ผลต่างระหว่างรุ่นของ "10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุต...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
---- | ---- | ||
วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เป็นวันที่ [[นายควง อภัยวงศ์]] ได้รับแต่งตั้งให้เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] นับเป็นช่วงเวลาที่ 3 ที่ได้เข้ามารับตำแหน่ง ครั้งนี้เป็นการเข้ารับตำแหน่งหลังการยึดอำนาจของคณะรัฐประหาร ล้ม[[รัฐบาล]]ตาม[[รัฐธรรมนูญ]]ของ[[หลวงธำรงค์ นาวาสวัสดิ์]] เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารยึดอำนาจเสร็จก็ไม่กล้าเป็นรัฐบาลเสียเอง | วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เป็นวันที่ [[ควง อภัยวงศ์|นายควง อภัยวงศ์]] ได้รับแต่งตั้งให้เป็น[[นายกรัฐมนตรี]] นับเป็นช่วงเวลาที่ 3 ที่ได้เข้ามารับตำแหน่ง ครั้งนี้เป็นการเข้ารับตำแหน่งหลังการยึดอำนาจของคณะรัฐประหาร ล้ม[[รัฐบาล]]ตาม[[รัฐธรรมนูญ]]ของ[[หลวงธำรงค์ นาวาสวัสดิ์]] เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารยึดอำนาจเสร็จก็ไม่กล้าเป็นรัฐบาลเสียเอง ไปขอนายควง อภัยวงศ์ [[หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์]]ที่เป็น[[ฝ่ายค้าน]]รัฐบาลที่สำคัญมาตั้งรัฐบาล | ||
ที่คณะรัฐประหารต้องหันมาเอานายควง อภัยวงศ์ มาเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เพราะการยึดอำนาจล้มรัฐธรรมนูญ ล้มรัฐบาล นั้นทำให้รัฐบาลที่เข้ามาใหม่ยังไม่ได้รับการรับรองจากต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาอำนาจหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] | ที่คณะรัฐประหารต้องหันมาเอานายควง อภัยวงศ์ มาเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เพราะการยึดอำนาจล้มรัฐธรรมนูญ ล้มรัฐบาล นั้นทำให้รัฐบาลที่เข้ามาใหม่ยังไม่ได้รับการรับรองจากต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาอำนาจหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] | ||
บรรทัดที่ 26: | บรรทัดที่ 26: | ||
การเลือกตั้งทั่วไปที่รัฐบาล “ควง 3”ดูแลก็คือ การเลือกตั้งในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 ที่เป็นการเลือกตั้งที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ออกหาเสียงกันอย่างมาก ประชาชนก็จะดูได้รับการปลุกเร้าให้สนใจการเลือกตั้งมาก โดยเป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขตจังหวัด ที่กำหนดประชาชนสองแสนคนต่อผู้แทนราษฎรหนึ่งคน | การเลือกตั้งทั่วไปที่รัฐบาล “ควง 3”ดูแลก็คือ การเลือกตั้งในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 ที่เป็นการเลือกตั้งที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ออกหาเสียงกันอย่างมาก ประชาชนก็จะดูได้รับการปลุกเร้าให้สนใจการเลือกตั้งมาก โดยเป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขตจังหวัด ที่กำหนดประชาชนสองแสนคนต่อผู้แทนราษฎรหนึ่งคน | ||
ผลการเลือก ตั้งพรรคประชาธิปัตย์ดูจะได้รับความนิยมดี เพราะเขตเมืองหลวง คือ จังหวัดพระนครและธนบุรี 2 จังหวัดนี้ พรรคได้ผู้แทนยกจังหวัดทั้งหมด 5 คน ที่พระนครนั้นนายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์ และพี่น้องนักการเมืองสำคัญ คือ [[ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช]] ก็ชนะเข้าสภา ที่ธนบุรีได้[[นายไถง สุวรรณทัต]] | ผลการเลือก ตั้งพรรคประชาธิปัตย์ดูจะได้รับความนิยมดี เพราะเขตเมืองหลวง คือ จังหวัดพระนครและธนบุรี 2 จังหวัดนี้ พรรคได้ผู้แทนยกจังหวัดทั้งหมด 5 คน ที่พระนครนั้นนายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์ และพี่น้องนักการเมืองสำคัญ คือ [[เสนีย์ ปราโมช|ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช]] ก็ชนะเข้าสภา ที่ธนบุรีได้[[ไถง สุวรรณทัต|นายไถง สุวรรณทัต]] | ||
