ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2535)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 9: บรรทัดที่ 9:
== การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 4 (2535) ==
== การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 4 (2535) ==


การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 4 ในวันที่ 19 เมษายน 2535 เป็นผลโดยตรงจากการลาออกก่อนครบวาระของ [[พล.ต.จำลอง ศรีเมือง]] เพื่อลงสมัครรับ[[เลือกตั้งทั่วไป]]ในวันที่ 22 มีนาคม 2535 ใน[[การเลือกตั้ง]]ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งนี้มีผู้สมัครคนสำคัญ คือ [[ร.อ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา]] ผู้สมัครจากพรรค[[พลังธรรม]] และเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัด[[กรุงเทพมหานคร]] ฝ่ายโยธา ในสมัยที่พล.ต.จำลองเป็นผู้ว่าราชการ, [[นายพิจิตต รัตตกุ]]จากพรรค[[ประชาธิปัตย์]], พล.อ.อ.สมมติ สุนทรเวช พรรค[[ประชากรไทย]] และนายมติ ตั้งพานิช พรรค[[ความหวังใหม่]] เป็นต้น
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 4 ในวันที่ 19 เมษายน 2535 เป็นผลโดยตรงจากการลาออกก่อนครบวาระของ [[จำลอง ศรีเมือง|พล.ต.จำลอง ศรีเมือง]] เพื่อลงสมัครรับ[[เลือกตั้งทั่วไป]]ในวันที่ 22 มีนาคม 2535 ใน[[การเลือกตั้ง]]ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งนี้มีผู้สมัครคนสำคัญ คือ [[กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา|ร.อ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา]] ผู้สมัครจากพรรค[[พลังธรรม]] และเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัด[[กรุงเทพมหานคร]] ฝ่ายโยธา ในสมัยที่พล.ต.จำลองเป็นผู้ว่าราชการ, [[พิจิตต รัตตกุล|นายพิจิตต รัตตกุล]] จากพรรค[[ประชาธิปัตย์]], พล.อ.อ.สมมติ สุนทรเวช พรรค[[ประชากรไทย]] และนายมติ ตั้งพานิช พรรค[[ความหวังใหม่]] เป็นต้น


ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า ร.อ.กฤษฎา ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด 363,668 คะแนน ชัยชนะของร.อ.กฤษฎาสะท้อนความนิยมของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อพล.ต.จำลองและพรรคพลังธรรมได้เป็นอย่างดี กับทั้งในการบริหารงาน อาจกล่าวได้ว่า พล.ต.จำลองและพรรคพลังธรรมยังมีบทบาทอย่างสำคัญในการช่วยเหลือและให้การสนับสนุนการทำงานของ ร.อ.กฤษฎามาตลอดระยะเวลา 4 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ร.อ.กฤษฎายังคงใช้ทีมงานเดิมที่ พล.ต.จำลองใช้เมื่อครั้งเป็นผู้ว่าราชการ<ref>  Duncan McCargo, Chamlong Srimuang and the new Thai politics (London: Hurst & Company, 1997), p. 140.</ref>  
ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า ร.อ.กฤษฎา ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด 363,668 คะแนน ชัยชนะของร.อ.กฤษฎาสะท้อนความนิยมของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อพล.ต.จำลองและพรรคพลังธรรมได้เป็นอย่างดี กับทั้งในการบริหารงาน อาจกล่าวได้ว่า พล.ต.จำลองและพรรคพลังธรรมยังมีบทบาทอย่างสำคัญในการช่วยเหลือและให้การสนับสนุนการทำงานของ ร.อ.กฤษฎามาตลอดระยะเวลา 4 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ร.อ.กฤษฎายังคงใช้ทีมงานเดิมที่ พล.ต.จำลองใช้เมื่อครั้งเป็นผู้ว่าราชการ<ref>  Duncan McCargo, Chamlong Srimuang and the new Thai politics (London: Hurst & Company, 1997), p. 140.</ref>  

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:30, 2 พฤษภาคม 2554

ผู้เรียบเรียง นครินทร์ เมฆไตรรัตน์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 4 (2535)

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 4 ในวันที่ 19 เมษายน 2535 เป็นผลโดยตรงจากการลาออกก่อนครบวาระของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม 2535 ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งนี้มีผู้สมัครคนสำคัญ คือ ร.อ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา ผู้สมัครจากพรรคพลังธรรม และเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ฝ่ายโยธา ในสมัยที่พล.ต.จำลองเป็นผู้ว่าราชการ, นายพิจิตต รัตตกุล จากพรรคประชาธิปัตย์, พล.อ.อ.สมมติ สุนทรเวช พรรคประชากรไทย และนายมติ ตั้งพานิช พรรคความหวังใหม่ เป็นต้น

ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า ร.อ.กฤษฎา ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด 363,668 คะแนน ชัยชนะของร.อ.กฤษฎาสะท้อนความนิยมของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อพล.ต.จำลองและพรรคพลังธรรมได้เป็นอย่างดี กับทั้งในการบริหารงาน อาจกล่าวได้ว่า พล.ต.จำลองและพรรคพลังธรรมยังมีบทบาทอย่างสำคัญในการช่วยเหลือและให้การสนับสนุนการทำงานของ ร.อ.กฤษฎามาตลอดระยะเวลา 4 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ร.อ.กฤษฎายังคงใช้ทีมงานเดิมที่ พล.ต.จำลองใช้เมื่อครั้งเป็นผู้ว่าราชการ[1]

ร.อ.กฤษฎา เป็นนักวิชาการด้านสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียง เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2517 ถึง 2521 ในทางธุรกิจ ร.อ.กฤษฎาเป็นผู้บริหารบริษัท คาซา (CASA) ซึ่งเป็นบริษัทรับออกแบบอาคารที่มีชื่อเสียงอย่างมากในแวดวงธุรกิจการออกแบบและก่อสร้าง และที่สำคัญ ร.อ.กฤษฎานับได้ว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนากรุงเทพมหานครมาก่อนที่จะลงสมัคร โดยในสมัยที่พล.ต.จำลองดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยที่ 2 ร.อ.กฤษฎา เป็นรองผู้ว่าราชการฝ่ายโยธา ที่มีหน้าที่ดูแลงานก่อสร้างและการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านต่างๆให้แก่กรุงเทพมหานคร

ร.อ.กฤษฎา บริหารงานกรุงเทพมหานครในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครบ 4 ปี ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 5 ปี 2539 เขาแยกตัวจากพรรคพลังธรรม และลงสมัครรับเลือกตั้งในฐานะผู้สมัครอิสระ

อ้างอิง

  1. Duncan McCargo, Chamlong Srimuang and the new Thai politics (London: Hurst & Company, 1997), p. 140.