ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามเวียดนาม"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' จุฬาพร เอื้อรักสกุล ---- '''ผู้ทรงคุ...'
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
==สงครามเวียดนาม==
==สงครามเวียดนาม==


สงครามเวียดนาม  หมายถึง  ความขัดแย้งทางการทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม .ศ.2508 เมื่อสหรัฐได้เปลี่ยนลักษณะของความขัดแย้งนี้โดยใช้วิธีการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนืออย่างต่อเนื่องจนถึงการลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม .ศ. 2516<ref>จุดเริ่มต้นของสงครามเวียดนาม คือ  ตั้งแต่การต่อสู้ของชาวเวียดนามที่ป้องกันมิให้ฝรั่งเศสกลับมารื้อฟื้นระบอบอาณานิคมอีกหลังจากการสิ้นสุดของสงครามแปซิฟิก    สหรัฐเข้ามาให้ความช่วยเหลือด้านการทหารแก่ฝรั่งเศสจนกระทั่งฝรั่งเศสถอนตัวออกไปตามข้อตกลงเจนีวา ค.ศ. 1954  ข้อตกลงนี้กำหนดให้แบ่งเวียดนามชั่วคราวที่เส้นขนาน 17 องศา และให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อกำหนดอนาคตประเทศภายใน 2 ปี    สหรัฐคว่ำบาตรข้อตกลงนี้เพราะเห็นว่าเป็นการยอมรับให้เกิดรัฐคอมมิวนิสต์ขึ้นมาในภาคเหนือของเวียดนาม    ดังนั้นจึงสนับสนุนการก่อตั้งรัฐในภาคใต้ขึ้นรวมทั้งสนับสนุนรัฐบาลเวียดนามใต้ในการใช้มาตรการทางทหารปราบฝ่ายคอมมิวนิสต์    ผลก็คือการรบระหว่างเวียดนามทั้ง  2  รุนแรงขึ้นตามลำดับเพราะรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในภาคเหนือมีนโยบายรวมประเทศอย่างแน่วแน่  โปรดดูรายละเอียดใน  Paul  Kattenburg, The  Vietnam  Trauma  in  American  Foreign  Policy,  1945 – 75,  (News  Brunswick,  NJ:  Transaction  Books,  1980),  Gabriel  Kolko,  Intervention : Anatomy  of  a  war  1940 – 1975,  (London:  Allem&Unein,  1986</ref> สงครามนี้ได้เห็นถึงการเข้ามาเกี่ยวข้องของทุกมหาอำนาจในยุคสงครามเย็นซึ่งทำให้ความขัดแย้งนี้ยิ่งทวีความซับซ้อน  รุนแรง  และยืดเยื้อยาวนาน  ประเทศไทยก็ได้มีบทบาทสำคัญในสงครามนี้  โดยการเป็นผู้สนับสนุนที่แข็งขันและเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐในสมรภูมิรบเวียดนาม
สงครามเวียดนาม  หมายถึง  ความขัดแย้งทางการทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม .ศ.1965  เมื่อสหรัฐได้เปลี่ยนลักษณะของความขัดแย้งนี้โดยใช้วิธีการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนืออย่างต่อเนื่องจนถึงการลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม .ศ. 1973<ref>จุดเริ่มต้นของสงครามเวียดนาม คือ  ตั้งแต่การต่อสู้ของชาวเวียดนามที่ป้องกันมิให้ฝรั่งเศสกลับมารื้อฟื้นระบอบอาณานิคมอีกหลังจากการสิ้นสุดของสงครามแปซิฟิก    สหรัฐเข้ามาให้ความช่วยเหลือด้านการทหารแก่ฝรั่งเศสจนกระทั่งฝรั่งเศสถอนตัวออกไปตามข้อตกลงเจนีวา ค.ศ. 1954  ข้อตกลงนี้กำหนดให้แบ่งเวียดนามชั่วคราวที่เส้นขนาน 17 องศา และให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อกำหนดอนาคตประเทศภายใน 2 ปี    สหรัฐคว่ำบาตรข้อตกลงนี้เพราะเห็นว่าเป็นการยอมรับให้เกิดรัฐคอมมิวนิสต์ขึ้นมาในภาคเหนือของเวียดนาม    ดังนั้นจึงสนับสนุนการก่อตั้งรัฐในภาคใต้ขึ้นรวมทั้งสนับสนุนรัฐบาลเวียดนามใต้ในการใช้มาตรการทางทหารปราบฝ่ายคอมมิวนิสต์    ผลก็คือการรบระหว่างเวียดนามทั้ง  2  รุนแรงขึ้นตามลำดับเพราะรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในภาคเหนือมีนโยบายรวมประเทศอย่างแน่วแน่  โปรดดูรายละเอียดใน  Paul  Kattenburg, The  Vietnam  Trauma  in  American  Foreign  Policy,  1945 – 75,  (News  Brunswick,  NJ:  Transaction  Books,  1980),  Gabriel  Kolko,  Intervention : Anatomy  of  a  war  1940 – 1975,  (London:  Allem&Unein,  1986</ref> สงครามนี้ได้เห็นถึงการเข้ามาเกี่ยวข้องของทุกมหาอำนาจในยุคสงครามเย็นซึ่งทำให้ความขัดแย้งนี้ยิ่งทวีความซับซ้อน  รุนแรง  และยืดเยื้อยาวนาน  ประเทศไทยก็ได้มีบทบาทสำคัญในสงครามนี้  โดยการเป็นผู้สนับสนุนที่แข็งขันและเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐในสมรภูมิรบเวียดนาม
สหรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในเวียดนามตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ตามนโยบายสกัดกั้นการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในเอเชีย ความมุ่งมั่นของสหรัฐที่จะต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในเวียดนามเพราะเห็นว่าถ้าไม่รบในเวียดนาม  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดจะตกอยู่ใต้อิทธิพลจีนซึ่งหมายถึงว่าเอเชียทั้งหมดจะพ่ายแก่คอมมิวนิสต์ด้วย ส่วนการต่อสู้ของเวียดนามเหนือก็ได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและโดยเฉพาะจากจีน  ความช่วยเหลือของจีนเกิดจากความเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์และที่สำคัญยิ่งกว่าคือผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของจีนที่ต้องการให้พรมแดนจีน - เวียดนามมีความปลอดภัย  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนต้องการขจัดอิทธิพลสหรัฐจากเอเชีย    ดังนั้น  ความกังวลด้านความมั่นคงของจีนนอกเหนือจากไต้หวันแล้วก็คืออินโดจีน<ref>การก่อตั้งระบอบใหม่ภายหลังการต่อสู้นองเลือดยาวนานทำให้ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนหวาดระแวงภัยความมั่นคงมาก    โดยเฉพาะจากสหรัฐตั้งแต่สงครามเกาหลีที่จีนส่งทหารเข้ารบกับสหรัฐในปลายปี 1950  มีการศึกษาที่ชี้ว่าทัศนะการมองภัยการถูกรุกรานด้านการทหารจากสหรัฐบ่อยครั้งเลยเกิดจนเป็นจินตนาการซึ่งทำให้ผู้นำจีนเตรียมพร้อมตอบโต้ทั้งด้านการเมืองและการทหารอย่างจริงจัง  โปรดดูใน  Shuguang  Zang,  “Treat  Perception  and  Chinese  Communist  Foreign  Policy”,  in  Melvyn  P.  Lettler  and  David  S.  Painter,  Origins  of  the  Cold  War,  (London:  Routledge,  1994)</ref>  
สหรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในเวียดนามตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2  ตามนโยบายสกัดกั้นการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในเอเชีย ความมุ่งมั่นของสหรัฐที่จะต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในเวียดนามเพราะเห็นว่าถ้าไม่รบในเวียดนาม  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดจะตกอยู่ใต้อิทธิพลจีนซึ่งหมายถึงว่าเอเชียทั้งหมดจะพ่ายแก่คอมมิวนิสต์ด้วย ส่วนการต่อสู้ของเวียดนามเหนือก็ได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและโดยเฉพาะจากจีน  ความช่วยเหลือของจีนเกิดจากความเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์และที่สำคัญยิ่งกว่าคือผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของจีนที่ต้องการให้พรมแดนจีน - เวียดนามมีความปลอดภัย  และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนต้องการขจัดอิทธิพลสหรัฐจากเอเชีย    ดังนั้น  ความกังวลด้านความมั่นคงของจีนนอกเหนือจากไต้หวันแล้วก็คืออินโดจีน<ref>การก่อตั้งระบอบใหม่ภายหลังการต่อสู้นองเลือดยาวนานทำให้ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนหวาดระแวงภัยความมั่นคงมาก    โดยเฉพาะจากสหรัฐตั้งแต่สงครามเกาหลีที่จีนส่งทหารเข้ารบกับสหรัฐในปลายปี 1950  มีการศึกษาที่ชี้ว่าทัศนะการมองภัยการถูกรุกรานด้านการทหารจากสหรัฐบ่อยครั้งเลยเกิดจนเป็นจินตนาการซึ่งทำให้ผู้นำจีนเตรียมพร้อมตอบโต้ทั้งด้านการเมืองและการทหารอย่างจริงจัง  โปรดดูใน  Shuguang  Zang,  “Treat  Perception  and  Chinese  Communist  Foreign  Policy”,  in  Melvyn  P.  Lettler  and  David  S.  Painter,  Origins  of  the  Cold  War,  (London:  Routledge,  1994)</ref>  
รัฐบาลไทยตั้งแต่ต้นปี 2493 ได้สนับสนุนให้สหรัฐเข้ามาป้องกันคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนเพราะต้องการป้องกันพรมแดนด้านตะวันออกให้ปลอดจากคอมมิวนิสต์    ผู้นำรัฐบาลทหารไทยยังเชื่อด้วยว่าเวียดนามเหนือต้องการขยายอิทธิพลคอมมิวนิสต์เข้ามาไทยโดยได้รับการสนับสนุนจากจีน ในกลางปี 2493 ภัยคุกคามจากเวียดนามเหนือที่ผู้นำทหารมักอ้างถึง  คือการรุกเข้าไปในดินแดนลาวของกองกำลังคอมมิวนิสต์เวียดนามและการเผยแพร่อิทธิพลคอมมิวนิสต์ในหมู่ชาวเวียดนามในภาคอีสาน<ref>การรุกรานไปดินแดนลาวและกัมพูชาหลายครั้ง ในปี 1953 – 1954 เป็นยุทธวิธีหนึ่งของฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามในการต่อสู้กับกองกำลังฝรั่งเศส  และในบางครั้งได้ยึดเมืองลาวไว้ระยะหนึ่งด้วย  เช่น  ในเดือนธันวาคม 1953 ได้ยึดเมืองท่าแขกซึ่งอยู่บนแม่น้ำโขงใกล้กับชายแดนไทย  ดู  William  J.  Duiker,  The  Communist  Road  to  Poueer  in  Vietnam,  (Boulder:  Westview  Press,  1981),  pp. 157-160  อย่างไรก็ตาม  รัฐบาลไทยตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์โดยเห็นว่าเป็นเรื่อง  “ร้ายแรงและกระทบต่อความมั่นคงของประเทศไทยโดยตรง”  จนมีการประกาศภาวะฉุกเฉินใน 9 จังหวัดชายแดนภาคอีสาน  และในเดือนพฤษภาคม 1954 ได้ขอให้สหประชาชาติพิจารณาเรื่องนี้  แต่ไร้ผลเพราะสหภาพโซเวียตใช้สิทธิยังยั้ง  นอกจากนี้  รัฐบาลไทยยังกลัวว่าชาวเวียดนามราว 50,000 คนที่อาศัยในภาคอีสานอาจถูกชักจูงให้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความขัดแย้งนี้ด้วย  ดู โอวาด  สุทธิวาทนฤพุฒิ,  “การเข้าเป็นภาคีของประเทศไทยในสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปอ.)”,  ใน  ฉันทิมา  อ่องสุรักษ์,  นโยบายต่างประเทศบนทางแพร่ง,  (กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,  2533)  หน้า 91-93.</ref>  อย่างไรก็ตาม  เหตุผลอื่นที่สำคัญเท่าเทียมกัน  คือ  ผู้นำทหารไทยคาดหวังความช่วยเหลือด้านการทหารและอื่นๆ  จากสหรัฐ
รัฐบาลไทยตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1950 ได้สนับสนุนให้สหรัฐเข้ามาป้องกันคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนเพราะต้องการป้องกันพรมแดนด้านตะวันออกให้ปลอดจากคอมมิวนิสต์    ผู้นำรัฐบาลทหารไทยยังเชื่อด้วยว่าเวียดนามเหนือต้องการขยายอิทธิพลคอมมิวนิสต์เข้ามาไทยโดยได้รับการสนับสนุนจากจีน ในกลางทศวรรษ 1950  ภัยคุกคามจากเวียดนามเหนือที่ผู้นำทหารมักอ้างถึง  คือการรุกเข้าไปในดินแดนลาวของกองกำลังคอมมิวนิสต์เวียดนามและการเผยแพร่อิทธิพลคอมมิวนิสต์ในหมู่ชาวเวียดนามในภาคอีสาน<ref>การรุกรานไปดินแดนลาวและกัมพูชาหลายครั้ง ในปี 1953 – 1954 เป็นยุทธวิธีหนึ่งของฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามในการต่อสู้กับกองกำลังฝรั่งเศส  และในบางครั้งได้ยึดเมืองลาวไว้ระยะหนึ่งด้วย  เช่น  ในเดือนธันวาคม 1953 ได้ยึดเมืองท่าแขกซึ่งอยู่บนแม่น้ำโขงใกล้กับชายแดนไทย  ดู  William  J.  Duiker,  The  Communist  Road  to  Poueer  in  Vietnam,  (Boulder:  Westview  Press,  1981),  pp. 157-160  อย่างไรก็ตาม  รัฐบาลไทยตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์โดยเห็นว่าเป็นเรื่อง  “ร้ายแรงและกระทบต่อความมั่นคงของประเทศไทยโดยตรง”  จนมีการประกาศภาวะฉุกเฉินใน 9 จังหวัดชายแดนภาคอีสาน  และในเดือนพฤษภาคม 1954 ได้ขอให้สหประชาชาติพิจารณาเรื่องนี้  แต่ไร้ผลเพราะสหภาพโซเวียตใช้สิทธิยังยั้ง  นอกจากนี้  รัฐบาลไทยยังกลัวว่าชาวเวียดนามราว 50,000 คนที่อาศัยในภาคอีสานอาจถูกชักจูงให้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความขัดแย้งนี้ด้วย  ดู โอวาด  สุทธิวาทนฤพุฒิ,  “การเข้าเป็นภาคีของประเทศไทยในสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปอ.)”,  ใน  ฉันทิมา  อ่องสุรักษ์,  นโยบายต่างประเทศบนทางแพร่ง,  (กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,  2533)  หน้า 91-93.</ref>  อย่างไรก็ตาม  เหตุผลอื่นที่สำคัญเท่าเทียมกัน  คือ  ผู้นำทหารไทยคาดหวังความช่วยเหลือด้านการทหารและอื่นๆ  จากสหรัฐ
การรบระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามกับเวียดนามใต้ที่มีสหรัฐเป็นผู้สนับสนุนได้ถึงจุดเปลี่ยนสำคัญหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ยในเดือนสิงหาคม 2507 ที่สหรัฐกล่าวหาว่าเรือตอร์ปิโดของเวียดนามเหนือยิงเรือรบอเมริกัน    สหรัฐตอบโต้ด้วยการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือและในต้นปีต่อมา  การทิ้งระเบิดได้เกิดขึ้นต่อเนื่อง    พร้อมกันนั้น  สหรัฐก็ส่งทหารมาภาคใต้เพื่อทำลายกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์  ในเดือนมกราคม 2512 ทหารเหล่านี้มีจำนวนมากกว่าครึ่งล้านคน  การส่งทหารอเมริกันมารบในเวียดนามทำให้สหรัฐเห็นคุณค่าทางยุทธศาสตร์ของไทย  คือ  การตั้งอยู่ใกล้สมรภูมิซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการทหาร  ไทยจึงได้รับบทบาทการเป็นผู้ให้บริการสหรัฐใน 3 ด้าน คือ การให้ที่ตั้งฐานทัพ, ที่ตั้งอุปกรณ์สืบราชการลับ  และศูนย์พักผ่อนและพักฟื้นของทหารอเมริกัน    จำนวนทหารอเมริกันภาคพื้นดินสูงสุดในปี 2511 คือ 11,494 คน  และทหารอากาศสูงสุดในปี 2512 คือ  33,500  จำนวนเครื่องบินอเมริกันในปี 2512 มีประมาณ  600  เครื่อง    สหรัฐได้สิทธิใช้ฐานทัพในไทย  7  แห่ง คือ ดอนเมือง  โคราช  นครพนม  ตาคลี  อุบลราชธานี  และอุดรธานี  มีการประมาณการว่าโดยรวมแล้วประมาณ 80% ของการทิ้งระเบิดของสหรัฐในเวียดนามไปจากฐานทัพในไทย<ref>R.  Sean  Randolph,  The  United  States  and  Thailand  Alliance  Dynamics,  1950 – 1985,  (Institute  of  East  Asian  Studies,  University  of  California,  Berkeley,  1986),  Chapter 3,  pp. 49 - 81.</ref> รัฐบาลไทยยังส่งทหารร่วมรบกับสหรัฐในเวียดนามด้วยซึ่งเริ่มจากจำนวน 2,207 คน ในเดือนกันยายน .ศ. 2510 และสูงสุดในต้นปี 1969 คือมากกว่า 11,000 คน  
การรบระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามกับเวียดนามใต้ที่มีสหรัฐเป็นผู้สนับสนุนได้ถึงจุดเปลี่ยนสำคัญหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ยในเดือนสิงหาคม 1964 ที่สหรัฐกล่าวหาว่าเรือตอร์ปิโดของเวียดนามเหนือยิงเรือรบอเมริกัน    สหรัฐตอบโต้ด้วยการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือและในต้นปีต่อมา  การทิ้งระเบิดได้เกิดขึ้นต่อเนื่อง    พร้อมกันนั้น  สหรัฐก็ส่งทหารมาภาคใต้เพื่อทำลายกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์  ในเดือนมกราคม 1969 ทหารเหล่านี้มีจำนวนมากกว่าครึ่งล้านคน  การส่งทหารอเมริกันมารบในเวียดนามทำให้สหรัฐเห็นคุณค่าทางยุทธศาสตร์ของไทย  คือ  การตั้งอยู่ใกล้สมรภูมิซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการทหาร  ไทยจึงได้รับบทบาทการเป็นผู้ให้บริการสหรัฐใน 3 ด้าน คือ การให้ที่ตั้งฐานทัพ, ที่ตั้งอุปกรณ์สืบราชการลับ  และศูนย์พักผ่อนและพักฟื้นของทหารอเมริกัน    จำนวนทหารอเมริกันภาคพื้นดินสูงสุดในปี 1968 คือ 11,494 คน  และทหารอากาศสูงสุดในปี 1969 คือ  33,500  จำนวนเครื่องบินอเมริกันในปี 1969 มีประมาณ  600  เครื่อง    สหรัฐได้สิทธิใช้ฐานทัพในไทย  7  แห่ง คือ ดอนเมือง  โคราช  นครพนม  ตาคลี  อุบลราชธานี  และอุดรธานี  มีการประมาณการว่าโดยรวมแล้วประมาณ 80% ของการทิ้งระเบิดของสหรัฐในเวียดนามไปจากฐานทัพในไทย<ref>R.  Sean  Randolph,  The  United  States  and  Thailand  Alliance  Dynamics,  1950 – 1985,  (Institute  of  East  Asian  Studies,  University  of  California,  Berkeley,  1986),  Chapter 3,  pp. 49 - 81.</ref> รัฐบาลไทยยังส่งทหารร่วมรบกับสหรัฐในเวียดนามด้วยซึ่งเริ่มจากจำนวน 2,207 คน ในเดือนกันยายน ค..ศ. 1967 และสูงสุดในต้นปี 1969 คือมากกว่า 11,000 คน  
   
