ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หัวเมืองชั้นใน"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 10: บรรทัดที่ 10:
==การแบ่งการปกครองหัวเมือง==
==การแบ่งการปกครองหัวเมือง==
   
   
[[การจัดการปกครองในสมัยสุโขทัย]]อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ตามลำดับความสำคัญของเมือง โดยการแบ่งหัวเมืองเช่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระบอบการปกครอง จัดความสัมพันธ์ระหว่างหัวเมืองกับเมืองหลวง เพราะรัฐไม่มีกำลังทหารเพียงพอที่จะไปปกครองโดยตรง  จึงต้องใช้ระบบปกครองคล้าย Feudal ในยุโรป   
[[การจัดการปกครองในสมัยสุโขทัย]]อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ตามลำดับความสำคัญของเมือง โดยการแบ่งหัวเมืองเช่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระบอบการปกครอง จัดความสัมพันธ์ระหว่างหัวเมืองกับเมืองหลวง เพราะรัฐไม่มีกำลังทหารเพียงพอที่จะไปปกครองโดยตรง  จึงต้องใช้ระบบปกครองคล้าย Feudal ในยุโรป<ref>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549),หน้า 32. </ref>  
   
   
ในสมัยสุโขทัยและอยุธยาตอนต้นจะมีการแบ่งการปกครองหัวเมืองออกเป็น 3 ชั้นคือ หัวเมืองชั้นใน [[หัวเมืองชั้นนอก]]และ[[หัวเมืองประเทศราช]]
ในสมัยสุโขทัยและอยุธยาตอนต้นจะมีการแบ่งการปกครองหัวเมืองออกเป็น 3 ชั้นคือ หัวเมืองชั้นใน [[หัวเมืองชั้นนอก]]และ[[หัวเมืองประเทศราช]]
บรรทัดที่ 18: บรรทัดที่ 18:
2.การปกครองหัวเมืองชั้นนอก คือเมืองใหญ่ที่อยู่ไกลจากราชธานี บางเมืองเจ้าเมืองเจ้าหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิม บางเมืองเจ้าเมืองตั้งไปจากราชธานีเป็นผู้ปกครองต่างพระเนตรพระกรรณ
2.การปกครองหัวเมืองชั้นนอก คือเมืองใหญ่ที่อยู่ไกลจากราชธานี บางเมืองเจ้าเมืองเจ้าหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิม บางเมืองเจ้าเมืองตั้งไปจากราชธานีเป็นผู้ปกครองต่างพระเนตรพระกรรณ
   
   
3.เมืองประเทศราช คือเมืองที่อยู่นอกราชอาณาจักร ผู้ปกครองเมืองมีอำนาจสิทธิ์ขาดเป็นเจ้าแผ่นดินในเมืองของตนเอง ปกครองตนเองโดยอิสระ แต่ต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการตามระยะเวลาและในเวลาเกิดสงครามจะต้องเกณฑ์ไพร่พลและเสบียงอาหารเพื่อช่วยเหลือราชธานี
3.เมืองประเทศราช คือเมืองที่อยู่นอกราชอาณาจักร ผู้ปกครองเมืองมีอำนาจสิทธิ์ขาดเป็นเจ้าแผ่นดินในเมืองของตนเอง ปกครองตนเองโดยอิสระ แต่ต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการตามระยะเวลาและในเวลาเกิดสงครามจะต้องเกณฑ์ไพร่พลและเสบียงอาหารเพื่อช่วยเหลือราชธานี<ref>ธานี สุขเกษม, การเมืองการปกครองไทย, (เพชรบูรณ์ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 2556),หน้า 88. </ref> 
   
   
==รูปแบบการจัดหัวเมืองชั้นในสมัยสุโขทัย และ สมัยอยุธยา==
==รูปแบบการจัดหัวเมืองชั้นในสมัยสุโขทัย และ สมัยอยุธยา==
บรรทัดที่ 32: บรรทัดที่ 32:
ตะวันตก  เมืองสระหลวง (พิจิตร)
ตะวันตก  เมืองสระหลวง (พิจิตร)
   
