ผลต่างระหว่างรุ่นของ "23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุต...'
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 เป็นวันที่มีการลอบสังหารผู้นำทางการเมืองคนสำคัญของประเทศ  ผู้ถูกลอบสังหารคือ [[นายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม]] [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม]] ที่เป็นนายทหารหนุ่มผู้มีอำนาจมากที่สุดในตอนนั้น แต่ท่านก็รอดพ้นจากอันตรายถึงชีวิต การอยากเปลี่ยนผู้นำทางการเมืองแบบนี้ก็เป็น[[การมีส่วนร่วมทางการเมือง]]อย่างหนึ่งเหมือนกัน แต่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 เป็นวันที่มีการลอบสังหารผู้นำทางการเมืองคนสำคัญของประเทศ  ผู้ถูกลอบสังหารคือ [[นายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม]] [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม]] ที่เป็นนายทหารหนุ่มผู้มีอำนาจมากที่สุดในตอนนั้น แต่ท่านก็รอดพ้นจากอันตรายถึงชีวิต การอยากเปลี่ยนผู้นำทางการเมืองแบบนี้ก็เป็น[[การมีส่วนร่วมทางการเมือง]]อย่างหนึ่งเหมือนกัน แต่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย


ก่อนอื่นต้องย้อนไปดูเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วงก่อนหน้านั้นสักเล็กน้อย หลวงพิบูลสงครามนั้นท่านเป็นผู้ก่อ[[การเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน]]ขนานแท้ ร่วมคิดตั้งแต่เมืองนอกและวันจริงคือวันที่ [[24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]] ก็ร่วมทำจริง แต่ที่ทำให้ท่านมีอำนาจขึ้นมาก็ตอนที่ท่านยึดอำนาจซ้ำอีกทีในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 โดยร่วมกับพระยาพหลพยุหเสนา และหลังปราบ[[กบฏบวรเดช]]โดยท่านเป็นผู้นำปราบคนสำคัญของฝ่าย[[รัฐบาล]] ท่านจึงเป็นผู้มีอำนาจตัวจริงเสียงจริงของแผ่นดินเลยทีเดียว ก่อนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 ก็มีคนคิดจะล้มรัฐบาลท่านอยู่แล้ว และบางท่านคงคิดว่าถ้ากำจัดหลวงพิบูลฯ ได้ รัฐบาลก็คงอยู่ลำบาก
ก่อนอื่นต้องย้อนไปดูเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วงก่อนหน้านั้นสักเล็กน้อย หลวงพิบูลสงครามนั้นท่านเป็นผู้ก่อ[[การเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน]]ขนานแท้ ร่วมคิดตั้งแต่เมืองนอกและวันจริงคือวันที่ [[24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]] ก็ร่วมทำจริง แต่ที่ทำให้ท่านมีอำนาจขึ้นมาก็ตอนที่ท่านยึดอำนาจซ้ำอีกทีในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 โดยร่วมกับพระยาพหลพยุหเสนา และหลังปราบ[[กบฏบวรเดช]]โดยท่านเป็นผู้นำปราบคนสำคัญของฝ่าย[[รัฐบาล]] ท่านจึงเป็นผู้มีอำนาจตัวจริงเสียงจริงของแผ่นดินเลยทีเดียว ก่อนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 ก็มีคนคิดจะล้มรัฐบาลอยู่แล้ว และบางท่านคงคิดว่าถ้ากำจัดหลวงพิบูลฯ ได้ รัฐบาลก็คงอยู่ลำบาก


ในวันเกิดเหตุเขาเล่ากันว่า นายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม ซึ่งเป็น[[รัฐมนตรี]]ว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางไปเป็นประธานในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลของทหารเหล่าต่าง ๆ ในพระนคร ที่สนามฟุตบอลสนามหลวง งานได้ดำเนินไปอย่างดีจนแข่งขันกันเสร็จ ประธานก็ได้เป็นผู้แจกรางวัล ซึ่งมีทั้งพวงมาลัยและถ้วยรางวัลให้แก่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายและผู้ชนะ จนเสร็จพิธีการจึงเตรียมเดินทางกลับ
ในวันเกิดเหตุเขาเล่ากันว่า นายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม ซึ่งเป็น[[รัฐมนตรี]]ว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางไปเป็นประธานในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลของทหารเหล่าต่าง ๆ ในพระนคร ที่สนามฟุตบอลสนามหลวง งานได้ดำเนินไปอย่างดีจนแข่งขันกันเสร็จ ประธานก็ได้เป็นผู้แจกรางวัล ซึ่งมีทั้งพวงมาลัยและถ้วยรางวัลให้แก่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายและผู้ชนะ จนเสร็จพิธีการจึงเตรียมเดินทางกลับ

