียนไทยที่ศึกษาอยู่ในยุโรปต่างมีความคิดและวิสัยทัศน์เท่าทันโลกตะวันตกมากยิ่งขึ้น

ชนวนแห่งความคิดชักนำไปสู่การรวมตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศได้ก่อตัวขึ้นในปี ๒๔๖๙ ในนามคณะราษฎร เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มนักเรียนและข้าราชการทั้งในสายทหารและพลเรือนที่ศึกษาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส อังกฤษและสวิตเซอร์แลนด์ เริ่มมีการประชุมกันถึงแนวคิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ผู้ก่อการเริ่มแรกมีร้อยโทประยูร ภมรมนตรี นักศึกษาวิชาการเมือง นายปรีดี พนมยงค์ นักศึกษาวิชากฎหมายร้อยโทแปลก ขีตะสังคะ นักเรียนวิชาทหาร ร้อยโททัศนัย มิตรภักดี นักเรียนวิชาทหาร นายตั้ว ลพานุกรม นักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และนายแนบ พหลโยธิน นักเรียนวิชากฎหมายและนายจรูญ สิงหเสนี ผู้ช่วยราชการสถานทูตสยามในฝรั่งเศส

แกนนำได้ใช้เวลาศึกษา วางแผนปฏิวัติสยามและทุนดำเนินการ โดยเริ่มหาพรรคพวกและผู้สนับสนุน ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในหน่วยงานราชการทั้งสายทหารบก ทหารเรือและพลเรือนรวมทั้งสิ้น ๑๑๕ คน หลังจากที่ผู้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎร ได้เดินทางกลับถึงประเทศก็มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างลับ ๆหลายครั้ง คณะราษฎรได้คิดป้องกันมิให้อังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซงได้ เนื่องด้วยประเทศสยามเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและในทางเศรษฐกิจ อีกทั้งต้องให้มหาอำนาจยอมรับรัฐใหม่ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งคณะราษฎรได้ใช้วิธีการอย่างฉับพลัน

ผลแห่งการดำเนินการของคณะราษฎร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของสยามในทันที

ที่มา

บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