ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หัวเมืองชั้นโท"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
==ความสำคัญ== | ==ความสำคัญ== | ||
การจัดการปกครองในสมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ตามลำดับความสำคัญของเมือง โดยการแบ่งหัวเมืองเช่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระบอบการปกครอง จัดความสัมพันธ์ระหว่างหัวเมืองกับเมืองหลวง เพราะรัฐไม่มีกำลังทหารเพียงพอที่จะไปปกครองโดยตรง จึงต้องใช้ระบบปกครองคล้าย Feudal ในยุโรป | การจัดการปกครองในสมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ตามลำดับความสำคัญของเมือง โดยการแบ่งหัวเมืองเช่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระบอบการปกครอง จัดความสัมพันธ์ระหว่างหัวเมืองกับเมืองหลวง เพราะรัฐไม่มีกำลังทหารเพียงพอที่จะไปปกครองโดยตรง จึงต้องใช้ระบบปกครองคล้าย Feudal ในยุโรป<ref>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี,บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์,(กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549), หน้า 32. </ref> | ||
ในสมัยสุโขทัยจะแบ่งออกเป็น[[เมืองหน้าด่าน]]และ[[เมืองประเทศราช]] ทางเหนือจะมีเมืองหน้าด่านคือศรีสัชนาลัย ทางใต้คือเมืองกำแพงเพชร ทางตะวันออกคือเมืองสองแควและทางตะวันตกคือเมืองสระหลวง (พิจิตร) ส่วนเมืองขึ้นหรือเมืองประเทศราชได้แก่ แพร่ น่าน หลวงพระบาง หัวเมืองมอญ นครศรีธรรมราช มะละกา | ในสมัยสุโขทัยจะแบ่งออกเป็น[[เมืองหน้าด่าน]]และ[[เมืองประเทศราช]] ทางเหนือจะมีเมืองหน้าด่านคือศรีสัชนาลัย ทางใต้คือเมืองกำแพงเพชร ทางตะวันออกคือเมืองสองแควและทางตะวันตกคือเมืองสระหลวง (พิจิตร) ส่วนเมืองขึ้นหรือเมืองประเทศราชได้แก่ แพร่ น่าน หลวงพระบาง หัวเมืองมอญ นครศรีธรรมราช มะละกา<ref>เพิ่งอ้าง,หน้า 27. </ref> | ||
ในสมัยอยุธยาตอนต้นมีการจัดการปกครองหัวเมืองโดยแบ่งเป็น[[เมืองลูกหลวง]] [[เมืองพระยามหานคร]]และ[[เมืองประเทศราช]] | ในสมัยอยุธยาตอนต้นมีการจัดการปกครองหัวเมืองโดยแบ่งเป็น[[เมืองลูกหลวง]] [[เมืองพระยามหานคร]]และ[[เมืองประเทศราช]] | ||
บรรทัดที่ 18: | บรรทัดที่ 18: | ||
เมืองพระยามหานครอยู่ไกลออกไปจากราชธานี ทางเหนือมีเมืองพิษณุโลก ศรีสัชนาลัย สุโขทัย กำแพงเพชร ทางใต้มีเมืองนครศรีธรรมราช นครราชสีมา ตะนาวศรีและเมืองทวาย เจ้าเมืองปกครองตนเองเกือบจะเป็นอิสระจากราชธานีแต่ต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา | เมืองพระยามหานครอยู่ไกลออกไปจากราชธานี ทางเหนือมีเมืองพิษณุโลก ศรีสัชนาลัย สุโขทัย กำแพงเพชร ทางใต้มีเมืองนครศรีธรรมราช นครราชสีมา ตะนาวศรีและเมืองทวาย เจ้าเมืองปกครองตนเองเกือบจะเป็นอิสระจากราชธานีแต่ต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา | ||
