ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฎเสนาธิการ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Tora (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: {{รอผู้ืทรง}} ---- '''ผู้เรียบเรียง''' จุฑามาศ และ รศ.ดร.นครินทร์ ...
 
Tora (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
{{รอผู้ืทรง}}
{{รอผู้ทรง}}


----
----


'''ผู้เรียบเรียง''' จุฑามาศ และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
'''ผู้เรียบเรียง''' จุฑามาศ และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์


----
----
บรรทัดที่ 10: บรรทัดที่ 9:




การทำรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เป็นการยึดอำนาจของกลุ่มทหารจากรัฐบาลพลเรือนที่เข้ามาบริหารประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้การปกครองของประเทศไทยตกอยู่ภายใต้อำนาจของทหารยาวนานถึง 26 ปี แม้ว่าบางช่วงจะมีรัฐสภา มีระบบพรรคการเมือง แต่ก็อยู่ใต้การควบคุมของผู้มีอำนาจทางการทหาร และแม้จะมีการเปลี่ยนตัวผู้นำบ้างในบางช่วงแต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนกลุ่มผู้ครองอำนาจแต่อย่างใด ตั้งแต่สมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม จนมาถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนสิ้นสุดในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร จากเหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516  
การทำรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เป็นการยึดอำนาจของกลุ่มทหารจากรัฐบาลพลเรือนที่เข้ามาบริหารประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้การปกครองของประเทศไทยตกอยู่ภายใต้อำนาจของทหารยาวนานถึง 26 ปี แม้ว่าบางช่วงจะมีรัฐสภา มีระบบพรรคการเมือง แต่ก็อยู่ใต้การควบคุมของผู้มีอำนาจทางการทหาร และแม้จะมีการเปลี่ยนตัวผู้นำบ้างในบางช่วงแต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนกลุ่มผู้ครองอำนาจแต่อย่างใด ตั้งแต่สมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม จนมาถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนสิ้นสุดในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร จากเหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516<ref>โรม บุนนาค, คู่มือรัฐประหาร , กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2549, หน้า 91</ref>




กบฏเสนาธิการ หรือ กบฏนายพล นี้ เป็นกระบวนการทางการเมืองที่เป็นผลผลิตของการต่อต้านนคณะรัฐประหาร พ.ศ.2490 ภายในกองทัพบกเอง โดยมีปัจจัยหลัก 2 ประการที่นำมาสู่การเคลื่อนไหวการกบฏ คือ ดุลอำนาจในกองทัพบก และ ปัจจัยทางด้านความคิดที่มีผลให้เกิดการเคลื่อนไหว  
กบฏเสนาธิการ หรือ กบฏนายพล นี้ เป็นกระบวนการทางการเมืองที่เป็นผลผลิตของการต่อต้านนคณะรัฐประหาร พ.ศ.2490 ภายในกองทัพบกเอง โดยมีปัจจัยหลัก 2 ประการที่นำมาสู่การเคลื่อนไหวการกบฏ คือ ดุลอำนาจในกองทัพบก และ ปัจจัยทางด้านความคิดที่มีผลให้เกิดการเคลื่อนไหว<ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย, พิมพ์ครั้งที่2, กรุงเทพฯ: พี.เพรส., 2550, หน้า 153.</ref>




ในด้านดุลอำนาจในกองทัพบก จะเห็นได้ว่าหลังหารยึดอำนาจ คณะรัฐประหารทำการประนีประนอมกับบรรดานายทหารระดับผู้บังคับบัญชาในขณะนั้น โดยมีการตั้งตำแหน่งผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทยขึ้น แล้วให้จอมพล ป. พิบูลสงครามรับตำแหน่ง แต่ก็ยังคงให้ พ,. อ. อดุล อดุลเดชจรัส ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกต่อไป โดยคณะรัฐประหารมิได้ปลดออกจากตำแหน่งแต่อย่างใดและยังแต่งตั้งให้ พล.อ.อดุล รับตำแหน่งอภิรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญอีกด้วย บรรดานายทหารในกลุ่มคณะรัฐประหารมิได้รับตำแหน่งสูงมากนักและยังต้องอาศัยการประสานกับทหารฝ่ายอื่นอยู่ไม่น้อยในการควบคุมกำลัง โดยที่ยังไม่มีอำนาจเต็มที่ในกองทัพบกแต่อย่างใด  
ในด้านดุลอำนาจในกองทัพบก จะเห็นได้ว่าหลังหารยึดอำนาจ คณะรัฐประหารทำการประนีประนอมกับบรรดานายทหารระดับผู้บังคับบัญชาในขณะนั้น โดยมีการตั้งตำแหน่งผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทยขึ้น แล้วให้จอมพล ป. พิบูลสงครามรับตำแหน่ง แต่ก็ยังคงให้ พ,. อ. อดุล อดุลเดชจรัส ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกต่อไป โดยคณะรัฐประหารมิได้ปลดออกจากตำแหน่งแต่อย่างใดและยังแต่งตั้งให้ พล.อ.อดุล รับตำแหน่งอภิรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญอีกด้วย บรรดานายทหารในกลุ่มคณะรัฐประหารมิได้รับตำแหน่งสูงมากนักและยังต้องอาศัยการประสานกับทหารฝ่ายอื่นอยู่ไม่น้อยในการควบคุมกำลัง โดยที่ยังไม่มีอำนาจเต็มที่ในกองทัพบกแต่อย่างใด<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 154 – 155.</ref>