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:34, 22 ตุลาคม 2556

ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 เป็นวันที่มีการลอบสังหารผู้นำทางการเมืองคนสำคัญของประเทศ ผู้ถูกลอบสังหารคือ นายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่เป็นนายทหารหนุ่มผู้มีอำนาจมากที่สุดในตอนนั้น แต่ท่านก็รอดพ้นจากอันตรายถึงชีวิต การอยากเปลี่ยนผู้นำทางการเมืองแบบนี้ก็เป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างหนึ่งเหมือนกัน แต่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

ก่อนอื่นต้องย้อนไปดูเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วงก่อนหน้านั้นสักเล็กน้อย หลวงพิบูลสงครามนั้นท่านเป็นผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินขนานแท้ ร่วมคิดตั้งแต่เมืองนอกและวันจริงคือวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ก็ร่วมทำจริง แต่ที่ทำให้ท่านมีอำนาจขึ้นมาก็ตอนที่ท่านยึดอำนาจซ้ำอีกทีในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 โดยร่วมกับพระยาพหลพยุหเสนา และหลังปราบกบฏบวรเดชโดยท่านเป็นผู้นำปราบคนสำคัญของฝ่ายรัฐบาล ท่านจึงเป็นผู้มีอำนาจตัวจริงเสียงจริงของแผ่นดินเลยทีเดียว ก่อนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 ก็มีคนคิดจะล้มรัฐบาลอยู่แล้ว และบางท่านคงคิดว่าถ้ากำจัดหลวงพิบูลฯ ได้ รัฐบาลก็คงอยู่ลำบาก

ในวันเกิดเหตุเขาเล่ากันว่า นายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางไปเป็นประธานในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลของทหารเหล่าต่าง ๆ ในพระนคร ที่สนามฟุตบอลสนามหลวง งานได้ดำเนินไปอย่างดีจนแข่งขันกันเสร็จ ประธานก็ได้เป็นผู้แจกรางวัล ซึ่งมีทั้งพวงมาลัยและถ้วยรางวัลให้แก่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายและผู้ชนะ จนเสร็จพิธีการจึงเตรียมเดินทางกลับ

ปรากฏว่าขณะที่หลวงพิบูลสงครามเดินทางมาที่รถประจำตำแหน่ง และขึ้นมานั่งบนรถแล้ว ได้มีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงเกิดขึ้นและเจ้าหน้าที่ฝ่ายคุ้มกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็กั้นไม่ทันมีคนร้ายวิ่งตรงเข้ามาเกาะที่ประตูรถประจำตำแหน่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แล้วใช้ปืนพกสั้นที่มีผู้ระบุว่าเป็นปืนคอลท์รีวอลเวอร์ ยิงใส่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้ที่ถือกันว่ามีอำนาจมากที่สุดก็ว่าได้ในเวลานั้น นับว่าเป็นการยิงเผาขน จึงไม่พลาดเป้า

นายพันเอกหลวงพิบูลสงครามถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บสาหัส จนต้องรีบนำสู่โรงพยาบาลพญาไทในวันนั้นหรือโรงพยาบาลพระมงกุฏฯ ในปัจจุบันนี้ หลังจากหายตะลึง เจ้าหน้าที่ผู้คุ้มกันและตำรวจได้วิ่งเข้าสกัดจับตัวผู้ยิ่งได้

การบาดเจ็บของท่านรัฐมนตรีกลาโหมผู้นี้มีผู้บันทึกเล่าไว้ คือ ม.ร.ว. ชมสวัสดิ ชมพูนุท ได้เขียนเล่าเอาไว้ใน ชีวิตและการต่อสู้ของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ว่า “ผลการตรวจบาดแผล ปรากฏว่า พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม ถูกกระสุนปืน 2 แห่งเป็นบาดแผลฉกรรจ์ กล่าวคือ กระสุนลูกหนึ่งเข้าทางแก้มซ้ายด้านหน้า ทะลุออกด้านหลังของต้นคอ กระสุนลูกที่สองเข้าทางด้านหน้าไหล่ขวาทะลุออกด้านหลัง”

แม้ว่าจะถูกยิงขนาดนี้ ยังมีคนไม่เชื่อนึกว่าเป็นแผน แต่แผนการอะไรที่จะยิงเข้าเป้าและทำให้บาดเจ็บขนาดนี้ ดีแต่ว่าได้รับการรักษาจนหายดี

ผู้คนอยากรู้กันมากว่ามือปืนที่ยิงเป็นใคร และมีจุดมุ่งหมายอะไรนอกเหนือจากเป้าหมายที่ต้องเป็นนายพันเอกหลวงพิบูลสงครามแล้ว แต่เท่าที่ได้เปิดเผยมาจากการสอบสวนก็คือผู้ยิงชื่อ นายพุ่ม ทันสายทอง ซึ่งได้ถูกดำเนินคดีขึ้นฟ้องต่อศาลและได้ถูกพิพากษาให้ลงโทษจำคุกเป็นเวลา 16 ปี

ส่วนเหตุผลในการลอบฆ่าผู้นำ ตลอดจนรับจ้างใครมาทำไม่ปรากฏ