   
หัวเมืองทั้งสี่จะตั้งค่อนไปทางใต้เพราะต้องระวังอาณาจักรอยุธยา ขณะที่ทางเหนือคือล้านนานั้นเป็นไมตรีกับสุโขทัย
หัวเมืองทั้งสี่จะตั้งค่อนไปทางใต้เพราะต้องระวังอาณาจักรอยุธยา ขณะที่ทางเหนือคือล้านนานั้นเป็นไมตรีกับสุโขทัย<ref>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, ,หน้า 27. </ref> 
 
 
ในช่วงต้นของการปกครองของอยุธยา การจัดการปกครองหัวเมืองชั้นในมีเมืองสำคัญอยู่ 4 ทิศคือ ทางเหนือ เมืองลพบุรี
ในช่วงต้นของการปกครองของอยุธยา การจัดการปกครองหัวเมืองชั้นในมีเมืองสำคัญอยู่ 4 ทิศคือ ทางเหนือ เมืองลพบุรี
บรรทัดที่ 42: บรรทัดที่ 42:
ตะวันตก  สุพรรณบุรี
ตะวันตก  สุพรรณบุรี
   
   
เมืองเหล่านี้ราชธานีจะส่งราชโอรส(ลูกหลวง)หรือข้าราชการสำคัญไปครอง เช่น [[สมเด็จพระราเมศวร]]เคยเสด็จไปครองเมืองลพบุรี  หัวเมืองชั้นในจึงเรียกอีกอย่างว่า “เมืองลูกหลวง”
เมืองเหล่านี้ราชธานีจะส่งราชโอรส(ลูกหลวง)หรือข้าราชการสำคัญไปครอง เช่น [[สมเด็จพระราเมศวร]]เคยเสด็จไปครองเมืองลพบุรี<ref>เพิ่งอ้าง,หน้า 28. </ref>   หัวเมืองชั้นในจึงเรียกอีกอย่างว่า “เมืองลูกหลวง”
   
   
พ.ศ.1962 พระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยสวรรคต และเกิดการแย่งอำนาจในสุโขทัยระหว่างเจ้า 2 องค์ [[สมเด็จพระอินทราชาธิราช ที่ 1]] กษัตริย์อยุธยาทรงเสนอ[[การไกล่เกลี่ย]]และทรงให้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็นสองส่วน ในการไกล่เกลี่ยนี้สุโขทัยต้องตกเป็นประเทศราชของอยุธยา และยกเมืองชัยนาทซึ่งเป็นเมืองพรมแดนด้านทิศใต้ให้กับอยุธยา  หัวเมืองชั้นในทางตอนเหนือจึงได้เปลี่ยนจากลพบุรีเป็นชัยนาท โดย[[สมเด็จพระอินทราชาธิราช ที่ 1]] ได้ส่ง[[เจ้าสามพระยา]]ซึ่งเป็น “ลูกหลวง”ไปครอง   
พ.ศ.1962 พระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยสวรรคต และเกิดการแย่งอำนาจในสุโขทัยระหว่างเจ้า 2 องค์ [[สมเด็จพระอินทราชาธิราช ที่ 1]] กษัตริย์อยุธยาทรงเสนอ[[การไกล่เกลี่ย]]และทรงให้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็นสองส่วน ในการไกล่เกลี่ยนี้สุโขทัยต้องตกเป็นประเทศราชของอยุธยา และยกเมืองชัยนาทซึ่งเป็นเมืองพรมแดนด้านทิศใต้ให้กับอยุธยา<ref>ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, อยุธยา ประวัติศาสตร์และการเมือง, พิมพ์ครั้งที่ 4 ปรับปรุง, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,2548) ,หน้า 175. </ref>   หัวเมืองชั้นในทางตอนเหนือจึงได้เปลี่ยนจากลพบุรีเป็นชัยนาท โดย[[สมเด็จพระอินทราชาธิราช ที่ 1]] ได้ส่ง[[เจ้าสามพระยา]]ซึ่งเป็น “ลูกหลวง”ไปครอง<ref>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี,บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, หน้า 28. </ref>  
   