   
ความร่วมมือกับสหรัฐในสงครามเวียดนามซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งเรื่องอธิปไตย  ความมั่นคง  และเกียรติภูมิแห่งชาติเกิดจากการกำหนดนโยบายในวงแคบที่สุดและมีลักษณะไม่เป็นทางการ    ในช่วงเวลานี้  รัฐบาลทหารยังคุมอำนาจภายในได้มั่นคง  นโยบายด้านความมั่นคงก็ถูกจำกัดในกลุ่มทหาร  การตัดสินใจเรื่องเวียดนาม  รวมทั้งการให้สหรัฐใช้สิ่งเกื้อหนุนการทำสงครามในประเทศไทยเกิดในกลุ่มผู้นำทหารและโดยเฉพาะผู้นำสูงสุด 3 คน คือ  จอมพลถนอม  กิตติขจร (นายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรีกลาโหม  และผู้บัญชาการทหารสูงสุด),  จอมพลประภาส  จารุเสถียร (รองนายกรัฐมนตรี,  ผู้บัญชาการทหารบกและรัฐมนตรีมหาดไทย)  และ พล.อ. ทวี จุลทรัพย์ (รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด  ผู้บัญชาการทหารอากาศ  และรัฐมนตรีช่วยมหาดไทย)    การเจรจาทำข้อตกลงต่างๆ แทบทั้งหมดเกิดขึ้นระหว่างผู้นำทหารและสถานทูตสหรัฐในประเทศไทย    ข้อตกลงสำคัญโดยเฉพาะการใช้ฐานทัพส่วนใหญ่ไม่มีลายลักษณ์อักษรและไม่เปิดเผยในเวลานั้น<ref>สัมภาษณ์จอมพลถนอม  กิตติขจร,  9 กันยายน1985  และดูด้วยใน Randolph,  op.cit,  pp. 72 - 73.</ref>  เป็นไปได้ว่า  การตัดสินใจนี้ในแง่หนึ่ง  บุคคลเหล่านี้มีความเชื่ออย่างลึกซึ้งต่อภัยจากจีนและเวียดนามเหนือ  และการส่งทหารไปรบในเวียดนามถูกอธิบายว่าเป็นการป้องกันคอมมิวนิสต์ให้ห่างไกลจากดินแดนไทยให้มากที่สุด<ref>John  Funston,  Thai  Foreign  Policy  from  Sarit  to  Seni,  Phd thesis,  Department  of  international  Relations,  the  Australian  National  University,  1989,  p.239.</ref>  ในอีกแง่หนึ่ง  การสนับสนุนสหรัฐในเวียดนามช่วยเสริมสร้างความมั่นคงแก่รัฐบาลทหารเพราะความช่วยเหลือจากสหรัฐมุ่งเป้าที่ความมั่นคงและโดยเฉพาะการเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ทหารไทย  ยิ่งกว่านั้น  การลงทุนมหาศาลในไทยในด้านอุปกรณ์เกื้อหนุนสงครามทำให้สหรัฐต้องช่วยรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศกับรัฐบาลไปด้วย    เมื่อนโยบายเวียดนามถูกกำหนดจากทัศนะและผลประโยชน์ของทหารเช่นนี้จึงไม่น่าแปลกใจว่า  ประเทศไทยแทบไม่ได้ปรับตัวเลยเมื่อสหรัฐส่งสัญญาณปรับเปลี่ยนนโยบายการทำสงครามซึ่งเห็นชัดตั้งแต่ปี 2512  แต่ผู้นำทหารไทยยังเรียกร้องต่อไปให้สหรัฐใช้นโยบายแข็งกร้าวในสงคราม   
ความร่วมมือกับสหรัฐในสงครามเวียดนามซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งเรื่องอธิปไตย  ความมั่นคง  และเกียรติภูมิแห่งชาติเกิดจากการกำหนดนโยบายในวงแคบที่สุดและมีลักษณะไม่เป็นทางการ    ในช่วงเวลานี้  รัฐบาลทหารยังคุมอำนาจภายในได้มั่นคง  นโยบายด้านความมั่นคงก็ถูกจำกัดในกลุ่มทหาร  การตัดสินใจเรื่องเวียดนาม  รวมทั้งการให้สหรัฐใช้สิ่งเกื้อหนุนการทำสงครามในประเทศไทยเกิดในกลุ่มผู้นำทหารและโดยเฉพาะผู้นำสูงสุด 3 คน คือ  จอมพลถนอม  กิตติขจร (นายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรีกลาโหม  และผู้บัญชาการทหารสูงสุด),  จอมพลประภาส  จารุเสถียร (รองนายกรัฐมนตรี,  ผู้บัญชาการทหารบกและรัฐมนตรีมหาดไทย)  และ พล.อ. ทวี จุลทรัพย์ (รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด  ผู้บัญชาการทหารอากาศ  และรัฐมนตรีช่วยมหาดไทย)    การเจรจาทำข้อตกลงต่างๆ แทบทั้งหมดเกิดขึ้นระหว่างผู้นำทหารและสถานทูตสหรัฐในประเทศไทย    ข้อตกลงสำคัญโดยเฉพาะการใช้ฐานทัพส่วนใหญ่ไม่มีลายลักษณ์อักษรและไม่เปิดเผยในเวลานั้น<ref>สัมภาษณ์จอมพลถนอม  กิตติขจร,  9 กันยายน1985  และดูด้วยใน Randolph,  op.cit,  pp. 72 - 73.</ref>  เป็นไปได้ว่า  การตัดสินใจนี้ในแง่หนึ่ง  บุคคลเหล่านี้มีความเชื่ออย่างลึกซึ้งต่อภัยจากจีนและเวียดนามเหนือ  และการส่งทหารไปรบในเวียดนามถูกอธิบายว่าเป็นการป้องกันคอมมิวนิสต์ให้ห่างไกลจากดินแดนไทยให้มากที่สุด<ref>John  Funston,  Thai  Foreign  Policy  from  Sarit  to  Seni,  Phd thesis,  Department  of  international  Relations,  the  Australian  National  University,  1989,  p.239.</ref>  ในอีกแง่หนึ่ง  การสนับสนุนสหรัฐในเวียดนามช่วยเสริมสร้างความมั่นคงแก่รัฐบาลทหารเพราะความช่วยเหลือจากสหรัฐมุ่งเป้าที่ความมั่นคงและโดยเฉพาะการเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ทหารไทย  ยิ่งกว่านั้น  การลงทุนมหาศาลในไทยในด้านอุปกรณ์เกื้อหนุนสงครามทำให้สหรัฐต้องช่วยรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศกับรัฐบาลไปด้วย    เมื่อนโยบายเวียดนามถูกกำหนดจากทัศนะและผลประโยชน์ของทหารเช่นนี้จึงไม่น่าแปลกใจว่า  ประเทศไทยแทบไม่ได้ปรับตัวเลยเมื่อสหรัฐส่งสัญญาณปรับเปลี่ยนนโยบายการทำสงครามซึ่งเห็นชัดตั้งแต่ปี 2512  แต่ผู้นำทหารไทยยังเรียกร้องต่อไปให้สหรัฐใช้นโยบายแข็งกร้าวในสงคราม   
บรรทัดที่ 20: บรรทัดที่ 20:
อย่างไรก็ตาม  สงครามเวียดนามได้ก่อกระแสการคัดค้านและต่อต้านในกลุ่มนักคิด  นักเขียน  นักวิชาการ  และนักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งซึ่งจะขยายวงกว้างและรุนแรงขึ้นพร้อมๆ กับการขยายตัวของสงคราม ในทัศนะคนเหล่านี้  รัฐบาลทหารร่วมมือกับสหรัฐทำสงครามที่ไร้ความชอบธรรมและไร้ศีลธรรม  การต่อสู้ของชาวเวียดนามและอินโดจีนเป็นการต่อสู้เพื่อเอกราชช ยิ่งกว่านั้น ฐานทัพและทหารอเมริกันในไทยได้ทำให้ไทยเสียเอกราชและอธิปไตย  อีกทั้งสร้างความเสื่อมโทรมในสังคมด้วย<ref>โปรดดูรายละเอียดใน  พวงทอง  รุ่งสวัสดิทรัพย์  ภวัคพันธ์,  สงครามเวียดนาม: สงครามกับความเป็นจริงของ  “รัฐไทย”,  (กรุงเทพฯ:  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย,  2549)  และโสภา  ชานะมูล,  “ชาติไทย” ในทัศนะปัญญาชนหัวก้าวหน้า,  (กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์มติชน,  2550)</ref>  
อย่างไรก็ตาม  สงครามเวียดนามได้ก่อกระแสการคัดค้านและต่อต้านในกลุ่มนักคิด  นักเขียน  นักวิชาการ  และนักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งซึ่งจะขยายวงกว้างและรุนแรงขึ้นพร้อมๆ กับการขยายตัวของสงคราม ในทัศนะคนเหล่านี้  รัฐบาลทหารร่วมมือกับสหรัฐทำสงครามที่ไร้ความชอบธรรมและไร้ศีลธรรม  การต่อสู้ของชาวเวียดนามและอินโดจีนเป็นการต่อสู้เพื่อเอกราชช ยิ่งกว่านั้น ฐานทัพและทหารอเมริกันในไทยได้ทำให้ไทยเสียเอกราชและอธิปไตย  อีกทั้งสร้างความเสื่อมโทรมในสังคมด้วย<ref>โปรดดูรายละเอียดใน  พวงทอง  รุ่งสวัสดิทรัพย์  ภวัคพันธ์,  สงครามเวียดนาม: สงครามกับความเป็นจริงของ  “รัฐไทย”,  (กรุงเทพฯ:  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย,  2549)  และโสภา  ชานะมูล,  “ชาติไทย” ในทัศนะปัญญาชนหัวก้าวหน้า,  (กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์มติชน,  2550)</ref>  
เมื่อสงครามเวียดนามยุติตามข้อตกลงปารีสในเดือนมกราคม 2516 และสหรัฐถอนทหารจากไทยในเวลาต่อมานั้น ประเทศไทยได้รับผลสะเทือนมากที่สุด  ทั้งเพราะได้ร่วมในสงครามและได้ผูกพันความมั่นคงของประเทศไว้กับสหรัฐมายาวนาน และเหนืออื่นใดคือความโกรธแค้นเกลียดชังไทยของชาวอินโดจีน 3 ประเทศ ชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในดุลอำนาจด้านภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย รัฐบาลพลเรือนในยุคหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จึงต้องเผชิญกับภาวะยากลำบากยิ่งในการปรับตัวให้อยู่กับประเทศเพื่อนบ้าน
เมื่อสงครามเวียดนามยุติตามข้อตกลงปารีสในเดือนมกราคม 1973 และสหรัฐถอนทหารจากไทยในเวลาต่อมานั้น   ประเทศไทยได้รับผลสะเทือนมากที่สุด  ทั้งเพราะได้ร่วมในสงครามและได้ผูกพันความมั่นคงของประเทศไว้กับสหรัฐมายาวนาน และเหนืออื่นใดคือความโกรธแค้นเกลียดชังไทยของชาวอินโดจีน 3 ประเทศ   ชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในดุลอำนาจด้านภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย   รัฐบาลพลเรือนในยุคหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 1973 จึงต้องเผชิญกับภาวะยากลำบากยิ่งในการปรับตัวให้อยู่กับประเทศเพื่อนบ้าน