จนกระทั่งเมื่อคณะรัฐประหารได้จี้รัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ออก และสถาปนาอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นแทน ความไม่พอใจในหมู่ทหารจึงได้เริ่มขึ้น และยิ่งเมื่อ พล.ท.กาจ กาจสงคราม รองผู้บัญชาการทหารบกและเม่ทัพกองทัพบกที่ 1 ดำเนินการก้าวก่ายการเมืองและเคลื่อนไหวทางทหารตามชอบ และเข้าไปเป็นกรรมการองค์การ อจส (องค์การจัดซื้อและขายสินค้า) นอกจากนี้ยังมีข่าวพัวพันการทุจริต มีข่าวในด้านลบต่างๆ เช่น ข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับเงินรูปี จน พล.ท.กาจ กาจสงคราม ได้รับฉายาว่า “นายพลรูปี” ทั้งยังเป็นคนเขียนหนังสือเรื่องกรณีสวรรคตที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล จึงถูกดำเนินคดีข้อหาละเมิดอำนาจศาล ถูกปรับเป็นเงิน 200 บาท  รวมถึงการที่ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ เข้าไปควบคุมองค์การทหารผ่านศึก และเริ่มเข้าไปพัวพันกับสัมปทานและการแสวงหาผลประโยชน์  สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจมากขึ้นว่าคณะรัฐประหารก็มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เช่นกัน และนำมาซึ่งความพยายามในการก่อการยึดอำนาจ  
จนกระทั่งเมื่อคณะรัฐประหารได้จี้รัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ออก และสถาปนาอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นแทน ความไม่พอใจในหมู่ทหารจึงได้เริ่มขึ้น และยิ่งเมื่อ พล.ท.กาจ กาจสงคราม รองผู้บัญชาการทหารบกและเม่ทัพกองทัพบกที่ 1 ดำเนินการก้าวก่ายการเมืองและเคลื่อนไหวทางทหารตามชอบ และเข้าไปเป็นกรรมการองค์การ อจส (องค์การจัดซื้อและขายสินค้า) นอกจากนี้ยังมีข่าวพัวพันการทุจริต มีข่าวในด้านลบต่างๆ เช่น ข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับเงินรูปี จน พล.ท.กาจ กาจสงคราม ได้รับฉายาว่า “นายพลรูปี” ทั้งยังเป็นคนเขียนหนังสือเรื่องกรณีสวรรคตที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล จึงถูกดำเนินคดีข้อหาละเมิดอำนาจศาล ถูกปรับเป็นเงิน 200 บาท<ref>โรม บุนนาค, เรื่องเดิม, หน้า103 – 104.</ref> รวมถึงการที่ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ เข้าไปควบคุมองค์การทหารผ่านศึก และเริ่มเข้าไปพัวพันกับสัมปทานและการแสวงหาผลประโยชน์  สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจมากขึ้นว่าคณะรัฐประหารก็มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เช่นกัน และนำมาซึ่งความพยายามในการก่อการยึดอำนาจ<ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, เรื่องเดิม, หน้า 155.</ref>




ปัจจัยทางด้านความคิดนั้น นับว่าเป็นตัวแปรสำคัญอีกประการที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองในกลุ่มทหาร ทั้งนี้เนื่องจากในระยะที่รัฐบาลประชาธิปไตยพลเรือนบริหารประเทศระหว่าง พ.ศ.2487 – 2490 นั้น ได้มีการผลักดันแนวคิดแยกข้าราชการประจำออกจากการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการฝ่ายทหาร โดยเห็นว่า การที่ทหารเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง อาจะสนับสนุนลัทธิเผด็จการได้ นี่คือแนวคิดแบบที่เรียกว่า “ความคิดทหารอาชีพ” ซึ่งเผยแพร่อย่างมากในกองทัพ ทหารจะต้องปฏิบัติภารกิจที่จำเป็นของฝ่ายทหาร และต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง หรือถ้าหากจะเข้ารับตำแหน่งทางการเมืองก็จะต้องลาออกจากทหารประจำการก่อน  ซึ่งแนวคิดนี้ค่อนข้างจะสวนทางกับคณะรัฐประหารที่เห็นว่าทหารจะต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเมือง จะต้องเข้าแก้ไขและนำพาชาติในภาวะวิกฤต แนวคิดทั้ง 2 แนวนี้ดำรงอยู่ด้วยกันในกองทัพในช่วง พ.ศ. 2490 – 2491 และเป็นเหตุหนึ่งที่นำมาสู่การก่อกบฏเสนาธิการนี้ด้วย  
ปัจจัยทางด้านความคิดนั้น นับว่าเป็นตัวแปรสำคัญอีกประการที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองในกลุ่มทหาร ทั้งนี้เนื่องจากในระยะที่รัฐบาลประชาธิปไตยพลเรือนบริหารประเทศระหว่าง พ.ศ.2487 – 2490 นั้น ได้มีการผลักดันแนวคิดแยกข้าราชการประจำออกจากการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการฝ่ายทหาร โดยเห็นว่า การที่ทหารเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง อาจะสนับสนุนลัทธิเผด็จการได้ นี่คือแนวคิดแบบที่เรียกว่า “ความคิดทหารอาชีพ” ซึ่งเผยแพร่อย่างมากในกองทัพ ทหารจะต้องปฏิบัติภารกิจที่จำเป็นของฝ่ายทหาร และต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง หรือถ้าหากจะเข้ารับตำแหน่งทางการเมืองก็จะต้องลาออกจากทหารประจำการก่อน  ซึ่งแนวคิดนี้ค่อนข้างจะสวนทางกับคณะรัฐประหารที่เห็นว่าทหารจะต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเมือง จะต้องเข้าแก้ไขและนำพาชาติในภาวะวิกฤต แนวคิดทั้ง 2 แนวนี้ดำรงอยู่ด้วยกันในกองทัพในช่วง พ.ศ. 2490 – 2491 และเป็นเหตุหนึ่งที่นำมาสู่การก่อกบฏเสนาธิการนี้ด้วย<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 158.</ref>




นายทหารกลุ่มแรกในกองทัพบกที่ต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามและคณะรัฐประหารคือ นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ผู้นำของกลุ่มนี้คือ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต (หลวงศรานุชิต) รองเสนาธิการกลาโหม  พล.ต.เนตร เขมะโยธิน รองเสนาธิการทหารบก และ พล.ต.หลวงรณกรรมโกวิท (เพิ่ม ศิริวิสูตร) นายทหารประจำกรมเสนาธิการทหารบก ส่วนคนอื่นๆมักจะเป็นครูหรือนักเรียนในโรงเรียนเสนาธิการทหาร เช่น พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์  พ.อ.จรูญ สิทธิเดชะ  พ.อ.สงบ บุณยเกศานนท์ (ขุบสงบระงับศึก) เป็นต้น และยังมีนายทหารอื่นเข้าร่วม เช่น พ.อ.หลวงจิตรโยธี (จาด รัตนสถิตย์) พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม (โลม ศิริปาลกะ) และ พ.ท.พโยม จุลานนท์ (ส.ส.เพชรบุรี) เป็นต้น  
นายทหารกลุ่มแรกในกองทัพบกที่ต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามและคณะรัฐประหารคือ นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ผู้นำของกลุ่มนี้คือ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต (หลวงศรานุชิต) รองเสนาธิการกลาโหม  พล.ต.เนตร เขมะโยธิน รองเสนาธิการทหารบก และ พล.ต.หลวงรณกรรมโกวิท (เพิ่ม ศิริวิสูตร) นายทหารประจำกรมเสนาธิการทหารบก ส่วนคนอื่นๆมักจะเป็นครูหรือนักเรียนในโรงเรียนเสนาธิการทหาร เช่น พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์  พ.อ.จรูญ สิทธิเดชะ  พ.อ.สงบ บุณยเกศานนท์ (ขุบสงบระงับศึก) เป็นต้น และยังมีนายทหารอื่นเข้าร่วม เช่น พ.อ.หลวงจิตรโยธี (จาด รัตนสถิตย์) พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม (โลม ศิริปาลกะ) และ พ.ท.พโยม จุลานนท์ (ส.ส.เพชรบุรี) เป็นต้น<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 156.</ref>




นายทหารในสายเสนาธิการนี้ มีลักษณะพอเศษที่ค่อนข้างแตกต่างจากทหารสายอื่น โดยจะมีลักษณะเป็นปัญญาชนและเป็นสายงานทหารที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในรัฐบาลพลเรือนของ นายปรีดี พนมยงค์ และ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายทหารสายเสนาธิการหลายคนจบการศึกษาจากต่างประเทศ เช่น พล.ท.จิร วิชิตสงคราม จบการศึกษาจากประเทศสหราชอาณาจักร ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมทุกสมัยในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ และ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์  พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต และ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน จบการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารจากฝรั่งเศส  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้นำทหารของเสนาธิการกับผู้นำของคณะรัฐประหาร จะเห็นความแตกต่างบางประการได้ชัด เพราะผู้นำของคณะรัฐประหารทั้ง น.อ.กาจ เก่งระดมยิง พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พ.อ.สวัสดิ์ ส.สวัสเกียรติ พ.อ.หลวงสถิตยุทธการ พ.อ.เผ่า ศรียานนท์  พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ พ.อ.ก้าน จำนงภูมิเวท ต่างไม่มีใครจบการศึกษาจากต่างประเทศ และมักเป็นนายทหารที่ก้าวหน้าในอาชีพด้วยแรงผลักดันทางการเมือง สภาพเช่นนี้ทำให้ลักษณะทางความคิดของนายทหารสองกลุ่มนี้แตกต่างกันด้วย เพราะในขณะที่นายทหารกลุ่มคณะรัฐประหารยึดมั่นในอุดมการณ์ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายทหารสายเสนาธิการอย่าง พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต มีทัศนคติโน้มเอียงไปในทางประชาธิปไตยของฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์  
นายทหารในสายเสนาธิการนี้ มีลักษณะพอเศษที่ค่อนข้างแตกต่างจากทหารสายอื่น โดยจะมีลักษณะเป็นปัญญาชนและเป็นสายงานทหารที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในรัฐบาลพลเรือนของ นายปรีดี พนมยงค์ และ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายทหารสายเสนาธิการหลายคนจบการศึกษาจากต่างประเทศ เช่น พล.ท.จิร วิชิตสงคราม จบการศึกษาจากประเทศสหราชอาณาจักร ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมทุกสมัยในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ และ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์  พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต และ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน จบการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารจากฝรั่งเศส  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้นำทหารของเสนาธิการกับผู้นำของคณะรัฐประหาร จะเห็นความแตกต่างบางประการได้ชัด เพราะผู้นำของคณะรัฐประหารทั้ง น.อ.กาจ เก่งระดมยิง พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พ.อ.สวัสดิ์ ส.สวัสเกียรติ พ.อ.หลวงสถิตยุทธการ พ.อ.เผ่า ศรียานนท์  พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ พ.อ.ก้าน จำนงภูมิเวท ต่างไม่มีใครจบการศึกษาจากต่างประเทศ และมักเป็นนายทหารที่ก้าวหน้าในอาชีพด้วยแรงผลักดันทางการเมือง สภาพเช่นนี้ทำให้ลักษณะทางความคิดของนายทหารสองกลุ่มนี้แตกต่างกันด้วย เพราะในขณะที่นายทหารกลุ่มคณะรัฐประหารยึดมั่นในอุดมการณ์ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายทหารสายเสนาธิการอย่าง พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต มีทัศนคติโน้มเอียงไปในทางประชาธิปไตยของฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์<ref>เรื่องเดียวกัน, หน้า 159.</ref>




บรรทัดที่ 34: บรรทัดที่ 33:




แผนการของฝ่ายคณะเสนาธิการนั้น จะลงมือยึดอำนาจในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ซึ่งจะเป็นวันที่มีการฉลองงานมงคลสมรสระหว่าง พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับ น.ส.วิจิตรา ชลทรัพย์ ซึ่งคนสำคัญในคณะรัฐประหารจะมารวมตัวกันที่ทำเนียบรัฐบาลและจะเป็นการง่ายแก่การจับกุม โดย พ.ท.พโยม จุลานนท์ ได้รับมอบหมายให้นำกำลังเข้าควบคุมตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1  ส่วน พ.ต.เจริญ พงษ์พานิช รับหน้าที่จับกุมตัว พล.ต.หลวงสถิตยุทธการ เสนาธิการกองทัพที่ 1 และ พ.อ.บัญญัติ เทพหัสดินทร์ ผู้บัญชาการกรมทหารราบที่ 1 และกำลังอีกส่วนหนึ่งนำโดย พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์ จะบุกเข้ายึดกระทรวงกลาโหมเพื่อใช้เป็นกองบัญชาการในการยึดอำนาจ   
แผนการของฝ่ายคณะเสนาธิการนั้น จะลงมือยึดอำนาจในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ซึ่งจะเป็นวันที่มีการฉลองงานมงคลสมรสระหว่าง พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับ น.ส.วิจิตรา ชลทรัพย์ ซึ่งคนสำคัญในคณะรัฐประหารจะมารวมตัวกันที่ทำเนียบรัฐบาลและจะเป็นการง่ายแก่การจับกุม โดย พ.ท.พโยม จุลานนท์ ได้รับมอบหมายให้นำกำลังเข้าควบคุมตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1  ส่วน พ.ต.เจริญ พงษ์พานิช รับหน้าที่จับกุมตัว พล.ต.หลวงสถิตยุทธการ เสนาธิการกองทัพที่ 1 และ พ.อ.บัญญัติ เทพหัสดินทร์ ผู้บัญชาการกรมทหารราบที่ 1 และกำลังอีกส่วนหนึ่งนำโดย พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์ จะบุกเข้ายึดกระทรวงกลาโหมเพื่อใช้เป็นกองบัญชาการในการยึดอำนาจ<ref>เรียบเรียงจาก โรม บุนนาค, คู่มือรัฐประหาร , หน้า 104 – 105. และ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย, หน้า 163. </ref>  




อย่างไรก็ตาม การดำเนินการครั้งนี้ประสบความล้มเหลว แผนการต่างๆรั่วไหล ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งกำลังไปจับกุม พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์และกำลังส่วนใหญ่ของฝ่ายเสนาธิการได้ที่กระทรวงกลาโหมในคืนวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2491 ก่อนเวลาลงมือปฏิบัติการ และเช้าวันรุ่งขึ้นได้จับตัว พล.ต.หลวงรณกรรมโกวิท และ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม แต่ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พ.ท.พโยม จุลานนท์นั้นหนีรอดไปได้ จนกระทั่งวันที่ 25 ตุลาคม ก็สามารถตามจับกุมผู้ที่หลบหนีไปได้อีก 7 คน รวมทั้ง พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พ.ท.พโยม จุลานนท์ ส่งฟ้องศาลรวม 22 คน  ศาลลงโทษจำคุก 3 ปี 9 ราย คือ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์  พ.อ.หลวงจิตรโยธี  พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม  พ.ท.ประสบ ฐิติวร  พ.ต.ชิน หงส์รัตน์  ร.อ.หิรัญ สมัครเสวี  ร.อ.สุรพันธ์ อิงคุลานนท์  ร.ท.บุญช่วย ศรีทองเกิด ส่วนที่เหลือได้รับการปล่อยตัวไป  
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการครั้งนี้ประสบความล้มเหลว แผนการต่างๆรั่วไหล ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งกำลังไปจับกุม พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์และกำลังส่วนใหญ่ของฝ่ายเสนาธิการได้ที่กระทรวงกลาโหมในคืนวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2491 ก่อนเวลาลงมือปฏิบัติการ และเช้าวันรุ่งขึ้นได้จับตัว พล.ต.หลวงรณกรรมโกวิท และ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม แต่ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พ.ท.พโยม จุลานนท์นั้นหนีรอดไปได้ จนกระทั่งวันที่ 25 ตุลาคม ก็สามารถตามจับกุมผู้ที่หลบหนีไปได้อีก 7 คน รวมทั้ง พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พ.ท.พโยม จุลานนท์ ส่งฟ้องศาลรวม 22 คน<ref>โรม บุนนาค, คู่มือรัฐประหาร, หน้า 105.</ref> ศาลลงโทษจำคุก 3 ปี 9 ราย คือ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์  พ.อ.หลวงจิตรโยธี  พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม  พ.ท.ประสบ ฐิติวร  พ.ต.ชิน หงส์รัตน์  ร.อ.หิรัญ สมัครเสวี  ร.อ.สุรพันธ์ อิงคุลานนท์  ร.ท.บุญช่วย ศรีทองเกิด ส่วนที่เหลือได้รับการปล่อยตัวไป<ref>สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย, หน้า 165.</ref>




ผลของกบฏเสนาธิการที่มีต่อการเมืองของประเทศไม่รุนแรงนัก เพราะรัฐบาลสามารถจับตัวไดก่อนลงมือทำการ แต่อย่างไรก็ตาม กบฏครั้งนี้เปรียบเสมือนสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า คณะรัฐประหารเริ่มหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศแล้ว และแนวโน้มที่จะใช้กำลังทหารเพื่อการยึดอำนาจอาจเกิดขึ้นได้อีก ผลกระทบที่สำคัญของกบฏนี้คือ ทำให้ฝ่ายคณะรัฐประหารสามารถเข้าควบคุมอำนาจในกองทัพบกได้มากขึ้น นายทหารสายเสนาธิการที่เหลือตกอยู่ใต้การบังคับบัญชาขิง พล.ต.เดช เดชประดิยุทธ์ นายทหารที่คณะรัฐประการไว้วางใจ นอกจากนี้ยังมีการเลื่อนเอาคนของฝ่ายคณะรัฐประหารมาแทนนายทหารระดับนายพันหลายคนที่ถูกปลดจากตำแหน่งอันเนื่องจากการก่อการ กองทัพบกต้องเสียนายทหารระดับหัวกะทิที่มีแนวโน้มประชาธิปไตยมากที่สุดในกองทัพไปในกบฏครั้งนี้ และทำให้กองทัพมีแนวโน้มไปในทางอนุรักษ์นิยมมากขึ้น  
ผลของกบฏเสนาธิการที่มีต่อการเมืองของประเทศไม่รุนแรงนัก เพราะรัฐบาลสามารถจับตัวไดก่อนลงมือทำการ แต่อย่างไรก็ตาม กบฏครั้งนี้เปรียบเสมือนสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า คณะรัฐประหารเริ่มหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศแล้ว และแนวโน้มที่จะใช้กำลังทหารเพื่อการยึดอำนาจอาจเกิดขึ้นได้อีก ผลกระทบที่สำคัญของกบฏนี้คือ ทำให้ฝ่ายคณะรัฐประหารสามารถเข้าควบคุมอำนาจในกองทัพบกได้มากขึ้น นายทหารสายเสนาธิการที่เหลือตกอยู่ใต้การบังคับบัญชาขิง พล.ต.เดช เดชประดิยุทธ์ นายทหารที่คณะรัฐประการไว้วางใจ นอกจากนี้ยังมีการเลื่อนเอาคนของฝ่ายคณะรัฐประหารมาแทนนายทหารระดับนายพันหลายคนที่ถูกปลดจากตำแหน่งอันเนื่องจากการก่อการ กองทัพบกต้องเสียนายทหารระดับหัวกะทิที่มีแนวโน้มประชาธิปไตยมากที่สุดในกองทัพไปในกบฏครั้งนี้ และทำให้กองทัพมีแนวโน้มไปในทางอนุรักษ์นิยมมากขึ้น<ref>เรื่องเดียวกัน , หน้าเดียวกัน.</ref>





รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:30, 23 กุมภาพันธ์ 2552

บทความนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยโดยผู้ืทรงคุณวุฒิ


ผู้เรียบเรียง จุฑามาศ และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์



การทำรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เป็นการยึดอำนาจของกลุ่มทหารจากรัฐบาลพลเรือนที่เข้ามาบริหารประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้การปกครองของประเทศไทยตกอยู่ภายใต้อำนาจของทหารยาวนานถึง 26 ปี แม้ว่าบางช่วงจะมีรัฐสภา มีระบบพรรคการเมือง แต่ก็อยู่ใต้การควบคุมของผู้มีอำนาจทางการทหาร และแม้จะมีการเปลี่ยนตัวผู้นำบ้างในบางช่วงแต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนกลุ่มผู้ครองอำนาจแต่อย่างใด ตั้งแต่สมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม จนมาถึงสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนสิ้นสุดในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร จากเหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516[1]


กบฏเสนาธิการ หรือ กบฏนายพล นี้ เป็นกระบวนการทางการเมืองที่เป็นผลผลิตของการต่อต้านนคณะรัฐประหาร พ.ศ.2490 ภายในกองทัพบกเอง โดยมีปัจจัยหลัก 2 ประการที่นำมาสู่การเคลื่อนไหวการกบฏ คือ ดุลอำนาจในกองทัพบก และ ปัจจัยทางด้านความคิดที่มีผลให้เกิดการเคลื่อนไหว[2]


ในด้านดุลอำนาจในกองทัพบก จะเห็นได้ว่าหลังหารยึดอำนาจ คณะรัฐประหารทำการประนีประนอมกับบรรดานายทหารระดับผู้บังคับบัญชาในขณะนั้น โดยมีการตั้งตำแหน่งผู้บัญชาการทหารแห่งประเทศไทยขึ้น แล้วให้จอมพล ป. พิบูลสงครามรับตำแหน่ง แต่ก็ยังคงให้ พ,. อ. อดุล อดุลเดชจรัส ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกต่อไป โดยคณะรัฐประหารมิได้ปลดออกจากตำแหน่งแต่อย่างใดและยังแต่งตั้งให้ พล.อ.อดุล รับตำแหน่งอภิรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญอีกด้วย บรรดานายทหารในกลุ่มคณะรัฐประหารมิได้รับตำแหน่งสูงมากนักและยังต้องอาศัยการประสานกับทหารฝ่ายอื่นอยู่ไม่น้อยในการควบคุมกำลัง โดยที่ยังไม่มีอำนาจเต็มที่ในกองทัพบกแต่อย่างใด[3]


จนกระทั่งเมื่อคณะรัฐประหารได้จี้รัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ออก และสถาปนาอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นแทน ความไม่พอใจในหมู่ทหารจึงได้เริ่มขึ้น และยิ่งเมื่อ พล.ท.กาจ กาจสงคราม รองผู้บัญชาการทหารบกและเม่ทัพกองทัพบกที่ 1 ดำเนินการก้าวก่ายการเมืองและเคลื่อนไหวทางทหารตามชอบ และเข้าไปเป็นกรรมการองค์การ อจส (องค์การจัดซื้อและขายสินค้า) นอกจากนี้ยังมีข่าวพัวพันการทุจริต มีข่าวในด้านลบต่างๆ เช่น ข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับเงินรูปี จน พล.ท.กาจ กาจสงคราม ได้รับฉายาว่า “นายพลรูปี” ทั้งยังเป็นคนเขียนหนังสือเรื่องกรณีสวรรคตที่กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล จึงถูกดำเนินคดีข้อหาละเมิดอำนาจศาล ถูกปรับเป็นเงิน 200 บาท[4] รวมถึงการที่ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ เข้าไปควบคุมองค์การทหารผ่านศึก และเริ่มเข้าไปพัวพันกับสัมปทานและการแสวงหาผลประโยชน์ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจมากขึ้นว่าคณะรัฐประหารก็มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เช่นกัน และนำมาซึ่งความพยายามในการก่อการยึดอำนาจ[5]