   
หน้าที่สำคัญของเมืองลูกหลวงคือการแบ่งเมืองและตำแหน่งให้เชื้อพระวงศ์ เป็นการฝึกการปกครองและ[[บริหารราชการแผ่นดิน]] เช่นสมเด็จพระอินทราชาธิราช ที่ 1 ทรงส่งเจ้าอ้ายพระยา ราชโอรสองค์โตไปครองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยาไปครองสวรรค์บุรีและเจ้าสามพระยาไปครองเมืองชัยนาท  และหัวเมืองชั้นในเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นด่านกั้นภัยจากอริราชศัตรูก่อนถึงราชธานี   
หน้าที่สำคัญของเมืองลูกหลวงคือการแบ่งเมืองและตำแหน่งให้เชื้อพระวงศ์ เป็นการฝึกการปกครองและ[[บริหารราชการแผ่นดิน]] เช่นสมเด็จพระอินทราชาธิราช ที่ 1 ทรงส่งเจ้าอ้ายพระยา ราชโอรสองค์โตไปครองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยาไปครองสวรรค์บุรีและเจ้าสามพระยาไปครองเมืองชัยนาท<ref>ชาญวิทย์ เกษตรศิริ,อยุธยา ประวัติศาสตร์และการเมือง, หน้า 26. </ref> และหัวเมืองชั้นในเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นด่านกั้นภัยจากอริราชศัตรูก่อนถึงราชธานี<ref>ลิขิต ธีรเวคิน,วิวัฒนาการเมืองการปกครองไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติม, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548),หน้า 18. </ref>  


==การยกเลิกหัวเมืองชั้นใน==
==การยกเลิกหัวเมืองชั้นใน==


ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชอาณาเขตขยายออกไปมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการควบอาณาจักรสุโขทัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาใน พ.ศ.1981 ภายหลัง[[พระมหาธรรมราชาที่ 4]] แห่งสุโขทัยเสด็จสวรรคต สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงขึ้นไปเรียกร้องสิทธิในราชบัลลังก์โดยอ้างถึงการสืบพระราชวงศ์ทางสายมารดา  การปกครองอาณาจักรที่ใหญ่ยิ่งขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างอำนาจให้ปึกแผ่นมั่นคง จึงต้องมี[[การปฏิรูปการปกครอง]] เพื่อยึดโยงความสัมพันธ์ระหว่างราชธานีกับหัวเมืองต่างๆ การควบคุมกำลังคนและการสร้างอำนาจในทางเศรษฐกิจ   
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชอาณาเขตขยายออกไปมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการควบอาณาจักรสุโขทัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาใน พ.ศ.1981 ภายหลัง[[พระมหาธรรมราชาที่ 4]] แห่งสุโขทัยเสด็จสวรรคต สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงขึ้นไปเรียกร้องสิทธิในราชบัลลังก์โดยอ้างถึงการสืบพระราชวงศ์ทางสายมารดา<ref>ชาญวิทย์ เกษตรศิริ,อยุธยา ประวัติศาสตร์และการเมือง, หน้า 176. </ref> การปกครองอาณาจักรที่ใหญ่ยิ่งขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างอำนาจให้ปึกแผ่นมั่นคง จึงต้องมี[[การปฏิรูปการปกครอง]] เพื่อยึดโยงความสัมพันธ์ระหว่างราชธานีกับหัวเมืองต่างๆ การควบคุมกำลังคนและการสร้างอำนาจในทางเศรษฐกิจ<ref>ลิขิต ธีรเวคิน,วิวัฒนาการเมืองการปกครองไทย, หน้า 29. </ref>  
   
   
การปฏิรูปการปกครองทำให้ยกเลิกการปกครองที่แบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอกและหัวเมืองประเทศราชโดยเปลี่ยนเป็นการปกครองที่แบ่งหัวเมืองออกเป็นลำดับชั้นตามสำคัญ คือหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี
การปฏิรูปการปกครองทำให้ยกเลิกการปกครองที่แบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอกและหัวเมืองประเทศราชโดยเปลี่ยนเป็นการปกครองที่แบ่งหัวเมืองออกเป็นลำดับชั้นตามสำคัญ คือหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:09, 7 ธันวาคม 2557

เรียบเรียงโดย : อาจารย์บุญยเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล


ความหมาย

หัวเมืองชั้นใน หมายถึง เมืองหน้าด่านที่ล้อมราชธานีไว้ทั้ง 4 ด้าน ใช้ระยะเวลาเดินทางจากราชธานี ภายในระยะเวลา 2 วัน หัวเมืองชั้นในเป็นเมืองที่มีความสำคัญโดยพระมหากษัตริย์จะส่ง “ลูกหลวง”คือพระราชโอรสหรือขุนนางที่เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง

การแบ่งการปกครองหัวเมือง

การจัดการปกครองในสมัยสุโขทัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ตามลำดับความสำคัญของเมือง โดยการแบ่งหัวเมืองเช่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระบอบการปกครอง จัดความสัมพันธ์ระหว่างหัวเมืองกับเมืองหลวง เพราะรัฐไม่มีกำลังทหารเพียงพอที่จะไปปกครองโดยตรง จึงต้องใช้ระบบปกครองคล้าย Feudal ในยุโรป[1]

ในสมัยสุโขทัยและอยุธยาตอนต้นจะมีการแบ่งการปกครองหัวเมืองออกเป็น 3 ชั้นคือ หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอกและหัวเมืองประเทศราช

1.การปกครองหัวเมืองชั้นใน โดยมีเมืองชั้นในรายรอบเป็นปริมณฑล เรียกว่าเมืองลูกหลวง ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านล้อมราชธานีไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยระยะทางจากเมืองลูกหลวงกับราชธานี จะใช้เวลาเดินทางภายในระยะเวลา 2 วัน

2.การปกครองหัวเมืองชั้นนอก คือเมืองใหญ่ที่อยู่ไกลจากราชธานี บางเมืองเจ้าเมืองเจ้าหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิม บางเมืองเจ้าเมืองตั้งไปจากราชธานีเป็นผู้ปกครองต่างพระเนตรพระกรรณ

3.เมืองประเทศราช คือเมืองที่อยู่นอกราชอาณาจักร ผู้ปกครองเมืองมีอำนาจสิทธิ์ขาดเป็นเจ้าแผ่นดินในเมืองของตนเอง ปกครองตนเองโดยอิสระ แต่ต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการตามระยะเวลาและในเวลาเกิดสงครามจะต้องเกณฑ์ไพร่พลและเสบียงอาหารเพื่อช่วยเหลือราชธานี[2]

รูปแบบการจัดหัวเมืองชั้นในสมัยสุโขทัย และ สมัยอยุธยา

หัวเมืองชั้นในสมัยสุโขทัย ใช้รูปแบบการจัดหัวเมืองตามแบบอินเดียโบราณคือ มีเมืองหน้าด่าน 4 ทิศ ประกอบด้วย

ทางเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย

ทางใต้ เมืองกำแพงเพชร

ตะวันออก เมืองสองแคว

ตะวันตก เมืองสระหลวง (พิจิตร)

หัวเมืองทั้งสี่จะตั้งค่อนไปทางใต้เพราะต้องระวังอาณาจักรอยุธยา ขณะที่ทางเหนือคือล้านนานั้นเป็นไมตรีกับสุโขทัย[3]

ในช่วงต้นของการปกครองของอยุธยา การจัดการปกครองหัวเมืองชั้นในมีเมืองสำคัญอยู่ 4 ทิศคือ ทางเหนือ เมืองลพบุรี

ทางใต้ พระประแดง

ตะวันออก นครนายก

ตะวันตก สุพรรณบุรี

เมืองเหล่านี้ราชธานีจะส่งราชโอรส(ลูกหลวง)หรือข้าราชการสำคัญไปครอง เช่น สมเด็จพระราเมศวรเคยเสด็จไปครองเมืองลพบุรี[4] หัวเมืองชั้นในจึงเรียกอีกอย่างว่า “เมืองลูกหลวง”