[[พรรครัฐบาล]]เดิม [[พรรคแนวรัฐธรรมนูญ]]และ[[พรรคสหชีพ]]ถูกกระทบกระเทือน ผู้นำพรรคถูกอำนาจรัฐเล่นงานจนอ่อนแรงไปเลยทีเดียว | [[พรรครัฐบาล]]เดิม [[พรรคแนวรัฐธรรมนูญ]]และ[[พรรคสหชีพ]]ถูกกระทบกระเทือน ผู้นำพรรคถูกอำนาจรัฐเล่นงานจนอ่อนแรงไปเลยทีเดียว | ||
ดังนั้น หลังการเลือกตั้งมีสภาผู้แทนราษฎรแล้ว มีการเลือก[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]] ได้[[นายเกษม บุญศรี]] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[[พรรคประชาธิปัตย์]]จากนครสวรรค์มาเป็น และจากการหารือของสภาผู้แทนราษฎรก็เสนอนายควง อภัยวงศ์ กลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 จัดตั้งรัฐบาลเข้าแถลงนโยบายบริหารประเทศ | ดังนั้น หลังการเลือกตั้งมีสภาผู้แทนราษฎรแล้ว มีการเลือก[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]] ได้[[นายเกษม บุญศรี]] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[[ประชาธิปัตย์|พรรคประชาธิปัตย์]]จากนครสวรรค์มาเป็น และจากการหารือของสภาผู้แทนราษฎรก็เสนอนายควง อภัยวงศ์ กลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 จัดตั้งรัฐบาลเข้าแถลงนโยบายบริหารประเทศ | ||
แต่เข้าบริหารประเทศหลังการเลือกตั้งที่อุตส่าห์ไปจัดทำมาได้เพียงไม่กี่วัน ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะรัฐประหารที่เป็นรัฐบาลเงาแต่มีอำนาจจริง ก็ส่งทหาร 4 นายไป “จี้” ให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งได้สำเร็จในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 | แต่เข้าบริหารประเทศหลังการเลือกตั้งที่อุตส่าห์ไปจัดทำมาได้เพียงไม่กี่วัน ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะรัฐประหารที่เป็นรัฐบาลเงาแต่มีอำนาจจริง ก็ส่งทหาร 4 นายไป “จี้” ให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งได้สำเร็จในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491 |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:18, 14 ตุลาคม 2557
ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เป็นวันที่ นายควง อภัยวงศ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็นช่วงเวลาที่ 3 ที่ได้เข้ามารับตำแหน่ง ครั้งนี้เป็นการเข้ารับตำแหน่งหลังการยึดอำนาจของคณะรัฐประหาร ล้มรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญของหลวงธำรงค์ นาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารยึดอำนาจเสร็จก็ไม่กล้าเป็นรัฐบาลเสียเอง ไปขอนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านรัฐบาลที่สำคัญมาตั้งรัฐบาล
ที่คณะรัฐประหารต้องหันมาเอานายควง อภัยวงศ์ มาเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เพราะการยึดอำนาจล้มรัฐธรรมนูญ ล้มรัฐบาล นั้นทำให้รัฐบาลที่เข้ามาใหม่ยังไม่ได้รับการรับรองจากต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
หน้าที่สำคัญของรัฐบาลคุณควง อภัยวงศ์ คราวนี้ก็คือ มาจัดการเลือกตั้งให้มีสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญใหม่ พ.ศ. 2490 ที่คณะรัฐประหารเอาออกจากที่ซ่อนมาประกาศใช้
มีคนแปลกใจอยู่เหมือนกันว่า ทำไมคุณควงจึงรับหน้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์แบบนี้ และคุณควงก็คงจะได้ทราบถึงความแปลกใจของคนเหล่านั้น ปกตินักการเมืองมักมีความไว้ในเรื่องนี้ ท่านจึงได้เคยบอกกล่าวเอาไวในภายหลัง
“ครั้นเขามาเชิญให้ผมเป็นนายกรัฐมนตรีก็ใช่ว่าผมจะไม่รู้ว่าเขาจะเอาผมไปเป็นนั่งร้านให้เขา แต่ผมจำเป็นต้องรับ ก่อนจะรับเราก็ได้ประชุมปรึกษาหารือกันที่บ้านผมตั้งแต่ตี 2 ตี 3 มีหลายคนเห็นว่าไม่ควรรับ ผมก็ชี้แจงให้ฟัง ถ้าเราไม่รับก็จะเกิดเรื่องใหญ่ เพราะฝ่ายหลวงประดิษฐฯ และฝ่ายจอมพล ป. ต่างก็มีลูกศิษย์ลูกหากันอยู่มากด้วยกัน ตัวเขาจะเคยเป็นเพื่อนกัน แต่เมื่อเกิดเรื่องระหว่างลูกศิษย์ต่อลูกศิษย์ เราก็จะพลอยลำบากไปด้วย เอาเถอะเราจะช่วยเข้าไปขวางกลางให้ก็แล้วกัน ตกลงพวกผู้ใหญ่ ๆ ก็เห็นด้วยกับผม เพราะฉะนั้นจึงว่าที่ผมรับเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งนั้น ไม่ใช่รับโดยไม่รู้ว่าตัวว่าเขาจะยืมมือเราเป็นการชั่วคราว”