เมืองประเทศราชคือเมืองที่ผู้ปกครองปกครองโดยอิสระ เป็นกษัตริย์มีการสืบทอดอำนาจโดยไม่ได้มาจากการแต่งตั้งของราชธานี แต่ต้องถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง บางครั้งเรียกว่าเมืองต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ในกฎหมายตราสามดวงกล่าวว่า ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีเมืองกษัตริย์ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง 20 เมือง คือ 16 เมืองทางเหนือ 16 เมือง ได้แก่ เมืองนครหลวง (กัมพูชา) ศรีสัตนาคนหุต เชียงใหม่ ตองอู เชียงไกร เชียงกราน เชียงแสน เชียงรุ้ง เชียงราย แสนหวี เขมราช แพร่ น่าน ใต้ทอง โคตรบอง และแรวแกว ทางใต้ 4 เมืองคือ อุยองตะหนะ มะละกา มลายูและวรวารี | เมืองประเทศราชคือเมืองที่ผู้ปกครองปกครองโดยอิสระ เป็นกษัตริย์มีการสืบทอดอำนาจโดยไม่ได้มาจากการแต่งตั้งของราชธานี แต่ต้องถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง บางครั้งเรียกว่าเมืองต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ในกฎหมายตราสามดวงกล่าวว่า ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีเมืองกษัตริย์ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง 20 เมือง คือ 16 เมืองทางเหนือ 16 เมือง ได้แก่ เมืองนครหลวง (กัมพูชา) ศรีสัตนาคนหุต เชียงใหม่ ตองอู เชียงไกร เชียงกราน เชียงแสน เชียงรุ้ง เชียงราย แสนหวี เขมราช แพร่ น่าน ใต้ทอง โคตรบอง และแรวแกว ทางใต้ 4 เมืองคือ อุยองตะหนะ มะละกา มลายูและวรวารี<ref>เพิ่งอ้าง,หน้า 27 – 28. </ref> | ||
ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรทรงเปลี่ยนระบอบการจัดการหัวเมืองใหม่ เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง (Centralization) โดยยกเลิกเมืองลูกหลวงและเมืองพระยามหานคร เปลี่ยนเป็นหัวเมืองชั้นเอก หัวเมืองชั้นโท หัวเมืองชั้นตรี | ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรทรงเปลี่ยนระบอบการจัดการหัวเมืองใหม่ เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง (Centralization) โดยยกเลิกเมืองลูกหลวงและเมืองพระยามหานคร เปลี่ยนเป็นหัวเมืองชั้นเอก หัวเมืองชั้นโท หัวเมืองชั้นตรี | ||
บรรทัดที่ 26: | บรรทัดที่ 26: | ||
หัวเมืองชั้นโท คือเมืองพระยามหานครที่มีความสำคัญรองลงมา มีอยู่ 6 หัวเมือง ทางเหนือมีสวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ทางตะวันออกมีนครราชสีมา และทางใต้มีตะนาวศรี | หัวเมืองชั้นโท คือเมืองพระยามหานครที่มีความสำคัญรองลงมา มีอยู่ 6 หัวเมือง ทางเหนือมีสวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ทางตะวันออกมีนครราชสีมา และทางใต้มีตะนาวศรี | ||
เจ้าเมืองของหัวเมืองชั้นโท มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ถือศักดินา 10,000 เท่ากับเสนาบดีจตุสดมภ์ | เจ้าเมืองของหัวเมืองชั้นโท มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ถือศักดินา 10,000 เท่ากับเสนาบดีจตุสดมภ์<ref>เพิ่งอ้าง, หน้า 36.</ref> | ||
นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งสำคัญรองลงมาเช่นปลัดเมืองถือศักดินา 1,200 มียกกระบัตรที่ถูกส่งไปจากราชธานีเป็นผู้เชี่ยวชาญทางปกครองและกฎหมาย ทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการของเจ้าเมือง เช่น ท้องตราที่ถูกส่งจากราชธานี ยกกระบัตรต้องอยู่รับฟังด้วย และตำแหน่งจตุสดมภ์ที่จัดตามส่วนกลางคือ หลวงเมือง หลวงวัง หลวงคลัง หลวงนา และมีตำแน่งเจ้าท่าดูแลเรื่องการค้าขายและสัสดีดูแลเรื่องบัญชีคน | นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งสำคัญรองลงมาเช่นปลัดเมืองถือศักดินา 1,200 มียกกระบัตรที่ถูกส่งไปจากราชธานีเป็นผู้เชี่ยวชาญทางปกครองและกฎหมาย ทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการของเจ้าเมือง เช่น ท้องตราที่ถูกส่งจากราชธานี ยกกระบัตรต้องอยู่รับฟังด้วย และตำแหน่งจตุสดมภ์ที่จัดตามส่วนกลางคือ หลวงเมือง หลวงวัง หลวงคลัง หลวงนา และมีตำแน่งเจ้าท่าดูแลเรื่องการค้าขายและสัสดีดูแลเรื่องบัญชีคน | ||
รายได้ของหัวเมืองชั้นโทจะเหมือนของหัวเมืองชั้นเอกคือ | รายได้ของหัวเมืองชั้นโทจะเหมือนของหัวเมืองชั้นเอกคือ<ref>เพิ่งอ้าง,หน้า 38. </ref> | ||
(1) ได้รับเบี้ยหวัด (จ่ายเป็นเงินปี) จากราชธานีจำนวนมากน้อยตามความสำคัญของเมือง | (1) ได้รับเบี้ยหวัด (จ่ายเป็นเงินปี) จากราชธานีจำนวนมากน้อยตามความสำคัญของเมือง | ||
บรรทัดที่ 53: | บรรทัดที่ 53: | ||
กำหนดโทษเกี่ยวกับการเบียดบังส่วยอากรโดยการกำหนดโทษสถานหนัก เช่น ฟันคอริบเรือน,ริบราชบาตรแล้วให้ไปเป็นตระพุ่นหญ้าช้าง,เฆี่ยนด้วยลวดหนัง 50 ที , ขังไว้หนึ่งเดือนแล้วถอดลงเป็นไพร่,ปรับไหม | กำหนดโทษเกี่ยวกับการเบียดบังส่วยอากรโดยการกำหนดโทษสถานหนัก เช่น ฟันคอริบเรือน,ริบราชบาตรแล้วให้ไปเป็นตระพุ่นหญ้าช้าง,เฆี่ยนด้วยลวดหนัง 50 ที , ขังไว้หนึ่งเดือนแล้วถอดลงเป็นไพร่,ปรับไหม | ||
กำหนดโทษของการนำไพร่หลวงไปใช้ในประโยชน์ส่วนตัว เช่น ริบทรัพย์สินแล้วให้ไปเป็นตระพุ่นหญ้าช้าง,ปรับไหมหรือเฆี่ยนด้วยลดหนัง 25 ที | กำหนดโทษของการนำไพร่หลวงไปใช้ในประโยชน์ส่วนตัว เช่น ริบทรัพย์สินแล้วให้ไปเป็นตระพุ่นหญ้าช้าง,ปรับไหมหรือเฆี่ยนด้วยลดหนัง 25 ที<ref>กฎหมายตราสามดวง เล่ม 4 , (กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของคุรุสภา, 2506) ,หน้า 58 -59. </ref> | ||
'''2.กฎหมายลักษณะกระบดศึก''' | '''2.กฎหมายลักษณะกระบดศึก''' | ||
บรรทัดที่ 59: | บรรทัดที่ 59: | ||
เพื่อป้องกันมิให้หัวเมืองชั้นโท ทำการกบฏ ลอบปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์หรือเอาใจเข้าข้างศัตรูโดย “...ให้ริบราชบาทฆ่าเสียให้สิ้นทังโคตร สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาทฆ่าเสีย 7 ชั่วโคตร สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาตรแล้วให้ฆ่าเสีย โคตรนั้นอย่าให้เลี้ยงสืบไปเลย เมื่อประหารชีวิตรนั้น ให้ได้ 7 วันจึงให้สิ้นชีวิต เมื่อประหารนั้นอย่าให้โลหิตแลอาศภตกลงในแผ่นดิน ให้ใส่แพลอยเสียตามกระแสน้ำ” | เพื่อป้องกันมิให้หัวเมืองชั้นโท ทำการกบฏ ลอบปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์หรือเอาใจเข้าข้างศัตรูโดย “...ให้ริบราชบาทฆ่าเสียให้สิ้นทังโคตร สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาทฆ่าเสีย 7 ชั่วโคตร สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาตรแล้วให้ฆ่าเสีย โคตรนั้นอย่าให้เลี้ยงสืบไปเลย เมื่อประหารชีวิตรนั้น ให้ได้ 7 วันจึงให้สิ้นชีวิต เมื่อประหารนั้นอย่าให้โลหิตแลอาศภตกลงในแผ่นดิน ให้ใส่แพลอยเสียตามกระแสน้ำ” | ||
นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติมิให้เจ้าเมืองคิดตั้งตัวเป็นใหญ่ทำตนเทียมกษัตริย์ เช่น ห้ามเจ้าเมืองทำตัวเทียมกษัตริย์ เช่นให้มีการประโคมเวลาออกว่าราชการ ให้พระสงฆ์สวดชยันโต หรือเอามโหระทึกขึ้นคาน ต้องได้รับโทษสถานหนัก | นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติมิให้เจ้าเมืองคิดตั้งตัวเป็นใหญ่ทำตนเทียมกษัตริย์ เช่น ห้ามเจ้าเมืองทำตัวเทียมกษัตริย์ เช่นให้มีการประโคมเวลาออกว่าราชการ ให้พระสงฆ์สวดชยันโต หรือเอามโหระทึกขึ้นคาน ต้องได้รับโทษสถานหนัก<ref>เพิ่งอ้าง,หน้า 124</ref> | ||
''' 3.การติดต่อระหว่างราชธานีกับหัวเมือง''' | ''' 3.การติดต่อระหว่างราชธานีกับหัวเมือง''' | ||
การติดต่อระหว่างราชธานีกับหัวเมืองจะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ | การติดต่อระหว่างราชธานีกับหัวเมืองจะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ<ref>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาแลต้นรัตนโกสินทร์, หน้า 44. </ref> | ||
(1) จากราชธานีถึงหัวเมือง จะใช้เอกสารที่เรียกว่าท้องตรา ซึ่งออกโดยอัครมหาเสนาบดีหรือเสนาบดีไปถึงเจ้าเมือง ท้องตราจะเป็นคำสั่งหรือข้อมูลต่างๆ เช่นเรียกให้ข้าราชการมา[[ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา]] เรียกหาสิ่งของมาใช้ในราชการให้หาเสบียงสำหรับกองทัพ การเกณฑ์เลก ภาษีอากร รายงานน้ำฝนต้นข้าว คือรายงานสภาพผลผลิตทางการเกษตร | (1) จากราชธานีถึงหัวเมือง จะใช้เอกสารที่เรียกว่าท้องตรา ซึ่งออกโดยอัครมหาเสนาบดีหรือเสนาบดีไปถึงเจ้าเมือง ท้องตราจะเป็นคำสั่งหรือข้อมูลต่างๆ เช่นเรียกให้ข้าราชการมา[[ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา]] เรียกหาสิ่งของมาใช้ในราชการให้หาเสบียงสำหรับกองทัพ การเกณฑ์เลก ภาษีอากร รายงานน้ำฝนต้นข้าว คือรายงานสภาพผลผลิตทางการเกษตร | ||
บรรทัดที่ 72: | บรรทัดที่ 72: | ||
การจัดระบบการปกครองโดยการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ได้สิ้นสุดลงในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยเปลี่ยนเป็นการจัดระบบ[[มณฑลเทศาภิบาล]]เริ่มต้นอย่างเป็นทางการใน พ.ศ.2437 | การจัดระบบการปกครองโดยการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ได้สิ้นสุดลงในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยเปลี่ยนเป็นการจัดระบบ[[มณฑลเทศาภิบาล]]เริ่มต้นอย่างเป็นทางการใน พ.ศ.2437 | ||
==อ้างอิง== | |||
<references/> | |||
==เอกสารอ่านเพิ่มเติม== | ==เอกสารอ่านเพิ่มเติม== |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 22:34, 6 ธันวาคม 2557
เรียบเรียงโดย : อาจารย์บุญยเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล
การปกครองในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการจัดแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ เพื่อเป็นการควบคุมอำนาจและรักษาเสถียรภาพทางการเมือง ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงจัดรูปแบบการจัดการหัวเมืองแบบรวมศูนย์อำนาจ แบ่งหัวเมืองออกเป็นหัวเมืองชั้นเอก หัวเมืองชั้นโทและหัวเมืองชั้นตรี โดยหัวเมืองชั้นโทคือหัวเมืองที่อยู่ไกลจากราชธานี เจ้าเมืองถูกแต่งตั้งจากราชธานี เป็นผู้ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ มีอยู่ 6 หัวเมืองคือ สวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครราชสีมา และตะนาวศรี
ความสำคัญ
การจัดการปกครองในสมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ตามลำดับความสำคัญของเมือง โดยการแบ่งหัวเมืองเช่นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระบอบการปกครอง จัดความสัมพันธ์ระหว่างหัวเมืองกับเมืองหลวง เพราะรัฐไม่มีกำลังทหารเพียงพอที่จะไปปกครองโดยตรง จึงต้องใช้ระบบปกครองคล้าย Feudal ในยุโรป[1]
ในสมัยสุโขทัยจะแบ่งออกเป็นเมืองหน้าด่านและเมืองประเทศราช ทางเหนือจะมีเมืองหน้าด่านคือศรีสัชนาลัย ทางใต้คือเมืองกำแพงเพชร ทางตะวันออกคือเมืองสองแควและทางตะวันตกคือเมืองสระหลวง (พิจิตร) ส่วนเมืองขึ้นหรือเมืองประเทศราชได้แก่ แพร่ น่าน หลวงพระบาง หัวเมืองมอญ นครศรีธรรมราช มะละกา[2]
ในสมัยอยุธยาตอนต้นมีการจัดการปกครองหัวเมืองโดยแบ่งเป็นเมืองลูกหลวง เมืองพระยามหานครและเมืองประเทศราช
เมืองลูกหลวงมี 4 เมือง ทางเหนือคือเมืองลพบุรี ทางใต้คือเมืองพระประแดง ทางตะวันออกคือนครนายกและทางตะวันตกคือเมืองสุพรรณบุรี เมืองเหล่านี้ราชธานีจะส่งลูกหลวงหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไปปกครองดูแล
เมืองพระยามหานครอยู่ไกลออกไปจากราชธานี ทางเหนือมีเมืองพิษณุโลก ศรีสัชนาลัย สุโขทัย กำแพงเพชร ทางใต้มีเมืองนครศรีธรรมราช นครราชสีมา ตะนาวศรีและเมืองทวาย เจ้าเมืองปกครองตนเองเกือบจะเป็นอิสระจากราชธานีแต่ต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
เมืองประเทศราชคือเมืองที่ผู้ปกครองปกครองโดยอิสระ เป็นกษัตริย์มีการสืบทอดอำนาจโดยไม่ได้มาจากการแต่งตั้งของราชธานี แต่ต้องถวายต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง บางครั้งเรียกว่าเมืองต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ในกฎหมายตราสามดวงกล่าวว่า ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีเมืองกษัตริย์ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง 20 เมือง คือ 16 เมืองทางเหนือ 16 เมือง ได้แก่ เมืองนครหลวง (กัมพูชา) ศรีสัตนาคนหุต เชียงใหม่ ตองอู เชียงไกร เชียงกราน เชียงแสน เชียงรุ้ง เชียงราย แสนหวี เขมราช แพร่ น่าน ใต้ทอง โคตรบอง และแรวแกว ทางใต้ 4 เมืองคือ อุยองตะหนะ มะละกา มลายูและวรวารี[3]
ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรทรงเปลี่ยนระบอบการจัดการหัวเมืองใหม่ เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง (Centralization) โดยยกเลิกเมืองลูกหลวงและเมืองพระยามหานคร เปลี่ยนเป็นหัวเมืองชั้นเอก หัวเมืองชั้นโท หัวเมืองชั้นตรี
หัวเมืองชั้นเอกคือเมืองพระยามหานครที่มีความสำคัญได้แก่เมืองพิษณุโลกทางเหนือ และนครศรีธรรมราชทางใต้
หัวเมืองชั้นโท คือเมืองพระยามหานครที่มีความสำคัญรองลงมา มีอยู่ 6 หัวเมือง ทางเหนือมีสวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ทางตะวันออกมีนครราชสีมา และทางใต้มีตะนาวศรี
เจ้าเมืองของหัวเมืองชั้นโท มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ถือศักดินา 10,000 เท่ากับเสนาบดีจตุสดมภ์[4]
นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งสำคัญรองลงมาเช่นปลัดเมืองถือศักดินา 1,200 มียกกระบัตรที่ถูกส่งไปจากราชธานีเป็นผู้เชี่ยวชาญทางปกครองและกฎหมาย ทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการของเจ้าเมือง เช่น ท้องตราที่ถูกส่งจากราชธานี ยกกระบัตรต้องอยู่รับฟังด้วย และตำแหน่งจตุสดมภ์ที่จัดตามส่วนกลางคือ หลวงเมือง หลวงวัง หลวงคลัง หลวงนา และมีตำแน่งเจ้าท่าดูแลเรื่องการค้าขายและสัสดีดูแลเรื่องบัญชีคน
รายได้ของหัวเมืองชั้นโทจะเหมือนของหัวเมืองชั้นเอกคือ[5]
(1) ได้รับเบี้ยหวัด (จ่ายเป็นเงินปี) จากราชธานีจำนวนมากน้อยตามความสำคัญของเมือง
(2) ได้รับสิ่งของพระราชทานจำพวกเสื้อผ้าแพรพรรณ
(3) ภาษีผลผลิตข้าว (ค่านา) เจ้าเมืองจะได้ครึ่งหนึ่งต้องส่งเข้าราชธานีครึ่งหนึ่ง
(4) ทรัพย์สินที่ริบได้ตามกฎหมายตกเป็นของเจ้าเมือง
(5) เมื่อมีการค้ากับต่างประเทศทางเรือ ภาษีขาเข้าที่เก็บตามขนาดปากเรือตกเป็นของเจ้าเมือง
(6) เจ้าเมืองสามารถใช้ประโยชน์จากไพร่หลวงที่เกณฑ์ได้ในเมือง
การควบคุมระหว่างราชธานีกับหัวเมืองชั้นโท
หัวเมืองชั้นโทอยู่ห่างไกลจากราชธานี จึงต้องมีการจัดระบบการปกครองเพื่อควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างราชธานีกับหัวเมืองชั้นโท เพื่อให้มีการปกครองครองที่สอดคล้องกับราชธานีและป้องกันมิให้เจ้าเมืองปกครองตามอำเภอใจหรือคิดเป็นกบฏต่อราชธานี โดยมีกฎหมายที่สำคัญดังนี้
1.กฎหมายอาญาหลวง กำหนดให้เจ้าเมืองปกครองราษฎรด้วยความเป็นธรรม เช่น เจ้าเมืองที่ทำให้ราษฎรไม่อยู่เย็นเป็นสุข เข้าข้างอริราชศัตรู มิได้ทำตามพระราชโองการ ต้องโดนลงโทษสถานหนัก เช่น ฟันคอ ริบเรือน บุตรภรรยาตกและทรัพย์สินตกเป็นของหลวงที่เรียกว่าริบราชบาตร หรือถอดออกจากราชการแล้วให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้าง หรือให้แห่ตระเวนแล้วเสียบประจาน
กำหนดโทษเกี่ยวกับข้าราชการที่กดขี่ราษฎรไว้อย่างรุนแรง เช่น ริบราชบาตรแล้วให้เป็นตะพุ่นหญ้าช้าง หรือตระเวนประจานแล้วขังไว้ 1-3 เดือน หรือให้ประหารชีวิตด้วยการฟันคอริบเรือน หรือ ให้ปรับไหม 2 หรือ 4 เท่า
กำหนดโทษเกี่ยวกับการเบียดบังส่วยอากรโดยการกำหนดโทษสถานหนัก เช่น ฟันคอริบเรือน,ริบราชบาตรแล้วให้ไปเป็นตระพุ่นหญ้าช้าง,เฆี่ยนด้วยลวดหนัง 50 ที , ขังไว้หนึ่งเดือนแล้วถอดลงเป็นไพร่,ปรับไหม กำหนดโทษของการนำไพร่หลวงไปใช้ในประโยชน์ส่วนตัว เช่น ริบทรัพย์สินแล้วให้ไปเป็นตระพุ่นหญ้าช้าง,ปรับไหมหรือเฆี่ยนด้วยลดหนัง 25 ที[6]
2.กฎหมายลักษณะกระบดศึก
เพื่อป้องกันมิให้หัวเมืองชั้นโท ทำการกบฏ ลอบปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์หรือเอาใจเข้าข้างศัตรูโดย “...ให้ริบราชบาทฆ่าเสียให้สิ้นทังโคตร สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาทฆ่าเสีย 7 ชั่วโคตร สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาตรแล้วให้ฆ่าเสีย โคตรนั้นอย่าให้เลี้ยงสืบไปเลย เมื่อประหารชีวิตรนั้น ให้ได้ 7 วันจึงให้สิ้นชีวิต เมื่อประหารนั้นอย่าให้โลหิตแลอาศภตกลงในแผ่นดิน ให้ใส่แพลอยเสียตามกระแสน้ำ”
นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติมิให้เจ้าเมืองคิดตั้งตัวเป็นใหญ่ทำตนเทียมกษัตริย์ เช่น ห้ามเจ้าเมืองทำตัวเทียมกษัตริย์ เช่นให้มีการประโคมเวลาออกว่าราชการ ให้พระสงฆ์สวดชยันโต หรือเอามโหระทึกขึ้นคาน ต้องได้รับโทษสถานหนัก[7]
3.การติดต่อระหว่างราชธานีกับหัวเมือง
การติดต่อระหว่างราชธานีกับหัวเมืองจะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ[8]
(1) จากราชธานีถึงหัวเมือง จะใช้เอกสารที่เรียกว่าท้องตรา ซึ่งออกโดยอัครมหาเสนาบดีหรือเสนาบดีไปถึงเจ้าเมือง ท้องตราจะเป็นคำสั่งหรือข้อมูลต่างๆ เช่นเรียกให้ข้าราชการมาถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เรียกหาสิ่งของมาใช้ในราชการให้หาเสบียงสำหรับกองทัพ การเกณฑ์เลก ภาษีอากร รายงานน้ำฝนต้นข้าว คือรายงานสภาพผลผลิตทางการเกษตร
การเปิดอ่านท้องตราต้องเปิดต่อหน้ายกกระบัตร เจ้าเมืองต้องตรวจท้องตราว่าถูกต้องตามกฎหมายแล้วจึงปฏิบัติตาม ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้องให้ส่งคืนเมืองหลวงพร้อมกับชี้เหตุแห่งความไม่ถูกต้อง
(2) หนังสือรายงานจากหัวเมืองถึงราชธานีเรียกว่าใบบอก พระราชกำหนดปกครองหัวเมืองกำหนดว่า เจ้าเมืองต้องรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองถ้าเห็นเหลือกำลังให้มีใบบอกรายงานเสนาบดีให้นำความขึ้นกราบบังคมทูล
การจัดระบบการปกครองโดยการแบ่งหัวเมืองออกเป็นชั้นๆ ได้สิ้นสุดลงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเปลี่ยนเป็นการจัดระบบมณฑลเทศาภิบาลเริ่มต้นอย่างเป็นทางการใน พ.ศ.2437
อ้างอิง
- ↑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี,บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์,(กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549), หน้า 32.
- ↑ เพิ่งอ้าง,หน้า 27.
- ↑ เพิ่งอ้าง,หน้า 27 – 28.
- ↑ เพิ่งอ้าง, หน้า 36.
- ↑ เพิ่งอ้าง,หน้า 38.
- ↑ กฎหมายตราสามดวง เล่ม 4 , (กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของคุรุสภา, 2506) ,หน้า 58 -59.
- ↑ เพิ่งอ้าง,หน้า 124
- ↑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาแลต้นรัตนโกสินทร์, หน้า 44.
เอกสารอ่านเพิ่มเติม
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี,บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์,(กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549)
ลิขิต ธีรเวคิน.การเมืองการปกครองของไทย.(กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2553)
บรรณานุกรม
กฎหมายตราสามดวง เล่ม 4 , กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของคุรุสภา, 2506.
ลิขิต ธีรเวคิน.การเมืองการปกครองของไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2553.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี,บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.