ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเคาะประตูบ้าน"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' โอฬาร ถิ่นบางเตียว และ รศ.ดร. นคิรินทร์ เมฆไตรรัตน์ | '''ผู้เรียบเรียง''' โอฬาร ถิ่นบางเตียว และ รศ.ดร. นคิรินทร์ เมฆไตรรัตน์ | ||
---- | |||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | |||
---- | ---- | ||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:46, 3 กันยายน 2553
ผู้เรียบเรียง โอฬาร ถิ่นบางเตียว และ รศ.ดร. นคิรินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
“การเคาะประตูบ้าน” เป็นสำนวนที่ใช้กล่าวถึงกลยุทธ์ในการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่เข้าไปพบประชาชนโดยตรงถึงบ้านหรือสถานที่ประกอบการ เพื่อรับฟังปัญหาโดยตรงจากประชาชน เป็นการสร้างภาพลักษณ์และสร้างคะแนนนิยมแก่ตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยมุ่งแสดงให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเห็นว่า บุคคลผู้นั้นมีความใกล้ชิดกับประชาชน และเป็นผู้ที่สามารถเข้าถึงและรับรู้ปัญหาของประชาชนอย่างแท้จริง
ทั้งนี้กลยุทธ์ในการหาเสียงด้วยวิธีการดังกล่าว จะมีรูปแบบวิธีการที่แตกต่างกันไปตามแนวทางของผู้สมัครแต่ละคน เช่น ผู้สมัครรับเลือกตั้งบางท่านหลังจากพบประพูดคุยกับประชาชนและจะขอรับประทานอาหารกับประชาชนในพื้นที่ เป็นการสร้างความสนิทสนมระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งกับประชาชน หรือผู้สมัครบางรายอาศัยเทคนิคในการสร้างความใกล้ชิดกับประชาชน โดยหลังจากการหาเสียงเคาะประตูบ้านแล้ว ก็จะขออาศัยนอนพักค้างคืนกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อเดินทางหาเสีงต่อในเช้าวันรุ่งขึ้น วิธีการในลักษณะนี้จะใช้ได้ดีกับประชาชนในเขตชนบท เพราะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งว่าเป็นคนเข้ากับประชาชนได้ง่าย ไม่ถือตัว กินงาน อยู่ง่าย
อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีการเคาะประตูบ้านก็ถูกใช้เป็นกลยุทธในการทุจริตการเลือกตั้งโดยการซื้อเสียงแบบยกครอบครัวแบบเหมาจ่ายทั้งครอบครัว ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายต่อการคำนวณและควบคุมฐานคะแนนเสียงของหัวคะแนน