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==
<references/>
<references/>
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2501-2519]]
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2501-2519]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:23, 3 พฤษภาคม 2554

ผู้เรียบเรียง จุฬาพร เอื้อรักสกุล


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


สงครามเวียดนาม

สงครามเวียดนาม หมายถึง ความขัดแย้งทางการทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ.1965 เมื่อสหรัฐได้เปลี่ยนลักษณะของความขัดแย้งนี้โดยใช้วิธีการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนืออย่างต่อเนื่องจนถึงการลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม ค.ศ. 1973[1] สงครามนี้ได้เห็นถึงการเข้ามาเกี่ยวข้องของทุกมหาอำนาจในยุคสงครามเย็นซึ่งทำให้ความขัดแย้งนี้ยิ่งทวีความซับซ้อน รุนแรง และยืดเยื้อยาวนาน ประเทศไทยก็ได้มีบทบาทสำคัญในสงครามนี้ โดยการเป็นผู้สนับสนุนที่แข็งขันและเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐในสมรภูมิรบเวียดนาม

สหรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในเวียดนามตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามนโยบายสกัดกั้นการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในเอเชีย ความมุ่งมั่นของสหรัฐที่จะต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ในเวียดนามเพราะเห็นว่าถ้าไม่รบในเวียดนาม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดจะตกอยู่ใต้อิทธิพลจีนซึ่งหมายถึงว่าเอเชียทั้งหมดจะพ่ายแก่คอมมิวนิสต์ด้วย ส่วนการต่อสู้ของเวียดนามเหนือก็ได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและโดยเฉพาะจากจีน ความช่วยเหลือของจีนเกิดจากความเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์และที่สำคัญยิ่งกว่าคือผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของจีนที่ต้องการให้พรมแดนจีน - เวียดนามมีความปลอดภัย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนต้องการขจัดอิทธิพลสหรัฐจากเอเชีย ดังนั้น ความกังวลด้านความมั่นคงของจีนนอกเหนือจากไต้หวันแล้วก็คืออินโดจีน[2]

รัฐบาลไทยตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1950 ได้สนับสนุนให้สหรัฐเข้ามาป้องกันคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนเพราะต้องการป้องกันพรมแดนด้านตะวันออกให้ปลอดจากคอมมิวนิสต์ ผู้นำรัฐบาลทหารไทยยังเชื่อด้วยว่าเวียดนามเหนือต้องการขยายอิทธิพลคอมมิวนิสต์เข้ามาไทยโดยได้รับการสนับสนุนจากจีน ในกลางทศวรรษ 1950 ภัยคุกคามจากเวียดนามเหนือที่ผู้นำทหารมักอ้างถึง คือการรุกเข้าไปในดินแดนลาวของกองกำลังคอมมิวนิสต์เวียดนามและการเผยแพร่อิทธิพลคอมมิวนิสต์ในหมู่ชาวเวียดนามในภาคอีสาน[3] อย่างไรก็ตาม เหตุผลอื่นที่สำคัญเท่าเทียมกัน คือ ผู้นำทหารไทยคาดหวังความช่วยเหลือด้านการทหารและอื่นๆ จากสหรัฐ

การรบระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามกับเวียดนามใต้ที่มีสหรัฐเป็นผู้สนับสนุนได้ถึงจุดเปลี่ยนสำคัญหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ยในเดือนสิงหาคม 1964 ที่สหรัฐกล่าวหาว่าเรือตอร์ปิโดของเวียดนามเหนือยิงเรือรบอเมริกัน สหรัฐตอบโต้ด้วยการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนือและในต้นปีต่อมา การทิ้งระเบิดได้เกิดขึ้นต่อเนื่อง พร้อมกันนั้น สหรัฐก็ส่งทหารมาภาคใต้เพื่อทำลายกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์ ในเดือนมกราคม 1969 ทหารเหล่านี้มีจำนวนมากกว่าครึ่งล้านคน การส่งทหารอเมริกันมารบในเวียดนามทำให้สหรัฐเห็นคุณค่าทางยุทธศาสตร์ของไทย คือ การตั้งอยู่ใกล้สมรภูมิซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการทหาร ไทยจึงได้รับบทบาทการเป็นผู้ให้บริการสหรัฐใน 3 ด้าน คือ การให้ที่ตั้งฐานทัพ, ที่ตั้งอุปกรณ์สืบราชการลับ และศูนย์พักผ่อนและพักฟื้นของทหารอเมริกัน จำนวนทหารอเมริกันภาคพื้นดินสูงสุดในปี 1968 คือ 11,494 คน และทหารอากาศสูงสุดในปี 1969 คือ 33,500 จำนวนเครื่องบินอเมริกันในปี 1969 มีประมาณ 600 เครื่อง สหรัฐได้สิทธิใช้ฐานทัพในไทย 7 แห่ง คือ ดอนเมือง โคราช นครพนม ตาคลี อุบลราชธานี และอุดรธานี มีการประมาณการว่าโดยรวมแล้วประมาณ 80% ของการทิ้งระเบิดของสหรัฐในเวียดนามไปจากฐานทัพในไทย[4] รัฐบาลไทยยังส่งทหารร่วมรบกับสหรัฐในเวียดนามด้วยซึ่งเริ่มจากจำนวน 2,207 คน ในเดือนกันยายน ค..ศ. 1967 และสูงสุดในต้นปี 1969 คือมากกว่า 11,000 คน

ความร่วมมือกับสหรัฐในสงครามเวียดนามซึ่งเกี่ยวข้องกับทั้งเรื่องอธิปไตย ความมั่นคง และเกียรติภูมิแห่งชาติเกิดจากการกำหนดนโยบายในวงแคบที่สุดและมีลักษณะไม่เป็นทางการ ในช่วงเวลานี้ รัฐบาลทหารยังคุมอำนาจภายในได้มั่นคง นโยบายด้านความมั่นคงก็ถูกจำกัดในกลุ่มทหาร การตัดสินใจเรื่องเวียดนาม รวมทั้งการให้สหรัฐใช้สิ่งเกื้อหนุนการทำสงครามในประเทศไทยเกิดในกลุ่มผู้นำทหารและโดยเฉพาะผู้นำสูงสุด 3 คน คือ จอมพลถนอม กิตติขจร (นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด), จอมพลประภาส จารุเสถียร (รองนายกรัฐมนตรี, ผู้บัญชาการทหารบกและรัฐมนตรีมหาดไทย) และ พล.อ. ทวี จุลทรัพย์ (รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารอากาศ และรัฐมนตรีช่วยมหาดไทย) การเจรจาทำข้อตกลงต่างๆ แทบทั้งหมดเกิดขึ้นระหว่างผู้นำทหารและสถานทูตสหรัฐในประเทศไทย ข้อตกลงสำคัญโดยเฉพาะการใช้ฐานทัพส่วนใหญ่ไม่มีลายลักษณ์อักษรและไม่เปิดเผยในเวลานั้น[5] เป็นไปได้ว่า การตัดสินใจนี้ในแง่หนึ่ง บุคคลเหล่านี้มีความเชื่ออย่างลึกซึ้งต่อภัยจากจีนและเวียดนามเหนือ และการส่งทหารไปรบในเวียดนามถูกอธิบายว่าเป็นการป้องกันคอมมิวนิสต์ให้ห่างไกลจากดินแดนไทยให้มากที่สุด[6] ในอีกแง่หนึ่ง การสนับสนุนสหรัฐในเวียดนามช่วยเสริมสร้างความมั่นคงแก่รัฐบาลทหารเพราะความช่วยเหลือจากสหรัฐมุ่งเป้าที่ความมั่นคงและโดยเฉพาะการเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ทหารไทย ยิ่งกว่านั้น การลงทุนมหาศาลในไทยในด้านอุปกรณ์เกื้อหนุนสงครามทำให้สหรัฐต้องช่วยรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศกับรัฐบาลไปด้วย เมื่อนโยบายเวียดนามถูกกำหนดจากทัศนะและผลประโยชน์ของทหารเช่นนี้จึงไม่น่าแปลกใจว่า ประเทศไทยแทบไม่ได้ปรับตัวเลยเมื่อสหรัฐส่งสัญญาณปรับเปลี่ยนนโยบายการทำสงครามซึ่งเห็นชัดตั้งแต่ปี 2512 แต่ผู้นำทหารไทยยังเรียกร้องต่อไปให้สหรัฐใช้นโยบายแข็งกร้าวในสงคราม

อย่างไรก็ตาม สงครามเวียดนามได้ก่อกระแสการคัดค้านและต่อต้านในกลุ่มนักคิด นักเขียน นักวิชาการ และนักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งซึ่งจะขยายวงกว้างและรุนแรงขึ้นพร้อมๆ กับการขยายตัวของสงคราม ในทัศนะคนเหล่านี้ รัฐบาลทหารร่วมมือกับสหรัฐทำสงครามที่ไร้ความชอบธรรมและไร้ศีลธรรม การต่อสู้ของชาวเวียดนามและอินโดจีนเป็นการต่อสู้เพื่อเอกราชช ยิ่งกว่านั้น ฐานทัพและทหารอเมริกันในไทยได้ทำให้ไทยเสียเอกราชและอธิปไตย อีกทั้งสร้างความเสื่อมโทรมในสังคมด้วย[7]