พ.ศ.1962 พระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยสวรรคต และเกิดการแย่งอำนาจในสุโขทัยระหว่างเจ้า 2 องค์ สมเด็จพระอินทราชาธิราช ที่ 1 กษัตริย์อยุธยาทรงเสนอการไกล่เกลี่ยและทรงให้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็นสองส่วน ในการไกล่เกลี่ยนี้สุโขทัยต้องตกเป็นประเทศราชของอยุธยา และยกเมืองชัยนาทซึ่งเป็นเมืองพรมแดนด้านทิศใต้ให้กับอยุธยา[5] หัวเมืองชั้นในทางตอนเหนือจึงได้เปลี่ยนจากลพบุรีเป็นชัยนาท โดยสมเด็จพระอินทราชาธิราช ที่ 1 ได้ส่งเจ้าสามพระยาซึ่งเป็น “ลูกหลวง”ไปครอง[6]

หน้าที่สำคัญของเมืองลูกหลวงคือการแบ่งเมืองและตำแหน่งให้เชื้อพระวงศ์ เป็นการฝึกการปกครองและบริหารราชการแผ่นดิน เช่นสมเด็จพระอินทราชาธิราช ที่ 1 ทรงส่งเจ้าอ้ายพระยา ราชโอรสองค์โตไปครองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยาไปครองสวรรค์บุรีและเจ้าสามพระยาไปครองเมืองชัยนาท[7] และหัวเมืองชั้นในเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นด่านกั้นภัยจากอริราชศัตรูก่อนถึงราชธานี[8]

การยกเลิกหัวเมืองชั้นใน

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชอาณาเขตขยายออกไปมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการควบอาณาจักรสุโขทัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาใน พ.ศ.1981 ภายหลังพระมหาธรรมราชาที่ 4 แห่งสุโขทัยเสด็จสวรรคต สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงขึ้นไปเรียกร้องสิทธิในราชบัลลังก์โดยอ้างถึงการสืบพระราชวงศ์ทางสายมารดา[9] การปกครองอาณาจักรที่ใหญ่ยิ่งขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างอำนาจให้ปึกแผ่นมั่นคง จึงต้องมีการปฏิรูปการปกครอง เพื่อยึดโยงความสัมพันธ์ระหว่างราชธานีกับหัวเมืองต่างๆ การควบคุมกำลังคนและการสร้างอำนาจในทางเศรษฐกิจ[10]

การปฏิรูปการปกครองทำให้ยกเลิกการปกครองที่แบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอกและหัวเมืองประเทศราชโดยเปลี่ยนเป็นการปกครองที่แบ่งหัวเมืองออกเป็นลำดับชั้นตามสำคัญ คือหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี

บรรณานุกรม

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, อยุธยา ประวัติศาสตร์และการเมือง, พิมพ์ครั้งที่ 4 ปรับปรุง, กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,2548.

ธานี สุขเกษม, การเมืองการปกครองไทย, เพชรบูรณ์ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 2556.

ลิขิต ธีรเวคิน,วิวัฒนาการเมืองการปกครองไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติม, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, อยุธยา ประวัติศาสตร์และการเมือง, พิมพ์ครั้งที่ 4 ปรับปรุง, กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,2548.

ลิขิต ธีรเวคิน,วิวัฒนาการเมืองการปกครองไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติม, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

  1. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549),หน้า 32.
  2. ธานี สุขเกษม, การเมืองการปกครองไทย, (เพชรบูรณ์ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 2556),หน้า 88.
  3. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, ,หน้า 27.
  4. เพิ่งอ้าง,หน้า 28.
  5. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, อยุธยา ประวัติศาสตร์และการเมือง, พิมพ์ครั้งที่ 4 ปรับปรุง, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,2548) ,หน้า 175.
  6. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี,บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, หน้า 28.
  7. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ,อยุธยา ประวัติศาสตร์และการเมือง, หน้า 26.
  8. ลิขิต ธีรเวคิน,วิวัฒนาการเมืองการปกครองไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติม, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548),หน้า 18.
  9. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ,อยุธยา ประวัติศาสตร์และการเมือง, หน้า 176.
  10. ลิขิต ธีรเวคิน,วิวัฒนาการเมืองการปกครองไทย, หน้า 29.