ปัจจัยทางด้านความคิดนั้น นับว่าเป็นตัวแปรสำคัญอีกประการที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองในกลุ่มทหาร ทั้งนี้เนื่องจากในระยะที่รัฐบาลประชาธิปไตยพลเรือนบริหารประเทศระหว่าง พ.ศ.2487 – 2490 นั้น ได้มีการผลักดันแนวคิดแยกข้าราชการประจำออกจากการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการฝ่ายทหาร โดยเห็นว่า การที่ทหารเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง อาจะสนับสนุนลัทธิเผด็จการได้ นี่คือแนวคิดแบบที่เรียกว่า “ความคิดทหารอาชีพ” ซึ่งเผยแพร่อย่างมากในกองทัพ ทหารจะต้องปฏิบัติภารกิจที่จำเป็นของฝ่ายทหาร และต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง หรือถ้าหากจะเข้ารับตำแหน่งทางการเมืองก็จะต้องลาออกจากทหารประจำการก่อน ซึ่งแนวคิดนี้ค่อนข้างจะสวนทางกับคณะรัฐประหารที่เห็นว่าทหารจะต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเมือง จะต้องเข้าแก้ไขและนำพาชาติในภาวะวิกฤต แนวคิดทั้ง 2 แนวนี้ดำรงอยู่ด้วยกันในกองทัพในช่วง พ.ศ. 2490 – 2491 และเป็นเหตุหนึ่งที่นำมาสู่การก่อกบฏเสนาธิการนี้ด้วย[6]


นายทหารกลุ่มแรกในกองทัพบกที่ต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามและคณะรัฐประหารคือ นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ผู้นำของกลุ่มนี้คือ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต (หลวงศรานุชิต) รองเสนาธิการกลาโหม พล.ต.เนตร เขมะโยธิน รองเสนาธิการทหารบก และ พล.ต.หลวงรณกรรมโกวิท (เพิ่ม ศิริวิสูตร) นายทหารประจำกรมเสนาธิการทหารบก ส่วนคนอื่นๆมักจะเป็นครูหรือนักเรียนในโรงเรียนเสนาธิการทหาร เช่น พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์ พ.อ.จรูญ สิทธิเดชะ พ.อ.สงบ บุณยเกศานนท์ (ขุบสงบระงับศึก) เป็นต้น และยังมีนายทหารอื่นเข้าร่วม เช่น พ.อ.หลวงจิตรโยธี (จาด รัตนสถิตย์) พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม (โลม ศิริปาลกะ) และ พ.ท.พโยม จุลานนท์ (ส.ส.เพชรบุรี) เป็นต้น[7]


นายทหารในสายเสนาธิการนี้ มีลักษณะพอเศษที่ค่อนข้างแตกต่างจากทหารสายอื่น โดยจะมีลักษณะเป็นปัญญาชนและเป็นสายงานทหารที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในรัฐบาลพลเรือนของ นายปรีดี พนมยงค์ และ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายทหารสายเสนาธิการหลายคนจบการศึกษาจากต่างประเทศ เช่น พล.ท.จิร วิชิตสงคราม จบการศึกษาจากประเทศสหราชอาณาจักร ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมทุกสมัยในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ และ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต และ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน จบการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารจากฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้นำทหารของเสนาธิการกับผู้นำของคณะรัฐประหาร จะเห็นความแตกต่างบางประการได้ชัด เพราะผู้นำของคณะรัฐประหารทั้ง น.อ.กาจ เก่งระดมยิง พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พ.อ.สวัสดิ์ ส.สวัสเกียรติ พ.อ.หลวงสถิตยุทธการ พ.อ.เผ่า ศรียานนท์ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ พ.อ.ก้าน จำนงภูมิเวท ต่างไม่มีใครจบการศึกษาจากต่างประเทศ และมักเป็นนายทหารที่ก้าวหน้าในอาชีพด้วยแรงผลักดันทางการเมือง สภาพเช่นนี้ทำให้ลักษณะทางความคิดของนายทหารสองกลุ่มนี้แตกต่างกันด้วย เพราะในขณะที่นายทหารกลุ่มคณะรัฐประหารยึดมั่นในอุดมการณ์ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายทหารสายเสนาธิการอย่าง พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต มีทัศนคติโน้มเอียงไปในทางประชาธิปไตยของฝ่ายนายปรีดี พนมยงค์[8]


เหตุผลหลักของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มนายทหารสายเสนาธิการอยู่ที่ การไม่ยอมรับการที่ฝ่ายคณะรัฐประหาร ออกมาสนับสนุนให้ทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และยังเห็นว่าการที่นายทหารผู้ใหญ่เข้าไปแทรกแซงทางการเมืองนั้นเป็นความเสื่อมโทรมของกองทัพ และไม่ต้องการให้กองทัพตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มใดๆ จึงได้คิดหาทางล้มอำนาจของคณะรัฐประหาร เพื่อให้ทหารทำหน้าที่ทหารแต่เพียงอย่างเดียว


แผนการของฝ่ายคณะเสนาธิการนั้น จะลงมือยึดอำนาจในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 ซึ่งจะเป็นวันที่มีการฉลองงานมงคลสมรสระหว่าง พล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กับ น.ส.วิจิตรา ชลทรัพย์ ซึ่งคนสำคัญในคณะรัฐประหารจะมารวมตัวกันที่ทำเนียบรัฐบาลและจะเป็นการง่ายแก่การจับกุม โดย พ.ท.พโยม จุลานนท์ ได้รับมอบหมายให้นำกำลังเข้าควบคุมตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพล.ต.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ส่วน พ.ต.เจริญ พงษ์พานิช รับหน้าที่จับกุมตัว พล.ต.หลวงสถิตยุทธการ เสนาธิการกองทัพที่ 1 และ พ.อ.บัญญัติ เทพหัสดินทร์ ผู้บัญชาการกรมทหารราบที่ 1 และกำลังอีกส่วนหนึ่งนำโดย พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์ จะบุกเข้ายึดกระทรวงกลาโหมเพื่อใช้เป็นกองบัญชาการในการยึดอำนาจ[9]


อย่างไรก็ตาม การดำเนินการครั้งนี้ประสบความล้มเหลว แผนการต่างๆรั่วไหล ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งกำลังไปจับกุม พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์และกำลังส่วนใหญ่ของฝ่ายเสนาธิการได้ที่กระทรวงกลาโหมในคืนวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2491 ก่อนเวลาลงมือปฏิบัติการ และเช้าวันรุ่งขึ้นได้จับตัว พล.ต.หลวงรณกรรมโกวิท และ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม แต่ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พ.ท.พโยม จุลานนท์นั้นหนีรอดไปได้ จนกระทั่งวันที่ 25 ตุลาคม ก็สามารถตามจับกุมผู้ที่หลบหนีไปได้อีก 7 คน รวมทั้ง พล.ต.เนตร เขมะโยธิน และ พ.ท.พโยม จุลานนท์ ส่งฟ้องศาลรวม 22 คน[10] ศาลลงโทษจำคุก 3 ปี 9 ราย คือ พล.ต.เนตร เขมะโยธิน พ.อ.กิตติ ทัตตานนท์ พ.อ.หลวงจิตรโยธี พ.อ.หลวงศรีสิงหสงคราม พ.ท.ประสบ ฐิติวร พ.ต.ชิน หงส์รัตน์ ร.อ.หิรัญ สมัครเสวี ร.อ.สุรพันธ์ อิงคุลานนท์ ร.ท.บุญช่วย ศรีทองเกิด ส่วนที่เหลือได้รับการปล่อยตัวไป[11]


ผลของกบฏเสนาธิการที่มีต่อการเมืองของประเทศไม่รุนแรงนัก เพราะรัฐบาลสามารถจับตัวไดก่อนลงมือทำการ แต่อย่างไรก็ตาม กบฏครั้งนี้เปรียบเสมือนสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า คณะรัฐประหารเริ่มหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศแล้ว และแนวโน้มที่จะใช้กำลังทหารเพื่อการยึดอำนาจอาจเกิดขึ้นได้อีก ผลกระทบที่สำคัญของกบฏนี้คือ ทำให้ฝ่ายคณะรัฐประหารสามารถเข้าควบคุมอำนาจในกองทัพบกได้มากขึ้น นายทหารสายเสนาธิการที่เหลือตกอยู่ใต้การบังคับบัญชาขิง พล.ต.เดช เดชประดิยุทธ์ นายทหารที่คณะรัฐประการไว้วางใจ นอกจากนี้ยังมีการเลื่อนเอาคนของฝ่ายคณะรัฐประหารมาแทนนายทหารระดับนายพันหลายคนที่ถูกปลดจากตำแหน่งอันเนื่องจากการก่อการ กองทัพบกต้องเสียนายทหารระดับหัวกะทิที่มีแนวโน้มประชาธิปไตยมากที่สุดในกองทัพไปในกบฏครั้งนี้ และทำให้กองทัพมีแนวโน้มไปในทางอนุรักษ์นิยมมากขึ้น[12]


อ้างอิง

  1. โรม บุนนาค, คู่มือรัฐประหาร , กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2549, หน้า 91
  2. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย, พิมพ์ครั้งที่2, กรุงเทพฯ: พี.เพรส., 2550, หน้า 153.
  3. เรื่องเดียวกัน, หน้า 154 – 155.
  4. โรม บุนนาค, เรื่องเดิม, หน้า103 – 104.
  5. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, เรื่องเดิม, หน้า 155.
  6. เรื่องเดียวกัน, หน้า 158.
  7. เรื่องเดียวกัน, หน้า 156.
  8. เรื่องเดียวกัน, หน้า 159.
  9. เรียบเรียงจาก โรม บุนนาค, คู่มือรัฐประหาร , หน้า 104 – 105. และ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย, หน้า 163.
  10. โรม บุนนาค, คู่มือรัฐประหาร, หน้า 105.
  11. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, แผนชิงชาติไทย, หน้า 165.
  12. เรื่องเดียวกัน , หน้าเดียวกัน.

ดูเพิ่มเติม