เมื่อสงครามเวียดนามยุติตามข้อตกลงปารีสในเดือนมกราคม 1973 และสหรัฐถอนทหารจากไทยในเวลาต่อมานั้น ประเทศไทยได้รับผลสะเทือนมากที่สุด ทั้งเพราะได้ร่วมในสงครามและได้ผูกพันความมั่นคงของประเทศไว้กับสหรัฐมายาวนาน และเหนืออื่นใดคือความโกรธแค้นเกลียดชังไทยของชาวอินโดจีน 3 ประเทศ ชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนยังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในดุลอำนาจด้านภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย รัฐบาลพลเรือนในยุคหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 1973 จึงต้องเผชิญกับภาวะยากลำบากยิ่งในการปรับตัวให้อยู่กับประเทศเพื่อนบ้าน

อ้างอิง

  1. จุดเริ่มต้นของสงครามเวียดนาม คือ ตั้งแต่การต่อสู้ของชาวเวียดนามที่ป้องกันมิให้ฝรั่งเศสกลับมารื้อฟื้นระบอบอาณานิคมอีกหลังจากการสิ้นสุดของสงครามแปซิฟิก สหรัฐเข้ามาให้ความช่วยเหลือด้านการทหารแก่ฝรั่งเศสจนกระทั่งฝรั่งเศสถอนตัวออกไปตามข้อตกลงเจนีวา ค.ศ. 1954 ข้อตกลงนี้กำหนดให้แบ่งเวียดนามชั่วคราวที่เส้นขนาน 17 องศา และให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อกำหนดอนาคตประเทศภายใน 2 ปี สหรัฐคว่ำบาตรข้อตกลงนี้เพราะเห็นว่าเป็นการยอมรับให้เกิดรัฐคอมมิวนิสต์ขึ้นมาในภาคเหนือของเวียดนาม ดังนั้นจึงสนับสนุนการก่อตั้งรัฐในภาคใต้ขึ้นรวมทั้งสนับสนุนรัฐบาลเวียดนามใต้ในการใช้มาตรการทางทหารปราบฝ่ายคอมมิวนิสต์ ผลก็คือการรบระหว่างเวียดนามทั้ง 2 รุนแรงขึ้นตามลำดับเพราะรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในภาคเหนือมีนโยบายรวมประเทศอย่างแน่วแน่ โปรดดูรายละเอียดใน Paul Kattenburg, The Vietnam Trauma in American Foreign Policy, 1945 – 75, (News Brunswick, NJ: Transaction Books, 1980), Gabriel Kolko, Intervention : Anatomy of a war 1940 – 1975, (London: Allem&Unein, 1986
  2. การก่อตั้งระบอบใหม่ภายหลังการต่อสู้นองเลือดยาวนานทำให้ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนหวาดระแวงภัยความมั่นคงมาก โดยเฉพาะจากสหรัฐตั้งแต่สงครามเกาหลีที่จีนส่งทหารเข้ารบกับสหรัฐในปลายปี 1950 มีการศึกษาที่ชี้ว่าทัศนะการมองภัยการถูกรุกรานด้านการทหารจากสหรัฐบ่อยครั้งเลยเกิดจนเป็นจินตนาการซึ่งทำให้ผู้นำจีนเตรียมพร้อมตอบโต้ทั้งด้านการเมืองและการทหารอย่างจริงจัง โปรดดูใน Shuguang Zang, “Treat Perception and Chinese Communist Foreign Policy”, in Melvyn P. Lettler and David S. Painter, Origins of the Cold War, (London: Routledge, 1994)
  3. การรุกรานไปดินแดนลาวและกัมพูชาหลายครั้ง ในปี 1953 – 1954 เป็นยุทธวิธีหนึ่งของฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามในการต่อสู้กับกองกำลังฝรั่งเศส และในบางครั้งได้ยึดเมืองลาวไว้ระยะหนึ่งด้วย เช่น ในเดือนธันวาคม 1953 ได้ยึดเมืองท่าแขกซึ่งอยู่บนแม่น้ำโขงใกล้กับชายแดนไทย ดู William J. Duiker, The Communist Road to Poueer in Vietnam, (Boulder: Westview Press, 1981), pp. 157-160 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์โดยเห็นว่าเป็นเรื่อง “ร้ายแรงและกระทบต่อความมั่นคงของประเทศไทยโดยตรง” จนมีการประกาศภาวะฉุกเฉินใน 9 จังหวัดชายแดนภาคอีสาน และในเดือนพฤษภาคม 1954 ได้ขอให้สหประชาชาติพิจารณาเรื่องนี้ แต่ไร้ผลเพราะสหภาพโซเวียตใช้สิทธิยังยั้ง นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังกลัวว่าชาวเวียดนามราว 50,000 คนที่อาศัยในภาคอีสานอาจถูกชักจูงให้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความขัดแย้งนี้ด้วย ดู โอวาด สุทธิวาทนฤพุฒิ, “การเข้าเป็นภาคีของประเทศไทยในสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปอ.)”, ใน ฉันทิมา อ่องสุรักษ์, นโยบายต่างประเทศบนทางแพร่ง, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2533) หน้า 91-93.
  4. R. Sean Randolph, The United States and Thailand Alliance Dynamics, 1950 – 1985, (Institute of East Asian Studies, University of California, Berkeley, 1986), Chapter 3, pp. 49 - 81.
  5. สัมภาษณ์จอมพลถนอม กิตติขจร, 9 กันยายน1985 และดูด้วยใน Randolph, op.cit, pp. 72 - 73.
  6. John Funston, Thai Foreign Policy from Sarit to Seni, Phd thesis, Department of international Relations, the Australian National University, 1989, p.239.
  7. โปรดดูรายละเอียดใน พวงทอง รุ่งสวัสดิทรัพย์ ภวัคพันธ์, สงครามเวียดนาม: สงครามกับความเป็นจริงของ “รัฐไทย”, (กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2549) และโสภา ชานะมูล, “ชาติไทย” ในทัศนะปัญญาชนหัวก้าวหน้า, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2550)