คำบอกเล่าของคุณควง อภัยวงศ์ ทำให้เห็นว่าการเมืองในช่วงนั้นเสมือนจะมีอยู่สามพวกหรือสามก๊ก อันก๊กที่สามก็คือก๊กคุณควง อภัยวงศ์ นั่นเอง
มาเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยมีคณะรัฐประหารเป็นใหญ่เต็มเมืองขนาดนั้น ไม่ต้องบอกก็ทราบกันดีว่ารัฐบาลทำอะไรไม่ได้มาก เสมือนมีรัฐบาลเงาที่มีอำนาจกว่ารัฐบาลจริง
รัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ ชุดนี้เป็นรัฐบาลที่มาภายหลังการรัฐประหาร มีการตั้งรัฐบาลแล้วก็ตั้งสมาชิกวุฒิสภา ยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎร และจะต้องรอเลือกตั้ง ดังนั้น จึงเป็นรัฐบาลที่แถลงนโยบายต่อวุฒิสภาเท่านั้น
แต่แม้จะมีหน้าที่จะต้องจัดการเลือกตั้ง ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเป็นงานหลักและสำคัญ กระนั้น รัฐบาลนี้ก็ได้ทำหน้าที่ที่มีความหมายนั้น ก็คือแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 ของคณะรัฐประหาร โดยกำหนดให้มีสภาร่าง รัฐธรรมนูญขึ้นมาเป็นครั้งแรก อันได้แก่ สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดที่หนึ่งให้เสร็จภายในเวลา 180 วัน สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้มีจำนวน 40 คน โดยมีสมาชิกรัฐสภาคือสมาชิกวุฒิสภากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่กึ่งหนึ่ง และที่เหลืออีก 20 คนให้เลือกมาจากผู้สมัครที่แบ่งเป็น 4 ประเภท จำนวนประเภทละ 5 คน ตามที่กำหนดไว้ การได้สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดแรกนี้ ไม่เสร็จได้ทันในสมัยนายกรัฐมนตรีนายควง อภัยวงศ์
การเลือกตั้งทั่วไปที่รัฐบาล “ควง 3”ดูแลก็คือ การเลือกตั้งในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 ที่เป็นการเลือกตั้งที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ออกหาเสียงกันอย่างมาก ประชาชนก็จะดูได้รับการปลุกเร้าให้สนใจการเลือกตั้งมาก โดยเป็นการเลือกตั้งแบบรวมเขตจังหวัด ที่กำหนดประชาชนสองแสนคนต่อผู้แทนราษฎรหนึ่งคน
ผลการเลือก ตั้งพรรคประชาธิปัตย์ดูจะได้รับความนิยมดี เพราะเขตเมืองหลวง คือ จังหวัดพระนครและธนบุรี 2 จังหวัดนี้ พรรคได้ผู้แทนยกจังหวัดทั้งหมด 5 คน ที่พระนครนั้นนายกรัฐมนตรีควง อภัยวงศ์ และพี่น้องนักการเมืองสำคัญ คือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ก็ชนะเข้าสภา ที่ธนบุรีได้นายไถง สุวรรณทัต
พรรครัฐบาลเดิม พรรคแนวรัฐธรรมนูญและพรรคสหชีพถูกกระทบกระเทือน ผู้นำพรรคถูกอำนาจรัฐเล่นงานจนอ่อนแรงไปเลยทีเดียว
ดังนั้น หลังการเลือกตั้งมีสภาผู้แทนราษฎรแล้ว มีการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้นายเกษม บุญศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์จากนครสวรรค์มาเป็น และจากการหารือของสภาผู้แทนราษฎรก็เสนอนายควง อภัยวงศ์ กลับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 จัดตั้งรัฐบาลเข้าแถลงนโยบายบริหารประเทศ
แต่เข้าบริหารประเทศหลังการเลือกตั้งที่อุตส่าห์ไปจัดทำมาได้เพียงไม่กี่วัน ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 คณะรัฐประหารที่เป็นรัฐบาลเงาแต่มีอำนาจจริง ก็ส่งทหาร 4 นายไป “จี้” ให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งได้สำเร็จในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2491
ดังนั้น การเป็นนายกรัฐมนตรีของคุณควง อภัยวงศ์ ที่เข้ามาเพราะคณะรัฐประหารไปเชิญมาเป็น จึงต้องลาออกจากตำแหน่ง เพราะคณะรัฐประหารบอกให้ออก โดยท่านก็ไม่ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกเลยตลอดชีวิต