ผลต่างระหว่างรุ่นของ "30 กันยายน พ.ศ. 2484"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุต...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
---- | ---- | ||
วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2484 เป็นวันที่[[สภาผู้แทนราษฎร]]ได้ลงมติให้ประกาศใช้[[พระราชบัญญัติธรรมนูญคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484]] ตอนนั้น[[รัฐบาล]]มี[[จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] และมี[[พลเรือโทหลวงสินธุสงครามชัย]] เป็น[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ]] ดังนั้น ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2484 คุณหลวงสินธุสงครามชัย จึงเป็นผู้เสนอโดยให้เหตุผลต่อสภาว่า | วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2484 เป็นวันที่[[สภาผู้แทนราษฎร]]ได้ลงมติให้ประกาศใช้[[พระราชบัญญัติธรรมนูญคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484]] ตอนนั้น[[รัฐบาล]]มี[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] และมี[[พลเรือโทหลวงสินธุสงครามชัย]] เป็น[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ]] ดังนั้น ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2484 คุณหลวงสินธุสงครามชัย จึงเป็นผู้เสนอโดยให้เหตุผลต่อสภาว่า | ||
“รัฐบาลขอเสนอร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 โดยมีหลักการว่า เพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติอันเกี่ยวกับการคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ แก้ไขระเบียบการคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยดี เหตุผลก็เนื่องด้วยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ซึ่งถือเป็นหลักการปกครองคณะสงฆ์อยู่ในเวลานี้ ยังไม่เหมาะสมกับหลักการปกครองบ้านเมืองขณะนี้อยู่หลายประการ จึงเป็นการสมควรที่จะปรับปรุงแก้ไข เพื่อส่งเสริมการพระพุทธศาสนาให้ถาวรวัฒนายิ่งขึ้น และเพื่อบำรุงความศรัทธาปาทะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป” | “รัฐบาลขอเสนอร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 โดยมีหลักการว่า เพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติอันเกี่ยวกับการคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ แก้ไขระเบียบการคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยดี เหตุผลก็เนื่องด้วยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ซึ่งถือเป็นหลักการปกครองคณะสงฆ์อยู่ในเวลานี้ ยังไม่เหมาะสมกับหลักการปกครองบ้านเมืองขณะนี้อยู่หลายประการ จึงเป็นการสมควรที่จะปรับปรุงแก้ไข เพื่อส่งเสริมการพระพุทธศาสนาให้ถาวรวัฒนายิ่งขึ้น และเพื่อบำรุงความศรัทธาปาทะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป” |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:16, 15 ตุลาคม 2557
ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2484 เป็นวันที่สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ตอนนั้นรัฐบาลมีจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และมีพลเรือโทหลวงสินธุสงครามชัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้น ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2484 คุณหลวงสินธุสงครามชัย จึงเป็นผู้เสนอโดยให้เหตุผลต่อสภาว่า
“รัฐบาลขอเสนอร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 โดยมีหลักการว่า เพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติอันเกี่ยวกับการคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ แก้ไขระเบียบการคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยดี เหตุผลก็เนื่องด้วยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ซึ่งถือเป็นหลักการปกครองคณะสงฆ์อยู่ในเวลานี้ ยังไม่เหมาะสมกับหลักการปกครองบ้านเมืองขณะนี้อยู่หลายประการ จึงเป็นการสมควรที่จะปรับปรุงแก้ไข เพื่อส่งเสริมการพระพุทธศาสนาให้ถาวรวัฒนายิ่งขึ้น และเพื่อบำรุงความศรัทธาปาทะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป”
ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 มาแล้ว รัฐบาลที่ตั้งกันสืบมาก็ได้พยายามแก้ไข ปรับปรุงในเรื่องต่าง ๆ มีทั้งแก้ไขกฎหมายเดิม และยกร่างกฎหมายใหม่ เวลาผ่านมาเข้ามาถึงปีที่ 9 จึงถึงเวลาที่ได้มาจับเรื่องที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและเป็นเรื่องใหญ่ดังที่รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการเองได้สารภาพเอาไว้
“...การปรับปรุงพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้เป็นไปด้วยความลำบากยิ่งและได้มีการโต้เถียงกันมาเป็นเวลานาน...”
เมื่อปรับปรุงแล้วก็ดูว่าจะมีรูปแบบคล้ายกับรูปแบบการปกครองของประเทศที่มีสภา และคณะสงฆ์ แนวทางมีสภากับคณะผู้บริหารนี้ ตอนที่ออกกฎหมายเทศบาลก็มีรูปแบบสภาเทศบาล และคณะมนตรีเช่นกัน
“ปรับปรุงรูปการปกครองคณะสงฆ์ เข้าหารูปการปกครองในปัจจุบัน คือ มีสภาสงฆ์และคณะสงฆ์”
ทั้ง ๆ ที่การทำเรื่องนี้เป็นเรื่องลำบาก แต่ พ.ศ. 2484 นั้นเป็นเวลาที่นายกรัฐมนตรีหลวงพิบูลสงคราม ตอนต้นปีก็เพิ่งจะประสบความสำเร็จจากสงครามอินโดจีน เป็นที่ชื่นชมของสมาชิกสภา ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงผ่านออกมาใช้และเป็นแนวทางการปกครองของคณะสงฆ์อยู่เป็นเวลานาน